Category: การจัดการ

      จากที่กระผมได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการนำองค์ความรู้มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เรื่อง การจัดการความรู้รายบุคคล (Individual KM) ในวันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2563 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์เทเวศร์ กรุงเทพฯ สามารถสรุปประเด็นสำคัญ และมีขั้นตอนดังนี้

ภาคเช้า

รองศาสตราจารย์ นาวาโทหญิง ดร.ชมสุภัค ครุฑกะ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ เรื่องการจัดการความรู้รายบุคคล โดยที่การพัฒนาทุนมนุษย์ในปัจจุบันมุ่งที่การสร้างความร่วมมือระหว่างกันของทุนมนุษย์กับความรู้ เพื่อนำพาให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ที่มา : งานจัดการความรู้ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

การจัดการความรู้รายบุคคล จึงเป็นสิ่งที่สำคัญสามารถสร้างองค์ความรู้จากบุคลากรที่เป็นความรู้ฝังลึก ออกมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งได้ โดยองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นจากบุคคลต่างๆ ในองค์กรของเรานั้น เกิดจากขั้นตอนกระบวนการทั้ง 7 ขั้นตอนของการจัดการความรู้ กับการพัฒนารายบุคคลมีความสัมพันธ์ โดยพิจารณาจากช่องว่างของความรู้ (Knowledge Gap) เป็นการค้นหาความรู้อะไรที่ทุกคนต้องมีและมีความรู้นั้นหรือไม่ เมื่อระบุความรู้ที่ต้องการแล้วจะแสวงหาความรู้ โดยใช้รูปแบบกิจกรรมที่ใช้ฝึกอบรม หรือวางแผนพัฒนาบุคลากร เช่น การฝึกปฏิบัติระหว่างปฏิบัติงาน (On the Job Training) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) และการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ (Action Learning) การเล่าเรื่อง การเสวนา การให้คำปรึกษาหรือพี่เลี้ยง เพื่อนช่วยเพื่อน และอบรมสัมมนา เมื่อบุคลากรเข้ารับการอบรมแล้ว ต้องให้ผู้เข้าร่วมอบรมถ่ายทอดความรู้ หรือวิธีการปฏิบัติกับบุคลากรคนอื่นๆ ด้วย และหาแหล่งสะสมความรู้ ซึ่งในปัจจุบันมีมีช่องทางในการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือเว็บบล็อกได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ เช่น การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน การจัดทำฐานข้อมูลเว็บไซต์ เพื่อบุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วเพื่อนำความรู้ไปใช้งาน และแบ่งบันความรู้ โดยผลลัพธ์สุดท้ายของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และกระบวนการจัดการความรู้ ก็คือ วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดเกิดจากการเรียนรู้เมื่อนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป โดยนำเอาแผนการจัดการความรู้รายบุคคล (Individual KM Plan) มาใช้กำหนดแนวทางในการพัฒนาความรู้ของบุคลากรแต่ละคนมีองค์ความรู้แตกต่างกัน

เนื่องจากปัญหาขององค์กรที่ทำการจัดการความรู้ ไม่ได้อยู่ที่กระบวนการการจัดการความรู้ในขั้นตอนที่ 1 ถึง 6 แต่เป็นขั้นตอนสุดท้าย คือ ขั้นตอนที่ 7 ที่มีปัญหาเกิดจากบุคลากรขาดแรงจูงใจ หรือแรงกระตุ้นเตือนตนเองในการเรียนรู้จากองค์ความรู้ที่พร้อมใช้ภายในองค์กร โดยยังประโยชน์ถึงการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อนำมาใช้ในการทำงาน จนกลายเป็นการต่อยอดองค์ความรู้เดิมให้มีประสิทธิภาพในการทำงานต่อไปด้วย

https://www.youtube.com/watch?v=i0ZabxXmH4Y

รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชา  แดงจำรูญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นวิทยากรท่านที่สอง ที่กล่าวถึงรูปแบบการสร้างแรงบันดาลใจการจัดการความรู้รายบุคคล เป็นการบรรยายที่ผสมผสานกันระหว่างการบรรยายกับการใช้กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมอบรม มีความสนุกสนานตลอดเวลา สามารถดึงความสนใจในการดำเนินการทำกิจกรรมในช่วงนี้

โดยบุคลากรสามารถดำเนินการตามขั้นตอนได้ดังนี้

  1. การยอมรับคำวิพากษ์วิจารย์ในเรื่องที่ไม่ดีได้ โดยไม่ปกป้องตนเอง
  2. การเสาะแสวงหาคำวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อการปรับปรุงตนเอง

เมื่อเราได้ยอมรับและเสาะแสวงหาคำวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ได้อย่างดีเหมือนเป็นสร้างภูมิคุ้นกันสำหรับการดำเนินชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้มีความเหมาะสม ซึ่งรูปแบบการจัดการความรู้ที่นิยมในปัจจุบันเป็นรูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก (IMTEAC Model) ดังนี้

  1. Introduction
  2. Motivation
  3. Tacit Knowledge
  4. Explicit Knowledge
  5. Action Learning
  6. Constructed Knowledge Sharing

วิทยากรได้ทิ้งท้ายไว้ว่าการจัดการความรู้จะไม่สูญเปล่า ถ้าบุคลากรตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมกับการจัดการความรู้ภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ถึงจะเห็นผลสำเร็จจากการใช้การจัดการความรู้ ขอเป็นกำลังใจให้

ภาคบ่าย

รองศาสตราจารย์ ดร.ศยามน  อินสะอาด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เป็นวิทยากรกล่าวถึงเรื่องการจัดการชุมชนแนวปฏิบัติที่ดี CoP โดยในปัจจุบันนี้การทำ CoP แบบเดิมอาจจะไม่ส่งผลดีต่อการจัดการความรู้อีกต่อไป เนื่องจากมีเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ ดังนั้นการกระตุ้นให้บุคลากรเห็นความสำคัญการเผยแพร่องค์ความรู้ของตนเองผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่องค์กรได้จัดเตรียมเอาไว้ เช่น มทร.พระนคร มี RMUTP CoP Web Blog หรือ ของมทร.ธัญบุรี มี KM Blog@RMUTT เป็นต้น

เนื้อแท้ขององค์ความรู้ คือ หลักการต่างๆ เช่น องค์วิชาด้านบัญชี  ดังนั้น KM คือ การจัดการทั้ง 4 ข้อนี้โดยต้องใช้เครื่องมือ หลังจากนั้นจะได้ความรู้ชนิด tacit (ความรู้ฝังในตัวคน) และ Explicit (ความรู้ที่ชัดแจ้ง) ออกมา ต่อมานำไปเก็บไว้ใน KMS (knowledge management system ได้แก่ เว็บไซต์ ยูทูป ฐานข้อมูล อินทราเน็ต) แล้วมาแบ่งปันและเรียนรู้ (share and learn)

1. ประสบการณ์เป็นความรู้ประเภทหนึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ประสบการณ์ที่ดี คือ best practice (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ) หรือ good practice ประสบการณ์ที่ไม่ดี คือ lesson learned ในการจัดการความรู้จะใช้เครื่องมือถอด best practice จะได้องค์ความรู้ออกมา เดินทางต่อไปที่คลังความรู้แล้วต่อมานำไปใช้ปรับปรุงให้ดีขึ้น (improvement) แล้วทำการวัดผล ผลที่ได้ออกมาคือประสิทธิภาพประสิทธิผล

2. ทักษะเป็นความรู้ประเภท tacit การจัดการความรู้ประเภททักษะ ผู้มีทักษะต้องยินดีเปิด แล้วถอดความรู้จากผู้นั้น จัดเป็นการจัดการความรู้ระดับบุคคล (personal KM) วัดผลที่คนเก่งขึ้นไหม ถ้าองค์กรมีระบบที่ดี จะวัดที่ competency

3. สารสนเทศเกี่ยวกับ information ไม่เกี่ยวกับคน information คือข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว มาผ่านเครื่องมือ เช่น DATA analytic ทำให้เกิด improvement นำไปสู่สุดท้ายเกิดนวัตกรรม

4. องค์วิชาที่สำคัญคือการเขียนคู่มือ งานวิจัย ออกมาเป็นนวัตกรรม

เมื่อได้องค์ความรู้ที่จำเป็นในด้านต่างๆ ที่เป็นองค์ความรู้ สิ่งที่บุคลากรในองค์กรจะต้องดำเนินการต่อไปคือการนำเอาความรู้มาเผยแพร่ หรือถ่ายทอดส่งต่อให้กับบุคลากรในองค์กรท่านอื่นๆ ได้เรียนรู้ร่วมกันด้วย

ดังนั้น ชุมชนแนวปฏิบัติ (CoP) เป็นเครื่องมือการจัดการความรู้อย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมโยงคนในเครือข่าย หรือชุมชนที่มีทักษะการทำงาน ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีทำงาน ช่วยสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติงานแก่บุคลากรขององค์กร

โดยปัจจัยที่ทำให้การทำ KM ไม่ประสบผลสำเร็จ ส่วนใหญ่เกิดจากผู้บริหารระดับสูงไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญองค์กรที่ไม่มีวัฒนธรรมเอื้อต่อการเรียนรู้และแบ่งปัน และคนในองค์กรไม่มีเวลาที่จะเรียนรู้และไม่ใช้ความรู้ในการทำงาน

สิ่งที่วิทยากรเน้นคือการใช้หลักการ 3 H คือ Head Heart และ Hand บุคลากรจะต้องมีหลักการนี้ในใจเพื่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ ต้องประเด็นความรู้ที่ต้องการ ต้องมีหัวใจในการจัดการความรู้ และสิ่งที่สำคัญข้อสุดท้ายคือการลงมือทำมัน ไม่ต้องรอ เนื่องจากองค์กรต่างๆ ในทั่วโลกก็ขับเคลื่อนองค์กรด้วยการจัดการความรู้เช่นเดียวกันทุกแห่ง ถ้าองค์กรของเราไม่ดำเนินการจัดการความรู้ที่ดีมีประสิทธิภาพในการพัฒนางานของตนเองแล้ว ก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่การจัดการความรู้อย่างแท้จริง

KM Weekly - เรื่อง แผนที่ยุคสมัย เพื่อพัฒนานวัตกรรม ช่วงที่ 2

รายการ KM Weekly ตอนที่ 149 ช่วงที่ 2 (ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2561) ผู้จัดรายการ : นฤศร มังกรศิลา ###################### ขอบคุณ : สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา FM 90.75 MHz คลื่นสั่งสมปัญญา พัฒนาสังคม และ ข้อมูลดีๆ จาก Disruptive Innovation แปลโดย : นฤศร มังกรศิลา

รายการ KM Weekly ตอนที่ 139 ช่วงที่ 2 (ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2561) ผู้จัดรายการ : นฤศร มังกรศิลา ###################### ขอบคุณ : สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา FM 90.75 MHz คลื่นสั่งสมปัญญา พัฒนาสังคม และ ข้อมูลดีๆ จากวารสาร OKMD ######################

รายการ KM Weekly ตอนที่ 139 ช่วงที่ 1 (ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2561) ผู้จัดรายการ : นฤศร มังกรศิลา ###################### ขอบคุณ : สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา FM 90.75 MHz คลื่นสั่งสมปัญญา พัฒนาสังคม และ ข้อมูลดีๆ จากวารสาร OKMD ######################

KM Weekly - เรื่อง การสร้างกระบวนการนวัตกรรม

Credit : รายการ KM Weekly (ออกอากาศ มิ.ย. 2561) ผู้จัดรายการ : อ.นฤศร มังกรศิลา ###################### ขอบคุณ : สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา FM 90.75 MHz คลื่นสั่งสมปัญญา พัฒนาสังคม และ ข้อมูลดีๆ จาก 101 Design Thinking

KM Weekly - เรื่อง แนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการจัดการความรู้

รายการ KM Weekly ตอนที่ 120 ช่วงที่ 1 (ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน 2561) ผู้จัดรายการ : อ.นฤศร มังกรศิลา ###################### ขอบคุณ : สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา FM 90.75 MHz คลื่นสั่งสมปัญญา พัฒนาสังคม และ ข้อมูลดีๆ จากวารสารการศึกษาไทย ######################

@Good Practice สาขาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร – การสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในศตวรรษที่ 21 สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน อ.นฤศร มังกรศิลา

E-Hospitality Industry Learning T3 21 st

 

13528265_10206936627869576_1398068101189145988_o

ที่มา : OKNATION.com (http://www.oknation.net/blog/akom/2014/11/21/entry-2)

เป็นเรื่องที่คาดไว้ล่วงหน้าแล้ว และก็เป็นกระแสข่าวที่หนาหูทั้งในและต่างประเทศ ที่คุณธนินทร์ เจียรวนนท์ CEO ของซีพี เตรียมประกาศซื้อTesco Lotus ในไทยอย่างเป็นทางการด้วยเงิน 3 แสนล้าน

มีการวิเคราะห์ว่าสถานการณ์ธุรกิจการเกษตร ค้าปลีกนั้น เท่ากับเครื่อเจริญโภคภัณฑ์กรุ๊ป หรือ CP คุมการเกษตรทั้ง ข้าว หมู ไก่ กุ้ง อาหารสัตว์ ปุ๋ย พืชพลังงาน นอกจากนั้นยังคุมเทคโนโลยี่สื่อสาร ทั้งโทรบ้าน โทรมือถือ internet และมีสื่อในมือ คือ truevision  สรุปคือ CP จะคุมระบบค้าปลีกค้าส่งทั้ง modern trade และ traditional trade ครบวงจร มี 7-11  ส่วนห้างค้าปลีก ค้าส่ง makro และ Lotus

 

ก่อนหน้านี้คอลัมน์ Market-Think ของสรกล อดุลยานนท์ เรื่อง CP BANK?  ในประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ก็วิเคราะห์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่าข่าว “เซเว่นอีเลฟเว่น” และกลุ่มทรู ซื้อหุ้น LH BANK จากกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นจริง เราคงได้เห็น “เกมใหม่” ในแวดวงการเงิน เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา “ซีพี” มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจหลายครั้ง ครั้งแรก คือ การเข้าซื้อหุ้นของ “ผิงอัน” บริษัทประกันรายใหญ่ของจีน ซึ่งเสน่ห์ของ “ผิงอัน” คือ เงินสดจากเบี้ยประกันที่นอนนิ่งอยู่ในบริษัท

 

ครั้งที่สอง คือ การซื้อ “แม็คโคร” ของ “เซเว่นอีเลฟเว่น” ทำให้ “ซีพี” กลายเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการค้าส่งและค้าปลีกและครั้งที่สาม คือ การดึง “ไชน่าโมบาย” ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของจีน มาถือหุ้นใน “ทรู”  ดังนั้น หาก “ทรู” และ “เซเว่นอีเลฟเว่น” ซื้อ LH BANK จริง จะเป็นการเคลื่อนตัวทางยุทธศาสตร์ของ “ซีพี” ครั้งที่ 4 ในรอบ 2 ปี เพราะเซเว่นอีเลฟเว่น มีสาขาอยู่ 8,000 สาขา เป็นทำเลที่ดีที่สุดสำหรับตู้เอทีเอ็ม มี “เคาน์เตอร์เซอร์วิส” ที่สามารถรับจ่าย รับโอน รับจองตั๋ว ที่มีประสิทธิภาพยิ่ง

 

สรุปยอดรายได้เมื่อปีที่แล้ว รายได้ของ “เซเว่นอีเลฟเว่น” 284,760 ล้านบาท แมคโคร 129,780 ล้านบาท รวมกันเป็นตัวเลขกลม ๆ ประมาณ 410,000 ล้านบาท หรือเดือนละ 34,000 ล้านบาท เมื่อรวมโลตัสเข้าไปอีกรายได้ก็จะเพิ่มขึ้นแตะ 5 แสนล้านบาทในอนาคตไม่ยากนัก

ดังนั้นการซื้อเทสโก้โลตัสครั้งนี้จึงเป็นก้าวเดินการเทคโอเวอร์ครั้งที่ 4   ก่อนที่จะไปซื้อ L&H แบงก์ในอีกไม่นานเป็นก้าวที่ 5

โดยก่อนหน้านี้วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 สำนักข่าวรอยเตอร์ส มีรายงานอ้างแหล่งข่าว ระบุว่า นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กำลังพิจารณาเรื่องการซื้อ เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์มาร์เกตค้าปลีกที่มีมูลค่าราว 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 320,000 ล้านบาท) กลับคืนมา หลังจากที่ได้ขายกิจการให้กับบริษัท เทสโก้ ของประเทศอังกฤษไปเมื่อปี 2537  ซึ่ง เทสโก้ โลตัส ที่มีสาขาในไทยถึง 1,737 แห่ง คิดเป็นเกือบ 3 ใน 4 ของจำนวนสาขาทั้งหมดที่มีอยู่ในเอเชีย

เรื่องเกี่ยวเนื่อง : http://www.cpthailand.com/

“ตลาดในโลกนี้เป็นของ ซี.พี.” มุมมอง “ธนินท์ เจียรวนนท์”ในนิตยสาร “Forbes Thailand”

ต้นเดือนกรกฏาคม 2556 นิตยสารฟอร์บส์ ประเทศไทย ได้นำเรื่องราวที่ได้จากการสัมภาษณ์ นายธนินท์  เจียรวนนท์ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) เผยแพร่ เขียนโดย นายนพพร วงศ์อนันต์และ นิธิ ท้วมประถม ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ไทย จีน และเอเชีย เล็กไปแล้วสำหรับ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เจ้าตลาดธุรกิจการเกษตร อาหาร ค้าปลีก และโทรคมนาคม ที่สร้างฐานในประเทศไทย แล้วขยายการลงทุนไปค่อนโลก วันนี้ ซี.พี.ทุ่มเททรัพยากรมุ่งเข้าสู่การค้าบนโลกออนไลน์ เร่งวางเครือข่ายการกระจายสินค้า และสื่อสารไร้สาย สนับสนุนการเติบโตของสินค้าในเครือ หลังกระโจนเข้าสู่ธุรกิจการเงินในจีน“เราไม่ได้มองเฉพาะเมืองจีน  ซี.พี.มองอะไร เป็นระดับโลก …ตลาดในโลกนี้เป็นของซี.พี. …คนเก่งในโลกนี้เป็นของซี.พี. วัตถุดิบในโลกนี้เป็นของซี.พี. เงินในโลกนี้เป็นของซี.พี. อยู่ที่ว่าเรามีความสามารถเอาเงินเขามาใช้รึเปล่า ผมมองระดับโลก ไม่เฉพาะเมืองไทย หรือเมืองจีน ถ้ามีโอกาส ที่ใดมีโอกาส ที่นั่นเป็นของซี.พี.”

นี่คือ วิสัยทัศน์ของ ธนินท์ เจียรวนนท์ อภิมหาเศรษฐีผู้มั่งคั่งที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมูลค่าทรัพย์สินรวม 414,700 ล้านบาท (1.43 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ในวัย 74 ปี ผู้ที่บอกกับ Forbes Thailand ว่า วันนี้ เขา “กึ่งรีไทร์กับกึ่งทำงาน”

“เดิมวางแผนไว้ว่าจะเกษียณที่ 55… พอเจอวิกฤตเศรษฐกิจ (ปี 2540) ตอนอายุ 58 ตอนนั้น เหลือค้าปลีก กับเทเลคอม นอกนั้นมอบออกไปหมด หลังวิกฤตเศรษฐกิจก็ดึงกลับเข้ามาเต็มๆ จากนี้ไปคิดว่าคงจะกึ่งรีไทร์กับกึ่งทำงาน” ธนินท์กล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์ บนชั้น 34 ของตึกทรูทาวเวอร์ เป็นการสัมภาษณ์พิเศษกับสื่อไทยเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี และเป็นครั้งแรกที่พ่อและลูกชายถ่ายรูปร่วมกัน

วัย 74 ปีสำหรับหลายคน อาจเป็นวัยที่พักผ่อนอยู่กับบ้าน เลี้ยงหลาน ปลูกต้นไม้ เข้าวัดปฏิบัติธรรม แต่สำหรับธนินท์แล้ว เขายังคงกระฉับกระเฉง วางเป้าหมายทางธุรกิจให้เครือฯ  คิดค้นโครงการใหม่ๆ และเดินทางไปทั่วโลกอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย วันสัมภาษณ์ที่เขาให้ Forbes Thailand เกิดขึ้น 2 วัน หลังเดินทางกลับจากสหรัฐ และยุโรป และ1 วัน ก่อนเดินทางไปจีน

เครือ ซี.พี. เจ็บตัวไปไม่น้อย เมื่อรัฐบาลประกาศลดค่าเงินบาทในปี 2540 จำใจต้องดึงยักษ์ค้าปลีกจากอังกฤษ Tesco เข้ามาร่วมทุนใน Lotus Supercenter ต้องขายหุ้นห้างค้าส่ง makro ออกไปให้บริษัทแม่เชื้อสายดัตช์ ลดสัดส่วนถือครองจาก 30% เหลือ 13.4% ก่อน มาซื้อคืนทั้งหมดเมื่อเดือนเมษายน (อ่าน C.P.’S 2 MEGA DEALS IN 2013) ธุรกิจโทรคมนาคมในขณะนั้น ต้องเป็นหนี้สินล้นพ้น  แต่ 16 ปีผ่านไป เครือเจริญโภคภัณฑ์กำลังเติบโตแผ่อาณาจักร ครอบคลุมประเทศไทย อาเซียน และทั้งโลก

มาวันนี้ 4 บริษัทของ 3 ธุรกิจหลักในเครือ ซี.พี. ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร (บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF) โทรคมนาคม (True Corp.) ค้าปลีกและค้าส่ง (CP All PCL และบริษัท สยามแมคโคร จำกัด(มหาชน)) ล้วนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีมูลค่ารวมของตลาด (market capitalization) กว่า 9 แสนล้านบาท (มูลค่าเมื่อกลางมิถุนายน 2556) เฉพาะ CPF บริษัทเดียวมีบริษัทลูกที่ลงทุนในไทยและต่างประเทศรวม 127 แห่ง ในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ส่วนยอดขายรวมของทั้งเครืออยู่ที่ 3.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 9.9 แสนล้านบาท ณ สิ้นปี 2554 (ตัวเลขล่าสุดที่ทางซี.พี.เปิดเผยต่อสาธารณะ)

ซี.พี. เป็นนักลงทุนต่างประเทศเจ้าแรกที่เข้าไปลงทุนในจีน เมื่อปี 2522 หลังรัฐบาลคอมมิวนิสต์แผ่นดินใหญ่เปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ จวบจนสิ้นปี 2555 มูลค่าการลงทุนรวมของเครือในจีนอยู่ที่ 9 พันล้านเหรียญ หรือ 2.7 แสนล้านบาท มูลค่าดังกล่าวไม่รวมอภิมหาดีลที่ ซี.พี. สร้างความประหลาดใจไปทั่วจีนแผ่นดินใหญ่ และภูมิภาคเอเชีย เมื่อประกาศเข้าซื้อหุ้น 15.57% ของ Ping An Insurance บริษัทประกันแถวหน้าของจีน เมื่อปลายปี 2555 จาก HSBC ธนาคารยักษ์ใหญ่ระดับโลก ด้วยวงเงินมหาศาลถึง 9.38 พันล้านเหรียญ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่งในฮ่องกงถึงกับกล่าวติดตลกกับสำนักข่าว “รอยเตอร์ส” ว่า  “ต่อไปผู้ถือหุ้นทุกคนของ Ping An จะได้รับแจกไก่ทอดคนละถังจากทุกกรรมธรรม์ที่พวกเขาซื้อ”

ชีวิต “กึ่งทำงาน” ของ ธนินท์ ในวันนี้ คือ การบุกเบิกธุรกิจใหม่ให้สอดรับกับทิศทางทางธุรกิจของเครือฯทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเป้าหมายหลักของ ซี.พี. คือ การลงทุนในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะเครือข่ายการขาย กระจายสินค้าในประเทศ เพื่อรองรับการเป็น “ครัวของโลก”

นอกจากการพัฒนาการจัดจำหน่ายตามช่องทางปกติแล้ว จากนี้ไป ซี.พี. จะให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนาระบบ e-commerce และ logistics ของเครือฯ สร้างเครือข่ายศูนย์กระจายสินค้า (distribution centers) รวมทั้งให้ความสำคัญกับการค้าบนโลกออนไลน์มากขึ้น โดยใช้ ทรูเป็นหัวหอกในการบุกเบิกและเชื่อมโยงธุรกิจ e-commerce ของทั้งเครือ

“ต่อไปซื้อของไม่ต้องไปมอลล์แล้ว เราสร้างมอลล์ในอากาศ ไม่ต้องไปก่อสร้าง ใช้ซอฟแวร์เข้าไป ร้านค้านาย ก นาย ข ก็มาเช่า พื้นที่ แทนที่ไปเช่าพื้นที่จริง เราขยายได้มากมาย วันหนึ่งจะเห็นภาพ 3 มิติ เข้าไปในมอลล์ เรากำลังเดินเข้าร้านค้า เสื้อผ้า หนีไม่พ้น คือ ทิศทางที่เราไป ใครไม่ทำก่อน ก็จะล้าหลัง… สรุปแล้วในอนาคต หนีไม่พ้นอินเตอร์เน็ต e-commerce ถ้าธนาคาร ก็ e-banking ต่อไปแบงก์ไม่ต้องมีสาขา สาขาอยู่บนอากาศ ไม่ต้องมีตัวตน ใครไป e-banking ก่อน ก็ชนะ ตั้งสาขาไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ตั้งกี่สาขาก็อยู่บนเว็บไซต์ ”

ธนินท์ มองว่า ประเทศไทยและคนไทยยังช้ากว่าจีนในเรื่องจำนวนคนใช้คอมพิวเตอร์ และการซื้อขายออนไลน์ ต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี กว่าที่ก้าวทันประเทศจีน โดยเขามองว่า การแจกคอมพิวเตอร์แทบเล็ตแก่เด็กนักเรียนทั่วประเทศเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสร้างจำนวนผู้รู้คอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น

กินหัว กินหาง
ในวิสัยทัศน์ของ ธนินท์ แล้ว ซี.พี. ซึ่งเติบโตจากธุรกิจเมล็ดพันธุ์ มาสู่อาหารแปรรูป ค้าปลีก และโทรคมนาคมจะยังคงทำธุรกิจ อาหาร ต่อไปโดยแบ่งเป็น “อาหารสมอง” และ “อาหารปากท้อง”

ในส่วน อาหารสมอง ซี.พี. ใช้ทรูเป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ ทรูวิชั่น ทรูมูฟ การเพิ่มช่องทางรับรู้ข่าวสารทั้งบนเคเบิ้ลทีวี และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตั้งแต่ดูข่าวโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์ ดูภาพยนตร์ รวมทั้งการเตรียมการเข้าประมูลใบอนุญาตดิจิตัลทีวี ที่หลายกลุ่มทุนให้ความสนใจ

ทางด้านอาหารปากท้อง ธนินท์ตีโจทย์ทะลุว่า การเป็น “ครัวของโลก” ของ ซี.พี. นั้น ต้องเป็นไปตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงนานาชาติ ต้องเริ่มจากสินค้าเกษตรแปรรูปสู่มือผู้บริโภค ซี.พี. ต้องสร้างเครือข่ายการขายที่แผ่ขยาย ครอบคลุมไปทุกหัวระแหงของประเทศ โดยเริ่มจากเมืองใหญ่สู่หมู่บ้าน ด้วยโครงการ “ตู้เย็นชุมชน” ที่จำหน่ายสินค้าพร้อมปรุงของ ซี.พี. ในระดับหมู่บ้าน ส่วนในระดับชุมชนเมืองนั้น ซี.พี.จะมี 2 ประสาน คือ CP-All และ makro ในการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย

ธนินท์ บอกว่า ต่อไป makro จะเป็น “ลูกพี่” ของร้านโชห่วย หาบเร่ แผงลอย ไปจนถึงภัตตาคาร โดยจะช่วยเหลือตั้งแต่ การจัดหาสินค้าราคาถูกให้ร้านค้าย่อย ด้วยความรู้จาก CP All จะช่วยสอนการจัดหน้าร้าน ชั้นวางสินค้า ในส่วนแม่ค้าอาหาร หาบเร่ แผงลอยนั้น makro จะจัดหาอาหารสด ราคาถูก  ครบครัน พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ มารยาทการบริการ

“ลูกค้า 7-Eleven กับโชห่วยต่างกัน 7-Eleven เปิด 24 ชั่วโมง สะดวกซื้อ โชห่วยขายในชุมชน ที่เล็กไป 7-Eleven ขายไม่ได้  แต่ร้านโชห่วยไปได้ทุกมุม ที่ 7-Eleven ไปไม่ถึง โชห่วย จะเป็นลูกค้าของ makro…โชห่วย ไม่ได้มาแข่งกับ 7-Eleven ถ้า โชห่วยใหญ่จนพร้อมก็มาเป็น franchisee ของ 7-Eleven ต่อ”

ความสำเร็จด้านค้าปลีกของ ซี.พี. ในวันนี้ ได้บทเรียนจากความล้มเหลวของการร่วมทุนกับ Walmart ยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ค้าปลีกสัญชาติสหรัฐ อยู่ไม่น้อย ซี.พี.กับ Walmart เคยร่วมเปิดสาขาร้านค้าปลีกขนาดยักษ์ 3-4 แห่งในจีน และฮ่องกงในปี 2538 ก่อนแยกกันในปี 2540

กึ่งเกษียณ กับ แผนถ่ายโอนอำนาจ
ธนินท์ บอกว่า ชีวิต “กึ่งเกษียณ” ของเขาตอนนี้ คือ การพักผ่อน ทำให้ร่างกายเราแข็งแรงขึ้น ทำให้ทำงานได้นานขึ้น โดย เขาไม่ได้เดินนำหน้า แต่ “นำอยู่ข้างๆ” หนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชา บุกเดินข้างหน้า เขายึดคติว่า ลูกหลานของเขา จะกลับมาทำงานในธุรกิจที่สำเร็จแล้วไม่ได้ ต้องไปริเริ่มของใหม่ เขาเปิดโอกาสให้มืออาชีพที่บริหารกิจการในเครือที่ดีอยู่แล้ว ทำให้ดียิ่งขึ้น โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ศุภชัย ที่ต้องไปริเริ่มธุรกิจโทรคมนาคม ตั้งแต่ธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานภายใต้ บริษัทเทเลคอม เอเซีย หรือ ทีเอ ก่อนจะก้าวเข้าสู่ธุรกิจสื่อสารอย่างเต็มตัว ทั้งโทรศัทพ์เคลื่อนที่ (ทรูมูฟ) และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ทรู ออนไลน์) 

“ถ้าเรามีผู้บริหารที่เก่งอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเอาลูกไปทำในบริษัทนั้น เพราะถ้าลูกเก่ง บริษัทก็โตเหมือนเดิม แต่เราเสียคนเก่งไป 1 คน แต่ถ้าลูกไม่เก่ง แล้วทำบริษัทแย่ลง ธุรกิจก็ไปไม่ได้ สู้ให้ลูกไปสร้างธุรกิจใหม่ๆ ดีกว่า ธุรกิจเดิมที่ผู้บริหารทำดีอยู่แล้ว ก็ปล่อยเขารับผิดชอบไป”

ธนินท์ ยังไม่บอกว่า เขาจะวางมือจากธุรกิจเมื่อไร และเขาเปิดเผยถึง แผนการโอนอำนาจให้ลูกชายแต่ละคนในอนาคตว่า เขาจะมอบให้ลูกชายคนโต สุภกิต ซึ่งปัจจุบันดูแลธุรกิจเกือบทั้งหมดของซี.พี.ในจีน เป็นประธาน (chairman) ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยลูกชายคนรอง ณรงค์ ที่ดูแลธุรกิจค้าปลีกในจีนในปัจจุบัน จะขึ้นเป็นรองประธาน (vice chairman) หรือ เป็น chairman ของกลุ่มค้าปลีก กำกับดูแล Tesco-Lotus, CP All, CP Fresh Mart โลตัสในจีน และ makro ส่วนศุภชัย ลูกชายคนเล็กซึ่งปัจจุบันเป็น CEO ของ True Corp. ขึ้นเป็น CEO ของ เครือฯ
ชื่อของ ศุภชัย ลูกชายคนเล็ก ดูจะเป็นที่คุ้นหูที่สุดในที่สาธารณะในบรรดาลูกชาย 3 คน เจ้าหน้าที่อาวุโส ซี.พี. คนหนึ่ง ให้นิยามเขาว่า เป็น คนสุขุม ลุ่มลึก รักครอบครัว ส่วนณรงค์ ลูกคนกลาง มีความเป็นนักวิชาการ และมักไปสรรหาคนไทยเก่งๆที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐ (Ivy League) ให้มาร่วมงานกับเครือฯ และสนใจการเลี้ยงนกพิราบ ที่เป็นงานอดิเรกสุดโปรดของธนินท์ด้วย ส่วนสุภกิต ลูกคนโตนั้น มีจุดเด่นด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับคนได้ทุกระดับ เป็นที่กว้างขวางในจีน และให้ความสนใจสะสมดาบและปืนโบราณ จากทั่วโลก
“จุดเด่นของทั้ง 3 คนมารวมอยู่ในตัวท่านประธาน”

นี่คือส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ ของบุคคลที่มั่งคั่งอันดับต้นๆ คนหนึ่งในประเทศไทย บุคคลที่มีมุมมอง “กว้างและไกล” มากกว่าที่ใครหลายคนจะคาดคิด และเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อน “อาณาจักร” ซี.พี. ที่มีพนักงานในมือเกือบ 300,000 คนทั่วโลก ให้ก้าวจากเอเชียสู่ตลาดโลก ดั่งความมุ่งมั่นของเจ้าสัวที่ว่า
“ตลาดในโลกเป็นของซี.พี. ……เงินในโลกเป็นของซี.พี.”
C.P.’S 2 MEGA DEALS IN 2013
เจ้าสัวธนินท์สร้างความประทับใจไปทั่วภูมิภาคตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และต้นปีนี้ ด้วยการเข้าซื้อกิจการ 2 แห่ง ด้วยวงเงินกว่า 4.7  แสนล้านบาท เขาเล่าให้ฟังถึงแนวคิดการซื้อ Ping An Insurance(Group) Co. และบริษัทสยามแมคโคร จำกัด(มหาชน)

PING AN
ซี.พี.กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทประกันหมายเลข 2 ของจีน ในสัดส่วน 15.57 % ด้วยวงเงินมหาศาลถึง 287,966 ล้านบาท เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ธนินท์บอกว่า Ping An ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทประกัน แต่เป็นกลุ่มธุรกิจการเงินครบวงจรมีทั้งธนาคาร บริษัทลิสซิ่ง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ และกองทุนรวม ที่จะช่วยสนุบสนุนธุรกิจซี.พี.ในจีนและทั่วโลก “เราเข้าไป เราจะได้ข้อมูลทุกด้าน ซึ่งข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ยุคสมัยใหม่ แพ้หรือชนะอยู่ที่ใครได้ข้อมูลที่ 100 % ยิ่งได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เวลาวางแผนตัดสินใจอะไรจะได้ชนะ”

การก้าวเข้าสู่ธุรกิจประกันของซี.พี. ครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะเมื่อปี 2543 ซี.พี. ได้เคยร่วมทุนในธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยกับกลุ่ม Allianz จากเยอรมนี แต่ในปี 2555 ซี.พี.ขายหุ้นที่เหลือทั้งหมดให้กับกลุ่มบริษัท ศรีอยุธยาแคปิตอล จำกัด ซึ่งเจ้าสัวบอกถึงสาเหตุที่ถอนตัว ก็เพราะบทบาทของซี.พี.เป็นเพียงผู้ตามเท่านั้น และการขายหุ้นในครั้งนั้นก็ได้ “กำไร”
ประสบการณ์คราวนั้น สอนให้ซี.พี.ก้าวใหญ่ขึ้น ธนินท์มองว่า Ping An จะโตไปอีกหลายเท่า “เขามีระบบบริหารทันสมัยที่สุด โอกาสที่จะโตมหาศาลต่อไป Ping An ไปที่ไหน ซี.พี.ก็ได้ข้อมูลที่นั่น”

นอกจาก “ข้อมูล” แล้ว สิ่งที่เจ้าสัวต้องการอีกอย่าง คือ การสร้างเครือข่ายด้านการขาย และ logistics เพื่อส่งสินค้าในเครือซี.พี. ให้ถึงมือลูกค้าให้ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด นั่นคือเหตุผลที่ธนินท์ประกาศซื้อหุ้น บริษัท สยามแมคโคร จำกัด(มหาชน) (makro) จำนวน 64.35 % จากบริษัท SHV Netherlands B.V.เมื่อ 3/4/56  ด้วยวงเงิน 188,880  ล้านบาท (เขาปฏิเสธว่าตัวเลขนี้ ไม่เกี่ยวของกับเรื่องฮวงจุ้ย เป็นเหตุ “บังเอิญ”) ซึ่งราคานี้เจ้าสัวยืนยันว่าเป็นราคาที่คุ้มค่า เพราะเป็น “ของดี” สามารถนำต่อจิ๊กซอร์ธุรกิจของซี.พี. ได้ทั้งการเป็นช่องทางการขายสินค้าของกลุ่มให้กับกลุ่มลูกค้าที่เป็นโชห่วย และภัตตาคาร ร้านอาหาร การเป็นศูนย์กระจายสินค้า(DC) ให้กับกลุ่มซี.พี.เพื่อกระจายสินค้าต่อไปยังร้าน 7-Eleven กว่า 7 พันแห่ง ซึ่ง makro มีสาขาอยู่ทั้งหมด 58 แห่งทั่วประเทศ เป็นสาขาในต่างจังหวัด 50 แห่ง นั่นหมายความว่า ซี.พี.มี DC เพื่อส่งสินค้าต่อไปยังร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศเพิ่มขึ้น และในอนาคตซี.พี. จะให้ 7-Eleven จัดส่งสินค้าในร้านไปถึงบ้านลูกค้า

“โอกาสของซี.พี.ยังมีอีกมาก อย่างเรื่อง logistics ที่เราต้องสร้างเครือข่ายการขนส่งระหว่างบริษัทสู่บริษัท (B to B) และระหว่างบริษัทสู่ลูกค้า (B to C) ซึ่งในเรื่องของการส่งอาหารสดถึงบ้านยังเป็นโอกาสที่ให้เราเข้าไปทำ”

makro ไม่ใช่เป็นเพียงฐานธุรกิจในไทยเท่านั้น แต่เจ้าสัวยังจะใช้ makro บุกตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน และจีน รวมถึงประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อนำซี.พี.บุกสู่ตลาดโลก

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมขานรับนโยบายนายกรัฐมนตรีพัฒนา SMEs และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ด้วยแนวคิดนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ใน 3 ด้าน ได้แก่ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการบริหารจัดการ เพื่อเตรียมพร้อมผู้ประกอบการสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผ่านโครงการต่างๆ กว่า 70 โครงการ ตั้งเป้าพัฒนาผลิตภัณฑ์เอสเอ็มอีไม่ต่ำกว่า 300 ผลิตภัณฑ์ จำนวนผู้ประกอบการ 3,500 ราย

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ขานรับนโยบาย นายกรัฐมนตรี ในการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ดำเนินการพัฒนาเอสเอ็มอีด้วยแนวคิดนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ใน 3 ด้าน ได้แก่ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมในกระบวนการผลิต และนวัตกรรมการบริหารจัดการผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคต โครงการเชื่อมโยงงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีโครงการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ตลอดจนวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำองค์ความรู้จากการวิจัยมาประยุกต์ใช้สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ ก่อนถ่ายทอดไปในรูปแบบโมเดล และต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์หรือนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ที่ผู้บริโภคพึงพอใจ เพื่อพัฒนาผลิตภาพและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคอุตสาหกรรมนำไปสู่การยกระดับสินค้าของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมยังมีโครงการต่างๆ อีกมากกว่า 70 โครงการกิจกรรม ที่สอดแทรกแนวคิดด้านนวัตกรรมเพื่อการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้ฉีกหนีคู่แข่งทางการค้าที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยในปี 2558 ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีเป้ามายดำเนินการเพื่อพัฒนาศักยภาพตัวผู้ปรกอบการ 3,500 คน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์’เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ นำไปสู่การสร้างอัตลักษณ์ ความแตกต่าง และสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการสร้างจุดเด่นของสินค้าและบริการที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยปีนี้ตั้งเป้าพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมให้แก่ผู้ประกอบการไม่ต่ำกว่า 300 ผลิตภัณฑ์

 

ที่มา : ASTV ออนไลน์

 ถ่ายทอดความรู้  (คุณกิจ)  โดย

อาจารย์นฤศร  มังกรศิลา หัวหน้างานจัดการความรู้

บันทึกเรื่องเล่า

–>>> การใช้สื่อการเรียนการสอนด้วย Social Media

 

      จากที่กระผมได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาจารย์ยุคใหม่ โดยใช้ Social Media จัดการเรียนรู้และศึกษาดูงานด้านการนำสื่อสังคมออนไลน์มาจัดการเรียนการสอน นั้น

      ระหว่างวันที่  ๑๘ ก.พ. ๒๕๕๘  ถึงวันที่   ๒๐ ก.พ. ๒๕๕๘ ณ โรงแรมสีมาธานี  อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เข้าร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการสัมมนาวิชาการเชิงปฏิบัติการ ขอกล่าวถึงเนื้อหาโดยรวมเกี่ยวกับ การใช้สื่อในการเรียนการสอนและ Social Media ในศตวรรษที่ ๒๑ ตามประเด็น….

อ่านต่อได้ที่ –>>> การใช้สื่อการเรียนการสอนด้วย Social Media

[su_youtube url=”http://www.youtube.com/watch?v=ZYmH6buwoeY”]http://youtu.be/ZYmH6buwoeY[/su_youtube]
2 นักศึกษาฮาร์วาร์ด ผุดไอเดียเจ๋งทำเค้กสเปรย์ นวัตกรรมใหม่ในการทำเค้กสุดง่าย เพียงแค่บีบใส่ถ้วยแล้วเข้าไมโครเวฟ ก็ได้เค้กเนื้อนุ่มสดใหม่ไว้กินเล่นแล้ว
            จอห์น แมคแคลลัม และบรูค โนวาโควสกี 2 นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ร่วมกันคิดค้นเค้กสเปรย์ เป็นทางเลือกใหม่ในการทำเค้กกินเองง่าย ๆ แค่มีไมโครเวฟ เพียงบีบเค้กสเปรย์ลงในพิมพ์แล้วนำไปเข้าไมโครเวฟ 1 นาทีก็จะได้เค้กเนื้อนุ่ม รสชาติอร่อย แบบสดใหม่แล้ว
           โดย จอห์น แมคแคลลัม ผู้คิดค้นเค้กสเปรย์มีแนวคิดเกิดขึ้นมาจากเมื่อตอนปี 1 ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เขาได้เห็นคนใช้กระบอกวิปปิ้งครีมในชั้นเรียน เลยปิ๊งไอเดียคิดจะลองทำเค้กสเปรย์ดูบ้าง จากนั้นเลยนำไอเดียมาพัฒนาร่วมกับบรูค โนวาโควส์ เพื่อนสาว จนกลายมาเป็นเค้กสเปรย์ และคว้ารางวัลชนะเลิศจาก Harvard College Innovation Challenge 2014 มาครองอีกด้วย
            ซึ่งเค้กสเปรย์นี้เป็นการพัฒนาการทำเค้กสำเร็จรูปให้ก้าวขึ้นไปอีกขั้น โดยส่วนผสมเค้กที่ใช้ก็จะคล้ายกับแป้งเค้กสำเร็จรูปทั่ว ๆ ไป แต่ไม่มีเบกกิ้งโซดา หรือผงฟู แต่จะอาศัยแรงอัดของแก๊สจากกระบอกเป็นตัวทำให้ขนมขึ้นฟูโดยไม่ต้องใช้สารเสริมช่วยให้เค้กขึ้นฟูแต่อย่างใด และนอกจากจะสามารถนำไปทำให้สุกง่าย ๆ ด้วยไมโครเวฟได้แล้ว ยังสามารถนำไปอบในเตาอบ หรือในกระทะได้อีกด้วย
            ส่วนใครที่อยากซื้อเค้กสเปรย์แบบนี้มาใช้ ในเมืองไทยยังไม่มีขาย แต่ไม่แน่ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจจะได้เห็นเค้กสเปรย์ไอเดียเจ๋ง ๆ แบบนี้ มาวางขายอยู่ในท้องตลาดบ้านเราบ้างก็เป็นได้ คราวนี้การทำเค้กกินเองที่บ้านก็จะไม่ใช้เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว
ที่มา : กระปุกดอมคอม

ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชน์ มองภาพธุรกิจฟื้นตัว และขยายตัวต่อเนื่อง แนะ ผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัวรองรับการแข่งขันรุนแรงขึ้นใน AEC

เปิดแล้วอย่างยิ่งใหญ่กับ งานทีเอฟบีโอ 2014 งานแสดงแฟรนไชน์นานาชาติที่ใหญ่ที่สุดสุดในอาเซียน ครั้งที่ 10 และ งาน ทร๊าฟส์ 2014 งานแสดงอุปกรณ์ วัตถุดิบ ของใช้ ของประเทศไทย ครั้งที่ 8 ภายใต้คอนเซ็ปต์ ทู อิน วัน

โดย นายกวิน กิตติบุญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท กวิน อินเตอร์เทรด บอกว่า Highlight สำคัญของปีนี้ คือ พื้นที่ในการจัดงานที่เพิ่มขึ้นกว่า 50% เป็น 1 หมื่น 5 พันตารางเมตร จากเดิม 1 หมื่นตารางเมตร ซึ่งจัดขึ้นที่ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เพื่อรองรับเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นในครึ่งปีหลังและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558

ในงาน ทีเอฟบีโอ 2014 ปีนี้มีธุรกิจแฟรนไชน์เข้าร่วมแสดงงานถึง 150 แบรนด์ จาก 10 ประเทศ ในขณะที่งาน  ทร๊าฟส์ 2014 มีผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงสินค้า 130 บริษัท โดย บริษัทคาดว่าตลอดการจัดงาน 4 วัน หรือตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 24 – วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม จะมีผู้เข้าชมงานกว่า 3 หมื่นคน จาก 50 ประเทศ พร้อมตั้งเป้าการซื้อขายที่จะเกิดภายในงานกว่า 250 ล้านบาท อีกด้วย

และแนวโน้มของธุรกิจสมาคมแฟรนไชน์และไลเซน นับจากนี้นั้น ทางด้าน นายกฤษฎ์ กาญจนบัตร รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สมาคมแฟรนไชน์และไลเซนส์ บอกในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2558 ว่า มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปีหน้าหลังประเทศไทยเข้าสู่เออีซี จะยิ่งกระตุ้นให้มูลค่าตลาดธุรกิจแฟรนไชน์ขยายตัว อันเนื่องมาจากการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการจากต่างชาติที่เห็นโอกาสในการขยายตลาดทั้งในประเทศไทยและอาเซียน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเตรียมพร้อมรับกับการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

ที่มา : money channel

แนะกลยุทธ์เอสเอ็มอีไทยสู้ได้ในตลาดอาเซียน

 

มูลนิธิเอเชียร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ จัดสัมมนาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคในหัวข้อ “การปรับทัพ AEC ให้สอดคล้องกับ SMEs” หรือ “Making ASEAN Economic Community Work for SMEs” ขึ้น ซึ่งงานเสวนาดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมาก

Ms.Penchan Manawanitkul, Senior Officer Enterprise Development, Asean Economic Community (AEC), Department ASEAN Secretariat กล่าวถึงการพัฒนา SMEs เพื่อรองรับ AEC โดยระบุว่า หัวใจหลักที่จะทำให้ธุรกิจ SMEs สามารถรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีด้วยกัน 4 ช่องทาง ได้แก่ 1.การพัฒนาบุคลากรทางธุรกิจ 2.การผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ 3.การทำให้วัตถุดิบมีมูลค่ามากขึ้น และ 4.การขยายตลาด นอกเหนือจากคู่แข่งทางการค้า ควรมีการเปิดตลาดใหม่ๆเพิ่มเติม ขณะเดียวกันการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในการไปดูงานต่างประเทศจะช่วยให้ผู้ประกอบการเพิ่มวิสัยทัศน์เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าได้มากยิ่งขึ้น

คุณอดิทัต วะสีนนท์ ผู้อำนวยการส่วนยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากผลสำรวจความพร้อมที่จะเข้าสู่ AEC ของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs เมื่อปลายปีที่แล้วพบว่า มีผู้ประกอบการถึงร้อยละ 60 ที่ระบุว่ายังไม่พร้อม โดยให้เหตุผลว่ารอนโยบายทิศทางที่ชัดเจนจากภาครัฐ เงินสนับสนุน การปรับตัว และบางส่วนระบุว่าเป็นแค่กิจการขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องแข่งขันกับนานาชาติเนื่องจากมีตลาดในประเทศอยู่แล้ว ขณะที่ร้อยละ 30 ระบุว่าพร้อม และ ร้อยละ10 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ นอกจากนี้จากผลการสำรวจยังพบว่า ไทยมีจุดอ่อนเรื่องภาษาที่ต้องปรับปรุง ทำให้มีผลต่อการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่อยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการจัดอบรมความรู้ การจัดการบริหารบุคลากร รวมทั้งการลดต้นทุน พลังงาน วัตถุดิบ ภาษี การเพิ่มผลิตภาพและการสนับสนุนการส่งออกให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการ AEC Prompt หอการค้าไทย กล่าวว่าผู้ประกอบการ SMEs ไม่ควรมองแค่เพียงกลุ่มประเทศอาเซียนแต่ควรมองรวมไปถึงทั่วโลก เนื่องจากหัวใจการทำธุรกิจในปัจจุบันไม่ใช่แค่การหวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องควบคู่ไปกับมิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ภายใต้แนวคิดที่ว่าโลกต้องการอะไร ทำอย่างไรให้ธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ทำลายธรรมชาติน้อยที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการต้องเชื่อมโยงธุรกิจให้ตอบสนองพร้อมๆกันทุกด้าน จากนั้นตลาดจะเข้ามาเอง

Mr.Agus Muharram,lr.,MSP,Secretariat Ministry, Ministry of Cooperatives and SMEs, Indonesia กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของอินโดนีเซีย โดยระบุว่า รัฐบาลของอินโดนีเซียมีนโยบายที่จะทำให้ธุรกิจ SMEs ในประเทศรับมือกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วยการสนับสนุนทางการเงิน มีการออกนโยบายให้เงินกู้พิเศษแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงการสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้า SMEs ในกรุงจาร์กาตาและการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ผู้ประกอบการ เสริมความเชื่อมั่นทำให้ธุรกิจ SMEsเข้มแข็งขึ้น

ในงานยังมีการถ่ายทอดประสบการณ์ความสำเร็จ กลยุทธ์ของเอสเอ็มอีในการเจาะตลาดอาเซียน ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดย Ms.Tran Thi Hai Yen, SLIMMER STYLE Shareholding Inc., ประเทศเวียดนาม มองว่าการทำธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จนั่นคือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างธุรกิจกับธุรกิจโดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หากประเทศที่เป็นสมาชิกมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆอันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนและเพิ่มมุมมองในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และประเด็นที่ต้องคำนึงถึงในการผลิตสินค้าคือ ต้องสร้างแบรนด์สินค้าอาเซียน สินค้าที่สามารถไปขายได้ทุกประเทศสมาชิกอาเซียน

Yen เล่าประสบการณ์การทำตลาดนิชมาร์เกตในเวียดนามซึ่งกำลังเติบโตขณะนี้นั้น มีประสบการณ์ลองถูกลองผิดมาเช่นกัน ในการผลิตและออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้าแต่สุดท้ายตระหนักว่าเราไม่จำเป็นต้องผลิตสินค้าสำหรับคนทุกกลุ่มแต่ผลิตสินค้าที่เราเชี่ยวชาญและทำได้ดีที่สุดเท่านั้น จึงเจาะที่กลุ่มลูกค้าเฉพาะช่วงวัย 27-45 ปีเท่านั้น โดยปัจจัยที่ทำให้สำเร็จคือคุณภาพสินค้าและบริการหลังการขาย มีบริการดี และติดตาม รวมทั้งพัฒนาไปข้างหน้า เมื่อสินค้าพร้อม ตลาดพอไปได้ และจังหวะเวลามาถึง ก็ลุยเลย แต่ต้องไปอย่างรู้เขารู้เรา ไม่ต้องไปกังวลกับรายละเอียดที่เป็นอุปสรรคมากนักเพราะทุกกฎระเบียบย่อมมีข้อยกเว้น

คุณมรกต สิงหแพทย์ ประธานบริษัท SIGMA&HEARTS ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีการขยายไปตั้งโรงงานแห่งที่สองที่ประเทศอินโดนีเซีย ด้วยเหตุผลตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศเริ่มอิ่มตัวมองหาตลาดต่างประเทศ และพบว่าตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศอินโดนีเซียยังเปิดกว้าง มีความต้องการใช้รถจักรยานยนต์มากกว่า 7-8 ล้านคัน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำถูกกว่าประเทศไทย ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยต้องอย่ากลัวที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่อินโดนีเซียเป็นตลาดที่ยังเปิดกว้างในหลาย ๆ ด้าน นับเป็นโอกาสของนักธุรกิจเอสเอ็มอีไทยให้กล้าเข้าไปลงทุน

อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจ SMEs (Small and Medium Enterprises) ถือเป็นธุรกิจที่มีบทบาทไม่ต่างจากธุรกิจขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการเปิดประตูสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (AEC) ในปี 2558 จะส่งผลให้ภูมิภาคอาเซียนกลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีฐานการผลิตรวมกัน รวมถึงเป็นการสร้างอำนาจต่อรองด้านการค้าและเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลกได้อย่างเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น การพัฒนาและปรับโหมดธุรกิจ SMEs ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจ SMEs ปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้

ที่มา : newswit.com

เฟซบุ๊กไทยบุกผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เห็นความสำคัญโฆษณาออนไลน์ หลังพบคนไทย 24 ล้านคนเล่นเฟซบุ๊ก และ 16 ล้านคนเข้าเฟซบุ๊กทุกวัน ส่วนใหญ่ใช้งานผ่านมือถือ เชื่อเป็นโอกาสเปิดตัวสินค้าให้คนรู้จัก

นายแอร์โรว์ กัว หัวหน้ากลุ่มธุรกิจเอสเอ็มบี (SMBs) กลุ่มประเทศจีน (ไต้หวัน ฮ่องกง) และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ โดยมีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กมากถึง 24 ล้านคนต่อเดือน และ 16 ล้านคนเข้ามาเล่นเฟซบุ๊กทุกวัน ขณะที่ 13 ล้านคนเล่นเฟซบุ๊กผ่านมือถือ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่น้อย แต่ขณะเดียวกันกลับพบผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยใช้ช่องทางการทำตลาดผ่านเฟซบุ๊กยังมีไม่มากนัก

“จากการสำรวจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยพบว่ายังมีการใช้ช่องทางโฆษณาสินค้าผ่านเฟซบุ๊กยังน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนเอสเอ็มอีที่มีเป็นจำนวนมาก จึงถือเป็นโอกาสดีที่เฟซบุ๊กจะได้สนับสนุนภาคธุรกิจให้ได้รับประโยชน์จากการใช้แพลตฟอร์มต่างๆ อย่างเต็มที่ และสามารถใช้การโฆษณาในการสร้างความเติบโตให้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั้งจากหน้าจอพีซีหรือผ่านมือถือ ซึ่งเป็นการตลาดแบบเฉพาะบุคคลมากขึ้นสามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานและกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน” นายแอร์โรว์กล่าว

อย่างไรก็ตาม มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วโลกที่ใช้เฟซบุ๊กในการเปิดตัวสินค้าให้เป็นที่รู้จักประมาณ 25 ล้านราย โดยมีประมาณมากกว่า 1 ล้านรายที่ใช้โฆษณาบนเฟซบุ๊ก สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สนใจวิธีการใช้ให้ประสบความสำเร็จสามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.facebook.com/business

ขอบคุณ ASTVผู้จัดการออนไลน์

ศูนย์ข่าวศรีราชา – เครือสหพัฒน์ แตกไลน์ธุรกิจบริการด้วยการเปิดร้านอาหารสายพันธุ์ญี่ปุ่นแท้ “อูมั่ย – U Mai Kai Ten Sushi” ประกาศเดินหน้าขยายสาขาครอบคลุมทั้งจังหวัด และหัวเมืองใหญ่ หากผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ

นายทนง ศรีจิตร์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้บริหารสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา จ.ชลบุรี พร้อมด้วยนายสายัญห์ อินทะปุระ รองประธานบริษัท พิทักษ์กิจ จำกัด ได้ร่วมกันทำพิธีเปิดร้านอาหารสายพันธุ์ญี่ปุ่นแท้ “อูมั่ย – U Mai Kai Ten Sushi” ซึ่งตั้งอยู่ภายในโครงการ J-Park Sriracha ศูนย์รวมการจำหน่ายสินค้าแฟชั่น สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคทั้งไทย และญี่ปุ่น ในเขต ต.สุรศักดิ์

ร้านดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อรองรับงานบริการที่ครบวงจร หลังเครือสหพัฒน์ ได้แตกไลน์ธุรกิจบริการและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ รวมทั้งธุรกิจกีฬาในพื้นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และยังได้จัดพิธีซอฟโอเพ่นนิ่ง (Soft Opening ) โครงการ J-Park Sriracha ไปเมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมา

นายทนง กล่าวว่า ร้านอาหารดังกล่าวเป็นร้านอาหารสไตล์ญี่ปุ่นแท้ ที่เน้นรสชาติแบบญี่ปุ่น พร้อมตั้งเป้ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งชาวไทย และชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอาศัยอยู่ใน อ.ศรีราชา ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นคน จุดเด่นของร้านอยู่ที่การเสิร์ฟบนสายพาน (Kai Ten) ซึ่งคนไทยที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นก็สามารถหยิบอาหารที่เสิร์ฟผ่านสายพานได้โดยไม่ต้องสั่งผ่านพนักงาน และหากต้องการอาหารเมนูพิเศษก็สามารถสั่งตรงได้จากเชฟที่ผ่านมาฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ขณะที่สนนราคาก็ประหยัดกว่าร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไป

“ร้านอาหารอูมั่ย ใช้งบลงทุนประมาณ 7 ล้านบาท และถือเป็นสาขาแรกของเรา ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติแบบญี่ปุ่นแล้ว ร้านแห่งนี้ยังตั้งอยู่ในศูนย์การค้าที่มีการตกแต่งในรูปแบบญี่ปุ่นทั้งสวนส่วนกลาง และรูปแบบอาคาร ซึ่งนอกจากจะสร้างความคุ้นชินให้แก่ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอาศัย และทำงานอยู่ในพื้นที่แล้ว ยังสร้างบรรยากาศเสมือนอยู่ในประเทศญี่ปุ่นให้แก่กลุ่มลูกค้าคนไทยได้มีโอกาสสัมผัสอีกด้วย ”

ขณะที่แผนขยายสาขาร้านอาหารญี่ปุ่น – อูมั่ย บริษัทฯ ตั้งเป้าจะขยายสาขาให้ครอบคลุมในหลายพื้นที่ของจังหวัดชลบุรี และหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ รวมทั้งในพื้นที่สวนอุตสาหกรรมที่บริษัทเข้าไปลงทุน โดยจะประเมินผลประกอบการของร้านดังกล่าวในช่วงปีนี้ เพื่อกำหนดจำนวนสาขาที่จะขยายเพิ่มในอนาคต

“ใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เราถือเป็นกลุ่มลงทุนแรกที่มีการลงทุนด้านงานบริการทั้งธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ กีฬา และสวนอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เราได้เพิ่มงานบริการที่เข้าถึงชุมชนมากยิ่งขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ได้รับงานบริการที่ดี และสัมผัสวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นโดยไม่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ โดยนำประสบการณ์ที่เกิดจากการลงทุนร่วมกับชาวญี่ปุ่นมานานมาใช้ให้เกิดประโยชน์” นายทนง กล่าว

 

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

จีอีตั้งเป้าไปที่การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานของโลกที่ต้องผลิตได้เร็วขึ้น ในราคาถูกลง และสามารถกระจายแหล่งผลิตไฟฟ้าไป ณ แหล่งใช้งาน

จีอีลงทุนเพิ่มในธุรกิจเครื่องยนต์ก๊าซ เทคโนโลยีกังหัน ผลิตภัณฑ์และการให้บริการแก่ลูกค้า

รายงานของจีอี เรื่อง “การเพิ่มขึ้นของดิสทริบิวเต็ด เพาเวอร์” คาดการณ์ว่า จากปัจจุบันจนถึงปี 2563 ดิสทริบิวเต็ด เพาเวอร์ จะเติบโต 40% ซึ่งเป็นการเติบโตที่เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ไฟฟ้าทั่วโลก

นายจอห์น ไรซ์ รองประธานจีอี และซีอีโอหน่วยงาน Global Growth and Operations ของจีอี และนางลอเรน โบลซิงเกอร์ ผู้นำธุรกิจ ดิสทริบิวเต็ด เพาเวอร์ (Distributed Power) ของจีอี ร่วมกับนักธุรกิจและเจ้าหน้าที่รัฐบาล เปิดตัวธุรกิจ ดิสทริบิวเต็ด เพาเวอร์ ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ของจีอี ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์สามกลุ่ม คือ เครื่องกังหันก๊าซแบบแอโรเดริเวทีฟ เครื่องยนต์ก๊าซเจนบาเคอร์ และเครื่องยนต์ก๊าซวอกาชอ มีเป้าหมายในการให้บริการดิสทริบิวเต็ด เพาเวอร์ ให้มากขึ้น จีอีลงทุนสร้างธุรกิจใหม่นี้เป็นเงิน 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระยะเวลา 4 ปี เพื่อตอบรับความต้องการระบบผลิตไฟฟ้า ณ แหล่งใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ซึ่งระบบนี้เป็นระบบที่ง่ายต่อการจัดการด้านเงินทุน ติดตั้งได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและมอบไฟฟ้าที่มีความเสถียรให้กับลูกค้า

นอกจากนี้ จีอียังได้เปิดตัวรายงานเรื่อง “การเพิ่มขึ้นของดิสทริบิวเต็ด เพาเวอร์” ในงานนี้ ซึ่งในรายงานจีอีเน้นว่า การผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ หรือ ดิสทริบิวเต็ด เพาเวอร์ (distributed power หรือ DP) กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ที่มองหาการผลิตไฟฟ้าที่มีความเสถียร และทางเลือกพลังงานที่มีประสิทธิภาพใกล้แหล่งที่ต้องการใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะส่งผ่านกริดหรือไม่ผ่านกริดก็ตาม ทั้งนี้จีอีคาดว่า นับจากปัจจุบันจนถึงปี 2563 DP จะเติบโต 40% ซึ่งเป็นการเติบโตที่เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ไฟฟ้าทั่วโลก

รายงานยังระบุว่า ชุมชนและธุรกิจต่างๆ กำลังติดตั้งเทคโนโลยี DP เพื่อช่วยให้พื้นที่ห่างไกลที่กระแส ไฟฟ้าจากกริดไปไม่ถึงมีไฟฟ้าใช้ นอกจากนี้อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ใช้ DP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้กับภาคอุตสาหกรรมและแหล่งที่อยู่อาศัย เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีไฟฟ้าใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และไฟฟ้าดับอย่างกระทันหันด้วยสาเหตุที่ไม่คาดการณ์มาก่อน ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันและก๊าซ ต้อง พึ่งพา พลังงานจากแหล่งพลังงานที่อยู่ในพื้นที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับการดำเนินงานในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งใช้เป็นพลังงานในการสูบและบีบอัดก๊าซ

นางลอเรน โบลซิงเกอร์ ประธานและหัวหน้าฝ่ายบริหาร ธุรกิจ ดิสทริบิวเต็ด เพาเวอร์ ของจีอี กล่าวว่า “ทุกวันนี้มีผู้คนมากกว่า 1.3 พันล้านคน ไม่มีไฟฟ้าที่มีความเสถียรใช้ ธุรกิจ ดิสทริบิวเต็ด เพาเวอร์ ของจีอีจึงตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้อย่างตรงจุด เพื่อการพัฒนาประเทศและตอบสนองความต้องการของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจีอีมองว่ามีความต้องการโซลูชั่น DP เพิ่มขึ้น เพื่อเสริมความมั่นคงด้านพลังงานในประเทศและสอดคล้องกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น การขยายตัวของระบบ DP ต่างๆ เป็นประโยชน์ต่อผู้คนและอุตสาหกรรมทั่วโลก เพราะไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจ”

ในการเปิดตัวครั้งนี้ จีอี ยังได้ลงนามในข้อตกลงต่างๆ ดังนี้

บันทึกความเข้าใจสองฉบับกับ Clean Power Indonesia (CPI) และ PLN ในการพัฒนาและการใช้งานระบบการผลิตไฟฟ้าก๊าซชีวมวลแบบครบวงจรในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีศักยภาพที่จะนำอินโดนีเซียเข้าสู่ระบบพลังงานผสม ด้วยการผลิตไฟฟ้าจากสิ่งที่ยั่งยืนจากไม้ไผ่และไม้ต่างๆ ภายในประเทศ

ข้อตกลงครั้งใหญ่ในเอเชียแปซิฟิกจำนวนสองฉบับกับนาวิแกท เอ็นเนอร์ยี ผู้พัฒนาโครงการดิสทริบิวเต็ด เพาเวอร์ ในเรื่องการให้บริการ และจัดหาเครื่องยนต์ก๊าซเจนบาเคอร์จำนวน 100 เครื่อง มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 330 เมกะวัตต์ ให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP) หลายแห่งในประเทศอินโดนีเซียและไทย

ข้อตกลงระยะเวลา 10 ปี ในการจัดหาวัสดุส่วนประกอบให้กับนาวิแกท เพื่อใช้ในการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ก๊าซเจนบาเคอร์ J620 จำนวน 100 เครื่องที่ได้ติดตั้งไปแล้ว ณ โครงการผลิตไฟฟ้าต่างๆ ในประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย

บันทึกความเข้าใจในการจัดหาเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง รุ่น J920 FleXtra จำนวน 2 เครื่องให้กับนาวิแกท

สัญญาในการจัดหาเครื่องยนต์ก๊าซวอกาชอ รุ่น 12V275GL+ จำนวน 4 เครื่อง และรุ่น VGF48GE จำนวน 2 เครื่อง เพื่อช่วยปรับปรุงสถานีบีบอัดก๊าซที่เลมเบะห์ (Lembak) ของบริษัทน้ำมันเปอร์ตามีนา (Pertamina) ใกล้ๆ เมืองปาเลมบัง โครงการนี้จะช่วยเพิ่มแรงดันในการส่งก๊าซไปยังโรงงานหอกลั่นของเหลวและโรงปุ๋ยของลูกค้า

ข้อตกลงระหว่างจีอี กับ Green & Smart Sdn Bhd (GNS) จากประเทศมาเลเซีย ในการจัดหาโซลูชั่นเปลี่ยนของเสียเป็นพลังงาน ด้วยการใช้เทคโนโลยีการหมักย่อยสลายสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจนที่เป็นสิทธิบัตรของ GNS และเทคโนโลยีเครื่องยนต์ก๊าซเจนบาเคอร์ของจีอีเพื่อผลิตไฟฟ้าและส่งเข้ากริดเพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้ามาเลเซีย

จีอี ออยล์ แอนด์ แก๊ส และ ดิสทริบิวเต็ด เพาเวอร์ ของจีอี ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับ PLN Enjiniring ในโครงการนำร่องการผลิตไฟฟ้าผ่านท่อส่งเสมือนจริงแบบครบวงจร ในหมู่เกาะที่ห่างไกลของอินโดนีเซีย โครงการนี้จะใช้โซลูชั่น Distributed Gas ขนาดเล็กของจีอี ออยล์ แอนด์ แก๊ส, โซลูชั่นการผลิตไฟฟ้าแบบใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติแบบแยกส่วนร่วมกับเทคโนโลยีเครื่องยนต์และกังหันก๊าซของดิสทริบิวเต็ด เพาเวอร์ ของจีอี เพื่อนำเสนอโซลูชั่นการผลิตพลังงานจากก๊าซที่ครอบคลุมโดยไม่ต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นท่อส่ง หรือที่เรียกกันว่า “ท่อส่งเสมือนจริง”

ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
เสรี ศิรินพวงศากร
ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร ประจำประเทศไทยและพม่า
จีอี โกลเบิล โกรท แอนด์ โอปอเรชั่น
โทรศัพท์: 02 648 0813
อีเมล: seri.sirinopwongsagon@ge.com
ขอบคุณ newswit

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์จับมือภาคอุตสาหกรรมแฟชั่นและเครื่องหนังไทย เตรียมเดินหน้าจัดงานแสดงสินค้าแฟชั่นและงานแสดงสินค้าเครื่องหนัง 2557 หรือ Bangkok International Fashion Fair and Bangkok International Leather Fair 2014 (BIFF&BIL 2014) มั่นใจเปิดเวทีแสดงสินค้าระดับนานาชาติครั้งใหญ่ในอาเซียน ผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นและเครื่องหนังในภูมิภาค เผยยอดผู้ประกอบการไทยและต่างชาติตอบรับเข้าร่วมแสดงสินค้ากว่า 700 คูหา ขณะที่กรมฯ เร่งทำแผนการค้าเชิงรุกเจาะกลุ่มผู้ซื้อโดยตรง หวังดึงดูดคู่ค้าร่วมงานกว่า 6,000 ราย กระตุ้นคำสั่งซื้อไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวถึงการจัดงาน BIFF&BIL 2014 ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 12 – 16 มีนาคมนี้ ว่าจากการที่มีสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ประชุมหารือและสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแฟชั่นสิ่งทอและเครื่องหนังที่สมัครเข้าร่วมงาน BIFF & BIL ในปีนี้ ปรากฏว่าผู้ประกอบการไทยกว่าร้อยละ 90 ต่างแสดงความคิดเห็นตรงกันให้เดินหน้าจัดงานตามกำหนดการเดิม เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศและกระตุ้นความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ ผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากเล็งเห็นว่างาน BIFF & BILเป็นงานแสดงสินค้าแฟชั่น และเครื่องหนังครั้งใหญ่ในอาเซียน ถือเป็นเวทีการค้าระดับนานาชาติที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 32 ปี และมีส่วนช่วยส่งเสริมการส่งออกสินค้าแฟชั่นและเครื่องหนังไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ภาพรวมของอุตสาหกรรมแฟชั่นและเครื่องหนังไทยในปี 2556 ถือว่ามีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยการส่งออกของปี 2556 มีมูลค่า 9,223.67 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งออกเป็น สินค้าผ้าผืนและเส้นด้าย 2,525.26 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.85 สินค้าเครื่องนุ่งห่ม มูลค่า 2,873.50 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลงร้อยละ 2.58 สินค้าสิ่งทออื่นๆ มูลค่า 2,083.82 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.61 และสินค้าเครื่องหนัง เครื่องใช้ในการเดินทางและรองเท้า มีมูลค่าส่งออก 1,741.08 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.36 สำหรับเป้าหมายการส่งออกสินค้าแฟชั่นและเครื่องหนังในปี 2557 กรมฯ คาดว่าจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ตามเป้าหมายร้อยละ 5 เนื่องจากปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวและแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทย ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีในการเดินหน้าจัดงาน BIFF&BIL 2014 ให้เป็นเวทีการค้าที่ผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ดีไซเนอร์และผู้จัดจำหน่ายได้มาพบปะเจรจาธุรกิจเพื่อขยายช่องทางสู่ตลาดโลก

“การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 มาพร้อมกับโอกาสการค้าที่มากขึ้น เนื่องจากฐานลูกค้าได้ขยายครอบคลุมประชากรกว่า 600 ล้านคน ผู้ประกอบการจึงต้องพัฒนาธุรกิจ ศึกษาตลาด เพื่อเตรียมพร้อมรองรับโอกาสและการแข่งขันที่มากขึ้นด้วย ในขณะที่กรมฯ ได้เร่งทำแผนการค้าเชิงรุกเพื่อเจาะเข้าถึงผู้ซื้อกลุ่มเป้าหมายด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด อาทิ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าแฟชั่นที่สำคัญในต่างประเทศ การจัดคณะผู้แทนการค้าไปเจรจาการค้ากับผู้ซื้อรายใหญ่ในตลาดศักยภาพ รวมถึงการนำคณะผู้แทนการค้าจากต่างประเทศมาเยือนไทยด้วย ทั้งนี้ งาน BIFF&BIL 2014 ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญในการผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยได้มีโอกาสสร้าง และรักษาเครือข่ายการค้ากับผู้ซื้อที่มีศักยภาพทั้งในตลาดใหม่และตลาดเดิม เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไต้หวัน ยุโรป รวมถึงอเมริกาและอื่นๆ ที่คาดว่าจะสนใจเข้าชมงานกว่า 6,000 ราย และผลักดันยอดคำสั่งซื้อไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท” อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกล่าว

สำหรับงาน BIFF&BIL 2014 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 16 มีนาคม 2557 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด STYLE+DESIGN ASEAN เพื่อเผยแพร่ศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมแฟชั่นและเครื่องหนังไทยที่มีกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต การตลาด และการค้าสิ่งทอและเครื่องหนังที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย พร้อมทั้งเปิดเวทีให้นักออกแบบสินค้าแฟชั่นได้แสดงผลงาน และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีศักยภาพในการผลิต และการออกแบบได้มีโอกาสขยายช่องทางการค้าสู่ตลาดโลก

จุดเด่นของงานในปีนี้ คือเป็นการพัฒนารูปแบบงานให้มีความน่าสนใจและเป็นสากลมากขึ้น โดยมีผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างประเทศ อาทิ กลุ่มอาเซียน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, จีน, ไต้หวัน, ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ตอบรับนำสินค้าเข้าร่วมจัดแสดงกว่า 700 คูหาแบ่งพื้นที่ออกเป็นหมวดหมู่ ด้วยแนวคิด Fair-in-Fair ประกอบด้วย สินค้าสิ่งทอ (Textile), เครื่องนุ่งห่ม (Apparel), เครื่องประดับแฟชั่น (Fashion Accessories),เครื่องหนัง (Leather Goods), รองเท้า (Footwear), หนังฟอกสำเร็จ (Tanned Leather), แฟชั่นและเครื่องหนังที่มีเอกลักษณ์หรือลวดลายเฉพาะตัว (Thai Exotic), ดีไซเนอร์ (Designer) และสินค้าแบรนด์จากต่างประเทศ (International Zone)

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ อาทิ การจับคู่ธุรกิจ Business Matching,  นิทรรศการ Small Lot Order ตอบโจทย์ความต้องการสั่งซื้อสินค้าปริมาณน้อย แต่เน้นคุณภาพและดีไซน์ตามความต้องการ   การแสดงผลงานผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาการออกแบบในโครงการ Workshop โดย ผศ.ดร.อโนทัย ชลชาติภิญโญ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอของไทย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นิทรรศการจัดแสดงสินค้าและแนวโน้มเครื่องหนัง และนิทรรศการแสดงผลงานการออกแบบจาก 30 ดีไซเนอร์รุ่นใหม่มาโชว์ใน Designers’ Room และพื้นที่จัดแสดงผลงานของดีไซเนอร์แบรนด์ชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ

อีกทั้งยังมีนิทรรศการแสดงผลงานการออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นในโครงการ Asia Fashion Federation (AFF), จาก 6 ประเทศสมาชิก ผลงานสินค้าที่ได้รับการพัฒนาจากศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่น Fashion Product Development Center (FPDC), การจัดแสดงผ้าผืนจากโครงการ Japan – Thailand Textile and Apparel Collaboration (JTC ) ที่เป็นการพัฒนาทั้งนวัตกรรมการผลิตและรูปแบบระหว่างไทย-ญี่ปุ่นเพื่อจำหน่ายในตลาดญี่ปุ่น นอกจากนี้ ภายในโซนอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยังมีการแสดงนวัตกรรมสิ่งทอ เช่น เส้นใยทอละเอียดเพื่องานสิ่งทอคุณภาพสูงรองรับการผลิตสินค้าแฟชั่นแบรนด์ชั้นนำของโลก การพัฒนาเส้นใยธรรมชาติใหม่ๆ และการผสมผสานกับเส้นใยต่างๆ รวมไปถึง  การฟอกย้อมโดยการใช้วัสดุธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี (Natural dye) และการทดลองการฟอกย้อมแบบไม่ใช้น้ำ เป็นนวัตกรรมใหม่เน้นการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้ซื้อในตลาดโลกที่ต้องการสินค้าคุณภาพสูง โดยเฉพาะใน ตลาดญี่ปุ่น และยุโรป

ในส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องหนังมีการจัดแสดงสินค้าเครื่องหนังตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ รวมทั้งนวัตกรรมการผลิตหนังใหม่ๆ อาทิ การพัฒนาหนังที่มีน้ำหนักเบาเพื่อตอบโจทย์เครื่องหนังแบรนด์ชั้นนำระดับโลก และผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ที่มีเอกลักษณ์หรือลวดลายเฉพาะตัว (Exotics Leather) ซึ่งไทยถือเป็นผู้นำด้านการผลิต เพื่อการส่งออกของโลก รวมทั้งยังมีการบรรยายแนะนำเทรนด์สินค้าเครื่องหนังปี 2014/15 โดยผู้เชี่ยวชาญจากอิตาลี อาทิ Mr.Giorgio Cannara นายกสมาคมเครื่องหนังอิตาลี Mr.Roberto Ricci ผู้กำหนดเทรนด์ในงานแสดงสินค้า Lineapelle และงานแสดงสินค้าเครื่องหนัง Mipel

สำหรับกิจกรรมไฮไลท์ที่จัดขึ้นในปีนี้เป็นครั้งแรก ได้แก่นิทรรศการแสดงสินค้าแฟชั่นสำหรับผู้สูงอายุ สำหรับผู้ซื้อกลุ่มใหม่ที่ต้องการซื้อสินค้าหลากหลายประเภท นอกจากนี้ ยังมีเวทีแสดงแฟชั่นโชว์ผลงานการออกแบบ อันโดดเด่นของดีไซเนอร์ไทยและอาเซียน รวมถึงแบรนด์ชั้นนำจากทั่วโลก อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี และ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ

“ขณะนี้ กรมฯได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์การจัดงาน BIFF & BIL 2014 ไปยังกลุ่มผู้ประกอบการ ผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการประสานงานร่วมกับสำนักงานในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ และทูตพาณิชย์ทั่วโลกกว่า 65 แห่ง รวมทั้งสำนักงานส่งเสริมการค้าในภูมิภาค เพื่อเชิญผู้ซื้อที่เป็นผู้ค้าส่ง ค้าปลีก และผู้ค้าชายแดน และเพื่อเป็นการเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานฯ กรมฯ ยังได้อำนวยความสะดวกในเรื่องของการนัดหมายจับคู่ธุรกิจ Business Matching แบบล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ www.biffandbilmatching.com เพื่อให้ผู้ซื้อได้สะดวกขึ้น” นางนันทวัลย์ กล่าวเพิ่มเติม

งาน BIFF&BIL 2014 เตรียมเปิดฉากในวันที่ 12 – 16 มีนาคม 2557 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยวันที่ 12 -14 มีนาคม 2557 เป็นวันเจรจาธุรกิจ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น. และวันจำหน่ายปลีก 15 – 16 มีนาคม 2557  ตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น.

ขอบคุณ ประชาชาติออนไลน์

กสอ.ผุดไอเดีย “พิซซ่าโมเดล” หนุน SME สู้วิกฤตไทยรับมือ AEC

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมระดมสมอง ผุดไอเดีย “พิซซ่าโมเดล” หวังยกระดับภาคอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี รับมือการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก และการแข่งขันที่รุนแรงหลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พร้อมชู 6 โมเดลการพัฒนาตลาดเฉพาะกลุ่ม กรอบความคิดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การบริหารการเงินอย่างชาญฉลาด กลยุทธ์เครือข่ายธุรกิจ การสร้างโอกาสทางธุรกิจ กรอบความคิดที่ถูกต้อง

นางอรรชกา สีบุญเรือง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จากการที่ทั่วโลกกำลังหันมาให้ความสนใจในประเทศแถบเอเชียมากขึ้น อันสืบเนื่องจากความเจริญรุดหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศจีน และอินเดีย รวมถึงการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มอาเซียน อันก่อให้เกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้เกิดตลาดในภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าของแต่ละประเทศ

นอกจากนี้ หากมีการขยายความร่วมมือการค้าเสรีกับคู่ค้าสำคัญอย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 3,000 ล้านคน จึงนับเป็นโอกาสทางการตลาดอันมหาศาลสำหรับผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมไทย ซึ่งหากมองในภาพรวม การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยให้ประเทศสมาชิกมีความเป็นปึกแผ่นและช่วยสร้างอำนาจการต่อรองในเวทีการค้าต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย

กสอ.ผุดไอเดีย “พิซซ่าโมเดล” หนุน SME สู้วิกฤตไทยรับมือ AEC
นางอรรชกา สีบุญเรือง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ SMEs ก็ต้องปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม CLMV ที่สำคัญต้องศึกษาแนวโน้มความต้องการของตลาดอาเซียน ตลอดจนศึกษาความเป็นไปได้ในการย้ายฐานการผลิตไปยังแหล่งวัตถุดิบและแรงงานที่ถูกกว่า ยิ่งไปกว่านั้น ต้องเรียนรู้วิธีที่จะรักษาทรัพยากรบุคคลเพื่อป้องกันการถูกแย่งชิงแรงงานที่มีฝีมือ

นอกจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญต่อเรื่องธรรมาภิบาล และเรื่องที่ท้าทายที่อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องเร่งแข่งขัน การเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสีเขียวต้องรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) สู่การผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าเตรียมรับมือกับ AEC ได้อย่างสร้างสรรค์ และยั่งยืน

นางอรรชกากล่าวต่อว่า ภาคอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นกลุ่มที่ต้องมีการปรับตัว เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนตลอดเวลา และการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัว เสริมความแข็งแกร่งให้ตนเองเพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ในส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องเรือน กองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ AEC ในหลักสูตร “พิซซ่าโมเดล” โมเดลความอยู่รอดอุตสาหกรรม SMEs ในยุควิกฤต ระดมสมองยักษ์ใหญ่สร้างโมเดลปฏิรูปอุตสาหกรรม SMEs เพื่อการอยู่รอดอย่างสร้างสรรค์รับมือ AEC และการค้าชายแดน โดยได้คิด 6 โมเดลทางธุรกิจขึ้น ประกอบด้วย การพัฒนาตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niches Development) กรอบความคิดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Mindset) การบริหารการเงินอย่างชาญฉลาด (Financially Guru Smart) กลยุทธ์เครือข่ายธุรกิจ (Network Strategy) การสร้างโอกาสทางธุรกิจ (Opportunity) กรอบความคิดที่ถูกต้อง (Right Mindset)

ทั้งนี้ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “พิซซ่าโมเดล” โดยวิทยากรที่มีชื่อเสียง เช่น คุณโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานสภาสถาบันและกรรมการบริหารสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) คุณบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) คุณเอกสิทธิ์ อเนกสิทธิสิน เลขาธิการสมาคมธุรกิจค้าไม้ และคุณณรงค์ ประเสริฐศรี สำนักงานทูตการเกษตร สถานทูตสหรัฐอเมริกาเพื่อหาทางออกวิกฤตอุตสาหกรรม SMEs ของชาติ ฯลฯ มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และให้ความรู้ โดยตั้งเป้าหมายให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในภาพรวม ไม่เพียงกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเฟอร์นิเจอร์ไทยสามารถเข้าใจในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สามารถประเมินความอยู่รอดของตนเองในสภาวะวิกฤตนี้ได้ ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ และการเมือง

ขอบคุณข้อมูลจาก ผู้จัดการออนไลน์

ขณะที่ภูฏานชวนผู้ประกอบก่อสร้างไทยไปลงทุน

สถาบันก่อสร้างแห่งประเทศไทยประสบผลสำเร็จ หลังกลุ่มธุรกิจและสมาคมก่อสร้างแห่งภูฏานดูงานที่ไทย ส่งผลให้เกิดการจับคู่การค้าและการลงทุนที่จะเปิดตลาดอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ภูฏาน เผยแนวโน้มยังมีการร่วมทุนระหว่างกันต่อเนื่อง เตรียมควงนักธุรกิจไทยไปดูงานถึงภูฏาน ระหว่างวันที่ 22-26 เมษายนนี้ พร้อมจัดงาน “Thailand Construction Expo” ที่เมืองทิมพู ภูฏาน เดือนกันยายน-ตุลาคมนี้

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันก่อสร้างแห่งประเทศไทยร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้การต้อนรับกลุ่มผู้ประกอบการก่อสร้างและตัวแทนสมาคมก่อสร้างแห่งประเทศภูฏาน กว่า 30 คน ที่เดินทางมาดูเทคโนโลยีด้านการก่อสร้างของไทย รวมถึงเชิญชวนผู้ประกอบการก่อสร้างของไทยไปลงทุนที่ภูฏาน เนื่องจากขณะนี้ภาคการก่อสร้างของภูฏานขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเห็นว่าไทยมีศักยภาพในอุตสาหกรรมดังกล่าว

นายจักรพร อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันก่อสร้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 20-24 มกราคมที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมและสมาคมก่อสร้างแห่งภูฏานได้เดินทางมาไทย เพื่อเข้ามาพบปะผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง และศึกษาดูงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างไทย ทำให้เกิดการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการก่อสร้างไทยกับภูฏาน เพื่อรับงานภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง   ที่ภูฏาน

นอกจากนี้ยังได้ตกลงซื้อเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการก่อสร้างที่สามารถขนส่งทางเครื่องบินได้ในเบื้องต้นแล้ว และอีกส่วนอยู่ระหว่างการเจรจาการค้าและการลงทุนด้านการจัดหาวัสดุ เครื่องจักร อุปกรณ์ น้ำยา เฟอร์นิเจอร์ในงานก่อสร้าง รวมถึงความร่วมมือระหว่างไทยและภูฏานที่จะมีการฝึกอบรมช่างก่อสร้างที่ภูฏาน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สถาบันก่อสร้างฯ จะนำผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย ประกอบด้วย กลุ่มสถาปนิก วิศวกร กลุ่มผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรอุปกรณ์ น้ำยาเคมี เฟอร์นิเจอร์ ผู้ประกอบการโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ เดินทางไปยังภูฏาน เพื่อศึกษาลู่ทางการค้าและการลงทุนในระหว่างวันที่ 22-26 เมษายน 2557

“จะเปิดตลาดการค้าและการลงทุนในภูฏาน โดยมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ช่วงเดือนกันยายน-เดือนตุลาคมนี้ จะมีการจัดงาน Thailand Construction Expo ที่เมืองทิมพู ภูฏาน เพื่อจะเป็นเวทีเจรจาการค้าและการลงทุนอุตสาหกรรมก่อสร้างอีกครั้ง” นายจักรพร กล่าว

ด้านนางพุบ ซัม นายกสมาคมก่อสร้างประเทศภูฏาน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศภูฏานอยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์ ซึ่งต้องมีการลงทุนระบบสาธารณูปโภคเพื่อการก่อสร้างโรงแรมและรีสอร์ท รวมถึงที่พักอาศัย  เพื่อรองรับการท่องเที่ยวดังกล่าว แต่ปัจจุบันภูฏานยังมีขีดจำกัดของระบบสาธารณูปโภคในการรองรับ ดังนั้นจำเป็นจะต้องมีการลงทุนด้านต่าง ๆ ซึ่งมองว่ามี 2 ประเทศที่มีระบบเทคโนโลยีสอดคล้องกับภูมิศาสตร์ ได้แก่ ไทยและอินเดีย

ทั้งนี้ จากการที่เข้ามาดูงานในไทย ไม่ว่าจะเป็นโรงงานต่าง ๆ เช่น โรงงานผลิต  แผ่นผนังสำเร็จรูป แบบพรีแฟบ (Prefab) และศูนย์ SCG Building material Center เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมด้านองค์ความรู้การผลิตวัสดุอุปกรณ์ การก่อสร้างระบบต่าง ๆ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ทั้งยังรวดเร็วในการก่อสร้าง เนื่องจากประเทศภูฏานยังขาดเครื่องจักรและเทคโนโลยี จึงทำให้ใช้เวลาการก่อสร้างนาน

“รัฐบาลภูฏานจัดสรรงบประมาณการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสูงถึงร้อยละ 50 จากงบรวมของประเทศ เพื่อที่จะรองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีศักยภาพระยะยาว ซึ่งการมาพบและดูงานในไทยครั้งนี้ นอกจากการศึกษาความรู้ด้านผลิตภัณฑ์และการก่อสร้างในประเทศไทยแล้ว ยังมีเป้าหมายที่จะหาคู่ค้าเพื่อการลงทุนกับภูฏานในอนาคตด้วย” นางพุบ กล่าว. – สำนักข่าวไทย

ขอบคุณ Mcot.net

630

ขณะนี้เอสเอ็มอีกำลังเผชิญกับวิกฤตสภาพคล่องหาย สต๊อกล้น ทำให้หน่วยงานหลักอย่างคณะกรรมการร่วม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย……. อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1bAI8T8

ขอบคุณ โพสทูเดย์

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือหมดศรัทธารัฐฯ กร้าวไร้น้ำยาแก้วิกฤตการเมือง
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สทร.)

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ร้องรัฐฯ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังกระทบธุรกิจหนัก กร้าวตอนนี้ผู้ประกอบการพึ่งรัฐฯ ไม่ได้ คาดเกิดสุญญากาศทางการเมืองอีก 6 เดือน แนะเอสเอ็มอีออกโรดโชว์ บุกค้าชายแดนกระตุ้นยอดขายในภาวะวิกฤต

นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สทร.) เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้ส่งกระทบต่อการส่งออกสินค้าทางอากาศ เนื่องจากอัตรานักท่องเที่ยวเข้ามายังประเทศไทยลดลง ทำให้จำนวนเครื่องบินเข้ามายังประเทศไทยลดลง ส่งผลต่อเนื่องให้ระวางการขนส่งสินค้าทางอากาศลดลงทำให้ค่าระวางการขนส่งปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้มีการเรียกเก็บค่าความเสี่ยงในการขนส่งเพิ่มและส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ซื้อต่างชาติ ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉุกเฉินโดยเร็ว หากสถานการณ์ยืดเยื้อ ก็อาจย้ายไปซื้อจากประเทศอื่น

“ดังนั้นองค์กรเอกชนจะต้องช่วยเหลือกันเองให้มากที่สุด อย่าหวังพึ่งพาภาครัฐอีกเลย มั่นใจว่าอีก 1 ปี ไม่มีทางที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยภาคเอกชนได้ เพราะดูจากงบประมาณภาครัฐก็ยังไม่เห็นแนวทางว่าจะเข้ามาช่วยอะไรได้ ขนาดที่ทำงานยังต้องย้ายไปย้ายมาหาที่ทำงานเป็นหลักแหล่งไม่ได้” นายวัลลภ กล่าว

“ผู้ประกอบการไทยควรจะต้องปรับตัวให้รอดพ้นจากวิกฤติในช่วงนี้ โดยออกไปร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศใกล้เคียง เช่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ เพราะไม่สามารถพึ่งพางานแสดงสินค้าภายในประเทศไทย รวมทั้งเพิ่มปริมาณการค้าชายแดน จากเดิมที่มุ่งเพียงการค้าผ่านแดน ไปเป็นการส่งสินค้าเข้าไปเจาะตลาดในหัวเมืองขนาดใหญ่ชั้นใน และเมืองหลวงของประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 เช่น เวียดนาม และจีน เป็นต้น” นายวัลลภ กล่าว

อย่างไรก็ตามการที่ประเทศไทยไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้อย่างน้อยภายใน 6 เดือน ทำให้ไม่มีรัฐบาลที่มีอำนาจในการเจรจาข้อตกลงกับต่างประเทศส่งผลต่อการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรปหยุดชะงักลง และคาดว่าจะล่าช้าการที่กำหนดไว้กว่า 1 ปี จะทำให้ไทยมีต้นทุนสินค้าที่เสียเปรียบประเทศคู่แข่ง เนื่องจากไทยถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษี (จีเอสพี) ปีนี้ถูกตัดไป 50 รายการ และในปีหน้าจะถูกตัดทั้งหมด 723 รายการ ทำให้ศักยภาพการแข่งขันของไทยตกต่ำและจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกอย่างชัดเจนในปี 2558

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ASTV Online

เซเว่นฯบุกตลาดAEC
เล็งลุยธุรกิจค้าปลีก
4ประเทศลุ่มน้ำโขง
หอฯแนะต้องอดทน

นายปิยะวัฒน์ ฐิติสัทธาวรกุล รองประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซีพีออลล์ และประธานคณะกรรมการธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทางซีพีออลล์ต้องการช่วยเหลือ สนับสนุนผู้ประกอบการระดับเอสเอ็มอีที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังกลุ่มประเทศ CLMV กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม โดยการจัดการสัมมนาถ่ายทอดข้อมูลความรู้ให้กับผู้ประกอบการขึ้นมาในงาน CP ALL SMEs FORUM 2014 หัวข้อเรื่อง “บุกตลาด CLMV…อนาคต SMEs ไทย ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถนำไปพัฒนาและต่อยอดธุรกิจของตนได้

สำหรับส่วนของเซเว่นอีเลฟเว่น มีการตั้งเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจไปภายในประเทศอีก 600 สาขาทั่วประเทศ หรือกว่า 8,000 สาขาในสิ้นปี โดยในปี’57 นี้มีการตั้งเป้าให้ธุรกิจเติบโต 5% ซึ่งในปี’56 ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่น ก็สามารถขยายตัวได้ตามเป้าที่วางไว้ 5% เช่นกันแม้จะมีปัญหาการชุมนุมทางการเมือง เนื่องจากสินค้าในร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น เป็นสินค้าจำเป็น ที่เน้นเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย

ด้านนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าไทย กล่าวว่า การเปิดเออีซีในปี’58 จะเป็นการรวมกลุ่ม สร้างความร่วมมือรวมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม มีการเคลื่อนย้ายเสรีด้านสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ ตลอดจนการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีมากขึ้น และด้วยจำนวนประชากรกว่า 600 ล้านคน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นตลาดใหญ่ ที่อยู่ในความสนใจของนักธุรกิจทั้งในและนอกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอกาสในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม หรือที่เรียกว่ากลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งมีประชากรรวม 170 ล้านคน และการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง เฉลี่ยตั้งแต่ ปี 2554-2556 ไม่ต่ำกว่า 6.5% ซึ่งเห็นว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องมีความอดทนในการทำธุรกิจ CLMV

“การทำธุรกิจในกลุ่มประเทศ CLMV ในช่วงเริ่มต้นผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับความไม่สะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการเงินการธนาคาร ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร รวมถึงความเสี่ยงในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงนโยบาย อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนทางการเมือง และกฎระเบียบในแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างเป็นลักษณะเฉพาะตัว ผู้ประกอบการจึงต้องมีความอดทน และเตรียมการรับมือข้อจำกัดเหล่านี้”

 

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดทำรายงานเรื่อง อาหารไทยสู่อาเซียนด้วย Primary GMP หรือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของอุตสาหกรรมอาหารยังไม่ได้รับการยอมรับด้าน มาตรฐานการผลิตในระดับสากล ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำคัญ ต่างจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ได้รับ GMP ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เข้มข้นกว่า

หลักเกณฑ์ Primary GMP หรือ GMP ขั้นต้น จะสร้างมาตรฐานอาหารไทยสู่สากลเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ทำให้อาหารมีคุณภาพและปลอดภัย สถานที่ผลิตมีมาตรฐาน คำนึงถึงทุกขั้นตอนของการผลิต มีการควบคุมและตรวจสอบอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

สำหรับนิยามของ Primary GMP กระทรวงสาธารณสุขได้ออกเป็นประกาศกระทรวงฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2555 กำหนดเรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย เป็นหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น สำหรับกลุ่มอาหารพร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันที และกลุ่มอาหารทั่วไป

หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะคล้ายกับ GMP สุขลักษณะทั่วไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 มี 6 ข้อ ประกอบด้วย สถานที่ตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต การควบคุมกระบวนการผลิต การสุขาภิบาล การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด และบุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน แต่มีข้อแตกต่าง อาทิ

1.สถานที่ตั้งและการผลิต เกณฑ์ขั้นต้นอาจผลิตเป็นบริเวณได้ แต่ต้องสามารถป้องกันสัตว์และแมลงเข้าสู่การผลิต 2.เครื่องมือและอุปกรณ์การผลิต เกณฑ์ขั้นต้นไม่ได้เน้นการออกแบบและจำนวน 3.การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด เกณฑ์ขั้นต้นไม่ได้กำหนดเรื่อง การเก็บ และการลำเลียงอุปกรณ์ที่ทำความสะอาดแล้ว 4.บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติ เกณฑ์ขั้นต้นไม่ได้เน้นเรื่อง การใช้ถุงมือ และเรื่องการฝึกอบรม โดยให้ระบุแสดงคำเตือน “ห้ามมิให้บุคคลใดแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจในสถานที่ผลิตอาหาร”

โดยภายในปี 2558 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีแผนผลักดันให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน (โอท็อป) และเอสเอ็มอี พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐาน Primary GMP จำนวน 20,000 แห่ง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ

จริยธรรมทางธุรกิจของเจ้าของกิจการอาหารทะเล  (Business Ethics of Seafood–Business Owner)


บริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอาหารทะเลนั้น ควรมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความชอบธรรมและมุ่งมั่นสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นรวมถึงการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม ซึ่งบริษัทนั้นต้องกำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกคน จะต้องรับทราบและปฏิบัติตามนโยบายและข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้ในคู่มือจริยธรรมธุรกิจนี้อย่างเคร่งครัด เพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจและเพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ถือหุ้นและสังคม

คำจำกัดความ

จริยธรรมธุรกิจ หมายถึง คุณความดี ความยุติธรรมและความถูกต้อง ที่เป็นข้อพึงปฏิบัติสำหรับการประกอบธุรกิจแนวทางปฏิบัติ คือ แนวทางการกระทำเพื่อรักษาไว้ซึ่งและส่งเสริมเกียรติคุณและชื่อเสียง

 

หลักจริยธรรมธุรกิจและจรรยาบรรณของบริษัท

1. ความซื่อสัตย์ (Honesty)
ผู้บริหารควรมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องและไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดโดยเจตนาหรือหลอกลวงผู้อื่นโดยการบิดเบือนสารสนเทศ พูดเกินความจริง พูดความจริงบางส่วน เลือกปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หรือโดยวิธีการอื่นๆ

 

2. คุณธรรม (Integrity)
ผู้บริหารควรแสดงออกถึงคุณธรรมของตนและมีความกล้าที่จะทำตามสิ่งที่ตนเองเชื่อโดยกระทำในสิ่งที่ตนคิดว่าถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะมีแรงกดดันให้ทำตรงกันข้าม เป็นคนที่ยึดมั่นในหลักการ น่าเคารพนับถือ และมีความเที่ยงธรรม ผู้บริหารควรต่อสู้เพื่อความเชื่อของตนและไม่ยอมละทิ้งหลักการเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งจนกลายเป็นคนหลอกลวงหรือไม่มีคุณธรรม

 

3. ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ (Trust Worthiness)
ผู้บริหารควรเปิดเผยและจัดหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง และแก้ไขความเข้าใจผิดจากข้อเท็จจริง ผู้บริหารควรพยายามในวิถีทางที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุคำมั่นสัญญาของตนและผู้บริหารไม่ควรใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในทางที่ไม่ถูกต้องและใช้การตีความทางกฎหมายที่ไม่เหมาะสมใช้เป็นเหตุผลที่จะไม่ให้ความร่วมมือหรือหลีกเลี่ยงข้อตกลงที่วางไว้

 

4. ความจงรักภักดี (Loyalty)
ผู้บริหารควรแสดงความจงรักภักดีต่อบริษัทโดยการช่วยเหลือและอุทิศตนต่อหน้าที่ ผู้บริหารไม่ควรใช้หรือเปิดเผยสารสนเทศที่เป็นความลับเพื่อความได้เปรียบส่วนบุคคล แต่ควรดำรงไว้ซึ่งความสามารถในการตัดสินใจอย่างมืออาชีพที่เป็นอิสระโดยหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่เหมาะสมและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และมีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทและผู้ร่วมงาน นอกจากนี้ถ้าผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะลาออก ผู้บริหารควรบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างเหมาะสม รวมถึงให้ความสำคัญกับสารสนเทศของบริษัท และไม่กระทำกิจการที่ใช้ประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่การงานเดิมของตน

 

5. ความยุติธรรม (Fairness)
ผู้บริหารควรมีความยุติธรรมและคุณธรรมต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ และไม่ใช้วิธีการโกงหรือวิธีการที่ไม่เหมาะสมเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์หรือข้อได้เปรียบจากความเข้าใจผิดหรือจากความทุกข์ของผู้อื่น โดยผู้บริหารที่มีความยุติธรรมควรเปิดเผยข้อตกลงเพื่อให้มีการพิจารณาและปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เปิดใจที่จะยอมรับความเห็นที่ไม่ตรงกันและเต็มใจที่จะยอมรับเมื่อทำผิด และพร้อมเปลี่ยนจุดยืนและความเชื่อที่มีอยู่ไปสู่สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม

 

6. การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Concern for Others)
ผู้บริหารควรเอาใจใส่ เห็นอกเห็นใจ เมตตาปราณีและหวังดีต่อผู้อื่นตามหลักการที่ว่า ให้ปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา ผู้บริหารควรช่วยเหลือผู้อื่นในสิ่งที่บุคคลนั้นมีความจำเป็นและค้นหาวิธีที่ทำให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจไปพร้อมกับวัตถุประสงค์ของผู้อื่น

 

7. การเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล (Respect for International Human Rights Principles)
ผู้บริหารควรเคารพในเกียรติของแต่ละบุคคล ความมีอิสระ ความเป็นส่วนตัว การมีสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมายและสิทธิมนุษยชน และผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย การตัดสินใจของผู้บริหารควร มีความเป็นกลางและปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งแยกเพศ ชนชั้นหรือเชื้อชาติ

บริษัทนั้นต้องกำหนดให้ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯทุกคนต้องปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัดโดยถือเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานและไม่สนับสนุนกิจการที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนสากล

 

8. การปฏิบัติหน้าที่อย่างดี (Commitment to Excellence)
ผู้บริหารควรปฏิบัติตามหน้าที่อย่างดี กล่าวคือ เป็นผู้มีความรู้ ตระเตรียมการ มีความมุมานะ มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เพื่อสามารถจัดการกับทุกเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบ

 

9. ภาวะผู้นำ (Leadership)
ผู้บริหารควรตระหนักถึงความรับผิดชอบและภาวะการเป็นผู้นำของตน และควรจัดหา รูปแบบของข้อพึงปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองและองค์กร อีกทั้งผู้บริหารควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ให้ความสำคัญต่อหลักการและการตัดสินใจที่มีจริยธรรมเป็นสำคัญ

 

10. ชื่อเสียงและคุณธรรม (Reputation and Morale)
ผู้บริหารควรหาทางสร้างชื่อเสียงให้บริษัทและสร้างคุณธรรมในหมู่พนักงาน โดยร่วมกันไม่ดำเนินการใดๆ ซึ่งอาจเป็นการทำลายความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและพนักงาน ในทางกลับกันพนักงานต้องร่วมกันดำเนินการใดๆ ที่จำเป็นเพื่อแก้ไขหรือป้องกันพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมของคนอื่น

 

11. ความรับผิดชอบตามหน้าที่ (Accountability)
ผู้บริหารควรตระหนักและรับผิดชอบตามหน้าที่ของตนโดยคำนึงถึงจริยธรรมที่ใช้สำหรับการตัดสินใจ และในการละเว้นบางสิ่งเพื่อบริษัท ตนเอง ผู้ร่วมงาน และชุมชน

 

12. นโยบายการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Policy on Compliance with the Law and Relevant Rules and Regulations)
บริษัทนั้นต้องมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานดังนี้

• ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและเคารพจารีตประเพณีของประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ
• ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
• ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด
• ต้องไม่ช่วยเหลือหรือสนับสนุน การหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ
• ต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

13. นโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
บริษัทนั้นต้องให้ความสำคัญต่อกิจกรรมที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามแนวทางปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานดังนี้

• หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับตนเอง ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทนั้น
• ในกรณีที่จำเป็นต้องทำรายการเช่นนั้น ให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทฯ และให้ทำรายการนั้นเสมือนการทำรายการกับบุคคลภายนอก โดยกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานหรือผู้มีส่วนได้เสียในรายการนั้นต้องไม่มีส่วนในการพิจารณาอนุมัติ
• ในกรณีที่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันภายใต้ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียนอย่างเคร่งครัด
• ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานหรือบุคคลในครอบครัวเข้าไปมีส่วนร่วมหรือเป็นผู้ถือหุ้นกิจการที่แข่งขันกับธุรกิจของบริษัทนั้น หรือกิจการใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทนั้น จะต้องแจ้งต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
• ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือ พนักงานไปเป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือที่ปรึกษาในบริษัท หรือองค์กรทางธุรกิจอื่นๆ การดำรงตำแหน่งนั้นจะต้องไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ และการปฏิบัติหน้าที่โดยตรงในบริษัทนั้น

 

14. นโยบายการรักษาข้อมูลความลับ (Confidentiality of Information)
บริษัทนั้นต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้ข้อมูลของบริษัท โดยปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและสอดคล้องกับกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยบริษัทฯ ได้กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานให้ความสำคัญต่อการเก็บรักษาข้อมูลความลับของบริษัทนั้น เช่น ข้อมูลภายในที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ หรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือราคาหุ้น เป็นต้น ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

• กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานต้องไม่ใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ในการหาประโยชน์ส่วนตนและในเรื่องการทำธุรกิจแข่งขันกับบริษัทนั้น หรือทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
• กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานต้องไม่ใช้ข้อมูลที่มิได้เปิดเผยให้ทราบโดยทั่วไปซึ่งอาจมีผลกระทบกับราคาหุ้น(ข้อมูลภายใน)และต้องละเว้นการทำธุรกรรมเกี่ยวกับหุ้นของบริษัทในช่วงเวลาที่จะมีการประกาศข้อมูลที่ที่สำคัญตามนโยบายที่ถูกกำหนดไว้ นอกจากนี้ข้อมูลภายในของบริษัทนั้น ไม่ควรถูกให้แก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ
• กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานต้องไม่เปิดเผยข้อมูลความลับทางธุรกิจของบริษัทนั้น ต่อบุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งของบริษัทฯ แม้หลังพ้นสภาพการเป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือพนักงานของบริษัทนั้นไปแล้ว

 

15. นโยบายการปกป้องทรัพย์สินของบริษัท (Properties Protection)
บริษัทนั้นคาดหวังให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน มีความรับผิดชอบในการปกป้องดูแลทรัพย์สินของบริษัทฯ และใช้ทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่นำทรัพย์สินของบริษัทนั้น ไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น โดยมีแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้
• ผู้บริหารและพนักงาน ต้องใช้ทรัพย์สินและทรัพยากรของบริษัท อย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทนั้น
• ผู้บริหารและพนักงาน ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัทมิให้เสื่อมเสีย สูญหาย
• กำหนดแนวทางการป้องกันภัยหรือความเสี่ยงภัยที่เกิดต่อทรัพย์สินของบริษัท ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน เช่น ภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ เป็นต้น

 

16. นโยบายเกี่ยวกับการรับ การให้ของขวัญและสิ่งตอบแทน
บริษัทนั้นต้องกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการให้และรับของขวัญ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ดังนี้
• ผู้บริหารและพนักงานถูกห้ามไม่ให้เรียกผลประโยชน์ใดๆ จากคู่ค้าและหรือผู้ที่ทำธุรกิจกับบริษัท
• ผู้บริหารและพนักงานถูกห้ามไม่ให้เสนอผลประโยชน์ใดๆ ต่อบุคคลภายนอก คู่ค้า เพื่อจูงใจให้ปฏิบัติในทางที่มิชอบ
• ผู้บริหารและพนักงานควรหลีกเลี่ยงการให้หรือรับของขวัญหรือสิ่งตอบแทนอื่นใด จากคู่ค้า และ/หรือผู้ที่ทำธุรกิจกับบริษัท เว้นแต่ในโอกาสที่เป็นช่วงเทศกาลในมูลค่าที่เหมาะสม (ไม่เกิน 50 เหรียญดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา ต่อคนโดยรวมทั้งหมด) และไม่เกี่ยวข้องกับการผูกมัดทางธุรกิจ

 

17. จรรยาบรรณว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
บริษัทนั้นต้องกำหนดให้ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯทุกคนต้องมีความรอบคอบและความระมัดระวังในงานทรัพย์สินทางปัญญารวมถึงต้องเคารพลิขสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา

 

18. นโยบายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตและการให้สินบน
บริษัทนั้นต้องกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต และการให้สินบน ดังนี้
• บริษัทกำหนดแนวทางในการรับหรือให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่อาจสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจอย่างไม่ชอบธรรมโดยกำหนดเงื่อนไขว่าควรดำเนินการอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมาและต้องมั่นใจได้ว่าการดำเนินการนั้นจะไม่ทำให้เกิดข้อครหาหรือทำให้บริษัทฯเสื่อมเสียชื่อเสียง สิ่งของที่กรรมการบริษัท ได้รับโดยปกติแล้วจะเก็บไว้ในสำนักงาน หรือแจกจ่ายให้กับพนักงานในบริษัทนั้น
• การจัดหาต้องดำเนินตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามระเบียบของบริษัทและมีความเป็นธรรมแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยที่การตัดสินใจต้องคำนึงถึงความสมเหตุสมผลด้านราคา คุณภาพและบริการที่ได้รับ รวมทั้งต้องสามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส
• ในการทำธุรกรรมกับภาครัฐ บริษัทฯจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจจูงใจให้รัฐหรือพนักงานของรัฐดำเนินการที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมอย่างไรก็ดีการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันหรือการกระทำใดๆ ในขอบเขตที่เหมาะสมและเป็นธรรมเนียมปฏิบัตินั้นก็สามารถทำได้ เช่น การไปแสดงความยินดีหรือการให้ช่อดอกไม้ในโอกาสต่างๆ เป็นต้น

 

แนวทางปฏิบัติของบริษัท

1. แนวทางปฏิบัติของผู้บริหาร

• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าในการตัดสินใจและกระทำการใดๆ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องโดยภาพรวม
• ปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพด้วยความรู้ความชำนาญ ความมุ่งมั่นและมีความรอบคอบระมัดระวัง มองเห็นปัญหาล่วงหน้าและหาวิธีการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นและรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานดังกล่าวไว้ รวมถึงมีการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในการจัดการบริษัทฯ อย่างเต็มความรู้ความสามารถ
• ไม่หาประโยชน์ให้ตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยการนำสารสนเทศภายในที่ยังไม่ได้เปิดเผยหรือที่เป็นความลับไปใช้หรือนำไปเปิดเผยกับบุคคลภายนอกหรือกระทำการอันก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
• จัดให้มีการดูแล การตรวจสอบ ทั้งภายในบริษัทและสภาพแวดล้อมของบริษัทโดยสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าได้มีการปฏิบัติตามนโยบายและกระบวนการที่กำหนด
• จัดให้มีการรายงานสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และสม่ำเสมอ รวมถึงจัดให้มีการรายงานแนวโน้มในอนาคตของบริษัทบนพื้นฐานของความเป็นไปได้และมีข้อมูลสนับสนุนอย่างเพียงพอ
• ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รักษามาตรฐานอุตสาหกรรมและกำหนดแนวทางปฏิบัติให้ทันต่อเหตุการณ์ มีเอกสารหลักฐานที่เพียงพอและเหมาะสมสำหรับการดำเนินการควบคุมและการดูแลรักษาให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดสำหรับนำไปใช้ปฏิบัติในทุกระดับของการจัดการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง มีการแบ่งแยกกิจกรรมดำเนินธุรกิจ และจัดให้มีการอนุมัติการดำเนินการที่เหมาะสมเป็นไปตามที่กฎหมายและข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้อง
• พัฒนาบริษัทให้บรรลุถึงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และเป็นมาตรฐานที่ยอมรับ
• ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัท

 

2. แนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการบริษัท

• กำหนดทิศทาง เป้าหมาย นโยบายและกลยุทธ์ทางธุรกิจ
• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความระมัดระวังและรักษาประโยชน์ของบริษัทฯ
• พึงปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและข้อบังคับของบริษัท
• ติดตามการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
• พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการให้ชัดเจนและเหมาะสม
• พิจารณาการทำรายการทางธุรกิจที่สำคัญของบริษัทด้วยความตั้งใจและขยันหมั่นเพียร
• จัดประชุมคณะกรรมการและพิจารณาวาระการประชุมอย่างเหมาะสม
• ประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ
• จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับอาวุโสของบริษัท

 

3. แนวทางปฏิบัติของคณะอนุกรรมการ

• ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ด้วยความตั้งใจและขยันหมั่นเพียร
• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความระมัดระวังและรักษาประโยชน์ของบริษัทโดยปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์
• พึงปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและข้อบังคับของบริษัท
• รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการรับทราบและพิจารณาอย่างสม่ำเสมอ

 

4. แนวทางปฏิบัติของกรรมการ

• ขยันหมั่นเพียรปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ
• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความระมัดระวังและรักษาประโยชน์ของบริษัท
• พึงปฏิบัติตามกฎหมายกฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและดำเนินธุรกิจเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท
• ติดตามการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของบริษัท
• ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่ามีการรักษาความลับของสารสนเทศที่เป็นความลับภายในบริษัทฯและยังไม่อนุญาตให้เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก และไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อภายนอก และไม่ใช้ข้อมูลภายในของบริษัท ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของตนเอง
• หลีกเลี่ยงการกระทำหรือการตัดสินใจ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์

 

5. แนวทางปฏิบัติของเลขานุการบริษัท

• ขยันหมั่นเพียรปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความระมัดระวังและรักษาประโยชน์ของบริษัท
• ดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการและบริษัทฯ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและดำเนินธุรกิจเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท
• มีความพร้อมและตั้งใจในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นการประชุมคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ และการจัดเตรียมรายงานการประชุม
• เป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสารที่ดีระหว่างกรรมการและผู้ถือหุ้น
• รักษาข้อมูลภายในบริษัทให้เป็นความลับ รวมถึงข้อมูลในรายงานการประชุมของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ของบริษัท และไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อภายนอก และไม่ใช่ข้อมูลภายในของบริษัท ซึ่งยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของตนเอง

 

6. แนวทางปฏิบัติของพนักงาน

• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบต่อบริษัท
• พึงปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและข้อบังคับของบริษัท
• ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่ามีการรักษาความลับของสารสนเทศที่เป็นความลับภายในบริษัทฯและยังไม่อนุญาตให้เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก และไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อภายนอก และไม่ใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของตนเอง
• พึงรักษาและร่วมสร้างสรรค์ให้เกิดความสามัคคีในหมู่พนักงาน

 

7. นโยบายและแนวทางปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทต้องมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าอย่างมืออาชีพ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมีคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงการให้ความสำคัญของการปฏิบัติที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ทุกฝ่าย ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูง จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียขึ้น เพื่อเป็น แนวทางการทำงานที่ดี และ ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีจรรยาบรรณ ดังต่อไปนี้

 

แนวทางปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น

• บริษัทต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินในเรื่องที่เกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศ วิธีการปฏิบัติทางบัญชี การใช้สารสนเทศภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยผู้บริหารจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนตัดสินใจดำเนินการใดๆ ด้วยความสุจริตใจ และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อย และเพื่อผลประโยชน์โดยรวม

 

แนวทางปฏิบัติต่อลูกค้า

• บริษัทตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของลูกค้าของบริษัทและมั่นใจว่าเงื่อนไขทางการค้าต่างๆ เป็นไปด้วยความเป็นธรรมตามมาตรฐานการค้าโดยทั่วไป ความลับของลูกค้าควรเก็บเป็นความลับและใช้ในธุรกิจ โดยไม่มีการเปิดเผย ยกเว้นการบังคับตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ หรือการยินยอมจากผู้เป็นเจ้าของสารสนเทศ รวมถึงประเด็นทางด้านการตลาด การกำหนดราคา รายละเอียดบริการ คุณภาพและความปลอดภัยของการให้บริการ

 

แนวทางปฏิบัติต่อคู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้

• บริษัทควรแน่ใจว่ามีการปฏิบัติที่ดีต่อคู่ค้า ได้แก่ กระบวนการสั่งซื้อจากผู้ขายและการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ต่อเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้เงินกู้ยืม เช่น การเบิกใช้ การชำระหนี้ หลักประกัน และข้อตกลงทางธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

แนวทางปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า

• บริษัทได้ปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาบริษัทที่เป็นคู่แข่งทางการค้าด้วยข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง รวมถึงไม่เข้าถึงสารสนเทศที่เป็นความลับของคู่แข่งด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม

 

แนวทางปฏิบัติต่อพนักงาน

• บริษัทตระหนักเป็นอย่างดีว่า พนักงานเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจของบริษัท จึงกำหนดวิธีการจ้างงาน ความเท่าเทียมกันในโอกาสของการจ้างงาน ความมั่นคงและความก้าวหน้าทางอาชีพ และหลักการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานและการจ้างงานและทำให้มั่นใจได้ว่าพนักงานมีความรู้ความชำนาญที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานในธุรกิจ รวมถึงความเข้าใจในข้อพึงปฏิบัติ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง แนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ และข้อตกลงในการที่จะปรับปรุงความรู้ความสามารถเพื่อทำให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมในอนาคต

 

แนวทางปฏิบัติต่อชุมชนและสังคม

บริษัทควรตระหนักเป็นอย่างดีถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนและการเอาใจใส่ต่อผลกระทบต่อผู้ที่อยู่รอบข้างมากกว่าที่มีกำหนดไว้ในกฎหมาย และพยายามที่จะค่อยๆ ให้มีการซึมซับเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางสังคม

บริษัทคาดหวังที่จะดำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่นที่บริษัทฯ ตั้งอยู่หรือเข้าไปทำธุรกิจ และปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน มุ่งมั่นที่จะใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะดำเนินการยกระดับคุณภาพของสังคม ทั้งที่ดำเนินการเองและร่วมมือกับภาครัฐและชุมชน

 

8. นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

บริษัทควรมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานของความปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมอย่างสูงสุด ซึ่งได้มีแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

• ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ที่บริษัทฯ เข้าไปทำธุรกิจ
• ปฏิบัติตามมาตรฐานเพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยในสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับพนักงานทุกคน
• ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัย ความปลอดภัยในทุกระดับ ตลอดจนสนับสนุนวิธีการและการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายของอุตสาหกรรม
• เปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริง ในเรื่องความปลอดภัย ชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัท

   
  [Last Modified: October 15, 2012]
   

   
   

 

 

 

   
  [Last Modified: December 4, 2012]
   
   
 
  กว่าสิบปีของการดำเนินธุรกิจแพปลาและอาหารทะเล โดยเริ่มจากเป็นชาวประมง ออกเรือประมงเอง จนมาถึงการเป็นเจ้าของธุรกิจแพปลา และเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารทะเล ทั้งปลีกและส่งทั่วประเทศ คุณภาพดีในราคายุติธรรม ในรูปแบบต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้าอย่างครบถ้วน โดยมีสินค้าทะเลหลากหลายทั้งของสด ของแช่แข็ง ของแห้ง และสินค้าพร้อมปรุงรับประทาน เราเลือกซื้อสินค้าทะเลโดยตรงจากชาวประมงท้องถิ่น มีเครือข่ายพันธมิตรในธุรกิจที่ดีและนำเข้าจากต่างประเทศ จึงทำให้เราสามารถเลือกซื้อสินค้าทะเลที่ดีที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุดและครบถ้วน ในราคาที่ท่านพอใจที่สุด พร้อมทั้งได้รับการไว้วางใจจากลูกค้ามากกว่า 10 ปี และพร้อมพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ท้องตลาดเสมอ 

630

มา ถึงปี 2557 ธุรกิจไหนจะอยู่รอด ธุรกิจไหนจะต้องเฝ้าระวัง ผมเชื่อว่าผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำธุรกิจก็คงเตรียมแผนสำรองกันไว้บ้างพอ สมควร เพราะตอนนี้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการอัพเดตสถานการณ์ต่าง ๆ ก็ไม่ได้ยากเหมือนเมื่อก่อน ในบทความครั้งนี้ ผมได้นำข้อมูลที่ประเมินทิศทางเศรษฐกิจในปีม้า หรือปี 2557 มาบอกเล่าให้ทุกท่านรู้เพื่อเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการรับมือทำธุรกิจได้มาก ขึ้น

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2557 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ออกเป็น 2 กรณี คือ หากมีการเลือกตั้งทั่วไปตามกำหนดในวันที่ 2 ก.พ. และมีรัฐบาลใหม่ที่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ภายในครึ่งปีแรก พร้อมกับมีมาตรการกระตุ้นการบริโภคและลงทุนชุดใหญ่ออกมา เชื่อว่าจีดีพีจะขยายตัวได้ 4.5% แต่ถ้าไม่มีมาตรการกระตุ้น เชื่อว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ราว 3.7%

อย่างไรก็ดี กรณีเลวร้ายที่ความขัดแย้งทาง การเมืองยืดเยื้อเกิน 6 เดือน จะส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนในประเทศไม่มีการเติบโตเลย โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ที่ 0.5-2.5% ตามการขยายตัวของภาคการส่งออก

จากสถานการณ์ในข้างต้นประเมินว่าปี นี้จะมีธุรกิจดาวรุ่งที่มีโอกาสจะขยายตัว 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ฟื้นตัวตามภาคการส่งออกไปยังคู่ค้าและตลาดที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มสินค้ารถยนต์และส่วนประกอบ แม้ส่วนใหญ่จะมาจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่เป็นหลัก แต่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะสายการผลิตนี้ครอบคลุมหลายผลิตภัณฑ์/ชิ้นส่วน หากแนวโน้มการส่งออกรถยนต์ในภาพใหญ่มีทิศทางที่ดีขึ้น ก็ย่อมจะส่งผลบวกต่อผู้ประกอบการ SMEs ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

กลุ่มเครื่องประดับ เป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในบรรดาสินค้าส่งออกทั้งหมดของไทย โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐ สหภาพยุโรป ฮ่องกง และกลุ่มอาเซียน กลุ่มสินค้าเคมีภัณฑ์ ได้แก่ สี ปุ๋ย และเครื่องสำอาง เป็นอีกกลุ่มที่มีแนวโน้มการเติบโตในเกณฑ์ดี และยังได้รับผลบวกจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ทำให้คาดว่าความต้องการสินค้าเคมีภัณฑ์จากไทยจะมีแนวโน้มได้รับการตอบรับที่ดี เนื่องจากสินค้าไทยได้รับการยอมรับในเรื่องของคุณภาพ

สุดท้ายกลุ่มสินค้าเกษตรและแปรรูปอาหาร ใน 20 อันดับสินค้าส่งออกที่ทำรายได้สูงสุด พบว่าสินค้าเกษตรแปรรูปและอาหารติดอันดับถึง 9 รายการ ได้แก่ ยางและของทำด้วยยาง น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล ธัญพืช ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา สัตว์น้ำ พืชผัก รวมทั้งรากและหัวบางชนิดที่บริโภคได้ ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ ปลา สัตว์น้ำ และของปรุงแต่งทำจากพืชผัก ผลไม้ ลูกนัต หากการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้มีทิศทางที่สดใสมากขึ้น ผู้ประกอบการ SMEs ก็น่าจะได้รับอานิสงส์ตามไปด้วยเช่นกัน

คราวนี้ลองมาดู กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่มีจุดแข็งทางธุรกิจ หรือมีความสามารถในการแข่งขัน คือ ภาคการท่องเที่ยวและบริการด้านสุขภาพ ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการไทยมีความสามารถในการแข่งขัน เพราะประเทศไทยมีจุดแข็งและได้รับการยอมรับจากต่างชาติในเรื่องของคุณภาพ และราคาที่คุ้มค่า ทั้งการเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพแห่งเอเชีย หรือ Medical Hub of Asia ที่ไม่ด้อยกว่า สิงคโปร์และมาเลเซีย

ในทางตรงกันข้าม ก็มีธุรกิจที่เฝ้าระวัง เพราะอาจประสบกับความลำบากในการปรับตัวมากขึ้น ได้แก่ กลุ่มที่พึ่งพาแรงงานเป็นจำนวนมาก หรือมีความยืดหยุ่นน้อยในการบริหารจัดการต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งค่าจ้างแรงงาน ค่าไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และค่าขนส่ง รวมถึงโจทย์สำคัญที่รอท้าทายในระยะยาว คงไม่พ้นเรื่องความสามารถทางการแข่งขันในหลาย ๆ สินค้าของไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะเมื่อการค้าการลงทุนในโลกกำลังเปิดกว้างและเชื่อมโยงกันมากขึ้นในปี 2558

ดังนั้นแนวทางการปรับตัวและรับมือสำหรับ SMEs ภาคการส่งออกจะต้องแสวงหาแหล่งวัตถุดิบทดแทน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต การหาตลาดที่มีศักยภาพ และพยายามสร้างโอกาสทางธุรกิจผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมทั้งพยายามสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง ส่วนในกลุ่มภาคการท่องเที่ยวจะต้องเน้นเรื่องคุณภาพ การบริการด้วยใจ ราคาต้องสมเหตุสมผล ต้องพัฒนาความรู้ความสามารถในเรื่องภาษาให้กับบุคลากร และต้องดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย หากผู้ประกอบการยิ่งรู้จักปรับตัวก็ยิ่งจะช่วยสร้างโอกาสให้กับธุรกิจได้มาก ขึ้นได้ครับ

โดย พัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

24-11-11-15-31-07-s

กรุงเทพฯ–17 ม.ค.–เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ขอเชิญผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปที่สนใจ เข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการและธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หลักสูตร “ข้อกำหนดการค้าและผลกระทบทางภาษีใน AEC” เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม(SMEs) ที่มีความประสงค์จะทำธุรกิจใน AEC ได้มีความรู้ความเข้าใจในกฎระเบียบ และขั้นตอน วิธีการนำเข้าและส่งออกสินค้าของประเทศใน AEC อย่างถูกต้องรวมทั้งทราบถึงข้อกำหนดการค้า การลงทุน การเปิดตลาดการค้า และโลจิสติกส์ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อวิเคราะห์ถึง โอกาส ปัญหาและอุปสรรค จากมาตรการการค้าและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทำกลยุทธ์ในการนำเข้าและส่งออกสินค้าพร้อมทั้งเตรียมแผนรับมือกับผลกระทบทางภาษีใน AEC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระราม 6 กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02 202 4594 / 02 202 4537 หรือ http://baid.dip.go.th/

ปีหน้าที่ทุกคนมองว่าเป็นโจทย์หินของ “ธุรกิจ” ทั้งกำลังซื้อที่ซบเซาต่อเนื่อง ภาวะการเมืองที่ยังคงวุ่นวายข้ามปี ทำให้การก้าวขึ้นปีใหม่ในปี 2557 ยังคง “อึมครึม” กลายเป็นโจทย์หลักของทุกผู้ประกอบการที่ต้องเตรียมรับมือ สู้ศึกกันอย่างหนักในปีม้าที่จะถึงนี้

“อนุวัตร เฉลิมไชย” นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เท่าที่พูดคุยกันในแวดวงธุรกิจ ตั้งแต่ปลายปีนี้จนถึงต้นปี 2557 ยังมีความอึมครึมไม่แน่นอนกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นอยู่ในขณะนี้ โดยคาดว่าไตรมาส 1 ปีหน้าทุกธุรกิจจะเหนื่อยในการกระตุ้นตลาดเพราะมู้ดจับจ่ายผู้บริโภคไม่ดี

“สินค้าจำเป็นน่าจะขับเคลื่อนไปได้ แต่ฟุ่มเฟือยก็อาจจะไม่ดี แต่อีกแง่หนึ่งสำหรับสินค้าที่เจาะกลุ่มไฮเอนด์อาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อที่ไม่เซนซิทีฟในเรื่องของราคามากนัก แต่กลุ่มที่มุ่งเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติก็คงจะลำบาก เพราะนักท่องเที่ยวลดลง”

สิ่งที่ธุรกิจต้องพิจารณาเป็นพิเศษ คือ กลยุทธ์การทำตลาดต้นปีหน้า การโฆษณา หรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ต้องเผื่อใจไว้ว่าอาจไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร เนื่องจากผู้บริโภคขณะนี้มุ่งสนใจการเมืองมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ดังนั้นงบฯที่ทำตลาดลงไปอาจไม่คุ้มค่า ดังนั้นการจะโปรโมตอะไรในปีหน้าก็ค่อนข้างลำบาก

“สัญญาณการจับจ่าย การบริโภคจริง ๆ ไม่ดีมาตั้งแต่ต้นปี 2556 แล้วจากนโยบายรถคันแรก ก่อนหน้านั้นในช่วงปลายปี 2554 ก็เกิดน้ำท่วม กระทบต่อกำลังซื้อมาต่อเนื่องคืออารมณ์ผู้บริโภคไม่ดีอยู่แล้วทุกค่ายก็คาดว่าสิ้นปีนี้จะมากระตุ้นกันอย่างเต็มที่ ก็ต้องมาเจอสถานการณ์การเมืองอีก”

หากประเมินจากจุดทางการเมืองของฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกันขณะนี้ “อนุวัตร” ยอมรับว่า สถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะยืดเยื้อ แต่ธุรกิจก็ควรจะสู้อย่างเต็มที่ในไตรมาส 1 ไม่ควรทิ้งไปเลย ดูตัวอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา ที่เศรษฐกิจตกต่ำมา 2-3 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าวหลายบริษัทก็สามารถทำกำไรได้ดี

คำแนะนำในปีหน้า ในฐานะนายกสมาคมการตลาด เขามองว่า ธุรกิจยังต้องเดินหน้าทำตลาดต่อเนื่อง แต่ต้องวิเคราะห์อย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้นไม่ควรใส่เงินแบบเหวี่ยงแห เพราะจะไม่คุ้มค่า การใช้เงินต้องละเอียดมากขึ้น เนียนมากขึ้น ดูว่าตลาดเซ็กเมนต์ไหนทำได้ ทำไม่ได้ อาทิ พื้นที่ในต่างจังหวัดที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะการเมือง จะสามารถไปจัดกิจกรรมหรือทำอะไรได้หรือไม่

“ระยะสั้นสิ่งที่น่าจะทำได้คือ การรุกดิจิทัล ซึ่งใช้งบประมาณไม่สูงและมีความคุ้มค่ากว่า ช่วงต้นปีหน้าธุรกิจอาจยังไม่ต้องใช้งบฯหว่านเจาะตลาดแมส จริง ๆ เดี๋ยวนี้ดิจิทัลทำได้หลายอย่าง ทั้งแจกคูปองหรือกิจกรรมออนไลน์ เจาะเป็นกลุ่ม ๆ ไป แม้แต่สินค้าอุปโภคบริโภคที่เจาะวงกว้างก็สามารถทำได้ อาทิ การรุกช่องทางจำหน่ายแต่ละช่องทางที่แตกต่างกัน เพราะค้าปลีกแต่ละค่ายกลุ่มลูกค้าก็แตกต่างกันอยู่แล้ว”

อย่างไรก็ตามด้วยภาวะที่ไม่มีอะไรแน่นอน เขาเชื่อว่าทุกค่ายก็คงจะเลือกการ “จัดโปรโมชั่น” เพื่อแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าไปก่อน

“ไตรมาส 1 ปีหน้าโปรโมชั่นจะเต็มตลาด ทุกค่ายคงจัดกันอย่างเต็มที่ เพราะจะต่อเนื่องไปถึงตรุษจีนจนถึงปิดเทอม ลากยาวไป ทุกคนก็คงหนีตายกันแน่ ๆ”

เขาเชื่อว่า ภาวะที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิด “สงครามราคา” ที่รุนแรง ที่อาจไม่เป็นผลดีกับธุรกิจโดยเฉพาะในระยะยาว

“แนะนำว่าปีหน้าทุกคนไม่ควรเล่นแบบเดิม เพราะจะมี Fix Cost ที่สูงมาก แต่ควรวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจดี ๆ อย่าให้เกิดเป็นสงครามราคา เพราะจะพังกันหมด โดยเฉพาะแบรนด์รอง แบรนด์เล็ก”

ในมุมมองของเขา เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามราคา เขาเชื่อว่า ธุรกิจยังมีวิธีการอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นตลาดได้อีกมาก ดยการแก้ปัญหาระยะสั้นในสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากการเฝ้าสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแล้ว หากทุกอย่างบานปลายจริง ๆก็ต้องมีแผนสำรองเตรียมไว้เพื่อกระตุ้นตลาด ส่วนระยะยาว ทุกธุรกิจน่าจะหันมาเน้นการทำ “ต้นทุน” ให้สามารถแข่งขันได้ หาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วย ระบบซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพ หรือหันมาเน้น Value Product สินค้าที่มีประโยชน์ให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่า อาทิ ลดไซซ์ แพ็กเกจจิ้ง สำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการซื้อจำนวนมาก ใช้เท่าไรซื้อเท่านั้น หรืออาจจะออกมาเป็นไซซ์จัมโบ้ให้รู้สึกคุ้มค่ามากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการลดราคา

“ในวิกฤตก็มีโอกาสที่เชื่อว่าจะสามารถพลิกได้ ในขณะที่หลายแบรนด์ถอย หรือเน้นทำแต่โปรโมชั่น บางแบรนด์อาจถือโอกาสช่วงนี้โปรโมตแบรนด์มากขึ้น โดยเฉพาะการเล่นโซเชียลมาร์เก็ตติ้ง หรืออีกแง่หนึ่งก็เน้นทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคมเพื่อปูพื้นในอนาคต เป็นการทำเพื่อระยะยาว ต้องหาช่องออกมา มองภาพในอนาคต”

สำหรับการเปิดตัวสินค้าช่วงไตรมาส 1 ปีหน้า เขาเชื่อว่าหากสถานการณ์การเมืองยังคงวุ่นวาย สินค้าต่าง ๆ ก็คงจะยกเลิกการเปิดตัว การจัดอีเวนต์ก็อาจใช้วิธีอื่น เปลี่ยนไปเจาะหัวเมืองต่างจังหวัด อย่างไรก็ตามต้องดูเหมาะกับกาลเทศะหรือไม่

“ไม่ใช่ว่าทุกคนพูดเรื่องการเมือง เหตุการณ์วุ่นวาย แต่เรามาฉลองรื่นเริง แต่หากเป็นสินค้าดีมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคก็สามารถเปิดตัวออกมาทำตลาดในช่วงนี้ได้”

อีกแง่หนึ่งในภาวะที่การทำตลาดติดขัด เขามองว่า น่าจะเป็นจังหวะเวลาที่ทุกบริษัทหันมาดูแลต้นทุน หรือดูเนื้อหาสินค้าและบริษัทว่าตอบโจทย์ผู้บริโภคหรือไม่อย่างไร

“เดิมภาพสินค้าของเราอาจดูฟุ่มเฟือย ไม่คุ้มค่า ก็ต้องปรับเรื่อง Value Propositionบางอย่าง”

ยิ่งในภาวะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่า วัตถุดิบขึ้นราคา ค่าน้ำมัน ค่าขนส่งที่อาจจะปรับขึ้นในต้นปีหน้า ทำให้ต้นทุนสินค้าขึ้น เขาชี้ว่า ตรงนี้ถือว่า “ข่าวร้ายซ้ำสอง” และตอกย้ำสถานการณ์ตลาดในขณะนี้ที่อยู่ในภาวะ “ไร้ข่าวดี”

“ตอนนี้ภูมิต้านทานธุรกิจต้องสูง ในสภาพที่ไม่มีข่าวดี ช่วงเวลานี้ทุกธุรกิจควรกลับมาดูต้นทุนของตัวเอง ต้นทุนที่อาจจะขึ้นในปีหน้า ทุกธุรกิจควรจะคิดเผื่อไว้เลย ต้องลดต้นทุนเต็มที่ ไม่ใช่ผลักภาระให้ผู้บริโภค แต่ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ก็คงต้องขึ้นราคาตามความจำเป็น”

เขาทิ้งท้ายว่า ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี สิ่งที่จะเป็นอีกตัวชี้วัดในปีหน้าคือ “ประสิทธิภาพ” ของธุรกิจ

“คนที่ต้นทุนดี แข็งแรง ก็จะได้เปรียบ พวกนี้เขาปรับมานาน ทำให้มีความพร้อมในการเผชิญปัญหา แต่คนที่ไม่พร้อมก็จะลำบากพอสมควรในปีหน้า”

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

นายชาวันย์ สวัสดิ์-ชูโต รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สสว.เดินหน้าพัฒนาระบบเตือนภัย SMEs มุ่งให้ครอบคลุมงบการเงินนิติบุคคลกว่า 3 แสนรายใน 961 หมวดธุรกิจ พร้อมจัดทำอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ และพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ระบบเตือนภัยธุรกิจ (BWS) เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลทันสมัย เพื่อสร้างประโยชน์แก่ SMEs และหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน

นายชาวันย์ สวัสดิ์-ชูโต รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว.ได้ดำเนินโครงการจัดทำอัตราส่วนทางการเงินของ SMEs พร้อมพัฒนาปรับปรุงระบบเตือนภัยธุรกิจ ในชื่อเว็บไซต์ “ระบบเตือนภัยธุรกิจ” (Business Warning System : BWS) มาตั้งแต่ปี 2553 และมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลที่ทันสมัย และเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SMEs อย่างแท้จริง

โดยในปี 2556 นี้นับเป็นการพัฒนาปรับปรุงฐานข้อมูลปีที่ 3 ซึ่ง สสว.ได้ร่วมกับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลระบบเตือนภัยธุรกิจ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม ประกอบด้วย 1. ข้อมูลงบการเงิน พ.ศ. 2553 และ 2554 ของนิติบุคคล จำนวนไม่ต่ำกว่า 300,000 ราย ครอบคลุมหมวดธุรกิจจำนวน 961 หมวดธุรกิจ 2. จัดทำอัตราส่วนทางการเงินของนิติบุคคล พ.ศ. 2553 และ 2554 แยกตามหมวดธุรกิจ เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญจำนวน 24 อัตราส่วนทางการเงิน และทำการวิเคราะห์-สังเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการใช้งาน และ 3. พัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ระบบเตือนภัยธุรกิจ Business Warning System หรือ BWS เพื่อแสดงผลอัตราส่วนทางการเงิน ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลอัตราส่วนทางการเงิน พ.ศ. 2553 และ 2554 ให้บุคคลและองค์กรต่างๆ เข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้โดยสะดวก

สำหรับโครงการจัดทำอัตราส่วนทางการเงินของ SMEs พร้อมพัฒนาปรับปรุงระบบเตือนภัยธุรกิจได้เริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรกในปี 2553 โดยร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดทำข้อมูลและรายงานการวิเคราะห์ รายงานสถานการณ์ต่างๆ ของ SMEs เริ่มจากการนำข้อมูลด้านการเงินของสถานประกอบการจำนวน 2,500 กิจการมากลั่นกรองและจัดทำระบบเตือนภัยธุรกิจ ผ่านการแสดงผลในรูปแบบของสัดส่วนทางการเงิน เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาศักยภาพ หรือสมรรถภาพในการดำเนินธุรกิจ หรือเรียกว่าระบบดัชนีสมรรถนะธุรกิจ (Business Performance Index : BPI) จัดทำรายงานเชิงลึก 3 สาขา ได้แก่ สาขาการผลิตยางแผ่นและยางแท่ง สาขาการผลิตน้ำแข็งเพื่อการบริโภค และสาขาธุรกิจโรงแรม รีสอร์ต และห้องชุด

ในปี 2554 ได้ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมปรับปรุงและพัฒนาระบบเตือนภัยธุรกิจ โดยสำรวจข้อมูลด้านการเงินปี 2552 และ 2553 จากผู้ประกอบการจำนวน 1,500 กิจการ รวมถึงจัดทำรายงานวิเคราะห์เชิงลึกในสาขาผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ และสาขาผู้ผลิตแม่พิมพ์ นอกจากนี้ได้เพิ่มระบบเหมืองข้อมูล หรือ Data Mining : DM ซึ่งสามารถแสดงผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ BPI สำหรับ 3 สาขาธุรกิจ โดยมีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ 3 หัวข้อ ได้แก่ ด้านพลังงาน ด้านแรงงาน และประสิทธิภาพเครื่องจักร

อย่างไรก็ดี เชื่อว่าการดำเนินงานดังกล่าวจะเป็นการพัฒนาฐานข้อมูลให้ทันสมัย เพื่อให้ผู้ประกอบการใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาศักยภาพหรือสมรรถภาพในการดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการ การตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งพัฒนาปรับปรุงองค์กรของตนเอง และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย/แผนงานในการส่งเสริม สนับสนุน SMEs ให้เป็นกำลังหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยผู้สนใจสามารถใช้บริการระบบเตือนภัยธุรกิจของ สสว.ได้ที่ www.sme.go.th/bws

นอกจากนี้ ภายใต้การดำเนินโครงการดังกล่าวได้จัดให้มีงานสัมมนา “SMEs ไม่หลงทางด้วย BWS” โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม SMEs ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเข็มทิศสำหรับการทำธุรกิจ การวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจต่างๆ เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ โรงแรม-ที่พัก บริการขนส่ง ธุรกิจก่อสร้าง ฯลฯ รวมถึงการใช้งานระบบ Business Warning System ด้วยตัวเอง และระบบ Web Matching System เชื่อมโยงธุรกิจประเทศญี่ปุ่น

โดยกำหนดจะจัดใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคใต้ จ.สงขลา วันที่ 8 พ.ย. 2556 ณ โรงแรมหาดใหญ่ พาราไดซ์ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ วันที่ 13 พ.ย. 2556 ณ โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น วันที่ 22 พ.ย. 2556 ณ โรงแรมบุษราคัม และภาคกลาง กรุงเทพมหานคร วันที่ 29 พ.ย. 2556 ณ ห้อง Lotus LL Floor โรงแรม Lotus Sukhumvit Bangkok ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม SMEs เข้าใจวิธีการใช้งานและนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์ – SMEs

 

บทความชิ้นนี้เป็นบทย่อความจากงานแปลเรื่อง “Future Direction in Human Resource Development (HRD) Practice : Chapter II) ของ Lyle Yorks (2005) และรายงานการบรรยายของ Professor Dr. William Ball จาก Michigan University เรื่อง “Oragnizations and Management in Tommorow’s World” ซึ่งสรุปความได้ว่า

Lyle Yorks กล่าวถึง การทำนายกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดภาวะเสี่ยงทางธุรกิจ (Risky Business) ตั้งแต่เริ่มต้นศตวรรษที่ 21 การจะเข้าสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญได้นั้นคงต้องอาศัยกลยุทธ์การเรียนรู้ซึ่งนำมาจากความรู้สึกของความไม่แน่นอนจากความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคตที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น ผู้เชี่ยวชาญหรือมืออาชีพทางด้านการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้พยายามจัดเตรียมแบบอย่างที่มีคุณค่าต่อการดำเนินงานขององค์การของเขาและสำคัญที่สุดคอยติดตามและเฝ้าดูผลการทำงานในการประกอบอาชีพของตนอย่างต่อเนื่อง
Yorks ได้อ้างถึงแนวคิดของเชอร์มัค, ลินแฮมและเราน่า (Chermack, Lynham and Ruona) ที่กล่าวถึง แนวโน้มภาวะวิกฤตและความไม่แน่นอนก่อผลกระทบต่อการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากแนวโน้มทางสังคม เศรษฐกิจและการฝึกฝนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในปัจจุบันจนเกิดเป็นศักยภาพที่ก่อผลกระทบต่อการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยอ้างถึงแนวคิดของฮอดจ์สันและชวาสซ์ (Hodson and Schwartz) ที่กล่าวว่า แนวโน้มการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตมีผลกระทบที่ไม่แน่นอนและเป็นภาวะวิกฤตที่รุนแรงเพราะว่าไม่สามารถคาดเดาไว้ล่วงหน้าได้ ซึ่งเชอร์มัคและคณะได้สรุปถึงความไม่แน่นอนที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบการดำเนินงาน 6 ประการคือ
1. การแข่งขันด้านความรู้ความชำนาญและทักษะเฉพาะด้านในระดับสูง (Competition for the Expertise Elite)
2. โลกาภิวัฒน์ (Globalization)
3. สถานที่หรือที่ทำงานในการควบคุมการดำเนินการขององค์การหรือบุคลากร (Locus of Control Qrganizational or Individual)
4. ความรู้ความสามารถด้านการตลาด (Marketability of Knowledge)
5. ยุคสมัยต่อไป (Next Age) และ
6. ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Technological Explosion)
ลำดับแรก 2 ประการสำคัญคือ ความก้าวหน้าของโลกาภิวัฒน์และการเกิดนวัตกรรมใหม่ทางด้านเทคโนโลยี เราไม่สามารถพยากรณ์หรือคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร ลำดับถัดมาคือการเข้าถึงตลาดเพราะเราไม่สามารถจำแนกหรือเข้าใจถึงความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นได้อย่างแน่นอน ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่สำคัญ “เราไม่รู้ว่าความรู้ด้านการบริหารธุรกิจเป็นอย่างไร” (We are not in the Knowledge Management Business)”
ส่วนผลกระทบลำดับสุดท้าย 3 ประการ กล่าวคือ ในยุคสมัยต่อไปความรู้ความสามารถแบบเดิมจะล้าสมัย พฤติกรรมองค์การจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ มีความเป็นร่วมสมัยและคนที่มีคุณภาพขององค์การจะมีลักษณะเชาวน์ปัญญาดี รู้จักการปรับตัวและมีความสามารถในการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว องค์การจะมีการปรับปรุงโครงสร้างการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงตามกลยุทธ์ด้านโอกาสและเงื่อนไขทางด้านธุรกิจ การจัดเตรียมคนจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายขอบเขตให้กว้างขวางออกไปเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือบ้านซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้และการประกอบธุรกิจที่สำคัญที่ทำให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับรากฐานทางสังคมกับความเข้าใจเรื่อง “ระบบเศรษฐกิจใหม่” ที่มิใช่เฉพาะความต้องการด้านผลกำไรเหมือนอดีตเพียงเท่านั้น แต่การดำรงอยู่ในระบบอย่างยาวนานและยั่งยืนก็คือความสามารถในการปรับตัวให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งอาจจะเรียกให้เหมาะสมที่สุดก็คือ “ยุคแห่งข้อมูลข่าวสารสนเทศ (Information Age)” หรือ “ยุคแห่งความรู้ (Knowledge Age)” และที่สุดสถานที่สำหรับการประกอบธุรกิจไม่จำเป็นต้องอาศัยสถานที่ที่ใหญ่โตและมีพนักงานจำนวนมากเหมือนในอดีต นักธุรกิจจะอยู่พื้นที่ใดของโลกก็ได้ขอให้มีเพียงโทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ทได้ ซึ่งมีลักษณะเป็น E – Commerce ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานร่วมกันในทุกระดับได้ด้วย นอกจากนี้การระดมความคิดเห็นใช้การประชุมแบบเสมือนจริงที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่แต่สามารถร่วมประชุมกันได้โดยอาศัยอุปกรณ์โทรคมนาคม เช่น โทรทัศน์วงจรปิด (Virtual Teleconferences) ฯลฯ หรือจากเครือข่ายพื้นฐานจากห้องคุยกัน (Web – base Chat Rooms) โดยอาศัยความเชื่อมั่นในการคัดเลือกเครือข่ายที่มีมาตรฐาน
การลดขนาดองค์การและการจัดการให้มีขนาดเล็กลง (Authoritarian Control and Micromanagement) จากกระบวนการที่เรียกว่า Down Sizing เป็นการลดขนาดองค์กรให้เล็กลง ย่นเส้นทางการบังคับบัญชาให้สั้นและรวดเร็วแต่มีประสิทธิภาพประเภท “จิ๋วแต่แจ๋ว”
และได้นำเสนอความคิดของเบนสัน, จอห์นสันและคูชิงเก้ (Benson, Johnson and Kuchinke) จำแนกการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็น 3 ลักษณะที่มีผลกระทบต่อการเป็นเจ้าของกิจการในยุคที่เปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิตอลมากยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย
1. ขอบเขตการวิเคราะห์ความต้องการและการออกแบบโปรแกรม (The Scope of needs Analysis and the Design of Programs)
2. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ฝึกอบรมหรือผู้ให้การศึกษากับผู้เรียนในกระบวนการเรียนรู้ (The Relationship between Trainers/Educator and Learners in the Learning Process)
3. โอกาสในการปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ (Enhanced opportunities for Informal Learning)
ผู้เชี่ยวชาญหรือมืออาชีพด้านการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประเมินการออกแบบโปรแกรมการเรียนรู้เป็น 2 แนวทาง คือ ทักษะทางด้านเทคโนโลยีของผู้เรียนและระดับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและได้นำความคิดของลี, โอเวนและเบนสัน (Lee, Owen and Benson) ที่สรุปว่า การออกแบบอะไรนั้นควรได้พิจารณาถึงการเรียนรู้และระบบที่ดีที่สุดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโปรแกรม การออกแบบต้องอาศัยข้อมูลจากภายนอกและระดับ ของผู้สอนกับเทคนิคของผู้เรียนประกอบกันเพื่อตอบสนองความต้องการด้านความสำเร็จของระบบ การพิจารณาถึงความจำเป็น 2 ประการ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) และความสามารถทางด้านเทคโนโลยี (Abliity of Technology) โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์ (E – learning Technology) ซึ่งมีลักษณะเป็นคนที่มีทักษะใหม่ ผู้เชี่ยวชาญหรือมืออาชีพทางด้านการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งหลายเชื่อว่าแนวโน้มจะมีผู้สมัครเรียนเทคโนโลยีเหล่านี้จนเกิดความรู้ความสามารถและมีความชำนาญที่มีศักยภาพเป็นจำนวนมากยิ่งขึ้น ซึ่งบทสรุปจากบทความของ Lee กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้เรียนกับเทคโนโลยีจะเป็นเพื่อนคู่ขากันอย่างต่อเนื่อง โดยผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีจะค่อย ๆ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเชี่ยวชาญในโอกาสต่อไป ฉะนั้น งานด้านการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มากขึ้นทุกที่ในเครือข่ายการเรียนรู้พื้นฐานรวมทั้งโครงการที่มีความสลับซับซ้อนสำหรับทักษะระดับการจัดการและบูรณาการร่วมกับเนื้อหาความรู้ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ผู้ออกแบบการสอนหรือผู้แนะนำรวมถึงผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตสื่อการเรียนรู้เหล่านั้นด้วย
นอกจากนั้น Lee ยังมีความเชื่อว่ารายละเอียดต่าง ๆ ในการเรียนรู้จะทำให้การทำงานเกิดทักษะและง่ายขึ้นเมื่อมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบตัวต่อตัว แม้แต่ปัญหาจากความคิดเห็นที่ขัดแย้งยิ่งทำให้เกิดความสามารถเฉพาะตัวหรือเฉพาะกลุ่มซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบที่ต้องอาศัยกระบวนการผสมผสานเทคนิควิธีและปัจจัยประกอบอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ
เบนสันและคณะ. (Benson et al.) เสนอข้อสังเกต “ศักยภาพที่สมบูรณ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกสามารถสนับสนุนการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ” สอดคล้องกับความคิดของเดนเนนและหวัง (Dennen and Wang) ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไว้ว่า เราสามารถช่วยเหลือหรือสนับสนุนโอกาสหรือวิธีการเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทางเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการคือ
1. การเรียนรู้ในการพิจารณาการจัดการที่มีประสิทธิภาพ (Learning how to Eonduct Efficien Searchs) และ
2. การเรียนรู้ในการเข้าร่วมหรือก่อตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย (Learning how to Establish the Validity of what they Aecess)
การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การใดที่มีความสามารถในการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) ถึงแม้ว่าจะมีประสบการณ์ด้านความรู้ความสามารถที่ขัดแย้งกันภายในสนามแข่งขันระหว่างการบริหารการพัฒนาทรัพยากรกับเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ (Human Resource Development and Information Technology/HRD and IT) องค์การใดจะครอบคลุมขอบเขตหรืออาณาจักรการจัดการองค์ความรู้ได้มากกว่ากัน ในความเป็นจริงถ้าทั้งสองฝ่ายร่วมกันคิดร่วมกันทำจะมีส่วนช่วยให้ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการได้รับการสนับสนุนและเกิดศักยภาพในความร่วมมือให้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ตกลงกันไว้ได้
ถึงแม้ว่าไม่สามารถพิสูจน์ได้ถึงความจริงใจของแต่ละฝ่าย แต่กระแสแห่งแฟชั่นในโลกปัจจุบันก็พยายามบีบบังคับให้เกิดการเรียนรู้ช่องว่างระหว่างกลางแห่งองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ว่าจะใช้วิธีการประนีประนอมหรือผสมผสานการใช้ประโยชน์กับเทคโนโลยี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหรือมืออาชีพด้านการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถทำให้เกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและช่วยประสานความร่วมมือร่วมใจตามทักษะที่กำหนดไว้ตามเกณฑ์ขั้นพื้นฐานเพื่อจะได้นำเข้าสู่โปรแกรมการเรียนรู้ที่ได้เลือกสรรไว้อย่างเหมาะสม
โลกาภิวัฒน์สามารถให้ทางเลือกแก่กิจการแต่ละองค์การในการจะเลือกเข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์หรือไม่ อย่างไรก็ดีโปรแกรมการฝึกอบรมทั้งหลายของแต่ละองค์การสามารถก่อประโยชน์จากเอกสาร ตำราหรือหนังสือ รวมทั้งสื่อมวลชนที่หลากหลาย เช่น โทรทัศน์ วิทยุและหนังสือพิมพ์ ฯลฯ (Text Multimedia) ครอว์ฟอร์ด เบอเวอริดจ์ (Crawford Beveridge) ประธานกรรมการบริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ของซันไมโครซิสเท็มส์ (Sun Microsystems) เน้นความคิดในการก่อตั้งสถาบันสำหรับการเรียนรู้ของทีมงานในหลายประเทศเพราะตระหนักถึงความหมายและความสำคัญต่อความท้าทายและการแข่งขันด้านการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ความแตกต่างระหว่างกลุ่มพลังและกลุ่มพลวัตรใหม่กับกลุ่มประเพณีวัฒนธรรมแบบเก่า ๆ จะให้ความสำคัญกับการพิจารณาไตร่ตรองเพื่อการออกแบบการเรียนรู้ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายซึ่งเปรียบเทียบระหว่างองค์การแบบใหม่ของสหรัฐอเมริกากับแบบวัฒนธรรมเก่าของเกาหลีใต้ เป็นประเด็นสำคัญทำให้เกิด Kim’s Point ซึ่ง คิม (Kim) กล่าวว่า ถึงแม้นวัตกรรมใหม่ขององค์การจะกำหนดสถานที่ที่มีความพิเศษเฉพาะสามารถเคลื่อนไหวได้ทั่วไปเพื่อตอบสนองการทำงานของยุคโลกาภิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญหรือมืออาชีพด้านการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เน้นถึงความร่วมมือในการเรียนรู้พฤติกรรมที่ผูกติดกับวัฒนธรรมที่ปรากฏให้เห็นในที่นี้ได้อธิบายถึง “บทบาทความรับผิดชอบและการเปลี่ยนแปลง” (Responsibility and Changes)” ซึ่งประกอบด้วยประเด็นต่าง ๆ 12 ประการ คือ
1. การสร้างความร่วมมือระหว่างงานวิจัยกับแบบแผนการปฏิบัติ (Creating Synergy between Research and Practice)
2. การพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงขึ้นทำให้การเรียนรู้เกี่ยวกับคนและสังคมหายไป (Leveraging Technology without Losing the Human and Social Compoment of Learning)
3. การสร้างความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว (Striking a Balance between and Personal Life)
4. ความตั้งใจที่จะนำความคิดสร้างสรรค์ให้ที่ทำงานมีความเมตตากรุณาความเอื้ออาทรต่อกัน (Striving Toward the Creation of Humane Workplace)
5. ยอมรับทุนทางปัญญามีความสำคัญที่สุดรวมทั้งข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในระดับล่างขององค์การ (Acknowlegding Intellectual Capital as Lifeblood or Truebottom Line of Organizations)
6. การพัฒนาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Developing Social Responsibility)
7. ความร่วมมือหรือการเป็นหุ้นส่วนในบทบาทการศึกษาภาวะการเปลี่ยนแปลง (Part nering in the Changing Role of Education)
8. การพัฒนาการทำงานร่วมกันในลักษณะหุ้นส่วนทั้งภายในและภายนอกองค์การ (Developing Collaborative Partnerships Bothinside and Outside the Organization)
9. การเข้าร่วมรับรู้โลกาภิวัฒน์ (Embracing Globalization)
10. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Multiculturalism)
11. การจัดการองค์ความรู้และการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (Managing Knowledge and Learning Effectively)
12. สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Fostering Lifelong Learning)

บทสรุป
ตลอดช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นกระบวนการเพื่อการเตรียมตัวเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อความมั่นคงในระบบสังคมและเศรษฐกิจที่มีพลังอันเข้มแข็งโดยเฉพาะเทคโนโลยีและโลกาภิวัฒน์จะเป็นพลังขับเคลื่อนต่อความเปลี่ยนแปลงที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาผู้เชี่ยวชาญหรือมืออาชีพด้านการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีสิ่งที่ท้าทายอย่างต่อเนื่องต่อความมีคุณค่าต่อผู้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมและโดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ “การพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้” เพื่อจะชนะในการแข่งขันซึ่งประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuos Improvement) และการปรับเปลี่ยนสู่องค์กรอัจฉริยะหรือองค์การแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นการพัฒนาแบบบูรณาการ (Integration Development)

เนื้อหาของบท

ความคิดเห็นของผู้แปล
จากการแปลและศึกษาเนื้อหาความรู้สรุปได้ว่า อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนมีประเด็นที่อาจจะก่อผลกระทบมากมายโดยเฉพาะการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ดังที่ Lyle Yorks ได้นำเสนอความคิดของ Chermack และคณะ 6 ประการ Benson และคณะของประเด็นบทบาท HRD ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น Denen และ Wang เสนอความคิดสนับสนุนการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ และ Kim พยายามนำปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงอยู่ในองค์การอย่างเหมาะสมกับกาลเวลาและความเรียบง่ายด้วย Kim’s point 12 ประการ เมื่อหลอมความรู้ทั้งหมดพอสรุปได้เป็นประเด็นสำคัญคือเมื่อกระแสโลกได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงและรวดเร็ว องค์การทุกองค์การจะปรับตัวเองให้สอดคล้องและเคลื่อนไหวตามอย่างเหมาะสมเพื่อให้กิจการของตนดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนโดยเฉพาะกระบวนการ HRD เป็นตัวขับเคลื่อนอย่างสำคัญโดยอาศัยความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวเร่งที่มีพลวัตรในตัวมันเองแต่ก็ต้องไม่พยายามลืมคุณค่าความเป็นมนุษย์โดยเฉพาะเพื่อนร่วมงานในองค์การ แนวโน้มในอนาคตก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่หยุดนิ่งจนไม่สามารถจะกำหนดหรือบอกว่าแบบอย่างที่เหมาะสมในการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อะไรที่ดีที่สุดจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพองค์ประกอบของแต่ละองค์การไม่ว่าจะเป็น คน เทคโนโลยีและเป้าหมายในการดำเนินงานขององค์การสอดคล้องกับแนวความคิดของศาสตราจารย์ ดร. วิลเลี่ยม บอลล์ (Prof. Dr. William Ball) จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมาบรรยายที่มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2549 ในหัวข้อเรื่อง “Organizations and Management in Tomorow’s World” ซึ่ง อารักษ์ ชัยมงคล (2549 : 2-3) ได้สรุปความไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันคือยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) เป็นกระบวนการที่แตกต่างจากยุคอดีตอย่างสิ้นเชิง จนยากที่จะพยากรณ์ได้ว่าการบริหารองค์การและการจัดการ (Organizations and Management) ในอนาคตจะมีรูปลักษณ์และแบบอย่างอย่างไรองค์ความรู้และทฤษฎีทางการบริหารเก่า ๆ อาทิ POCCOC, POSDCORB, PPBS หรือแม้แต่ MBO จะเป็นเพียงหลักฐานทางวิชาการที่อยู่ในตำราเรียนว่ายุคสมัยหนึ่งทฤษฎีต่าง ๆ เหล่านี้ได้มีผลต่อการบริหารองค์การที่ได้รับการยอมรับ รวมไปถึงแนวคิดในการบริหารแบบต่าง ๆ ในยุคที่ผ่านมา ได้แก่ แบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ตามแนวคิดของ Frederick W. Taylor, Max Weber, Gulick & Urwick และ Frank Gilbreth แบบมนุษยนิยม (Humanistic) ของ Lilian M. Gilbreth, Henry Fayol และ Mary Parker Follet ซึ่งให้ความสำคัญเรื่องคนในองค์การมากขึ้นจนมาถึง Chester I. Barnard บิดาแห่งองค์การแบบไม่เป็นทางการ (Informal- Organization Theory) อธิบายถึง ความสัมพันธ์องค์การแบบไม่เป็นทางการที่แฝงตัวและมีอิทธิพลต่อองค์การแบบเป็นทางการ จนเข้าสู่แบบมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) และแบบทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) ประกอบด้วยนักคิดที่มีชื่อเสียง อาทิเช่น Elton Mayo, Fritz Roethlisberger and others (Hawthorn Study) ช่วงปี ค.ศ. 1924 -1933 ซึ่งเน้นการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ ต่อมาแนวคิดเรื่องทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ของ Abraham H.Maslow ที่กล่าวถึงความต้องการในระดับต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานในองค์การและทฤษฎี X – Y ของ Douglas Mcgregor ที่แบ่งแยกพฤติกรรมมนุษย์เป็น 2 กลุ่มซึ่งมามีบทบาทมากในประเทศญี่ปุ่นและประสบความสำเร็จในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศจนสามารถเทคโอเวอร์บริษัทอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์และ อื่น ๆ ของอเมริกา ในช่วงยุค ค.ศ. 1980 เป็นต้น
จนมาถึงเมื่อประมาณ 20 -25 ปีที่ผ่านมา โลกได้เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจากคลื่นลูกที่ 2 การผลิตในกระบวนการอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (Information Technology) หรือยุคหลังสมัยใหม่ (Post – modernism) โลกทั้งโลกแคบลงด้วยการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต หรือเรียกว่า ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) เป็นการบริหารจัดการฐานข้อมูล (Management of Database) องค์การใดมีระบบการจัดการฐานข้อมูลได้ดี และสามารถรวบรวมข้อมูลไว้ได้มากจะเป็นผู้ได้เปรียบ ดังเช่น ธุรกิจของไมโครซอพท์ได้สร้างปรากฏการณ์ในการบริหารจัดการรูปแบบใหม่จนทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็วครอบครองอาณาจักรทั่วโลก อันเป็นกระบวนการที่เรียกว่า American Way ทำให้ธุรกิจของอเมริกาที่เคยล้าหลังและทรุดโทรม กลับมาเติบโตและแซงหน้าประเทศญี่ปุ่นได้ ในขณะที่ญี่ปุ่นเริ่มประสบปัญหาอย่างมากมายด้วยคงรักษาวัฒนธรรมองค์การที่เคยประสบความสำเร็จในอดีตและไม่พยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์การและการจัดการ จนเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยและมาเลเซียได้ขับเคลื่อนแนวคิดของ Information Technology เข้าสู่ประเทศ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาประเทศใหม่ และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลกได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะเหนือกว่ากลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน เช่น ลาว เขมร เวียดนาม พม่าและแม้แต่เกาหลีเหนือ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) ในยุคข้อมูลข่าวสารเป็นปัจจัยสำคัญสูงสุด ประกอบด้วยการพัฒนาแบบบูรณาการ โดยแบ่งระดับบุคคลออกเป็น 3 ระดับด้วยกันคือ ระดับบุคคล (Individual Level) ระดับทีมหรือกลุ่มงาน (Team or Group or Department Level) และระดับองค์การ (Corporate Level) โดยเน้นโครงสร้างองค์การแบบแบนราบ (Flat Organization) มิติในการพัฒนามนุษย์เป็น 3 มิติคือ พัฒนาโดยการใช้การศึกษาและการฝึกอบรม มิติการพัฒนาอาชีพ (Career Development) คือการพัฒนาให้เป็นมืออาชีพที่จะตอบสนององค์การและการจัดการได้ เช่น รู้จักการประเมินตนเพื่อศึกษาว่าตนเองมีความสามารถ มีบุคลิกภาพและแรงจูงใจในอาชีพแบบใด รวมถึงการเป็นนักบริหารมืออาชีพที่มีทักษะในการจัดการเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ การสรรหาและการคัดเลือก การพัฒนา การประเมินผลและการสร้างทายาททดแทน และมิติสุดท้ายคือ การพัฒนาองค์การ (Organization Development) คือปรับเปลี่ยนไปสู่ “องค์การแห่งการเรียนรู้” (Learning Organization) เพื่อชนะในการแข่งขันซึ่งประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น การทำ TQM (Total Quality Management) หรือกลยุทธ์การแข่งขันเวลา และการปรับเปลี่ยนเป็นองค์การอัจฉริยะ หรือองค์การแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นการพัฒนาแบบบูรณาการ (Integration Development) ซึ่งประกอบด้วย
1. เข้าใจเรื่องราวของธุรกิจในด้านวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ โครงสร้างองค์การ รูปแบบใหม่และวัดผลสำเร็จเชิงกลยุทธ์
2. เข้าใจมิติการบริหารและพัฒนาคนที่ครอบคลุมทั้งเรื่องการพัฒนารายบุคคล การพัฒนาอาชีพและการพัฒนาองค์การ
3. เข้าใจถึงระดับของการพัฒนาองค์การในรูปแบบใหม่ทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับทีมงานและระดับองค์การ บนพื้นฐานการแข่งขันหลากหลายรูปแบบและวิธีการ
องค์การในอนาคตไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ที่แน่นอนหรือขนาดที่ใหญ่โต สามารถเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลาตามผู้ให้บริการหรือการให้บริการถึงสถานที่ของผู้รับโดยอาศัยเพียงโทรศัพท์เคลื่อนที่ และคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่ใช้อินเตอร์เนตได้มีลักษณะเป็น E – commerce องค์การจะมีบุคลากรไม่มากนัก ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานและทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานในทุกระดับได้ด้วย
ในทัศนะของผู้ศึกษาเห็นว่า แนวคิดของ Professor Ball เหมาะสมกับองค์การภาคธุรกิจเป็นสำคัญและต้องให้เวลากับการเปลี่ยนแปลงในภาครัฐ แต่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับภาคประชาชน กล่าวคือ เมื่อองค์การธุรกิจเข้มแข็งย่อมมีส่วนกระตุ้นและเร่งเร้าให้ภาคประชาชนตอบสนองคือการบริโภคและเป็นการบริโภคที่เกินภาวะจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทำให้เกิดการสูญ เสียทรัพยากร และกระบวนการผลิตต้องเพิ่มขึ้น ถึงแม้จะทำให้องค์การธุรกิจเติบโตและร่ำรวยขณะที่ภาคประชาชนจะยากจนลง เพราะไม่สามารถหารายได้เพียงพอต่อความต้องการการบริโภคยิ่งในประเทศไทยเห็นได้ชัดยิ่งว่าประชาชนส่วนใหญ่ขาดศักยภาพในการเพิ่มรายได้ จากกรณีตัวอย่างกองทุนหมู่บ้าน เมื่อรัฐมีนโยบายกระจายทุนสู่ภาคชนบทระดับรากหญ้าเพื่อให้ประชาชนมีทุนนำไปลงทุนเพิ่มผลผลิตและแก้ปัญหาหนี้ กลับกลายเป็นการเพิ่มภาระหนี้ให้มากขึ้น ทำให้ขาดความสุขในการดำรงชีวิต เมื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง น่าจะเป็นแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคประชาชนให้พอมีอยู่มีกินและมีความสุขในชีวิตได้มากกว่า ซึ่งแนวโน้มในอนาคตคาดว่า ภาครัฐและธุรกิจเอกชนคงให้ความสนใจมากขึ้นเพราะจะทำให้สมาชิกในองค์การร่วมกันทำงานอย่างมีความสุขมากขึ้นกว่าเดิม เพราะไม่ต้องกังวลกับการแข่งขันจนเกินไป เติบโตและมีการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) เหมือนกับหลายประเทศที่สนใจแนวพระราชดำริและนำไปปรับใช้ในประเทศของเขา
ฉะนั้น โลกอนาคต จะเป็นโลกแห่งการแข่งขันกันด้วยนวัตกรรม (Innovation) เป็นปัจจัยหลักเพื่อขับเคลื่อนความกินดีอยู่ดีของคนในสังคม การแข่งขันและความร่วมมือระหว่างชุมชนและประเทศอื่น ๆ ไม่ใช่แข่งขันเพื่อความต้องการในการสะสมปัจจัย (Factor Accumulation) เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ทุนหรือแรงงานเป็นปัจจัยหลักเหมือนอดีตที่ผ่านมา
การสร้างนวัตกรรมต้องอาศัยความรู้และกิจกรรมที่จะสร้างความมั่งคั่งจากความรู้นั้น ยิ่งใช้มากยิ่งมีแต่ความเจริญงอกงามดังคำกล่าวที่ว่า “ยิ่งใช้ ยิ่งงอกงาม” แต่ความมั่งคั่งจากทรัพยากรธรรมชาติ ทุนและแรงงาน ยิ่งใช้ยิ่งหมดไป การพัฒนาแนวทางแรกจึงเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงคือใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทุนและแรงงานอย่างพอเหมาะพอควร โดยเน้นการใช้ภูมิปัญญา ประสบการณ์และการรู้จักกินรู้จักใช้เหมาะแก่ฐานะ ซึ่งแตกต่างกับแนวทางหลังที่เป็นแบบไม่ยั่งยืน นั่นคือจะได้รับประโยชน์เฉพาะบุคคล เฉพาะกลุ่มเฉพาะยุคสมัย ได้แก่ผู้ที่สะสมทรัพยากรและทุนไว้มากก็จะได้เปรียบแต่จะทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวในอนาคต
สรุปได้ว่า โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ( Knowledge Based Society and Economy) ทุกสังคมจะต้องมีความสามารถในการนำความรู้มาสร้างนวัตกรรม สำหรับเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม ประเทศและโลก ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างขึ้นนั้น จะต้องก่อประโยชน์ต่อสังคมและส่วนต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่างทั่วถึงและเปลี่ยนแปลงทั้งเศรษฐกิจเพื่อการแข่งขันและเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสมดุล สังคมไทยจึงต้องเตรียมตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทันและสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของทั้งสังคม (Paradigm Shift หรือ Mindset Change) สังคมไทยจึงจะอยู่รอดได้จากสภาพบีบคั้นจากสภาพแวดล้อมรอบด้าน โดยเฉพาะสภาพบีบคั้นจากกระแสโลกาภิวัฒน์นั่นเอง