การเสวนาเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยโดยเครือข่ายนักวิจัยระดับชุมชน กับ ธ.ก.ส.

1401133_864817430256660_3594404446798182174_o-1 10620440_864817286923341_2302184046427160825_o 10854388_864817290256674_3479664662998521193_o 10862660_864817530256650_4299266516655578357_o-1 10863943_864817373589999_168660940318554562_o-1 10872753_864817470256656_4870473189151453886_o

การเสวนาเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัย โดยเครือข่ายนักวิจัยระดับชุมชน กับ ธ.ก.ส.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และบุคลากรของสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมเสวนาเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัย โดยเครือข่ายนักวิจัยระดับชุมชน เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัยระดับชุมชนแต่ละภูมิภาคกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และร่วมกันพัฒนาชุมชน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ระหว่างวันที่ 18 – 19 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรม ฮิป กรุงเทพฯ

เล่าเรื่องข้าวยำปักษ์ใต้

image

ข้าวยำ หรือ Khao Yam (Rice Salad) เป็นอาหารคาวประเภทจานเดียวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ ข้าวยำประกอบด้วยข้าวสวยเป็นหลัก คลุกเคล้ากับผักนานาชนิด และ/หรือ ผลไม้ที่ให้รสเปรี้ยว เช่น มะม่วงดิบสับ นิยมใช้มะม่วงเบา ส้มโอ กุ้งแห้งหรือปลาป่น มะพร้าวคั่ว พริกขี้หนูแห้งป่น ราดด้วยน้ำบูดูชนิดหวาน
วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องของน้ำบูดูในข้าวยำกันก่อน ซึ่งทุกท่านคงจะทราบว่า สิ่งสำคัญของข้าวยำซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของอาหารชนิดนี้ คือ การคัดสรร "น้ำบูดู"ที่ดี มีคุณภาพมาใช้ในการทำข้าวยำ ในเขตจังหวัดภาคใต้ ยอมรับว่า น้ำบูดูที่อร่อยที่สุดเป็นน้ำบูดูที่อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีทั้งบูดูสด ที่นำมาต้มเคี่ยวให้เป็นน้ำบูดูสำหรับข้าวยำ หรือใช้ในอาหารอื่นๆ เช่น น้ำบูดูทรงเครื่อง และนอกจากนี้ ยังมีน้ำบูดูข้าวยำที่ต้มเคี่ยวไว้เรียบร้อยแล้ว สามารถนำไปเตรียมทำข้าวยำได้เลย ในตลาดสดตอนเช้าหรือตลาดเย็นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ จังหวัดปัตตานี ที่ผู้เขียนอาศัยอยู่ จะหาซื้อวัตถุดิบที่ว่านี้ได้จากแม่ค้าชาวไทยหรือชาวมุสลิม ซึ่งบรรจุน้ำบูดูขายในขวดสุราชนิดขวดแบน และขวดกลม เมื่อซื้อแล้ว แม่ค้าจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ที่ไม่อ่านแล้วซ้อนกันหลายๆชั้นห่อให้เรามาอีกที ต้องระมัดระวังไม่ให้ขวดแตก เพราะจะโกลาหลพอๆกับขวดปลาร้าหรือขวดน้ำปลาแตกกันเลยทีเดียว ได้น้ำบูดูมาแล้ว จะนำไปทำอาหารต่อหรือจะเก็บไว้ก่อน ก็สามารถทำได้ทั้งเก็บในอุณหภูมิห้อง และเก็บในตู้เย็น (ช่องธรรมดา) เก็บไว้ได้นาน น้ำบูดูที่เก็บไว้ เมื่อเวลาผ่านไป สีจะเข้มขึ้นเล็กน้อยตามช่วงเวลาที่เก็บ และจะมีการนอนก้น เวลานำมาเตรียมหรือประกอบอาหาร ให้เขย่าขวดให้ส่วนผสมเข้ากันแล้วนำไปใช้ได้ตามต้องการ
คงพอรู้ความสำคัญของน้ำบูดูในข้าวยำกันแล้ว คราวหน้ากลับมาคุยกันต่อนะคะ...

 

 

การถอดบทเรียนการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัย ความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำปี 2557

1654702_860673787337691_8006352476531201816_o 1932691_860674040670999_7291741248418934792_o 10003750_860673767337693_3225802778462008736_o 10547883_860673530671050_4110720884165302376_o 10697251_860674004004336_5244244094470178827_o 10818351_860673707337699_7005356210609044247_o

การถอดบทเรียนโครงการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ปีงบประมาณ 2557
การดำเนินงาน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ และทีมงาน เข้าร่วมประชุมการถอดบทเรียนโครงการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ปีงบประมาณ 2557 และได้รับเชิญให้เป็นมหาวิทยาลัยตัวอย่างในการนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 – กันยายน 2557 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์การบริหารจัดการงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 8 – 9 ธันวาคม 2557 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี