ความตระหนัก ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อปัญหาสภาวะโลกร้อนของประชาชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Awareness, Knowledge, Attitude, and Behavior on Global Warming of Residents in Bangkok Metropolitan Region)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสาร ความตระหนัก ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่มีต่อปัญหาสภาวะโลกร้อน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการเปิดรับข่าวสาร ความตระหนัก ความรู้ และทัศนคติกับพฤติกรรมเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนของประชาชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแต่ละเขตกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ 50 เขตโดยใช้วิธีสุ่มจาก 12 กลุ่มเขต ตามโครงสร้างการพัฒนาเมืองที่กำหนดไว้ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร และจังหวัดในปริมณฑล อีก 5 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครปฐม และนนทบุรี จำนวน 1,200 คน

ผลการวิจัยพบว่า
พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนผ่านสื่อต่งๆ ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ทุกวัน ส่วนสื่ออื่นๆ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา วารสาร แผ่นพับ อินเทอร์เน็ต กิจกรรม และสื่อบุคคล ส่วนใหญ่มีการเปิดรับ 3-4 วันใน 1 สัปาดห์ นและประชาชนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ “สภาวะโลกร้อน” อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความตระหนัก ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อปัญหาสภาพวะโลกร้อนอยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อาชีพ และลักษณะที่พักอาศัย ต่างกันมีความถี่การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เพศ การศึกษา และอาชีพ ต่างกันมีความตระหนักต่อปัญหาสภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และลักษณะที่พักอาศัยต่างกันมีความรู้ที่มีต่อสภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และลักษณะที่พักอาศัยต่างกัน มีทัศนคติต่อสภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การศึกษา อาชีพ และลักษณะที่พักอาศัย ต่างกัน มีพฤติกรรมต่อสภาวะโลกร้อนแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
การเปิดรับรับข่าวสาร ความตระหนัก และทัศนคติเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนของประชาชนที่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมต่อปัญหาสภาวะโลกร้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความรู้เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนของประชาชนที่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมต่อปัญหาสภาวะโลกร้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research aimed to investigate media exposure, awareness, knowledge, attitude, and behavior towards global warming and to study correlations among those factors that varied Bangkok metropolitan’s media exposure, perception, knowledge, and attitude on global warming. The 1,200 Bangkok residents were randomly selected from 12 districts out of 50 districts in Bangkok Municipality including 5 adjacent Provinces of Nakhon Pathom, Pathum Thani, Nonthaburi, Samut Prakan and Samut Sakhon.
The study found the following results:

The media exposure behavior concerning global warming was, in general, rated in medium level. People were daily exposed to television, yet other media: radio, newspaper, magazine, billboard, journal, brochure, internet, and personal media were exposure 3-4 days a week. Most respondents said publicizing on global warming in Thailand was in medium level. Awareness, attitude, and behavior against global warming were generally in high level.

The hypothesis testing showed that different gender, career, and housing varied the frequency of media exposure on global warming at statistical significance .05.

Different gender, education background, and career varied awareness on global warming at statistical significance .05

Different age, education background, income, and housing varied knowledge on global warming at statistical significance .05.

Different gender, age, education background, career, income, and housing varied attitude towards global warming at statistical .05.

Different education background, career, and housing varied behavior against global warming at statistical significance .05.

The exposure to media, awareness, and attitude of Bangkok metropolitan residents about global warming had positive correlation to behavior at statistical significance .05. However, regarding to knowledge of global warming, it resulted negative correlation to behavior at statistical .05.

คำสำคัญ: ความตระหนัก ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และ สภาวะโลกร้อน
Keywords: Awareness, Attitude, Knowledge, Behavior, Global warming