คุณลักษณะของจริยธรรม

     คุณลักษณะของจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของจริยธรรมเพื่อให้เห็นเด่นชัดในด้านหนึ่งและมีความแตกต่างจากจริยธรรมด้านอื่น ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการศึกษาหลายหน่วยงาน ได้กำหนดโครงสร้างจริยธรรม พร้อมทั้งกำหนดคุณลักษณะของจริยธรรม ไว้ดั้งนี้

     1) ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียดรอบคอบ มีความพากเพียรพยายามเพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย

     2) ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริง  ทั้งการ วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น

     3) ความมีเหตุผล หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพิสูจน์ สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประจักษ์ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นในความคิดของตนเอง

     4) ความกตัญญูกตเวที หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ หรือ สิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณ อาจกระทำด้วยสิ่งของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม

     5) ความอุตสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงานหรือกิจกรรมที่ทำด้วยขยันขันแข็งกระตือรือร้น อดทน ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรคขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย่อท้อ

     6) ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพียงเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน การให้ความร่วมมือในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน

     7) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคม กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ กฏหมายและศลีธรรม

     8) ความเสียสละ หมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังปัญญาของตนเอง

     9) ความประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะพอควร เพื่อให้เกิดประโยชนสูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้มเฟือยจนเกิดฐานะของตน

     10) ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราวต่างๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่มีความลำเอียงหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

     11) ความเมตตากรุณา หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความสงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุข์

ความสำคัญของจริยธรรม

ความสำคัญของจริยธรรม

     จริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญในสังคมที่จะนำความสุขสงบและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้น ๆเพราะเมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาดและสว่างในจิตใจ

     จริยธรรมเป็นความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องดีงาม รวมถึงการทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบการและดำรงชีวิตอย่างฉลาด ด้วยสติและปัญญา รู้เหตุรู้ผลรู้กาลเทศะ กระทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เสียสละอุทิศตน มุ่งมั่นและบากบั่น

     ความสำคัญของจริยธรรม จึงเป็นเครื่องมือยุทธศาสตร์ของชาติ และ สังคมเครื่องชี้วัดความเจริญความเสื่อมของสังคมจริยธรรมเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่าและทุกอาชีพ สังคมจะอยู่รอดและเป็นสุขได้ ก็ด้วยจริยธรรม

 

ว่าด้วยเรื่องจริยธรรม

     ปัจจุบันนี้จะพบเห็นข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรมตามหน้าหนังสือพิมพ์ ในสื่อวิทยุ และสื่อโทรทัศน์ทั่วไป สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้คือ การขาดคุณธรรม จริยธรรมในจิตใต้สำนึก ซึ่งมีผลมาจากปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยี ซึ่งมีการนำเอาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาคเอกชน หรือแม้แต่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ก็นำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งยังเป็นยุคของโลกไร้พรมแดน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ภายในเวลาไม่ถึงเสี้ยววินาที โดยเชื่อต่อผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันนี้ได้ก้าวล้ำเข้าสู่ยุคการติดต่อไร้สาย ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว สามารถใช้บริการได้ทุกอย่าง

     ถึงแม้ว่าการสอนในปัจจุบันจะเน้นปลูกจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและจากการเปิดรับวัฒนธรรมจากประเทศต่าง ๆ มากมาย ทำให้เยาวชน หรือวัยรุ่นในปัจจุบันนี้มีอิสระทางด้านความคิดมากขึ้น ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนควรสอดแทรกเนื้อหาทางด้านจริยธรรมในทุก ๆ วิชา

      ได้มีผู้กล่าวถึงความหมายของคำว่า จริยธรรม ไว้อย่างหลากหลาย แต่คำอธิบายเหล้านั้นส่วนใหญ่ก็มีความหมายใกล้เคียง ซึ่งในที่นี้ขอสรุปไว้ว่า จริยธรรม หมายถึง พฤติกรรมการแสดงออก พฤติกรรมการปฏิบัติของบุคคลที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและอยู่ในกรอบของศีลธรรม ถือในการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี สามารถคิดและตัดสินใจได้ว่าสิ่งไหน ควร-ไม่ควร ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด

    

ประโยชน์ของมัลติมีเดีย

     ในปัจจุบันได้มีการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น สื่อมัลติมีเดียที่ผลิตเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการ สำหรับการโฆษณาในแวดลงธุรกิจ หรือสื่อมัลติมีเดียที่ผลิตเป็นบทเรียนสำเร็จรูป สำหรับใช้ในวงการศึกษาและฝึกอบรม เป็นต้น และสามารถจำแนกประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้ได้ดังนี้

     1) ง่ายต่อการใช้งาน ส่วนใหญ่เป็นการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มผลผลิต ดังนั้นผู้พัฒนาจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำให้มีรูปลักษณ์ที่เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งานตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เช่น การใช้งานโปรแกรมจัดการด้านเสียง

     2) สัมผัสได้ถึงความรู้สึก ในการใช้งานมัลติมีเดียสิ่งสำคัญเพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกจากสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ปรากฏอยู่บนจอภาพ ได้แก่ รูปภาพ ไอคอน ปุ่ม และตัวอักษร เป็นต้น ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงตามความต้องการ

     3) เสริมสร้างประสบการณ์ ในการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านมัลติมีเดียที่มีคุณลักษณะที่ต่างกัน มีวิธีการที่ต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ผู้ใช้จะได้รับ การสั่งสมประสบการณ์จากการใช้สื่อมัลติมีเดียในแง่มุมที่ต่างกัน ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงวิธีการใช้งานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ เช่น สัญลักษณ์ของปุ่มต่างๆ ที่ปรากฎบนหน้าจอโปรแกรมต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะสัญลักษณ์ที่คล้ายคลึงกัน เมื่อผู้ใช้เปิดใช้งานโปรแกรมอื่นๆ และพบสัญลักษณ์ที่มีอยู่อีกโปรแกรม ก็จะเข้าใจในทันทีว่าสัญลักษณ์มีความหมายว่าอย่างไร ดังภาพการเปรียบเทียบสัญลักษณ์

     4) เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ เนื่องจากผู้ใช้แต่ละคนมีระดับขีดความสามารถต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการสั่งสมมา ดังนั้น การนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการเล่นจากระดับที่ง่ายไปยังระดับที่ยากยิ่งๆ ขึ้นไป

     5) เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น จากองค์ประกอบและคุณลักษณะของมัลติมีเดีย เมื่อนำองค์ประกอบทั้งหมดมารวมกัน จะสามารถสื่อความหมายและเรื่องราวต่างๆ ได้แตกต่างกัน  ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการและเทคนิคในการนำเสนอ เช่น การเลือกใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว การสื่อความหมายย่อมจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการเลือกใช้ข้อความหรือตัวอักษร หรือถ้าเลือกนำเสนอโดยใช้วิดีโอ ก็จะสื่อความหมายได้ดีกว่าเลือกใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ดังนั้น ในการผลิตสื่อเพื่อนำเสนอ ผู้พัฒนาควรพิจารณาคุณลักษณะของสื่อแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่นำเสนอ เช่น การนำสื่อมาผสมผสานกันเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

     6) คุ้มค่าในการลงทุน การใช้โปรแกรมด้านมัลติมีเดียจะช่วยลดระยะเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง การจัดหาวิทยากร การจัดหาสถานที่ การบริหารตารางเวลาและการเผยแพร่ช่องทาง เพื่อนำเสนอสื่อ เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าการลงทุนในระยะเวลาที่เหมาะสม

     7) เพิ่มประสิทธิผลในการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้านมัลติมีเดียจำเป็นต้องถ่ายทอดจินตนาการจากสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการรับรู้และเข้าใจด้วยกรรมวิธีต่างๆ นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแล้ว  ผู้ใช้ยังได้รับประโยชน์และเพลิดเพลินในการเรียนรู้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้(User) ออกแบบและสร้างเว็บเพ็จ (Web Page) ด้วยโปรแกรมแม็คโครมีเดีย ดรีมวิเวอร์ (Macromedia Dreamweaver) หรือผู้ใช้กำลังศึกษาสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

องค์ประกอบของ Multimedia

     มัลติมีเดียหรือสื่อประสม ไม่ใช่เทคโนโลยีเดี่ยวๆ เพียงลำพัง แต่มัลติมีเดียเป็นการนำเอาเทคโนโลยีหลายๆ อย่างมาบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการออกแบบและใช้งาน เทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีจอภาพ เทคโนโลยีนำเข้าและแสดงผลข้อมูลเทคโนโลยีในการเก็บบันทึกข้อมูล เทคโนโลยีการย่อขนาดข้อมูล เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เครือข่าย เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ และเทคนิคและวิธีการนำเสนอข้อมูล ลักษณะของมัลติมีเดียเกี่ยวข้องกับสื่อชนิดต่างๆ และสามารถจำแนกองค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดียได้เป็น 5 ชนิด ประกอบด้วย

     1) ข้อความ (Text) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของมัลติมีเดีย หลักการใช้ข้อความมีอยู่ 2 ประการ คือ ใช้เพื่อนำเสนอข้อมูล และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น เช่น เป็นพอยน์ (Point) เพื่อเชื่อมไปยังโนด (Node) ที่เกี่ยวข้องในไฮเปอร์เท็กซ์หรือไฮเปอร์มีเดีย เนื่องจากข้อความอ่านง่าย เข้าใจง่าย แปลความหมายตรงกัน และออกแบบง่ายกว่าภาพ ข้อความจึงจัดว่าเป็นสื่อพื้นฐานของมัลติมีเดีย

     2) ภาพ (Image) ภาพที่ใช้กับมัลติมีเดียแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

          2.1)   ภาพนิ่ง (Still Image) ได้แก่ ภาพบิตแมพ (Bitmap) และภาพเว็กเตอร์กราฟิก (Vector Graphic)

                -     ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่เกิดจากกลุ่มของบิตที่ใช้แทนภาพและสีในแต่ละโปรแกรมจะมีภาพต่างๆ เก็บไว้ให้นำออกมาใช้หรือปรับแต่งแก้ไข โดยเป็นภาพที่เกิดจากการสแกนจากเครื่องสแกนเนอร์ เช่น ภาพถ่ายของจริง ภาพสไลด์ เป็นต้น

              -  ภาพเว็กเตอร์กราฟิก (Vector Graphic) เป็นภาพที่เก็บองค์ประกอบของการสร้างแบบแปลน โดยใช้วิธีการแบ่งหรือขนาดของภาพในการสร้าง มีสเกลละเอียดและเที่ยงตรง เหมาะสำหรับวาดภาพโครงสร้างหรือรายละเอียดของอุปกรณ์ต่างๆ

 

          2.2)     ภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture) เป็นภาพที่เกิดจากการนำภาพที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาแสดงติดต่อกันด้วยความเร็วที่สายตาไม่สามารถจับภาพได้ จึงปรากฏเป็นการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง โดยทั่วไปมักจะเรียกภาพเคลื่อนไหวว่า แอนิเมชัน (Animation) ซึ่งหมายถึงภาพที่สร้างขึ้นโดยใช้ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ โดยอาศัยเทคนิคการนำภาพนิ่งหลายๆ ภาพมาเรียงต่อกัน เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับการถ่ายทำภาพยนตร์ ภาพเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้นจะมีการเคลื่อนไหวในแต่ละเฟรม โดยที่ภาพแต่ละเฟรมจะแตกต่างกัน ที่แสดงถึงลำดับขั้นการเคลื่อนไหวที่มีการออกแบบไว้ก่อน ภาพแอนิเมชันยังรวมถึงภาพแบบมอร์ฟฟิ่ง (Morphing) ที่เป็นการสอดแทรกภาพอื่นให้แทรกเข้ามาโดยใช้เทคนิคต่างๆ เข้าช่วย ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนภาพจากหน้าผู้ชายกลายเป็นหน้าผู้หญิง เป็นต้น

     3) เสียง (Sound) เป็นสื่อมัลติมีเดียรูปแบบหนึ่งที่เปรียบเสมือนเป็นเกณฑ์มาตรฐานของระบบงานคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้มักจะตัดสินว่าระบบงานเหล่านั้นเป็นมัลติมีเดียหรือไม่ ประกอบด้วยเสียงบรรยาย เสียงดนตรี และเสียงผลพิเศษต่างๆ ซึ่งเมื่อใช้รวมกันอย่างเหมาะสมแล้ว จะทำให้ระบบงานมัลติมีเดียมีความสมบูรณ์ สร้างความเร้าใจและชวนให้ติดตาม การสร้างหรือการใช้เสียงในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องอาศัยความสามารถของวงจรเสียงและโปรแกรมการจัดการที่ทำงานสอดคล้องกัน

     4) การปฏิสัมพันธ์ (Interaction) เป็นการโต้ตอบกับระบบงานมัลติมีเดีย แม้ว่าจะไม่อยู่ในรูปแบบของสื่อ แต่ก็เป็นส่วนที่ทำให้มัลติมีเดียสมบูรณ์ขึ้น อาจกล่าวได้ว่า การปฏิสัมพันธ์เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจ ไม่ว่าจะเป็นการใช้แป้นพิมพ์ การคลิกเมาส์ การสัมผัสหน้าจอ การใช้ปากกาแสง หรือการปฏิสัมพันธ์ในลักษณะอื่นๆ

     5) ภาพวิดีโอ (Video) เป็นภาพที่เกิดจากการถ่ายด้วยกล้องวิดีโอแล้วนำมาแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล โดยการบีบอัดสัญญาณวิดีโอให้มีจำนวนเล็กลงตามมาตรฐานของการลดขนาดข้อมูล เช่น MPEG (Motion Picture Expert Group) วิธีการดังกล่าวนี้สามารถบีบอัดข้อมูลได้ทั้งสัญญาณภาพและสัญญาณเสียง โดยใช้วิธีการจับสัญญาณความแตกต่างระหว่างภาพก่อนหน้านั้นกับภาพถัดไป แล้วนำมาประมวลผลภาพตามขั้นตอน ทำให้ไม่ต้องเก็บข้อมูลใหม่ทั้งหมดส่วนใดที่เหมือนเดิมก็เก็บภาพเก่ามาใช้ ข้อมูลภาพใหม่จะเป็นค่าแสดงความแตกต่างกับภาพก่อนหน้านั้นเท่านั้น การบีบอัดและการขยายบิดให้เท่าเดิมนี้ทำด้วยความเร็วประมาณ 1.5 MB ต่อวินาที นอกจากนี้ยังมีเทคนิคอื่นๆ อีก

Multimedia Technology คืออะไร?

     มัลติมีเดีย คือ การนำสื่อประเภทต่างๆ รวมเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ (Text) รูปภาพ (Picture) เสียง (Sound) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวิดีโอ (Video) มาปฏิสัมพันธ์ (Interaction) มาผสมผสานกันแล้วจะได้งานด้านมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ

     สื่อมัลติมีเดีย หรือสื่อประสมหรือสื่อหลายแบบที่มีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการนำเสนอข้อมูล เป็นหลัก โดยได้มีการออกแบบนำเสนอไว้อย่างเป็นระบบ มัลติมีเดียนั้นได้รวมเอาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้ด้วยกัน จะเน้นส่วนไหน มากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน และจะเน้นผลผลิตที่เกิดจากการ นำเสนอข้อมูลหลากลายรูปแบบ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความ

     เทคโนโลยีมัลติมีเดีย ได้เข้ามามีบาทเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งสามารถพิจารณาจากการพัฒนาคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านสมรรถนะของซีพียู รวมทั้งประสิทธิ์ภาพของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในปัจจุบันนี้ ต่างก็พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของเทคโนโลยีมัลติมีเดียมากขึ้น เช่น

     1)   ความสามารถของโปรเซสเซอร์ที่สามารถปะมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการคำนวณด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

     2)   หน่วยความจำในเครื่องที่มีความเร็วสูงขึ้น และเพิ่มขยายได้มากขึ้น

     3)   การ์ดแสดงผลที่ช่วยให้แสดงภาพได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการแสดงผลสูง

     4)   จอภาพขนาดใหญ่

     5)   การ์ดเสียงและลำโพงที่สมบูรณ์แบบเทียบได้กับเครื่องเสียงราคาแพงๆ

     6)   อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุมากขึ้น เช่น ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

 

 

ข้อจำกัดของการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต

ถึงแม้ว่าการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตจะมีข้อดีอย่างเห็นได้ชัดมากมายดังกล่าวข้างต้น การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตก็มีข้อจำกัดหรือข้อเสียอยู่บ้าง ดังนี้

1.   ข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ตมีความครอบคลุมกว้างขวางมาก มีความหลากหลาย     ไร้พรมแดน จึงทำให้ผู้ใช้ที่ไม่มีทักษะการสืบค้นอาจเกิดปัญหาเนืองจากได้ข้อมูลสารสนเทศที่ไม่ตรงตามความต้องการเป็นจำนวนมากทำให้เสียเวลา

2.  ข้อมูลสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตถูกปรับปรุงแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การอ้างอิงเอกสารทำได้ลำบาก เพราะการเข้าไปสืบค้นเอกสารอีกครั้งหนึ่งในวันข้างหน้าเอกสารดังกล่าวอาจจะไม่อยู่แล้วหรือเนื้อหาข้อความอาจถูกปรับเปลี่ยนไปแล้วก็ได้

3.  ข้อมูลสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตที่ได้มาจะต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลที่ได้มาด้วยว่ามีความน่าเชื่อถือมากแค่ไหน

ข้อดีของการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตมีข้อดีหลักๆ ดังต่อไปนี้

            1.     ขอบเขตของข้อมูลสารสนเทศกว้างขวางมาก มีความหลากหลาย ไร้พรมแดน

            2.     ข้อมูลสารสนเทศที่สืบค้นได้มีความทันสมัยมาก เนื่องจากผู้สร้างข้อมูลสามารถแก้ไขปรับปรุงได้ง่ายและทำได้ตลอดเวลา

            3.     สะดวกมาก ไม่มีข้อจำกัดในแง่ของเวลาและสถานที่ สามารถสืบค้นเวลาใดก็ได้ที่ใดก็ได้

            4.     สามารถสืบค้นได้ง่ายและรวดเร็วโดยอาศัย Search Engine

            5.     การได้มาซึ่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตใช้เวลาสั้นมาก เมื่อเทียบกับการส่งเอกสารวิธีอื่นๆ

            6.     การได้มาซึ่งข้อมูลนั้น ประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร

            7.     จัดเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

            8.     ข้อมูลสารสนเทศที่สืบค้นมามีประโยชน์มาก สามารถนำไปจัดหมวดหมู่ ทำฐานข้อมูล บรรณาธิการ และจัดการต่อได้โดยง่าย

            9.     ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Directed Learning) และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life Long Learning)

การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อการวิจัย

     การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงอย่างเป็นระบบ มีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ในการทำวิจัยผู้วิจัยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการค้นคว้า สืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อใช้ในการอ้างอิงหรือทบทวนวรรณกรรม ซึ่งปัจจุบันแหล่งความรู้ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เป็นแหล่งรวมของข้อมูลทุกสาขาจากทั่วทุกมุมโลก และสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทุกเวลาและสถานที่ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผู้วิจัยจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ ดังนี้

 1.      การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต

            แหล่งข้อมูลสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ และใหญ่ที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวินาที ดังนั้นในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตควรดำเนินการดังนี้

1.1         กำหนดวัตถุประสงค์การสืบค้น ผู้สืบค้นหรือผู้วิจัยที่จะนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ควรตั้งวัตถุประสงค์การสืบค้นที่ชัดเจน ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่จะสืบค้นให้แคบลง กำหนดประเภทของเครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า Search Engine ให้เหมาะสม กำหนดช่วงเวลาที่ข้อมูลสารสนเทศถูกสร้างขึ้น เช่น ช่วงปีที่ตีพิมพ์ของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้เพื่อให้ผลการสืบค้นมีปริมาณไม่มากเกินไป มีความตรง (Validity) ตามวัตถุประสงค์ และมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) มากที่สุดอีกทั้งยังสามารถสืบค้นได้ผลในเวลาอันรวดเร็ว

1.2         ประเภทของข้อมูลสารสนเทศที่สามารถสืบค้นได้ ข้อมูลสารสนเทศที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตมีมากมายหลายประเภท มีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย คือ มีทั้งที่เป็นข้อความ(Text) ภาพวาด (Painting) ภาพเขียนหรือภาพลายเส้น (Drawing) ภาพไดอะแกรม (Diagram) ภาพถ่าย (Photograph) เสียง(Sound) เสียงสังเคราะห์ เช่น เสียงดนตรี (Midi) ภาพยนตร์ (Movie) ภาพเคลื่อนไหวอะนิเมชัน (Animation) จากเทคโนโลยีการสืบค้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสืบค้นที่เร็วที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด และแพร่หลายที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศประเภทข้อความ สำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นภาพ (Pattern Recognition) และเสียง ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ใช้เวลานาน และยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงยังไม่มีการสืบค้นข้อมูลประเภทอื่นๆ นอกจากประเภทข้อความในการให้บริการการสืบค้นบนอินเตอร์เน็ต

1.3         การสืบค้นต้องอาศัยอุปกรณ์และความรู้ ก่อนที่ผู้สืบค้นจะสามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตได้ ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเข้าอินเตอร์เน็ตซึ่งอาจเป็น Modem ในกรณีที่ใช้คู่กับสายโทรศัพท์ หรือแผ่น LAN Card ในกรณีที่ใช้คู่กับระบบเครือข่ายที่ได้รับการติดตั้งไว้แล้ว ซอฟต์แวร์การสื่อสาร (Communication Software) เช่น Dial-up Networking ในกรณีใช้ Modem หรือมีการติดตั้ง Network Protocol ที่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นติดตั้งอยู่และติดตั้ง Network Adapter ที่เหมาะสมสำหรับ LAN Card นั้นๆ ต้องสมัครเป็นสมาชิกขององค์การหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อเป็นช่องทางออกสู่อินเตอร์เน็ต นอกจากอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์(Computer Literacy) ความรู้ภาษาอังกฤษเนื่องจากข้อมูลสารสนเทศส่วนใหญ่ในอินเตอร์เน็ตเป็นภาษาอังกฤษ และยังต้องมีการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมอีกด้วย

1.4         บริการบนอินเตอร์เน็ต บริการบนอินเตอร์เน็ตที่สามารถใช้ช่วยในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศมีมากมายหลายบริการ เช่น บริการเครือข่ายใยแมงมุมโลก หรือ World-Wide-Web(WWW) บริการค้นหาข้อมูล Gopher บริการค้นหาโปรแกรมใช้งาน Archie นอกจากนี้ อาจใช้บริการสอบถามผ่านทาง E-mail หรือ Chat กับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอื่นๆ หรือสอบถามผ่าน News Group หรือ Group/Thread Discussion ก็ได้ เมื่อค้นได้ แหล่งข้อมูลแล้วอาจ download หรือถ่ายโอนข้อมูลที่สืบค้นได้โดยใช้บริการถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลและโปรแกรม (File Transfer Protocol หรือ FTP) โดยทั่วไปในปัจจุบัน การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต นิยมใช้โปรแกรม Web Browsers เช่น Internet Explorer หรือ Netscape แล้วเรียกใช้บริการ www ประกอบกับการใช้ Search Engine ซึ่งมีอยู่มากมายบนอินเตอร์เน็ตในการสืบค้น เมื่อสืบค้นได้แล้ว โปรแกรม Web Browsers มักจะมีบริการ Download ได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมอื่นๆเข้าช่วย

1.5         เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้น เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้น (Search Engine) มีอยู่มากมายและมีให้บริการอยู่ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้บริการการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะ การเลือกใช้นั้นขึ้นกับประเภทของข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการสืบค้น Search Engine ต่างๆ จะให้ข้อมูลที่มีความลึกในแง่มุมหรือศาสตร์ต่างๆ ไม่เท่ากัน ตัวอย่าง Search Engine ที่นิยมใช้มีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นของต่างประเทศ และของไทยเอง 

1)        http://www.yahoo.com

2)        http://www.google.com

3)        http://www.infoseek.com

4)        http://www.ultraseek.com

5)        http://www.lycos.com

6)        http://www.excite.com

7)        http://www.altavista.digital.com

8 )        http://www.opentext.com

9)        http://www.hotbot.com

10)    http://www.webcrawler.com

11)    http://www.dejanews.com

12)    http://www.elnet.net เป็นต้น

สำหรับเว็บไซต์ของไทย ได้แก่ http://www.sanook.com,  http://www.siamguru.com เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

ที่มา : http://research.bu.ac.th/news/f_list/news388/1.pdf, http://www.library.kku.ac.th/infoliteracy/opac_tip.html)

หลักการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลให้ให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด

            ปัญหาส่วนหนึ่งที่พบในการทำงานคอมพิวเตอร์ ของบุคลากร ไม่ว่าจะในหน่วยงานใดๆ ก็ตาม คือเรื่องเกี่ยวกับการตั้งชื่อไฟล์ ซึ่งเรื่องนี้ใหญ่กว่าที่คิด เพราะว่าถ้าส่วนใหญ่จะตั้งชื่อไฟล์แบบตามใจฉัน และมีมีโอกาสเจอเรื่องราวดี ๆ ได้ เช่น

1.        ใช้ไฟล์งานกับโปรแกรมที่ใช้อยู่ไม่ได้

2.        ใช้ไฟล์งานกับโปรแกรมเดียวกัน แต่คนละเวอร์ชั่นไม่ได้

3.        เวลาส่งไฟล์งานไปให้คนแผนกอื่นที่เกี่ยวข้องแต่ไฟล์มีปัญหา และ

4.        ฯลฯ

            ดังนั้น ในการการตั้งชื่อไฟล์ที่ทำให้มีปัญหาน้อยที่สุด

1.         หลีกเลี่ยงการตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาไทย ควรจะตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากภาษาไทยเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบดิจิตอล ซึ่งเรื่องนี้บางคนไม่ทราบ หรือว่าเห็นว่าโปรแกรมเกือบทั้งหมดบน Windows สามารถรองรับภาษาไทยได้ แต่ความเป็นจริงก็คือ ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์เป็น อักษขระที่ซับซ้อนกว่าภาษาอังกฤษเยอะมาก และจะหวังให้ผู้พัฒนาโปรแกรมส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดที่เป็นชาวต่างชาติมาทำความเข้าใจกับภาษาหลักของบ้านเรา คงเป็นเรื่องที่ยากเข้าไปใหญ่ ประกอบกับภาษาไทยในระบบดิจิตอลเอง ยังไม่มีมาตรฐานหรือองค์กรที่รับผิดชอบตรงนี้อย่างจริงจัง ตามที่เข้าใจ เลยทำให้เวลาผู้พัฒนาโปรแกรมต้องการข้อมูลประกอบสำหรับอ้างอิง จึงเป็นเรื่องที่ลำบาก เวลาปัญหาเกิดขึ้นที ก็ต้องหาทางเดาหรือว่าแก้กันเองในหมู่ผู้ใช้ เรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนมากกับโปรแกรมพิมพ์และภาษาไทย ที่ไม่ค่อยจะคงเส้นคงวาในเรื่องของ font และอะไรต่าง ๆ การตั้งชื่อไฟล์ภาษาไทย ถ้าโชคดี คุณจะยังใช้งานได้อยู่ แต่อาจจะมีปัญหาเมื่อเปลี่ยนเวอร์ชั่นของโปรแกรม หรือระบบ OS ที่มักจะมีการปรับปรุงในเรื่องของ font และการทำงานเกี่ยวกับ font อยู่ตลอดเวลา การตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ จึงสามารถแก้ไขข้อจำกัดตรงนี้ได้ เราไม่จำเป็นต้องใช้คำเลิศหรู เอาคำบ้าน ๆ ที่ตั้งแล้วตัวเองเข้าใจก็พอ

2.         หลีกเลี่ยงการเว้นวรรคในชื่อไฟล์ ตรงนี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ การเว้นวรรคทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้คือโปรแกรมไม่อ่านไฟล์นั้น ๆ ซึ่งเรื่องนี้ไม่เป็นเฉพาะกับชื่อไฟล์ภาษาไทยเท่านั้น สามารถเกิดได้กับชื่อไฟล์ที่เป็นภาษาอังกฤษได้ด้วย ถ้าต้องการวรรคตอนจริง ๆ สำหรับชื่อไฟล์หลายพยางค์ ควรจะใช้เครื่องหมายขีดกลาง (-) หรือขีดล่าง (_) มาเป็นตัวแบ่งพยางค์แทนครับ เช่น my-room-1.jpg, wall-map_1.jpg, wall-map_2.jpg...

3.         หลีกเลี่ยงชื่อไฟล์แบบ default ที่โปแกรม ตั้งมาให้ตอน save ควรจะใช้คำที่สื่อความหมายที่ตัวเราเองเข้าใจและตั้งเองมากกว่า ส่วนใหญ่พวกโปรแกรมแต่งภาพหรือไฟล์ภาพจากอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่นพวกกล้องดิจิตอล หรือว่าสแกนเนอร์ มักจะตั้งชื่อไฟล์มาให้เราเอง ซึ่งจะเป็นชื่อไฟล์ในแบบที่เครื่องอ่านเข้าใจ แต่คนอ่านไม่รู้เรื่อง เช่น R122003.jpg หรือ PIC00098.jpg อะไรทำนองนี้ เราควรจะตั้งให้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักของไฟล์หรือภาพนั้น ๆ เพื่อที่ตัวเราเอง หรือแม้แต่ผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะสามารถเข้าใจตัวไฟล์นั้นได้ โดยที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดไฟล์ขึ้นมาดู หรือรอรูปตรง preview ให้แสดงผลเสมอไปช่วยให้การทำงานเร็วขึ้นได้ในระดับหนึ่ง

4.         หลีกเลี่ยงชื่อไฟล์ที่ยาวเกินไป การตั้งชื่อไฟล์ที่ดี ควรจะสั้นห้วน และได้ใจความ จริงอยู่ว่าระบบ OS หรือว่าโปรแกรมรุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบันรองรับการทำงานกับชื่อไฟล์ยาว ๆ หลายตัวอักษรได้แล้ว แต่ในเรื่องของการใช้งานจริง ถ้าชื่อไฟล์ยาว ๆ มีโอกาสที่ชื่อไฟล์จะแสดงเพียงบางส่วนครับ เช่น my-material-of-the-stand......jpg อะไรทำนองนี้ งงกันไปใหญ่ หรือไม่ก็ต้องเสียเวลาดู preview หรือเปิดไฟล์นั้นขั้นมาดู การตั้งชื่อไฟล์ที่ดี ควรจะทำให้เราเห็นและเข้าใจได้ในวินาทีนั้นเลยโดยที่ไม่ต้องเปิด หรือทำอะไรอย่างอื่นให้วุ่นวายจะดีที่สุด

 

ที่มา : http://www.macmuemai.com/content/907