Book Review: สู่ชัยชนะ

สู่ชัยชนะ

ผู้เขียน แจ๊ค เวลช์ และ ซูซี่ เวลช์ ผู้แปล ญาณินี

แจ๊คเวลซ์ เริ่มต้นชีวิตการทำงานกับบริษัท เจลเนอรัลอิเลคทริค (GE) ในปี 1981ได้เป็น ประธานบริหาร และ ซีอีโอคนที่แปดของบริษัทฯ ตลอดเวลา 41 ที่แจ๊คเวลซ์ ทำงานให้จีอี ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งบริหาร
มูลค่าทุนตามราคาตบาดของจีอีเพิ่มสูงขึ้นถึสี่แสนล้านเหรียญ ทำให้จีอีกลายเป็นองค์กรณ์ธุรกิจที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรง สไตล์การทำงานที่เน้นความเป็นเลิศ และควา มซื่อสัตย์ของเขากลายเป็นมาตรฐานระดับสูงในการทำธุรกิจ รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับ คน ทีมงาน และ ผลกำไร ปัจจุบัน เวลซ์เป็นเจ้าของบริษัทแจ๊กเวลล์แอลแอลซี ซึ่งทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ซีอีโอกลุ่มเล็กๆของบริษัทในรายชื่อฟอร์จูน 500 และ บรรยายให้นักธุรกิจ และ นักศึกษาทั่วโลก กว่า 250,000 คน

เนื้อหาหลักของหนังสือ สู่ชัยชนะ พูดถึงหลักปรัชญาทางธุรกิจ ให้ความสำคัญแก่ค่านิยม ความตรงไปตรงมา การสร้างความแตกต่าง รวมไปถึงการรับฟังความคิดเห็นและ การดำรงรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของทุกคน โดยแบ่งเป็น สามส่วน

ส่วนแรก เจาะลึกเรื่องราวในบริษัท จากการเป็นผู้นำไปถึงการสรรหาผู้ชนะที่ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลง
ส่วนที่สอง พิจจารณาคู่แข่งภายนอกในบทที่ว่าด้วยกลยุทธ์ การควบรวมกิจการ และหลักการซิกซ์ซิกม่า
ส่วนสุดท้าย เป็นการจัดการชีวิตการทำงาน ซึ่งเริ่มตั้งแต่การมองหางานที่ใช่ไปจนถึงการสร้างสมดุลระหว่างงานกับชีวิต

รากฐานของทุกอย่าง

1. พันธกิจและค่านิยม (มีแต่คำคุยโวสารพันเกี่ยวกับสิ่งสำคัญยิ่งนี้)

“ พันธกิจ ” ที่มีประสิทธิภาพจะตอบคำถามว่า เราตั้งใจจะเอาชนะในธุระกิจนี้ด้วยวิธีใด เป็นการกำหนดให้บริษัทต้องตัดสินใจเลือกบุคคลากร การลงทุน และทรัพยากร บังคับให้บริษัทมองหาจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเพื่อประเมินว่า ตนจะลงสนามแข่งอย่างไร ที่จะทำกำไรได้ การทำกำไรเป็นกุญแจสำคัญในการวัดความเจริญเติบโตของบริษัท ท้ายที่สุดพันธกิจที่มีประสิทธิภาพ จะสร้างความสมดุลระหว่างสิ่งที่เป็นไปได้กับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้โดยทำให้พนักงานเข้าใจถึงทิศทางที่นำไปสู้ความสามารถในการทำกำไร และเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ตนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญ และ การกำหนดพันธกิจถือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูง

“ ค่านิยม ” คือวิธีการที่จะบรรลุพันธกิจ วิธีการไปสู่จุดหมายปลายทาง ที่ทุกคนในบริษัทควรมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการกำหนดค่านิยมซึ่งก็คือชัยชนะ การมีคนเข้าร่วมมากขึ้นย่อมทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น ได้ข้อคิดที่แตกต่าง และที่สำคัญจะได้ผู้ร่วมกระบวณการ ผู้ร่วมอุดมการณ์ เพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ค่านิยมที่แท้จริงทีได้นั้นผู้บริหารควรตรวจสอบจากคนในองค์กรหลายครั้งจนแน่ใจว่า พนักงานทุกคนรู้สึกว่าตนต้องมีส่วนร่วม ค่านิยมและพฤติกรรมจะไม่มีประโยชน์ถ้าไม่มีผู้สนับสนุน ถ้าอยากให้ค่านิยมีความหมายจริงๆ บริษัทต้องปูนบำเหน็จให้ผู้ปฎิบัติและลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ปฎิบัติ บริษัทจะได้รับชัยชนะมากขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับ
พันธกิจ ที่มาจากผู้บริหารระดับสูง

2. ความตรงไปตรงมา (ความลับเล็กๆน้อยๆที่สกปรกที่สุดในวงการธุรกิจ)

ความตรงไปตรงมา 3 ประการที่นำไปสู่ชัยชนะ คือ
2.1 ทำให้ผู้คนจำนวนมากเข้าร่วมเสนอความคิด เรียนรู้ และมีใจ กับการสนทนามากขึ้น เกิดข้อได้เปรียบขึ้นมาทันที
2.2 ทำให้เกิดความเร็วในการปฎิบัติ จากการเปิดเผยความคิด จะขยายผล และพัฒนานำไปสู่การปฎิบัติ ที่รวดเร็วกว่าบริษัทอื่น
2.3 ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มาก ถ้าสร้างให้เกิดการสนทนาที่แท้จริงแทนการประชุมที่ไร้สาระ

ถ้าต้องการความตรงไปตรงมา ผู้บริหารต้องให้รางวัล ยกย่องและเชิดชูผู้แสดงออกถึงความตรงไปตรงมาให้เป็นวีรบุรุษต่อหน้าทุกคน ที่สำคัญคุณต้องแสดงความตรงไปตรงมาอย่างกระตือรือร้น บางครั้งอาจต้องแสดงออกนอกหน้าไปบ้าง

3. การสร้างความแตกต่าง (ใครว่าผมโหดร้ายและยึดทฤษฏีวิวัฒนาการของชาร์ส์ ดาร์วิน นี่คือความยุธิธรรมและมีประสิทธิภาพต่างหาก )

การสร้างความแตกต่างคือ วิธีการจัดการคนและธุรกิจ ทุกบริษัทจะมีธุรกิจหรือสายผลิตภัณฑ์เป็นจุดแข็ง จุดอ่อนและจุดที่อยู่ระหว่างกลาง การสร้างความแตกต่างจะต้องอาศัยผู้จัดการ ที่แยกแยะว่าอะไรเป็นอะไรอย่างท่องแท้ และลงทุนให้สอดคล้องตามนั้น ถ้าไม่สร้างความแตกต่างในธุรกิจและสายผลิตภัณฑ์ ผู้จัดการทุกคนจะเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากลำบากมาก ส่วนวิธีการสร้างความแตกต่างเรื่องคนเป็นการสร้างความแตกต่างในหมู่พนักงานซึ่งกำหนดให้ผู้จัดการต้องลงมือปฎิบัติจริงๆ เพราะผู้จัดการส่วนใหญ่มักคิดถึงการสร้างความแตกต่างแต่น้อยคน ที่จะปฎิบัติจริง

4. ความคิดเห็นและศักดิ์ศรี ( ทุกสมองมีค่าในเกมเสมอ )
ทุกคนในโลกต้องการแสดงความคิดเห็นและดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีด้วยกันทั้งสิ้น จงตระหนักในสิ่งที่ตนเชื่อมั่น ความเชื่อนี้คือตัวเชื่อมโยงหลักการของพันธกิจ ค่านิยม ความตรงไปตรงมาและการสร้างความแตกต่าง

การแสดงความคิดเห็น หมายถึง คนเราต้องการโอกาสที่จะพูดสิ่งที่ตนคิดและต้องการให้คนอื่นรับฟังความคิด ความเห็น และความรู้สึกต่างๆ ของตนไม่ว่าคนนั้นจะมีสัญชาติ เพศ อายุ หรือวัฒนธรรมใดๆ ก็ตาม
ศักดิ์ศรี หมายถึง คนเรามีความต้องการฟื้นฐานโดยสัญชาตญาณที่จะได้รับความนับถือในเรื่องงาน ความพยายาม และความเป็นปัจเจกบุคคลของตน

บริษัทของคุณ

5. การเป็นผู้นำ ( ไม่ใช่เรื่องของคุณคนเดียว )

งานที่ผู้นำทำ เต็มไปด้วยหลักการที่มีความขัดแย้งกันอยู่ในตัวและการรักษาสมดุลให้
สิ่งที่ผู้นำต้องทำ ๘ ข้อคือ
1. ผู้นำต้องพัฒนาทีมของตนเองอย่างไม่หยุดหย่อน โดยใช้โอกาสทุกครั้งที่พบกันในการประเมิน ชี้แนะ และ สร้างความเชื่อมั่นในลูกทีม
2. ผู้นำต้องทำให้ลูกน้องมีวิสัยทัศน์ และผู้นำต้องยึดถือและปฎิบัติเองด้วย
3. ผู้นำต้องเข้าถึงทุกคน พลักดันให้เกิดพลังในเชิงบวก และการมองโลกในแง่ดี
4. ผู้นำสร้างความไว้วางใจด้วยความตรงไปตรงมา ความโปร่งใสและการปูนบำเหน็จความชอบ
5. ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจเรืองที่ขัดแย้งกับคนส่วนใหญ่และเชื่อมั่นในสัณชาตญาณของตนเอง
6. ผู้นำต้องขุดคุ้ยและผลักดันการทำงานต่างๆ ด้วยความกระหายใคร่รู้และความกังขา และติดตามให้ทุกคำถามที่ถามไปได้รับคำตอบเป็นการลงมือปฎิบัติได้
7. ผู้นำต้องลงมือกระตุ้นให้เกิดความกล้าเสี่ยงและการเรียนรู้โดยการแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง
8. ผู้นำต้องฉลองความสำเร็จ

6. การว่าจ้าง ( คุณสมบัติของผู้ชนะ )

การจ้างคนเก่งเป็นเรื่องยาก การจ้างคนที่ดีเยี่ยมเป็นเรื่องยากแสนสาหัส
วิธีการเลือกจ้างคนที่เป็นผู้นำเข้ามาตั้งแต่ต้น โดย
6.1 ทดสอบคคุณสมบัติ
6.1.1 ความชื่อสัตย์
6.1.2 ความเฉลียวฉลาด มีความรู้กว้างขวาง ใฝ่รู้
6.1.3 วุฒิภาวะ คือทนต่อปัญหา รับมือกับอุปสรรค เคารพความรู้สึกของคนอื่น ถ่อมตน มั่นใจไม่หยิ่งผยอง
6.2 กรอบการทำงาน 4-E (กับ 1-P) ที่มีประสิทธิภาพทุกธุรกิจ และทุกสถานที่
E - Energy หรือ พลังงานทางบวก มักเปิดเผยและมองโลกในแง่ดี
E - Energize หรือ ความสามารถที่จะสร้างพลังให้ผู้ อื่น
E - Edge หรือ ความกล้าที่จะตัดสินใจทำหรือไม่ทำเรื่องยากๆ
E - Execute หรือ ความสามารถในการทำให้งานสำเร็จลุล่วง
P - Passion หรือ ความตืนเต้นอย่างแท้จริง ในเรื่องงานและเรื่องอื่นๆ
รวมทุกสิ่งเข้าด้วยกัน คุณจะได้คนที่มีชัยชนะ

การว่าจ้างบุคคลากรระดับสูง ต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการ
1 ความไม่เสแสร้ง ต้องรู้จ้กตนเองเพื่อตรงไปตรงมากับคนทั้งโลก
สร้างพลังให้ลูกน้อง และเป็นผู้นำโดยใช้อำนาจที่เกิดจากไม่เสแสร้ง
2 ความสามารถในการมองการณ์ไกล ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถพิเศษในการคาดคะเนสิ่งที่อยู่ นอกเหนือความคาดหมายในธุรกิจ ในสภาพการแข่งขันที่ดุเดือด
3 ความปรารถอย่างแรงกล้าที่จะอยู่ในวงล้อมของคนที่เก่ง และ ฉลาด
4 การฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำ

7. การบริหารงานบุคคล ( ได้คนที่ใช่แล้วไงต่อ )
คุณได้ผู้เล่นที่ใช่ ลงสนามแล้ว ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยมมาก แต่เราต้องบริหารคนเหล่านี้ด้วยหลักการคือ
7.1 ยกระดับแผนกบุคคลให้มีอำนาจและความสำคัญอันดับแรกขององค์กร และดูให้พนักงานในแผนกนี้มีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยเหลือผู้จัดการสร้างผู้นำและอาชีพการงานได้
7.2 ใช้ระบบประเมินผลที่เคร่งครัดและไม่มีพิธีรีตรองมากเกินไป
7.3 สร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ เงิน การยอมรับ การฝึกอบรมเพื่อสร้างและรักษาแรงจูงใจ 7.477 7.4 เผชิญหน้าตรงๆกับความขัดแย้งอันขัดแย้ง ทั้งสหภาพ ทั้งตัวป่วน ทั้งดาวรุ่ง ดาวร่วง
7.5 ต่อสู้กับแรงดึงดูด ให้ปฎิบัติเสมือนพวกเขาเป็นชีวิตและจิตใจขององค์กร
7.6 ออกแบบผังองค์กรให้ดู่ง่ายที่สุด โดยระบุความสัมพันธ์และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน

เมื่อจ้างคนที่มีความสามารถแล้ว งานของคุณคือบริหารคนเหล่านี้ ให้ความสำคัญแก่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการบริหารคน

8. การแยกทาง (ปล่อยเขาไปไม่ง่ายเลย)

พูดถึง การไล่ออกเนื่องจากผลการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
ทางแก้คือ การพูดอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องตั้งใจทำอย่างเต็มที่โดย ยึดหลัก 2 ข้อ คือ อย่าให้เขารู้สึกคาดไม่ถึง และ สร้างความอับอาย ให้น้อยที่สุด

9. ความเปลี่ยนแปลง ( เราย้ายภูเขาได้ )

กำหนดให้การริเริ่ม เพื่อการเปลี่ยนแปลงทุกแบบมีวัตถุประสงค์หรือเป็าหมายที่ชัดเจน การเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีสาเหตุเพียงพอเป็นสิ่งที่ไม่ฉลาด และสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
เลือกจ้างและเลื่อนตำแหน่งให้เฉพาะผู้มีศรัทธาจริงๆ และคนที่พร้อมลงมือทำเท่านั้น
ค้นหาและตัดผู้ต่อต้าน ถึงแม้พวกเขาจะทำงานได้ผลเป็นที่น่าพอใจก็ตาม คว้าโอกาสจากสถานการณ์ร้าย

หลักปฎิบัติทั้ง 4 ข้อ ที่สำคัญ คือ จงสื่อสารหลักการ และ เหตุผลที่น่าเชื่อถือของการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งออกไป จ้างคนที่ใช่ไว้ข้างตัว ขจัดคนที่ต่อต้านและคว้าโอกาสทุกอย่างที่ผ่านเข้ามา แม้กระทั่งความโชคร้าย ของคนอื่น เท่านั้นเอง

10. การจัดการภาวะวิกฤต ( จาก ” แย่แน่ๆ แล้ว ” สู่ “ ไม่เห็นเป็นไรเลย ” )

แนวทาง การเปลี่ยนแปลงแนวทางจากสถานกาณ์ “แย่แน่ๆแล้ว” สู่ “ไม่เห็นเป็นไรเลย”
10.1 คิดว่าปัญหานั้นเลวร้ายกว่าที่เห็น จงข้ามขั้นตอนการปฎิเสธไปเสีย แล้วเข้าสู่หลักคิดที่ว่า ปัญหานั้นอาจใหญ่โต ยุ่งยากขึ้น และเลวร้ายกว่าที่คิด
10.2 คิดว่า ความลับไม่มีในโลก ผู้จัดการต้องก้าวนำปัญหา โดยเปิดเผยก่อนที่คนอื่นจะทำแทน
10.3 คิดว่าการแก้ไขวิกฤตการณ์ของคนกับองค์กรถูกไส่ไข่จนออกมาเลวร้ายที่สุด ไม่ต้องสนใจสื่อมวลชน จงกำหนดจุดยืนตนเองไว้ให้ชัดเจน แต่เนินๆ และบ่อยๆ
10.4 คิดไว้เลยว่า ต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน และบุคคลากร
10.5 คิดว่าองค์กรของคุณจะอยู่รอดและแข็งแกร่งขึ้นจากเรื่องที่เกิด การเรียนรู้อะไรบางอย่างจากวิกฤตทุกครั้งที่เกิด ทำให้เราเป็นองค์กรที่ฉลาดและมีประสิทธิภาพ ให้มองอนาคตยาวๆๆ ข้างหน้า อาจทำให้เราอดทนต่อปัญหาได้

การหาภูมิคุ้มกัน ไม่ให้เผชิญภาวะวิกฤตซ้ำสอง มีวิธีการปฏิบัติ 3 ข้อคือ
1. การควบคุมอย่างเข้มงวด เช่น ระบบัญชีและการเงิน การดำเนิน ฯลฯ
2. การจัดกระบวนการทำงานภายในที่ดี มีการจ้างงานที่รอบครอบ
3. การสร้างวัฒนธรรมด้านความซื่อสัตย์ ซึ่งทำได้ยากและไม่ค่อยพบบ่อย

การแข่งขันของคุณ
11. กลยุทธ์ ( ทุกอย่างอยู่ที่เครื่องปรุง )

กลยุทธ์ หมายถึง การเลือกอย่างชัดเจนว่าจะแข่งขันอย่างไร ถ้ามุ่งไปทิศทางที่ถูกต้องและกว้างขวางพอ
กลยุทธฺก็ไม่ จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อย คุณเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคนไม่ได้ ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาด
เล็กหรือใหญ่แค่ไหนหรือมี เงินหนาเท่าไร

เมื่อพูดถึงกลยุทธ์ จงคิดให้น้อยและทำให้มาก วิธีการดำเนินการทางกลยุทธ์ 3 ขั้นตอน
1. คิดหาวิธีการอันรวดเร็ว เป็นจริงและฉลาดเพื่อให้มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่ยืนยง
2. เลือกคนให้เหมาะสมกับงาน
3. หาแนวปฏิบัติที่ดีทีสุดเพื่อทำให้สำเร็จ ไม่ว่าจากภายนอกหรือภายในบริษัทฯ นำมาประยุกต์ใช้และ
ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

12. การจัดสรรงบประมาณ (สร้างสรรค์ธรรมเนียมใหม่)

ทุกคนรู้จัดการทำงบประมาณแบบดั้งเดิมคือ การทำให้พนักงานทำงานโดยมีจุดหมายฟื้นฐานนั่นคือ
ลดความเสี่ยงของธุรกิจให้ต่ำที่สุดและทำให้โบนัสของตนเองสูงที่สุด
การจัดสรรงบประมาณแบบใหม่ ไม่ได้มุ่งเน้นเป้าหมายที่องค์กรกำหนดเท่านั้น แต่มองไปภายนอกที่
กำลังทำอะไรอยู่ และเราจะเอาชนะได้อย่างไร ผลตอบแทนของแผนส่วนบุคคลและธุรกิจ ไม่เกี่ยวข้องกับผล
การดำเนินงานตามงบประมาณ แต่จะเชื่อมโยงผลการดำเนินงานของปีนี้เทียบกับปีที่ผ่านมาและเทียบกับ
การแข่งขันป็นหลักโดยนึงถึงโอกาสและอุปสรรคอย่างแท้จริง โดยเริ่มที่ตัวคุณก่อน

13. การเติบโตทางโครงสร้าง ( เมื่อคุณต้องการเริ่มทำสิ่งใหม่ )

สิ่งที่น่ายินดีทีสุดของการทำธุรกิจ คือ การเริ่มต้นสิ่งใหม่จากภายในสิ่งเก่า เช่น การเปิดตัวสายผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ใหม่ หรือเข้าสู่ตลาดแห่งใหม่ เพื่อให้ธุรกิจใหม่มีโอกาสต่อสู้ให้สำเร็จ ให้ผลตอบแทนมากที่สุดด้วย

ข้อผิดพลาด 3 ข้อ ที่มักจะเจอเมื่อเปิดตัวธุรกิจใหม่ แต่มักจะนำไปสู่ชัยชนะ คือ
1. ไม่ได้ทุ่มทรัพยากรให้ธุรกิจใหม่มากพอ โดยเฉพาะพนักงานแถวหน้า
2. ประกาศ ประโคมข่าว ความสำเร็จ ความสำคัญของธุรกิจใหม่น้อยเกินไป
3. จำกัดอำนาจในการบริหารของธุรกิจใหม่ให้อิสระ

14. การควบรวมและการซื้อกิจการ
(ร้อนรุ่มเพราะอยากได้ และอันตรายถึงตาย)

การควบรวมกิจการให้ประสบผลสำเร็จไม่ใช่เพียงเลือกบริษัทให้เหมาะสมกับกลยุทธ์
แต่ จะต้องหลีกเลี่ยง ความผิดพลาด 7 ประการนี้ด้วยคือ
1. การเชื่อว่าการควบคุมกิจการ ด้วยความเท่าเทียมกัน ( Merger of Equal’s : MORs ) เกิดขึ้นได้จริง
2. ให้ความสำคัญกับความเข้ากันทางกลยุทธ์จนไม่ได้ประเมินความเข้ากันทางวัฒนะธรรม
3. การตกอยู่ใน “สถานการณ์ที่ฝ่ายผู้ซื้อกิจการยอมอ่อนข้อหลายอย่างในขณะเจรจาจนฝ่ายขายกิจการเป็นฝ่าย
ตั้งข้อเรียกร้อง
4. การรวมกิจการอย่างเกรงใจกันมากเกินไป ถ้ามีการนำที่ดี การควบกิจการจะเสร็จสมบรูณ์ภายใน 90 วัน
5. การที่ฝ่ายผู้ซื้อกิจการ ส่งคนเข้ามาบริหารมากเกินไป ทำให้เสียประโยชน์คือ มีคนที่มีความสามารถให้เลือก
มากมาย
6.. การจ่ายแพงเกิดจนไป จนไม่อาจถอนทุนคนได้จากการรวมกิจการ
7. เกิดการต่อต้านของคนของผู้ถูกซื้อกิจการ ตั้งแต่ระดับบนลงล่าง เพื่อความอยู่รอด คุณต้องพยายามทำใจให้
รักกิจการที่ควบรวมเหมือนพวกเขารัก

ระวังอารมณ์รุ่มร้อนเพราะอยากได้มากเกินไป เพราะมันเป็นวิสัยของมนุษย์ แม้แต่ผู้มีประสบการณ์สูงที่สุดก็
หนีไม่พ้นอิทธิพลของอารมณ์นี้ ให้นึกถึงหลุมพราง 7 หลุมเมื่อเกิดอารมณ์นี้ขึ้นมา

15. ซิกซ์ซิกม่า (ดีกว่าไปหาหมอฟันแน่นอน )

ซิกซ์ซิกม่า เป็นนวตกรรมด้านการบริหารจัดการที่ยิ่งใหญ่ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา
ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัท เป็นโครงการปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มประสิทธิผลในการ
ทำงานของบริษัท การเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุน พัฒนากระบวนการออกแบบทำให้เรานำสินค้าเข้าตลาดเร็ว
ขึ้นโดยมี ข้อบกพร่องน้อยลง และ การทำให้ลูกค้าตัดสินใจในแบรนด์

ส่วนสำคัญมากที่ทำให้ลูกค้าติดก็คือ การทำให้ได้ตามที่ลูกค้าคาดหวังหรือดีกว่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่
ซิกซ์ซิกม่าช่วยคุณได้

ระดับการฝึกอบรมซิกซ์ซิกม่า ขึ้นอยู่ที่ว่าคุณตั้งใจจะนำไปใช้ที่ไหนและใช้อย่างไร
แบบแรก คือ ใช้กับกิจกรรทำซ้ำง่ายๆ พนักงานจะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร จะสร้างระบบคิดเชิงวิเคราะห์
วิจาร์ณและสร้างวินัย ทไให้ผลประกอบการทางการเงินดีขึ้นผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำที่ดีด้วย
แบบที่สอง เป็นระดับการฝึกอบรมและวิเคราะห์เชิงสถิติที่ซับซ้อน เช่นธุรกิจเครื่องบินเจ๊ต

ซิกซ์ซิกม่า ไม่เหมาะกับกิจกรรมที่ต้องอาศัยจินตนาการสร้างสรรค์ เช่น โครงการริเริ่มด้านการตลาด
การเขียนคำโฆษณา การทำธุรกิจแบบครั้งเดียวจบเช่น การทำธุรกรรมทางธนาคารผ่านอินเตอร์เนท
ซิกซ์ซฺิก ซิกม่า มีไว้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเฉพาะกระบวนการภายในที่ทำซ้ำซ้ำและการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ฑ์ใหม่ๆที่มีความ ซับซ้อน

หน้าที่การงาน

16. งานที่ใช่ ( หาเจอเมื่อไร คุณนะไ่ต้องทำงานจริงๆ อีกเลย )

ก่อนอื่นให้ดูสัญญาณทั่วไป ทั้งดีและร้ายก่อนว่าคุณเหมาะสมกับงานนั้นหรือไม่ จากหัวข้อต่อไปนี้

1. เรื่องคน คุณชอบที่นี่มากแต่รู้สึกว่า ต้องสวมหน้ากากบางอย่างเวลาทำงาน
2 เรื่องโอกาส งานนี้เปิดโอกาสให้คุณเติบโตและเรียนรู้สิ่งใหม่ แต่คุณได้รับกาว่าจ้าง ในฐานะ
ผู้เชี่ยวชาญแต่มีแนวโน้มว่าคุณจะเป็นคนที่เก่งที่สุด
1. เรื่องทางเลือก งานนี้ให้ชื่อเสียงเกียรติยศและผลงานที่จะติดตัวคุณไป แต่ธุรกิจนั้นไปถึงจุดสูงสุด หรือ
ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ บริษัทฯ ไม่ยอมขยายโอกาสการทำงานให้คุณ
เรื่องการเป็นเจ้าของ คุณทำงานเพื่อตัวเองหรือเพื่อใคร
เนื้องาน ทำให้คุณกระตือรือร้น งานสนุกมีความหมาย แต่ถ้าคุณคิดว่าคุณรับงานนี้ โดยคิดในใจว่า
คิดเสียว่าทำเพื่อเงินหรือทำไปจนกว่าจะเจออะไรดีกว่า

เรื่องค่าตอบแทน หาคำตอบให้ได้ว่า เงินมีความหมายกับคุณแค่ไหน
สัญญาณบ่งบอกความเหมาะสมของงานไม่เรียงลำดับ เพราะทุกข้อล้วนมีความสำคัญเท่ากันหมด

การหางานที่แท้จริงงานแรก จงแสดงตัวตนที่แท้จริง และทำตัวตามสบาย ความไม่เสแสร้งอาจเป็น ขายที่ดีที่สุดที่คุณมีอยู่ ข้อคิดข้อแรก คือ การหางาต้องใช้เวลา ต้องใช้ความอดทน และผ่านการทดสอบ ที่สำคัญต้องทำงานอะไรสักอย่างไปสักพักกว่าจะรู้ตัวว่าคุณทำได้หรือเปล่า ยังไม่ต้องรู้สึกว่าใช่หรือเปล่า
ข้อคิดที่สอง คือ การหางานที่เหมาะสมจเง่ายขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคุณเก่งขึ้น

ดังนั้นถ้าอยากหางานที่ดีจริงๆ เลือกสิ่งที่คุณรัก ทำงานกับคนที่ชอบและทุ่มสุดตัว

17. การเลื่อนตำแหน่ง (เสียใจด้วยนะ ไม่มีทางลัด )

การเลื่อนตำแหน่ง ขึ้นกับ สิ่งที่ควรทำ และ สิ่งที่ไม่ควรทำ
สิ่งที่ควรทำ สร้างผลงานที่น่าประทับใจอย่างเป็นทางการ ดีกว่า ความคาดหมายมากๆๆ หา กระบวนการใหม่ๆ ปรับปรุงผลลัพธ์ของบริษัท ให้ดีขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะงาน ที่ทำให้คนรอบข้างทำงานดีขึ้น อย่าทำแค่การคาดการณ์เท่านั้น
สิ่งที่ไม่ควรทำ ทำให้หัวหน้าใช้ต้นทุนทางเมืองเพื่อเอาชนะคุณ อย่าทำตัวเป็นเสี้ยนหนามขององค์กร คุณอาจทำผลงานได้ยอดเยี่ยมที่สุด แต่คุณไม่ทำตามค่านิยม และพฤติกรรมขององค์กร คุณก็เสี่ยงต่อสถานการณ์นี้

คุณจะไม่ได้เลื่อนตำแหน่งทุกครั้งที่คุณต้องการ แต่ถ้าคุณยอมเดินทางไกลท้ายที่สุดแล้วคุณจะไปถึงจุดหมาย อาจเร็วกว่าที่คุณคิดด้วยซ้ำ

18. ขวากหนาม (เจ้านายแสนแสบ คนนั้น)

นายไม่ดี อาจทำให้คนตายได้ อาจคร่าจิตวิญญาณส่วนที่สร้างพลังความมุ่งมั่น และความหวัง ของคุณไป
เจ้านายไม่ดีมีทุกรูปแบบ แย่งความดีความชอบ ไร้ความสามารถ เลียก้นนายแต่ถีบหัวลูกน้อง หักหน้า งกเงิน อารมณ์แปรปรวน ไม่รักษาสัญญา ในสถานการณ์ใดๆ เกี่ยวกับเจ้านายยอดแย่ อย่าปล่อยให้ตัวเองตกป็นเหยื่อ
คุณต้องหาคำตอบว่า เกิดอะไรขึ้น ที่เจ้านายมีอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติหรือประสิทธิภาพ การทำงานไม่ตรงกับคุณ โดยทั่วไปแล้ว เจ้านายจะไม่งี่เง่ากับคนที่เขาชอบ นับถือและต้องการ จงทบทวนผลการทำงานของคุณให้หลักว่า จะปิดเกมกับเจ้านายอย่างไร เจ้านายห่วยๆ ส่วนใหญ่ มีค่านิยมยอดแย่ แต่ผลงานดี และมักจะมีเกราะคุ้มกันอยู่ได้นาน แม้จะทำตัวเลวร้ายก็ตาม

แล้วเราจะทำงานอยู่ที่นี่เพื่ออะไร
คุณต้องประเมินว่ามีข้อดีอะไรบ้างมาชดเชยและถามว่า “ มันคุ้มค่ากันไหม “ ถ้าคุณไม่เริ่มก็รีบหาทางออกจากบริษัทโดยสวัสดิภาพ ถ้าทนได้ และยอมรับ ได้ในระยะยาว จงมองภาพรวมของเจ้านาย ว่าเขาไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตคุณ เป็นแค่ชีวิตทำงาน ซึ่งคุณเลือกแล้ว ก็ต้องยอมรับผลของการเลือกด้วย

19. ความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต
(ทุกสิ่งที่คุณอยากรู้แต่ไม่อยากฟัง เกี่ยวกับการสร้างสมดุล)

ทุกสิ่งที่คุณอยากรู้แต่ไม่อยากฟัง เกี่ยวกับการสร้างสมดุล หมายถึง การที่เราทุกคนจะจัดการชีวิตของเราและจัดสรรเวลาของเราอย่างไร เป็นเรื่องของการจัดลำดับความสำคัญและค่านิยม คือ เราจะยอมให้งานเข้ามากลืนชีวิตเราแค่ไหน เช่น ชีวิต 80% งาน 20% หรือ ไม่ว่าเราจะเลือกสมดุลแบบใด คุณต้องเสียอะไรบางอย่างไปเสมอ

ถ้าจะมองความสมดุลระหว่าง งานกับ ชีวิต จากมุมมองเจ้านาย

1. เจ้านายอยากให้คุณมีความสุขแต่ก็ไม่มากกว่าการนำบริษัทไปสู่ชัยชนะ เจ้านายต้องการดึงพลังงานทั้งหมดของคุณออกมาให้บริษัท
2. ถ้าคุณแลกด้วยการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เจ้านายยินดีที่สุดที่จะช่วยจัดการอุปสรรค เกี่ยวกับ สมดุลระหว่างงานกับชีวิต
3. เจ้านายทราบดีว่าจะต้องอ้างว่า “ แต่ บริษัท บอกว่า...............................” เพื่อทำให้การจัดการสมดุลระหว่างงานกับชีวิตเป็นความจริง ถ้าคุณต้องการเลือกบริษัทนี้ คุณต้องเลือกบริษัทที่สนับสนุนเรื่องนี้เหมือนกับเป็นกิจกรรมประจำวัน
4. คนที่ทำตัวมีปัญหาสมดุลระหว่างงานกับชีวิต จะหันไปขอความช่วยเหลือกับบริษัทอยู่บ่อยๆ จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเอาแต่เรียกร้อง ไม่ทุ่มเท ไร้ความสามารถ
5. เจ้านายที่ใจดีที่สุด ก็เชื่อว่า คุณต้องเป็นคนแก้ปัญหา ของความสมดุ ลนั้น

สิ่งที่คุณเลือกส่งผลต่อคนอื่นมากมาย แนวทางที่คุณควรปฏิบัติ คือ
1. จดจ่ออยู่กับสิ่งที่คุณกำลังทำ
2. กล้าปฏิเสธคำขอและการเรียกร้อง นอกแผนสมดุลระหว่างงานกับชีวิตที่คุณเลือก
3. อย่าลืมรวมตัวเองไว้ในแผนสมดุลระหว่างงานกับชีวิตด้วย การบรรลุสมดุล ระหว่างงานกับงานกับชีวิต เป็นกระบวนการที่ต้องทำซ้ำบ่อยๆๆๆ

20. อุดช่องโหว่ ( ตรงนั้น ตรงนี้ และทุกหนทุกแห่ง )
ต้องทำให้ทุกคนในองค์กรตระหนักถึงความสำคัญของต้นทุน คุณภาพและบริการ เพื่อการอยู่รอด
และต้องมองให้ใกลไปถึงตลาดใหม่ กลุ่มเห้าหมายอย่างแท้จริง
≤≤ ≥≥≤≤ ≥≥

ความคิดเห็น
แจ็คเวลส์ เขียนหนังสือเล่มนี้จากประสบการณ์ที่แท้จริง หลังจากที่เขาออกมาจาก GE แล้ว
สิ่งที่เขาเขียนจึงมาจากประสบการณ์จริงๆ ที่เขาเจอ ฉะนั้นเขาจึงเขียนออกมาได้ชัดเจนว่า
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารไม่ใช่ ขั้นตอนหรือวิธการ เท่านั้น แต่ เป็นการเข้าใจ คน อย่าง
ลึกซื้งและท่องแท้ ถ้าไม่เข้าใจ คน ก็จะไม่สามารถบริหารองค์กรได้ แต่ คน ในความหมายของ
เขานั้นไม่ได้หมายความเฉพาะแต่คนยุโรปเท่านั้น แต่เป็นคนทั่วไปทั้งโลก ซึ่งทำให้ผู้อ่านหนังสือ
เล่มนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

แต่หลักการ และ ข้อคิดบางอย่าง ที่เขาเขียน นำไปปฏิบัติได้ยากและมีความขัดแย้งในตัวเอง
เช่น “กฏ 6 ข้อของเวลส์ ที่ผู้นำต้องทำ” มีความขัดแย้งกันเองในข้อที่ 3 และ ข้อที่ 6
คือ ข้อที่สาม บอกว่า ให้ผู้นำแสดงผลังในเชิงบวกและมองโลกในแง่ดี ส่งเสริมให้คนมีทัศนคติว่าเราทำได้
ส่วนข้อที่ 6 บอกว่า ให้คุณคอยตั้งคำถามลูกน้องอยู่เรื่อยๆ และอย่าเชื่อในสิ่งที่เขาพูด

อีกหนึ่งตัวอย่างที่มีความเห็นว่าเวลส์ เขียนหนังสือที่อ่านแล้ว ดูเหมือนจะมีหลักการที่ดีมาก
แต่เมื่อนำไปปฏิบัติ ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ ไม่มีใครรู้ คนปฏิบัติเองก็ยังไม่รู้ โดยเฉพาะคนปฏิบัติ ที่ไม่ใช่เจ้าของบริษัท ก็จะเกิดความท้อแท้ ขึ้นมาเสียก่อน จะทำสำเร็จ และ ผู้ปฏิบัติ
ที่เป็นผู้นำไม่ใช่มีคนเดียวในองค์กร ต่างฝ่ายต่างทำในสิ่งที่ตนเองตั้งเป้าหมาย ไว้ในวิธีการของตนเอง คิดดูว่า จะเกิดความสับสน แค่ไหน อย่างไร เจ้าของบริษัทเองคงจะสับสนเหมือนกัน
ถ้าตัวเองต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างตามผู้จัดการแต่ละคน เช่น

เวลส์บอกว่า การสร้างความแตกต่างในธุรกิจหรือสายผลิตภัณฑ์ ต้องอาศัยผู้จัดการที่เข้าใจและแยกแยะให้ดีว่าอะไรเป็นอะไรอย่างถ่องแท้ และลงทุนให้สอดคล้องตามนั้น ซึ่งผู้จัดการแต่ละคนก็จะมีโครงสร้างและหลักการบริหารของแต่ละคน แต่ละแนวทาง ก็จะเกิดความขัดแย้ง ในการทำงานขึ้นมาแน่นอน ถ้าเจ้าขององค์กร หลงไปเชื่อผู้จัดการคนใดคนหนึ่งมากไป เพราะหลักการอาจจะโดนใจเจ้าของพอดี ผู้จัดการฝ่ายอื่นๆ คงไม่พอใจ ไม่อยากทำงานต่อหรือก็ทำไปงั้นๆๆ ให้งานจบไปโดยที่ไม่แสดงพลังอะไรออกมา ฝ่ายพนักงานผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความสับสน ทำให้เกิดปัญหาภายในองค์กร ที่เรื้อรัง อีกมากมาย เป็นต้น และการจะหาผู้จัดการที่มองเห็นปัญหา
และวางแนวทางการแก้ปัญหาที่องค์กรเจอนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากที่สุด ไม่เช่นนั้นทุกองค์กร ก็ทำธุรกิจได้กำไร ร่ำรวยมหาศาล ไปแล้ว
ฉะนั้น การเขียนหนังสือของเวสส์ บางอย่างมันก็เป็นเพียงแค่หลักการ เท่านั้น.