The Trend of 3D Industry for future 4 -By Professor Byung Chul Cho

Paralax Barrier ปัจจุบันเรายังไม่ค่อยเห็นเทคนิคแบบนี้เท่าไหร่นัก แต่เทคนิคแบบนี้ข้อดีคือไม่ต้องใช้แว่นใดๆ ในการมองเลย เป็นเทคโนโลยีที่จะใช้ในทีวียุคต่อไป ใช้การฉายภาพสองเฟรมพร้อมกันลงบนจอ และมีฟิลเตอร์กรองแสงบนหน้าจอให้เข้าลูกตาของเราสองข้างแทน (แสงพุ่งเข้าตาแบบตรงๆ ชนิดไม่ต้องใช้แว่น) แต่ยังเป็นอนาคตอีกยาวไกลที่ต้องพัฒนากันต่อ

ทั้งสามแบบ มีจุดประสงค์เดียวกันทั้งหมดคือทำให้เราได้รับภาพที่แตกต่างกันสองภาพสำหรับดวงตาของเรา เพราะการมองภาพให้ได้เป็น 3D นั้นจำเป็นต้องได้ภาพที่มีมุมมองสำหรับลูกตาสองข้างของเรา เราสามารถทดสอบรูปแบบของภาพที่จะเข้าลูกตาเราทั้งสองข้างได้เองโดยการหลับตาเพียงข้างเดียวและสลับซ้ายขวาดู ภาพที่ได้จะมีความแตกต่างกันนิดหน่อยจากตำแหน่งของลูกตาทั้งสองข้างที่ต่างกัน และนี่คือรูปภาพที่อธิบายง่ายๆ เกี่ยวกับรูปแบบของภาพ 3D แบบต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี แบบ 3D นี้

picture112

The Trend of 3D Industry for future 3 -By Professor Byung Chul Cho

Polarized 3D ต่อมาได้พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งโดยการฉายภาพสองภาพลงไปบนเฟรมเดียวกันเหมือนเดิม แต่รอบนี้ภาพที่ฉายออกมาจะเป็นภาพที่ผ่านฟิลเตอร์ Polarize ที่แตกต่างกัน ภาพที่ได้ก็จะเหลื่อมกันเหมือนเดิม (หากไม่ได้มองผ่านแว่น) แต่แว่นตัวนี้จะพิเศษหน่อยคือด้านหนึ่งจะกรองคลื่นแสงเฉพาะแนวนอน ส่วนอีกด้านก็แนวตั้งเท่านั้น

picture10

ภาพที่ผ่านกระบวนการ Polarized

รูปแบบการฉายแบบ Polarized นี่คือเทคโนโลยีที่อยู่ในยุคปัจจุบัน Avatar ก็ใช้เทคนิคนี้เช่นกัน รวมถึงทีวี 3D ที่ออกวางจำหน่ายในปัจจุบันด้วย แต่รูปแบบของการฉายจะมีอีกสองแบบแยกย่อยออกไปอีกคือ

· Linear Polarization: นี่เป็นรูปแบบปัจจุบันที่ใช้กันเยอะ คือการกรองในแนวตั้ง และแนวนอน ข้อเสียคือหากคุณหมุนหัวหรือนั่งไม่ได้ระดับ ภาพจะแยกออกกันในทันที (เหตุผลที่ควรนั่งในโรงและมองให้ตรงฉากกับจอ และอยู่ให้นิ่ง ก็เพราะใช้แว่นแบบนี้) ข้อดีคือราคาไม่แพงมาก

· Circular Polarization: รูปแบบคล้ายด้านบน แต่ฟิลเตอร์จะกรองแสงแบบตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มแทน ข้อดีของแบบนี้คือสามารถหันหัวไปมาได้ (แต่ในไทยผมไม่เคยเห็นแบบนี้แฮะ ใครเจอโปรดแจ้ง)

picture111

แว่น Polarized

The Trend of 3D Industry for future 2 -By Professor Byung Chul Cho

Anaglyph จริงๆ เทคโนโลยี 3D นั้นมีมานานแล้วนับร้อยปี โดยที่ในยุคแรกๆ เราจะเรียกการฉายภาพ 3D แบบดั้งเดิมนี้ว่า Anaglyph หรือที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีในรูปแบบของแว่นตาสีแดงและสีน้ำเงิน

picture7

แว่น Anaglyph

โดยหลักการของภาพ 3D แบบนี้คือการใช้ฉายภาพสองภาพซ้อนลงไปบนเฟรมเดียวกัน โดยที่ภาพสองภาพจะมีลักษณะของสีที่แตกต่างคือสีแดง และสีน้ำเงิน (รวมถึงมุมมองที่เหลื่อมกันเล็กน้อยด้วย) ส่วนแว่นตัวนี้ก็จะมีหน้านี้คือการหักล้างสีที่ไม่ตรงกับฟิลเตอร์สีนั้นๆ ออกไปเช่นสีแดง ก็จะรับเพียงสีแดงเข้ามา (คือแสดงเป็นภาพ) ส่วนสีที่เหลือจะกลายเป็นสีดำ อีกข้างก็เช่นเดียวกัน ข้อเสียคือสีจะค่อนข้างซีดและไม่สดใสเท่าที่ควร ข้อดีคือราคาถูก (แว่นประเภทนี้ราคาไม่กี่บาทเท่านั้นเอง)

picture8

ตัวอย่างภาพ Anaglyph แบบที่ 1

picture9

ตัวอย่างภาพ Anaglyph แบบที่ 2

The Trend of 3D Industry for future 1 -By Professor Byung Chul Cho

จากการอบรมเรื่อง The Trean of 3D Industry for Future เป็นการนำเสนอแนวโน้มของอุตสาหกรรมการกระจายเสียงการให้บริการแบบ 3D ในอนาคต โดย Prof. Byung Chul Cho เนื้อหากล่าวถึง

1. รูปแบบของภาพแบบ 3D ในภาพยนตร์

2. การพัฒนาของเทคโนโลยีการกระจายเสียง

3. อุตสาหกรรม 3D เพื่อการกระจายเสียงแบบ 3D

4. การวิจัยในเกาหลี

5. แนวโน้มของระบบ 3D

6. การประยุกต์ใช้ 3D กับเนื่อหาสาระที่นำเสนอ

สรุปคือ เทคโนโลยีภาพ 3D ที่ทำให้การชม­ภาพยนตร์มีความสนุกสนานเสมือนว่าเข้าไปมีส่วนร่วมกับเรื่องราวของภาพยนตร์ ดังเห็นได้จากการประสบความสำเร็จอย่างสูงที่ภาพยนตร์อย่าง Avatar ได้พาผู้ชมไปสู่โลกแห่งใหม่แบบที่ไม่เคยมีภาพยนตร์เรื่องไหนเคยทำได้มาก่อน ด้วยเทคโนโลยีภาพ 3D ที่สมจริงเหมือนกับว่าเราได้ไปอยู่บนดาวแพนโดร่ากับตัวละครด้วย การพัฒนาของเทคโนโลยีการกระจายเสียงด้วยเทคโนโลยี3D ที่เป็นนิยมกันในปัจจุบันและอนาคต การดูภาพยนตร์ แบบเทคโนโลยี 3D จะใช้แว่นตาสีแดงและสีน้ำเงิน ที่เรียกว่า Anaglyph นอกจากนี้ยังได้ชมตัวอย่างภาพยนตร์ 3D อีก 2- 3 เรื่อง นอกจากการชมภาพยนตร์แบบ 3D ด้วยแว่นตา Anaglyph แล้วการชมภาพยนตร์แบบ 3D ด้วยแว่นตา Polarized ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง ในอนาคต เทคโนโลยีที่จะใช้ในทีวียุคต่อไปในการชมภาพแบบ 3D จะใช้การฉายภาพสองเฟรมพร้อมกันลงบนจอ และมีฟิลเตอร์กรองแสงบนหน้าจอให้ภาพเข้าตาของผู้ชมโดยไม่จำเป็นต้องใส่แว่นตาชนิดใดเลย

picture6picture5

Internet Broadcasting 5 - by Professor Kisoo Kim

องค์ประกอบพื้นฐานระบบสตรีมมิ่งมีเดีย

1. เครื่องเข้ารหัส (Encoder) เป็นเครื่องมัลติมีเดียพีชี (Multimedia PC) ที่ได้ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมไว้สำหรับใช้แปลงไฟล์เสียงและวีดีโอ ให้อยู่ในรูปของสตรีมมิ่ง เช่น MPEG, WMF

2. เครื่องเซร์ฟเวอร์ (Servers)  เป็นเครื่องที่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำหรับใช้บริการจัดการกับสตรีมมิ่งมีเดีย

3. เครื่องผู้ชม (Player) เป็นเครื่องที่ได้รับการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการแสดงผล (Decode) ด้วยโปรแกรมต่างๆ เช่น RealPlayer, Windows Media Player, Quick Time เป็นต้น

Internet Broadcasting 4 - by Professor Kisoo Kim

ลักษณสตรีมมิ่งมีเดีย

1. การส่งข้อมูลเป็นแบบเรียลไทล์ (Real time)

2. ผู้ชมสามารถรับชมและฟังสตรีมมิ่งมีเดียได้โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดข้อมูลจน เสร็จ

3. สามารถควบคุมการแสดงผลได้ด้วยโปรแกรมแสดงผลทั่วไป เช่น

4. เล่นเพลงก่อนหน้า previous

5. เล่นซ้ำ Repent

6. ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้

Internet Broadcasting 3 - by Professor Kisoo Kim

วิธีการเผยแพร่ไฟล์สตรีมมิ่งมีเดีย

1. Unicast เป็นวิธีการส่งผ่านไฟล์สตรีมมิ่งมีเดียแบบ On-Demand ไปยังเครื่องของผู้ชมในลักษณะจุดต่อจุด (Point-to-Point)

picture2

ที่มา : http://tv.ku.ac.th/tech.html

2. Multicast เป็นวิธีการส่งไฟล์สตรีมมิ่งมีเดียไปยังเครื่องผู้ชมที่ได้ทำการติดต่อหรือเชื่อมโยงกับสตรีมมิ่งเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

picture3

ที่มา : http://tv.ku.ac.th/tech.html

3. Broadcast เป็นวิธีการส่งไฟล์สตรีมมิ่งมีเดียแบบถ่ายทอดสด(LiveBroadcasting) ไปยังเครื่องของผู้ชมหลายๆ จุดพร้อมๆ กัน

picture4

ที่มา : http://www.msit.mut.ac.th/

Internet Broadcasting 2 - by Professor Kisoo Kim

สตรีมมิ่ง (Streaming) คืออะไร?

คำว่า สตรีมมิ่ง หมายถึงความสามารถในการเล่นไฟล์มัลติมีเดียบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ต้องมีการดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตจนครบไฟล์ เนื่องจากการดาวน์โหลดไฟล์มัลติมีเดียทั้งไฟล์จะใช้เวลาค่อนข้างมาก ดังนั้นการเล่นไฟล์มัลติมีเดียจากอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิค สตรีมมิ่งจะทำให้สามารถแสดงผลข้อมูลได้ก่อนที่ไฟล์ทั้งหมดจะถูกส่งผ่านเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การกระจายเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต โดยใช้เทคนิคสตรีมมิ่ง จะหมายถึงการที่ดูภาพและเสียงผ่าน อินเตอร์เน็ตในเวลาที่เป็น real time โดยไม่ต้องดาวน์โหลด และจะไม่มีอาการเสียงหรือภาพที่หยุดชะงัก หรือกระตุก การดูไฟล์ต่างๆ นี้ใช้โปรแกรม Real Audio หรือ QuickTime ฯลฯ

กล่าวอีกนัย การตรียมมิ่ง หรือเรียกอีกอย่างว่า สตรีมมิ่งมีเดีย (Streaming Media) คือ การส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างต่อเนื่องเหมือนการไหลของกระแสน้ำ พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการส่งข้อมูลข่าวสารเผยแพร่ภาพหรือแสดงผลผ่านทางระบบเครือ ข่ายต่างๆและอินเตอร์เน็ต ซึ่งในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบที่เป็นสตรีมมิ่งมีเดียทั้งสิน เช่น การฟังวิทยุ การโปรโมทภาพยนตร์ การเรียนทางไกล การค้าขายสินค้า เป็นต้น

picture13

Internet Broadcasting 1 - By Professor Kisoo Kim

จากประสบการณ์ที่ได้ไปฝึกอบรมจากประเทศสาธารณเกาหลี (เกาหลีได้) ที่ DIMA ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญ และผลิตบัณฑิตป้อนเข้าสู่วงการณ์บันเทิงของเกาหลีใต้ ทั้งในส่วนของเบื้องหน้าและเบื้องหลังเป็นจำนวนมากมายนั้น ในหัวข้อแรกที่ได้ฝึกอบรมเป็นเรื่องของ Internet Broadcasting นั้น สามารถสรุปสารสำคัญได้ดังนี้

การกระจายเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet Broadcasting) เป็นการประยุกต์ใช้การแพร่สัญญาณภาพและเสียง จากเดิมที่ใช้ระบบแอนาลอค มาสู่ยุคดิจิตอลโดยผ่านช่องทางสื่อสารอินเตอรเน็ต โดยจะต้องคำนึงถึงเรื่องของ

1. เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

2. เทคโนโลยีการกระจายเสียง

3. สตรีมมิ่ง (Streaming)

4. การ install program เพื่อใช้ในการกระจายเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต

การกระจายเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นการนำเสนอภาพ เสียง วิดีโอและภาพยนตร์บนอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพอีกสื่อหนึ่ง การกระจายอาจรู้จักกันในคำว่า Internet Television ซึ่งจะทำให้การดู TV และพฤติกรรมของผู้ชมเปลี่ยนไป การเปรียบเทียบการกระจายเสียง TV แบบเดิมที่เป็นลักษณะ one to many มาสู่การใช้ TV อินเตอร์เน็ต ชึ่งจะมีลักษณะเป็นแบบ one to one เป็นไปตามความต้องการของผู้ชม มีลักษณะการโต้ตอบ (interactive) กับผู้ชมที่ตอบสนองตามความต้องการของผู้ชม (on demand) นอกจากนั้นการกระจายเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet Broadcasting) จะต้องคำนึงถึงเรื่องของสตรีมมิ่ง (Streaming)