การประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล

เพื่อเป็นการตรวจสอบความน่าเชื่อของแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่สืบค้นมาได้ผู้สืบค้นสามารถประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลได้จาก 12 องค์ประกอบ (สุกัญญา ประจุศิลปะและคณะ, 2547) ดังนี้

1. บอกวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลไว้ในเว็บไซต์

2. การเสนอเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์

3. เนื้อหาเว็บไซต์ไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรม

4. มีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์

5. มีการให้ที่อยู่ (E-mail address) ที่ผู้อ่านสามารถติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้

6. มีการอ้างอิงหรือระบุแหล่งที่มาของข้อมูลของเนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์

7. สามารถเชื่อมโยง (Link) ไปเว็บไซต์อื่นที่อ้างถึงได้

8. มีการระบุวันเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์

9. มีการระบุวันเวลาในการปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด

10. มีช่องทางให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็น

11. มีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจใช้ข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์

12. มีการระบุว่า เป็นเว็บไซต์ส่วนตัวหรือระบุแหล่งที่ให้การสนับสนุนในการสร้างเว็บไซต์

บทบาทนักศึกษากับการบริการวิชาการ

บทบาทนักศึกษาที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ นอกจากจะเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยแล้ว ยังมีอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญยิ่งนั่นก็คือ บทบาทด้านการบริหารวชิชาการ ซึ่ง จะเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษารู้จักเสียสละ และรู้จักช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ดังนั้น คณะ/ มหาวิทยาลัย มีหน้าที่สนับสนุนให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการแก่สังคม ชมชนรอบข้างด้วย ซึ่งนักศึกษามีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการบริการวิชาการดังนี้

     1. เข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการของคณะฯ
     2. จัดโครงการบริการวิชาการในรูปแบบของชมรม/สโมสรนักศึกษา
     3. จัดในลักษณะให้ความรู้ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
     4. เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุชนใกล้เคียงหรือชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลีย
     และอื่นๆ ฯลฯ

ข้อจำกัดของการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต

ถึงแม้ว่าการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตจะมีข้อดีอย่างเห็นได้ชัดมากมายดังกล่าวข้างต้น การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตก็มีข้อจำกัดหรือข้อเสียอยู่บ้าง ดังนี้

1.   ข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ตมีความครอบคลุมกว้างขวางมาก มีความหลากหลาย     ไร้พรมแดน จึงทำให้ผู้ใช้ที่ไม่มีทักษะการสืบค้นอาจเกิดปัญหาเนืองจากได้ข้อมูลสารสนเทศที่ไม่ตรงตามความต้องการเป็นจำนวนมากทำให้เสียเวลา

2.  ข้อมูลสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตถูกปรับปรุงแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การอ้างอิงเอกสารทำได้ลำบาก เพราะการเข้าไปสืบค้นเอกสารอีกครั้งหนึ่งในวันข้างหน้าเอกสารดังกล่าวอาจจะไม่อยู่แล้วหรือเนื้อหาข้อความอาจถูกปรับเปลี่ยนไปแล้วก็ได้

3.  ข้อมูลสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตที่ได้มาจะต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลที่ได้มาด้วยว่ามีความน่าเชื่อถือมากแค่ไหน

ข้อดีของการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตมีข้อดีหลักๆ ดังต่อไปนี้

            1.     ขอบเขตของข้อมูลสารสนเทศกว้างขวางมาก มีความหลากหลาย ไร้พรมแดน

            2.     ข้อมูลสารสนเทศที่สืบค้นได้มีความทันสมัยมาก เนื่องจากผู้สร้างข้อมูลสามารถแก้ไขปรับปรุงได้ง่ายและทำได้ตลอดเวลา

            3.     สะดวกมาก ไม่มีข้อจำกัดในแง่ของเวลาและสถานที่ สามารถสืบค้นเวลาใดก็ได้ที่ใดก็ได้

            4.     สามารถสืบค้นได้ง่ายและรวดเร็วโดยอาศัย Search Engine

            5.     การได้มาซึ่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตใช้เวลาสั้นมาก เมื่อเทียบกับการส่งเอกสารวิธีอื่นๆ

            6.     การได้มาซึ่งข้อมูลนั้น ประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร

            7.     จัดเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

            8.     ข้อมูลสารสนเทศที่สืบค้นมามีประโยชน์มาก สามารถนำไปจัดหมวดหมู่ ทำฐานข้อมูล บรรณาธิการ และจัดการต่อได้โดยง่าย

            9.     ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Directed Learning) และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life Long Learning)

การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อการวิจัย

     การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงอย่างเป็นระบบ มีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ในการทำวิจัยผู้วิจัยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการค้นคว้า สืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อใช้ในการอ้างอิงหรือทบทวนวรรณกรรม ซึ่งปัจจุบันแหล่งความรู้ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เป็นแหล่งรวมของข้อมูลทุกสาขาจากทั่วทุกมุมโลก และสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทุกเวลาและสถานที่ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผู้วิจัยจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ ดังนี้

 1.      การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต

            แหล่งข้อมูลสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ และใหญ่ที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวินาที ดังนั้นในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตควรดำเนินการดังนี้

1.1         กำหนดวัตถุประสงค์การสืบค้น ผู้สืบค้นหรือผู้วิจัยที่จะนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ควรตั้งวัตถุประสงค์การสืบค้นที่ชัดเจน ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่จะสืบค้นให้แคบลง กำหนดประเภทของเครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า Search Engine ให้เหมาะสม กำหนดช่วงเวลาที่ข้อมูลสารสนเทศถูกสร้างขึ้น เช่น ช่วงปีที่ตีพิมพ์ของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้เพื่อให้ผลการสืบค้นมีปริมาณไม่มากเกินไป มีความตรง (Validity) ตามวัตถุประสงค์ และมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) มากที่สุดอีกทั้งยังสามารถสืบค้นได้ผลในเวลาอันรวดเร็ว

1.2         ประเภทของข้อมูลสารสนเทศที่สามารถสืบค้นได้ ข้อมูลสารสนเทศที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตมีมากมายหลายประเภท มีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย คือ มีทั้งที่เป็นข้อความ(Text) ภาพวาด (Painting) ภาพเขียนหรือภาพลายเส้น (Drawing) ภาพไดอะแกรม (Diagram) ภาพถ่าย (Photograph) เสียง(Sound) เสียงสังเคราะห์ เช่น เสียงดนตรี (Midi) ภาพยนตร์ (Movie) ภาพเคลื่อนไหวอะนิเมชัน (Animation) จากเทคโนโลยีการสืบค้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสืบค้นที่เร็วที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด และแพร่หลายที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศประเภทข้อความ สำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นภาพ (Pattern Recognition) และเสียง ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ใช้เวลานาน และยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงยังไม่มีการสืบค้นข้อมูลประเภทอื่นๆ นอกจากประเภทข้อความในการให้บริการการสืบค้นบนอินเตอร์เน็ต

1.3         การสืบค้นต้องอาศัยอุปกรณ์และความรู้ ก่อนที่ผู้สืบค้นจะสามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตได้ ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเข้าอินเตอร์เน็ตซึ่งอาจเป็น Modem ในกรณีที่ใช้คู่กับสายโทรศัพท์ หรือแผ่น LAN Card ในกรณีที่ใช้คู่กับระบบเครือข่ายที่ได้รับการติดตั้งไว้แล้ว ซอฟต์แวร์การสื่อสาร (Communication Software) เช่น Dial-up Networking ในกรณีใช้ Modem หรือมีการติดตั้ง Network Protocol ที่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นติดตั้งอยู่และติดตั้ง Network Adapter ที่เหมาะสมสำหรับ LAN Card นั้นๆ ต้องสมัครเป็นสมาชิกขององค์การหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อเป็นช่องทางออกสู่อินเตอร์เน็ต นอกจากอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์(Computer Literacy) ความรู้ภาษาอังกฤษเนื่องจากข้อมูลสารสนเทศส่วนใหญ่ในอินเตอร์เน็ตเป็นภาษาอังกฤษ และยังต้องมีการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมอีกด้วย

1.4         บริการบนอินเตอร์เน็ต บริการบนอินเตอร์เน็ตที่สามารถใช้ช่วยในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศมีมากมายหลายบริการ เช่น บริการเครือข่ายใยแมงมุมโลก หรือ World-Wide-Web(WWW) บริการค้นหาข้อมูล Gopher บริการค้นหาโปรแกรมใช้งาน Archie นอกจากนี้ อาจใช้บริการสอบถามผ่านทาง E-mail หรือ Chat กับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอื่นๆ หรือสอบถามผ่าน News Group หรือ Group/Thread Discussion ก็ได้ เมื่อค้นได้ แหล่งข้อมูลแล้วอาจ download หรือถ่ายโอนข้อมูลที่สืบค้นได้โดยใช้บริการถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลและโปรแกรม (File Transfer Protocol หรือ FTP) โดยทั่วไปในปัจจุบัน การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต นิยมใช้โปรแกรม Web Browsers เช่น Internet Explorer หรือ Netscape แล้วเรียกใช้บริการ www ประกอบกับการใช้ Search Engine ซึ่งมีอยู่มากมายบนอินเตอร์เน็ตในการสืบค้น เมื่อสืบค้นได้แล้ว โปรแกรม Web Browsers มักจะมีบริการ Download ได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมอื่นๆเข้าช่วย

1.5         เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้น เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้น (Search Engine) มีอยู่มากมายและมีให้บริการอยู่ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้บริการการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะ การเลือกใช้นั้นขึ้นกับประเภทของข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการสืบค้น Search Engine ต่างๆ จะให้ข้อมูลที่มีความลึกในแง่มุมหรือศาสตร์ต่างๆ ไม่เท่ากัน ตัวอย่าง Search Engine ที่นิยมใช้มีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นของต่างประเทศ และของไทยเอง 

1)        http://www.yahoo.com

2)        http://www.google.com

3)        http://www.infoseek.com

4)        http://www.ultraseek.com

5)        http://www.lycos.com

6)        http://www.excite.com

7)        http://www.altavista.digital.com

8 )        http://www.opentext.com

9)        http://www.hotbot.com

10)    http://www.webcrawler.com

11)    http://www.dejanews.com

12)    http://www.elnet.net เป็นต้น

สำหรับเว็บไซต์ของไทย ได้แก่ http://www.sanook.com,  http://www.siamguru.com เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

ที่มา : http://research.bu.ac.th/news/f_list/news388/1.pdf, http://www.library.kku.ac.th/infoliteracy/opac_tip.html)

หลักการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลให้ให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด

            ปัญหาส่วนหนึ่งที่พบในการทำงานคอมพิวเตอร์ ของบุคลากร ไม่ว่าจะในหน่วยงานใดๆ ก็ตาม คือเรื่องเกี่ยวกับการตั้งชื่อไฟล์ ซึ่งเรื่องนี้ใหญ่กว่าที่คิด เพราะว่าถ้าส่วนใหญ่จะตั้งชื่อไฟล์แบบตามใจฉัน และมีมีโอกาสเจอเรื่องราวดี ๆ ได้ เช่น

1.        ใช้ไฟล์งานกับโปรแกรมที่ใช้อยู่ไม่ได้

2.        ใช้ไฟล์งานกับโปรแกรมเดียวกัน แต่คนละเวอร์ชั่นไม่ได้

3.        เวลาส่งไฟล์งานไปให้คนแผนกอื่นที่เกี่ยวข้องแต่ไฟล์มีปัญหา และ

4.        ฯลฯ

            ดังนั้น ในการการตั้งชื่อไฟล์ที่ทำให้มีปัญหาน้อยที่สุด

1.         หลีกเลี่ยงการตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาไทย ควรจะตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากภาษาไทยเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบดิจิตอล ซึ่งเรื่องนี้บางคนไม่ทราบ หรือว่าเห็นว่าโปรแกรมเกือบทั้งหมดบน Windows สามารถรองรับภาษาไทยได้ แต่ความเป็นจริงก็คือ ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์เป็น อักษขระที่ซับซ้อนกว่าภาษาอังกฤษเยอะมาก และจะหวังให้ผู้พัฒนาโปรแกรมส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดที่เป็นชาวต่างชาติมาทำความเข้าใจกับภาษาหลักของบ้านเรา คงเป็นเรื่องที่ยากเข้าไปใหญ่ ประกอบกับภาษาไทยในระบบดิจิตอลเอง ยังไม่มีมาตรฐานหรือองค์กรที่รับผิดชอบตรงนี้อย่างจริงจัง ตามที่เข้าใจ เลยทำให้เวลาผู้พัฒนาโปรแกรมต้องการข้อมูลประกอบสำหรับอ้างอิง จึงเป็นเรื่องที่ลำบาก เวลาปัญหาเกิดขึ้นที ก็ต้องหาทางเดาหรือว่าแก้กันเองในหมู่ผู้ใช้ เรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนมากกับโปรแกรมพิมพ์และภาษาไทย ที่ไม่ค่อยจะคงเส้นคงวาในเรื่องของ font และอะไรต่าง ๆ การตั้งชื่อไฟล์ภาษาไทย ถ้าโชคดี คุณจะยังใช้งานได้อยู่ แต่อาจจะมีปัญหาเมื่อเปลี่ยนเวอร์ชั่นของโปรแกรม หรือระบบ OS ที่มักจะมีการปรับปรุงในเรื่องของ font และการทำงานเกี่ยวกับ font อยู่ตลอดเวลา การตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ จึงสามารถแก้ไขข้อจำกัดตรงนี้ได้ เราไม่จำเป็นต้องใช้คำเลิศหรู เอาคำบ้าน ๆ ที่ตั้งแล้วตัวเองเข้าใจก็พอ

2.         หลีกเลี่ยงการเว้นวรรคในชื่อไฟล์ ตรงนี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ การเว้นวรรคทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้คือโปรแกรมไม่อ่านไฟล์นั้น ๆ ซึ่งเรื่องนี้ไม่เป็นเฉพาะกับชื่อไฟล์ภาษาไทยเท่านั้น สามารถเกิดได้กับชื่อไฟล์ที่เป็นภาษาอังกฤษได้ด้วย ถ้าต้องการวรรคตอนจริง ๆ สำหรับชื่อไฟล์หลายพยางค์ ควรจะใช้เครื่องหมายขีดกลาง (-) หรือขีดล่าง (_) มาเป็นตัวแบ่งพยางค์แทนครับ เช่น my-room-1.jpg, wall-map_1.jpg, wall-map_2.jpg...

3.         หลีกเลี่ยงชื่อไฟล์แบบ default ที่โปแกรม ตั้งมาให้ตอน save ควรจะใช้คำที่สื่อความหมายที่ตัวเราเองเข้าใจและตั้งเองมากกว่า ส่วนใหญ่พวกโปรแกรมแต่งภาพหรือไฟล์ภาพจากอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่นพวกกล้องดิจิตอล หรือว่าสแกนเนอร์ มักจะตั้งชื่อไฟล์มาให้เราเอง ซึ่งจะเป็นชื่อไฟล์ในแบบที่เครื่องอ่านเข้าใจ แต่คนอ่านไม่รู้เรื่อง เช่น R122003.jpg หรือ PIC00098.jpg อะไรทำนองนี้ เราควรจะตั้งให้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักของไฟล์หรือภาพนั้น ๆ เพื่อที่ตัวเราเอง หรือแม้แต่ผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะสามารถเข้าใจตัวไฟล์นั้นได้ โดยที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดไฟล์ขึ้นมาดู หรือรอรูปตรง preview ให้แสดงผลเสมอไปช่วยให้การทำงานเร็วขึ้นได้ในระดับหนึ่ง

4.         หลีกเลี่ยงชื่อไฟล์ที่ยาวเกินไป การตั้งชื่อไฟล์ที่ดี ควรจะสั้นห้วน และได้ใจความ จริงอยู่ว่าระบบ OS หรือว่าโปรแกรมรุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบันรองรับการทำงานกับชื่อไฟล์ยาว ๆ หลายตัวอักษรได้แล้ว แต่ในเรื่องของการใช้งานจริง ถ้าชื่อไฟล์ยาว ๆ มีโอกาสที่ชื่อไฟล์จะแสดงเพียงบางส่วนครับ เช่น my-material-of-the-stand......jpg อะไรทำนองนี้ งงกันไปใหญ่ หรือไม่ก็ต้องเสียเวลาดู preview หรือเปิดไฟล์นั้นขั้นมาดู การตั้งชื่อไฟล์ที่ดี ควรจะทำให้เราเห็นและเข้าใจได้ในวินาทีนั้นเลยโดยที่ไม่ต้องเปิด หรือทำอะไรอย่างอื่นให้วุ่นวายจะดีที่สุด

 

ที่มา : http://www.macmuemai.com/content/907

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บแฟ้มข้อมูล

ข้อกำหนดสำหรับการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล ขึ้นอยู่กับความสามารถของระบบปฏิบัติการ และขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจะต้องทราบหลักการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้

1.         คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะต้องแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ เป็น 2 พาติชั่น โดยพาติชั่นแรกให้ติดตั้งเฉพาะโปรแกรมใช้งานต่างๆ และพาติชั่นที่สอง ให้ใช้เป็นพื้นที่เก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ

2.         จะต้องจัดระบบการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลให้เป็นระบบตามมาตรฐาน คือ มีการแบ่งโฟลเดอร์เฉพาะที่ชัดเจน  และเหมาะสม

3.         ระบบชื่อไฟล์ และชื่อโฟลเดอร์ จะต้องยึดปฏิบัติตามกฎต่อไปนี้ 

  • ควรใช้ตัวอักษร a – z ควรเป็นตัวอักษรพิมพ์เล็ก
  • สามารถนำตัวเลข 0 – 9 หรือสัญลักษณ์ขีดกลาง หรือขีดล่าง มาผสมได้
  • ไม่ควรเว้นวรรคช่องว่างภายในชื่อ
  • ห้ามใช้อักษรพิเศษในการตั้งชื่อ ยกเว้น Underscor (ขีดล่าง) หรือ Dash (ขีดกลาง)
  • ส่วนประกอบของชื่อสื่อถึงเนื้อหา หรือข้อมูล
  • การใช้วันที่ในการตั้งชื่อไฟล์ หรือโฟลเดอร์ ให้อยู่ในรูปแบบของ ddmmyyyy  โดย

§  yyyy   เป็นตัวเลขแสดงปี พ.ศ. จำนวน 4 หลัก

§  mm เป็นตัวเลขประจำเดือน จำนวน 2 หลัก

§  dd   เป็นตัวเลขวัน จำนวน 2 หลัก    

ตัวอย่าง  ชื่อไฟล์  Report2102553-01.doc