ความเชื่อ....ว่า

1191906349
ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี
มนุษย์ในโลกตะวันออกแต่ละชาติแต่ละภาษา มีความเชื่อถือที่แตกต่างกันออกไปบ้างและคล้ายคลึงกันบ้าง ส่วนที่คล้ายคลึงกันนั้น เป็นเพียงเรื่องของศาสนา ซึ่งเป็นสื่อที่ปฏิบัติอย่างเดียวกันเพียงบางส่วนเท่านั้น เช่น ศาสนาพุทธ เป็นต้น มีการอุปสมบทกุลบุตร และพิธีกรรมทางศาสนาเหมือนกัน แต่การสร้างสรรค์ศิลปะของแต่ละประเทศแตกต่างกันออกไป เช่น ประเทศไทยกับประเทศพม่า เวียดนาม เป็นต้น แสดงให้เห็นว่า ขนบธรรมเนียม ประเพณี และการประพฤติปฏิบัติที่กระทำอย่างเดียวกันในแต่ละชาตินั้น ยังแตกต่างกันออกไปด้วยและทุกประเทศในตะวันออก ก็มีเอกลักษณ์ประจำชาติของตนอย่างชัดเจนในเรื่องของความเชื่อถือและขนบธรรมเนียมประเพณีอาจศึกษาได้ดังต่อไปนี้

มนุษย์ในตะวันออกมิได้มีศาสนาใดศาสนาหนึ่งที่เป็นแกนสำคัญของสังคมร่วมกัน แต่จะแยกกันออกไปตามความเชื่อถือและแม้ว่าส่วนหนึ่งจะนับถือศาสนาพุทธ แต่ไม่มีศูนย์กลางอันเป็นแกนสำคัญร่วมกันเหมือนคริสต์ศาสนาโรมันคาทอริก ส่วนศาสนาอิสลามแม้ว่าจะมีแหล่งศักดิ์สิทธิ์ร่วมกันที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่ก็มิได้เป็นไปในรูปองค์กรเหมือนแหล่งกลางที่กรุงวาติกันของโรมันคาทอลิก นอกจากนั้นในประเทศยังมีความเชื่อถือที่แตกต่างกันออกไปมาก เช่น ในอินเดียมีลัทธิมากมาย ในญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกันแต่ก็มีขนบธรรมเนียมทางสังคมที่เข้มแข็งเคร่งครัดอย่างยิ่ง จึงทำให้มีการสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อจรรโลงศาสนาที่แตกต่างกันไปมากและเห้นได้อย่างเด่นชัดอีกด้วย
ความเชื่อถือในศาสนาของชาวตะวันออก แตกต่างกันออกไปแต่ละศาสนา บางศาสนาเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาด้วยกรรม ซึ่งตนเองได้กระทำไว้แต่ในชาติปางก่อน ผลอันบังเกิดในชาตินี้ก็ป็นกระแสของกรรมแต่ชาติปางก่อนมีส่วนให้เป็นไปด้วย และการกระทำในชาตินี้ก็ยังมีผลไปถึงชาติหน้าด้วย แต่บางศาสนามีความเชื่อรุนแรงมากกว่านั้น โดยเชื่อว่าหากกระทำตนเองให้ต่ำต้อย หรือกดดันตัวเองให้ทนทุกข์ทรมานมากก็จะยิ่งได้บุญกุศลมาก โดยการปล่อยจิตใจให้ลุล่วงพ้นไปสู่ภพที่สูงกว่าและในบางศาสนามีความเชื่อในเรื่องวิญญาณบรรพบุรษอยู่มาก การน้อมเคารพบรรพบุรุษและการควบคุมจริยธรรมในการประพฤติปฏิบัคิเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด ทั้งหมดนี้จึงมีส่วนสร้างสรรค์ศิลปะที่แตกต่างกันออกไปตามแนวปรัชญาของศาสนา
ชาติตะวันตกให้ความสนใจกับจิตวิญญาณมาก ความผูกพันระหว่างคนเป็นกับคนตาย ยังเป็นเยื่อใยที่เคร่งครัด จึงมีการเซ่นไหว้และบวงสรวงระลึกถึงกัน แม้บางประเทศจะมีการเผาศพ เช่น ประเทศไทย แต่บางประเทศก็ยังนิยมนิยมฝังศพ เพื่อรักษาเรือนร่างไว้ชั่วนิรันดร จะถูกทำลายไม่ได้ ในการตกแต่งตามพิธีการเหล่านี้เอง ที่ใช้ศิลปะเข้าช่วยเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดแบบอย่างศิลปะเป็นพิธีการขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง
ขนบประเพณีต่าง ๆ ของชาวตะวันออก เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดมั่นผูกพันอยู่กับชนชาติในอดีต

Good governance

cartoon-board_conflict000-300x229
ธรรมาภิบาล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ธรรมาภิบาล (อังกฤษ: good governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น

ธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นต้น

สำหรับบทบาทของสำนักงาน ก.พ.ร. ในเรื่องธรรมาภิบาลนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพหลักในการสร้างการตระหนักในเรื่องธรรมาภิบาล โดยอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ การนำธรรมาภิบาลมากำหนดไว้เป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองฯ เช่น ความโปร่งใส การจัดเวทีให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม เป็นต้น

ทั้งนี้ ยังมีอีกแนวคิดหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาล คือ ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องการวางกลไกให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การวางโครงสร้าง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งของเหรียญคือ เรื่องตัวบุคคล เป็นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลเป็นการวางระบบวางโครงสร้างเพื่อควบคุมให้คนไม่ประพฤติปฏิบัติ แต่จริยธรรมจะลึกกว่านั้น โดยมีการปลูกฝังจิตสำนึก ต้องไม่ทุจริต ไม่ประพฤติมิชอบ ทั้งสองด้านจะต้องไปด้วยกันจึงจะยั่งยืน [สำนักงาน ก.พ.ร.]

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5".

Question+Answer=QA.(Quality Assurance)

การประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการเรียนการสอน ด้านการให้บริการนักศึกษา ด้านบริการวิชาชีพให้ประชาชน การประกัน ประกันอะไร ประกันว่าสถานศึกษาจะมีคุณภาพ คุณภาพก็มีหลายด้าน หลายตัวชี้วัด หลายบริบท หลายความเชื่อมั่น ที่สำคัญอยู่ที่หัวใจและสมองของสถานศึกษา จะสามารถใช้เหตุผลชี้แจง คำถามมากมายจากตัวชี้วัดที่ใครก็ไม่รู้สร้าง อาจเป็นผู้มีอำนาจชี้นำการศึกษาของประเทศได้ หรือใตรที่ฝันอยากให้สถานศึกษาเป็นอย่างนี้อย่างนั้น สรุปว่า QA.ก็คือ "การสื่อสารแบบมีหลักฐานและเป้าหมายในการสื่อสารนั้น" หากคิดอีกแนวทางคือการมีฝ่่ายหนึ่งถามมา แล้วฝ่ายหนึ่งตอบไปว่าทำหรือยัง ทำได้เท่าไหร่ เอาคะแนนไป น้อยกว่าเกณฑ์ก็ตก มากกว่าเกณฑ์ก็ผ่าน ก็เท่านั้น...(อ่านต่อ)