ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
Faculty of Industrial Education at Rajamangala University of Technology Nakhon.
ขนิษฐา ดีสุบิน
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ด้านพฤติกรรมทางการเรียน ด้านเจตคติที่มีต่ออาจารย์ผู้สอนและสถานศึกษา ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนและเพื่อนต่างเพศ และด้านการใช้เวลาว่าง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร นักศึกษากลุ่ม ปคพ. และ นักศึกษากลุ่ม ทคพ.ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2554 จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบตรวจรายการ (Check List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าสถิติพื้นฐาน T-test, F-test ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ระดับเกรดเฉลี่ยแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมทางการเรียนและนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่มีระดับชั้นปีแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
Abstract
This research is focus on studying and comparing five factors which have an effect on the learning achievement composing of department computer of engineering in Faculty of Industrial Education at Rajamangala University of Technology Phra Nakhon , learning behavior, attitude about instructor and university, classmate relationship and how to utilize free time. The samples used in this study were one year students to four year of department computer engineering. in Faculty of Industrial Education at Rajamangala University of Technology Phra Nakhon And student group CP-5N and CP-N are Enrolled in the study 2554 academic year, 143 people. T-test and F-test are used to analyze this information.
The result shows that the opinion of students who have different GPA about factors affecting the learning achievement is different in statistical significance at 0.05 degree only in learning behavior factor. Moreover, the different class is not affected to student opinion about all factors affecting the learning achievement.

Keyword : Learning Achievement, Student in computer of Engineering.

บทนำ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาแบบองค์รวม โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพของคนและสภาพแวดล้อมทางสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบมีประสิทธิภาพ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถจำแนกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1) การพัฒนาระดับชาติ มุ่งพัฒนาคนในภาพรวมเพื่อให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้ เป็นพลเมืองดี มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพสูง และมีความรับผิดชอบต่อสังคม การพัฒนาจึงคำนึงถึงการพัฒนาด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านแรงงาน เป็นสำคัญ 2) การพัฒนาระดับองค์กร มุ่งพัฒนาคนให้เกิดความเชี่ยวชาญสามารถทำงานให้องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงและพร้อมกับการขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และเน้นการพัฒนาทางด้านบูรณาการระหว่างการพัฒนาบุคคล การพัฒนาอาชีพและการพัฒนาองค์กร เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาจากการเรียนรู้ของบุคคลไปสู่ทีมการเรียนรู้ และองค์กรแห่งการเรียนรู้ไปพร้อมกัน 3) การพัฒนาระดับบุคคล มุ่งพัฒนาคนให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถ และประสิทธิภาพในการทำงานให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้ เป็นสมาชิกระดับครอบครัว องค์กร สังคมและประเทศชาติ (จารุพงศ์ พลเดช. 2551) จะเห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ คือ การพัฒนามนุษย์ จุดประสงค์สำคัญของการพัฒนามนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะและพฤติกรรมให้เป็นไปในทางที่สนับสนุน และเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศชาติโดยส่วนรวม ซึ่งในการพัฒนาบุคคลไปในทิศทางใดนั้นขึ้นกับรากฐานหลายประการเช่น อิทธิพลการอบรมเลี้ยงดูและความสัมพันธ์กันในครอบครัว อิทธิพลทางด้านการศึกษา ได้แก่ วิชาความรู้ ครูอาจารย์ เพื่อน ตลอดจนภาวะแวดล้อมอื่น ๆ ในสังคม (มันทนา เพ็งนู. 2522 : 2) แต่เนื่องจากสภาพปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบันเป็นยุคของการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน อารยธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมตะวันตก ที่เป็นค่านิยมในหมู่เยาวชนไทย ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายในสังคมไทย เช่น การติดเกมอินเตอร์เน็ต การหนีเรียน การทะเลาะวิวาท การพนัน การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งเป็นปัญหาของสังคมเสื่อม การที่จะทำให้เยาวชนไทยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพในอนาคตควรเริ่มต้นมาจากการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว เพราะการอบรมเลี้ยงดูของพ่อ แม่ ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพของลูกทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่เนื่องจากสภาพสังคมไทยกำลังพัฒนาไปสู่วัตถุนิยม และสังคมเมือง ชีวิตของคนต้องทำงานแข่งขันกัน สภาพชีวิตครอบครัวมีความล้มเหลวมากขึ้น ทำให้ครอบครัวต้องสูญเสียหน้าที่บางประการไป เช่น การอบรมดูแลเอาใจใส่ต่อสมาชิกในครอบครัว จะเห็นว่าปัจจุบันสถาบันการศึกษาได้เข้ามามีบทบาทแทนสถาบันครอบครัว ครูและเพื่อน จึงกลายมาเป็นบุคคลรอบข้างที่มีอิทธิพลสำคัญต่อพฤติกรรมและปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งสถาบันการศึกษาเป็นสังคมหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการผลิตกำลังคนที่มีความรู้และประสิทธิภาพอันจะเป็นกำลังสำคัญ ในการพัฒนาประเทศต่อไป โดยสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาต่าง ๆ นอกจากจะให้ความรู้ทางด้านวิชาการแก่ผู้เรียนแล้วยังต้องส่งเสริมดูแลทางสังคม อารมณ์ ทัศนคติในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมของผู้เรียนด้วย
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ศูนย์เทเวศร์) เป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษา เป็นสถาบันที่ผลิตครูช่างอุตสาหกรรม มาเป็นเวลายาวนาน เปิดรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาโดยการสอบคัดเลือกจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และจากระบบการคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในสถานศึกษา มีพื้นฐานครอบครัวและสภาพแวดล้อมทางสังคมที่แตกต่างกันออกไป เมื่อต้องมาใช้ชีวิตร่วมกันภายในมหาวิทยาลัย นักศึกษาจึงต้องมีการปรับตัวในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเรียน สังคมเพื่อนฝูง การใช้จ่าย การใช้เวลาว่าง เป็นต้น และการที่นักศึกษาต้องมีการปรับตัวในด้านต่าง ๆ อาจทำให้เกิดปัญหาแก่นักศึกษาได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งจำเป็นที่สถานศึกษาต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือ ดูแลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะในสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่มีนักศึกษาหญิงเข้ามาศึกษาเป็นจำนวนมาก ในส่วนผลการเรียนหรือคะแนนของนักศึกษา ก็เป็นตัวกำหนดการสำเร็จการศึกษาและเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถในการศึกษาขั้นสูงต่อไป ถ้านักศึกษาได้คะแนนไม่ถึงที่เกณฑ์ที่กำหนด นักศึกษาก็จะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเปล่าทางการศึกษา เนื่องจากรัฐเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษามากกว่าผู้เรียน (พรนภา บรรจงกาลกุล : 2539)
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ( ศูนย์เทเวศร์) โดยผู้วิจัยมุ่งที่จะวิเคราะห์ปัจจัยใน 5 ด้าน คือ นิสัยทางการเรียน เจตคติที่มีต่ออาจารย์ผู้สอน ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนและเพื่อนต่างเพศ การใช้เวลาว่างเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความสนใจและมีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ และเข้าใจต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการพิจารณาหาวิธีการที่เหมาะสมในการช่วยเหลือดูแลและแก้ไขปัญหาเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาในอนาคต
2. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
2.1 เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
2.2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
2.3 เพื่อวิเคราะห์ จำแนกปัจจัยที่เกี่ยวกับการเรียนของกลุ่มนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ
3. สมมติฐานของการวิจัย
3.1 นักศึกษาที่ระดับเกรดเฉลี่ยแตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกัน
3.2 นักศึกษาแต่ละชั้นปีมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน
4. ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาเฉพาะปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม ปคพ. และ ทคพ. ที่กำลังศึกษาอยู่ ในสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ศูนย์เทเวศร์) เท่านั้น
5. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 1 – 4 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษา 2554 จำนวน 143 คน
6. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามแบบตรวจคำตอบและเติมคำเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา
ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามแบบตรวจคำตอบ เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของครอบครัว
ส่วนที่ 3 เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
6.1 ศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากเอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนำมาเป็นขอบเขตของเนื้อหาในการสร้างแบบสอบถาม
6.2 ศึกษาค้นคว้าแนวทางในการสร้างแบบสอบถามจากตำราและเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวิจัยแล้วนำมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับคำจำกัดความของงานวิจัย
6.3 สร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ปัจจัยด้านพฤติกรรมทางการเรียน ปัจจัยด้านเจตคติที่มีต่ออาจารย์ผู้สอนและสถานศึกษา ปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนและเพื่อนต่างเพศ และปัจจัยด้านการใช้เวลาว่าง
6.4 นำแบบสอบถามที่สร้างเสร็จแล้วทำการทดสอบแบบสอบถาม (Pre-Test) ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 79 ฉบับ และคัดเลือกแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วนได้ 70 ฉบับ (เนื่องจากแบบสอบถามบางฉบับผู้ตอบแบบสอบถามไม่ตอบข้อถามบางข้อทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน) เพื่อนำไปหาคุณภาพอำนาจจำแนกด้วยการทดสอบ t -test ระหว่างกลุ่มที่ได้คะแนนสูงและคะแนนต่ำ ร้อยละ 25
7. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยแจกแบบสอบถาม จำนวน 143 ฉบับโดยชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการวิจัยและขอความร่วมมือจากผู้ตอบแบบสอบถามในการตอบแบบสอบถามให้ตรงกับความเป็นจริงและส่งแบบสอบถามคืนหลังจากตอบแบบสอบถามเสร็จ
8. ผลการวิจัย
8.1 ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ดังนี้
8.1.1 จำแนกตามเพศ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศชาย จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 67.13 ที่เหลือเป็นนักศึกษาเพศหญิง จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 32.87
8.1.2จำแนกตามอายุโดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่มีอายุ 20 ปี จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 27.97 รองลงมาเป็นนักศึกษาที่มีอายุ 19 ปี จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ23.78 นักศึกษาที่มีอายุ 18 ปี จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 13.99 นักศึกษาที่มีอายุ 21 ปี คิดเป็นร้อยละ 12.59 นักศึกษาที่มีอายุ 23 ปี จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 10.49 นักศึกษาที่มีอายุ 22 ปี คิดเป็นร้อยละ 9.09 นักศึกษาที่มีอายุ 24 ปี คิดเป็นร้อยละ 1.39 และน้อยที่สุดเป็นนักศึกษาที่มีอายุ 25 ปี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.70
8.1.3 จำแนกตามระดับชั้นปี โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 2 จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 42.66 รองลงมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 35.66 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 13.99 และน้อยที่สุดเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 7.69
8.1.4จำแนกตามประเภทกลุ่มนักศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษากลุ่ม ปคพ.จำนวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 60.84 และที่เหลือเป็นนักศึกษากลุ่ม ทคพ.จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 39.16
8.1.5จำแนกตามวิธีการเข้าศึกษาต่อ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยวิธีสอบตรง จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 55.94 และที่เหลือเป็นนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อโดยวิธีโควต้า จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 44.06
8.1.6จำแนกตามเกรดเฉลี่ยสะสม โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ 2.01-2.50 จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 41.26 รองลงมาเป็นนักศึกษามีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ 2.51-3.00 จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 37.06 นักศึกษามีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ 3.01-3.50 จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 11.19 และน้อยที่สุดนักศึกษามีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ 1.51-2.00 จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 10.49
8.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัวนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถาม ดังนี้
8.2.1จำแนกตามภูมิภาคที่สำเร็จการศึกษาโดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากภาคใต้ จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 55.94 รองลงมาเป็นนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากภาคอีสาน จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 20.98 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากภาคกลาง จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 9.79 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากภาคตะวันตก จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 4.89 และน้อยที่สุดเป็นนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากภาคเหนือและภาคตะวันออก ภาคละ 6 คน คิดเป็นร้อยละ 4.20
8.2.2จำแนกตามการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามาก่อน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่ไม่เคยเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามาก่อน จำนวน 141 คน คิดเป็นร้อยละ 98.60 และที่เหลือเป็นนักศึกษาที่เคยเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามาก่อน จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.40
8.2.3จำแนกตามสถานภาพสมรสของบิดา-มารดา โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่มีสถานภาพสมรสของบิดา-มารดาที่อยู่ร่วมกัน จำนวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 94.41 รองลงมาเป็นนักศึกษาที่มีสถานภาพสมรสของบิดา-มารดาที่แยกกันอยู่โดยภาระหน้าที่การงาน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 3.50 นักศึกษาที่มีสถานภาพสมรสของบิดา มารดา หย่าร้าง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.40 และน้อยที่สุดเป็นนักศึกษาที่มีสถานภาพสมรสของบิดา มารดาที่บิดาถึงแก่กรรม จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.69
8.2.4จำแนกตามรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ส่วนใหญ่นักศึกษาที่มีรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,001-15,000 บาท จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 20.98 รองลงมาเป็นนักศึกษาที่มีรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน อยู่ในช่วง 40,001-45,000 บาท จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 13.29 นักศึกษาที่มีรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน อยู่ในช่วง 30,001-35,000 บาท จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 11.19 นักศึกษาที่มีรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน อยู่ในช่วง 20,001- 25,000 บาท จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 10.49 นักศึกษาที่มีรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน อยู่ในช่วง 25,001-30,000 บาท จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 9.79 นักศึกษาที่มีรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน อยู่ในช่วง 35,001-40,000 บาท จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 9.09 นักศึกษาที่มีรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน อยู่ในช่วง 15,001-20,000 บาท จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 8.39 นักศึกษาที่มีรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน อยู่ในช่วง 5,000-10,000 บาท จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 6.99 และน้อยที่สุดเป็นนักศึกษาที่มีรายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน มากกว่า 45,000 บาท จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.10
8.2.5จำแนกตามจำนวนพี่น้องที่กำลังศึกษาอยู่ โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่มีจำนวนพี่น้องที่กำลังศึกษาอยู่ 2 คน จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 68.53รองลงมาเป็นนักศึกษาที่มีจำนวนพี่น้องที่กำลังศึกษาอยู่ 1 คน จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 22.38 นักศึกษาที่มีจำนวนพี่น้องที่กำลังศึกษาอยู่ 3 คน จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 5.59 และน้อยที่สุดเป็นนักศึกษาที่มีจำนวนพี่น้องที่กำลังศึกษาอยู่ 4 คนขึ้นไป จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 3.50
8.3 ผลการศึกษาระดับความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ทั้ง 5 ด้าน ดังนี้
8.3.1ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม พบว่า โดยรวมนักศึกษามีระดับความคิดเห็นปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.34 โดยข้อมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก คือ ปัญหาจากการเดินทางมาเรียน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดอยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลาง คือ ปัญหาจากสภาพแวดล้อมของที่พักอาศัย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.23
8.3.2ด้านพฤติกรรมทางการเรียน พบว่า โดยรวมนักศึกษามีระดับความคิดเห็นปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.24 โดยข้อมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก คือ ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานเป็นกลุ่ม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดอยู่ในระดับความคิดเห็นน้อย คือ โอกาสสำเร็จการศึกษาในระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.87
8.3.3ด้านเจตคติที่มีต่ออาจารย์ผู้สอนและสถานศึกษา พบว่า โดยรวมนักศึกษามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เฉลี่ยเท่ากับ 3.38 โดยข้อมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก คือ มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดอยู่ในระดับความคิดเห็นน้อย คือ อุปกรณ์เครื่องมือในห้องปฏิบัติการมีความทันสมัย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.36
8.3.4ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนและเพื่อนต่างเพศ พบว่า โดยรวมนักศึกษามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 โดยข้อมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ นักศึกษามีเพื่อนสนิทที่สามารถปรึกษาเรื่องการเรียน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก คือ นักศึกษาต้องทำตามความเห็นส่วนใหญ่ของกลุ่ม แม้ว่าตนเองจะไม่เห็นด้วยก็ตาม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ
3.45
8.3.5ด้านการใช้เวลาว่าง พบว่าโ ดยรวมนักศึกษามีระดับความคิดเห็น ปานกลางค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.03 โดยข้อมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก คือ เข้าร่วมกิจกรรมที่ทางคณะ/ มหาวิทยาลัย ขอความร่วมมือ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดอยู่ในระดับความคิดเห็นน้อย คือ การสังสรรค์กับเพื่อนร่วมชั้น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.84
8.4 ผลการทดสอบสมมติฐาน นักศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่ระดับเกรดเฉลี่ยแตกต่างกัน จะมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมทางการเรียน ส่วนอีก4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านเจตคติที่มีต่ออาจารย์ผู้สอนและสถานศึกษา ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนและเพื่อนต่างเพศ และด้านการใช้เวลาว่างพบว่า มีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่แตกต่างกัน ดังนี้
8.4.1ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ของความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่มีระดับเกรดเฉลี่ยแตกต่างกัน เป็นรายคู่ ด้วยวิธี Sheffe พบว่า นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 1.51-2.00 มีความคิดเห็นแตกต่างจากนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 3.01-3.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 3.01-3.50 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่านักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 1.51-2.00
8.4.2ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ของความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่มีระดับเกรดเฉลี่ยแตกต่างกัน เป็นรายคู่ ด้วยวิธี Sheffe พบว่า นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 2.01-2.50 มีความคิดเห็นแตกต่างจากนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย3.01-3.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 3.01-3.50 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่า นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 2.01-2.50
8.5 ผลการทดสอบสมมติฐาน นักศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ แต่ละชั้นปีมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันพบว่า นักศึกษาที่มีระดับชั้นปีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านพฤติกรรมทางการเรียน ด้านเจตคติที่มีต่ออาจารย์ผู้สอนและสถานศึกษา ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนและเพื่อนต่างเพศ และด้านการใช้เวลาว่าง ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
9. อภิปรายผลการวิจัย
9.1 จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ทั้ง 5 ด้าน สรุปผลการวิเคราะห์และอภิปรายผลดังต่อไปนี้
9.1.1ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม จากผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่า การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคมไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของนักศึกษาได้เท่าที่ควร จากข้อถามรายข้อจะเห็นได้ว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก คือ อุปสรรคการเดินทางมาเรียน เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัดจะต้องพักอาศัยอยู่ในหอพักเอกชนภายนอกมหาวิทยาลัย สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลาง คือ ปัญหาจากเพื่อนข้างห้อง และปัญหาจากสภาพแวดล้อมของที่พักอาศัย ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
9.1.2ด้านพฤติกรรมทางการเรียน จากผลการวิจัย พบว่า โดยรวมนักศึกษามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่า พฤติกรรมทางการเรียนของนักศึกษา ไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของนักศึกษาได้เท่าที่ควร คือ นักศึกษามีพฤติกรรมทางการเรียนที่ไม่เหมาะสม มีการพูดคุยกันกับเพื่อนในชั้นเรียนขณะอาจารย์สอน เผลอนั่งหลับขณะเรียนติดตามบทเรียนในห้องเรียนไม่ทัน ไม่สนใจเรียนเมื่ออาจารย์สอนเกินเวลา มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานเป็นกลุ่ม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีวิชาเรียนที่ยังเรียนไม่ทันตามโปรแกรมการเรียนที่สาขาวิชาจัดให้ได้ครบทุกวิชา ส่งผลให้โอกาสในการสำเร็จการศึกษาในระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด มีน้อย ส่วนข้อถามที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก คือ ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานเป็นกลุ่ม เมื่อมีงานกลุ่มเพื่อนๆ มักจะชวนนักศึกษาเข้ากลุ่มด้วยเสมอ นำตำราอุปกรณ์การเรียนมาครบทุกวิชา
9.1.3ด้านเจตคติที่มีต่ออาจารย์ผู้สอนและสถานศึกษา จากผลการวิจัย พบว่าโดยรวมนักศึกษามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก แสดงว่า นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่ออาจารย์ผู้สอนและสถานศึกษา จากข้อถามรายข้อ เห็นได้ว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ มีความตั้งใจสอนและเลือกใช้สื่อการสอนสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี การเอาใจใส่นักศึกษาขณะสอนในชั้นเรียนอย่างทั่วถึงการกำหนดปริมาณเนื้อหา วิชากับเวลาที่เรียนมีความเหมาะสม เกณฑ์การวัดผลการสอบของอาจารย์ชัดเจน เปิดโอกาสให้ซักถามอย่างอิสระและสนใจตอบข้อถามของนักศึกษาได้ชัดเจนห้องเรียนมีขนาดเหมาะสม มีสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องเรียนเพียงพอ และมีบุคลากรที่มีความรู้สามารถให้คำแนะนำการทำการทดลอง ส่วนข้อถามที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีการสร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้นักศึกษาอยากจะรู้ในเรื่องที่จะเรียนก่อน มีอุปกรณ์เครื่องมือในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ อุปกรณ์เครื่องมือในห้องปฏิบัติการมีความทันสมัย เครื่องมือในห้องปฏิบัติการจัดไว้เป็นสัดส่วนไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน และการเบิกจ่ายวัสดุเครื่องมือ ทำได้รวดเร็วสามารถปฏิบัติงานได้เสร็จทันกำหนด แต่เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องมือที่มีอยู่อย่างจำกัด เริ่มมีการชำรุดเสียหายจากการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน เครื่องมือเริ่มไม่ทันสมัยและมีไม่ครบตามเนื้อหาทฤษฎีของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปซึ่งเครื่องมือที่มีความทันสมัยต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อค่อนข้างมาก แต่งบประมาณที่ได้รับมีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้เครื่องมือไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษา การขอเบิกใช้เครื่องมือนอกเวลาเรียนทำได้ลำบากเพราะเครื่องมือบางชนิดจะต้องถูกใช้งานในห้องปฏิบัติการช่วงเวลาที่มีการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นอีก และการเบิกจ่ายวัสดุ/เครื่องมือ บางชนิดต้องขอเบิกจากแผนกพัสดุ ทำให้เกิดความล่าช้าในการเบิก
9.1.4ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนและเพื่อนต่างเพศ จากผลการวิจัย พบว่าโดยรวมนักศึกษามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก แสดงว่า นักศึกษามีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเพื่อนและเพื่อนต่างเพศ จากข้อถามรายข้อ เห็นได้ว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ นักศึกษามีเพื่อนสนิทที่สามารถปรึกษาเรื่องการเรียน ส่วนข้อถามที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก คือ นักศึกษามีเพื่อนสนิทที่สามารถปรึกษาเรื่องส่วนตัว นักศึกษารู้สึกเป็นที่ยอมรับของเพื่อน นักศึกษาต้องทำตามความเห็นส่วนใหญ่ของกลุ่มแม้ว่าตนเองจะไม่เห็นด้วยก็ตาม และมีปัญหากับเพื่อนพิเศษที่เป็นเพศตรงข้าม
9.1.5ด้านการใช้เวลาว่าง จากผลการวิจัย พบว่า โดยรวมนักศึกษามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่า การใช้เวลาว่างของนักศึกษาไม่เหมาะสมเท่าที่ควร จากข้อถามรายข้อจะเห็นได้ว่า ข้อถามที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความพึงพอใจปานกลาง คือ ทำงานที่ได้รับมอบหมายส่งอาจารย์ ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาแล้วในชั้นเรียน อ่านหนังสือและจดบันทึกย่อเรื่องที่จะเรียนล่วงหน้า ฝึกทำแบบทดสอบทักษะเพิ่มพูนความรู้ หาข้อมูลเพิ่มเติมความรู้ในห้องสมุด ขอคำปรึกษาจากอาจารย์เพื่ออธิบายเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ ข้อถามข้างต้นล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่นักศึกษาจะต้องกระทำให้มาก ส่วนข้อถามที่มีค่าเฉลี่ยมากอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก คือการเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางคณะฯ/มหาวิทยาลัย ขอความร่วมมือ และติวหนังสือร่วมกับเพื่อน
9.2ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาทั้ง 5 ด้าน พบว่า
9.2.1นักศึกษาที่มีระดับเกรดเฉลี่ยแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกัน 1 ด้าน ได้แก่ด้านพฤติกรรมทางการเรียน ส่วนอีก 4 ด้านพบว่า มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่แตกต่างกัน
9.2.2นักศึกษาที่มีระดับชั้นปีแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน
9.3ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่มีระดับเกรดเฉลี่ยแตกต่างกันเป็นรายคู่ พบว่า นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย3.01-3.50 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่านักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 2.01-2.50 และนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 1.51-2.00 จะเห็นได้จากการที่มีผลการเรียนดีจะมีความตึงเครียดในด้านต่างๆ น้อยลง ซึ่ง Morse (1958) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจว่า สิ่งใดก็ตามที่สามารถลดความตึงเครียดของมนุษย์ให้น้อยลง และความตึงเครียดนี้เป็นผลจากความต้องการที่ได้รับการตอบสนอง ความตึงเครียดจะน้อยลงหรือหมดไป ทำให้เกิดความพึงพอใจขึ้นได้ซึ่งผู้ที่มีผลการเรียนดีจะมีความรู้สึกว่าได้รับการตอบสนองหรือความพึงพอใจมากกว่านักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ดีนั่นเอง
10. เอกสารอ้างอิง
[1]ชัยวัฒน์ แน่นอุดร. “การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ สาขาช่างไฟฟ้าตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้บริหารกรณีศึกษาโรงเรียนเกษมโปลีเทคนิค”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2547
[2]ดวงกมล มาลารัตน์. “การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบทางด้านที่ไม่ใช่สติปัญญากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนายเรืออากาศ”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2534.
[3]เติมศักดิ์ คทวณิช. “ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนและวิธีเผชิญปัญหาทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2540.
[4]ทัศนีย์ ศิริวัฒน์. “การศึกษาปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2533.
[5]บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. รวมบทความ การวิจัย การวัดและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศรีอนันต์, 2543.
[6]ปาริชาติ อุตตมะบูรณ. “การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์”.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2542.
[7]พรนภา บรรจงกาลกุล. “การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่เกี่ยวกับการเรียนของกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ ในสถาบันผลิตครู สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
[8]พิชัย เพ่งพันธ์พัฒน์. “ปัญหาการเรียนการสอนวิชาช่างอุตสาหกรรมของแผนกช่างไฟฟ้ากำลังระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,2529.
[9]มันทนา เพ็งนู. “พฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในเขตการศึกษา 5”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2522.
[10]ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น, 2538.
[11]ศรัญญา สุทธิมาลา. “การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2542.
[12]Bloom, Benjamin S. and Others. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. NewYork : McGraw-Hill, Inc., 1971.
[13]Morse, Nancy C. “Satisfaction in the White Collar Job.” Michigan : University of Michigan Press, 1958.
[14] Norman E. Gronlund. Measurement and Evaluation in Teaching. 5th ed. NewYork : Macmillan, 1985.

โครงการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร”
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
(Executive Summary)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตครูช่างอุตสาหกรรม มีระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อทั้งโดยวิธีโควตา และการสอบตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) ที่มีการเรียนการสอนที่ ศูนย์เทเวศร์ มีการเปิด 6 สาขาวิชา มีสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ในแต่ละปีการศึกษามีผู้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาหลักสูตรกำหนด 3 ปี และ 5 ปี แต่ก็มีจำนวนนักศึกษาในรุ่นเดียวกันที่ไม่สามารถจบได้ตามกำหนด ทำให้มีนักศึกษาตกค้างเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง และนักศึกษากลุ่มนี้มักมีปัญหาเรื่องผลการเรียนซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถในการศึกษาได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด ก็จะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาของสถาบันการศึกษานั้นๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเปล่าทางการศึกษา
การศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจึงเป็นวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ โดยผู้วิจัยมุ่งที่จะศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยใน 5 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ด้านพฤติกรรมทางการเรียน ด้านเจตคติที่มีต่ออาจารย์ผู้สอนและสถานศึกษา ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนและเพื่อนต่างเพศ และด้านการใช้เวลาว่าง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way Analysis of Variance)
ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาทั้ง 5 ด้าน พบว่า นักศึกษาที่มีระดับเกรดเฉลี่ยแตกต่างกันจะมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกัน 1 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมทางการเรียน ส่วนอีก 4 ด้าน พบว่า มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Sheffe พบว่า นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 3.01 – 3.50 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่านักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 2.01 – 2.50 และ 1.50 – 2.00 การศึกษาวิจัยยังพบว่า ความก้าวหน้าเชิงเทคโนโลยี ส่งผลกระทบให้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเริ่มมีความล้าสมัย และเริ่มชำรุดเนื่องจากมีอายุการใช้งานมานาน

จิตวิทยาการเรียนรู้

เมื่อทราบถึงความสัมพันธ์ของการรับรู้ ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพแล้ว ผู้บรรยายจึงต้องเป็นผู้กระตุ้น หรือเสนอสิ่งต่าง ๆ ให้ผู้เรียน เพราะการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในตัว ผู้เรียนซึ่ง จำเนียร ช่วงโชติ (2519) ให้ความหมายไว้ว่า "…การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเกิดจากประสบการณ์ที่มีขอบเขตกว้าง และสลับซับซ้อนมากโดยเฉพาะในแง่ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม…"
วรกวิน (2523: 56-60) การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหมายถึง กิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก และสามารถสังเกตและวัดได้ การศึกษากระบวนการเรียนรู้จึงต้องศึกษาเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไปในลักษณะที่พึงประสงค์ การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ จะต้องมีระบบระเบียบ วิธีการ และอาศัยความรู้ต่าง ๆ เช่น จิตวิทยา การศึกษา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ กระบวนการสื่อความและสื่อความหมายและสื่อความหมาย การพิจารณาการเรียนรู้ของผู้เรียนจำเป็นต้องสังเกตและวัดพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ นำไปสู่การกำหนดทฤษฎี การเรียนรู้ต่าง ๆ ทฤษฎีกระบวนการกลุ่มพฤติกรรมร่วมกันระหว่างครูและผู้เรียนรวมทั้งวิธีการจัดระบบการเรียนการสอนที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ไปตามวัตถุประสงค์
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
การเรียนรู้ของคนเรา จากไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้
"…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception) แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…"
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1. ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3. การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
4. การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ (1) ประสบการณ์ (2) ความเข้าใจ และ (3) ความนึกคิด
1. ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วย
ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ"
ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3. ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง

ทฤษฎีการรับรู้

การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
จากการวิจัยมีการค้นพบว่า การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75% จากการได้ยิน 13% การสัมผัส 6% กลิ่น 3% และรส 3%
การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า
เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้นก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้ ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อการสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด ดังคำกล่าวของ ฉลองชัย
สุรวัฒนบูรณ์ (2528) และ วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม (ม.ป.ป. : 125) ที่กล่าวว่า การที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์ การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้ โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัยที่ทำให้เกิดมโนภาพและทัศนคติ ดังนั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับรู้

นอกจากนี้ กระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย ซึ่ง Fleming (1984: 3) ให้ข้อเสนอแนะว่ามีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้องรู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าวคือ
1. โดยทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกรับรู้ดีกว่า มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน
2.ในการเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็นจริง
3. เมื่อมีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความมุ่งหมาย
กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530: 487) กล่าวถึง บทบาทของการรับรู้ที่มีต่อการเรียนรู้ว่า บุคคลจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี และมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการรับรู้และการรับรู้สิ่งเร้าของบุคคล นอกจากจะขึ้นอยู่กับตัวสิ่งเร้าและประสาทสัมผัสของผู้รับรู้แล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมของผู้รู้และพื้นฐานความรู้เดิมที่มีต่อสิ่งที่เรียนด้วย

เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน

การก้าวเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในสังคมยุคใหม่ เพื่อเตรียมคนรุ่นใหม่ที่จะต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีและนำเทคโนโลยีเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จึงจำเป็นต้องสร้างเยาวชนของชาติเพื่อเข้าสู่สังคมยุคใหม่โดยการจัดสภาพแวดล้อมใหม่ทางการศึกษาทั้งในด้านเนื้อหา สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังนั้นการบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ที่มีการบัญญัติไว้ในหมวด 9 ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการเรียนการสอนอย่างกว้างขวาง ซึ่งมุ่งเน้นให้เกิด “การสอนด้วยเทคโนโลยี” มากกว่า “การสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยี”

การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างครูและเทคโนโลยี ( Teacher and Technology: Making the Connection)
• การใช้เทคโนโลยีที่ดี ครูต้องมีวิสัยทัศน์ ด้านความสามารถในการใช้และเลือกใช้ให้ตรงตามโอกาส และสถานที่
• การฝึกอบรม เวลาในการสนับสนุน (just-in-time support) และเวลาในการฝึกประสบการณ์ ดังนั้นครูต้องมีแรงดลใจและความกล้าที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ
• การใช้เทคโนโลยีช่วยเปลี่ยนแปลงการสอนของครู
• การใช้ในลักษณะที่ครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher-centered) ครูต้องมีการฝึกฝนและปฏิบัติเพื่อให้มีความชำนาญในทักษะพื้นฐานหรือผนวกในการควบคุมกิจกรรมด้วยตนเอง
• การใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการสอนที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-centered) ต้องช่วยให้ผู้เรียนได้สืบค้น เกิดกิจกรรมที่มีความร่วมมือกัน โดยครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้แนะนำ โดยครูต้องมีความกระตือรือร้นในการใช้เทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้สนับสนุนการสอนได้หลายแบบ
• การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเพื่อร่วมงาน, ผู้บริหาร, ผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญในชุมชน
• การช่วยให้ครูใช้เทคโนโลยีอย่างได้ผลจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นใจที่จะยอมรับและนำไปใช้ให้เกิดผลจริงในอนาคต
• ขาดการลงทุนที่เพียงพอในการฝึกอบรมครูให้สามารถใช้เทคโนโลยีให้ประสบความสำเร็จในการสอน เพราะส่วนใหญ่จะใช้งบประมาณจำนวนมากในการเพิ่มฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์
อุปสรรคของการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีของครู
• เวลาของครู (Teacher Time) ครูต้องการเวลาสำหรับ
o เพื่อการทดลองกับเทคโนโลยีใหม่
o แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับครูอื่น ๆ
o การวางแผนและปรับปรุงแผนการสอนเพื่อใช้วิธีการใหม่ที่รวมการใช้เทคโนโลยี
o การเข้ารับการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติ
• การเข้าถึงและค่าใช้จ่าย (Access and Costs) ครูมีข้อจำกัดทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ และการเข้าถึง เนื่องจาก
o ค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการจัดซื้ออุปกรณ์ การเชื่อมต่อเครือข่าย และการฝึกอบรมเพื่อใช้เทคโนโลยี
o แหล่งเทคโนโลยีอยู่ไกลจากห้องเรียน
o อุปกรณ์ล้าสมัยและไม่สามารถรองรับการใช้งานโปรแกรมใหม่ ๆ
o บริการใหม่หรือเพิ่มเติมมีการบริการผ่านระบบโทรศัพท์และเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต
• วิสัยทัศน์หรือเหตุผลในการใช้เทคโนโลยี (Vision or Rationale for Technology use)
o โรงเรียนจะต้องมีการวางแผนทางเทคโนโลยี และสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนในการใช้เทคโนโลยีในหลักสูตรของโรงเรียน
o เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วจึงเป็นสิ่งที่ยากในการติดตามข้อมูล เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีได้ดี
o ครูขาดรูปแบบที่แสดงให้เห็นถึงระดับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีของตนเอง
• การฝึกอบรมและสนับสนุน (Tainting and Support)
o การลงทุนทางด้านการฝึกอบรมเพื่อการใช้เทคโนโลยีมีน้อยมากเมื่อเทียบกับการลงทุนทางด้านฮาร์แวร์และซอฟแวร์
o การฝึกอบรมทางเทคโนโลยีมุ่งที่การใช้งาน ขาดการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร
o หน่วยงานสนับสนุนและช่วยเหลือครูทางด้านเทคนิคที่ประจำในโรงเรียนมีน้อยมาก
• การประเมินการปฏิบัติงาน (Current Assessment Practices)
o การประเมินผลของผู้เรียนไม่สะท้อนถึงการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี
o ครูต้องการเห็นผลการเปลี่ยนแปลงโดยทันที
• ที่มา http://www.pochanukul.com/wp-content/uploads/2008/05/innotech.swf
• ที่มา http://www.pochanukul.com/?p=145
• ที่มา http://www.pochanukul.com/?p=144

เทคโนโลยีกับการเรียนรู้

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับ การลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา เราเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน แต่การให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนก็อาจหลงทางได้ ถ้าผู้บริหารสถานศึกษายึดถือการมีเทคโนโลยีเป็นจุดหมายปลายทางของการศึกษา แทนที่จะยึดถือผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นจุดหมาย ปรากฎการณ์ของการหลงทางจะพบเห็นในการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมทางระบบคอมพิวเตอร์ การมีเครือข่ายโยงเข้า Internet สะดวก ผู้เรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี และมีโอกาสใช้ได้เต็มที่ แต่ในบางสถานศึกษาผู้เรียนอาจใช้เทคโนโลยีไม่คุ้มค่า ขาดเป้าหมายในการเรียนรู้สาระสำคัญตามหลักสูตรวิชาต่าง ๆ และขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการทางปัญญาอย่างแท้จริง

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน มี 3 ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่ เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง (interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้น
การเรียนรู้ในลักษณะที่ 2 และ 3 เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ที่มีคุณค่ามหาศาล ซึ่ง แนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ มีดังนี้
• การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางปัญญา (Intellectual Skills) คือกระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ การรับรู้สิ่งเร้า (Stimulus), การจำแนกสิ่งเร้า จัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด(Concept), การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์หลักการ (Rule) ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive), การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive) และการสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (Generalization)
ระบบคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทางปัญญานี้ โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความคิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึกการนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
• การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้น เราสามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตร หาความรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme) ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สอนอาจจัดบัญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์และจาก Electronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ ทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะนำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้ที่ควรจะเป็นการจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
ปัจจัยพื้นฐานคือการสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสมรรถนะและจำนวนเพียงต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลาจะเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติมคือ
• ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ปัจจัยที่จะผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า คือการที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบ
การเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์และจากสื่อ Electronic เช่น จาก Web Sites เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการทำโครงงานอิสระสนองความสนใจ เป็นกิจกรรมที่ต้องฝึกปฏิบัติจาก Software สำเร็จรูป เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอรายงานด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
• ครูและผู้เรียนจัดทำระบบแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (Information Sources) เป็นตัวเสริมที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ครูและผู้เรียนควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับหลักสูตรหรือสนองความสนใจของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็น Software ชื่อของ Web Sites รวมถึงการลงทุนจัดซื้อ Software จากแหล่งจำหน่าย การจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญจัดทำ หรือจัดทำพัฒนาขึ้นมาเองโดยครูและนักเรียน
• สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Learning Resources Center) เป็นตัวชี้วัดสำคัญประการหนึ่งของศักยภาพของสถานศึกษาที่จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครูและผู้เรียน ปกติมักนิยมจัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด จนเกิดคำศัพท์ว่าห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) หรือ E – Library จะมีคุณประโยชน์ในการมีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าในวิทยาการสาขาต่าง ๆ ทั้งในลักษณะสื่อสำเร็จ เช่น Soft wares แถบบันทึก วีดิทัศน์ รวมถึงCD – Rom และ CAI หรือ ชื่อ Web Sites ต่าง ๆ ซึ่งควรจัดทำระบบ Catalog และดัชนี ให้สะดวกต่อการสืบค้น
• การบริการของกรมหรือหน่วยงานกลางทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ กรมต้นสังกัดหรือหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาด้วยการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ เช่น จัดทำเอกสารรายเดือนรายงาน Software ในท้องตลาด แจ้งชื่อ Web Sites ใหม่ ๆ พร้อมสาระเนื้อหาโดยย่อ จัดทำคลังข้อมูลความรู้ Knowledge Bank เพื่อการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ผ่านสื่อ Electronic หรือสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมเผยแพร่สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นประจำ นอกจากนี้การรวบรวมผลงานของครูและนักเรียนในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Best Practicesจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับครูและนักเรียนทั่วไปที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน
ในการจัดการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT นั้น ซึ่งการจัด T : Technology ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีงบประมาณก็จัดหาได้และสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นโดยไม่ยาก แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ I : Information หรือสารสนเทศ ที่จะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้ และขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย และสูญค่าคุณประโยชน์
ดังนั้นจึงมีความคาดหวังว่า ในอนาคตสถานศึกษา น่าจะได้พบกับความสมบูรณ์ ของระบบข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลายผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทคโนโลยี และได้พบผลงานของครูและผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนการสอน
ที่มา : http://anong07.multiply.com/journal/item/2

เทคโนโลยีกับการพัฒนาการเรียนการสอน

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา เราเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน แต่การให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนก็อาจหลงทางได้ ถ้าผู้บริหารสถานศึกษายึดถือการมีเทคโนโลยีเป็นจุดหมายปลายทางของการศึกษา แทนที่จะยึดถือผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นจุดหมาย ปรากฎการณ์ของการหลงทางจะพบเห็นในการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมทางระบบคอมพิวเตอร์ การมีเครือข่ายโยงเข้า Internet สะดวก ผู้เรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี และมีโอกาสใช้ได้เต็มที่ แต่ในบางสถานศึกษาผู้เรียนอาจใช้เทคโนโลยีไม่คุ้มค่า ขาดเป้าหมายในการเรียนรู้สาระสำคัญตามหลักสูตรวิชาต่าง ๆ และขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการทางปัญญาอย่างแท้จริง
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีกับการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมี 3 ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่ เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง (interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้น
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน ได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็น รูปแบบที่พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่อนสอน ในการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนในรูปแบบการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ข้อดีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. คอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และมีผลย้อนกลับมาได้เร็วทันที โดยไม่ต้องรอครูผู้สอน
2. การใช้สี ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหว เสียงดนตรี ซึ่งเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและดึงดูดใจผู้เรียนให้อยากเรียนรู้ ทำแบบฝึกหัดหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น
3. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะช่วยในการบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไปได้
4. การเก็บข้อมูลของเครื่องทำให้สามารถนำไปใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็น อย่างดี โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคน และแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
5. ลักษณะโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าสามารถเรียนไปได้ตามความสามารถของตน โดยสะดวกอย่างช้า ๆ โดยไม่ต้องอายผู้อื่น และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบผิด และผู้เรียนเรียนที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เนื่องจากปัจจุบันเราได้ใช้ระบบการสื่อสารทางด้านคอมพิวเตอร์ติดต่อหรือค้นคว้าด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา
6. เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของครู ในการควบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำออกมาใช้
ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. ใช้วิธีการเร้าความสนุกมากเกินไป ซึ่งบทเรียนบางบทเรียนที่เน้นความสนุก โดยนำเข้าไปแทรกในบทเรียน บางทีอาจจะไม่มีสาระต่อการเรียนรู้ก็ได้
2. การออกแบบโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนการสอนนั้น ยังพัฒนาไปได้ไม่มากนัก เมื่อเทียนกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ และยังไม่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
3. เนื้อหาไม่ตรงกับสาระวิชาหรือหลักสูตร ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่แท้จริง ที่จะสามารถนำมาสอนได้
4. การที่จะให้ครูผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา ความชำนาญและความสามารถเป็นพิเศษ ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของครูผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
5. ผู้เรียนบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
6. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวนมาก ไม่มีความเป็นธรรมชาติเหมือนอยู่ในห้องเรียน
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ยังมีผลกระทบต่อสังคมในทางลบที่เป็นลูกโซ่ตามมาด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้คือ
ผลกระทบต่อชุมชน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มนุษย์มีส่วนร่วมในสังคมลดน้อยลง ความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านหายไป เพราะมนุษย์ทุกคนสามารถพึ่งตนเองได้
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้เกิดเทคโนโลยีที่ใช้แรงงานคนน้อยลง ผู้ที่มีทุนมากอาจนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้งานทั้งหมดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กหดลงแต่ในทางตรงกันข้ามการที่แต่ละคนสามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่มีขนาดเล็กอาจจะทำให้เขากลายเป็นนายทุนอิสระ หรือรวมตัวเป็นสหกรณ์เจ้าของเทคโนโลยีร่วมกัน และอาจทำให้เกิดองค์กรทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้
ผลกระทบด้านจิตวิทยา ความเจริญทางเทคโนเลยีที่เพิ่มขึ้นในเครื่องมือสื่อสารทำให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารผ่านทางจออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น จึงทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์ต้องแบ่งแยกเป็น ความสัมพันธ์อันแท้จริงโดยการสื่อสารกันตัวต่อตัวที่บ้านกับความสัมพันธ์ผ่านจออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีผลให้ความรู้สึกนึกคิดในความเป็นมนุษย์เปลี่ยนไป
ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีบางตัวมีผล กระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย นอกจากนี้การสร้างเทคโนโลยีการผลิตมากขึ้น มีผลทำให้มีการขุดค้นพลังงานธรรมชาติมาใช้ได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในทางอ้อมและการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยปราศจากทิศทางการดูแลที่เหมาะสมจะทำให้สิ่งแวดล้อม อาทิ แม่น้ำ พื้นดิน อากาศ เกิดมลภาวะมากยิ่งขึ้น
ผลกระทบทางด้านการศึกษา นวัตกรรมทางการศึกษามีลักษณะตามธรรมชาติที่เป็นสิ่งใหม่ ดังนั้นในความใหม่จึงอาจทำให้ทั้งครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้บริหารการศึกษา อาจตั้งข้อสงสัยและไม่แน่ใจว่า จะมีความพร้อมที่จะนำมาใช้เมื่อใด และเมื่อใช้แล้วจะทำให้เกิดผลสำเร็จมากน้อยอย่างไร แต่นวัตกรรมก็ยังมีเสน่ห์ในการดึงดูดความสนใจ เกิดการตื่นตัว อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติของมนุษย์ หรือ อาจเกิดผลในเชิงตรงข้าม คือกลัวและไม่กล้าเข้ามาสัมผัสสิ่งใหม่ เพราะเกิดความไม่แน่ใจว่าจะทำให้เกิดความเสียหาย หรือใช้เป็นหรือไม่ ครูในฐานะผู้ใช้นวัตกรรมโดยตรงจึงต้องมีความตื่นตัวและหมั่นติดตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ ให้ทันตามความก้าวหน้า และเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสถานภาพและสิ่งแวดล้อมของตนเอง การหมั่นศึกษา และติดตามความรู้วิทยาการใหม่ ๆ ให้ทันจะช่วยทำให้การตัดสินใจนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการศึกษา สามารถทำได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพและลดการเสี่ยงและความสั้นเปลืองงบประมาณและเวลาได้มากที่สุด

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
- การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่ และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Training) การเรียนการสอนผ่านเวิร์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น
- อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้
- วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
- ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้
- การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Composer FrontPage Macromedia Dreamweaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
- อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก

ประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา
- งานรับมอบตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานำมารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลังนักศึกษา เช่น ภูมิลำเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา
- งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กับ นักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน
- งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
- งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่
- งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องการ

ประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อย
เนื่องจากห้างสรรพสินค้าเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่มีอยู่หลายสาขาที่จัดจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศ มีซัพพลายเออร์กว่าพันราย และมีพนักงานอยู่หลายพันคน ดังนั้นข้อมูลที่ เกี่ยวข้อง และการตัดสินใจต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นการที่ต้องใช้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ดจึงมีความจำเป็นฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นฝ่ายสนับสนุน สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้องให้ความมั่นใจได้ว่า ระบบจะต้องทำงานได้ไม่มีปัญหาขัดข้อง ปัจจุบันระบบการเชื่อมต่อห้างสรรพสินค้าจะเป็นแบบสอง ลักษณะคือในต่างจังหวัดจะใช้การเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม ในกรุงเทพจะใช้การเชื่อมต่อแบบออนไลน์ ซึ่งจะมีการรับส่งข้อมูลกันทุกวัน ในส่วนของไอที นอกจากจะต้องทำให้ระบบ สามารถทำงานได้ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องมั่นใจด้วยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งในแต่ละวันมีข้อมูลมาก ที่จะต้องผ่านการประมวลผลให้แก่ผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยอดขายข้อมูลสต็อกและข้อมูลต่างๆ ที่ ผู้บริหารต้องการ
ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์
เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้
- ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
- การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
- สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
- เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
- เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
- ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

ประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มนักวิทยาสตร์ วิศวกรที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นศึกษาการกระจายถิ่นที่อยู่ของนก การกระจายของแบคทีเรีย การสร้างอาณาจักรของมด ผึ้ง ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าต่าง ๆ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนระบบนิเวศวิทยา ความสนใจในการจำลองความเป็นอยู่ของ สิ่งมีชีวิตได้มีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ครั้ง จอห์น พอยเมน ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์ เสนอแนวคิดการทำให้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติภายใต้โปรแกรม ซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนถึงปัจจุบันเกมแห่งชีวิตจึงเกิดขึ้น

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่นเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้าง และติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบัน

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการออกแบบ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ ( CAD : Computer Aided Design) ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบสินค้า และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยควบคุมกระบวนการผลิต ( CAM : Computer Aided Manufacturing ) เช่นควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ลดแรงงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ทำงาน

ประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐและเอกชน
ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ มากมาย เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การเกิด การตาย การเสียภาษีอากร การทำใบอนุญาตขับรถยนต์ การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การประมวลผลคะแนนเลือกตั้ง ฯลฯ เป็นต้น งานเหล่านี้ได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อทำให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และยังตอบสนองกับการบริหารยุคใหม่ที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลักในการบริหารจัดการ
กล่าวโดยสรุปคือ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ เกือบทุกวงการ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ก็ตาม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานด้านการศึกษาก็มีความตื่นตัวและเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว ทั้งในระดับ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และเป็นสาขาวิชาที่มีนักศึกษา ให้ความสนใจ กันมากเนื่องจากยังมีตลาดแรงงานรองรับมากนั่นเอง

ความรู้เรื่องหุ่นยนต์

ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence)

ความเจริญก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์เป็นไปในทุกด้าน ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การที่มีพัฒนาการเจริญก้าวหน้า จึงทำให้นักคอมพิวเตอร์ตั้งความหวังที่จะทำให้คอมพิวเตอร์มีความฉลาดและ สามารถตัดสินใจเพื่อช่วยทำงานของมนุษย์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะวิทยาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ซึ่งเชื่อกันว่าจะเป็นวิทยาการที่จะช่วยให้มนุษย์ใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ต่างๆ ที่สำคัญ เช่นการให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ รู้จักการใช้เหตุผล การเรียนรู้ ตลอดจนการสร้างหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึงการสร้างเครื่องจักรให้สามารถทำงานได้เหมือนคนที่ใช้ปัญญา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการประดิษฐ์ปัญญาให้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถจำลองการทำงานต่างๆ เลียนแบบพฤติกรรมของคน โดยเน้นแนวคิดตามแบบสมองมนุษย์ที่มีการวางแผนการเรียนรู้ การให้เหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการเลือกแนวทางดำเนินการในลักษณะคล้ายมนุษย์
ความรู้ทางด้านปัญญาประดิษฐ์รวมถึงการสร้างระบบที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถ มองเห็น และจำแนกรูปภาพหรือสิ่งต่างๆ ออกจากกัน ในด้านการฟังเสียงก็รับรู้และแยกแยะเสียง และจดจำคำพูดและเสียงต่าง ๆ ได้ การสัมผัสและรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะต้องมีกระบวนการเก็บความรอบรู้ การถ่ายทอด การแปลเอกสารข้อความจากระบบหนึ่งให้เป็นอีกระบบหนึ่งอย่างอัตโนมัติ และการนำเอาความรู้มาใช้ประโยชน์ หากให้คอมพิวเตอร์รับรู้ข่าวสารและเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ และสามารถนำเอาความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นมาประมวลผลก็จะมีประโยชน์ได้มาก เช่น ถ้าให้คอมพิวเตอร์มีข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์ มีความเข้าใจในเรื่องประโยคและความหมายแล้ว สามารถเข้าใจประโยคที่รับเข้าไป การประมวลผลภาษาในลักษณะนี้จึงเรียกว่า การประมวลผลภาษาธรรมชาติ
โดยจุดมุ่งหมายที่จะทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการใช้ภาษา เข้าใจภาษา และนำไปประยุกต์งานด้านต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบตัวสะกดในโปรแกรมประมวลคำ ตรวจสอบการใช้ประโยคที่กำกวม ตรวจสอบไวยากรณ์ที่อาจผิดพลาด และหากมีความสามารถดีก็จะนำไปใช้ในเรื่องการแปลภาษาได้ ปัญญาประดิษฐ์จึงเป็นเรื่องที่นักวิจัยได้พยายามดำเนินการและสร้างรากฐานไว้ สำหรับอนาคต มีการคิดค้นหลักการ ทฤษฎี และวิธีการต่างๆ เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานอย่างมีเหตุผล มีการพัฒนาโครงสร้างฐานความรอบรู้ ปัญญาประดิษฐ์เป็นวิชาการที่มีหลักการต่าง ๆ มากมาย และมีการนำออกไปใช้บ้างแล้ว เช่น การแทนความรอบรู้ด้วยโครงสร้างข้อมูลลักษณะพิเศษ การคิดหาเหตุผลเพื่อนำข้อสรุปไปใช้งาน การค้นหาเปรียบเทียบรูปแบบ ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์และมีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สะสมความรู้ได้เอง งานประยุกต์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังได้รับความสนใจ เช่น
งานประมวลผลภาษาธรรมชาติ ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ได้มากขึ้น
งานระบบผู้ชำนาญการ เป็นการประยุกต์หลักการปัญญาประดิษฐ์ที่เก็บสะสมความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเรียกมาใช้ประโยชน์ได้
งานหุ่นยนต์เป็นวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ต้องการสร้างเครื่องจักรให้ทำงานแทนมนุษย์ การมองเห็นและการรับความรู้สึก เป็นระบบที่จะสร้างให้เครื่องจักรรับรู้กับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เหมือนมนุษย์
งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ เป็นงานที่น่าสนใจมากเพราะมีบางเรื่องที่แปลกใหม่ ท้าทายความสามารถของมนุษย์ และเป็นงานที่รอนักวิทยาศาสตร์และนักคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่จะเข้ามาช่วยกันคิด ช่วยกันพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อไป
AI : Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ มุมมองต่อ AI ที่แต่ละคนมีอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความฉลาด โดยคำนึงถึงพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อม หรือคำนึงการคิดได้ของผลผลิต AI
ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการให้มันแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
1. Acting Humanly : การกระทำคล้ายมนุษย์
2. Thinking Humanly : การคิดคล้ายมนุษย์
3. Thinking rationally : คิดอย่างมีเหตุผล
4. Acting rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล
Acting Humanly : การกระทำคล้ายมนุษย์
- สื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้
- มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) คอมพิวเตอร์มองเห็น รับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor)
- หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
- machine learning หรือคอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
Thinking Humanly : การคิดคล้ายมนุษย์ ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร
Thinking rationally : คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ
Acting rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น agent (agent เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผล คือ agent ที่กระทำการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น agent ในระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้จึงจะเรียกได้ว่า agent กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น agent ในเกมหมากรุกมีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น

ลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์
1. Cognitive Science งาน ด้านนี้เน้นงานวิจัยเพื่อศึกษาว่าสมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร และมนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไร จึงมีพื้นฐานที่การประมวลผลสารสนเทศในรูปแบบของมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ระบบนี้จะพยายามลอกเลียนแบบความสามารถของผู้เชียวชาญที่เป็นมนุษย์ในการแก้ปัญหาต่างๆ
- ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neural Network) ถูกออกแบบให้เลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
- ระบบแบ๊บแน็ต (Papnet) เป็นระบบที่ใช้ในการแยกความแตกต่าง เช่น แยกความแตกต่างของเซลล์มนุษย์
- ฟัสซี่โลจิก (Fuzzy Logic) เป็น ระบบที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎพื้นฐาน และสามารถทำงานกับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ หรือกำกวม หรือค่าไม่เที่ยงตรง หรือไม่แน่นอนได้ ซึ่งระบบจะพยายามหาคำตอบให้กับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ด้วยการพิจารณาจากข้อมูลเท่าที่มีเท่านั้น ระบบนี้ใช้วิธีการหาคำตอบได้แบบมนุษย์มากกว่าระบบงานทั่วไปซึ่งใช้เพียง ประโยคเงื่อนไขธรรมดา
- เจนเนติกอัลกอริทึม (Genetic Algorithm) หรือ อัลกอริทึมพันธุกรรม ใช้หลักการด้านพันธุกรรมของชาร์ล ดาร์วิน การสุ่ม และฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ในการสร้างกระบวนการวิวัฒนาการด้วยตนเองของระบบใน การหาคำตอบที่ดียิ่งขึ้นโดยใช้แนวทางการแก้ปัญหาแนวเดียวกับที่สิ่งมีชีวิต ปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
- เอเยนต์ชาญฉลาด (Intelligent Agents) ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญหรือเทคนิคของปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ เพื่อพัฒนาเป็นโปรแกรมประยุกต์ให้กับผู้ใช้ปลายทาง
- ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems) เป็นระบบที่สามารถพัฒนาพฤติกรรมของระบบเองด้วยการพัฒนาจากข้อมูลที่ระบบได้รับในระหว่างการประมวลผล
2. Roboics พื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต์ไห้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ สามารถเครื่องไหวได้เหมือนกับมนุษย์
3. Natural Interface งานด้านนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์และพัฒนาบนพื้นฐานของภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์
- ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language) รวมเทคนิคของการจดจำคำพูดและเสียงของผู้ใช้งาน ทำให้มนุษย์สามารถพูดหรือสั่งงานกับคอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์ได้ด้วยภาษามนุษย์
- ระบบภาพเสมือนจริง (Virtual Reality) เป็นการสร้างภาพเสมือนจริงหรือภาพจำลองของเหตุการณ์โดยระบบคอมพิวเตอร์ มีการติดตั้งตัวเซ็นเซอร์ต่าง ๆไว้กับอุปกรณ์ที่ใช้เป็นอินพุต/เอาท์พุต เพื่อใช้ตรวจจับความเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงโลกของภาพเสมือนจริงแบบ 3 มิติ เช่น การสร้างเกมคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ

ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI Systems)
ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI Systems) เป็นการนำเอาระบบต่าง ๆ หรือเทคนิคต่าง ๆ ของปัญญาประดิษฐ์ที่กล่าวข้างต้นมาบูรณาการเข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นการบูรณาการระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญกับระบบเครือข่ายนิวรอน เข้าด้วยกัน เช่น โปรแกรมประยุกต์ดาต้าไมนิ่ง ด้านการตลาดและการขายของบริษัท

ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์
1. ข้อมูลในระบบจะถูกเก็บในลักษณะที่เป็นฐานความรู้ขององค์การ
2. ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับฐานความรู้ขององค์การด้วยการเสนอวิธีการแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะด้าน
3. ระบบจะถูกนำมาช่วยทำงานในส่วนที่เป็นงานประจำหรืองานที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับมนุษย์
4. ระบบ จะช่วยสร้างกลไกที่ไม่นำความรู้สึกส่วนตัวของมนุษย์ เช่น ความลำเอียง ความเหนื่อยล้า ความเบื่อหน่าย ความกังวล เข้ามาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ

รายงานการเข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “เยาชนกับการพัฒนา ICT ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน”

ในการสัมมนาทีมวิทยากรได้พูดถึงการที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงทำให้หลายประเทศในกลุ่มอาเซียนต้องเร่งเตรียมความพร้อมโดยการสร้างงกลไกและพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงขึ้น สามารถปรับปรับตัวและรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อความมั่นคงของประเทศและเท่าเทียม ซึ่งภายใต้การก่อตั้งประชาคมอาเซียนยึดหลักสำคัญคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน ซึ่งการศึกษาจัดอยุ่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ปรเทศไทยก็เป็นหนึ่งในสามชิกประชาคมอาเซียน ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือกับอาเซียน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนในเวทีโลก โดยเฉพาะการใช้กลไกความร่วมมือด้านการศึกษานำพาอาเซียนสุ่การเป็นประชาคมที่มีความมั่นคง เพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน 3 ส่วน คือ ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จะพัฒนาตามหลัก 3 N ได้แก่ Ned Net (Nation Education) โครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ NEIS (Nation Education Information System) ศูนย์กลางรวบรวม จัดเก็บและเชื่อมโยงข้อมุลสารสนเทศด้านการศึกษา NIC (Nation Learning Center) ศูนย์เรียนรู้แห่งชาติ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา มีการพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ความอื้อาธร โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ นักศึกษาจะต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะการทำงานร่วมกันในประเทศอาเซียน
คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐสภา มีบทบาทในการกำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานด้านการสื่อสาร สารสนเทศและโทรคมนาคมของประเทศให้มีประสิทิภาพ ทั่วถึงและเป็นธรรม ตระหนักดีว่าเยาวชนในชุมชนนั้นถือเป้นบุคลากรที่มีความสำคัญยิ่งต่อประเทศชาติในอนาคต ในการพัฒนาการเรียนรู้จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเรื่อง “เยาวชนกับการพัฒนา ICT ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” ขึ้นเพื่อสร้างความพร้อมให้กับนักเรียน นักศึกษาในระดับมัธยมศึกษา อุดมศึกษาและในระดับอาชีวะให้มีความพร้อมในการก้าวสู่วัยทำงานในประชาคมอาเซียน
วิทยากร : บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด มหาชน ได้กล่าวถึง การใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันว่าเป็น
อนาคตของอินเทอร์เน็ต = Internet of Things = อินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง

สรรพสิ่งอัฉริยะ = สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ

หมายความว่า ในอนาคตของการใช้อินเตอร์เน็ต เราสามารหาหาทุกอย่างและทำอะไรได้ในระบบอินเตอร์เน็ต หรืออินเตอร์คือทุกสิ่งทุกอย่างของเรา หรืออีกความหมายคือ อินเตอร์เน็ตป็นสิ่งที่ดี ฉลาด วิเศษ หรือเป็นสิ่งที่อยุ่รอบ ๆ ตัวเรานั้นเป็นสิ่งที่ดี วิเศษ ทำนองนั้น และทางบริษัทฯ ได้อธิบายถึงวิธีการเชื่อมโยงและการให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน IPLC การให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน Internet Gateway ซึ่ง CAT Internet Gateway มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตต่างประเทศผ่าน CAT THIX ถ้าในประเทศจะผ่าน CAT NIX และทางบริษัท กกส.โทรคมนาคม จำกัด มหาชน มีการทำแผนแม่บทเทคโนโลยี Smart Thailand 2020 ขึ้น โดยเรียกว่ากันว่า Smart Thailand = สังคมอุดมปัญญา ตามยุทธศาสตร์ที่ 6 ในเรื่องของการลดความเหลื่อมล่ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี (Bridging the Digital Divide) ให้ตรงตามมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับและเตรียมความพร้อมของการเข้าใช้ติดต่อเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ในอนาคตของการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป
วิทยากร : สำนักส่งเสริมการลงทุนและบริหารสินทรัพย์ เพื่อการศึกษา สกสค. กระทรวงศึกษาธิการ (ดร.เกรียงศักดิ์) ได้กล่าวถึง ระบบการให้บริการแบบบูรณาการเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยได้มีการทำโครงการสิ่งเสริมการบูรณาการนวัตกรรมการจัดการศึกษาด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ขึ้นเรียกว่า NOE (Network of Education) ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้ NOE เป็นศูนย์กลางในการกระจายความรู้จากทั่วโลกมารวมไว้ โยใช้ Single Platform รองรับผู้ใช้ 1 ล้านUser (Application Server, Portal Server, Core Database) ซึ่งตัว NOE e-Education Services เป็นตัวรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเหล่านั้นมาไว้ เช่น โรงเรียนออนไลน์
ตัวอย่างของ NOE ในการทำหน้าที่ในสถานะโรงเรียน คือ
1) ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์โรงเรียน
2) ระบบการประชุมออนไลน์ / E-Training
3) ทีวีโรงเรียน
4) โรงเรียนสามารถแลกเปลี่ยนสื่อการเรียนการสอน
5) มีระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ที่ทันสมัย
6) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
7) E-Office
ในการทำหน้าที่ในสถานะครู – อาจารย์ คือ
1) เครื่องมือจัดทำแผนการสอน
2) ระบบสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย
3) ระบบวัดประเมินผลนักเรียนและรายคน
4) ครูสามารถแลกเปลี่ยนสื่อการสอนระหว่างกันได้
5) ช่วนส่งเสริมและพัฒนาครู
ฯลฯ
และยังมีในส่วนที่ทำหน้าที่ของผู้ปกครอง และนักเรียน ด้วย ซึ่ง NOE Plaza จะเป็นตัวช่วยเก็บรวบรวมให้ทั้งหมดโดย โรงเรียน สถานศึกษา ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง สามารถเข้ามาใช้ในระบบได้
วิทยากร : ตัวแทนหน่วยงานที่ดูแลเรื่องอาชญากรรมทางเทคโนโลยีทั้งในและนอกประเทศ ได้กล่าวถึง อาชญากรรมทางเทคโนโลยีมีอยู่ 4 ประเภท คือ
1) ภัยคุกคามต่อตนเอง
2) ภัยคุกคามต่อสังคม
3) ภัยคุกคามต่อประเทศไทย
4) ภัยคุกคามต่อโลก
ซึ่งภัยคุกคามทั้ง 4 ประเภทนี้ในสังคมปัจจุบันก็มีคดีความให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มากมาย เช่น การแอบเข้าไปดูข้อมูลของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ การนำข้อมูลของคนอื่นไปเปิดเผยโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของ การแฮ็กข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อตนเองโดยมิชอบหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือได้รับความเสียหายจากการกระทำนั้น ๆ ในปัจจุบันจะเห็นว่ามีแก๊งอาชญากรรมข้ามชาติมากมายที่อาศัยโลกไซเบอร์ในประกอบมิชาชีพ ดังนั้นเยาวชนไทย นักเรียน นักศึกษา นิสิต ควรระมัดระวังในการให้ข้อมูลและใช้อินเตอร์ เพื่อให้ไม่ตกเป็นเครื่องมือของมิชาชีพที่แฝงตัวมากับอินเตอร์เน็ต
วิทยากร : บริษัทด้าน Social Media Network ได้กล่าวถึง การใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยว่ามีการเข้าใช้หลายช่องทางในระบบของ Social Network และในประเทศไทยเองมี User ที่ใช้ใน Face book อยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตอันดับที่ 18 ของโลก (ข้อมูลปี 2011) ซึ่งในข้อมูลการใช้มีการคิดเป็นเปอร์เซ็นการใช้งานดังนี้
เพศ ชาย ใช้อยู่ที่ 47 % หญิง ใช้อยู่ที่ 53 %
อายุ 13-15 ปี ใช้อยู่ที่ 10 %
16-17 ปี ใช้อยู่ที่ 9 %
18-24 ปี ใช้อยู่ที่ 34 %
25-34 ปี ใช้อยู่ที่ 30 %
35-44 ปี ใช้อยู่ที่ 10 %
45-54 ปี ใช้อยู่ที่ 4 %
55-64 ปี ใช้อยู่ที่ 1 %
65 - 0 ปี ใช้อยู่ที่ 1 %
ในการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตออนไลน์ เช่น
- Social Engineering ซึ่งเราไม่สามารถทราบได้ว่าเราคุยอยู่กับใครบนอินเตอร์เน็ต
- Phishing การปลอมแปลงข้อมูล
- Twitter การคุยผ่านระบบ
- การใช้อินเตอร์เน็ตหาคู่ ออนไลน์
- เกมส์ออนไลน์ เช่น การเข้าเล่นเกมส์ออนไลน์
- ส่ง E – mail มีการส่งข้อมูลเข้า Mail เราเช่น การโฆษณาต่าง ๆ
- Impact เช่น การส่งข้อความมาหาว่า “คุณถูกรางวัล และคุณต้องส่งเอกสารหรือหมายเลข
บัญชีธนาคาร ฯลฯ ให้เพื่อการโอนเงินรางวัลให้”
- การปลอมโฟฟายส์ คนอื่นแล้วนำไปใช้งาน เช่น การส่งข้อมูลออกมาจาก Block mail ของเราเองส่งถึงเรา
เองหรือผู้อื่นที่เราติดต่อด้วย เช่น ข้อความที่ว่า “ตอนนี้เรากำลังเดือดร้อนมาก
ต้องการใช้เงินด่วนขอให้ช่วยส่งเงินมาให้ด้วย”