Tag: ผลงานวิจัย

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารจากสับปะรดสำหรับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด

เจ้าของผลงาน/หน่วยงาน: รองศาสตราจารย์ดวงสุดา เตโชติรส / สำนักงานอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑา พีรพัชระ / สถาบันวิจัยและพัฒนา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ อาจารย์วรลักษณ์ ปัญญาธิติพงศ์ / คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คุณลักษณะของผลงานและการใช้ประโยชน์ กระบวนการผลิตน้ำเชื่อมสับปะรดและสับปะรดแช่อิ่มอบแห้งมีผลต่อคุณภาพทางกายภาพและคุณภาพทางเคมี โดยทำการศึกษาผลของน้ำเชื่อมที่มีระดับความเข้มข้นเริ่มต้นต่างกัน (20, 30 และ 40%) และเพิ่มความเข้มข้นของน้ำเชื่อมทุกวันๆ ละ 10% จนมีความเข้มข้นสุดท้าย 60% ในการผลิตสับปะรดแช่อิ่มอบแห้ง พบว่าความเข้มข้นของน้ำเชื่อมเพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณการสูญเสียน้ำและมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้น และการแช่สับปะรดในน้ำเชื่อมที่ความเข้มข้นสูง ส่งผลให้มีการสูญเสียน้ำและมีปริมาณน้ำตาลเริ่มต้นลดลง (P น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) และผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบสับปะรดแช่อิ่มอบแห้งที่แช่ในน้ำเชื่อมเริ่มต้น 30% มากที่สุด (P น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) และทำการศึกษาระดับความเข้มข้นสุดท้ายของน้ำเชื่อมสับปะรด (65, 70 และ 75 องศาบริกซ์) ในกระบวนการผลิตน้ำเชื่อมสับปะรด พบว่าน้ำเชื่อมสับปะรดมีความข้นหนืดและปริมาณน้ำตาลรีดิวซิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความข้นสุดท้ายของน้ำเชื่อมสับปะรด (P น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) และผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบน้ำเชื่อมสับปะรดที่มีความเข้มข้นสุดท้ายที่ 70 องศาบริกซ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดสามารถเก็บรักษาได้มากกว่า 12 …

Continue reading

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน ไข่เค็ม และไวน์สำหรับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด

     เจ้าของผลงาน / หน่วยงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑา พีรพัชระ / สถาบันวิจัยและพัฒนา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ อาจารย์ก้องเกียรติ มหาอินทร์ / คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น อาจารย์ประชา พิจักขณา / คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ คุณลักษณะของผลงานและการใช้ประโยชน์งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน ไข่เค็ม และไวน์ และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำบรรจุภัณฑ์แก่กลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินต้นแบบบรรจุภัณฑ์เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการของสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ กลุ่มเป้าหมายในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นสมาชิกกลุ่มของใช้ในครัวเรือน ไข่เค็มและไวน์ จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ของชุมชนหุบกะพง คือ ของใช้ในครัวเรือน ไข่เค็ม และไวน์ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กระดาษ พลาสติก และผ้าเป็นวัตถุดิบหลัก คือ ขวดพลาสติกที่มีการพัฒนารูปแบบและสลากสำหรับของใช้ในครัวเรือน 10 รายการ กล่องกระดาษและตะกร้าสำหรับบรรจุไข่เค็ม 2 รายการ และถุงผ้าสำหรับใส่ไวน์ 10 รายการ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อต้นแบบบรรจุภัณฑ์พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในระดับมาก …

Continue reading

การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารจากสับปะรดสำหรับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด

เจ้าของผลงาน/หน่วยงาน รองศาสตราจารย์ดวงสุดา เตโชติรส /สำนักงานอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑา พีรพัชระ / สถาบันวิจัยและพัฒนา, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ อาจารย์วรลักษณ์ ปัญญาธิติพงศ์ /คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คุณลักษณะของผลงานและการใช้ประโยชน์กระบวนการผลิตสับปะรดแช่อิ่มอบแห้งและน้ำเชื่อมสับปะรดมีผลต่อคุณภาพทางกายภาพและคุณภาพทางเคมี โดยทำการศึกษาผลของน้ำเชื่อมที่มีระดับความเข้มข้นเริ่มต้นต่างกัน (20, 30 และ 40%) และเพิ่มความเข้มข้นของน้ำเชื่อมทุกวันวันละ 10% จนมีความเข้มข้นสุดท้าย 60% ในการผลิตสับปะรดแช่อิ่มอบแห้ง พบว่า ความเข้มข้นของน้ำเชื่อมเพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณการสูญเสียน้ำและมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้น และการแช่สับปะรดในน้ำเชื่อมที่ความเข้มข้นสูง ส่งผลให้มีการสูญเสียน้ำและมีปริมาณน้ำตาลเริ่มต้นลดลง (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) และผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบสับปะรดแช่อิ่มอบแห้งที่แช่ในน้ำเชื่อมเริ่มต้น 30% มากที่สุด (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) และทำการศึกษาระดับความเข้มข้นสุดท้ายของน้ำเชื่อมสับปะรด (65, 70 และ 75 องศาบริกซ์) ในกระบวนการผลิตน้ำเชื่อมสับปะรด พบว่า น้ำเชื่อมสับปะรดมีความข้นหนืดและปริมาณน้ำตาลรีดิวซิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความข้นสุดท้ายของน้ำเชื่อมสับปะรด (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) และผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบน้ำเชื่อมสับปะรดที่มีคข้มข้นสุดท้ายที่ 70 องศาบริกซ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดสามารถเก็บรักษาได้มากกว่า 12