รูปแบบเครื่องแต่งกายโรมัน

โรมัน

• อารยธรรมและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของโรมัน
• โครงสร้างทางสังคม
- ประชาชนที่มีฐานะดี จะมีบ้านอยู่แถบชานเมือง บ้านมีลานรับแสงอาทิตย์ และประดับภาพวาดปูนเปียก หรืออาศัยในชั้นล่างอพาร์ตเมนต์ขนาดใหญ่ที่มีความสะดวกสบาย
- ประชาชนที่มีไม่ค่อยมีฐานะ จะเช่าอพาร์ตเมนต์แต่จะอยู่ชั้นสูงขึ้นไป อาจมีสภาพแออัด สลัว และการระบายอากาศที่ไม่ดี
- ชนชั้นขุนนางจะมีบ้านเรือนขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือญาติและคนรับใช้
- ทุกครอบครัวจะมีหัวหน้าครอบครัว ซึ่งจะเป็นผู้ชายที่มีอายุมากที่สุด จะเรียกว่า ปาเตอร์ ฟามิเลียส์ (Pater Familias)
• ความแตกต่างทางสังคมและเครื่องแต่งกาย
- ชาวโรมันใช้เครื่องแต่งกายเป็นเครื่องบ่งชี้ตำแหน่ง ฐานะ สำนัก อำนาจ
ผู้หญิง
- ผู้หญิงโรมันที่แต่งงานแล้ว จะสวม สโตลา (Stola) ซึ่งเป็นผ้าคลุมไหล่ปลายค่อมมาทางด้านหน้า
- ผู้หญิง หากสามีเป็น ปาเตอร์ ฟามิเลียส์ (Pater Familias) ผู้หญิงจะกลายเป็น มาเตอร์ ฟามิเลียส์ (Mater Familias) หรือเรียกว่าแม่ใหญ่ และจะทำผมทรงตูตูลุส
- ผู้หญิงหม้ายจะสวมเสื้อคลุมสามเหลี่ยมสีเข้มเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี หลังจากสามีตาย
ผู้ชาย
- ผู้ชายที่เป็นพลเมืองมีสิทธิสวมโตก้า เป็นแมนเติลพันกายรูปพระจันทร์เสี้ยว
- ผู้ชายที่เป็นทาส คนต่างชาติ ไม่มีสิทธิสวมเครื่องแต่งกายประเพณี
ชนชั้นในสังคม
จักรพรรดิและราชสำนัก เป็นชนชั้นระดับสูงในสังคม (วุฒิสภา รองลงมา อัศวิน)
วุฒิสภา (รวมจักรพรรดิ) แต่งกาย โดยตูนิกจะมีแถบสีม่วงกว้างห้อยพาดตามแนวตั้ง จากขอบริมหนึ่งไปอีกขอบริมหนึ่งคร่อมไหล่ เรียกว่า คลาฟอี (Clavi) หรือ (Clavus) สวมรองเท้ามีเชือกผูกพันรอบแข้งถึงหัวเข่า
อัศวิน จะมีแถบที่ม่วงแคบกว่า และสวมแหวนทองคำซึ่งเป็นเครื่องหมายบอกยศ

การผลิตผ้าและเครื่องนุ่งห่ม (เครื่องนุ่งห่มมักผลิตจากขนสัตว์หรือผ้าลินิน)
- เส้นใยหลักที่ใช้ในการทำเสื้อผ้าได้แก่ ขนสัตว์ รองลงมาเป็นลินิน
- มีการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปวางจำหน่ายตามท้องตลาด
- ผ้าลินนินหรือผ้าขนสัตว์อาจมีการทอให้เนื้อแน่น บางชิ้นมีปุยขนอ่อนหรือทอเหมือนการถักพรม
- ไหม ส่วนมากผู้มีฐานจะนิยมใช้ เพรามีราคาแพงและนำเข้าจากจีน (นิยมผสมกับเส้นใยอื่นเพื่อให้เกิดความหนา ส่วนใหญ่มักผสมกับลินนิน)
- การย้อมผ้า มีการย้อมผ้าหลากหลายสีสัน หากเป็นสีม่วงจะใช้ในการทำ คลาฟอิของตูนิกผู้ชาย และขอบของโตก้า
- การผลิตเส้นใย การทอผ้า จะเป็นการผลิตโดยการว่าจ้างแรงงาน (โรงงาน,สถานประกอบการ)
- การทำรองเท้า มีความชำนาญหลากหลาย

แหล่งหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย
ศิลปกรรม วรรณคดี ประติมากรรม

• เครื่องแต่งกาย
เสื้อผ้า “สวมครอบ” เรียก อินดุตุส (Indutus) แปลว่า สวมใส่ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของเสื้อผ้าที่สวมใสแนบเนื้อติดกับตัว
อะมิกตุส (Amictus) เป็นเสื้อสำหรับสวมไว้ภายนอก เช่น โตก้า หรือ ฮิมัตอิออน
ไกตึน ถูกเรียก ตูนิก (ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกรีก)
โตก้า เป็นเครื่องแต่งกายประเพณีที่ถือว่าโดดเด่นที่สุดในสมัยโรมัน

โตก้า มีความหมายในเชิงสัญลักษณะ และจะมีขอบเขตการใช้งานเฉพาะเพิ่มขึ้นตามยุคสมัย
ยุคแรก ใช้ผ้าขนสัตว์สีขาวพันตามยาว มีลัษณะรูปร่างเกือบครึ่งวงกลม ชายโค้งมนมีแถบโดยรอบ
ผู้ชาย สวมโตก้าทับผ้าเตี่ยว จนกระทั่ง 20 ปีก่อนคริสต์ศักราช โตก้าจะสวมทับตูนิก จนถึงกลางศตวรรษที่ 1 โตก้าถูกจำกัดเฉพาะพลเมืองโรมันเท่านั้น
เด็ก ชาย – หญิง ที่เกิดกับอิสระชน จะสวมโตก้าสีม่วง (โตก้าปรีเท็กซิตา) เด็กหญิงสวมถึงอายุ 12 ปี เด็กชายสวมถึงอายุ 14-16 ปี จากนั้นจะต้องสวมโตก้าวิริเลส ซึ่งมีสีขาวใช้สำหรับพลเมือง
สมัยจักรวรรดิ์ มีการพัฒนารูปร่างให้มีการพันสลับซับซ้อนมากขึ้น ได้แก่
ไซนัส (Sinus แปลว่า ผิวโค้งหรือรอยพับ) เป็นการพับซ้อนอยู่ในโตก้า รอยพับซ้อนเกิดจาการม้วนเป็นรอยพับหลวม ๆ ใช้เหวี่ยงข้ามไหล่ไปทางด้านหลังแล้ววกกลับมาใต้วงแขนขวา แล้วคลี่รอยพับออกปล่อยให้ตกลงมาจถึงหัวเข่าเหมือนกับผ้ากันเปื้อนที่พันไว้รอบตัว (มักใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระเป๋าเพื่อห่อสิ่งของ หรือดึงรอยพับมาคลุมศรีษะเวลาไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อขยายไซนัสให้มีขนาดใหญ่ขึ้นก็นำอุมโบเข้ามาใช้แทน)
อุมโบ (Umbo หมายถึง ปม) เกิดจากการดึงกลุ่มผ้าจาส่วนแรกของโตก้า ที่ทอดลงมาบนพื้นตามแนวตั้งแต่มองไม่เห็นมายังไหล่ อุมโบอาจเย็บสอยหรือกลัดเข็มเพื่อยึดให้เข้าที่ ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่ง

เครื่องแต่งกายประเพณีโรมัน 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ.400
ส่วนประกอบเครื่องแต่งกาย
ผู้ชาย
เสื้อผ้า
ผ้าเตี่ยว ภาษาละตินเรียก ซุบลิการ์ (Subbigar) เป็นชุดชั้นในสำหรับผู้ชายชั้นกลางและชั้นสูง และเป็นชุดทำงานของทาส
ตูนิก ชาวโรมันจะสวมตูนิกยาวลงมาจรดเข่า มีแขนสั้น (ลักษณะเป็นรูปตัว T) ชนชั้นสูงใช้เป็นชุดชั้นในหรือชุดนอน คนจนใช้ตูนิกคาดเข็มขัดเป็นเครื่องแต่งกายปกติ
- การตัดตูนิกให้ด้านหน้าสั้นกว่าด้านหลัง
- กรรมกรและทหาร สมตูนิกแบบสั้นเต่อ
- หากอากาศหนาวจะสวมใส่ตูนิกหลายชั้น
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่สาม ตูนิกมีความยาวขึ้นจนปิดช่วขาตอนล่างไปจนถึงหน้าแข้ง ซึ่งทหารและผู้ชายจะสวมตูนิกสั้น
เสื้อผ้าคลุมชั้นนอก
ผ้าห่มกับเสื้อคลุมสั้นใช้เป็นเสื้อผ้าภายนอกเมื่ออากาศหนาว และทำขึ้นทั้งมีหมวกครอบศีรษะและไม่มีหมวกครอบ ซึ่งที่สำคัญ ๆ อ้างไว้ คือ
ปีนูลา (Paenula) เป็นผ้าห่มทำด้วยขนสัตว์หนา ด้านหน้าเป็นครึ่งวงกลมมีหมวก
ลาเซร์นา (Lacerna) เป็นผ้าห่มสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุมมนและมีหมวก
ลีนา (Laena) เป็นผ้ารูปวงกลมที่พับจนกาลายเป็นครึ่งวงกลม ใช้พาดไหล่สองข้างและกัดเข็มยึดไว้ทางด้านหน้า
เบียร์รุส (Birrus) หรือ เบอร์รุส (Burrus) มีลักษณะคล้ายเสื้อคลุมพอนโช (Poncho) ของขาวแมกซิกัน ที่ใช้ผ้าทั้งผืนมาตัดเป็นช่องไว้ตรงกลางให้สอดศรีษะเข้าไปได้
ปาลูดาเมนตุม (Paludamentum) ผ้าห่มสีขาวหรือสีม่วงผืนใหย๋คล้าย ๆ กับคลามีส ของจักรพรรดิหรือแม่ทัพชาวกรีก

ผม ผู้ชายมักตัดผมสั้น บางครั้งเหยียดตรง บางสมัยนิยมผมหยิก
หมวก รูปทรงคล้ายหมวกแบบกรีก (เปตาโซส ผ้าคลุมศรีษะ หรือหมวกแก๊ปปลายแหลม)

รองเท้า โซลิ (Solae) รองเท้าสาน
แซนดาลิส (Samdalis) รองเท้าบู๊ต
ซอกคุส (Soccus) รองเท้าคล้ารองเท้าแตะแต่สูงขึ้นไปถึงข้อเท้า
อัญมณี ผู้ชายโรมันนิยมสวมแหวน

ผู้หญิง
เสื้อผ้า
เสื้อผ้าชั้นใน ประกอบด้วย
ซุบลิกาเรีย (Subbigaria) ได้แก่ ผ้าเตี่ยว
สโตรฟิอุม (Strophium) ได้แก่ แถบผ้า ที่ใช้รองรับเต้านม
ตูนิก เป็นเครื่องแต่งกายหลักของหญิงโรมัน มีลักษณะคล้ายไกตึนของกรีกและมีความยาวถึงข้อเท้าหรือจรดพื้น มักสวมสองชั้นโดยชั้นนอกทับชั้นในเมื่อเวลาออกนอกบ้าน
เสื้อผ้าคลุมชั้นนอก
ปุลลา ผ้าคลุมไหล่ใช้พัน (ตรงกันข้ามกับฮิมัตติออนของชาวกรีก)
เสื้อผ้าที่บอกฐานะทางสังคมของผู้หญิง
สโตลา เป็นเสื้อผ้าที่ใช้สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้วและเป็นไท
ผ้าคลุมหน้า (Vetta)
วิตตา (Vitta) เป็นแถบผ้าขนสัตว์ที่มัดรวมผม เป็นเครื่องแต่งกายหญิงที่มีสามี
ตูตูลุส ทรงผมสำหรับแม่ใหญ่ เป็นการดึงผมจากกลางศรีษะขึ้นไปแล้วใช้วิตตารวบไว้กลายเป็นกรวยคล้าย ๆ กับเครื่องแต่งศรีษะของผู้หญิงชาวอิทรัสกัน
รินซินิอุม (Rincinium) เป็นเครื่องแต่งกายสำหรับไว้ทุกข็ เข้าใจว่ามีสีเข้มแต่ไม่ทราบรูปทรงที่แน่นอนชัดเจน
โตก้า ผู้หญิงที่หย่าจากสามีจะไม่ได้รับอนุญาตให้สวมสโตลาหรือวิตตาแต่จะต้องสวมโตก้าเรียบ ๆ แทน