มาตรฐานการใช้ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอร์เนีย

จากรายงานของ Paul Guyer (2003) ได้ศึกษาไว้ดังนี้

ในปี 2001 รัฐบาลท้องถิ่นรัฐแคลิฟอร์เนีย กำหนดมาตรฐานห้องเรียนที่ใช้เพื่อการเรียนการสอนให้ต้องสามารถเปิดให้บริการได้ตั้งแต่เวลา 8.00-22.00 น. ของวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ในช่วงเวลาดังกล่าวห้องเรียนของ CSU และ UC ต้องมีตารางอัตราการใช้ห้องไม่น้อยกว่า 75% ของเวลาที่กำหนดทั้งหมด และในช่วงเวลาการใช้ห้องของ CSU and UC กำหนดให้ต้องมีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนใช้ที่นั่งเรียนจริงไม่น้อยกว่า 66% ของที่นั่งทั้งหมด สำหรับวิทยาลัยชุมชนขนาดเล็ก (ชั่วโมงการติดต่อของนักศึกษาน้อยกว่า 140,000 ชั่งโมงต่อสัปดาห์) ห้องเรียนต้องสามารถใช้งานได้ 70 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องมีตารางการใช้ห้องเรียนอย่างน้อย 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนใช้ที่นั่งในห้องเรียนจริงไม่น้อยกว่า 66% ของที่นั่งทั้งหมด สำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่ ห้องเรียนต้องสามารถใช้งานได้ 70 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีตารางการใช้ห้องไม่น้อยกว่า 53 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องมีนักศึกษาลงทะเบียนใช้ที่นั่งเรียนจริงในห้องอย่างน้อยกว่า 66% ของที่นั่งทั้งหมด

สำหรับห้องปฏิบัติการของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกประเภท ต้องพร้อมใช้งานได้ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น. ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ระหว่างช่วงเวลานั้นห้องปฏิบัติการของนักศึกษาชั้นปี 1-2 ต้องมีตารางการใช้งานไม่น้อยกว่า 27.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และกำหนดให้ต้องมีนักศึกษาลงทะเบียนใช้ที่นั่งเรียนจริงไม่น้อย 85% ของที่นั่งทั้งหมด สำหรับนักศึกษาชั้นปี 3-4 ห้องปฏิบัติการควรมีตารางการใช้ห้องไม่น้อยกว่า 22 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และระหว่างเวลานั้นควรมีนักศึกษาลงทะเบียนใช้ที่นั่งเรียนจริงไม่น้อยกว่า 80% ของที่นั่งทั้งหมด มาตรฐานนี้ถูกกำหนดให้นำไปใช้กับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกประเภทของรัฐบาล ในรัฐแคลิเฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

จากเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว พอสรุปเป็นสูตรการคำนวณจำนวนชั่วโมงการใช้ที่นั่งของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนจริงในห้องเรียนต่อสัปดาห์ได้ดังนี้

70 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ x 75% ของห้องเรียนที่ใช้งานได้ x 67% ของที่นั่งเรียนจริงจากที่นั่งทั้งหมด
= (8.00-22.00=14x5=70 ชม.) 70 x 0.75 x 0.67 = 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

หรือ

จำนวนชั่วโมงการใช้ที่นั่งในห้องเรียนต่อสัปดาห์ = จำนวนชั่วโมงของห้องที่ใช้งานได้ทั้งหมด x (จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานจริง/จำนวนชั่วโมงของห้องที่ใช้งานได้ทั้งหมด) x ร้อยละของที่นั่งที่มีนักศึกษาควรนั่งเรียนจริง

70 H x (53/70) x 0.66 = 34.98H  สำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่
70 x (48/70) x 0.66 = 31.68H   สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น และสามารถปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกันจึงกำหนดให้จำนวนชั่วโมงการใช้ที่นั่งของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนจริงเป็น 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

45 x (27.5/45) x 0.85 = 23.37   สำหรับห้องปฏิบัติการนักศึกษาชั้นปี 1-2
45 x (22.0/45) x 0.80 = 17.60  สำหรับห้องปฏิบัติการนักศึกษาชั้นปี 3-4

จากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างของการใช้ที่นั่งในห้องปฏิบัติการของนักศึกษาชั้นปี 1-2 และ 3-4 จึงกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเดียวคือ 20 ชั่งโมงต่อสัปดาห์

ต่อมาได้มีการกำหนดให้คำนวณปริมาณการใช้ที่นั่งเรียนของห้องเป็นรายปี โดยห้องเรียนต้องมีอัตราการลงทะเบียนใช้ที่นั่งเรียนจริงไม่น้อยกว่า 1,820 ชั่วโมงต่อปี และห้องปฏิบัติการต้องมีอัตราการลงทะเบียนใช้ที่นั่งเรียนจริงไม่น้อยกว่า 1,040 ชั่วโมงต่อปี มาจากสูตรการคำนวณดังนี้

อัตรามาตรฐานการใช้ที่นั่งในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ
ของสถาบันอุดมศึกษาในรัฐแคลิฟเฟอร์เนีย

ประเภท จำนวนชั่วโมงของการใช้ที่นั่งต้องไม่น้อยกว่า
ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ใช้จริงร้อยละ สัปดาห์ต่อปี ชั่วโมงต่อปี
ที่นั่งในห้องเรียน 35 66% 52 35 x 52 = 1,820
ที่นั่งในห้องปฏิบัติการ 20 80% 52 20 x 52 = 1,040

*ที่มา Paul Guyer, Flexible Facility Utilization Standards, The Legislative Analyst's Office (LAO), November, 2003.

สถานศึกษาที่ไม่สามารถใช้ที่นั่งในห้องเรียนและที่นั่งในห้องปฏิบัติให้เป็นตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จะไม่สามารถขอรับอนุมัติงบประมาณในการสร้างอาคารเรียนใหม่ของมลรัฐแคลิฟอร์เนียได้

รายงานผลการศึกษาประสิทธิภาพการใช้ห้องเรียนและที่นั่งในภาคฤดูใบไม้ร่วง
ปี 2011-2012

ของมหาวิทยาลัยโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา, Shaun Peterson, February 2013.

                                                              ประเภท เฉลี่ยจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ของการใช้ห้องและการใช้ที่นั่งในห้อง
ภาคฤดูใบไม้ร่วงปี 2011 ภาคฤดูใบไม้ร่วงปี 2012
การใช้ห้อง
     ห้องเรียน 38.4 37.4
     ห้องปฏิบัติการชั้นปี 1-2 24.2 24.7
     ห้องปฏิบัติการชั้นปี 3-4 22.2 23.6
การใช้ที่นั่ง
     ที่นั่งในห้องเรียน 28.8 27.5
     ที่นั่งในห้องปฏิบัติการชั้นปี 1-2 17.8 18.5
     ที่นั่งในห้องปฏิบัติการชั้นปี 3-4 13.3 13.7

*ที่มา University of Oregon, Classroom space utilization study, Shaun Peterson, February 2013.

รายงานการศึกษาการใช้ประโยชน์ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการและวิเคราะห์พื้นที่
ของมหาวิทยาลัยเวอร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ภาคฤดูใบไม้ร่วง
                         ปี 1999 

 ประเภทห้อง ประสิทธิภาพการใช้ห้อง
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ของการใช้ห้อง ร้อยละของการใช้ที่นั่งต่อสัปดาห์
ห้องเรียน 27 59%
ห้องปฏิบัติการ 16 67%

*ที่มา The University of Vermont, Classroom and Laboratory Utilization Study and Campus-wide space Analysis, June 2000.

รายงานการศึกษาการใช้ประโยชน์ห้องเรียนของมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโลไรนา
ประเทศสหรัฐอเมริกา ภาคฤดูใบไม้ร่วงปี 2003    

 ประเภทห้อง ประสิทธิภาพการใช้ห้อง
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ของการใช้ห้อง ร้อยละของการใช้ที่นั่งต่อสัปดาห์
ห้องเรียน 32 64%

*ที่มา Classroom Utilization and Mix Analysis, The University of North Carolina at Chapel Hill, July 2004.

          ประสิทธิภาพการใช้ห้องเรียนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

รายละเอียด อัตราการใช้ประโยชน์ตามเวลา (%) อัตราการใช้ประโยชน์ตามความจุ (%) ประสิทธิภาพ(%)
ประสิทธิภาพการใช้ห้องเรียนของคณะ
     ห้องบรรยาย 70.02 54.9 42.5
     ห้องปฏิบัติการ 110.5 110.5 120.4
ประสิทธิภาพการใช้ห้องเรียนของส่วนกลาง
     ห้องบรรยาย 68.5 58.6 61.4
     ห้องปฏิบัติการ 57.9 106.0 61.4

*ที่มา ข้อมูลการใช้อาคารสถานที่ และประสิทธิภาพการใช้ห้องเรียน ปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มหาวิทยาลัยฮาร์วาด มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนในฤดูใบไม้ร่วงปี 2012 จำนวน 6,658 คน มีห้องเรียนที่มีนักศึกษาเรียนน้อยกว่า 20 คนต่อห้องถึง 81.2% ของห้องเรียนทั้งหมด ซึ่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาดเป็นมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 2 ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยเยล มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนในฤดูใบไม้ร่วงปี 2012 จำนวน 5,405 คน มีห้องเรียนที่มีนักศึกษาเรียนน้อยกว่า 20 คนต่อห้องถึง 76.3% ของห้องเรียนทั้งหมด เป็นมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับที่  3 หรือมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนในฤดูใบไม้ร่วงปี 2012 จำนวน 6,068 คน มีห้องเรียนที่มีนักศึกษาเรียนน้อยกว่า 20 คนต่อห้องถึง 79.9% ของห้องเรียนทั้งหมด เป็นมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับที่  4

Bookmark the permalink.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *