บทบาทนักศึกษากับการวิจัย

ในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ต้องดำเนินการไปควบคู่กับการดำเนินการตามพันธกิจของคณะฯ / มหาวิทยาลัย ซึ่งหนึ่งในพันธกิจของคณะ/มหาวิทยาลัยคือการดำเนินการด้านการวิจัย ซึ่งทุกหลักสูตรจะต้องให้ความรู้แก่นักศึกษาด้านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการทำวิจัย ซึ่งในบางหลักสูตรนั้น นักศึกษาจะต้องมีการจัดทำสารนิพนธ์ โครงงาน หรือโปรเจค เพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ ดังนั้น นักศึกษาจะมีบทบาทเกี่ยวกับงานวิจัยดังนี้

     1. 
     2.
     3.
     4.

บทบาทนักศึกษากับการจัดการเรียนการสอน

ในระบบประกันคุณภาพของสถาบันการศึกษานั้น บทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งที่นักศึกษาจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก คือเรื่องการจัดการเรียนการสอน ซึ่งนักศึกษามีสิทธิต่างๆ ดังนี้

     1. ตรวจสอบแผนการเรียนและวางแผนการเรียนได้ด้วยตนเอง
     2. มีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนการสอน
     3. ประเมินการสอนของคณาจารย์
     4. ประเมินผล และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนของคณะ/มหาวิทยาลัย

ประกันคุณภาพกับนักศึกษา

ในระบบประกันคุณภาพของทุกๆ มหาวิทยาลัย ตัวแปรหนึ่งที่มีความสำคัญคัญต่อการดำเนินงานได้แก่ นักศึกษา ซึ่งจัดได้ว่านักศึกษาเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มแรกๆ ของสถานศึกษา ดังนั้น นักศึกษาควรรับรู้บทบาทของตนเองต่อการประกันคุณภาพของสถานศึกษา ดังนีดังนี้

     1.  บทบาทด้านการจัดการเรียนการสอน
     2. บาทบาทด้านการวิจัย
     3. บทบาทด้านการบริการวิชาการ และ
     4. บทบาทด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

PDCA กับการทำรายงาน

วันนี้เราจะมาคุยกนเรื่อง การนำวงจรคุณภาพ หรือวงจร PDCA ไปใช้ในการจัดทำรายงานกันค่ะ จะทำได้อย่างไรนั้นมาดูกันเลยดีกว่า

  P = Plan     ในขั้นนี้เป็นขั้นของการวางแผนซึ่งนักศึกษาจะต้องนำหัวข้อที่ครูให้จัดทำรายงานมาวิเคราะห์และแยกย่อยหัวข้อต่างๆ เพื่อทำการค้นหาข้อมูลต่างๆ ตามหัวข้อย่อยเพื่อนำมาจัดทำเป็นรายงาน จากนั้นจะต้องทำการกำหนดวิธีการหาข้อมูลว่าจะได้มาจากแหล่งใด กำหนดวิธีการได้มาของข้อมูล เช่น จากหนังสือ แล้วจะหาหนังสือได้จากที่ใด และโดยปกติทั่วไปแล้วหนังสือส่วนใหญ่ก็จะหาได้จากห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดของมหาวิทยาที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัยอื่นๆ หรือจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ หรือหาข้อมูลจากการค้นหาผ่านเครือข่ายอิ นเตอร์เน็ต เป็นต้น

     D = Do     เป็นขั้นลงมือปฏิบัติ ดังนั้น นักศึกษาจะลงมือหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่นักศึกษาได้กำหนดไว้แล้ว และนำมาจัดพิมพ์เป็นรายงาน ตามห้วข้อต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้แล้ว

     C = Check ในขั้นตอนของการตรวจสอบนี้ นักศึกษาจะต้องทำการตรวจสอบความเรียบร้อย ความสมบูรณ์ของข้อมูลที่จัดทำเป็นรายงาน เมื่อตรวจสอบพบว่าข้อมูลที่ได้มานั้นไม่สมบูรณ์ นักศึกษาจะต้องดำเนินการในขั้นต่อไป

     A = Act     ในตอนนี้เป้นขั้นตอนของการทบทวนการปฏิบัติงาน ซึ่งในการจัดทำรายงาน เมื่อพบว่าข้อมูลที่นักศึกษาจะใส่ในรายงานนั้นไม่มีความสมบูรณ์ นักศึกษาจะต้องทำการวางแผนใหม่อีกคี้งเพื่อจะดำเนินการค้นหาข้อมูลให้ได้ครบตามที่ได้ตั้งกรอบของรายงานไว้แล้ว

    จากการดำเนินงานทั้ง 4 กระบวนการตามวงจร PDCA จะเป็นการดำเนินงานแบบวนรอบ ซึ่งจะทำให้การทำงานความความละเอียดรอบคอบ ละส่งผลให้นักศึกษาได้รายงานที่มีความสมบูรณ์ และส่งผลให้นักศึกษาเป็นคนที่ทำงานได้อย่างมีคุณภาพ

PDCA กับชีวิตประจำวัน

คงมีคนหลายคนที่เคยได้ยินคำว่าวงจร PDCA กันมาบ้าง
ถ้าจะให้เปรียบเทียบกันจริงๆ PDCA เป็นวงจรคุณภาพที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกๆ คน
ดังนั้น ผู้เขียนจะยกตัวอย่างให้เข้าใจกันอย่างง่าย ๆ ดังนี้

ตัวอย่าง PDCA กับการแต่งตัว

     เมื่อนักศึกษาจะต้องมาเรียนซึ่งจะต้องแต่งชุดนักศึกษาในตอนเช้าสามารถวิเคราะห์ขั้นตอนการแต่งตัวเข้ากับวงจร PDCA ได้ดังนี้ 

     P = Plan     ก่อนแต่งตัวนักศึกษาจะต้องทำการวางแผนเลือกเสื้อผ้าหรือเลือกชุดที่นักศึกษาจะใส่ในวันนั้น

     D = Do        นักศึกษาทำการแต่งตัวชุดนักศึกษาที่ได้เตรียมไว้แล้ว

     C = Check  นักศึกษาทำการตรวจสอบความเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นชุดที่สวมใส่ ทรงผม และหน้าตา รวมไปถึงรองเท้าที่ใส่

     A = Act      นักศึกษาตรวจสอบการแต่งกายของตัวเองอีกครั้งก่อนออกจากบ้าน ถ้ายังไม่เรียบร้อย นักศึกษาต้องกลับไปจัดการให้เรียบ

    เห็นไหมคะ ว่าวงจรคุณภาพ หรือที่เรียกว่าวงจร PCDA อยู่ในชีวิตประจำวันของคนเราจริงๆ