องค์ประกอบของจริยธรรม

     1) ระเบียบวินัย (Discipline) การที่สังคมจะมีระเบียบวินัย ในสังคมจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามข้อตกลงของสังคม อันได้แก่ กฎหมาย จารีต ประเพณี

     2) สังคม (Society) การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมหรือประกอบกิจกรรมใด ในสังคมก็ตามจะต้องมีแบบแผน มุ่งเน้นหรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

     3) อิสระเสรี (Autonomy) การมีอิสระเสรีนั้นสังเกตได้จากการที่บุคคลในสังคมมีเสรีภาพในการปกครองตน

 

ประเภทของจริยธรรม

จริยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

     1) จริยธรรมภายนอก เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมภายนอกที่ปรากฏให้เป็นที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยความมีวินัย การตรงต่อเวลาเป็นต้น

     2) จริยธรรมภายใน เป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคคลิตามสภาพของจิตใจและสภาวะแวดล้อม เช่น ควงาใมซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น

ความสำคัญของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

     จริยธรรมเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างจรรยา คือความประพฤติ และธรรม คือเครื่องรักษาความประพฤติ การประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม ผู้ประกอบอาชีพจะต้องคำนึงถึงผลต่อสังคมภายนอกเสมอทั้งนี้ก็จะต้องไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ผิด หากประกอบอาชีพโดยไร้จริยธรรมผลเสียหายจะตกอยู่กับสังคมและประเทศชาติ  ฉะนั้นจริยธรรมจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ความสำคัญของจริยธรรม  มีดังนี้

     1) ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพแต่ละสาขาได้ใช้วิชาชีพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม และประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

     2) ช่วยควบคุมและส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบในงานของตน

     3) งานส่งเสริมและควบคุมการผลิต และการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยและการบริการที่ดี

     4) ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค และไม่เห็นแก่ตัว ทั้งนั้นจะต้องยึดหลักโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคเสมอ

     5) ช่วยให้วงการธุรกิจของผู้ประกอบอาชีพมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีความเอื้อเฟื้อต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น

 

แล้วจริงๆ จริยธรรมคืออะไร?

จริงๆ แล้ว คำว่า "จริยธรรม" น่าจะสรุปเป็นคำจำกัดความกว้างๆ ได้ว่า "จริยธรรม" เป็นหลักหรือแนวทางของความประพฤติของมนุษย์ในสังคมให้อยู่รวมกันอย่างสงบสุขเป็นสิ่งจำเป็นที่ทั้งคุณค่าและประโยชน์อย่างมากมายแก่บุคคลทั้งระดับครอบครัวไปจนถึงระดับประเทศชาติ จริยธรรมประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ ระเบียบวินัย สังคม และอิสระเสรี การแบ่งประเภทของจริยธรรมแบ่งได้แบบกว้าง ๆ 2 ประเภท คือ จริยธรรมภายนอก ได้แก่ จริยธรรมภายใน ได้แก่ จริยธรรมมีแหล่งที่มาจากดต้นกำเนิดหลายสาขาด้วยกัน คือ ด้านปรัชญา ศาสนา วรรณคดี สังคม และการเมืองการปกครอง และจากรากฐานที่กล่าวมาจึงค่อย ๆ พัฒนามาเป็นจริยธรรม

คุณลักษณะของจริยธรรม

     คุณลักษณะของจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของจริยธรรมเพื่อให้เห็นเด่นชัดในด้านหนึ่งและมีความแตกต่างจากจริยธรรมด้านอื่น ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการศึกษาหลายหน่วยงาน ได้กำหนดโครงสร้างจริยธรรม พร้อมทั้งกำหนดคุณลักษณะของจริยธรรม ไว้ดั้งนี้

     1) ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียดรอบคอบ มีความพากเพียรพยายามเพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย

     2) ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริง  ทั้งการ วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น

     3) ความมีเหตุผล หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพิสูจน์ สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประจักษ์ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นในความคิดของตนเอง

     4) ความกตัญญูกตเวที หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ หรือ สิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณ อาจกระทำด้วยสิ่งของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม

     5) ความอุตสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงานหรือกิจกรรมที่ทำด้วยขยันขันแข็งกระตือรือร้น อดทน ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรคขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย่อท้อ

     6) ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพียงเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน การให้ความร่วมมือในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน

     7) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคม กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ กฏหมายและศลีธรรม

     8) ความเสียสละ หมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังปัญญาของตนเอง

     9) ความประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะพอควร เพื่อให้เกิดประโยชนสูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้มเฟือยจนเกิดฐานะของตน

     10) ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราวต่างๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่มีความลำเอียงหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

     11) ความเมตตากรุณา หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความสงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุข์

ความสำคัญของจริยธรรม

ความสำคัญของจริยธรรม

     จริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญในสังคมที่จะนำความสุขสงบและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้น ๆเพราะเมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาดและสว่างในจิตใจ

     จริยธรรมเป็นความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องดีงาม รวมถึงการทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบการและดำรงชีวิตอย่างฉลาด ด้วยสติและปัญญา รู้เหตุรู้ผลรู้กาลเทศะ กระทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เสียสละอุทิศตน มุ่งมั่นและบากบั่น

     ความสำคัญของจริยธรรม จึงเป็นเครื่องมือยุทธศาสตร์ของชาติ และ สังคมเครื่องชี้วัดความเจริญความเสื่อมของสังคมจริยธรรมเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่าและทุกอาชีพ สังคมจะอยู่รอดและเป็นสุขได้ ก็ด้วยจริยธรรม

 

ว่าด้วยเรื่องจริยธรรม

     ปัจจุบันนี้จะพบเห็นข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรมตามหน้าหนังสือพิมพ์ ในสื่อวิทยุ และสื่อโทรทัศน์ทั่วไป สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้คือ การขาดคุณธรรม จริยธรรมในจิตใต้สำนึก ซึ่งมีผลมาจากปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยี ซึ่งมีการนำเอาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาคเอกชน หรือแม้แต่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ก็นำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งยังเป็นยุคของโลกไร้พรมแดน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ภายในเวลาไม่ถึงเสี้ยววินาที โดยเชื่อต่อผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันนี้ได้ก้าวล้ำเข้าสู่ยุคการติดต่อไร้สาย ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว สามารถใช้บริการได้ทุกอย่าง

     ถึงแม้ว่าการสอนในปัจจุบันจะเน้นปลูกจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและจากการเปิดรับวัฒนธรรมจากประเทศต่าง ๆ มากมาย ทำให้เยาวชน หรือวัยรุ่นในปัจจุบันนี้มีอิสระทางด้านความคิดมากขึ้น ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนควรสอดแทรกเนื้อหาทางด้านจริยธรรมในทุก ๆ วิชา

      ได้มีผู้กล่าวถึงความหมายของคำว่า จริยธรรม ไว้อย่างหลากหลาย แต่คำอธิบายเหล้านั้นส่วนใหญ่ก็มีความหมายใกล้เคียง ซึ่งในที่นี้ขอสรุปไว้ว่า จริยธรรม หมายถึง พฤติกรรมการแสดงออก พฤติกรรมการปฏิบัติของบุคคลที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและอยู่ในกรอบของศีลธรรม ถือในการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี สามารถคิดและตัดสินใจได้ว่าสิ่งไหน ควร-ไม่ควร ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด