ทฤษฎีสีกับการออกแบบ

e0b894e0b8ade0b881e0b89ae0b8b1e0b8a72สีที่ใช้ในงานศิลปะเราเรียกว่า แม่สีช่างเขียน (ARTIST) มี 3 สี คือ
1.สีแดง (RED
2.สีเหลือง(YELLOW)
3. สีน้ำเงิน (BLUE)
วงจรสี

จากวงสีจะเห็นว่า สีที่อ่อนที่สุดจะอยู่ด้านบน คือ สีเหลือง แล้วเรียงตามลำดับลงมาจนถึงสีที่แก่ที่สุด คือ สีม่วง ซึ่งอยู่ในทิศทางตรงกันข้าม ทำให้สีในวงสีแบ่งเป็น 2 วรรณะ หรือ 2 โทน คือ วรรณะร้อน และวรรณะเย็น
วรรณะร้อน ได้แก่ สีเหลือง, ส้ม, ส้มเหลือง, ส้มแดง, แดง, ม่วงแดง
วรรณะเย็น ได้แก่ สีม่วง, น้ำเงิน, ม่วงน้ำเงิน, เขียว, เขียวเหลือง สำหรับในวงสีที่อยู่ได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น คือ สีเหลืองและสีม่วง

ประเภทต่างๆของสีในงานศิลปะ
นอกจากการศึกษาเกี่ยวกับแม่สี วงจรสีและวรรณะของสีแล้ว นักศึกษาควรได้รู้จักประเภทต่างๆของสีในงานศิลปะด้วย ทั้งนี้เพราะว่าถ้านักเรียนได้เรียนรู้ในเรื่องของสียิ่งมากขึ้นก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างถูกต้องตาม โอกาส และความต้องการ ซึ่งผู้เรียนเองต้องอาศัยการฝึกฝนพอสมควร ในการที่จะสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ความรู้เรื่องสีประเภทต่างๆไปใช้ เพราะถ้าหากขาดการฝึกฝนที่ดีแล้วผลงานก็จะออกมาไม่น่ามอง ดังนั้นการศึกษาถึงประเภทต่างๆของสีจึงมีความจำเป็น ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนที่เป็นพื้นฐานความรู้เบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาดังนี้
1. ค่าความเข้มหรือน้ำหนักของสี
2. สีตัดกัน หรือสีตรงข้าม
3. สีเอกรงค์
4. สีส่วนรวม
5. ระยะของสี
6. การนำความรู้เรื่องสีไปใช้
1. ค่าความเข้มหรือน้ำหนักของสี สีต่างๆที่เกิดขึ้นในวงจรสีหากเรานำมาเรียงน้ำหนักความอ่อนแก่ของสีหลายสี เช่น ม่วง น้ำเงิน เขียวแกมน้ำเงิน เขียว และเหลืองแกมเขียว หรือ ม่วง แดง แดงส้ม ส้ม ส้มแกม เหลือง และเหลือง หรือเรียกว่าค่าในน้ำหนักของสีหลายสี (Value of different color) ดังตัวอย่าง

สำหรับค่าความเข้มอีกประเภทหนึ่งเกิดจากการนำสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียวแล้วนำมาไล่น้ำหนักอ่อนแก่ในตัวเอง เราเรียกว่าค่าน้ำหนักสีเดียว (Value of single color) ซึ่งถ้าผู้เรียนฝึกฝนได้เป็นอย่างดีแล้ว สามารถนำความรู้จากการไล่ค่าน้ำหนักนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากในการสร้างงานจิตรกรรม ดังตัวอย่าง

นักเรียนหรือผู้ที่ศึกษาทางศิลปะบางคนชอบที่จะให้สีหลายๆสี โดยเข้าใจว่าจะทำให้ภาพสวยแต่ที่จริงแล้วเป็นความคิดที่ผิด กลับทำให้ภาพเขียนที่ออกมาดูไม่สวยงาม เพราะการที่จะให้สีหลายสีให้ดูกลมกลืนกันนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก หากเราได้มีโอกาสได้สังเกตภาพเขียนที่สวยๆของศิลปินหลายๆท่านจะพบว่า ผู้สร้างสรรค์ไม่ได้ใช้สีที่มากมายเลย ใช้อย่างมากสองถึงสี่สีเท่านั้นแต่เราดูเหมือนว่าภาพนั้นมีหลากหลายสีทั้งนี้ก็เพราะว่าเขารู้จักใช้ค่าน้ำหนักสีๆเดียวโดยการนำเอาสีอื่นเข้ามาผสมผสานบ้างเท่านั้น

สีตัดกัน สีตัดกันหรือสีตรงข้ามก็คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีนั่นเอง การที่เราจะทราบว่าสีคู่ใดเป็นสีตรงข้ามกันอย่างแท้จริงหรือไม่ ให้นำเอาสีคู่นั้นมาผสมกันดู ถ้าผลการผสมกันออกมาเป็นสีกลางนั้นหมายถึงว่าสีคู่นั้นเป็นคู่สีตัดกันอย่างแท้จริง ตัวอย่างสีคู่ตัดกันมีดังนี้
สีเขียวเหลือง กับ สีม่วงแดง
สีเขียว กับ สีแดง
สีเขียวแก่ กับ สีแดงส้ม
สีน้ำเงิน กับ สีส้ม
สีม่วง กับ สีเหลือง
สีม่วงน้ำเงิน กับ สีเหลืองส้ม

สีดังตัวอย่างนั้นเป็นคู่สีที่ตัดกันซึ่งการใช้สีตัดกันในการสร้างงานศิลปะนั้นต้องมีหลักเกณฑ์พอสมควร หากใช้อย่างไม่รู้หลักการแล้วจะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานออกมาไม่น่ามอง ขัดต่อหลักการทางศิลปะ อีกด้วย การสร้างงานศิลปะที่มีแต่สีกลมกลืนโดยไม่นำสีที่ตัดกันไปใช้บางครั้งทำให้ภาพดูน่าเบื่อหากนำสีตัดกันไปใช้จะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ดังนั้นหากจะนำสีตัดกันมาใช้ในงานศิลปะควร ต้องศึกษาหลักการต่อไปนี้
เมื่อเราระบายสีในภาพโดยใช้โทนสีที่กลมกลืนกัน 5 - 6 สี ถ้าต้องการให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จำเป็นต้องใส่สีคู่ที่ 5 หรือ 6 ลงไป ให้เลือกเอาสีใดสีหนึ่ง อาจเป็นหนึ่งหรือสองสีที่เกิดการตัดกันกับวรรณะของสีโดยรวมของภาพนั้น ซึ่งไม่เจาะจงให้ตัดกับสีใดสีหนึ่งโดยเฉพาะ วิธีการใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกันมีหลักการดังนี้
1. ปริมาณของสีที่ตัดกันกับวรรณะของสีทั้งหมดในภาพต้องอย่าเกิน 10% ของเนื้อที่ในภาพเขียน
2. ในลักษณะการนำไปใช้ ในทางประยุกต์ศิลป์หรือเชิงพานิชควรใช้ตามหลักเกณ์ดังนี้
• การใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกัน ต้องใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80% อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องเป็น 20% จึงจะมีคุณค่าทางศิลปะ
• หากจำเป็นต้องใช้สีคู่ใดคู่หนึ่งปริมาณเท่าๆกัน ควรต้องลดค่าของคู่สีลง
• หากภาพเป็นลายเล็กๆ เช่น ภาพที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใบไม้เล็ก การใช้สีตัดกันอย่างสดๆ สลับกัน ผลคือจะผสมผสานกันเอง
• หากจำเป็นต้องใช้สีตัดกันในภาพใหญ่ๆหรือพื้นที่ภาพมากๆและสีคู่นั้นติดกัน ควรใช้เส้นดำมาคั่นหรือตัดเส้นด้วยสีดำ เพื่อลดความรุนแรงของภาพและคู่สีได้ดังตัวอย่าง

ตัวอย่างภาพสีตัดกัน ตัวอย่างภาพการชลอความรุนแรงของสีตัดกันด้วยสีดำ
อย่างไรก็ตามหลักการใช้สีตัดกันในงานศิลปะที่กล่าวมานั้นอาจเป็นหลักการกว้างๆเท่านั้น เพราะเมื่อเราสร้างสรรค์งานศิลปะจริงๆ จะเคร่งคัดตามเกณฑ์ทุกประการไปคงไม่ได้ ผู้สร้างสรรค์ควรต้องมีการฝึกฝน และพลิกแพลงวิธีการใช้งานด้วยตนเอง

เอกรงค์ (Monochromes)
เอกรงค์ คือสี สีเดียวหรือสีที่แสดงออกมาเด่นเพียงสีเดียว ซึ่งเหมือนว่าจะคล้ายคลึงกับสีสวนรวมหรือสีครอบงำ แต่ที่จริงแล้วสีทั้งสองชนิดมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป สีส่วนรวมนั้นสีที่ใช้อาจเป็นสีสด หรือสีที่ลดค่าลงไปแล้ว แต่สีเอกรงค์ต้องใช้สีใดสีหนึ่งเป็นสีสดยืนพื้นเพียงสีเดียวแล้วลดค่า น้ำหนักอ่อนแก่ ในระยะต่างๆ เป็นต้น
หลักเกณฑ์คือ เมื่อเอาสีที่สดใสเป็นจุดเด่นของภาพแล้ว สีที่เป็นส่วนประกอบรอบๆต้องลดค่าความสดลงแล้วนำเอาสีที่จุดเด่นนั้นไปผสมด้วยบ้างทุกๆแห่งในภาพ ข้อสำคัญคือ สีที่จะนำมาประกอบนั้นจะใช้กี่สีก็ตาม แต่โดยมากนิยมใช้ไม่เกิน 5 สี โดยนำเอามาจากวงจรสีด้านหรือวรรณะใดวรรณะหนึ่ง ไม่นิยมนำมาจากสองวรรณะ รวมทั้งสีที่ต้องการใช้เป็นสียืนพื้น(เอกรงค์)ด้วย เพราะสีที่อยู่ในด้านหรือวรรณะเดียวกันจะผสานกลมกลืนกันง่ายกว่า ตัวอย่างเช่น ถ้าเลือกสีมา 6 สีจากวงจรสีคือ เหลือง ส้ม แสด แดงชาด แดงเลือดนก และม่วงแดง เมื่อนักเรียนจะทำเอกรงค์ของสีเหลือง ก็ใช้สีเหลืองเป็นหลักหรือสีเด่น วางจุดใดจุดหนึ่งของภาพแล้วนำสีอื่นๆข้างต้นมาลดค่าหรือความสดใสลง(neutralized) โดยการนำเอาสีตรงข้างของแต่ละคู่มาผสมลงไปพอสมควร เมื่อจะระบายก็นำเอาสีเหลืองที่เป็นสียืนพื้นเข้ามาผสมด้วยเล็กน้อยก็จะได้สีเอกรงค์ของสีเหลืองตามที่เราต้องการ

ตัวอย่างสีเอกรงค์ของสีแดง
การสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยสีเอกรงค์นี้จะได้ผลงานที่งดงาม เพราะโครงสร้างสีจะดูไม่รุนแรง เพราะว่าจะมีมีเรื่องสีตัดกันเข้าไปผสม และสีแต่ละวรรณะก็ไม่เข้าไปปะปนซึ่งกันและกัน นับว่าเป็นงานศิลปะที่มีโครงสร้างประณีต ผลงานชิ้นเด่นๆของโลกก็ใช้วิธีการนี้เช่นกัน ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของสีเอกรงค์คือ โครงสีจะละเมียดละไม ไม่เบื่อง่ายเหมือนกับการใช้สีหลายสีมาผสมผสานกัน
สีส่วนรวม หรือสีครอบงำ
สีส่วนรวมหรือสีครอบงำหมายถึงสีใดสีหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่าสีอื่นในพื้นที่หรือภาพนั้นๆ เช่น ภาพต้นไม่ที่เรามองเห็นเป็นสีเขียว แต่ความจริงแล้วในสีเขียวของต้นไม้นั้นอาจมีสีอื่นประกอบอยู่ด้วยเช่น สี เขียวอ่อน สีเหลือง สีน้ำตาล เป็นต้น งานจิตรกรรมทั้งแนวปัจจุบันและสมัยใหม่ล้วนแล้วแต่ต้องใช้อิทธิพลของสีส่วนรวมเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งสิ้น แม้ว่าสีอื่นจะเด่นชัดในบางส่วนของภาพก็ตาม สีส่วรรวมหรือสีครอบงำนี้จะช่วยทำให้ภาพมีเอกภาพและสมบูรณ์ขึ้น ตัวอย่างเช่น ภาพเขียนของศิลปินชาวอิตาเลี่ยนสมันโราณ มักจะใช้สีเหลืองหรือสีน้ำตาลเป็นสีครอบงำทั้งหมดภายในภาพแทบทุกชิ้น ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะสองสีที่ยกตัวอย่างมาเท่านั้นอาจเป็นสีกลุ่มอื่นๆได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้างสรรค์
สีครอบงำหรือสีส่วรวม อาจจำแนกได้สองประการคือ
• ประการแรกครอบงำโดยมีสีใดสีหนึ่งแผ่กระจายเต็มภาพ เช่นภาพทุ่งหญ้า ซึ่งแม้จะมีสีอื่นๆของพวกดอกไม้ ลำต้น ก็ตามแต่สีส่วนรวมก็ยังเป็นสีเขียวของทุ่งหญ้าอยู่นั่นเอง เราเรียกสีครอบงำหรือสีส่วรรวมของภาพคือสีเขียวนั่นเอง ยกตัวอย่างง่ายๆอีกประการเช่นเวลาเราดูฟุตบอลที่แข่งกันในสนาม จากมุมสูงๆเราจะเห็นสีส่วนรวมเป็นสีเขียวครอบงำอยู่ถึงแม้จะมีสีอื่นๆของนักกีฬาอยู่ก็ตาม ก็ถูกอิทธิพลของสีเขียวข่มลงจนหมด

ภาพแสดงตัวอย่าง สีส่วนรวมที่มีสีใดสีหนึ่งแผ่กระจายเต็มภาพ
• ประการที่สอง การครอบงำของสีที่เกิดขึ้นระหว่างสี เช่น ถ้าเรานำเอาสีแดงและสีเหลืองมาระบายเป็นจุดๆบนกระดาษสลับกันเต็มไปหมด เมื่อดูกระดาษนั้นในระยะห่างพอสมควรเราจะเห็นสองสีนั้นผสมกันกลายเป็นสีส้ม หรือเช่นเดียวกับการที่เราเขียนภาพด้วยสีหลายๆสีแล้วเมื่อดูรวมๆแล้วกลายเป็นสีที่ผสมออกมาเด่นชัด เช่นต้นไม้ ประกอบด้วยสีเหลือง น้ำตาล ดำ เขียวแก่ เขียวอ่อน แต่เมื่อดูห่างๆก็กลับกลายเป็นสีเขียว
การวางโครงสร้างสี สำหรับห้องเด็กเล่น ห้องนอน และห้องรับแก จะต้องนำความรู้เรื่องสีส่วนรวมมาใช้ให้ถูกต้องเช่น ห้องเด็กเล่นควรใช้สีโครงสร้างในวรรณะร้อนเช่น เหลืองอ่อน ม่วงแดงอ่อนๆ ส่วนห้องนั่งเล่นไม่ควรใช้สีฉูดฉาด ควรใช้สีวรรณะเย็นเพราะเป็นห้องที่ใช้มากที่สุด หากใช้สีสดใสอาจทำให้เบื่อง่าย นอกจากนี้ประโยชน์อีกประการหนึ่งก็คือการนำเอาไปใช้ในการกำหนดโครงสีบนผ้า เช่น ถ้าเป็นเสื้อผ้าเด้กควรเน้นโครงสีที่ดูสดชื่น เช่น เหลือง หรือสีที่มีน้ำหนักตัดกันรุนแรงเช่น ขาวกัยน้ำเงิน ส่วนสีน้ำตาล ปูนแห้ง สีเทา นั้นเหมากับการวางโครงสีในผ้าผู้สูงอายุ เป็นต้น
ระยะของสี เมื่อกล่าวถึงระยะของสี นั้นก็หมายรวมถึงระยะใกล้ของแสงเงาที่เกิดแก่วัตถุนั้นๆด้วย ซึ่งหลักการของน้ำหนักใกล้ไกลของวัตถุคือ วัตถุที่ใกล้ตา แสงเงาจะสว่างจัดชัดเจน และเมื่อระยะไกลออกไปทั้งแสงและเงาก็จะจางลงไปด้วย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะระยะไกลนั้นจะมีเรื่องของบรรยากาศเข้ามากรองทั้งแสงและเงาให้จางลง ระยะยิ่งไกลออกไปแสงเงายิ่งจางไป จางไป จนกลายเป็นภาพแบนราบ ตัวอย่างเช่นภาพเขียนทิวทัศน์ที่มีฉากหลังเป็นทิวเขา เราจะเห็นว่าทิวเขานั้นจะเป็นสีจางๆแบนๆไม่มีแสงเงาเพราะถูกบรรยากาศเข้ามาเกี่ยวข้อง

ตัวอย่างภาพแสดงระยะของแสง เงา ที่เกิดกับวัตถุในระยะต่างๆ
จากภาพตัวอย่างจะสังเกตุได้ว่า ทรงกลม ลูกแรกจะมีแสง เงาเกิดขึ้นบนวัตถุ ทั้งนี้เนื่องจากมีระยะภาพที่อยู่ใกล้ตา ดังนั้นแสง และเงา จะเห็นได้ชัดเจน ส่วนทรงกลม ลูกอื่นๆที่เรียงต่อๆไป แสดงถึงระยะที่ไกลออกไปแสงเงาก็จะจางลงไป จนกระทั่งลูกสุดท้ายจะกลายเป็นภาพแบนๆ
ระยะใกล้ไกลของสี (Perspective of Color) มีหลักเกณฑ์ที่พอสรุปได้ดังนี้
• วัตถุที่มีสียิ่งไกลออกไป สีของวัตถุก็ยิ่งใกล้เป็นสีกลางเข้าไปทุกที
• น้ำหนักของวัตถุที่มีสี เมื่อไกลออกไป ก็ยิ่งจางลงกลายเป็นสีกลางและ น้ำหนักก็อ่อนลงด้วย ถ้ามีส่วนที่เป็นแสงสว่าง ก็จะมืดมัวลง เงาก็จะจางลง และค่อยๆปรับลงจนไม่มีน้ำหนัก
• วัตถุที่มีสีตามระยะใกล้ไกล แสงเงาแสงเงาจะมีลักษณะดังตัวอย่าง เช่น พุ่มไม้ที่มีสีเหลืองเขียวที่มีพืชปกคลุมเมื่อถูกแสงจัดๆ เงาจะออกไปทางสีม่วงแดง เมื่อระยะไกลออกไปเงาจะเป็นสีที่ค่อนไปทางน้ำเงิน และเมื่อไกลจนเห็นระยะลิบๆ เงาจะกลายเป็นสีเขียว

ภาพตัวอย่างแสเดงสีของวัตถุในระยะใกล้และไกลออกไป
จะสังเกตุไดว่าเงาของวัตถุที่มีสีจะมีสีตรงข้ามเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อวัตถุนั้นอยู่ใกล้แต่เมื่อไกลออกไปก็จะจางลง เงาก็อ่อนลงหลักเกณฑ์ก็จะคล้ยคลึงกันกล่าวคือ เมื่อวัตถุที่มีสีอยู่ไกลออกไป แสงที่กระทบวัตถุก็จะน้อยลงไปด้วย ทั้งนี้เนื่องจากถูกบรรยากาศครอบคลุมมีลักษณะคล้ายว่ามีกระดาษฝ้าบังอยู่ และสำหรับวัตถุที่มีสี เมื่ออยู่ในที่มีแสงน้อย จะมีสีคล้ำเป็นสีกลาง ส่วนแสงสว่งก็จะดูแบนๆ ดังตัวอย่างข้างต้น สังเกตุได้ว่าสีของบรรยากาสนั้นจะไม่ตายตัวว่าจะเป็นสีใดตลอดไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ฤดูกาล ภูมิประเทศนั้นๆซึ่งพอจำแนกได้เบื้องต้นคื บรรยากาศตอนเช้า จะมีสี น้ำเงินอ่อน ตอนเที่ยง จะเป็นสี ม่วงน้ำเงิน ตอนบ่าย สีม่วงนั้นจะมีความเข้มมากขึ้น ซึ่งหลักการสังเกตสีบรรยากาศนั้น เราจะไม่มองที่จุดๆเดียวของธรรมชาตินั้น แต่เราต้องมองบรรยากาศโดยรวม จึงจะสังเกตเห็นได้ดี

รูปแบบเครื่องแต่งกายโรมัน

โรมัน

• อารยธรรมและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของโรมัน
• โครงสร้างทางสังคม
- ประชาชนที่มีฐานะดี จะมีบ้านอยู่แถบชานเมือง บ้านมีลานรับแสงอาทิตย์ และประดับภาพวาดปูนเปียก หรืออาศัยในชั้นล่างอพาร์ตเมนต์ขนาดใหญ่ที่มีความสะดวกสบาย
- ประชาชนที่มีไม่ค่อยมีฐานะ จะเช่าอพาร์ตเมนต์แต่จะอยู่ชั้นสูงขึ้นไป อาจมีสภาพแออัด สลัว และการระบายอากาศที่ไม่ดี
- ชนชั้นขุนนางจะมีบ้านเรือนขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือญาติและคนรับใช้
- ทุกครอบครัวจะมีหัวหน้าครอบครัว ซึ่งจะเป็นผู้ชายที่มีอายุมากที่สุด จะเรียกว่า ปาเตอร์ ฟามิเลียส์ (Pater Familias)
• ความแตกต่างทางสังคมและเครื่องแต่งกาย
- ชาวโรมันใช้เครื่องแต่งกายเป็นเครื่องบ่งชี้ตำแหน่ง ฐานะ สำนัก อำนาจ
ผู้หญิง
- ผู้หญิงโรมันที่แต่งงานแล้ว จะสวม สโตลา (Stola) ซึ่งเป็นผ้าคลุมไหล่ปลายค่อมมาทางด้านหน้า
- ผู้หญิง หากสามีเป็น ปาเตอร์ ฟามิเลียส์ (Pater Familias) ผู้หญิงจะกลายเป็น มาเตอร์ ฟามิเลียส์ (Mater Familias) หรือเรียกว่าแม่ใหญ่ และจะทำผมทรงตูตูลุส
- ผู้หญิงหม้ายจะสวมเสื้อคลุมสามเหลี่ยมสีเข้มเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี หลังจากสามีตาย
ผู้ชาย
- ผู้ชายที่เป็นพลเมืองมีสิทธิสวมโตก้า เป็นแมนเติลพันกายรูปพระจันทร์เสี้ยว
- ผู้ชายที่เป็นทาส คนต่างชาติ ไม่มีสิทธิสวมเครื่องแต่งกายประเพณี
ชนชั้นในสังคม
จักรพรรดิและราชสำนัก เป็นชนชั้นระดับสูงในสังคม (วุฒิสภา รองลงมา อัศวิน)
วุฒิสภา (รวมจักรพรรดิ) แต่งกาย โดยตูนิกจะมีแถบสีม่วงกว้างห้อยพาดตามแนวตั้ง จากขอบริมหนึ่งไปอีกขอบริมหนึ่งคร่อมไหล่ เรียกว่า คลาฟอี (Clavi) หรือ (Clavus) สวมรองเท้ามีเชือกผูกพันรอบแข้งถึงหัวเข่า
อัศวิน จะมีแถบที่ม่วงแคบกว่า และสวมแหวนทองคำซึ่งเป็นเครื่องหมายบอกยศ

การผลิตผ้าและเครื่องนุ่งห่ม (เครื่องนุ่งห่มมักผลิตจากขนสัตว์หรือผ้าลินิน)
- เส้นใยหลักที่ใช้ในการทำเสื้อผ้าได้แก่ ขนสัตว์ รองลงมาเป็นลินิน
- มีการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปวางจำหน่ายตามท้องตลาด
- ผ้าลินนินหรือผ้าขนสัตว์อาจมีการทอให้เนื้อแน่น บางชิ้นมีปุยขนอ่อนหรือทอเหมือนการถักพรม
- ไหม ส่วนมากผู้มีฐานจะนิยมใช้ เพรามีราคาแพงและนำเข้าจากจีน (นิยมผสมกับเส้นใยอื่นเพื่อให้เกิดความหนา ส่วนใหญ่มักผสมกับลินนิน)
- การย้อมผ้า มีการย้อมผ้าหลากหลายสีสัน หากเป็นสีม่วงจะใช้ในการทำ คลาฟอิของตูนิกผู้ชาย และขอบของโตก้า
- การผลิตเส้นใย การทอผ้า จะเป็นการผลิตโดยการว่าจ้างแรงงาน (โรงงาน,สถานประกอบการ)
- การทำรองเท้า มีความชำนาญหลากหลาย

แหล่งหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย
ศิลปกรรม วรรณคดี ประติมากรรม

• เครื่องแต่งกาย
เสื้อผ้า “สวมครอบ” เรียก อินดุตุส (Indutus) แปลว่า สวมใส่ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของเสื้อผ้าที่สวมใสแนบเนื้อติดกับตัว
อะมิกตุส (Amictus) เป็นเสื้อสำหรับสวมไว้ภายนอก เช่น โตก้า หรือ ฮิมัตอิออน
ไกตึน ถูกเรียก ตูนิก (ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกรีก)
โตก้า เป็นเครื่องแต่งกายประเพณีที่ถือว่าโดดเด่นที่สุดในสมัยโรมัน

โตก้า มีความหมายในเชิงสัญลักษณะ และจะมีขอบเขตการใช้งานเฉพาะเพิ่มขึ้นตามยุคสมัย
ยุคแรก ใช้ผ้าขนสัตว์สีขาวพันตามยาว มีลัษณะรูปร่างเกือบครึ่งวงกลม ชายโค้งมนมีแถบโดยรอบ
ผู้ชาย สวมโตก้าทับผ้าเตี่ยว จนกระทั่ง 20 ปีก่อนคริสต์ศักราช โตก้าจะสวมทับตูนิก จนถึงกลางศตวรรษที่ 1 โตก้าถูกจำกัดเฉพาะพลเมืองโรมันเท่านั้น
เด็ก ชาย – หญิง ที่เกิดกับอิสระชน จะสวมโตก้าสีม่วง (โตก้าปรีเท็กซิตา) เด็กหญิงสวมถึงอายุ 12 ปี เด็กชายสวมถึงอายุ 14-16 ปี จากนั้นจะต้องสวมโตก้าวิริเลส ซึ่งมีสีขาวใช้สำหรับพลเมือง
สมัยจักรวรรดิ์ มีการพัฒนารูปร่างให้มีการพันสลับซับซ้อนมากขึ้น ได้แก่
ไซนัส (Sinus แปลว่า ผิวโค้งหรือรอยพับ) เป็นการพับซ้อนอยู่ในโตก้า รอยพับซ้อนเกิดจาการม้วนเป็นรอยพับหลวม ๆ ใช้เหวี่ยงข้ามไหล่ไปทางด้านหลังแล้ววกกลับมาใต้วงแขนขวา แล้วคลี่รอยพับออกปล่อยให้ตกลงมาจถึงหัวเข่าเหมือนกับผ้ากันเปื้อนที่พันไว้รอบตัว (มักใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระเป๋าเพื่อห่อสิ่งของ หรือดึงรอยพับมาคลุมศรีษะเวลาไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อขยายไซนัสให้มีขนาดใหญ่ขึ้นก็นำอุมโบเข้ามาใช้แทน)
อุมโบ (Umbo หมายถึง ปม) เกิดจากการดึงกลุ่มผ้าจาส่วนแรกของโตก้า ที่ทอดลงมาบนพื้นตามแนวตั้งแต่มองไม่เห็นมายังไหล่ อุมโบอาจเย็บสอยหรือกลัดเข็มเพื่อยึดให้เข้าที่ ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่ง

เครื่องแต่งกายประเพณีโรมัน 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ.400
ส่วนประกอบเครื่องแต่งกาย
ผู้ชาย
เสื้อผ้า
ผ้าเตี่ยว ภาษาละตินเรียก ซุบลิการ์ (Subbigar) เป็นชุดชั้นในสำหรับผู้ชายชั้นกลางและชั้นสูง และเป็นชุดทำงานของทาส
ตูนิก ชาวโรมันจะสวมตูนิกยาวลงมาจรดเข่า มีแขนสั้น (ลักษณะเป็นรูปตัว T) ชนชั้นสูงใช้เป็นชุดชั้นในหรือชุดนอน คนจนใช้ตูนิกคาดเข็มขัดเป็นเครื่องแต่งกายปกติ
- การตัดตูนิกให้ด้านหน้าสั้นกว่าด้านหลัง
- กรรมกรและทหาร สมตูนิกแบบสั้นเต่อ
- หากอากาศหนาวจะสวมใส่ตูนิกหลายชั้น
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่สาม ตูนิกมีความยาวขึ้นจนปิดช่วขาตอนล่างไปจนถึงหน้าแข้ง ซึ่งทหารและผู้ชายจะสวมตูนิกสั้น
เสื้อผ้าคลุมชั้นนอก
ผ้าห่มกับเสื้อคลุมสั้นใช้เป็นเสื้อผ้าภายนอกเมื่ออากาศหนาว และทำขึ้นทั้งมีหมวกครอบศีรษะและไม่มีหมวกครอบ ซึ่งที่สำคัญ ๆ อ้างไว้ คือ
ปีนูลา (Paenula) เป็นผ้าห่มทำด้วยขนสัตว์หนา ด้านหน้าเป็นครึ่งวงกลมมีหมวก
ลาเซร์นา (Lacerna) เป็นผ้าห่มสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุมมนและมีหมวก
ลีนา (Laena) เป็นผ้ารูปวงกลมที่พับจนกาลายเป็นครึ่งวงกลม ใช้พาดไหล่สองข้างและกัดเข็มยึดไว้ทางด้านหน้า
เบียร์รุส (Birrus) หรือ เบอร์รุส (Burrus) มีลักษณะคล้ายเสื้อคลุมพอนโช (Poncho) ของขาวแมกซิกัน ที่ใช้ผ้าทั้งผืนมาตัดเป็นช่องไว้ตรงกลางให้สอดศรีษะเข้าไปได้
ปาลูดาเมนตุม (Paludamentum) ผ้าห่มสีขาวหรือสีม่วงผืนใหย๋คล้าย ๆ กับคลามีส ของจักรพรรดิหรือแม่ทัพชาวกรีก

ผม ผู้ชายมักตัดผมสั้น บางครั้งเหยียดตรง บางสมัยนิยมผมหยิก
หมวก รูปทรงคล้ายหมวกแบบกรีก (เปตาโซส ผ้าคลุมศรีษะ หรือหมวกแก๊ปปลายแหลม)

รองเท้า โซลิ (Solae) รองเท้าสาน
แซนดาลิส (Samdalis) รองเท้าบู๊ต
ซอกคุส (Soccus) รองเท้าคล้ารองเท้าแตะแต่สูงขึ้นไปถึงข้อเท้า
อัญมณี ผู้ชายโรมันนิยมสวมแหวน

ผู้หญิง
เสื้อผ้า
เสื้อผ้าชั้นใน ประกอบด้วย
ซุบลิกาเรีย (Subbigaria) ได้แก่ ผ้าเตี่ยว
สโตรฟิอุม (Strophium) ได้แก่ แถบผ้า ที่ใช้รองรับเต้านม
ตูนิก เป็นเครื่องแต่งกายหลักของหญิงโรมัน มีลักษณะคล้ายไกตึนของกรีกและมีความยาวถึงข้อเท้าหรือจรดพื้น มักสวมสองชั้นโดยชั้นนอกทับชั้นในเมื่อเวลาออกนอกบ้าน
เสื้อผ้าคลุมชั้นนอก
ปุลลา ผ้าคลุมไหล่ใช้พัน (ตรงกันข้ามกับฮิมัตติออนของชาวกรีก)
เสื้อผ้าที่บอกฐานะทางสังคมของผู้หญิง
สโตลา เป็นเสื้อผ้าที่ใช้สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้วและเป็นไท
ผ้าคลุมหน้า (Vetta)
วิตตา (Vitta) เป็นแถบผ้าขนสัตว์ที่มัดรวมผม เป็นเครื่องแต่งกายหญิงที่มีสามี
ตูตูลุส ทรงผมสำหรับแม่ใหญ่ เป็นการดึงผมจากกลางศรีษะขึ้นไปแล้วใช้วิตตารวบไว้กลายเป็นกรวยคล้าย ๆ กับเครื่องแต่งศรีษะของผู้หญิงชาวอิทรัสกัน
รินซินิอุม (Rincinium) เป็นเครื่องแต่งกายสำหรับไว้ทุกข็ เข้าใจว่ามีสีเข้มแต่ไม่ทราบรูปทรงที่แน่นอนชัดเจน
โตก้า ผู้หญิงที่หย่าจากสามีจะไม่ได้รับอนุญาตให้สวมสโตลาหรือวิตตาแต่จะต้องสวมโตก้าเรียบ ๆ แทน