การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุคี ศิริวงศ์พากร

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้สถิติไคว์สแคว์
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่เปิดรับสื่อโทรทัศน์เป็นประจำ เปิดรับสือวิทยุกระจายเสียงนานๆ ครั้ง เปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์นานๆ ครั้ง เปิดรับสื่ออินเทอร์เน็ตนานๆ เปิดรับสื่อกิจกรรมนานๆ ครั้ง และเปิดรับสื่อบุคคลบ่อยครั้ง และมีความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การศึกษา รายได้ และจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกันความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนเพศและสถานะการพักอาศัยต่างกันความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน และพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับผู้สูงอายุจากทุกสื่อ ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเนียง สิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต สื่อกิจกรรม และสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : พฤติกรรม การเปิดรับข่าวสาร การพึ่งตนเอง ผู้สูงอายุ

ความตระหนัก ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อปัญหาสภาวะโลกร้อนของประชาชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Awareness, Knowledge, Attitude, and Behavior on Global Warming of Residents in Bangkok Metropolitan Region)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสาร ความตระหนัก ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่มีต่อปัญหาสภาวะโลกร้อน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการเปิดรับข่าวสาร ความตระหนัก ความรู้ และทัศนคติกับพฤติกรรมเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนของประชาชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแต่ละเขตกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ 50 เขตโดยใช้วิธีสุ่มจาก 12 กลุ่มเขต ตามโครงสร้างการพัฒนาเมืองที่กำหนดไว้ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร และจังหวัดในปริมณฑล อีก 5 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครปฐม และนนทบุรี จำนวน 1,200 คน

ผลการวิจัยพบว่า
พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนผ่านสื่อต่งๆ ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ทุกวัน ส่วนสื่ออื่นๆ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา วารสาร แผ่นพับ อินเทอร์เน็ต กิจกรรม และสื่อบุคคล ส่วนใหญ่มีการเปิดรับ 3-4 วันใน 1 สัปาดห์ นและประชาชนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ “สภาวะโลกร้อน” อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความตระหนัก ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อปัญหาสภาพวะโลกร้อนอยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อาชีพ และลักษณะที่พักอาศัย ต่างกันมีความถี่การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เพศ การศึกษา และอาชีพ ต่างกันมีความตระหนักต่อปัญหาสภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และลักษณะที่พักอาศัยต่างกันมีความรู้ที่มีต่อสภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และลักษณะที่พักอาศัยต่างกัน มีทัศนคติต่อสภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การศึกษา อาชีพ และลักษณะที่พักอาศัย ต่างกัน มีพฤติกรรมต่อสภาวะโลกร้อนแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
การเปิดรับรับข่าวสาร ความตระหนัก และทัศนคติเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนของประชาชนที่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมต่อปัญหาสภาวะโลกร้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความรู้เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนของประชาชนที่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมต่อปัญหาสภาวะโลกร้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research aimed to investigate media exposure, awareness, knowledge, attitude, and behavior towards global warming and to study correlations among those factors that varied Bangkok metropolitan’s media exposure, perception, knowledge, and attitude on global warming. The 1,200 Bangkok residents were randomly selected from 12 districts out of 50 districts in Bangkok Municipality including 5 adjacent Provinces of Nakhon Pathom, Pathum Thani, Nonthaburi, Samut Prakan and Samut Sakhon.
The study found the following results:

The media exposure behavior concerning global warming was, in general, rated in medium level. People were daily exposed to television, yet other media: radio, newspaper, magazine, billboard, journal, brochure, internet, and personal media were exposure 3-4 days a week. Most respondents said publicizing on global warming in Thailand was in medium level. Awareness, attitude, and behavior against global warming were generally in high level.

The hypothesis testing showed that different gender, career, and housing varied the frequency of media exposure on global warming at statistical significance .05.

Different gender, education background, and career varied awareness on global warming at statistical significance .05

Different age, education background, income, and housing varied knowledge on global warming at statistical significance .05.

Different gender, age, education background, career, income, and housing varied attitude towards global warming at statistical .05.

Different education background, career, and housing varied behavior against global warming at statistical significance .05.

The exposure to media, awareness, and attitude of Bangkok metropolitan residents about global warming had positive correlation to behavior at statistical significance .05. However, regarding to knowledge of global warming, it resulted negative correlation to behavior at statistical .05.

คำสำคัญ: ความตระหนัก ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และ สภาวะโลกร้อน
Keywords: Awareness, Attitude, Knowledge, Behavior, Global warming

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะ0เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ คณาจารย์ผู้สอนประจำของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. คณาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับน้อย

2.  คณาจารย์มีทัศนคติต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับมาก

3.  การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณาจารย์ อยู่ในระดับมาก

4.  ปัจจัยด้านทัศนคติมีความสามารถในการทำนายการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณาจารย์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีความสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 39.2

โครงการศึกษาปัญหาและความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การศึกษาปัญหาและความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 300 คน โดยจำแนกเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 100 คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 83 คน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 57 คน และ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 60 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. การจัดการเรียนการสอนของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในภาพรวมอยู่ ในระดับปานกลาง ( =3.110, SD=0.642)
2. ความต้องการในการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สรุปได้ดังนี้
1) ด้านผู้สอน พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการผู้สอนที่มีความรู้ ความสามารถตรงตามรายวิชาที่สอน
2) ด้านเนื้อหา พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการเรียนรู้เนื้อหาที่มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ในชีวิตจริง
3) ด้านวิธีสอน พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการการจัดการเรียนการสอนโดย เปิดโอกาสให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในสิ่งที่เรียน ใช้สื่อประกอบการสอน หรือมีการแนะนำหนังสือ พาไปดูงานจริง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
4) ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีเกณฑ์ในการวัดผลที่ชัดเจน มีการวัดผลตรงตามเนื้อหาที่เรียน ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การวัดผล
5) ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีการจัดตารางสอนในแต่ละภาคการศึกษาที่เหมาะสม มีการฝึกงานที่เหมาะสม มีการจัดลำดับก่อนหลังของรายวิชาในแต่ละภาคการศึกษาเป็นอย่างดี
6) ด้านอาคารสถานที่ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีโรงอาหารที่รองรับจำนวนนักศึกษาได้เพียงพอและสะอาด มีห้องคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์ที่เพียงพอและเหมาะสม มีห้องน้ำเพียงพอและสะอาด มีห้องปฏิบัติการเพียงพอและเหมาะสม มีที่นั่งเล่นพักผ่อนเพียงพอและไม่ร้อนแดด
7) ด้านโสตทัศนูปกรณ์และบริการ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีอุปกรณ์ที่เพียงพอ
3. การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สรุปได้ดังนี้
1) เพศต่างกันมีปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
2) ชั้นปีต่างกันมีปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่พบว่า แตกต่างกัน 4 คู่ ได้แก่ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3, นักศึกษาชั้นปีที่ 1 กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 4, นักศึกษาชั้นปีที่ 2 กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3
3) อายุต่างกันมีปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่พบว่า แตกต่างกัน 1 คู่ ได้แก่ นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 18-20 ปี กับ นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 21-23 ปี
4) สาขาวิชาต่างกันมีปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การศึกษาประสิทธิภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 3) ศึกษาระดับประสิทธิภาพ             การเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนค และ 4) ศึกษาตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สาขาวิชา ระดับชั้น ระดับผลการเรียน และทัศนคติต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร        ปีการศึกษา 2552 จำนวน 300 คน โดยกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวน 50% ของนักศึกษาที่มีอยู่จริง จำนวน 300 คน ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2/2552 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test แบบ One-Way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ตามความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 3.60 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า           ด้านอาจารย์ผู้สอนมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด 3.76 อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านการวัดและประเมินผลการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของอาจารย์ มีคะแนนเฉลี่ย 3.60, 3.55 ตามลำดับ ส่วนด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 3.25

ทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 3.57

ประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 3.76

ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ชั้นปีที่ศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรเพศ สาขาวิชาที่ศึกษา และระดับผลการเรียน (GPA) ไม่แตกต่างกัน

ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ทั้งในภาพรวมและรายได้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี      ราชมงคลพระนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ทัศนคติต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ATT) และระดับชั้นปีที่ 2 (GRADE2)

แม่ผู้ประเสริฐ

..................แม่ผู้ประเสริฐ..............

ก็แค่อยากเล่าเรื่องราวดีๆ ในชีวิต ที่ได้เกิดมาบนโลกใบนี้

นี่คือประสบการณ์ชีวิตจริงที่อยากแบ่งปัน

ได้อาศัยท้องของผู้หญิงหนึ่งคนที่เรียกว่า "แม่"

ตั้งแต่เมื่อยังเด็กจนเติบโตมาถึงปัจจุบันนี้

ไม่เคยมีเลยสักครั้งที่แม่จะด่า จะว่า หรือแม้แต่ดีลูกเลยสักครั้ง

แต่ถ้าจะถามวว่า ไม่เคยโดนแม่ว่าเลยหรอ ก็ไม่เป็นไปไม่ได้

แต่คำด่าหรือคำว่าของแม่ที่เปล่งออกมาแต่ละครั้งนั้น

ทำให้ลูกๆ รู้สึกซึ้งใจ และต้องขอบคุณทุกๆ คำด่าทุกๆ คำต่อว่าของแม่

ทุกคนคงไม่รู้สินะว่าแม่ผู้ประเสริฐคนนี้ต่อว่าลูกอย่างไร

เล่าให้ฟังก็๋ได้ คำที่แม่ใช้ต่อว่า ใช้ว่ากล่าวลูกทุกคนที่ทำผิดก็คือ

อีสะระณัง คัจฉามิ (คำว่าอี ไม่ใช่คำไม่สุภาพนะคะ แต่เป็นคำเรียกของคนอีสาน)

มาจากบทสวดมนต์ ในบทที่ว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

เห็นไหมคะว่า จะมีแม่ที่ไหนด่าลูกได้สุดยอดขนาดนี้

บางครั้งก็จะมีคำด่าที่ว่า ขอให้มึงเจริญ ขอให้มีอนาคตที่ดี

นี่แหละค่ะ ที่เค้าเรียกว่า แม่ที่ประเสริฐจริงๆ ไม่เคยว่าลูกให้พบประสบภัยใดๆ เลย

เคยถามแม่เหมือนกันว่าทำไมไม่ว่าอะไรที่ไม่ีดี

คำตอบที่ได้ก็คือ แม่บอกว่า คำของแม่นั้นศักดิ์สิทธิ์มาก

แม่ไม่อยากมอบคำที่ไม่ดีให้กับลูก ปากแม่พูดเช่นใด ลูกมักจะเป็นไปตามที่แม่ว่าเสมอ

ฉะนั้น แม่จึงอยากมอบแต่สิ่งดีๆ ให้กับลูก เพราะแม่ไม่มีอะไรจะให้ได้ดีที่สุดไปกว่านี้

แต่แค่นี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ลูกๆ ของแม่จะได้รับกันแล้ว

อย่างไรซะก็ขอให้แม่มีความสุข และจะไม่ทำให้แม่มีความทุกข์เลยเช่นกัน

คน 1 คน

วันนี้ได้รับเมล์จากเพื่อคนนึง เป็น 1 เมล์ที่อ่านแล้วรู้สึกอยากแบ่งปัน

เรื่อง คน 1 คน

คน 1 คน

การที่เราจะคบหาหรือรู้จักใครสักคน

ไม่ว่าจะในฐานะอะไรก็ตาม

สิ่งหนึ่งที่ควรท่อง ควรจำไว้อยู่เสมอก็คือ

"คน" เป็นสิ่งมีชีวิต มีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ในนั้น

อย่าตั้งใจกับคน 1 คนมากเกินไป

เพราะไม่มีใครอยากเป็นต้นเหตุของความล้มเหลว

อย่าคาดหวังกับคน 1 คนมากเกินไป

เพราะไม่มึใครสามารถเป็นทุกอย่าง ที่ทุกคนอยากให้เป็น

อย่าให้เวลากับคน 1 คนมากเกินไป

เพราะไม่ว่าใครก็อยากมีช่วงเวลาของความเป็นส่วนตัว...คนเดียว...

อย่าพยายามเปลี่ยนแปลงคน 1 คนมากเกินไป

เพราะนั่นจะทำให้เค้าไม่หลงเหลือความเป็นตัวของตัวเอง

อย่าควบคุมชีวิตคนหนึ่งคนมากเกิไป

เพราะมนุษย์่มักจะหาวิธีการแทรกตัว เพื่อออกมาจากฎที่ถูกกำหนด

อย่าบีบบังคับคน 1 คนมากไปกว่านี้

เพราะถ้าคนๆ นั้นหลุดจากภาวะบีบบังคับมาได้

คุณจะกลายเป็นคนที่ถูกหักหลังให้ในทันที

เธอ...ลองมองดูฉันดีๆ ฉันมีลมหายใจ

ไม่ใช่ภาพวาดที่จะสวยงามอยู่ตลอดเวลา

ฉัีนเองก็เป็น "คน" เป็นสิ่งมีชีวิตมี 2 ด้าน...เช่นกัน

อย่ารู้จักใครสักคน ต้องหัดเรียนรู้ ไม่ใช่เปลี่ยนแปลง

**************

ขอให้มองตนเองให้ออก....ก่อนคิดมองคนอื่น

เสน่ห์การท่องเที่ยวแบบ Backpacker

จะมีใครรู้บ้างว่า การท่องเที่ยวนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งแล้วแต่ความต้องการของนักท่องเที่ยวจะบริการจัดการกันเอง แต่มีการท่องเที่ยวแบบหนึ่งที่มีเสน่ห์เป็นอย่างมาก ถ้าใครยังไม่เคยลองก็ควรจะลองกันได้แล้ว

นั่นก็คือ การท่องเที่ยวแบบ Backpacker ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวแบบสะพายเป้เที่ยวนั่นเอง มีหลายคนที่เมื่อนึกถึงการท่องเที่ยวจะต้องนึกถึงบริษัททัวร์ ซึ่งมีให้บริการมากมายหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวไปในต่างแดน

การท่องเที่ยวแบบใช้บริการบริษัททัวร์นั้น ก็มีเสน่ห์ไปอีกแบบ นั่นคือ มีความสะดวกสะบาย และได้ไปเที่ยวในหลายๆ ที่ตามโปรแกรมที่บริษัททัวร์ได้กำหนดไว้ แต่สิ่งที่น่าเสียดายก็คือ ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามโปรแกรมที่ได้วางไว้อย่างชัดเจนและเปลี่ยนแปลงได้อยาก เนื่องจากลูกทัวร์มาจากที่ต่างๆ แตกต่างกันไป

ดังนั้น สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ต้องการเร่งรีบ หรือเก็บสถิติสถานที่ท่องเที่ยวให้ได้เยอะแยะมากมายให้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ควรจะเลือกการท่องเที่ยวแบบ Backpacker เนื่องจากผู้เที่ยวสามารถท่องเที่ยวได้ตามใจของตนเอง สามารถดื่มด่ำไปกับสถานที่ท่องเที่ยวที่ประทับใจ ได้วางแผนการเดินทางด้วยตนเอง ซึ่งการเดินทางที่จะต้องค้นหาเส้นทางหรือวิธีการเดินทางด้วยตนเองนั้น นั่นคือเสน่ห์ที่แท้จริงของการท่องเที่ยวแบบนี้ ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวได้ประสบพบเจอ จะเป็นประสบการณ์ชีวิตที่มิอาจลืมได้

จากการที่ผู้เขียนได้ทดลองท่องเที่ยวแบบ Backpacker แล้ว โดยได้ไปผจญภัยในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่าขอ Visa เข้ายากที่สุด ซึ่งความยากเริ่มตั้งแต่การเริ่มขอ Visa เนื่องจาก เป็นครั้งแรกที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ดังนี้น จะต้องหาข้อมูลและเตรียมตัวเป็นอย่างไม่ นอกจากนั้นสิ่งต่างๆ ที่จะต้องเตรียมต่อมาก็คือ การจองตั๋วเครื่องบิน ที่พัก และสิ่งที่จะต้องลืมไม่ได้ก็คือ การซื้อตั๋วรถไฟแบบเหมาจ่าย ที่สามารถใช้ได้ตลอดระยะเวลาที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่น

ตั๋วรถไฟแบบเหมาจ่ายนี้เล่ากันว่า ไม่มีขายในญี่ปุ่น แต่จะมีขายให้เฉพาะชายต่างชาติเท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่จะเดินทางไปญี่ปุ่น จะต้องศึกษาข้อมูลพวกนี้ให้ดี

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าต่ออีกมาว่า ถ้าใครสามารถนั่งรถไฟในญี่ปุ่นได้โดยไม่หลงแล้ว ก็สามารถนั่งรถไฟได้ทั่วโลก ทั้งนี้อาจจะมาจากประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการใช้รถไฟในการคมนาคมไปทั่วประเทศ ทุกๆ เมืองจะมีระบบเดินรถไฟภายเหมือนกันทุกเมือง และมีรถไฟที่ให้บริการระหว่างเมือง จากญี่ปุ่นทางเหนือไปจนใต้สุดของญี่ปุ่น ซึ่งที่จะได้ยินบายๆ ก็คือ รถไฟสาย JR หรือ Japan Railway ซึ่งจะเป็นผู้ให้บริการรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และนักท่องที่ยวที่จะไปเที่ยวนั้น สามารถซื้อ Japan Rail Pass ได้

การใช้ Japan Rail Pass นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถไฟของ JR ได้เกือบทุกสาย แต่จะมีบางสายที่นั่งไม่ได้ ซึ่งรายละเอียดทุกอย่างจะมีบอกไว้ใน Japan Rail Pass


dsc02987dsc02974

วันนี้ขอจบไว้แค่เรื่องของรถไฟแลวกัน แล้วค่อยต่อกันวันหลังนะคะ และถ้าอยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ก็สามารถเข้ามาคุยกันได้ค่ะ

The Korean Wave – Present and Future 2 - By Professor Dr. H.S.Hwang

สาเหตุที่คลื่นวัฒนธรรมเกาหลีได้รับความนิยมทั้งในจีนและประเทศในแถบเอเชีย เนื่องจาก

· ธรรมชาติของภาพยนตร์และละครอเมริกันมีแต่ความรุนแรง และมีภาพที่ไม่เหมาะสม ยากที่จะได้รับการยอมรับจากวัฒนธรรมจีน อีกทั้งเป็นการยากที่จะผ่านเซ็นเซอร์

· การต่อต้านอเมริกา และญี่ปุ่นในประเด็นที่มีความอ่อนไหว

· วัฒนธรรมเกาหลีที่อยู่ในสื่อต่างๆ เป็นคุณค่าร่วมกันของคนในเอเชีย ทั้งในด้านการสอนคติความเชื่อของขงจื้อ

· เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่มีราคาถูก

· สร้างความดึงดูดใจ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นได้ทั่วโลก ทั้งในเรื่องเพลงที่มีจังหวะที่เหมาะกับการเต้น และเรื่องของการเต้น

· เป็นความต้องการที่เห็นถึงวัฒนธรรมใหม่

ทำไมผู้หญิงเอเชียถึงชอบละครเกาหลี

· เป็นโลกแฟนตาซี

· เป็นภาพของความรัก

· มีฮีโร่ในอุดมคติ

· ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว และเพื่อน

· ความสำเร็จในอาชีพของดาราในละคร

· ความสวยงาม และรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้คน

· เหตุผลในเรื่องอารมณ์ความรู้สึก

อย่างไรก็ตามจีนก็มีความรู้สึกว่ากระแสวัฒนธรรมเกาหลีได้สร้างผลกระทบต่อความภาคภูมิใจในฐานะที่ตนเองเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของเอเชีย รวมทั้งยังเฝ้าระวังละครเกาหลีที่จะผลกระทบต่อความรู้สึกของคนจีน ส่วนเวียดนามก็มีการวิจารณ์ว่าวัฒนธรรมเกาหลีที่นำเสนอผ่านสื่อ นอกจากนี้ภาพยนตร์และละครเกาหลีในสายตารัฐบาลเวียดนามมองว่ารุนแรงเกินว่ามาตรฐานของเวียดนาม


ส่วนอิทธิพลของคลื่นที่มีต่อไทยนั้นมีอย่างมากมาย ทั้งการเกิดขึ้นของนิตยสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมเกาหลี การได้รับการยอมรับในด้านรายการโทรทัศน์ของเกาหลี ภาพยนตร์ ละคร ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั้งในสถานีโทรทัศน์ช่องปกติและเคเบิล รวมทั้งกระแสคลั่งไคล้ทั้งดารา นักร้องของเกาหลีจากบรรดาวัยรุ่น

picture13

นอกจากนั้น Professor Dr. H.S.Hwang ยังกล่าวถึงคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีที่เข้าไปยังฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา และปิดท้ายเกี่ยวกับอนาคตของคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีว่าจะคงมีต่อไป แต่เกาหลีควรเปิดกว้างในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมประเทศต่างๆ และเนื้อหาของละคร ภาพยนตร์ควรทำให้ดีขึ้นกว่านี้

picture14

***********************************************

The Korean Wave – Present and Future 1 - By Professor Dr. H.S.Hwang

การบรรยายกล่าวถึงอิทธิพลของคลื่นวัฒนธรรมเกาหลี (Korean Wave) ที่แพร่กระจายผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในรูปของละคร ภาพยนตร์ เพลง รายการโทรทัศน์ และนับว่าสินค้าทางวัฒนธรรมของเกาหลีที่ได้รับความนิยมจากนานาประเทศ โดยเริ่มต้นจากประเทศในแถบเอเชีย แต่ตอนนี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก

ในประเทศแถบเอเชียนั้นดาราเกาหลีได้รับความนิยมจนคลื่นความเป็นเกาหลีกระจายไปทั้งในจีน เวียดนาม ส่วนในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ภาพยนตร์เรื่อง Old Boy กำกับโดย Park, Chan Ook ได้รับรางวัลในงานเทศกาลภาพยนตร์ที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส

ในญี่ปุ่น สถานีโทรทัศน์ทั่วไปมีการออกอากาศละครโทรทัศน์ของเกาหลีอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และเครือข่ายโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทั้ง BS Satellite Network, CS Satellite TV และ Sky Perfect TV ก็มีการออกอากาศละครโทรทัศน์ของเกาหลีอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งเช่นกัน โดยดาราเกาหลีเป็นเหมือนหัวใจสำคัญในการนำพาคลื่นเกาหลีไปยังญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น BoA, Yon Sama และละครเกาหลีได้รับความนิยมในกลุ่มผู้หญิงญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก จนก่อให้เกิดกระแสความหลงใหลดาราและนักร้องเกาหลีอย่างกว้างขวาง คลื่นวัฒนธรรมเกาหลีนี้ช่วยให้ชาวญี่ปุ่นสนใจในวัฒนธรรมเกาหลีเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดีก็มีกระแสการต่อต้านคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีที่แพร่อิทธิพลเข้าไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในบางประเทศได้ลดชั่วโมงออกอากาศละครเกาหลี เช่น จีนห้ามนำละครเกาหลีของสถานีโทรทัศน์ 3 ช่องไปออกอากาศ ในปี 2006 จีนก็ลดเวลาออกอากาศละครเกาหลีลง 50%, เวียดนามออกมาประกาศว่าถ้าเกาหลีไม่ออกอากาศรายการโทรทัศน์ของเวียดนามในเกาหลีบ้าง จะระงับการออกอากาศรายการทุกรูปแบบของเกาหลี ในที่สุดเวียดนามได้ออกระเบียบโดยกำหนดช่วงเวลาออกอากาศเพื่อให้ชาวเวียดนามได้ดูรายการของชาติตนเองมากขึ้น

ในประเทศจีน ได้มีการออกอากาศละครเกาหลีเรื่อง “What is Love?” เมื่อปี 1997 โดยในระยะแรกเพลงเกาหลีได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น ต่อมาละครโทรทัศน์ของเกาหลีก็ได้รับความนิยมจากคนทุกเพศทุกวัย เพลง ละครโทรทัศน์ และวงดนตรีที่ได้รับความนิยมในจีน รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ได้แก่ เพลง “Honey” ของ Park, Jinyoung ภาพยนตร์เรื่อง “Mister Q” นำแสดงโดย Kim, Minjong “Goodbye My Love” นำแสดงโดย Kim, Heesun และ An, Jaeuk “Jealousy” นำแสดงโดย Choi, Jinsil และวงดนตรีบอยแบนด์ H.O.T.

picture11

picture12