Category: วิธีดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ

การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

วันนี้มาลองดูขั้นตอนการดำเนินงานในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนกันดีกว่า ใครจะลองทำบ้างจะได้มีแนวทางอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไปดำเนินการได้เลย ขั้นตอนการดำเนินงาน สำรวจความต้องการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดทำข้อเสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ ประสานงานชุมชนเกี่ยวกับการรับสมัครและสถานที่สำหรับการถ่ายทอด สำรวจพื้นที่ของชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อม เตรียมรายการที่เกี่ยวข้อง (วิทยากร เอกสาร สถานที่ วัตถุดิบ/วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก) ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี (ทดสอบความรู้ก่อนรับการถ่ายทอด ดำเนินการถ่ายทอด ทดสอบความรู้หลังการถ่ายทอด ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ) ติดตามผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ประเมินผลด้านผลผลิต/ผลลัพธ์ของโครงการ จัดทำเอกสาร และรายงานผล (ระบบออนไลน์ และระบบเอกสาร) เทคนิคการดำเนินงาน การสำรวจความต้องการของชุมชน (Need Assessment) ต้องมีการเดินทางสู่พื้นที่ของชุมชนเพื่อสำรวจประกอบการสัมภาษณ์ความต้องการที่แท้จริง และมีผลสืบเนื่องถึงการได้มาซึ่งโจทย์วิจัย ถือเป็นการบูรณาการงานบริการวิชาการและงานวิจัยของหน่วยงาน การจัดทำข้อเสนอโครงการต้องเขียนแสดงให้เห็นถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนในด้านต่าง ๆ อาทิ ต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือต้องการให้มหาวิทยาลัยให้คำปรึกษาหรือบริการข้อมูลร่วมด้วย ในกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น วิทยากรต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ทั้งในเชิงวิชาการและวิชาชีพ กล่าวคือ ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีในองค์ความรู้ที่ทำให้ผู้รับการถ่ายทอดเข้าใจ และทำตามหรือประยุกต์ได้ รวมทั้งต้องมีเทคนิคในการบรรยายหรือปฏิบัติให้เกิดบรรยากาศที่สนุกสนานควบคู่กับการเรียนรู้ การติดตามผลการนำไปใช้ประโยชน์ สามารถใช้เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (แบบติดตามผล) หรือบุคคล (โทรศัพท์) ควบคู่กันจะทำให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง และควรสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา/อุปสรรคของการนำไปใช้ประโยชน์ด้วย เพื่อให้มหาวิทยาลัยใช้เป็นข้อมูลประกอบการขอสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่องในปีงบประมาณถัดไป

ขั้นตอนและเทคนิคการดำเนินงานรายการราชมงคลพระนครกับงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ (การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม)

ขั้นตอนการดำเนินงาน รับหนังสือเชิญการเข้าร่วมออกอากาศการศึกษาทางไกล จากสำนักงานการศึกษาทางไกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ รับหนังสือเชิญการเข้าร่วมออกอากาศการศึกษาทางไกล จากสำนักงานการศึกษาทางไกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ แจ้งเวียนหน่วยงานต้นสังกัดในการส่งผลงานร่วมรายการโดยใช้ชื่อรายการ “ราชมงคลพระนครกับงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์” รวบรวมผลงานวิจัย จัดทำกำหนดการออกอากาศ และตอบรับการร่วมออกอากาศการศึกษาทางไกล จัดทำขั้นตอนการบันทึกรายการและการเตรียมตัวเพื่อบันทึกรายการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ http://www.ird.rmutp.ac.th หัวข้อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งรายชื่อผลงาน และผู้รับผิดชอบร่วมรายการ ผู้ร่วมรายการจัดทำแผนการออกอากาศรายคาบ (แผนการสอนรายคาบ) และสื่อคอมพิวเตอร์ (Power point) ประกอบการบันทึกรายการ ประสานงานผู้ดำเนินรายการ ผู้ร่วมรายการ ผู้บันทึกรายการ เพื่อนัดวัน เวลา สถานที่ สำหรับการบันทึกรายการ ดำเนินการบันทึกรายการ นำผลงานภาพกิจกรรมระหว่างการบันทึกรายการ และสื่อประกอบการออกรายการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ http://www.ird.rmutp.ac.th หัวข้อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ประเมินผลการดำเนินงาน รายงานผลการดำเนินงาน เทคนิคการดำเนินงาน ควรมีการจัดเตรียมผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ ไว้ล่วงหน้าเพื่อให้มีจำนวนผลงานมากเพียงพอในการจัดทำรายชื่อ และกำหนดการออกอากาศ ซึ่งสามารถดำเนินงานล่วงหน้าได้ จัดทำขั้นตอนการบันทึกรายการ และการเตรียมตัวเพื่อบันทึกรายการ ประชาสัมพันธ์ถึงผู้ร่วมรายการเพื่อให้ทราบข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมตัวของผู้ร่วมรายการ ผู้รับผิดชอบต้องมีการประสานงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้อาจมีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการบันทึกรายการเนื่องจากบุคลากรอาจติดภารกิจทางราชการ กรณีผลงานที่นำออกอากาศเป็นผลงานของนักศึกษา ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาเข้าร่วมบันทึกรายการด้วยเพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักศึกษา และร่วมตรวจสอบข้อมูลทางราชการของผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์

ขั้นตอนและเทคนิคการดำเนินงานการจัดนิทรรศการวิจัย

ขั้นตอนการดำเนินงาน รับหนังสือเชิญการเข้าร่วมแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานภายนอก แจ้งเวียนหน่วยงานต้นสังกัดในการส่งผลงานเข้าร่วมจัดนิทรรศการวิจัย และรอหนังสือตอบกลับจากหน่วยงาน จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติการดำเนินงาน ต่ออธิการบดี มทร.พระนคร แต่งตั้งคณะกรรมการจัดนิทรรศการ คณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการดำเนินการ แจ้งหนังสือยืนยันการเข้าร่วมการแสดงนิทรรศการ โดยระบุจำนวนผลงาน ชื่อเรื่อง และรายละเอียดของผลงาน ประสานงานกับหน่วยงานผู้จัด เกี่ยวกับแผนผังการจัดงาน เลขที่ประจำคูหา และรายละเอียดในการจัดงานโดย เฉพาะวัน เวลา ในการขนของเข้า-ออก จัดสถานที่แสดงผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ ณ สถานที่ปฏิบัติงาน จัดแสดงนิทรรศการ พร้อมสาธิตผลงาน ตามระยะเวลาที่ขออนุมัติโครงการ ประเมินผลการดำเนินงานตามความคิดเห็นของผู้เข้าชมงาน รายงานผลการดำเนินงาน เทคนิคการดำเนินงาน ควรเตรียมแผนการจัดนิทรรศการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ ล่วงหน้าโดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติงานประจำปีของหน่วยงาน ควรมีการรวบรวมผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ ที่ดำเนินการเสร็จสิ้นในแต่ละปีงบประมาณ และประสานงานถึงเจ้าของผลงานเพื่อติดต่อขอให้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการ ควรมีการประสานงานกับหน่วยงานผู้จัด และผู้รับผิดชอบการจัดงาน (Organizer) อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันความผิดพลาดในเรื่องสถานที่ เวลาการขนผลิตภัณฑ์เข้า-ออก และรายละเอียดอื่นๆ ควรให้เจ้าของผลงานที่จัดนิทรรศการ หรือผู้แทนอยู่ประจำคูหาเพื่อสามารถให้ข้อมูลแก่ผู้เข้าชมงานหรือผู้สนใจได้ ควรมีการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดนิทรรศการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิจัยต่อยอด หรือถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานเพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป