โครงการศึกษาปัญหาและความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การศึกษาปัญหาและความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 300 คน โดยจำแนกเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 100 คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 83 คน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 57 คน และ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 60 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. การจัดการเรียนการสอนของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในภาพรวมอยู่ ในระดับปานกลาง ( =3.110, SD=0.642)
2. ความต้องการในการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สรุปได้ดังนี้
1) ด้านผู้สอน พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการผู้สอนที่มีความรู้ ความสามารถตรงตามรายวิชาที่สอน
2) ด้านเนื้อหา พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการเรียนรู้เนื้อหาที่มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ในชีวิตจริง
3) ด้านวิธีสอน พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการการจัดการเรียนการสอนโดย เปิดโอกาสให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในสิ่งที่เรียน ใช้สื่อประกอบการสอน หรือมีการแนะนำหนังสือ พาไปดูงานจริง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
4) ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีเกณฑ์ในการวัดผลที่ชัดเจน มีการวัดผลตรงตามเนื้อหาที่เรียน ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การวัดผล
5) ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีการจัดตารางสอนในแต่ละภาคการศึกษาที่เหมาะสม มีการฝึกงานที่เหมาะสม มีการจัดลำดับก่อนหลังของรายวิชาในแต่ละภาคการศึกษาเป็นอย่างดี
6) ด้านอาคารสถานที่ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีโรงอาหารที่รองรับจำนวนนักศึกษาได้เพียงพอและสะอาด มีห้องคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์ที่เพียงพอและเหมาะสม มีห้องน้ำเพียงพอและสะอาด มีห้องปฏิบัติการเพียงพอและเหมาะสม มีที่นั่งเล่นพักผ่อนเพียงพอและไม่ร้อนแดด
7) ด้านโสตทัศนูปกรณ์และบริการ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีอุปกรณ์ที่เพียงพอ
3. การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สรุปได้ดังนี้
1) เพศต่างกันมีปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
2) ชั้นปีต่างกันมีปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่พบว่า แตกต่างกัน 4 คู่ ได้แก่ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3, นักศึกษาชั้นปีที่ 1 กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 4, นักศึกษาชั้นปีที่ 2 กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3
3) อายุต่างกันมีปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่พบว่า แตกต่างกัน 1 คู่ ได้แก่ นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 18-20 ปี กับ นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 21-23 ปี
4) สาขาวิชาต่างกันมีปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05