Law

การจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคฯ

- การจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคผู้ขออนุญาตจะต้องเป็นผลิตสินค้าขึ้นเองหรือเป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย (ยกเว้นให้กิจการที่เป็นลักษณะของศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร หรือนิติบุคคลที่ประกอบาชีพด้านบริการ) เว้นแต่การส่งข้อความ SMS หรือทางโทรศัพท์ผ่านระบบหมายเลขต่างๆ หรือวิธีอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน ในการทายผล ตอบปัญหา หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อชิงรางวัลผู้ขออนุญาตไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตสินค้าขึ้นเองหรือเป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

- ให้ใช้วิธีการเล่นโดยการส่งชิ้นส่วนของสินค้าหรือบัตรสมนาคุณหรือบัตรอื่นๆ มาจับสลาก ส่วนวิธีการเล่นอย่างอื่นห้ามมิให้อนุญาตโดยเด็ดขาด

- ในกรณีที่ผู้จัดใช้วิธีการเสี่ยงโชคโดยการส่งข้อความ SMS หรือทางโทรศัพท์ผ่านระบบหมายเลขต่างๆ หรือวิธีอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน ในการทายผล ตอบปัญหา หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อชิงรางวัล ให้ใช้วิธีการเล่นโดยการพิมพ์หมายเลขของผู้ส่งข้อความที่ร่วมรายการดังกล่าว แล้วนำมาจับสลากตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด ส่วนวิธีการเล่นอย่างอื่นห้ามมิให้อนุญาตโดยเด็ดขาด แต่ทั้งนี้ผู้ขออนุญาตจะต้องไม่มีการแบ่งผลประโยชน์จากค่าบริการดังกล่าว

- ห้ามมิให้จ่ายหรือรับเงินแทนการแถมพกหรือรางวัล เช่น เงินสด บัญชีเงินฝาก เช็ค เป็นต้น

4.4 การพนันประเภทที่อนุญาตให้เล่นได้ (บัญชี ข.) บางประเภทก็ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็จะมีนโยบายโดยทำเป็นหนังสือสั่งการระงับมิให้อนุญาตจัดให้มีการเล่นดังกล่าว เช่น การพนันเครื่องเล่นซึ่งใช้เครื่องกล พลังไฟฟ้า พลังแสงสว่าง หรือพลังอื่นใดที่ใช้เล่นโดยวิธีสัมผัส เลื่อน กด ดีด ดึง ยิง โยน หมุน หรือวิธีอื่นใดซึ่งสามารถทำให้แพ้ชนะกันได้ ไม่ว่าจะโดยมีการพนันแต้มหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ก็ตาม การพนันไพ่โป๊กเกอร์ ไพ่เผ การพนันฟุตบอลโต๊ะ และการพนันบิลเลียด เป็นต้น และการพนันบางประเภทแม้สามารถอนุญาตให้เล่นได้แต่ก็อาจมีเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตจะต้องดำเนินการขออนุญาตให้ใช้สถานที่เล่นการพนัน (เปิดบ่อน) ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตให้มีสถานที่เล่นการพนัน (บ่อน) แล้ว จึงจะจัดให้มีการเล่นการพนันในบ่อนที่ได้รับอนุญาตนั้นได้ เช่น การพนันชนโค การพนันแข่งม้า การพนันชนไก่และกัดปลา เป็นต้น

4.5 กระทรวงมหาดไทยมีนโยบายห้ามมิให้จัดให้มีการเล่นการพนันทุกประเภทในบริเวณวัดและสถานศึกษาโดยเด็ดขาด และห้ามมิให้อนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันในวันที่ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ วันวิสาขบูชา วันมาฆะบูชา วันอัฒมีบูชา (เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6) วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และวันธรรมสวนะ

4.6 การพนันประเภทที่ไม่สามารถอนุญาตได้ (บัญชี ก.) หรือการพนันประเภทที่กระทรวงมหาดไทย มีนโยบายไม่ออกใบอนุญาตให้เล่นได้ (บัญชี ข.) ก็จะแจ้งให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านดำเนินการกวดขัน จับกุมและดำเนินคดีตามกฎหมายเพื่อมิให้มีการลักลอบเล่นการพนันดังกล่าวในพื้นที่ทั่วประเทศ

 

 

Promotion

สาเหตุ 7 ประการที่ทำให้การส่งเสริมการขายล้มเหลว/ผศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล

ลด แลก แจก แถม หรือที่เรียกรวมๆกันว่า การส่งเสริมการขายเป็นกิจกรรมทางการตลาดที่เป็นที่นิยมทุกยุคทุกสมัย  ทั้งกับบริษัทใหญ่ๆ จนถึง ร้านค้าปลีกเล็กๆ  หลายครั้งที่การส่งเสริมการขายประสงความสำเร็จในการกระตุ้นยอดขายมากอย่างที่ผู้จัดคิดไม่ถึง (เช่น  รายการแถม แลกซื้อชุดตุ๊กตาของร้านแมคโดนัล ในช่วง 2 – 3 ปีก่อน)  และหลายครั้งที่รายการที่คิดและทุ่มเทกำลังเงินกำลังกาย และตั้งความหวังว่าจะช่วยให้ยอดขายดีขึ้นกลับล้มเหลวไม่เป็นท่า  ยอดขายที่เพิ่มขึ้นมาก็น้อยจน เมื่อหักกับค่าใช้จ่ายในการจัดรายการแล้วขาดทุน  สู้อยู่เฉยๆยังจะดีกว่า

 

                อะไรเป็นต้นเหตุให้การส่งเสริมกาขายไม่ประสบความสำเร็จตามที่ผู้ประกอบการตั้งเป้าหมายไว้  ผมได้ลองสรุปจากการสังเกต และประสบการณ์ ไว้ได้ 7 ประการดังนี้

 

                1.  รายการสั้นหรือยาวเกินไป  วัตถุประสงค์หลักของการส่งเสริมการขายก็เพื่อกระตุ้นยอดขายให้เกดิขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยการจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วขึ้น มากขึ้น ซึ่งเงื่อนไขเวลาในการจัดรายการต้องเหมาะกับพฤติกรรมการซื้อสินค้านั้นๆ ขอลูกค้า  ถ้าจัดรายการลดราคา 50 % เป็นเวลา 6 เดือน ในร้านขายเสื้อผ้า ลูกค้าก็ไม่จำเป็นต้องรีบตัดสินใจ กลับไปคิดที่บ้านและแวะมาดูใหม่ก็ได้  แบบนี้ถือว่ายาวเกินไป ไม่กระตุ้นให้ลูค้าตื่นเต้นอยากรีบซื้อ

 

                เมื่อปีก่อนผมเคยได้รับใบปลิวจากร้านแพสเซล (ขนมปังอบที่ขดเป็นรูปโบว์) ที่เซ็นทรัล ใบปลิวแจ้งว่าจะจัดรายการลดพิเศษเพื่อฉลองวันเปิดร้านครบรอบ 1 ปี  โดยเสนอราคาพิเศษในวันที่ 24 ของเดือนนี้  ตั้งแต่ 10.00-21.00.  แบบนี้ผมคิดว่าเป็นรายการที่สั้นไปครับ ไม่น่าสนใจ น่าจะจัดรายการสัก 1-2 สัปดาห์ จะได้ผล กว่า

 

                2.  การเข้าร่วมรายการยากเกินไป  รายการส่งเสริมการขายประเภทที่ต้องตอบคำถาม หรือกรอกข้อมูลเป็นหน้าๆ  หรือต้องเอาสติกเกอร์ในซอง A มาติดในฟอร์ม B แล้วเอาตัวเลือกในฟอร์ม B มากรอกในฟอร์ม C  พร้อมระบุของรางวัลที่ต้องการ (ถ้าโชคดี) จากรายละเอียดใน ฟอร์ม D  ใส่ซองส่งมาตามที่อยู่ที่ระบุไว้เพื่อเข้าร่วมรายการชิงโชค  แบบนี้แค่อ่านวิธีเข้าร่วมรายการก็เหนื่อยแล้วครับ  ผมเห็นว่ามีนิตยสารฉบับหนึ่งที่ชอบจัดรายการทำนองนี้ส่งมาให้สมาชิกอยู่บ่อยๆ (ท่านก็เคยได้รับแบบผมใช่ไหมครับ)  แรกๆผมก็ว่าน่าสนใจดี ท้าทายให้อ่าน  แต่หลังๆชักเบื่อ (กลัวกรอกผิดด้วย) เลยโยนทิ้งทั้งซอง  ไม่รู้จะทำให้ยุ่งยากทำไม  หรือว่าต้องการทดสอบระดับความรู้และความอดทนของลูกค้าก็ไม่รู้ครับ  จัดรายการเข้าใจง่ายๆประเภท เขียนชื่อ ที่อยู่ แนบซองผลิตภัณฑ์ส่งไปชิงโชคยังง่ายกว่ากันตั้งเยอะ

 

                อีกลักษณะหนึ่งที่เข้าข่ายยากเกินไป ในการเข้าร่วมรายการ คือ การระบุเงื่อนไขที่ลูกค้าส่วนใหญ่ยากจะทำได้ เช่น ร้านสะดวกซื้อ (ซึ่งปกติลูกค้าจะซื้อของเฉลี่ยคนละ 30-50 บาท) ไประบุว่าต้องซื้อครบ 1,000 บาทถึงมีสิทธิ์ร่วมรายการ แบบนี้ยากไปครับ ไม่น่าสนใจ  ถ้าซื้อครบ 100 บาท แล้วมีสิทธิ์ค่อยน่าลุ้นหน่อยครับ

 

                3.  ของรางวัลไม่แรงพอ  ถ้าคิดจะทำรายการส่งเสริมการขายแล้วต้องใจถึงหน่อยครับ  อยากจัดเพราะเห็นคนอื่นจัด อยากทำบ้างแต่ก็ยังเสียดายเงิน  เช่น ร้านเสื้อผ้าเดี๋ยวนี้เวลาจัดรายการลดราคา 50% เป็นเรื่องปกติแล้วครับ  ยี่ห้อดังๆบางทีเขาก็ลด 60-80% ก็มี  ถ้าร้านเสื้อผ้าจัดรายการแบบลดแค่ 5-10% แล้วยอดขายไม่เพิ่มขึ้นก็อย่าแปลกใจ เป็นเพราะรางวัลไม่แรงพอ แต่ถ้าเป็นธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อดังๆ ที่ไม่ค่อยจัดรายการลดราคาบ่อยๆ ลด 15-20% ก็อาจมีความแรงพอที่จะดึงดูดลูกค้าได้ แต่ความแรงของรางวัล หรือส่วนลดในรายการส่งเสริมการขายก็คล้ายกับยาเสพติดครับ พอเริ่มต้นทำ หรือทำไปได้สักพักถ้ารางวัลไม่แรงขึ้นลูกค้าก็ไม่ค่อยตื่นเต้นแล้วถ้าจัดบ่อยๆ ก็ต้องเพิ่มรางวัลให้แรงขึ้น ถ้าคู่แข่งโดดเข้ามาเล่นด้วยละก็ดีไม่ดีเป็นการก่อสงครามการส่งเสริมการขายที่รุนแรงไม่แพ้สงครามราคาอาจเจ็บตัวทั่งสองฝ่ายได้ ต้องระวังเหมือนกัน

 

                ของแถมหรือแลกซื้อ เช่นเดียวกัน  เดี๋ยวนี้ลูกค้าฉลาดขึ้นครับเขามองหาความคุ้มค่ามากขึ้น  ถ้าของแถมดูเป็นของราคาถูก คุณภาพต่ำ บางทีลูกค้าก็เมินครับ  แต่ถ้าของแถมดูมีค่าน่าสนใจสำหรับกลุ่มเป้าหมาย  ยอดขายก็ทะลักเขามาน่าตกใจเหมือนกัน  อย่างตอนที่ร้านแมคโดนัลด์ จัดแลกซื้อตุ๊กตาสนุปปี้  เมื่อ 2 ปีก่อน ทำเอาร้านแทบพัง  มีลูกค้าที่เข้าไปซื้อชุดแฮปปี้ มีล เป็น 10 ชุดเพื่อเอาของแถม แล้วทิ้งแฮมเบอร์เกอร์ไว้ไม่เอากลับไปก็มี

 

                หรืออย่างร้าน S&P ที่ลดราคา 25% ทุกวันอังคาร ก็ดึงดูดลูกค้ามากทีเดียว  จนทำให้ร้านเบเกอรี่หลายๆแห่ง  ต้องจัดรายการประเภทนี้บ้าง  ถ้าใจไม่ถึงลดแค่ 5-10% การตอบรับของลูกค้าก็คงไม่แรกเท่าที่เห็นกันอยู่

 

                4.  ไม่มีโฆษณาช่วย ท่านทราบไหมครับว่า  บริษัทใหญ่ๆหลายแห่ง ที่เขาจัดรายการชิงโชคประจำปี  เขาใช้งบประมาณสำหรับของรางวัล 5 ล้านบาท  แต่ใช้งบประมาณในการส่งเสริมการขายถึง 20 ล้าน  แต่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากการที่ลูกค้ารับรู้ว่ามีการจัดรายการ และซื้อสินค้านั้นๆเพื่อหวังของรางวัลก็คุ้มค่า  แต่กิจการเล็กๆ  หลายแห่งทำการส่งเสริมการขายโดยไม่เคยวางแผน หรือจัดงบประมาณในการโฆษณาให้ลูกค้ารู้ว่ามีการจัดรายการทำให้แทนที่จะได้ประโยชน์  จากการจัดรายการในการดึงดูดของลูกค้าใหม่ๆ ให้มาซื้อสินค้ากลับได้แต่เพียงการคืนกำไรให้ลูกค้าที่ตั้งใจมาซื้อสินค้าอยู่แล้ว คิดไปคิดมาจัดการส่งเสริมการขายแล้วลูกค้าไม่รู้ว่ามีรายการอาจเป็นการควักเนื้อให้ลูกค้าฟรีๆ โดยยอดขายแทบไม่กระเตื้องขึ้นมาก็ได้

 

                5.  ไม่สอดคล้องพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า  ห้างสรรพสินค้าบางแห่งจัดรายการแลกซื้อสินค้า เมื่อซื้อของครบตามที่กำหนด  แต่ของที่แลกซื้อเป็นพวกกล่องพลาสติก  หรือตู้พลาสติกที่มีขนาดใหญ่  ถ้ากลุ่มเป้าหมายของห้างเป็นลูกค้าที่มีรถส่วนตัวก็ไม่มีปัญหาอะไร  แต่ถ้าลูกค้าของห้างเป็นกลุ่มที่ไม่มีรถส่วนตัว (ใช้รถเมล์หรือ มอเตอร์ไซค์) ของรางวัลแบบนี้ทำเอาลูกค้าหลายรายต้องถอดใจเพราะไม่รู้จะขนกลับไปอย่างไร

 

                ในร้านขายสินค้าด้านชีวจิต แห่งหนึ่ง  ผมเคยเห็นเขาจัดรายการส่งเสริมการขายกับไข่ไก่สุขภาพ ที่เสริมโอเมก้า 3 ราคาต่อโหลก็แพงกว่าไข่ธรรมดาเกือบ 1 เท่าตัว  เข้าจัดรายการซื้อ 2 โหล แถม 1 โหล  ผมลองดูวันวันหมดอายุของไข่ไก่ก็ประมาณ 2 สัปดาห์  รายการแบบนี้ผมว่าไม่น่าสนใจครับ  จะมีลูกค้าที่รับประทานไข่ไก่ 3 โหลได้หมดในเวลา 2 สัปดาห์  ยิ่งกลุ่มเป้าหมายที่ยอมจ่ายเงินซื้อไข่ประเภทนี้เป็นพวกรักษาสุขภาพ  ผมก็เชื่อว่าคงไม่บริโภคไข่มากขนาดนั้น  รายการแบบนี้ไม่ค่อยสอดคล้องกับพฤติกรรมการซื้อ การบริโภคของกลุ่มเป้าหมายครับ น่าจะเสนอส่วนลด 10-20% หรือซื้อ 1 โหลแถมชาสมุนไพร ยังจะน่าสนใจกว่า

 

                หรืออีกตัวอย่างหนึ่งที่น้องสาวผมเจอมาเอง  เขาซื้อไอศครีมที่ร้านไอศกรีมชื่อดังในห้างสรรพสินค้า ที่ถ้วยกระดาษใส่ไอศกรีมจะมีสติกเกอร์ติดอยู่ให้ลอกออกมา  ถ้าโชคดีก็จะได้รับไอศกรีมฟรีอีกถ้วยหนึ่ง  น้องผมเกิดโชคดีขึ้นมาเลยต้องทานไอศกรีม 2 ถ้วย (เผอิญไปคนเดียว แถมสั่งถ้วยใหญ่ด้วย)  รายการแบบนี้ผมว่าไม่ได้ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าอยากเข้าไปซื้อเพราะการส่งเสริมการขาย แต่ดูจะเป็นการคืนกำไร(ที่ทำความลำบากใจ)ให้ลูกค้ามากกว่า  แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นคูปองส่วนลด 50% ในการมาซื้อครั้งต่อไปน่าจะได้ผลดีกว่าในการให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ  อย่างน้อยก็ยังได้ยอดขายในอนาคตเพิ่มจากกิจกรรมคืนกำไร

 

                6.  ไม่มีแผนงานที่ชัดเจน  กิจการขนาดเล็กบางแห่งจัดรายการส่งเสริมการขายเพราะเห็นว่าคู่แข่งมีการจัด  โดยมีการลอกแบบมาจากรายการที่มีผู้อื่นจัดมาก่อน  โดยขาดการวิเคราะห์ วางแผน และกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับลักษณะของกิจการและลูกค้าของตนมีผลให้ ไม่สามารถประเมินได้ว่ากิจกรรมส่งเสริมการขายนั้น บรรลุเป้าหมายหรือไม่

 

                กิจกรรมส่งเสริมการขายที่ขาดการวางแผนและประเมินผลที่ชัดเจน  อาจทำให้เกิดผลในเชิงลบกับบริษัทในระยะต่อมา  เช่น  ทำให้ยอดขายในช่วงจัดรายการสูงขึ้นมาก แต่เมื่อสิ้นสุดรายการส่งเสริมการขาย ยอดขายกลับตกต่ำลงกว่าช่วงปกติ (ช่วงจัดรายการ)  เนื่องจากการส่งเสริมการขายที่ดูเหมือนว่าจะประสบความสำเร็จนั้น  ยอดขายที่เพิ่มขึ้นมาจากการเพิ่มยอดขายในอนาคตของสินค้า  เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าไปเป็นจำนวนมาก ก็จะยืดรอบการซื้อในระยะเวลาต่อมา  ท้ายที่สุดยอดขายรวมทั้งปีอาจไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดรายการส่งเสริมการขาย

 

                ในการจัดการส่งเสริมการขายที่ดี  ผู้จัดควรมีการวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน  จะได้เลือกเครื่องมือในการส่งเสริมการขายให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการ เช่น หากต้องการเพิ่มยอดขายด้วยการแย่งลูกค้าจากคู่แข่ง  รายการที่จัดอาจออกมาในลักษณะที่ให้ผู้บริโภคนำซองสินค้าของคู่แข่งมาแสดงเพื่อใช้เป็นส่วนลดในการซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัท  หรือหากวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการขาย  ต้องการให้ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณที่มากขึ้น  ก็สามารถจัดรายการในลักษณะที่ให้ส่วนลดปริมาณ เช่น ซื้อ 2 แถม 1 เป็นต้น

 

                7.  ไม่มีความจริงใจ  ผู้ประกอบการบางแห่งนำผลิตภัณฑ์ที่ใกล้หมดอายุมาจัดรายการส่งเสริมการขาย  หรือใช้เป็นของแถมทำให้ผู้บริโภคที่ซื้อไปเกิดความไม่พึงพอใจหลังการซื้อ และเกิดภาพลักษณ์ไม่ดีต่อการส่งเสริมการขายของบริษัทนั้นๆ  หรือปั๊มน้ำมันบางแห่งติดป้ายแจ้งรายการของแถม เมื่อเติมน้ำมันไว้ที่หน้าปั๊ม  แต่เมื่อลุกค้าเติมครบก็ไม่ได้รับของแถม  โดยพนักงานอ้างว่าของหมด  กรณีแบบนี้หากเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็ทำให้ลุกค้าหมดความเชื่อถือในรายการส่งเสริมการขายของร้าน  ซึ่งในบางประเทศมีการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค โดยร้านค้าที่จัดรายการลดราคา แถม หรือแลกซื้อ  ถ้าของนั้นหมดขณะที่ยังไม่สิ้นสุดรายการส่งเสริมการขายที่ประกาศไว้  ทางร้านจะต้องนำสินค้าอื่นที่มีมูลค่าทัดเทียมกันเป็นการทดแทน  หรือให้คูปองแทนสินค้า  โดยให้ลูกค้านำมารับสินค้าหรือของแถมภายหลัง

 

                ในประเทศไทย  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นหน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนและลงโทษผู้ประกอบการในกรณีทำนองนี้ อย่างเร็วๆนี้มีผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาว่าได้ใบปลิวส่งเสริมการขายของร้านพิซซ่าดังยี่ห้อหนึ่งจัดรายการซื้อถาดแรกแล้วเมื่อสั่งถาดที่สองในขนาดเดียวกันจะได้ลด50% ลูกค้ารายนี้เลยสั่งถาดแรกทานในร้านและใช้สิทธิสั่งถาดที่สองนำกลับบ้าน ทางร้านไม่ยอมให้ส่วนลดโดยอ้างว่าจะให้ส่วนลดเมื่อสั่งทานในร้านหรือสั่งกลับบ้านทั้งสองถาดเท่านั้นแต่ในใบปลิวไม่มีเงื่อนไขนี้ระบุไว้ เขาทำเรื่องร้องเรียนเข้ามาที่ สคบ. งานนี้ทางบริษัทถูกลงโทษทั้งห้ามโฆษณา และโดนปรับ แถมอาจจะยังต้องชดเชยให้ลูกค้าด้วย

 

 ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจเรียกร้องสิทธิของตนอย่างลูกค้ารายนี้แต่เมื่อเสียความรู้สึกก็ลงโทษ โดยการไม่กลับมาซื้อสินค้าที่ร้านนั้นๆอีก  ซึ่งเกิดผลเสียในระยะยาวต่อบริษัท

 

                ความผิดพลาดทั้ง 7 ประการ ข้างต้น  ถือเป็นบาปของผู้ประกอบการไม่ว่าจะทำโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม  ในการทำให้การส่งเสริมการขายที่ลงทุนลงแรงจัดทำขึ้นล้มเหลว หรือ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร  ยุคนี้การแข่งขันรุนแรง  ผู้บริโภครับข่าวสารข้อมูลรวดเร็วกว่าเดิม  และมีทางเลือกมากขึ้น  การจัดรายการส่งเสริมการขายไม่ใช่เรื่องใหม่ที่จะทำให้ลูกค้าตื่นเต้น  และซื้อสินค้ามากขึ้นหรือเร็วขึ้นเสมอไป  การใช้การส่งเสริมการขายให้ได้ประสิทธิภาพเต็มที่  ผู้ประกอบการจึงควรตระหนักถึงปัจจัยทั้ง 7 ที่นำไปสู่ความล้มเหลวของการส่งเสริมการขายมากขึ้นกว่าเดิมขึ้น

 

 

 

ฉบับที่ 19 กันยายน 2544

Media Treminology

 

Media is a person who identifies the media vehicle to deliver that message right to the target without wastage.

Media People Talk In Media Jargon

What does it mean?

 “86 % Reach of the target with an Average Frequency of 9.3 and an Effective Reach (4+) of 60 % requiring 800 GRPs at a CPM of Bht 210 and CPRP of Bht 8,240”

GRPs are the sum of ratings delivered by
a given list of media vehicles.
GRPs  calculation must be made against the
same demographic
GRPs are sum of ratings against certain target group
It is the expression, in percentage terms, of coverage of
specific population groups.
Don’t add together GRPs for different demographic
segments