Category: การบริการอาหาร

รายการ KM Weekly ตอนที่ 139 ช่วงที่ 2 (ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2561) ผู้จัดรายการ : นฤศร มังกรศิลา ###################### ขอบคุณ : สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา FM 90.75 MHz คลื่นสั่งสมปัญญา พัฒนาสังคม และ ข้อมูลดีๆ จากวารสาร OKMD ######################

 

ถ่ายทอดความรู้  (คุณกิจ)  โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิรัติ โสฬศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิญญา มานะโรจน์

เชฟชลธี สีหะอำไพ

อาจารย์ณนนท์  แดงสังวาลย์

อาจารย์กมลพิพัฒน์  ชนะสิทธิ์

บันทึกเรื่องเล่า

–>>> การเตรียมตัวสหกิจศึกษาในต่างแดน – สาขาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

 

     จากที่ได้รับฟังจากผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวสหกิจศึกษาอย่างไรในต่างแดน นั้น

      ผู้ร่วมถ่ายทอดความรู้ทั้ง 5 ท่าน ได้อธิบายและแนะนำวิธีการเตรียมตัวสหกิจศึกษาในต่างประเทศไว้อย่างน่าสนใจจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการ เรื่อง “เตรียมตัวสหกิจศึกษาอย่างไรในต่างแดน” จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2557 ณ ห้อง 2402 ที่ผ่านมา ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน โดยงานจัดการความรู้ สามารถสกัดความรู้ออกมาเป็นองค์ความรู้สำคัญจากผู้ริเริ่มโครงการสหกิจศึกษาในต่างประเทศ คณาจารย์สหกิจศึกษา และนักศึกษาสหกิจศึกษาที่ไปปฏิบัติงาน ณ ร้านอาหาร Shabu Grill ประเทศสหรัฐอเมริกา ในหลายๆ แง่มุม…..

อ่านต่อได้ที่ –>>> การเตรียมตัวสหกิจศึกษาในต่างแดน – สาขาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

 

 

 

 

ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชน์ มองภาพธุรกิจฟื้นตัว และขยายตัวต่อเนื่อง แนะ ผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัวรองรับการแข่งขันรุนแรงขึ้นใน AEC

เปิดแล้วอย่างยิ่งใหญ่กับ งานทีเอฟบีโอ 2014 งานแสดงแฟรนไชน์นานาชาติที่ใหญ่ที่สุดสุดในอาเซียน ครั้งที่ 10 และ งาน ทร๊าฟส์ 2014 งานแสดงอุปกรณ์ วัตถุดิบ ของใช้ ของประเทศไทย ครั้งที่ 8 ภายใต้คอนเซ็ปต์ ทู อิน วัน

โดย นายกวิน กิตติบุญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท กวิน อินเตอร์เทรด บอกว่า Highlight สำคัญของปีนี้ คือ พื้นที่ในการจัดงานที่เพิ่มขึ้นกว่า 50% เป็น 1 หมื่น 5 พันตารางเมตร จากเดิม 1 หมื่นตารางเมตร ซึ่งจัดขึ้นที่ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เพื่อรองรับเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นในครึ่งปีหลังและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558

ในงาน ทีเอฟบีโอ 2014 ปีนี้มีธุรกิจแฟรนไชน์เข้าร่วมแสดงงานถึง 150 แบรนด์ จาก 10 ประเทศ ในขณะที่งาน  ทร๊าฟส์ 2014 มีผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงสินค้า 130 บริษัท โดย บริษัทคาดว่าตลอดการจัดงาน 4 วัน หรือตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 24 – วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม จะมีผู้เข้าชมงานกว่า 3 หมื่นคน จาก 50 ประเทศ พร้อมตั้งเป้าการซื้อขายที่จะเกิดภายในงานกว่า 250 ล้านบาท อีกด้วย

และแนวโน้มของธุรกิจสมาคมแฟรนไชน์และไลเซน นับจากนี้นั้น ทางด้าน นายกฤษฎ์ กาญจนบัตร รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สมาคมแฟรนไชน์และไลเซนส์ บอกในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2558 ว่า มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปีหน้าหลังประเทศไทยเข้าสู่เออีซี จะยิ่งกระตุ้นให้มูลค่าตลาดธุรกิจแฟรนไชน์ขยายตัว อันเนื่องมาจากการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการจากต่างชาติที่เห็นโอกาสในการขยายตลาดทั้งในประเทศไทยและอาเซียน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเตรียมพร้อมรับกับการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

ที่มา : money channel

ศูนย์ข่าวศรีราชา – เครือสหพัฒน์ แตกไลน์ธุรกิจบริการด้วยการเปิดร้านอาหารสายพันธุ์ญี่ปุ่นแท้ “อูมั่ย – U Mai Kai Ten Sushi” ประกาศเดินหน้าขยายสาขาครอบคลุมทั้งจังหวัด และหัวเมืองใหญ่ หากผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ

นายทนง ศรีจิตร์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้บริหารสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา จ.ชลบุรี พร้อมด้วยนายสายัญห์ อินทะปุระ รองประธานบริษัท พิทักษ์กิจ จำกัด ได้ร่วมกันทำพิธีเปิดร้านอาหารสายพันธุ์ญี่ปุ่นแท้ “อูมั่ย – U Mai Kai Ten Sushi” ซึ่งตั้งอยู่ภายในโครงการ J-Park Sriracha ศูนย์รวมการจำหน่ายสินค้าแฟชั่น สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคทั้งไทย และญี่ปุ่น ในเขต ต.สุรศักดิ์

ร้านดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อรองรับงานบริการที่ครบวงจร หลังเครือสหพัฒน์ ได้แตกไลน์ธุรกิจบริการและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ รวมทั้งธุรกิจกีฬาในพื้นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และยังได้จัดพิธีซอฟโอเพ่นนิ่ง (Soft Opening ) โครงการ J-Park Sriracha ไปเมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมา

นายทนง กล่าวว่า ร้านอาหารดังกล่าวเป็นร้านอาหารสไตล์ญี่ปุ่นแท้ ที่เน้นรสชาติแบบญี่ปุ่น พร้อมตั้งเป้ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งชาวไทย และชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอาศัยอยู่ใน อ.ศรีราชา ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นคน จุดเด่นของร้านอยู่ที่การเสิร์ฟบนสายพาน (Kai Ten) ซึ่งคนไทยที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นก็สามารถหยิบอาหารที่เสิร์ฟผ่านสายพานได้โดยไม่ต้องสั่งผ่านพนักงาน และหากต้องการอาหารเมนูพิเศษก็สามารถสั่งตรงได้จากเชฟที่ผ่านมาฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ขณะที่สนนราคาก็ประหยัดกว่าร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไป

“ร้านอาหารอูมั่ย ใช้งบลงทุนประมาณ 7 ล้านบาท และถือเป็นสาขาแรกของเรา ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติแบบญี่ปุ่นแล้ว ร้านแห่งนี้ยังตั้งอยู่ในศูนย์การค้าที่มีการตกแต่งในรูปแบบญี่ปุ่นทั้งสวนส่วนกลาง และรูปแบบอาคาร ซึ่งนอกจากจะสร้างความคุ้นชินให้แก่ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอาศัย และทำงานอยู่ในพื้นที่แล้ว ยังสร้างบรรยากาศเสมือนอยู่ในประเทศญี่ปุ่นให้แก่กลุ่มลูกค้าคนไทยได้มีโอกาสสัมผัสอีกด้วย ”

ขณะที่แผนขยายสาขาร้านอาหารญี่ปุ่น – อูมั่ย บริษัทฯ ตั้งเป้าจะขยายสาขาให้ครอบคลุมในหลายพื้นที่ของจังหวัดชลบุรี และหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ รวมทั้งในพื้นที่สวนอุตสาหกรรมที่บริษัทเข้าไปลงทุน โดยจะประเมินผลประกอบการของร้านดังกล่าวในช่วงปีนี้ เพื่อกำหนดจำนวนสาขาที่จะขยายเพิ่มในอนาคต

“ใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เราถือเป็นกลุ่มลงทุนแรกที่มีการลงทุนด้านงานบริการทั้งธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ กีฬา และสวนอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เราได้เพิ่มงานบริการที่เข้าถึงชุมชนมากยิ่งขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ได้รับงานบริการที่ดี และสัมผัสวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นโดยไม่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ โดยนำประสบการณ์ที่เกิดจากการลงทุนร่วมกับชาวญี่ปุ่นมานานมาใช้ให้เกิดประโยชน์” นายทนง กล่าว

 

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

จริยธรรมทางธุรกิจของเจ้าของกิจการอาหารทะเล  (Business Ethics of Seafood–Business Owner)


บริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอาหารทะเลนั้น ควรมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความชอบธรรมและมุ่งมั่นสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นรวมถึงการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม ซึ่งบริษัทนั้นต้องกำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกคน จะต้องรับทราบและปฏิบัติตามนโยบายและข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้ในคู่มือจริยธรรมธุรกิจนี้อย่างเคร่งครัด เพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจและเพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ถือหุ้นและสังคม

คำจำกัดความ

จริยธรรมธุรกิจ หมายถึง คุณความดี ความยุติธรรมและความถูกต้อง ที่เป็นข้อพึงปฏิบัติสำหรับการประกอบธุรกิจแนวทางปฏิบัติ คือ แนวทางการกระทำเพื่อรักษาไว้ซึ่งและส่งเสริมเกียรติคุณและชื่อเสียง

 

หลักจริยธรรมธุรกิจและจรรยาบรรณของบริษัท

1. ความซื่อสัตย์ (Honesty)
ผู้บริหารควรมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องและไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดโดยเจตนาหรือหลอกลวงผู้อื่นโดยการบิดเบือนสารสนเทศ พูดเกินความจริง พูดความจริงบางส่วน เลือกปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หรือโดยวิธีการอื่นๆ

 

2. คุณธรรม (Integrity)
ผู้บริหารควรแสดงออกถึงคุณธรรมของตนและมีความกล้าที่จะทำตามสิ่งที่ตนเองเชื่อโดยกระทำในสิ่งที่ตนคิดว่าถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะมีแรงกดดันให้ทำตรงกันข้าม เป็นคนที่ยึดมั่นในหลักการ น่าเคารพนับถือ และมีความเที่ยงธรรม ผู้บริหารควรต่อสู้เพื่อความเชื่อของตนและไม่ยอมละทิ้งหลักการเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งจนกลายเป็นคนหลอกลวงหรือไม่มีคุณธรรม

 

3. ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ (Trust Worthiness)
ผู้บริหารควรเปิดเผยและจัดหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง และแก้ไขความเข้าใจผิดจากข้อเท็จจริง ผู้บริหารควรพยายามในวิถีทางที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุคำมั่นสัญญาของตนและผู้บริหารไม่ควรใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในทางที่ไม่ถูกต้องและใช้การตีความทางกฎหมายที่ไม่เหมาะสมใช้เป็นเหตุผลที่จะไม่ให้ความร่วมมือหรือหลีกเลี่ยงข้อตกลงที่วางไว้

 

4. ความจงรักภักดี (Loyalty)
ผู้บริหารควรแสดงความจงรักภักดีต่อบริษัทโดยการช่วยเหลือและอุทิศตนต่อหน้าที่ ผู้บริหารไม่ควรใช้หรือเปิดเผยสารสนเทศที่เป็นความลับเพื่อความได้เปรียบส่วนบุคคล แต่ควรดำรงไว้ซึ่งความสามารถในการตัดสินใจอย่างมืออาชีพที่เป็นอิสระโดยหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่เหมาะสมและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และมีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทและผู้ร่วมงาน นอกจากนี้ถ้าผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะลาออก ผู้บริหารควรบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างเหมาะสม รวมถึงให้ความสำคัญกับสารสนเทศของบริษัท และไม่กระทำกิจการที่ใช้ประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่การงานเดิมของตน

 

5. ความยุติธรรม (Fairness)
ผู้บริหารควรมีความยุติธรรมและคุณธรรมต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ และไม่ใช้วิธีการโกงหรือวิธีการที่ไม่เหมาะสมเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์หรือข้อได้เปรียบจากความเข้าใจผิดหรือจากความทุกข์ของผู้อื่น โดยผู้บริหารที่มีความยุติธรรมควรเปิดเผยข้อตกลงเพื่อให้มีการพิจารณาและปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เปิดใจที่จะยอมรับความเห็นที่ไม่ตรงกันและเต็มใจที่จะยอมรับเมื่อทำผิด และพร้อมเปลี่ยนจุดยืนและความเชื่อที่มีอยู่ไปสู่สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม

 

6. การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Concern for Others)
ผู้บริหารควรเอาใจใส่ เห็นอกเห็นใจ เมตตาปราณีและหวังดีต่อผู้อื่นตามหลักการที่ว่า ให้ปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา ผู้บริหารควรช่วยเหลือผู้อื่นในสิ่งที่บุคคลนั้นมีความจำเป็นและค้นหาวิธีที่ทำให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจไปพร้อมกับวัตถุประสงค์ของผู้อื่น

 

7. การเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล (Respect for International Human Rights Principles)
ผู้บริหารควรเคารพในเกียรติของแต่ละบุคคล ความมีอิสระ ความเป็นส่วนตัว การมีสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมายและสิทธิมนุษยชน และผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย การตัดสินใจของผู้บริหารควร มีความเป็นกลางและปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งแยกเพศ ชนชั้นหรือเชื้อชาติ

บริษัทนั้นต้องกำหนดให้ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯทุกคนต้องปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัดโดยถือเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานและไม่สนับสนุนกิจการที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนสากล

 

8. การปฏิบัติหน้าที่อย่างดี (Commitment to Excellence)
ผู้บริหารควรปฏิบัติตามหน้าที่อย่างดี กล่าวคือ เป็นผู้มีความรู้ ตระเตรียมการ มีความมุมานะ มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เพื่อสามารถจัดการกับทุกเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบ

 

9. ภาวะผู้นำ (Leadership)
ผู้บริหารควรตระหนักถึงความรับผิดชอบและภาวะการเป็นผู้นำของตน และควรจัดหา รูปแบบของข้อพึงปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองและองค์กร อีกทั้งผู้บริหารควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ให้ความสำคัญต่อหลักการและการตัดสินใจที่มีจริยธรรมเป็นสำคัญ

 

10. ชื่อเสียงและคุณธรรม (Reputation and Morale)
ผู้บริหารควรหาทางสร้างชื่อเสียงให้บริษัทและสร้างคุณธรรมในหมู่พนักงาน โดยร่วมกันไม่ดำเนินการใดๆ ซึ่งอาจเป็นการทำลายความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและพนักงาน ในทางกลับกันพนักงานต้องร่วมกันดำเนินการใดๆ ที่จำเป็นเพื่อแก้ไขหรือป้องกันพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมของคนอื่น

 

11. ความรับผิดชอบตามหน้าที่ (Accountability)
ผู้บริหารควรตระหนักและรับผิดชอบตามหน้าที่ของตนโดยคำนึงถึงจริยธรรมที่ใช้สำหรับการตัดสินใจ และในการละเว้นบางสิ่งเพื่อบริษัท ตนเอง ผู้ร่วมงาน และชุมชน

 

12. นโยบายการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Policy on Compliance with the Law and Relevant Rules and Regulations)
บริษัทนั้นต้องมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานดังนี้

• ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและเคารพจารีตประเพณีของประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ
• ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
• ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด
• ต้องไม่ช่วยเหลือหรือสนับสนุน การหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ
• ต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

13. นโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
บริษัทนั้นต้องให้ความสำคัญต่อกิจกรรมที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามแนวทางปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานดังนี้

• หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับตนเอง ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทนั้น
• ในกรณีที่จำเป็นต้องทำรายการเช่นนั้น ให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทฯ และให้ทำรายการนั้นเสมือนการทำรายการกับบุคคลภายนอก โดยกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานหรือผู้มีส่วนได้เสียในรายการนั้นต้องไม่มีส่วนในการพิจารณาอนุมัติ
• ในกรณีที่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันภายใต้ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียนอย่างเคร่งครัด
• ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานหรือบุคคลในครอบครัวเข้าไปมีส่วนร่วมหรือเป็นผู้ถือหุ้นกิจการที่แข่งขันกับธุรกิจของบริษัทนั้น หรือกิจการใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทนั้น จะต้องแจ้งต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
• ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือ พนักงานไปเป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือที่ปรึกษาในบริษัท หรือองค์กรทางธุรกิจอื่นๆ การดำรงตำแหน่งนั้นจะต้องไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ และการปฏิบัติหน้าที่โดยตรงในบริษัทนั้น

 

14. นโยบายการรักษาข้อมูลความลับ (Confidentiality of Information)
บริษัทนั้นต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้ข้อมูลของบริษัท โดยปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและสอดคล้องกับกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยบริษัทฯ ได้กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานให้ความสำคัญต่อการเก็บรักษาข้อมูลความลับของบริษัทนั้น เช่น ข้อมูลภายในที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ หรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือราคาหุ้น เป็นต้น ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

• กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานต้องไม่ใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ในการหาประโยชน์ส่วนตนและในเรื่องการทำธุรกิจแข่งขันกับบริษัทนั้น หรือทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
• กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานต้องไม่ใช้ข้อมูลที่มิได้เปิดเผยให้ทราบโดยทั่วไปซึ่งอาจมีผลกระทบกับราคาหุ้น(ข้อมูลภายใน)และต้องละเว้นการทำธุรกรรมเกี่ยวกับหุ้นของบริษัทในช่วงเวลาที่จะมีการประกาศข้อมูลที่ที่สำคัญตามนโยบายที่ถูกกำหนดไว้ นอกจากนี้ข้อมูลภายในของบริษัทนั้น ไม่ควรถูกให้แก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ
• กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานต้องไม่เปิดเผยข้อมูลความลับทางธุรกิจของบริษัทนั้น ต่อบุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งของบริษัทฯ แม้หลังพ้นสภาพการเป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือพนักงานของบริษัทนั้นไปแล้ว

 

15. นโยบายการปกป้องทรัพย์สินของบริษัท (Properties Protection)
บริษัทนั้นคาดหวังให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน มีความรับผิดชอบในการปกป้องดูแลทรัพย์สินของบริษัทฯ และใช้ทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่นำทรัพย์สินของบริษัทนั้น ไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น โดยมีแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้
• ผู้บริหารและพนักงาน ต้องใช้ทรัพย์สินและทรัพยากรของบริษัท อย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทนั้น
• ผู้บริหารและพนักงาน ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัทมิให้เสื่อมเสีย สูญหาย
• กำหนดแนวทางการป้องกันภัยหรือความเสี่ยงภัยที่เกิดต่อทรัพย์สินของบริษัท ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน เช่น ภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ เป็นต้น

 

16. นโยบายเกี่ยวกับการรับ การให้ของขวัญและสิ่งตอบแทน
บริษัทนั้นต้องกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการให้และรับของขวัญ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ดังนี้
• ผู้บริหารและพนักงานถูกห้ามไม่ให้เรียกผลประโยชน์ใดๆ จากคู่ค้าและหรือผู้ที่ทำธุรกิจกับบริษัท
• ผู้บริหารและพนักงานถูกห้ามไม่ให้เสนอผลประโยชน์ใดๆ ต่อบุคคลภายนอก คู่ค้า เพื่อจูงใจให้ปฏิบัติในทางที่มิชอบ
• ผู้บริหารและพนักงานควรหลีกเลี่ยงการให้หรือรับของขวัญหรือสิ่งตอบแทนอื่นใด จากคู่ค้า และ/หรือผู้ที่ทำธุรกิจกับบริษัท เว้นแต่ในโอกาสที่เป็นช่วงเทศกาลในมูลค่าที่เหมาะสม (ไม่เกิน 50 เหรียญดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา ต่อคนโดยรวมทั้งหมด) และไม่เกี่ยวข้องกับการผูกมัดทางธุรกิจ

 

17. จรรยาบรรณว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
บริษัทนั้นต้องกำหนดให้ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯทุกคนต้องมีความรอบคอบและความระมัดระวังในงานทรัพย์สินทางปัญญารวมถึงต้องเคารพลิขสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา

 

18. นโยบายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตและการให้สินบน
บริษัทนั้นต้องกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต และการให้สินบน ดังนี้
• บริษัทกำหนดแนวทางในการรับหรือให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่อาจสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจอย่างไม่ชอบธรรมโดยกำหนดเงื่อนไขว่าควรดำเนินการอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมาและต้องมั่นใจได้ว่าการดำเนินการนั้นจะไม่ทำให้เกิดข้อครหาหรือทำให้บริษัทฯเสื่อมเสียชื่อเสียง สิ่งของที่กรรมการบริษัท ได้รับโดยปกติแล้วจะเก็บไว้ในสำนักงาน หรือแจกจ่ายให้กับพนักงานในบริษัทนั้น
• การจัดหาต้องดำเนินตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามระเบียบของบริษัทและมีความเป็นธรรมแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยที่การตัดสินใจต้องคำนึงถึงความสมเหตุสมผลด้านราคา คุณภาพและบริการที่ได้รับ รวมทั้งต้องสามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส
• ในการทำธุรกรรมกับภาครัฐ บริษัทฯจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจจูงใจให้รัฐหรือพนักงานของรัฐดำเนินการที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมอย่างไรก็ดีการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันหรือการกระทำใดๆ ในขอบเขตที่เหมาะสมและเป็นธรรมเนียมปฏิบัตินั้นก็สามารถทำได้ เช่น การไปแสดงความยินดีหรือการให้ช่อดอกไม้ในโอกาสต่างๆ เป็นต้น

 

แนวทางปฏิบัติของบริษัท

1. แนวทางปฏิบัติของผู้บริหาร

• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าในการตัดสินใจและกระทำการใดๆ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องโดยภาพรวม
• ปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพด้วยความรู้ความชำนาญ ความมุ่งมั่นและมีความรอบคอบระมัดระวัง มองเห็นปัญหาล่วงหน้าและหาวิธีการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นและรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานดังกล่าวไว้ รวมถึงมีการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในการจัดการบริษัทฯ อย่างเต็มความรู้ความสามารถ
• ไม่หาประโยชน์ให้ตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยการนำสารสนเทศภายในที่ยังไม่ได้เปิดเผยหรือที่เป็นความลับไปใช้หรือนำไปเปิดเผยกับบุคคลภายนอกหรือกระทำการอันก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
• จัดให้มีการดูแล การตรวจสอบ ทั้งภายในบริษัทและสภาพแวดล้อมของบริษัทโดยสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าได้มีการปฏิบัติตามนโยบายและกระบวนการที่กำหนด
• จัดให้มีการรายงานสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และสม่ำเสมอ รวมถึงจัดให้มีการรายงานแนวโน้มในอนาคตของบริษัทบนพื้นฐานของความเป็นไปได้และมีข้อมูลสนับสนุนอย่างเพียงพอ
• ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รักษามาตรฐานอุตสาหกรรมและกำหนดแนวทางปฏิบัติให้ทันต่อเหตุการณ์ มีเอกสารหลักฐานที่เพียงพอและเหมาะสมสำหรับการดำเนินการควบคุมและการดูแลรักษาให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดสำหรับนำไปใช้ปฏิบัติในทุกระดับของการจัดการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง มีการแบ่งแยกกิจกรรมดำเนินธุรกิจ และจัดให้มีการอนุมัติการดำเนินการที่เหมาะสมเป็นไปตามที่กฎหมายและข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้อง
• พัฒนาบริษัทให้บรรลุถึงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และเป็นมาตรฐานที่ยอมรับ
• ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัท

 

2. แนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการบริษัท

• กำหนดทิศทาง เป้าหมาย นโยบายและกลยุทธ์ทางธุรกิจ
• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความระมัดระวังและรักษาประโยชน์ของบริษัทฯ
• พึงปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและข้อบังคับของบริษัท
• ติดตามการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
• พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการให้ชัดเจนและเหมาะสม
• พิจารณาการทำรายการทางธุรกิจที่สำคัญของบริษัทด้วยความตั้งใจและขยันหมั่นเพียร
• จัดประชุมคณะกรรมการและพิจารณาวาระการประชุมอย่างเหมาะสม
• ประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ
• จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับอาวุโสของบริษัท

 

3. แนวทางปฏิบัติของคณะอนุกรรมการ

• ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ด้วยความตั้งใจและขยันหมั่นเพียร
• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความระมัดระวังและรักษาประโยชน์ของบริษัทโดยปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์
• พึงปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและข้อบังคับของบริษัท
• รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการรับทราบและพิจารณาอย่างสม่ำเสมอ

 

4. แนวทางปฏิบัติของกรรมการ

• ขยันหมั่นเพียรปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ
• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความระมัดระวังและรักษาประโยชน์ของบริษัท
• พึงปฏิบัติตามกฎหมายกฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและดำเนินธุรกิจเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท
• ติดตามการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของบริษัท
• ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่ามีการรักษาความลับของสารสนเทศที่เป็นความลับภายในบริษัทฯและยังไม่อนุญาตให้เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก และไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อภายนอก และไม่ใช้ข้อมูลภายในของบริษัท ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของตนเอง
• หลีกเลี่ยงการกระทำหรือการตัดสินใจ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์

 

5. แนวทางปฏิบัติของเลขานุการบริษัท

• ขยันหมั่นเพียรปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความระมัดระวังและรักษาประโยชน์ของบริษัท
• ดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการและบริษัทฯ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและดำเนินธุรกิจเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท
• มีความพร้อมและตั้งใจในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นการประชุมคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ และการจัดเตรียมรายงานการประชุม
• เป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสารที่ดีระหว่างกรรมการและผู้ถือหุ้น
• รักษาข้อมูลภายในบริษัทให้เป็นความลับ รวมถึงข้อมูลในรายงานการประชุมของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ของบริษัท และไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อภายนอก และไม่ใช่ข้อมูลภายในของบริษัท ซึ่งยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของตนเอง

 

6. แนวทางปฏิบัติของพนักงาน

• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบต่อบริษัท
• พึงปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและข้อบังคับของบริษัท
• ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่ามีการรักษาความลับของสารสนเทศที่เป็นความลับภายในบริษัทฯและยังไม่อนุญาตให้เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก และไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อภายนอก และไม่ใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของตนเอง
• พึงรักษาและร่วมสร้างสรรค์ให้เกิดความสามัคคีในหมู่พนักงาน

 

7. นโยบายและแนวทางปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทต้องมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าอย่างมืออาชีพ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมีคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงการให้ความสำคัญของการปฏิบัติที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ทุกฝ่าย ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูง จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียขึ้น เพื่อเป็น แนวทางการทำงานที่ดี และ ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีจรรยาบรรณ ดังต่อไปนี้

 

แนวทางปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น

• บริษัทต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินในเรื่องที่เกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศ วิธีการปฏิบัติทางบัญชี การใช้สารสนเทศภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยผู้บริหารจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนตัดสินใจดำเนินการใดๆ ด้วยความสุจริตใจ และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อย และเพื่อผลประโยชน์โดยรวม

 

แนวทางปฏิบัติต่อลูกค้า

• บริษัทตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของลูกค้าของบริษัทและมั่นใจว่าเงื่อนไขทางการค้าต่างๆ เป็นไปด้วยความเป็นธรรมตามมาตรฐานการค้าโดยทั่วไป ความลับของลูกค้าควรเก็บเป็นความลับและใช้ในธุรกิจ โดยไม่มีการเปิดเผย ยกเว้นการบังคับตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ หรือการยินยอมจากผู้เป็นเจ้าของสารสนเทศ รวมถึงประเด็นทางด้านการตลาด การกำหนดราคา รายละเอียดบริการ คุณภาพและความปลอดภัยของการให้บริการ

 

แนวทางปฏิบัติต่อคู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้

• บริษัทควรแน่ใจว่ามีการปฏิบัติที่ดีต่อคู่ค้า ได้แก่ กระบวนการสั่งซื้อจากผู้ขายและการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ต่อเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้เงินกู้ยืม เช่น การเบิกใช้ การชำระหนี้ หลักประกัน และข้อตกลงทางธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

แนวทางปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า

• บริษัทได้ปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาบริษัทที่เป็นคู่แข่งทางการค้าด้วยข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง รวมถึงไม่เข้าถึงสารสนเทศที่เป็นความลับของคู่แข่งด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม

 

แนวทางปฏิบัติต่อพนักงาน

• บริษัทตระหนักเป็นอย่างดีว่า พนักงานเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจของบริษัท จึงกำหนดวิธีการจ้างงาน ความเท่าเทียมกันในโอกาสของการจ้างงาน ความมั่นคงและความก้าวหน้าทางอาชีพ และหลักการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานและการจ้างงานและทำให้มั่นใจได้ว่าพนักงานมีความรู้ความชำนาญที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานในธุรกิจ รวมถึงความเข้าใจในข้อพึงปฏิบัติ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง แนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ และข้อตกลงในการที่จะปรับปรุงความรู้ความสามารถเพื่อทำให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมในอนาคต

 

แนวทางปฏิบัติต่อชุมชนและสังคม

บริษัทควรตระหนักเป็นอย่างดีถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนและการเอาใจใส่ต่อผลกระทบต่อผู้ที่อยู่รอบข้างมากกว่าที่มีกำหนดไว้ในกฎหมาย และพยายามที่จะค่อยๆ ให้มีการซึมซับเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางสังคม

บริษัทคาดหวังที่จะดำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่นที่บริษัทฯ ตั้งอยู่หรือเข้าไปทำธุรกิจ และปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน มุ่งมั่นที่จะใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะดำเนินการยกระดับคุณภาพของสังคม ทั้งที่ดำเนินการเองและร่วมมือกับภาครัฐและชุมชน

 

8. นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

บริษัทควรมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานของความปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมอย่างสูงสุด ซึ่งได้มีแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

• ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ที่บริษัทฯ เข้าไปทำธุรกิจ
• ปฏิบัติตามมาตรฐานเพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยในสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับพนักงานทุกคน
• ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัย ความปลอดภัยในทุกระดับ ตลอดจนสนับสนุนวิธีการและการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายของอุตสาหกรรม
• เปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริง ในเรื่องความปลอดภัย ชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัท

   
  [Last Modified: October 15, 2012]
   

   
   

 

 

 

   
  [Last Modified: December 4, 2012]
   
   
 
  กว่าสิบปีของการดำเนินธุรกิจแพปลาและอาหารทะเล โดยเริ่มจากเป็นชาวประมง ออกเรือประมงเอง จนมาถึงการเป็นเจ้าของธุรกิจแพปลา และเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารทะเล ทั้งปลีกและส่งทั่วประเทศ คุณภาพดีในราคายุติธรรม ในรูปแบบต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้าอย่างครบถ้วน โดยมีสินค้าทะเลหลากหลายทั้งของสด ของแช่แข็ง ของแห้ง และสินค้าพร้อมปรุงรับประทาน เราเลือกซื้อสินค้าทะเลโดยตรงจากชาวประมงท้องถิ่น มีเครือข่ายพันธมิตรในธุรกิจที่ดีและนำเข้าจากต่างประเทศ จึงทำให้เราสามารถเลือกซื้อสินค้าทะเลที่ดีที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุดและครบถ้วน ในราคาที่ท่านพอใจที่สุด พร้อมทั้งได้รับการไว้วางใจจากลูกค้ามากกว่า 10 ปี และพร้อมพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ท้องตลาดเสมอ 

download
ประกาศผลประกอบการไตรมาสล่าสุด ด้วยยอดขายแตะ 3740 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กำไรเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ และราคาหุ้นพุ่งทะลุ 73 เหรียญสหรัฐฯ ใกล้จุดสูงสุด ซีอีโอสตาร์บัคส์ไม่บอกว่าอนาคตข้างหน้า กาแฟสตาร์บัคส์จะมีรสชาติหรือกลิ่นแปลกใหม่มากน้อยเพียงใด แต่ยืนยันว่านับจากนี้ เทคโนโลยีจะเป็นตัวแปรสำคัญ ในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมบริการใหม่ๆ ในร้านสตาร์บัคส์ 18000 สาขาทั่วโลก

นาย Howard Schultz ซีอีโอสตาร์บัคส์ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ ว่าแม้สตาร์บัคส์ เป็นร้านขายกาแฟชื่อดังสัญชาติมะกัน จะอยู่มนช่วงพีคที่สุดนับตั้งแต่ทำธุรกิจมา 31 ปี แต่ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ไม่สามารถทำให้สตาร์บัคส์ นิ่งเฉยอยู่ได้ และกำลังอยู่ระหว่างคิดค้นนวัตกรรมบริการใหม่ ให้แก่ลูกค้า ผ่านร้านสตาร์บัคส์ที่มีอยู่ 18000 แห่งใน 62 ประเทศ

“ขณะนีเรากำลังวางแผน คิดค้น คอนเซปต์ใหม่ๆ ให้กับร้านสตาร์บัคส์ ไม่ใช่แค่การตกแต่งและคุณภาพการให้บริการ แต่รวมถึงการให้ประสบการณ์ด้านดิจิตอลเพิ่มเติมให้แก่ลูกค้าด้วย”

เขาบอกว่า ขณะนี้ยังไม่มีภาพที่ชัดเจนของร้านสตาร์บัคส์ใหม่ และสตาร์บัคส์ยังคงเป็นสตาร์บัคส์ที่ลูกค้าคุ้นเคย แต่ในอนาคต เมื่อลูกค้าเดินเด้ข้าร้านปั๊บจะต้องสัมผัสได้ถึงความแตกต่างที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของสตาร์บัคส์ในอนาคตจะมาจากเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นหลัก อย่างเช่น การชำระค่ากาแฟด้วยมือถือ ซึ่งสตาร์บัคส์เริ่มการให้บริการไปแล้ว และได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมาก

ปัจจุบันสตาร์บัคส์ มียอดชำระเงินผ่านมือถือสัปดาห์ละ 3 ล้านบิล มากกว่ายอดชำระเงินผ่านมือถือของ 10 บริษัทรวมกัน นั่นแสดงให้เห็นว่าลูกค้าสตาร์บัคส์ก้าวล้ำทางเทคโนโลยีเพียงใด

การเปลี่ยนแปลงที่จะมาจากเทคโนโลยีในอนาคต ได้แก่ การให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ อนามัยที่ดี รวมไปถึงการขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มอื่นๆ นอกจากคอกาแฟให้เพิ่มมากขึ้น ภายใต้เป้าหมายผลักดันให้สตาร์บัคส์เป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและความเป็น “ต้นแบบ”

โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สตาร์บัคส์โฟกัสไปที่สินค้าเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสูตรเครื่องดื่มอยู่มากมาย รวมไปถึงการเข้าซื้อกิจการเครื่องดื่มล่าสุด ซึ่งทำให้สตาร์บัคส์ได้สิทธิผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพหลากหลาย ทั้งอาหาร ขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่ม

นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนอีกประการในร้านสตาร์บัคส์ ยังใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการให้บริการมากขึ้น จากพฤติกรรมของลูกค้าสตาร์บัคส์ ที่เป็นกลุ่มชื่นชอบเทคโนโลยีเป็นพิเศษ ด้วยจำนวนของผู้ใช้ ที่นิยมชำระค่ากาแฟด้วยมือถือแล้ว สตาร์บัคส์ ยังมียอดแฟนในเฟคบุ๊ก สูงถึง 54 ล้านคนด้วย โปรเจกต์ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดในระยะเวลาไม่ไกลจากนี้ คือ การเสิร์ฟกาแฟให้ลูกค้า ทันที่ที่ก้าวถึงเคาน์เตอร์สตาร์บัคส์ โดยที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องสั่งและรอออเดอร์ นั้นหมายความว่าการใช้เทคโนโลยีที่จดจำพฤติกรรมของลูกค้าว่าดื่มเครื่องดื่มประเภทใด ผ่านการใช้บริการแอพพลิเคชั่นของสตาร์บัคส์บนโทรศัพท์มือถือ ที่ต้องพัฒนาให้ก้าวหน้าไปยิ่งขึ้น และอาจจะรวมถึงการนำเทคโนโลยี 3 มิติมาใช้ในร้านสตาร์บัคส์ หลังจากที่นาย Schultz ได้มีโอกาสชมภาพยนตร์ Life of Pi และชื่นชอบเป็นอย่างมาก

DSCN2430_resize-copy1-655x260

ชื่อร้าน : ร้านกาแฟฝาง Balcony ร้านกาแฟในสวนสวยพร้อมเทคโนโลยีสุด HIP แม่โจ้ เชียงใหม่
ที่อยู่ : ถนนเชียงใหม่-แม่โจ้ ระหว่างสี่แยกรวมโชคและโรงพยาบาลเทพปัญญา
พิกัด GPS : 18.817618,99.011599 (ดูแผนที่จาก Google Map)
ติดต่อ : 053 410 413, http://www.fangcoffee.com
เวลาเปิด-ปิด : 07:00 – 21.00 น. ทุกวัน

คลิกเพื่อเข้าดูรายละเอียด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ “เชนร้านอาหารเติบโต …อาหารสัญชาติเอเชียยังเป็นดาวรุ่ง”
qqqqq2

ประเด็นสำคัญ
• ตลาดร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารมีแนวโน้มเติบโต จากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทย การขยายสาขาร้านอาหาร การเข้าสู่ตลาดของผู้เล่นรายใหม่ และการจัดโปรโมชั่นร่วมกับพันธมิตร โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ในปี 2556 นี้ ตลาดร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร จะมีมูลค่า 97,431 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 14 จากปี 2555 โดยร้านอาหารประเภทไก่และเบอร์เกอร์, สุกี้และชาบู, และอาหารญี่ปุ่น ยังคงมีมูลค่าตลาดในสัดส่วนที่สูงเป็นสามลำดับแรก
• ร้านอาหารสัญชาติเอเชีย ได้แก่ ร้านอาหารไทย ร้านสุกี้และชาบู ร้านอาหารปิ้งย่าง และร้านอาหารญี่ปุ่น มีอัตราการเติบโตสูงกว่าร้านอาหารประเภทอื่น เนื่องจากกระแสความนิยมรับประทานอาหารสัญชาติเอเชีย และกลยุทธ์การตลาดของผู้ประกอบการ

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ธุรกิจอาหารจึงเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าตลาดในระดับสูงมาก โดยนอกจากจะมีธุรกิจผลิตอาหารซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว ยังมีธุรกิจบริการที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ คาเฟ่ บาร์ ร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด การบริการจัดส่ง การซื้อกลับบ้าน ร้านอาหารที่บริการด้วยตนเอง และเคาน์เตอร์วางสินค้า (Kios) โดยประกอบไปด้วยผู้ให้บริการจำนวนมาก ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ

ในปี 2555 มีผู้ประกอบการร้านอาหารในประเทศไทยรวม 61,760 ราย โดยเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในกลุ่มภัตตาคาร ร้านขายอาหาร และเครื่องดื่ม ที่ยังคงมีสถานะดำเนินกิจการรวม 6,933 ราย (ลดลงจากปี 2553 และปี 2554 ที่มีจำนวนรวม 7,907 ราย และ 7,099 ตามลำดับ) ซึ่งเป็นการจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทจำกัด 6,002 ราย และเป็นการจดทะเบียนในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล บริษัทมหาชนจำกัด หอการค้า และสมาคมการค้า รวมกัน 931 ราย

แม้ว่าจำนวนผู้ประกอบการร้านอาหารในกลุ่มภัตตาคาร ร้านขายอาหาร และเครื่องดื่ม ที่ยังคงมีสถานะดำเนินกิจการจะมีแนวโน้มลดลงจากในอดีต อันเนื่องมาจากการแข่งขันในตลาดที่ค่อนข้างรุนแรงจากการขยายตัวของร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร ทั้งในรูปแบบการขยายการลงทุนเอง และการขายแฟรนไชส์ แต่เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ กลับพบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 919 รายในปี 2553 ไปสู่ 1,169 รายในปี 2555 ข้อมูลดังกล่าวได้บ่งชี้ให้เห็นถึงความน่าสนใจในการประกอบธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย ที่ยังคงมีผู้เล่นรายใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

วิถีชีวิตคนไทย และการแข่งขันของร้านอาหาร เป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารมีแนวโน้มเติบโต

จากการที่ธุรกิจอาหารมีมูลค่าตลาดอยู่ในระดับสูงมาก จึงส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจบริการเกี่ยวกับอาหาร (Consumer Foodservice) มีมูลค่าตลาดสูงมากตามไปด้วย ทั้งนี้ สามารถจำแนกธุรกิจบริการเกี่ยวกับอาหารในประเทศไทยตามกลุ่มผู้ให้บริการได้เป็นสองกลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจบริการด้านอาหารทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร (Independent Consumer Foodservice) และธุรกิจบริการด้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร (Chained Consumer Foodservice) ทั้งนี้ ผลการสำรวจของ Euromonitor International ได้ระบุว่า ในปี 2555 คนไทยมีค่าใช้จ่ายบริการด้านอาหารกับผู้ให้บริการทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร เฉลี่ย 7,481 บาทต่อคน ลดลงร้อยละ 3.3 จากปี 2550 ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายบริการด้านอาหารกับผู้ให้บริการที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร เฉลี่ย 2,431 บาทต่อคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7 จากปี 2550 ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกใช้จ่ายบริการด้านอาหารของคนไทย ที่มีแนวโน้มเลือกใช้จ่ายกับผู้ให้บริการที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าตลาดธุรกิจบริการด้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารมีแนวโน้มเติบโต

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลในส่วนของธุรกิจแฟรนไชส์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในปี 2555 มีธุรกิจที่ผ่านการพัฒนาเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์รวม 419 ราย ในจำนวนนี้เป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มถึง 239 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของจำนวนธุรกิจที่ผ่านการพัฒนาเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ทั้งหมด ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในการขยายธุรกิจบริการเกี่ยวกับอาหารในรูปแบบการขายแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบผู้ให้บริการที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร เพื่อตอบโจทย์คนไทยที่นิยมเลือกใช้จ่ายบริการด้านอาหารกับผู้ให้บริการกลุ่มดังกล่าวมากขึ้น

altศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ในปี 2556 ภาพรวมของตลาดธุรกิจบริการเกี่ยวกับอาหารจะมีมูลค่าประมาณ 669,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นมูลค่าตลาดธุรกิจบริการด้านอาหารทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร 488,370 ล้านบาท และมูลค่าตลาดธุรกิจบริการด้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร 180,630 ล้านบาท โดยตลาดธุรกิจบริการด้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารยังคงมีสัดส่วนมูลค่าตลาดใกล้เคียงกับอดีต คิดเป็นประมาณร้อยละ 27 ของมูลค่าตลาดธุรกิจบริการเกี่ยวกับอาหารโดยรวม

ทั้งนี้ ความน่าสนใจอยู่ที่ร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร (Food Chain Restaurant) ที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทิศทางของธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 นี้ จะมีการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดอย่างคึกคัก เนื่องจากปัจจัยสนับสนุน ดังนี้

 การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทย: ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัวจากครอบครัวขยายไปสู่ครอบครัวขนาดเล็ก การอาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจจากกรุงเทพฯและจังหวัดที่เป็นหัวเมืองหลักไปสู่จังหวัดอื่นๆที่ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมของความเป็นเมืองมากขึ้น รวมถึงการใช้ชีวิตของผู้คนที่เร่งรีบและมีข้อจำกัดในด้านเวลา ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิถีชีวิตในด้านการรับประทานอาหาร ที่คนไทยนิยมเลือกรับประทานอาหารที่ร้านอาหารมากกว่าการปรุงอาหารเอง เนื่องจากมีความสะดวกสบายและรวดเร็ว ประกอบกับการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทตามนโยบายรัฐบาล ได้ส่งผลให้ประชาชนในประเทศกลุ่มใหญ่มีรายได้มากขึ้น จึงมีทางเลือกในการรับประทานอาหารที่ร้านอาหารมากขึ้น ในขณะที่ร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร มีจุดเด่นในด้านรสชาติอาหารและบริการที่มีมาตรฐาน ความสะอาดของอาหารและสถานที่ รวมถึงยังมีข้อได้เปรียบในด้านการตลาด จึงส่งผลให้ร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆในการเลือกรับประทานอาหารของคนไทย

qqqqq1

 การขยายสาขาร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร: การขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) ได้นำมาซึ่งการขยายตัวของสาขาห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ไปยังพื้นที่ที่มีศักยภาพ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดยผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวได้มีการวางตำแหน่งการแข่งขันของสถานที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ สถานที่พักผ่อน หรือแหล่งจับจ่ายใช้สอย ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญในการขยายธุรกิจสำหรับร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร ที่จะสามารถขยายสาขาตามห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ทั้งในรูปแบบการขยายการลงทุนเอง และการขายแฟรนไชส์ เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆได้มากขึ้น

 การเข้าสู่ตลาดของผู้เล่นรายใหม่ที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารของต่างชาติ: ความนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ของคนไทย ได้ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นแหล่งดึงดูดเครือข่ายธุรกิจอาหารที่เป็นของต่างชาติให้เข้ามาเปิดบริการร้านอาหารแข่งขันกับร้านอาหารที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นตัวเลือกใหม่ๆสำหรับคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครือข่ายธุรกิจอาหารจากประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่นอกจากการมุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าคนไทยแล้ว ยังได้ใช้จุดแข็ง ทั้งในด้านชื่อเสียงของแบรนด์ ประสบการณ์ด้านการประกอบธุรกิจร้านอาหารในหลากหลายประเทศ และความพร้อมด้านเงินทุน มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทยควบคู่กันไป เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นแหล่งรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ นอกจากร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารของต่างชาติจะมีการเข้าสู่ตลาดประเทศไทยในรูปแบบการขยายการลงทุนเองแล้ว ยังมีการเข้าสู่ตลาดประเทศไทยในรูปแบบการขายแฟรนไชส์ ซึ่งสามารถขยายสาขาและสร้างการรับรู้ในแบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การแข่งขันของผู้ให้บริการร้านอาหารยิ่งมีความคึกคักมากขึ้น

 การจัดโปรโมชั่นร่วมกับองค์กรพันธมิตร: โดยส่วนใหญ่แล้ว ร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารจะสร้างความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือกับสถาบันการเงินในการกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ที่มีการสะสมแต้ม การให้ส่วนลด คืนเงิน หรือการผ่อนชำระโดยไม่เสียดอกเบี้ย การจัดโปรโมชั่นในรูปแบบดังกล่าว เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้คนไทยนิยมรับประทานอาหารในร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารยิ่งขึ้น

จากปัจจัยสนับสนุนทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทย การขยายสาขาร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร การเข้าสู่ตลาดของผู้เล่นรายใหม่ที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารของต่างชาติ และการจัดโปรโมชั่นร่วมกับองค์กรพันธมิตร ได้ส่งผลให้มูลค่าตลาดร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารมีแนวโน้มเติบโตขึ้น โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ในปี 2556 นี้ มูลค่าตลาดร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร จะมีมูลค่า 97,431 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 14 จากปี 2555 ที่มีมูลค่าตลาด 85,466 ล้านบาท โดยร้านอาหารประเภทไก่และเบอร์เกอร์, สุกี้และชาบู, และอาหารญี่ปุ่น ยังคงมีมูลค่าตลาดในสัดส่วนที่สูงในสามลำดับแรก คิดเป็นมูลค่าตลาดรวมกันประมาณร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารโดยรวม
กระแสความนิยม และการตลาดของผู้ประกอบการ ดันร้านอาหารสัญชาติเอเชียเติบโตสูง

เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตของมูลค่าตลาดร้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร ในปี 2556 พบว่า ประเภทร้านอาหารที่มีอัตราการเติบโตสูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ย ได้แก่ ร้านอาหารไทย (เติบโตร้อยละ 15) ร้านสุกี้และชาบู (เติบโตร้อยละ 15) ร้านอาหารปิ้งย่าง (เติบโตร้อยละ 16) และร้านอาหารญี่ปุ่น (เติบโตร้อยละ 20) ซึ่งร้านอาหารดังกล่าวล้วนแล้วแต่เป็นร้านอาหารสัญชาติเอเชีย ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ปัจจัยที่สนับสนุนให้ร้านอาหารสัญชาติเอเชียมีอัตราการเติบโตของมูลค่าตลาดสูงกว่าร้านอาหารประเภทอื่น มีดังนี้

 กระแสความนิยมรับประทานอาหารสัญชาติเอเชีย: ความนิยมในการรับประทานอาหารของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยในอดีต กระแสความนิยมรับประทานอาหารจากประเทศแถบตะวันตกเป็นที่แพร่หลาย แต่ปัจจุบัน คนไทยมีทางเลือกในการรับประทานอาหารที่หลากหลายมากขึ้นกว่าในอดีต โดยมีแนวโน้มความนิยมรับประทานอาหารสัญชาติเอเชียมากขึ้น เนื่องจาก อาหารสัญชาติเอเชียมีภาพลักษณ์ในการเป็นอาหารที่มีวิธีการปรุงอย่างพิถีพิถัน อีกทั้งยังมีรสชาติกลมกล่อม อร่อยถูกปากคนไทย สามารถรับประทานร่วมกันได้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ตลาดร้านอาหารสัญชาติเอเชียเติบโต

 กลยุทธ์การตลาดของผู้ประกอบการ: ผู้ให้บริการร้านอาหารสัญชาติเอเชียที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารล้วนแต่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการประกอบธุรกิจ โดยใช้กลยุทธ์การขยายธุรกิจผ่านการขยายสาขาเพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างกว้างขวางและสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆได้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการขยายแบรนด์ออกมาเป็นแบรนด์ย่อย เพื่อเจาะจงกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ครอบคลุมถึงวัยรุ่น วัยทำงาน และครอบครัว โดยมีการชูจุดแข็งที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นความรวดเร็วในการให้บริการ ราคาที่เหมาะสม คุณภาพและความหลากหลายของอาหาร ซึ่งให้บริการอาหารทั้งในรูปแบบอาหารจานเดี่ยว (A La Carte) อาหารชุด และบุฟเฟต์ อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น การจัดโปรโมชั่นร่วมกับบัตรเครดิต การกำหนดช่วงเวลาในการลดราคา การมอบส่วนลดหรืออาหารพิเศษเมื่อรับประทานอาหารครบตามมูลค่าที่กำหนด การจัดเมนูอาหารพิเศษที่ใช้วัตถุดิบระดับ Premium เป็นต้น จึงส่งผลให้สามารถจูงใจคนไทยให้เลือกรับประทานอาหารที่ร้านอาหารสัญชาติเอเชียที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารได้

bo-and-dylan
Bo and Dylan
o ร้านอาหารน้ำติดอันดับที่ 3 และดวงพร ทรงวิศวะ เชฟไทยจากร้านอาหารโบ.ลานได้รับเลือกให้เป็นเชฟสตรีที่ดีที่สุดในเอเชีย

Image
ร้านอาหารโบ.ลาน

นิตยสาร เรสเตอร์รอง แมกกาซีน ทำการจัดอันดับ 50 ร้านอาหารที่ดีที่สุดในโลก โดยมีร้านน้ำ (Nahm) บนโรงแรม เมโทรโพลิแทน ( Metropolitan) ถนนสาทรใต้ เป็นร้านอาหารไทยแห่งเดียวที่ติดโผนี้ด้วย

ร้าน Nahm เป็นร้านอาหารไทยที่มีสาขาแรกตั้งในกรุงลอนดอน ของอังกฤษ ซึ่งเคยได้รับรางวัลรับรองมาตรฐาน 1 ดาว จากมิชลิน เจ้าของเป็นเชฟชาวออสเตรเลีย ชื่อ David Thompson

ส่วนอันดับที่ 1เป็นของแชมป์ 3 ปีซ้อนอย่างร้าน Noma restaurant จากกรุงโคเปนเฮเก้น ของประเทศเดนมาร์ก

ในการจัดอันดับจะมีผู้เชี่ยวชาญและนักชิมจากทั่วโลกทั้งหมด 800คน แต่ละคนโหวตได้ 7 ร้าน เป็นร้านอาหารในภูมิภาคของตน 4 ร้าน และเป็นร้านนอกภูมิภาคอีก 3ร้าน แต่ห้ามเป็นร้านของตัวเองหรือเป็นผู้มีผลประโยน์ร่วม

สำหรับ 50 อันดับ ร้านอาหารที่ดีที่สุดประจำปี 2012 มีดังนี้

50. Nahm, Bangkok
49. Geranium, Copenhagen
48. Manresa, California
47. Bras, France
46. Il Canto, Italy
45. Villa Joya, Portugal
44. Amber, China
43. The French Laundry, California
42. Hof Van Cleve, Amsterdam
41. Mathias Dahlgren, Sweden
40. Quique Dacosta, Spain
39. Waku Ghin, Singapore
38. Biko, Mexico
37. Momofuku Ssam Bar, New York
36. Pujol, Mexico
35. Astrid Y Gaston, Peru
34. Faviken, Sweden
33. De Librije, Netherlands
32. Le Calandre, Italy
31. Asador Etxebarri, Spain
30. Schloss Schauenstein, Switzerland
29. Quay, Sydney, Australia
28. Nihonryori RyuGin, Japan
27. Narisawa, Tokyo, Japan
26. Iggy’s, Singapore: Best Restaurant In Asia
25. Daniel, New York
24. Mirazur, France
23.Vendome, Germany
22. Aqua, Germany
21. Oud Sluis, Netherlands
20. Frantzén/Lindeberg, Sweden
19. Le Bernardin, New York, New York
18. L’Astrance, France
17. Pierre Gagnaire, France
16. L’Arpege, France
15. Le Chateaubriand, France
14. The Ledbury, United Kingdom: Highest Climber
13. The Fat Duck, United Kingdom
12. L’Atelier De Joel Robuchon, France
11. Steirereck, Austria
10. Eleven Madison Park: New York, New York
9. Dinner By Heston Blumenthal
8. Arzak: San Sebastian, Spain
7. Alinea: Chicago, Illinois
6. Per Se: New York, New York
5. Osteria Francescana: Modena, Italy
4. D.O.M.: Sao Paolo, Brazil
3. Mugaritz: Errenteria, Spain
2. El Celler De Can Roca: Gerona, Spain
1. Noma, Copenhagen, Denmark

งาน 50 อันดับ ร้านอาหารที่ดีที่สุดในเอเชีย ซึ่งได้รับการอุปถัมภ์โดยซาน เพลเลกริโนกับอาคัว พานนา และจัดรายการโดยบริษัทวิลเลียม รีด บีซีเนส มีเดีย วันนี้ได้ประกาศให้ร้านอาหารน้ำของเชฟเดวิด ทอมป์สันได้รับรางวัลของซาน เพลเลกริโนในฐานะร้านอาหารที่ดีที่สุดในประเทศไทย ร้านอาหารน้ำยังได้เข้าอยู่ในลำดับสูงสุดในรายนาม 50 อันดับ ร้านอาหารที่ดีที่สุดในเอเชีย คือติดอันดับที่ 3

การประกาศผลรางวัลให้ประเทศไทยนี้เป็นการประกาศเกียรติคุณว่าอาหารไทยนับวันยิ่งเป็นที่ชื่นชอบ ซึ่งประจักษ์ชัดขึ้นอีกโดยเห็นได้จากความสำเร็จของคุณดวงพรหรือคุณ “โบ” ทรงวิศวะ ที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับรางวัลของ Veuve Clicquot ในฐานะเชฟสตรีที่ดีที่สุดในเอเชีย

จากรายนาม 50 อันดับ ร้านอาหารที่ดีที่สุดในเอเชีย ร้านอาหารน้ำติดอันดับที่ 3 และร้านอาหาร โบ.ลานของคุณดวงพร ทรงวิศวะติดอันดับที่ 36 โดยติดอันดับมาด้วยกับกลุ่มที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่ ร้านกากกันหรือ Gaggan (อันดับที่ 10) ร้าน Eat Me (อันดับที่ 19) และร้านสระบัว บาย กินกิน (อันดับที่ 29)

nahm-bangkok-interior1
ร้านอาหารน้ำ

สำหรับร้านอาหารน้ำ เชฟทอมป์สันใช้สูตรอาหารที่รื้อฟื้นมาจากตำราอาหารเก่าแก่ของคุณหญิงสมัยก่อน หลายสูตรไม่เป็นที่พบเห็นมานานหลายปีดีดัก ดังเช่นหอยแมลงภู่ปิ้งย่างแบบชาวใต้ รมควันจากกะลามะพร้าก่อนแล้วจึงนำมาแกงในหัวกะทิที่ได้ผัดกับเครื่องแกงจนหอมแล้ว อาหารทุกอย่างที่เขาปรุงล้วนแล้วแต่มีรสชาติเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ดกลมกล่อมกันดีเหมือนของแท้ตรง ตามที่สืบทอดกันมาในตำรับอาหารไทย

คุณดวงพร ทรงวิศวะ เจ้าของร้านโบ.ลาน อันเป็นร้านอาหารไทยที่กรุงเทพฯ ที่มีชื่อกระฉ่อนไปทั่วโลก ได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็นผู้รับรางวัลของ Veuve Clicquot ในฐานะเชฟสตรีที่ดีที่สุดในเอเชีย ซึ่งจัดเธอให้อยู่ในฐานะผู้นำคนหนึ่งในเรื่องอาหารไทย คุณดวงพร ทรงวิศวะและสามีคือเชฟดิลาน โจนส์ ร่วมกันเปิดร้านโบ.ลานในปี 2009 ทีมงานโบ.ลานก่อตัวขึ้นด้วยความเชื่อที่ยึดพิธีรีตองการปรุงอาหารแบบไทยที่ใช้กันตลอดมาในประวัติศาสตร์การปรุงอาหารไทย โดยทำตามปรัชญาการเตรียมอาหารที่อาศัยเวลาและไม่เร่งรีบ จะใช้เครื่องปรุงที่สด ตามฤดูกาล ที่ปลูกและหามาจากท้องถิ่นเอง เพื่อให้ได้อาหารจานขนานแท้

Image
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ชูระบบคุณภาพ GMP in Mass Catering ขับเคลื่อนภาคธุรกิจบริการอาหาร เน้นพัฒนาธุรกิจอาหารไทยและผู้ปรุงอาหารไทยให้ปลอดภัยได้มาตรฐานสากล ปี 55 รับรองระบบให้ร้านอาหารไปแล้ว 22 แห่ง ปีนี้เตรียมรับสมัครร้านอาหารไทยกลุ่มเอสเอ็มอีอีก 40 แห่ง

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา “เตรียมความพร้อมธุรกิจบริการ : ครัวโรงพยาบาล ครัวโรงแรม ครัวโรงเรียน และร้านอาหาร เข้าสู่ระบบคุณภาพ GMP in Mass Catering” ว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นส่งเสริม “ครัวไทยสู่ครัวโลก” หรือ “ให้ไทยเป็นครัวของโลก” นั้น เป้าหมายสำคัญประการหนึ่ง คือ การทำให้อาหารไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีในเรื่องของความปลอดภัย และเป็นสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานได้รับการยอมรับ และความเชื่อถือในตลาดโลก ในปีที่ผ่านมาได้มอบหมายให้สถาบันอาหารดำเนิน โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก (Thailand Food Quality For The World) ซึ่งกิจกรรมของโครงการมุ่งเน้นในเรื่องการยกระดับมาตรฐานการผลิตของผู้ประกอบการให้ได้มาตรฐาน สากลในเรื่องของความปลอดภัย และรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันยังสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมบริการอาหาร ซึ่งเป็นภาคการบริการที่ใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ครัวร้านอาหาร ครัวโรงแรม ครัวโรงพยาบาล ครัว โรงเรียน และครัวในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ให้มีมาตรฐานความปลอดภัยมากที่สุด

“ระบบคุณภาพ GMP ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ถ้าเป็น GMP ในธุรกิจ Catering ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย โดยสถาบันอาหารได้นำมาตรฐานสากลจาก Codex หรือคณะกรรมการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ มาประยุกต์ร่วมกับข้อกำหนดสุขาภิบาลโรงอาหาร ข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหารสำหรับโรงครัวของโรงพยาบาล ของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งหลักเกณฑ์ GMP กฎหมายไทย ให้มีความสอดคล้องและสามารถนำมาใช้ได้จริงสำหรับธุรกิจบริการอาหารในประเทศไทย โดยได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งนับว่ามีความจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจบริการเป็นอย่างยิ่ง” ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าว

สำหรับในปี 2556 นี้ สถาบันอาหารมีความพร้อมในการมุ่งพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยโดยใช้ระบบคุณภาพ GMP in Mass Catering เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญให้กับภาคธุรกิจบริการอาหาร นอกเหนือไปจากภาคอุตสาหกรรมอาหารที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยก็เพื่อกระตุ้นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ตื่นตัวและเห็นคุณค่าของการผลิตและให้บริการอาหารสำหรับคนหมู่มากที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล

 

1. หัวใจการให้บริการสู่ความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหาร ชุมพร สุขประสงค์ผล
2. การบริการ ( Service ) คือ อะไร ? มีความหมาย 2 ระดับ 1. ระดับพฤติกรรม ( Behavioral Approach ) คือ กระบวนการในการลงมือกระทำในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ( Motion Activity ) โดยมุ่งตอบสนองความต้องของผู้ใช้บริการ 2. ระดับสถาบัน ( Institutional Approach ) คือ การมุ่งพิจารณาการบริการถึงการบริการในฐานะที่เป็นเรื่องของการประกอบธุรกิจบริการ ( Service Industry ) มีการจัดแบ่งหมวดหมู่ของการบริการออกตามประเภท
3. ลักษณะของการบริการ ให้ความสะดวก ไม่สามารถที่จะจับต้องได้ทั้งประสาททั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส เหมือนสินค้า และไม่มีการเปลี่ยนแปลงในตัวสินค้า ใช้แรงงานเป็นหลัก ผลผลิตออกมาในรูปแบบความพึงพอใจ ประทับใจ ตรงกันข้ามกับความไม่พอใจ บริโภคไม่ได้
4. หลักการให้บริการ การบริการที่ตอบสนองความต้องการของบุคลากรส่วนใหญ่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ความสม่ำเสมอ การให้บริการต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ความเสมอภาค บริการที่จัดนั้น จะต้องให้แก่ผู้มาใช้บริการทุกคนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ความประหยัด ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ไปในการบริการจะต้องไม่มากจนเกินกว่าผลที่จะได้รับ ความสะดวก ลักษณะปฎิบัติได้ง่าย สบาย สิ้นเปลืองทรัพยากรน้อย
5. 3 องค์ประกอบของการบริการ เจ้าหน้าที่ของกิจการ ผู้รับบริการ สภาพการติดต่อ ผลสะท้อนออกมาในรูปของความพึงพอใจ การประทับใจ
6. ความสำคัญของการบริการ 1. ความสำคัญต่อ ผู้รับบริการ 1.1 ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา จิตใจ ศึกษาเปรียบเทียบมาตรฐานคุณภาพการบริการที่ตรงกับอัตภาพของแต่ละบุคคล 1.2 เสริมสร้างคุณภาพชีวิต การที่ผู้ได้รับบริการได้รับบริการที่ตรงกับความต้องการรู้สึกสะดวกสบายนำมาความประทับใจ และมีความสุข
7. ความสำคัญของการบริการ 2. ความสำคัญต่อผู้ให้บริการ 2.1 ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารการบริการ การที่ผู้ประกอบการปรับ กลยุทธ์ เพื่อเพิ่มผลกำไรระยะยาวให้กับธุรกิจ ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจ รักษาลูกค้าเดิมเพิ่มลูกค้าใหม่ รักษาพนักงานให้เติบโต 2.2 ผู้ปฎิบัติงานบริการที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีความสำคัญที่ทำรายได้ให้ประเทศ พนักงานแต่ละคนที่จะฝึกฝนและพัฒนาตนเอง
8. หลัก 3 ประการของการบริการที่ดี นโยบายการให้บริการที่ดี ปรัชญาในการให้บริการ ความมุ่งมั่นที่จะสร้างความพอใจ การให้เกียรติลูกค้า การให้ความสำคัญในเรื่องของการตกแต่งสถานที่ ความสะดวกในการใช้ห้องน้ำ บรรยากาศในการต้อนรับลูกค้า แยกส่วนของพนักงานในสถานที่ทำธุระส่วนตัว ระบบการบริการที่ดี การต้อนรับ เจตคติการให้บริการ การรักษาความสะอาด การให้ข้อมูล การอธิบาย การตอบคำถาม คนให้บริการที่ดี การคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณสมบัติ และคุณลักษณะที่ดีเหมาะสมกับงาน มีหลักสูตรฝึกอบรม การอบรม การให้บริการ
9. สุขลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมส่วนบุคคล การแต่งกายและเครื่องแต่งกาย การใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม ข้อปฎิบัติเมื่อพนักงานเจ็บป่วย มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีระบบและกลไกเฝ้าระวังตรวจสอบการทำงานของพนักงาน
10. คุณภาพบริการและความพึงพอใจของลูกค้า 1. การมุ่งเน้นที่ลูกค้า 1.1 กำหนดวิธีการที่เหมาะสมสำหรับประเมินและตัดสินความต้องการของลูกค้า 1.2 จัดทำเป็นข้อกำหนดผลิตภัณฑ์และบริการ 1.3 มีวิธีการสื่อสารกับลูกค้าอย่างเหมาะสม 1.4 รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนต่างๆของลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
11. การควบคุมกระบวนการให้บริการ ความเพียงพอของบุคลากรในด้านจำนวน และทักษะความสามารถ ความพร้อมด้านระบบสนับสนุนการปฎิบัติการ เครื่องมือ และอุปกรณ์ ความเหมาะสมในด้านสภาพแวดล้อมการให้บริการ กลไก และวิธีการทวนสอบผลการปฎิบัติงาน
12. การสื่อสารกับลูกค้าและข้อมูลสะท้อนกลับ วิธีการให้ข้อมูลสะดวกและเหมาะสมกับลูกค้า ข้อร้องเรียนจากลูกค้าที่จะต้องนำไปสู่การรับรู้ของพนักงาน การนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงคุณภาพ การปฎิบัติแก้ไขต่างๆได้มีการสื่อสารไปยังลูกค้าผู้ร้องเรียน
13. สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้า ทรัพย์สินลูกค้า มีการปฎิบัติอย่างระมัดระวังต่อทรัพย์สินต่างๆของลูกค้าขณะอยู่ระหว่างใช้บริการร้านอาหาร มีวิธีปฎิบัติที่เหมาะสมกรณีเกิดการสูญหาย หรือ เสียหาย

[youtube]rlgGOxw1Qgs&feature=related[/youtube]

สรุป
จากภาพรวมของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการให้บริการในร้านอาหาร และอุตสาหกรรมการบริการอาหารเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการ แต่ถ้าเป็นมุมมองของผู้จัดการร้านอาหาร ถือได้ว่าเป็นบริการเสริมที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดเวลาในการสั่งอาหาร และรับรายการอาหารจากบริกร เราสามารถสั่งอาหารโดยตรงไปยังเคาร์เตอร์รับรายการอาหาร และส่งต่อไปยังครัวเพื่อดำเนินการประกอบอาหารให้กับเราได้ทันที สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าเอาไว้เป็นฐานข้อมูลการสั่งอาหาร และความชื่นชอบในรายการอาหารนั้นๆ รวมถึงข้อมูลที่ได้เอามาจัดทำ CRM เพื่อกระตุ้นความภักดีที่มีต่อบริการของร้านอาหารได้โดยตรงอีกทางหนึ่ง

หลักการบริการด้วยหัวใจ Service Mind

แน่นอนว่าอุตสาหกรรมการบริการในประเทศไทยเรา นับวันมีแต่จะเจริญเติบโตขึ้น เนื่องจากวุฒิภาวะ สภาวะแวดล้อม สภาวะทางเศรษฐกิจ และความเร่งรีบในการดำเนินชีวิต ทำให้อุตสาหกรรมการบริการมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น และแน่นอนว่าบุคลากรในอุตสาหกรรมการบริการดังกล่าวนี้ ทุกกลุ่ม ล้วนแล้วแต่มีใช้หลักการบริการด้วยหัวใจ Service Mind กันทัั้งนั้น เริ่มต้นจากหลักการง่ายๆ คือ

วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์ มี 3 ขั้นตอน
1. เข้าใจธรรมชาติของคน คนเรามักมีความรู้สึก ดังนี้
• รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ
• สนใจตนเองมากกว่าคนอื่น
• ต้องการความเจริญก้าวหน้า ความพิเศษ
• พูดมากกว่าฟัง บางครั้งถึงกับแย่งกันพูด ไม่มีคนฟัง
• ให้คำปรึกษามากกว่าที่จะขอคำแนะนำ เช่น เธอต้องยังงั้น เธอต้องยังนี้
• ไม่ชอบการถูกควบคุม จุกจิก จู้จี้
• ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
• และอยากรู้ อยากเห็น
2. รู้จักเทคนิค และวิธีการสัมพันธ์กับคน
3. สร้างลักษณะของผู้มีมนุษยสัมพันธ์ ที่ดี

แนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์
1. ปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ได้แก่
• สายตา เวลาพูดกับใครต้องสบตา
• ความรู้สึก ไม่ใช่เหม่อลอย
• อารมณ์ ควรมีอารามณ์ร่วมขณะสนทนา
• ต้องมีศิลธรรม และคุณธรรม
• ต้องมีมารยาท

2. ปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคในการสนทนา
• ด้วยการสร้างความอบอุ่น และมั่นใจให้คู่สนทนา
• ใช้ภาษา และท่าทางที่เหมาะสม
• ใช้น้ำเสียงที่น่าฟัง ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี เช่น น้ำเสียงในการรับสายโทรศัพท์
• ใช้คำถามที่แสดงถึงความเอาใจใส่ และความเป็นเพื่อน
เมื่อปรับปรุงการพูดแล้วก็ต้องปรับปรุงการฟังด้วย
3. ปรับปรุงและพัฒนาการฟัง
• ฟังด้วยความสนใจ
• ฟังให้ได้สาระ และถามย้อนกลับได้
• ใช้คำพูดตอบรับที่สอดคล้องกับความเห็นของผู้พูด
เช่น ผู้พูด พูดเรื่องการไปเที่ยวที่วังน้ำเขียว แต่ผู้ฟังโต้ตอบเรื่องเขาเขียว แสดงให้เห็นว่า มิได้มีการฟังอย่างตั้งใจ และตอบโต้กับคู่สนทนาไปกันคนละเรื่อง เป็นต้น อาจจะได้ยินว่า อะไรเขียว เขียว ก็ร่วมวงคุยกับเขาไปด้วย โดยไม่ได้ฟังตั้งแต่ต้น ลักษณะแบบนี้ต้องปรังปรุง
4. ผูกมิตร
• มองคนในแง่ดี
• พร้อมที่จะช่วยเหลือ ไม่ใช่รอดูว่าลูกค้ารจะทำได้ไหม แล้วหัวเราะเยาะ ว่าทำไมไม่อ่านป้าย หรือทำไมไม่ถาม เป็นต้น แบบนี้ต้องปรังปรุงเร่งด่วน ควรจะเข้าไปแสดงความช่วยเหลือโดยไม่ต้องรอให้ลูกค้าร้องขอ ถ้าผู้ให้บริการทำได้ รับรองว่าได้ใจลูกค้า เต็มร้อยแน่นอน
• มีน้ำใจและให้อภัย หากลูกค้าทำพลาดไป
• ไม่นินทาลูกค้า
• ไม่พูดลับหลัง (ในทางที่ไม่ดี) แต่จงพูดลับหลัง (ในทางที่ดี)
5. การปรากฎกายที่ดี
• การยิ้มแย้มแจ่มใส ร่าเริง แต่ไม่เริงร่าเกินเหตุ
• มีความกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา ไม่ใช่ทำงานไปนั่งหาวไป (บ่อยๆ จะน่าเกลียด) แสดงว่าไม่รู้จักควบคุมตนเอง
• มีความน่าเชื่อถือ
• มีกิริยาท่าทางที่เหมาะสม
• มีมารยาท รู้จักวางตัวในสังคม
• สำรวมกาย วาจา ใจ
6. การแต่งกายดี
• ถูกกาละ เทศะ และโอกาส
• สมวัย และสรีระ อย่าตามแฟชั่นมากนัก
• พิถิพิถัน ไม่ใช่วันนี้ขี้เกียจรีดผ้า ก็ใส่ทั้งยับๆ
• ดูดีตลอดเวลา

บัญญัติ 6 ประการ เพื่อให้ผู้อื่นชื่นชอบ
• ยิ้มกับลูกค้า
• เอาใจใส่ลูกค้า
• จำชื่อลูกค้าได้ (สำคัญมาก)
• ให้ความสำคัญกับลูกค้า
• เป็นนักฟังที่ดี
• พูดในสิ่งที่เขาสนใจ

หลัก 4 S
S1 Smile
S2 Soft
S3 Sincere
S4 Superb

หลัก 5 ส
ส 1 ต้องสวย (ร่างกายและจิตใจ)
ส 2 สงบ (นิ่ง)
ส 3 ใส่ใจ
ส 4 สอดแทรก
ส 5 สื่อสาร

การบริการ กระบวนการ ของการปฏิบัติตนเพื่อผู้อื่น
การบริการ หมายถึง การทำให้ผู้อื่นพอใจ
การบริการ หมายถึง การทำให้ผู้อื่นชอบ
การบริการ หมายถึง การทำให้ผู้อื่นประทับใจ

SERVICE
S Satisfaction ความพึงพอใจ
E Enthusiasm ความกระตือรือร้น
R Readiness ความพร้อม
V Variation ความเปลี่ยนแปลง
I Intelligence ความฉลาด
C Courtesy ความมีไมตรีจิต
E Endurance ความอดทน

ลักษณะที่ดีของผู้ให้บริการ
1. แต่งกายสะอาดเรียบร้อย
2. อัธยาศัยดี
3. มีมนุษยสัมพันธ์
4. รู้จักกาละเทศะ
5. เต็มใจให้บริการ
6. มีบุคลิกภาพดี
7. เป็นนักฟังที่ดี
8. ไม่ดูถูกผู้อื่น
9. พูดจา ชัดเจน มีหางเสียงไพเราะ
10. พัฒนา ปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ

Service Man
ไม่ควรทำ ควรทำ
ยึกยัก รอบรู้
ชักสีหน้า สู้งาน
ท่ามาก ปฏิภาณดี
ปากเสีย มีไมตรีจิต
ยกตัวอย่าง การให้บริการของร้าน MK Suki

บุคลิกภาพพื้นฐานของผู้ให้บริการ
1. ยืนให้ถูกต้อง
2. นั่งให้ถูกบุคลิกลักษณะ
3. การก้มศีรษะ
4. การคำนับ (ชาย)
5. การจับมือ
6. มารยาทในการเข้าออกห้องผู้อื่น
7. มารยาทในการส่งมอบเอกสาร หรือสิ่งของ
8. มารยาทในการใช้ลิฟท์

ข้อห้ามในงานบริการ
1. อย่าเฉยเมย
2. อย่าพูดสวน
3. อย่าโทษลูกค้าว่าผิด
4. อย่าต่อปากต่อคำ ยียวนกวนประสาท
5. อย่าท้าทายลูกค้าให้ไปฟ้อง

การพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศ
1. ศึกษาเรียนรู้อยู่เสมอ
2. ประเมินตนเองตลอด ว่าวันนี้เราดีกว่าเมื่อวาน พรุ่งนี้เราจะดีกว่าวันนี้
3. วิเคราะห์ตนเอง อะไรบ้างเป็นจุดแข็ง พิจารณาตนเอง เพิ่มจุดแข็ง วิเคราะห์ตนเอง อะไรเป็นจุดอ่อน พิจารณาตนเอง ลดจุดอ่อน
สิ่งที่ต้องมี และปรับปรุงอยู่เสมอ

PACKAGES
P Personality บุคลิกภาพ
A Assistance ความช่วยเหลือ
C Cordial ความจริงใจ
K Knowledge ความรู้
A Attitude ทัศนคติ
G Goodness ความดี
E Efficiency ความมีประสิทธิภาพ
S Spirit จิตใจ

คติประจำใจผู้ให้บริการ “หน้าใสใจสว่าง”
คนมีจิตบริการ ชอบทำงานเพื่อคนอื่นอย่างเป็นสุข
คนมีจิตบริการ จะทำงานด้วยใจกว้าง ชอบสร้างประโยชน์
คนมีจิตบริการ จะมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ยอมอยู่ต่ำแต่จิตใจสูง
คนมีจิตบริการ จะทำงานแบบสบาย เหนื่อยก็เป็นสุขใจ

1. ผู้รับบริการ คือ พระเจ้า
2. ผู้รับบริการ ไม่มีวันผิด
3. เสียงของผู้รับบริการ คือ เสียงสวรรค์
หากพบว่าผู้รับบริการผิด ให้ดูข้อ 1 หรือผิดอีกดูข้อ 2 หากโวยให้ดูข้อ3

ที่มา : อุตสาหกรรมการบริการไทย 4.0