Category: การเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยี

การให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผลงานคลินิกเทคโนโลยีประจำปี 2550 การให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เจ้าของผลงาน/หน่วยงาน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑา พีรพัชระ/ ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา การดำเนินงาน เป็นแผนงานการบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอด เพื่อให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี และเพื่อจัดทำเอกสาร เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ คลินิกเทคโนโลยี ผลการดำเนินงาน ดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 กันยายน 2550 โดยจัดทำข้อมูลเทคโนโลยี 30 เรื่อง ให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลแก่ผู้รับบริการจำนวน 46 คน และจัดทำเอกสารเผยแพร่ 2,000 ฉบับ การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการพบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.12

การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารจากสับปะรดสำหรับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด

เจ้าของผลงาน/หน่วยงาน รองศาสตราจารย์ดวงสุดา เตโชติรส /สำนักงานอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑา พีรพัชระ / สถาบันวิจัยและพัฒนา, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ อาจารย์วรลักษณ์ ปัญญาธิติพงศ์ /คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คุณลักษณะของผลงานและการใช้ประโยชน์กระบวนการผลิตสับปะรดแช่อิ่มอบแห้งและน้ำเชื่อมสับปะรดมีผลต่อคุณภาพทางกายภาพและคุณภาพทางเคมี โดยทำการศึกษาผลของน้ำเชื่อมที่มีระดับความเข้มข้นเริ่มต้นต่างกัน (20, 30 และ 40%) และเพิ่มความเข้มข้นของน้ำเชื่อมทุกวันวันละ 10% จนมีความเข้มข้นสุดท้าย 60% ในการผลิตสับปะรดแช่อิ่มอบแห้ง พบว่า ความเข้มข้นของน้ำเชื่อมเพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณการสูญเสียน้ำและมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้น และการแช่สับปะรดในน้ำเชื่อมที่ความเข้มข้นสูง ส่งผลให้มีการสูญเสียน้ำและมีปริมาณน้ำตาลเริ่มต้นลดลง (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) และผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบสับปะรดแช่อิ่มอบแห้งที่แช่ในน้ำเชื่อมเริ่มต้น 30% มากที่สุด (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) และทำการศึกษาระดับความเข้มข้นสุดท้ายของน้ำเชื่อมสับปะรด (65, 70 และ 75 องศาบริกซ์) ในกระบวนการผลิตน้ำเชื่อมสับปะรด พบว่า น้ำเชื่อมสับปะรดมีความข้นหนืดและปริมาณน้ำตาลรีดิวซิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความข้นสุดท้ายของน้ำเชื่อมสับปะรด (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) และผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบน้ำเชื่อมสับปะรดที่มีคข้มข้นสุดท้ายที่ 70 องศาบริกซ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดสามารถเก็บรักษาได้มากกว่า 12       

การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

วันนี้มาลองดูขั้นตอนการดำเนินงานในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนกันดีกว่า ใครจะลองทำบ้างจะได้มีแนวทางอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไปดำเนินการได้เลย ขั้นตอนการดำเนินงาน สำรวจความต้องการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดทำข้อเสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ ประสานงานชุมชนเกี่ยวกับการรับสมัครและสถานที่สำหรับการถ่ายทอด สำรวจพื้นที่ของชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อม เตรียมรายการที่เกี่ยวข้อง (วิทยากร เอกสาร สถานที่ วัตถุดิบ/วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก) ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี (ทดสอบความรู้ก่อนรับการถ่ายทอด ดำเนินการถ่ายทอด ทดสอบความรู้หลังการถ่ายทอด ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ) ติดตามผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ประเมินผลด้านผลผลิต/ผลลัพธ์ของโครงการ จัดทำเอกสาร และรายงานผล (ระบบออนไลน์ และระบบเอกสาร) เทคนิคการดำเนินงาน การสำรวจความต้องการของชุมชน (Need Assessment) ต้องมีการเดินทางสู่พื้นที่ของชุมชนเพื่อสำรวจประกอบการสัมภาษณ์ความต้องการที่แท้จริง และมีผลสืบเนื่องถึงการได้มาซึ่งโจทย์วิจัย ถือเป็นการบูรณาการงานบริการวิชาการและงานวิจัยของหน่วยงาน การจัดทำข้อเสนอโครงการต้องเขียนแสดงให้เห็นถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนในด้านต่าง ๆ อาทิ ต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือต้องการให้มหาวิทยาลัยให้คำปรึกษาหรือบริการข้อมูลร่วมด้วย ในกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น วิทยากรต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ทั้งในเชิงวิชาการและวิชาชีพ กล่าวคือ ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีในองค์ความรู้ที่ทำให้ผู้รับการถ่ายทอดเข้าใจ และทำตามหรือประยุกต์ได้ รวมทั้งต้องมีเทคนิคในการบรรยายหรือปฏิบัติให้เกิดบรรยากาศที่สนุกสนานควบคู่กับการเรียนรู้ การติดตามผลการนำไปใช้ประโยชน์ สามารถใช้เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (แบบติดตามผล) หรือบุคคล (โทรศัพท์) ควบคู่กันจะทำให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง และควรสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา/อุปสรรคของการนำไปใช้ประโยชน์ด้วย เพื่อให้มหาวิทยาลัยใช้เป็นข้อมูลประกอบการขอสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่องในปีงบประมาณถัดไป