การสำรวจความต้องการของทุภาคส่วนก่อนการจัดการเรียนโดยการใช้โจทย์จริงจากชุมชน กรณีศึกษาชุมชนหมู่บ้านถ้ำเสือ

19675

  1. ความต้องการของนักศึกษาและความสอดคล้องต่อรายวิชา
  • 1.1 ความต้องการของนักศึกษา

จากการศึกษาความต้องการของนักศึกษาใช้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเริ่มกระบวนการในเบื้องต้นพบว่า นักศึกษาสนใจในการเรียนรู้แบบบูรณาการความรู้กับชุมชนของกลุ่มอาชีพในสถานที่จริงผสมผสานกับการเรียนรู้ร่วมกับการนำทฤษฎีประยุกต์ โดยจากสำรวจพบว่าร้อยละ 98 ของนักศึกษาต้องการและสนับสนุนการเรียนในรูปแบบที่นำเสนอใหม่นี้ส่วนร้อยละ 2 พึงพอใจในรูปแบบเดิม

  • 1.2 ความสอดคล้องต่อรายวิชา

การที่จะนำนักศึกษาเข้าสู่พื้นที่จริง นักศึกษาย่อมต้องผ่านการเรียนการสอนฝึกฝนจนสามารถปฏิบัติได้แล้ว ทั้งนี้ผู้สอนได้เลือกรายวิชาที่สอดคล้องกับการดำเนินกิจกรรมได้แก่ วิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 4  วิชาปฏิบัติการโรงงาน วิชาผังเมืองเบื้องต้น

  1. ความต้องการและศักยภาพของกลุ่มอาชีพชุมชน

ดังที่กล่าวไปแล้วในบทสรุปผู้บริหารจากการสารวจข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลสารวจในด้านการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น และความพึงพอใจ โดยสานักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.0 ระบุว่ารูปแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นมีการพัฒนา ร้อยละ 2.7 ไม่มีการพัฒนา และไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ มีร้อยละ 14.3 สาหรับประชาชนที่ระบุว่ารูปแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้ามีการพัฒนานั้น เห็นว่า สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นมีการพัฒนาในระดับมาก ร้อยละ 20.2 พัฒนาปานกลาง ร้อยละ 49.9 และพัฒนาน้อย ร้อยละ 12.9 จากผลสารวจดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในระยะเวลาอันใกล้นี้หากชุมชนต้องรอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียวอาจทาให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนไม่ทันต่อพัฒนาในหลายๆด้าน ซึ่งในด้านการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อยกขีดความสามารถเพื่อสร้างมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องต่อการรับรู้ ผู้บริโภครองรับประชากรใน

รวมถึงความต้องการในการจัดทำแผนพัฒนาเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวและนันทนาการ ภายในชุมชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเที่ยวชมธรรมชาติ

  1. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน หรือผู้ประสานงาน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีพันธกิจที่สอดรับการพัฒนาประเทศในด้านวิชาชีพบนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพและมีความสามารถพร้อมเข้าสู่อาชีพ และการบริการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำนุบารุงศิลปวัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม บริการงานวิชาการและการศึกษาที่มีแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการมีอาชีพอิสระและพัฒนาอาชีพสู่การแข่งขัน นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยฯยังมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนในด้านส่งเสริมการสร้างงาน อาชีพและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ กับประชาชน และเป็นสังคมผู้ประกอบการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีสาขาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสาขาสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งวิชาชีพที่ดำเนินงานสอดรับกับความต้องการของชุมชนหมู่บ้านถ้ำเสือ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

จากพันธกิจของมหาวิทยาลัยและคณะฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานตามนโยบายของชาติจึงทำให้การดำเนินกิจกรรมได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่ง นอกจากนั้นทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ยังรับหน้าที่ประสานงานและดูแลกิจกรรมดังกล่าวด้วย

 




การบูรณาการการเรียนการสอนสู่การบริการวิชาการ

แนวคิดในด้านการบูรณาการ

3        

               คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ได้จัดการเรียนการสอนโดยการใช้ หลักการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการบูรณาการบนริการวิชาการ โดยนักศึกษาจะได้ลงพื้นที่จริงเพื่อได้นำความรู้ที่ได้เรียนมา เพื่อใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ให้กับผู้ประกอบการจริงเพื่อเป็นการฝึกประสบการณ์ให้กับตัวนักศึกษาของคณะ

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน
(ขั้นตอนการดำเนินงานในการบูรณาการร่วมกันระหว่าง การเรียนการสอนและการบริการวิชาการ)

5

(กระบวนการการดำเนินงาน การเรียนการสอนและการบริการวิชาการ)

http://www.youtube.com/watch?v=FHxrIKJkUIk