Interactive Contents 6 - By Professor Seung-hee Lee, Ph.D.

5. ความเกี่ยวข้องกันของเนื้อหา (Implications)

WEB 2.0 + AR + VR + Interactive Content = What For?


- สามารถสนับสนุนการสร้างประสบการณ์ด้วยวิธีการ“Learning by doing”

- สามารถได้ปฏิบัติจริงและแสดงผลการมองเห็นได้เหมือนจริง

- สามารถทำให้ตั้งใจเรียนและมีความกระตือรือร้นมากขึ้น

- สามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกันหลายคนในครั้งเดียวแบบ เห็นหน้าผ่านกล้องได้

- และมีอีกมากมาย

***********************************************

Interactive Contents 5 - By Professor Seung-hee Lee, Ph.D.

4. Interactive Contents with AR of Korea

Augmented Reality หรือ โลกเสมือนผสานโลกจริง เป็นการนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) ผสมเข้ากับเทคโนโลยีภาพที่มีลักษณะคล้ายๆ กับ QR Code เพื่อทำให้เห็นภาพสามมิติ ในหน้าจอโดยที่มีองค์ประกอบของ สิ่งแวดล้อมจริงๆ ปัจจุบันมิติเสมือนจริงเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราหลากหลายรูปแบบ เช่น วงการโฆษณา วงการสิ่งพิมพ์ วงการการสื่อสาร และการศึกษา ตามความเป็นจริงแล้วดูเหมือนว่าการสร้างงาน 3 มิติ แบบ Ar นั้นมีกระบวนการที่สลับซับซ้อน ซึ่งตัวอย่างจากการใช้งานทางด้านนี้ ห้องทดลองของประเทศนิวซีแลนด์ ที่ University of Canterbury ใช้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น ภูเขาไฟ (AR Volcano) หนังสือเวทย์มนต์ (Magic book) และยังมีอีกหลายประเทศที่ใช้ AR ในทางการแพทย์ คือ Florida University ในการสอนการผ่าตัดกับนักศึกษา

picture61

ภาพที่ 5 แสดงการความสัมพันธ์ระหว่าง AR และ AV

ที่มา http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/d/dc/Virtuality_Continuum_2.jpg

picture7ภาพ ก

picture8ภาพ ข

ภาพที่ 6 ตัวอย่างการแสดงผลภาพแบบเสมือนจริงแบบสามมิติ

ภาพ ก หนังสือสามมิติ ที่มา http://www.bradleyrhodes.com/Reports/Ubicomp-overview/artoolkit.jpg

ภาพ ข หนังสือสามมิติ ที่มา http://www.hitlabnz.org/images/6/62/MagicBook_1.jpg

picture9

ภาพที่ 7 แบบแสดงผลอยู่ในมือของผู้ใช้งาน (Handy AR)

ที่มา http://ilab.cs.ucsb.edu/projects/taehee/HandyAR/images/bunny.png


ส่วนในประเทศเกาหลีได้ใช้ในการทำสวนจำลองแบบสามมิติ และ ทำแหล่งการเรียนรู้แบบเสมือนจริงอีกด้วย

picture10

ภาพที่ 8 ภาพจำลองการทำสวนแบบสามมิติภายในบ้าน


Interactive Contents 4 - By Professor Seung-hee Lee, Ph.D.

1. Net Generation, Digital Native

คำถาม How Can U Defne In Ur Team?

ระหว่าง Interaction and Contents สรุปได้ดังนี้

Interaction หมายถึง การโต้ตอบ การมีปฏิสัมพันธ์กัน สองทาง หรือมากกว่า

Contents หมายถึง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ตัวอักษร ที่รวมกันจนเป็นเว็บไซต์

ผู้บรรยายได้ยกตัวอย่างการเล่นเปียโนออนไลน์โดยการกดคีย์ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์จากนั้นมีเสียงโน๊ตออกมา

Types of Interaction

- Interaction Mode

- Learner (User) - Instructor (Developer) Interaction

- Learner (User) - Learner (User) Interaction

- Learner (User) – content Interaction

picture5


ภาพที่ 5 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานกับผู้ควบคุม

สังคมการใช้อินเตอร์เน็ตในอเมริกา

- ร้อยละ 33 เป็นเขียนบล็อกหมายถึง ประชาชนประมาณ 32 ล้านคน

- ร้อยละ 66 เป็นผู้อ่านบล็อกหรือ user ประชาชนประมาณ 64 ล้านคน

- มีผู้ใช้อายุ 18-24 ปีในการเข้าใช้ Facebook และเป็นที่นิยมมากกว่า Google

- ร้อยละ 85 ของ Facebook เป็นนักศึกษา

การใช้งานของประชาชนส่วนใหญ่

- ใช้ในการดู และแบ่งปัน วีดีโอ ร้อยละ 83

- สร้างเครือข่ายในการติดต่อกัน ร้อยละ 71

- เข้าอ่านข้อมูลต่างๆ ร้อยละ 71

- แสดงความคิดเห็นต่างๆ บนเวปไซด์ ร้อยละ 56

- ใช้ในการแบ่งปันรูปถ่าย ร้อยละ 55

- และยังแสดงสังคมของ Cyworld of Korea ตามที่อยู่ของเวปไซด์ ดังนี้ http://town.cyworld.com/museum

Interactive Contents 3 - By Professor Seung-hee Lee, Ph.D.

2. Change With Web 2.0

ปัจจุบันเราใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อ เขียนบล็อก การแชร์รูป ร่วมเขียน Wiki การโพสความเห็นลงในท้ายข่าว การหาแหล่งข้อมูลด้วย RSS เพื่อ Feed มาอ่านที่หน้าจอ และกูเกิ้ล จะเห็นได้ว่าวิธีการใช้ชีวิตบนอินเทอร์เน็ตของชาวออนไลน์เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตดังกล่าวสะท้อนการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นที่มาของเว็บ 2.0 หรือยุคใหม่ของ อินเทอร์เน็ตที่ได้เปลี่ยนการใช้งานของเราไปอย่างสิ้นเชิง

picture3

ภาพที่ 3 กรอบขอบเขตของเว็บ 2.0

ที่มา http://upic.me/i/k2/web22.jpg

picture4

ภาพที่ 4 โครงสร้างของ web 2.0

ที่มา http://blog.softwareabstractions.com/photos/scap/web20_fmwk.gif

โดยแนวทางของ Web 2.0 สามารถสรุปได้ดังนี้

เว็บมีหน้าที่เป็น Computing platform ที่ให้บริการเว็บแอปพลิเคชัน แก่ผู้ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ต มีข้อมูลเป็นองค์ประกอบสำคัญ มีเน็ตเวริค์ที่เกิดจากการเข้ามามีส่วนรวมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มีการสื่อสารระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ที่เปิดกว้าง มีการจัดหมวดหมู่เนื้อหาและการจัดระเบียบภายในเว็บที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสถาปัตยกรรมบนเว็บมีการพัฒนามากขึ้น Web 2.0 เป็นคำที่ใช้ในแง่การตลาด เพื่อแบ่งแยกธุรกิจบนเว็บยุคใหม่ออกจากยุคเริ่มต้น (ยุค 90) มีการตอบรับอย่างตื่นตัวต่อนวัตกรรมใหม่ ในแวดวงเว็บแอปพลิเคชัน และบริการทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้รับแรงผลักดันอย่างมากในช่วงกลางปี 2548 เปลี่ยนจากเว็บไซด์แบบ static การค้นหาจาก search engines และ การท่องอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซด์หนึ่งไปยังอีกเว็บไซด์หนึ่ง กลายเป็นเว็บไซด์แบบ dynamic ที่มีการโต้ตอบและมีการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างเว็บไซด์ โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทำการค้นหาด้วยตนเอง

Interactive Contents 2 - By Professor Seung-hee Lee, Ph.D.

1. Net Generation, Digital Native

ในทุกวันนี้ มีการส่งข่าวสารข้อมูลทุกวันของประชากรในโลก และเด็กเริ่มเรียนรู้ข้อมูลเมื่ออายุครบ 4 ปี เมื่อปี 2013 Super computer ได้ถูกสร้างขึ้นจากความสามารถของมนุษย์ และได้ทำนายว่าในปี 2049 คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานโดยมีประสิทธิภาพเหมือนกับมนุษย์

ชีวิตของคนรุ่นใหม่ในเกาหลี (A daily life of N-Generation in Korea)

คนเกาหลีส่วนใหญ่อยู่กับเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นมือถือที่สามารถรับส่งข่าวสารข้อมูล ระหว่างการรอรถและการดูทีวี ฟังเพลง หรืออินเตอร์เน็ตบนมือถือ เป็นต้น และยังได้เปรียบเทียบว่าการที่ไม่มีเทคโนโลยีที่กล่าวข้างต้น เหมือนกับคนที่ไม่มีชีวิต “No life without Technology” มีคำถามสำหรับเด็กนักศึกษาไทยว่าเป็นอย่างไร มีการเปิดใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนชีวิตอย่างไรด้วย Don Tapscott ได้รายงานเกี่ยวกับ 8 บุคลิกของเด็กที่เกิดในปี 1997 และทำให้เกิดช่องว่างระหว่างยุคสมัย ต่อมาในปี 1980 เรียกช่วงนี้ว่า Net Generation และช่วงของปี 1990-2000 เรียกยุคนี้ว่า I Generation


3D Title Design using Avid System -By Professor Byung Chul Cho

การตัดต่อและการทำ Title แบบ 3 มิติ โดยใช้โปรแกรม Avid โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เปิดโปรแกรม Avid composer จะมีหน้าต่าง License Agreement ปรากฏขึ้นมาให้

picture15 คลิกที่ YES

picture16

2. หน้าต่าง Select Project ให้ตั้งชื่องานตรงช่อง User แล้วให้คลิกเลือก External เลือก Drive ที่ต้องการจะเก็บงาน แล้วคลิกที่ New Project

picture17

3. หน้าต่าง New Project ให้ตั้งชื่อ Project ตรงช่อง Project Name เลือก Format ที่ต้องการ แล้วคลิก OK

picture18

4. หน้าต่าง Project ให้คลิก New Bin เพื่อสร้างที่เก็บ File งานแต่ละประเภท ให้สร้าง 1. Bin Video 2. Audio 3. Sequence 4. Sub Clip

picture19

5. เปิดหน้าต่าง Bin Video โดยดับเบิ้ลคลิกที่ Bin Video แล้วคลิกขวาเลือก Import เพื่อนำ File Video เข้ามาตัดต่อ จากนั้นให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Clip Video ภาพจะแสดงที่จอ

picture20

6. คลิกขวาที่ Bin Sequence แล้วเลือก New Sequence

7. นำ Clip Video ไปวางไว้ที่ Timeline ทำการเลือก Shot ที่ต้องการโดยการ Mark In และ Mark Out  แล้วลาก Shot นั้นไปวางไว้ใน Bin Sub Clip

8. เมื่อเลือก Shot ที่ต้องได้หมดแล้ว จากนั้นก็นำ Clip ที่อยู่ใน Bin Sub Clip มาวางเพื่อทำการตัดต่อ

picture23

9. ทำการตัดต่อ Video โดย ลากเส้นสีน้ำเงินมาวางในส่วนเริ่มต้นของ Shot ที่ต้องการตัดแล้วทำการ Mark In โดยกด I แล้วลากเส้นสีน้ำเงินไปวางตรงท้าย Shot ที่ต้องการตัด แล้วทำการ Mark Out โดยกด O แล้วกด X เพื่อทำการตัด Shot นั้นทิ้งไป

10. การสร้าง Title โดยไปที่ Clip เลือก New Title เลือก Marquee

11. พิมพ์ตัวอักษรลงไปตามที่ต้องการแต่ห้ามเลยช่องกรอบสี่เหลี่ยมด้านใน

12. เลือก Mode Animation โดยไปที่ Toolsets เลือก Expert Animation

13. กำหนด Key Farm โดยกดเครื่องหมายสามเหลี่ยมด้านล่าง Timeline แล้วเลื่อน Timeline ไปแล้วกำหนดการเคลื่อนที่ของตัวอักษร แล้วกดเครื่องหมายสามเหลี่ยม ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้การเคลื่อนไหวของตัวอักษรตามที่เราต้องการ จากนั้นก็ทำการ Save to Bin

***********************************************

The Trend of 3D Industry for future 5 -By Professor Byung Chul Cho

ประเทศเกาหลีภายใต้การนำและบุกเบิกของบริษัทซัมซุง ที่พัฒนา แอลอีดีทีวี 3 มิติ และขยายการใช้งานแอลซีดีทีวีให้เข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่ม โดยเฉพาะในอนาคตอันใกล้โปรแกรมทีวี รายการต่าง ๆ ก็จะต้องรองรับเทคโนโลยี 3D นี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินนโยบาย ในส่วนภาครัฐที่มีการวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางบันเทิงให้กลายเป็นสินค้าออก ตลอดจนเป็นเครื่องมือและอาวุธที่สำคัญในการเผยแพร่แนวคิด ประเพณี และวัฒนธรรมของตนเองให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ทางรัฐบาลของเกาหลีใต้เตรียมที่สนับสนุนเงินก้อนโตเข้าสู่วงการภาพยนตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม หนัง 3 มิติซึ่งมีเป้าหมายหลักในการหาช่องทางฉายใหม่ๆ รวมถึงทางอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ

picture131picture14

The Trend of 3D Industry for future 4 -By Professor Byung Chul Cho

Paralax Barrier ปัจจุบันเรายังไม่ค่อยเห็นเทคนิคแบบนี้เท่าไหร่นัก แต่เทคนิคแบบนี้ข้อดีคือไม่ต้องใช้แว่นใดๆ ในการมองเลย เป็นเทคโนโลยีที่จะใช้ในทีวียุคต่อไป ใช้การฉายภาพสองเฟรมพร้อมกันลงบนจอ และมีฟิลเตอร์กรองแสงบนหน้าจอให้เข้าลูกตาของเราสองข้างแทน (แสงพุ่งเข้าตาแบบตรงๆ ชนิดไม่ต้องใช้แว่น) แต่ยังเป็นอนาคตอีกยาวไกลที่ต้องพัฒนากันต่อ

ทั้งสามแบบ มีจุดประสงค์เดียวกันทั้งหมดคือทำให้เราได้รับภาพที่แตกต่างกันสองภาพสำหรับดวงตาของเรา เพราะการมองภาพให้ได้เป็น 3D นั้นจำเป็นต้องได้ภาพที่มีมุมมองสำหรับลูกตาสองข้างของเรา เราสามารถทดสอบรูปแบบของภาพที่จะเข้าลูกตาเราทั้งสองข้างได้เองโดยการหลับตาเพียงข้างเดียวและสลับซ้ายขวาดู ภาพที่ได้จะมีความแตกต่างกันนิดหน่อยจากตำแหน่งของลูกตาทั้งสองข้างที่ต่างกัน และนี่คือรูปภาพที่อธิบายง่ายๆ เกี่ยวกับรูปแบบของภาพ 3D แบบต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี แบบ 3D นี้

picture112

The Trend of 3D Industry for future 3 -By Professor Byung Chul Cho

Polarized 3D ต่อมาได้พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งโดยการฉายภาพสองภาพลงไปบนเฟรมเดียวกันเหมือนเดิม แต่รอบนี้ภาพที่ฉายออกมาจะเป็นภาพที่ผ่านฟิลเตอร์ Polarize ที่แตกต่างกัน ภาพที่ได้ก็จะเหลื่อมกันเหมือนเดิม (หากไม่ได้มองผ่านแว่น) แต่แว่นตัวนี้จะพิเศษหน่อยคือด้านหนึ่งจะกรองคลื่นแสงเฉพาะแนวนอน ส่วนอีกด้านก็แนวตั้งเท่านั้น

picture10

ภาพที่ผ่านกระบวนการ Polarized

รูปแบบการฉายแบบ Polarized นี่คือเทคโนโลยีที่อยู่ในยุคปัจจุบัน Avatar ก็ใช้เทคนิคนี้เช่นกัน รวมถึงทีวี 3D ที่ออกวางจำหน่ายในปัจจุบันด้วย แต่รูปแบบของการฉายจะมีอีกสองแบบแยกย่อยออกไปอีกคือ

· Linear Polarization: นี่เป็นรูปแบบปัจจุบันที่ใช้กันเยอะ คือการกรองในแนวตั้ง และแนวนอน ข้อเสียคือหากคุณหมุนหัวหรือนั่งไม่ได้ระดับ ภาพจะแยกออกกันในทันที (เหตุผลที่ควรนั่งในโรงและมองให้ตรงฉากกับจอ และอยู่ให้นิ่ง ก็เพราะใช้แว่นแบบนี้) ข้อดีคือราคาไม่แพงมาก

· Circular Polarization: รูปแบบคล้ายด้านบน แต่ฟิลเตอร์จะกรองแสงแบบตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มแทน ข้อดีของแบบนี้คือสามารถหันหัวไปมาได้ (แต่ในไทยผมไม่เคยเห็นแบบนี้แฮะ ใครเจอโปรดแจ้ง)

picture111

แว่น Polarized