ทฤษฎีสีกับการออกแบบ

e0b894e0b8ade0b881e0b89ae0b8b1e0b8a72สีที่ใช้ในงานศิลปะเราเรียกว่า แม่สีช่างเขียน (ARTIST) มี 3 สี คือ
1.สีแดง (RED
2.สีเหลือง(YELLOW)
3. สีน้ำเงิน (BLUE)
วงจรสี

จากวงสีจะเห็นว่า สีที่อ่อนที่สุดจะอยู่ด้านบน คือ สีเหลือง แล้วเรียงตามลำดับลงมาจนถึงสีที่แก่ที่สุด คือ สีม่วง ซึ่งอยู่ในทิศทางตรงกันข้าม ทำให้สีในวงสีแบ่งเป็น 2 วรรณะ หรือ 2 โทน คือ วรรณะร้อน และวรรณะเย็น
วรรณะร้อน ได้แก่ สีเหลือง, ส้ม, ส้มเหลือง, ส้มแดง, แดง, ม่วงแดง
วรรณะเย็น ได้แก่ สีม่วง, น้ำเงิน, ม่วงน้ำเงิน, เขียว, เขียวเหลือง สำหรับในวงสีที่อยู่ได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น คือ สีเหลืองและสีม่วง

ประเภทต่างๆของสีในงานศิลปะ
นอกจากการศึกษาเกี่ยวกับแม่สี วงจรสีและวรรณะของสีแล้ว นักศึกษาควรได้รู้จักประเภทต่างๆของสีในงานศิลปะด้วย ทั้งนี้เพราะว่าถ้านักเรียนได้เรียนรู้ในเรื่องของสียิ่งมากขึ้นก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างถูกต้องตาม โอกาส และความต้องการ ซึ่งผู้เรียนเองต้องอาศัยการฝึกฝนพอสมควร ในการที่จะสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ความรู้เรื่องสีประเภทต่างๆไปใช้ เพราะถ้าหากขาดการฝึกฝนที่ดีแล้วผลงานก็จะออกมาไม่น่ามอง ดังนั้นการศึกษาถึงประเภทต่างๆของสีจึงมีความจำเป็น ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนที่เป็นพื้นฐานความรู้เบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาดังนี้
1. ค่าความเข้มหรือน้ำหนักของสี
2. สีตัดกัน หรือสีตรงข้าม
3. สีเอกรงค์
4. สีส่วนรวม
5. ระยะของสี
6. การนำความรู้เรื่องสีไปใช้
1. ค่าความเข้มหรือน้ำหนักของสี สีต่างๆที่เกิดขึ้นในวงจรสีหากเรานำมาเรียงน้ำหนักความอ่อนแก่ของสีหลายสี เช่น ม่วง น้ำเงิน เขียวแกมน้ำเงิน เขียว และเหลืองแกมเขียว หรือ ม่วง แดง แดงส้ม ส้ม ส้มแกม เหลือง และเหลือง หรือเรียกว่าค่าในน้ำหนักของสีหลายสี (Value of different color) ดังตัวอย่าง

สำหรับค่าความเข้มอีกประเภทหนึ่งเกิดจากการนำสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียวแล้วนำมาไล่น้ำหนักอ่อนแก่ในตัวเอง เราเรียกว่าค่าน้ำหนักสีเดียว (Value of single color) ซึ่งถ้าผู้เรียนฝึกฝนได้เป็นอย่างดีแล้ว สามารถนำความรู้จากการไล่ค่าน้ำหนักนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากในการสร้างงานจิตรกรรม ดังตัวอย่าง

นักเรียนหรือผู้ที่ศึกษาทางศิลปะบางคนชอบที่จะให้สีหลายๆสี โดยเข้าใจว่าจะทำให้ภาพสวยแต่ที่จริงแล้วเป็นความคิดที่ผิด กลับทำให้ภาพเขียนที่ออกมาดูไม่สวยงาม เพราะการที่จะให้สีหลายสีให้ดูกลมกลืนกันนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก หากเราได้มีโอกาสได้สังเกตภาพเขียนที่สวยๆของศิลปินหลายๆท่านจะพบว่า ผู้สร้างสรรค์ไม่ได้ใช้สีที่มากมายเลย ใช้อย่างมากสองถึงสี่สีเท่านั้นแต่เราดูเหมือนว่าภาพนั้นมีหลากหลายสีทั้งนี้ก็เพราะว่าเขารู้จักใช้ค่าน้ำหนักสีๆเดียวโดยการนำเอาสีอื่นเข้ามาผสมผสานบ้างเท่านั้น

สีตัดกัน สีตัดกันหรือสีตรงข้ามก็คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีนั่นเอง การที่เราจะทราบว่าสีคู่ใดเป็นสีตรงข้ามกันอย่างแท้จริงหรือไม่ ให้นำเอาสีคู่นั้นมาผสมกันดู ถ้าผลการผสมกันออกมาเป็นสีกลางนั้นหมายถึงว่าสีคู่นั้นเป็นคู่สีตัดกันอย่างแท้จริง ตัวอย่างสีคู่ตัดกันมีดังนี้
สีเขียวเหลือง กับ สีม่วงแดง
สีเขียว กับ สีแดง
สีเขียวแก่ กับ สีแดงส้ม
สีน้ำเงิน กับ สีส้ม
สีม่วง กับ สีเหลือง
สีม่วงน้ำเงิน กับ สีเหลืองส้ม

สีดังตัวอย่างนั้นเป็นคู่สีที่ตัดกันซึ่งการใช้สีตัดกันในการสร้างงานศิลปะนั้นต้องมีหลักเกณฑ์พอสมควร หากใช้อย่างไม่รู้หลักการแล้วจะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานออกมาไม่น่ามอง ขัดต่อหลักการทางศิลปะ อีกด้วย การสร้างงานศิลปะที่มีแต่สีกลมกลืนโดยไม่นำสีที่ตัดกันไปใช้บางครั้งทำให้ภาพดูน่าเบื่อหากนำสีตัดกันไปใช้จะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ดังนั้นหากจะนำสีตัดกันมาใช้ในงานศิลปะควร ต้องศึกษาหลักการต่อไปนี้
เมื่อเราระบายสีในภาพโดยใช้โทนสีที่กลมกลืนกัน 5 - 6 สี ถ้าต้องการให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จำเป็นต้องใส่สีคู่ที่ 5 หรือ 6 ลงไป ให้เลือกเอาสีใดสีหนึ่ง อาจเป็นหนึ่งหรือสองสีที่เกิดการตัดกันกับวรรณะของสีโดยรวมของภาพนั้น ซึ่งไม่เจาะจงให้ตัดกับสีใดสีหนึ่งโดยเฉพาะ วิธีการใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกันมีหลักการดังนี้
1. ปริมาณของสีที่ตัดกันกับวรรณะของสีทั้งหมดในภาพต้องอย่าเกิน 10% ของเนื้อที่ในภาพเขียน
2. ในลักษณะการนำไปใช้ ในทางประยุกต์ศิลป์หรือเชิงพานิชควรใช้ตามหลักเกณ์ดังนี้
• การใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกัน ต้องใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80% อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องเป็น 20% จึงจะมีคุณค่าทางศิลปะ
• หากจำเป็นต้องใช้สีคู่ใดคู่หนึ่งปริมาณเท่าๆกัน ควรต้องลดค่าของคู่สีลง
• หากภาพเป็นลายเล็กๆ เช่น ภาพที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใบไม้เล็ก การใช้สีตัดกันอย่างสดๆ สลับกัน ผลคือจะผสมผสานกันเอง
• หากจำเป็นต้องใช้สีตัดกันในภาพใหญ่ๆหรือพื้นที่ภาพมากๆและสีคู่นั้นติดกัน ควรใช้เส้นดำมาคั่นหรือตัดเส้นด้วยสีดำ เพื่อลดความรุนแรงของภาพและคู่สีได้ดังตัวอย่าง

ตัวอย่างภาพสีตัดกัน ตัวอย่างภาพการชลอความรุนแรงของสีตัดกันด้วยสีดำ
อย่างไรก็ตามหลักการใช้สีตัดกันในงานศิลปะที่กล่าวมานั้นอาจเป็นหลักการกว้างๆเท่านั้น เพราะเมื่อเราสร้างสรรค์งานศิลปะจริงๆ จะเคร่งคัดตามเกณฑ์ทุกประการไปคงไม่ได้ ผู้สร้างสรรค์ควรต้องมีการฝึกฝน และพลิกแพลงวิธีการใช้งานด้วยตนเอง

เอกรงค์ (Monochromes)
เอกรงค์ คือสี สีเดียวหรือสีที่แสดงออกมาเด่นเพียงสีเดียว ซึ่งเหมือนว่าจะคล้ายคลึงกับสีสวนรวมหรือสีครอบงำ แต่ที่จริงแล้วสีทั้งสองชนิดมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป สีส่วนรวมนั้นสีที่ใช้อาจเป็นสีสด หรือสีที่ลดค่าลงไปแล้ว แต่สีเอกรงค์ต้องใช้สีใดสีหนึ่งเป็นสีสดยืนพื้นเพียงสีเดียวแล้วลดค่า น้ำหนักอ่อนแก่ ในระยะต่างๆ เป็นต้น
หลักเกณฑ์คือ เมื่อเอาสีที่สดใสเป็นจุดเด่นของภาพแล้ว สีที่เป็นส่วนประกอบรอบๆต้องลดค่าความสดลงแล้วนำเอาสีที่จุดเด่นนั้นไปผสมด้วยบ้างทุกๆแห่งในภาพ ข้อสำคัญคือ สีที่จะนำมาประกอบนั้นจะใช้กี่สีก็ตาม แต่โดยมากนิยมใช้ไม่เกิน 5 สี โดยนำเอามาจากวงจรสีด้านหรือวรรณะใดวรรณะหนึ่ง ไม่นิยมนำมาจากสองวรรณะ รวมทั้งสีที่ต้องการใช้เป็นสียืนพื้น(เอกรงค์)ด้วย เพราะสีที่อยู่ในด้านหรือวรรณะเดียวกันจะผสานกลมกลืนกันง่ายกว่า ตัวอย่างเช่น ถ้าเลือกสีมา 6 สีจากวงจรสีคือ เหลือง ส้ม แสด แดงชาด แดงเลือดนก และม่วงแดง เมื่อนักเรียนจะทำเอกรงค์ของสีเหลือง ก็ใช้สีเหลืองเป็นหลักหรือสีเด่น วางจุดใดจุดหนึ่งของภาพแล้วนำสีอื่นๆข้างต้นมาลดค่าหรือความสดใสลง(neutralized) โดยการนำเอาสีตรงข้างของแต่ละคู่มาผสมลงไปพอสมควร เมื่อจะระบายก็นำเอาสีเหลืองที่เป็นสียืนพื้นเข้ามาผสมด้วยเล็กน้อยก็จะได้สีเอกรงค์ของสีเหลืองตามที่เราต้องการ

ตัวอย่างสีเอกรงค์ของสีแดง
การสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยสีเอกรงค์นี้จะได้ผลงานที่งดงาม เพราะโครงสร้างสีจะดูไม่รุนแรง เพราะว่าจะมีมีเรื่องสีตัดกันเข้าไปผสม และสีแต่ละวรรณะก็ไม่เข้าไปปะปนซึ่งกันและกัน นับว่าเป็นงานศิลปะที่มีโครงสร้างประณีต ผลงานชิ้นเด่นๆของโลกก็ใช้วิธีการนี้เช่นกัน ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของสีเอกรงค์คือ โครงสีจะละเมียดละไม ไม่เบื่อง่ายเหมือนกับการใช้สีหลายสีมาผสมผสานกัน
สีส่วนรวม หรือสีครอบงำ
สีส่วนรวมหรือสีครอบงำหมายถึงสีใดสีหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่าสีอื่นในพื้นที่หรือภาพนั้นๆ เช่น ภาพต้นไม่ที่เรามองเห็นเป็นสีเขียว แต่ความจริงแล้วในสีเขียวของต้นไม้นั้นอาจมีสีอื่นประกอบอยู่ด้วยเช่น สี เขียวอ่อน สีเหลือง สีน้ำตาล เป็นต้น งานจิตรกรรมทั้งแนวปัจจุบันและสมัยใหม่ล้วนแล้วแต่ต้องใช้อิทธิพลของสีส่วนรวมเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งสิ้น แม้ว่าสีอื่นจะเด่นชัดในบางส่วนของภาพก็ตาม สีส่วรรวมหรือสีครอบงำนี้จะช่วยทำให้ภาพมีเอกภาพและสมบูรณ์ขึ้น ตัวอย่างเช่น ภาพเขียนของศิลปินชาวอิตาเลี่ยนสมันโราณ มักจะใช้สีเหลืองหรือสีน้ำตาลเป็นสีครอบงำทั้งหมดภายในภาพแทบทุกชิ้น ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะสองสีที่ยกตัวอย่างมาเท่านั้นอาจเป็นสีกลุ่มอื่นๆได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้างสรรค์
สีครอบงำหรือสีส่วรวม อาจจำแนกได้สองประการคือ
• ประการแรกครอบงำโดยมีสีใดสีหนึ่งแผ่กระจายเต็มภาพ เช่นภาพทุ่งหญ้า ซึ่งแม้จะมีสีอื่นๆของพวกดอกไม้ ลำต้น ก็ตามแต่สีส่วนรวมก็ยังเป็นสีเขียวของทุ่งหญ้าอยู่นั่นเอง เราเรียกสีครอบงำหรือสีส่วรรวมของภาพคือสีเขียวนั่นเอง ยกตัวอย่างง่ายๆอีกประการเช่นเวลาเราดูฟุตบอลที่แข่งกันในสนาม จากมุมสูงๆเราจะเห็นสีส่วนรวมเป็นสีเขียวครอบงำอยู่ถึงแม้จะมีสีอื่นๆของนักกีฬาอยู่ก็ตาม ก็ถูกอิทธิพลของสีเขียวข่มลงจนหมด

ภาพแสดงตัวอย่าง สีส่วนรวมที่มีสีใดสีหนึ่งแผ่กระจายเต็มภาพ
• ประการที่สอง การครอบงำของสีที่เกิดขึ้นระหว่างสี เช่น ถ้าเรานำเอาสีแดงและสีเหลืองมาระบายเป็นจุดๆบนกระดาษสลับกันเต็มไปหมด เมื่อดูกระดาษนั้นในระยะห่างพอสมควรเราจะเห็นสองสีนั้นผสมกันกลายเป็นสีส้ม หรือเช่นเดียวกับการที่เราเขียนภาพด้วยสีหลายๆสีแล้วเมื่อดูรวมๆแล้วกลายเป็นสีที่ผสมออกมาเด่นชัด เช่นต้นไม้ ประกอบด้วยสีเหลือง น้ำตาล ดำ เขียวแก่ เขียวอ่อน แต่เมื่อดูห่างๆก็กลับกลายเป็นสีเขียว
การวางโครงสร้างสี สำหรับห้องเด็กเล่น ห้องนอน และห้องรับแก จะต้องนำความรู้เรื่องสีส่วนรวมมาใช้ให้ถูกต้องเช่น ห้องเด็กเล่นควรใช้สีโครงสร้างในวรรณะร้อนเช่น เหลืองอ่อน ม่วงแดงอ่อนๆ ส่วนห้องนั่งเล่นไม่ควรใช้สีฉูดฉาด ควรใช้สีวรรณะเย็นเพราะเป็นห้องที่ใช้มากที่สุด หากใช้สีสดใสอาจทำให้เบื่อง่าย นอกจากนี้ประโยชน์อีกประการหนึ่งก็คือการนำเอาไปใช้ในการกำหนดโครงสีบนผ้า เช่น ถ้าเป็นเสื้อผ้าเด้กควรเน้นโครงสีที่ดูสดชื่น เช่น เหลือง หรือสีที่มีน้ำหนักตัดกันรุนแรงเช่น ขาวกัยน้ำเงิน ส่วนสีน้ำตาล ปูนแห้ง สีเทา นั้นเหมากับการวางโครงสีในผ้าผู้สูงอายุ เป็นต้น
ระยะของสี เมื่อกล่าวถึงระยะของสี นั้นก็หมายรวมถึงระยะใกล้ของแสงเงาที่เกิดแก่วัตถุนั้นๆด้วย ซึ่งหลักการของน้ำหนักใกล้ไกลของวัตถุคือ วัตถุที่ใกล้ตา แสงเงาจะสว่างจัดชัดเจน และเมื่อระยะไกลออกไปทั้งแสงและเงาก็จะจางลงไปด้วย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะระยะไกลนั้นจะมีเรื่องของบรรยากาศเข้ามากรองทั้งแสงและเงาให้จางลง ระยะยิ่งไกลออกไปแสงเงายิ่งจางไป จางไป จนกลายเป็นภาพแบนราบ ตัวอย่างเช่นภาพเขียนทิวทัศน์ที่มีฉากหลังเป็นทิวเขา เราจะเห็นว่าทิวเขานั้นจะเป็นสีจางๆแบนๆไม่มีแสงเงาเพราะถูกบรรยากาศเข้ามาเกี่ยวข้อง

ตัวอย่างภาพแสดงระยะของแสง เงา ที่เกิดกับวัตถุในระยะต่างๆ
จากภาพตัวอย่างจะสังเกตุได้ว่า ทรงกลม ลูกแรกจะมีแสง เงาเกิดขึ้นบนวัตถุ ทั้งนี้เนื่องจากมีระยะภาพที่อยู่ใกล้ตา ดังนั้นแสง และเงา จะเห็นได้ชัดเจน ส่วนทรงกลม ลูกอื่นๆที่เรียงต่อๆไป แสดงถึงระยะที่ไกลออกไปแสงเงาก็จะจางลงไป จนกระทั่งลูกสุดท้ายจะกลายเป็นภาพแบนๆ
ระยะใกล้ไกลของสี (Perspective of Color) มีหลักเกณฑ์ที่พอสรุปได้ดังนี้
• วัตถุที่มีสียิ่งไกลออกไป สีของวัตถุก็ยิ่งใกล้เป็นสีกลางเข้าไปทุกที
• น้ำหนักของวัตถุที่มีสี เมื่อไกลออกไป ก็ยิ่งจางลงกลายเป็นสีกลางและ น้ำหนักก็อ่อนลงด้วย ถ้ามีส่วนที่เป็นแสงสว่าง ก็จะมืดมัวลง เงาก็จะจางลง และค่อยๆปรับลงจนไม่มีน้ำหนัก
• วัตถุที่มีสีตามระยะใกล้ไกล แสงเงาแสงเงาจะมีลักษณะดังตัวอย่าง เช่น พุ่มไม้ที่มีสีเหลืองเขียวที่มีพืชปกคลุมเมื่อถูกแสงจัดๆ เงาจะออกไปทางสีม่วงแดง เมื่อระยะไกลออกไปเงาจะเป็นสีที่ค่อนไปทางน้ำเงิน และเมื่อไกลจนเห็นระยะลิบๆ เงาจะกลายเป็นสีเขียว

ภาพตัวอย่างแสเดงสีของวัตถุในระยะใกล้และไกลออกไป
จะสังเกตุไดว่าเงาของวัตถุที่มีสีจะมีสีตรงข้ามเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อวัตถุนั้นอยู่ใกล้แต่เมื่อไกลออกไปก็จะจางลง เงาก็อ่อนลงหลักเกณฑ์ก็จะคล้ยคลึงกันกล่าวคือ เมื่อวัตถุที่มีสีอยู่ไกลออกไป แสงที่กระทบวัตถุก็จะน้อยลงไปด้วย ทั้งนี้เนื่องจากถูกบรรยากาศครอบคลุมมีลักษณะคล้ายว่ามีกระดาษฝ้าบังอยู่ และสำหรับวัตถุที่มีสี เมื่ออยู่ในที่มีแสงน้อย จะมีสีคล้ำเป็นสีกลาง ส่วนแสงสว่งก็จะดูแบนๆ ดังตัวอย่างข้างต้น สังเกตุได้ว่าสีของบรรยากาสนั้นจะไม่ตายตัวว่าจะเป็นสีใดตลอดไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ฤดูกาล ภูมิประเทศนั้นๆซึ่งพอจำแนกได้เบื้องต้นคื บรรยากาศตอนเช้า จะมีสี น้ำเงินอ่อน ตอนเที่ยง จะเป็นสี ม่วงน้ำเงิน ตอนบ่าย สีม่วงนั้นจะมีความเข้มมากขึ้น ซึ่งหลักการสังเกตสีบรรยากาศนั้น เราจะไม่มองที่จุดๆเดียวของธรรมชาตินั้น แต่เราต้องมองบรรยากาศโดยรวม จึงจะสังเกตเห็นได้ดี