การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุคี ศิริวงศ์พากร

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้สถิติไคว์สแคว์
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่เปิดรับสื่อโทรทัศน์เป็นประจำ เปิดรับสือวิทยุกระจายเสียงนานๆ ครั้ง เปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์นานๆ ครั้ง เปิดรับสื่ออินเทอร์เน็ตนานๆ เปิดรับสื่อกิจกรรมนานๆ ครั้ง และเปิดรับสื่อบุคคลบ่อยครั้ง และมีความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การศึกษา รายได้ และจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกันความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนเพศและสถานะการพักอาศัยต่างกันความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน และพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับผู้สูงอายุจากทุกสื่อ ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเนียง สิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต สื่อกิจกรรม และสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : พฤติกรรม การเปิดรับข่าวสาร การพึ่งตนเอง ผู้สูงอายุ

ความตระหนัก ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อปัญหาสภาวะโลกร้อนของประชาชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Awareness, Knowledge, Attitude, and Behavior on Global Warming of Residents in Bangkok Metropolitan Region)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสาร ความตระหนัก ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่มีต่อปัญหาสภาวะโลกร้อน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการเปิดรับข่าวสาร ความตระหนัก ความรู้ และทัศนคติกับพฤติกรรมเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนของประชาชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแต่ละเขตกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ 50 เขตโดยใช้วิธีสุ่มจาก 12 กลุ่มเขต ตามโครงสร้างการพัฒนาเมืองที่กำหนดไว้ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร และจังหวัดในปริมณฑล อีก 5 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครปฐม และนนทบุรี จำนวน 1,200 คน

ผลการวิจัยพบว่า
พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนผ่านสื่อต่งๆ ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ทุกวัน ส่วนสื่ออื่นๆ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา วารสาร แผ่นพับ อินเทอร์เน็ต กิจกรรม และสื่อบุคคล ส่วนใหญ่มีการเปิดรับ 3-4 วันใน 1 สัปาดห์ นและประชาชนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ “สภาวะโลกร้อน” อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความตระหนัก ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อปัญหาสภาพวะโลกร้อนอยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อาชีพ และลักษณะที่พักอาศัย ต่างกันมีความถี่การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เพศ การศึกษา และอาชีพ ต่างกันมีความตระหนักต่อปัญหาสภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และลักษณะที่พักอาศัยต่างกันมีความรู้ที่มีต่อสภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และลักษณะที่พักอาศัยต่างกัน มีทัศนคติต่อสภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การศึกษา อาชีพ และลักษณะที่พักอาศัย ต่างกัน มีพฤติกรรมต่อสภาวะโลกร้อนแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
การเปิดรับรับข่าวสาร ความตระหนัก และทัศนคติเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนของประชาชนที่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมต่อปัญหาสภาวะโลกร้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความรู้เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนของประชาชนที่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมต่อปัญหาสภาวะโลกร้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research aimed to investigate media exposure, awareness, knowledge, attitude, and behavior towards global warming and to study correlations among those factors that varied Bangkok metropolitan’s media exposure, perception, knowledge, and attitude on global warming. The 1,200 Bangkok residents were randomly selected from 12 districts out of 50 districts in Bangkok Municipality including 5 adjacent Provinces of Nakhon Pathom, Pathum Thani, Nonthaburi, Samut Prakan and Samut Sakhon.
The study found the following results:

The media exposure behavior concerning global warming was, in general, rated in medium level. People were daily exposed to television, yet other media: radio, newspaper, magazine, billboard, journal, brochure, internet, and personal media were exposure 3-4 days a week. Most respondents said publicizing on global warming in Thailand was in medium level. Awareness, attitude, and behavior against global warming were generally in high level.

The hypothesis testing showed that different gender, career, and housing varied the frequency of media exposure on global warming at statistical significance .05.

Different gender, education background, and career varied awareness on global warming at statistical significance .05

Different age, education background, income, and housing varied knowledge on global warming at statistical significance .05.

Different gender, age, education background, career, income, and housing varied attitude towards global warming at statistical .05.

Different education background, career, and housing varied behavior against global warming at statistical significance .05.

The exposure to media, awareness, and attitude of Bangkok metropolitan residents about global warming had positive correlation to behavior at statistical significance .05. However, regarding to knowledge of global warming, it resulted negative correlation to behavior at statistical .05.

คำสำคัญ: ความตระหนัก ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และ สภาวะโลกร้อน
Keywords: Awareness, Attitude, Knowledge, Behavior, Global warming

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะ0เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ คณาจารย์ผู้สอนประจำของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. คณาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับน้อย

2.  คณาจารย์มีทัศนคติต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับมาก

3.  การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณาจารย์ อยู่ในระดับมาก

4.  ปัจจัยด้านทัศนคติมีความสามารถในการทำนายการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณาจารย์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีความสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 39.2

โครงการศึกษาปัญหาและความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การศึกษาปัญหาและความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 300 คน โดยจำแนกเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 100 คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 83 คน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 57 คน และ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 60 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. การจัดการเรียนการสอนของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในภาพรวมอยู่ ในระดับปานกลาง ( =3.110, SD=0.642)
2. ความต้องการในการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สรุปได้ดังนี้
1) ด้านผู้สอน พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการผู้สอนที่มีความรู้ ความสามารถตรงตามรายวิชาที่สอน
2) ด้านเนื้อหา พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการเรียนรู้เนื้อหาที่มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ในชีวิตจริง
3) ด้านวิธีสอน พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการการจัดการเรียนการสอนโดย เปิดโอกาสให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในสิ่งที่เรียน ใช้สื่อประกอบการสอน หรือมีการแนะนำหนังสือ พาไปดูงานจริง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
4) ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีเกณฑ์ในการวัดผลที่ชัดเจน มีการวัดผลตรงตามเนื้อหาที่เรียน ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การวัดผล
5) ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีการจัดตารางสอนในแต่ละภาคการศึกษาที่เหมาะสม มีการฝึกงานที่เหมาะสม มีการจัดลำดับก่อนหลังของรายวิชาในแต่ละภาคการศึกษาเป็นอย่างดี
6) ด้านอาคารสถานที่ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีโรงอาหารที่รองรับจำนวนนักศึกษาได้เพียงพอและสะอาด มีห้องคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์ที่เพียงพอและเหมาะสม มีห้องน้ำเพียงพอและสะอาด มีห้องปฏิบัติการเพียงพอและเหมาะสม มีที่นั่งเล่นพักผ่อนเพียงพอและไม่ร้อนแดด
7) ด้านโสตทัศนูปกรณ์และบริการ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีอุปกรณ์ที่เพียงพอ
3. การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สรุปได้ดังนี้
1) เพศต่างกันมีปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
2) ชั้นปีต่างกันมีปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่พบว่า แตกต่างกัน 4 คู่ ได้แก่ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3, นักศึกษาชั้นปีที่ 1 กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 4, นักศึกษาชั้นปีที่ 2 กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3
3) อายุต่างกันมีปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่พบว่า แตกต่างกัน 1 คู่ ได้แก่ นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 18-20 ปี กับ นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 21-23 ปี
4) สาขาวิชาต่างกันมีปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การศึกษาประสิทธิภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 3) ศึกษาระดับประสิทธิภาพ             การเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนค และ 4) ศึกษาตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สาขาวิชา ระดับชั้น ระดับผลการเรียน และทัศนคติต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร        ปีการศึกษา 2552 จำนวน 300 คน โดยกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวน 50% ของนักศึกษาที่มีอยู่จริง จำนวน 300 คน ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2/2552 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test แบบ One-Way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ตามความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 3.60 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า           ด้านอาจารย์ผู้สอนมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด 3.76 อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านการวัดและประเมินผลการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของอาจารย์ มีคะแนนเฉลี่ย 3.60, 3.55 ตามลำดับ ส่วนด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 3.25

ทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 3.57

ประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 3.76

ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ชั้นปีที่ศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรเพศ สาขาวิชาที่ศึกษา และระดับผลการเรียน (GPA) ไม่แตกต่างกัน

ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ทั้งในภาพรวมและรายได้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี      ราชมงคลพระนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ทัศนคติต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ATT) และระดับชั้นปีที่ 2 (GRADE2)