Category: วิธีดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ

ถอดประสบการณ์... การเป็นผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี

ใครจะคาดคิดว่า  อยู่มาวันหนึ่ง  ผู้เขียนก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบกำกับดูแลงานถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในบทบาท  “ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร” หลาย ๆ ท่านคงทราบดีว่า  คลินิกเทคโนโลยี  คือ  กลไกความร่วมมือในการนำผลงานวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัย  ถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมายอาทิ  ชุมชน  วิสาหกิจชุมชน  ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  และภาคอุตสาหกรรม  โดยมีเจ้าภาพผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณคือ  คลินิกเทคโนโลยีในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก้าวแรกที่ผู้เขียนได้รับสัมผัสงานของคลินิกเทคโนโลยีนี้  ก็คือในสมัยที่รับผิดชอบงานวิจัยและฝึกอบรม  ในฐานะผู้ช่วยผู้อำนวยการในปี  2547  ตำแหน่งขณะนั้น  คือ  ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี  วิทยาเขตโชติเวช  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์วลัย  หุตะโกวิท  ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  วิทยาเขตโชติเวช  เป็นผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี ซึ่งยอมรับว่า ในครั้งแรกที่ทำงานจะรู้สึกกังวลและไม่มั่นใจ  เนื่องจากยังไม่มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกมาก่อน  ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมกับคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประมาณปีละ 1 – 2 ครั้ง ซึ่งในขณะนั้นไม่มีใครรู้จักมหาวิทยาลัยของเราเลย เนื่องจากความเป็นน้องใหม่ของเรานั่นเอง จุดเด่นของคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายของมหาวิทยาลัยของเราคือ  การมีผู้เชี่ยวชาญในงานวิชาชีพเฉพาะทางที่เป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชน  แต่ในขณะเดียวกันเราก็มีจุดอ่อนคือความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีที่ตั้งอยู่กลางใจเมืองกรุงเทพมหานคร  ทำให้การสร้างเครือข่ายการทำงานกับชุมชนต่าง ๆ  เป็นไปด้วยความยากลำบากกว่ามหาวิทยาลัยที่มีที่ตั้งในจังหวัดที่มีเครือข่ายชุมชนโดยตรง ซึ่งถือเสมือนเป็นเจ้าของพื้นที่ไปโดยปริยาย  การหากลยุทธ์ในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน จึงถือเป็นงานที่ท้าทายของมหาวิทยาลัยของเราเลยทีเดียว กลยุทธ์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของผู้เขียนคือ  การสำรวจข้อมูลจากคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายในกลุ่มจังหวัด  เพื่อวิเคราะห์เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ที่ยังขาดอยู่  แล้วเข้าไปเติมเต็มให้แก่ชุมชนผู้รับการถ่ายทอด  …

Continue reading

แนวทางการดำเนินงานแผนงาน/โครงการวิจัย (เงินงบประมาณ)

แนวทางการดำเนินการแผนงาน/โครงการวิจัย (เงินงบประมาณ) ก. ก่อนการดำเนินการ เอกสาร ขั้นตอน/การดำเนินการ ผู้ดำเนินการ ผู้อนุมัติ 1 โครงการวิจัย (ฉบับร่าง) ผู้วิจัยจัดทำโครงการวิจัยตามแบบที่แหล่งทุนกำหนด และเสนอโครงการฯ ต่อคณะกรรมการตรวจสอบโครงการวิจัยของหน่วยงาน(โดยจัดทำบันทึกข้อความเสนอฯ) ผู้วิจัย 2 แบบตรวจสอบโครงการวิจัย คณะกรรมการตรวจสอบโครงการวิจัยพิจารณาความถูกต้องของ - รูปแบบการพิมพ์ - ความเหมาะสมของเนื้อหา - ความถูกต้องของงบประมาณที่เสนอขอตามหมวดเงิน ถ้าไม่ถูกต้องให้ดำเนินการแก้ไข ถ้าถูกต้องจะเสนอหัวหน้า หน่วยงานเพื่ออนุมัติ คณะกรรมการฯ หัวหน้าหน่วยงาน 3 โครงการวิจัย (ฉบับสมบูรณ์) ผู้วิจัย ปรับปรุง แก้ไข โครงการวิจัยฉบับร่างเป็นโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ตามจำนวนและอยู่ภายในระยะเวลาที่เจ้าของแหล่งทุนกำหนด และจัดทำบันทึกข้อความถึงหัวหน้าหน่วยงาน โดยส่งผ่านฝ่ายวิชาการและวิจัย เพื่อขออนุมัติจัดส่งโครงการวิจัยถึงแหล่งทุน ผู้วิจัย 4 หนังสือนำจากหน่วยงาน หน่วยงานส่งเรื่องผ่านสถาบันวิจัยและพัฒนา หรือเจ้าของแหล่งทุนเพื่อจัดส่งโครงการวิจัย สารบรรณ หัวหน้าหน่วยงาน 5 หนังสือผลการอนุมัติ/ไม่อนุมัติโครงการวิจัย ฝ่ายวิชาการและวิจัยรับผลการอนุมัติ หรือไม่อนุมัติโครงการวิจัย และแจ้งให้ผู้วิจัยทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป ฝ่ายวิชาการและวิจัย เจ้าของแหล่งทุน …

Continue reading

การบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูล

สำหรับวันนี้จะเป็นการบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูล ซึ่งสรุปเป็นแนวทางการทำงานได้ดังนี้ค่ะ ขั้นตอนการดำเนินงาน สำรวจรายการเทคโนโลยีที่พร้อมให้บริการและข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ จัดทำข้อเสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ เตรียมงาน (จัดทำข้อมูลเทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอด ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ แบบบันทึกการให้บริการ เจ้าหน้าที่ / สถานที่ / ขั้นตอนการให้บริการ) ประชาสัมพันธ์การให้บริการผ่านสื่อ (เอกสาร / เว็บไซต์) ดำเนินการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูล / บันทึกข้อมูล ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ติดตามผลการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ประเมินผลด้านผลผลิต / ผลลัพธ์ของโครงการ จัดทำเอกสารและรายงานผล (ระบบออนไลน์ และระบบเอกสาร) เทคนิคการดำเนินงาน เลือกเทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอดให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน / ภาคอุตสาหกรรม / ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการเพิ่มผลิตภาพของกลุ่มผู้รับบริการ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการต้องเป็นผู้มีหัวใจนักบริการ และมีทักษะในการประสานงานระหว่างผู้เชี่ยวชาญ และผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี การบันทึกข้อมูลการให้บริการ ควรบันทึกรายละเอียดส่วนอื่น ๆ ที่ผู้รับบริการต้องการ หากไม่ใช่เทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ ให้ประสานงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อให้บริการต่อไป การติดตามผลการนำไปใช้ประโยชน์ ควรสอดแทรกการถามถึงข้อมูลหรือเทคโนโลยีที่ผู้รับบริการยังมีความต้องการต่อเนื่องเพื่อให้สามารถพัฒนาเป็นโจทย์วิจัยได้ต่อไป