Fabian Society

114649

คอลัมน์ ราชภัฎคิด-เขียน รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจัน ศูนย์สุโขทัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Fabian Society เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า การแก้ไขปัญหาทางสังคมจะสามารถแก้ไขได้ด้วย จากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเอง โดยมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงแบบเป็นขั้นตอนหรือค่อยเป็นค่อยไป โดยที่รัฐเข้ามามีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงในฐานะของผู้กำหนดนโยบายและการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
George and Wilding เป็นนักวิชาการที่อยู่ในกลุ่มของ Fabian society ที่เห็นว่า การสร้างความเสมอภาค (equality) อิสรภาพ (freedom) และมิตรภาพ (fellowship) จะนำไปสู่สังคมที่มีความยุติธรรม มีความกลมกลืนและเกิดความสามัคคีภายในสังคมนั้น ถึงอย่างไรก็ตามแต่แนวคิดของ พวกเฟเบียนก็ได้ปฏิเสธและต่อต้านระบบทุนนิยมที่พวกเขาเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้เข้ามาทำลายศีลธรรม (Moral) และจริยธรรม (Ethic) ภายในสังคม ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการแก้ไขปัญหาสังคมในอนาคต
จุดมุ่งหวังของกลุ่ม Fabian society ก็คือการต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เรียกว่า "Transformation" โดยไม่ต้องอาศัยการดำเนินงานของรัฐบาลเป็นศูนย์กลาง แต่สนับสนุนให้เป็นผู้จัดการทางรัฐสวัสดิการ (welfare state) ทั้งนี้กลุ่ม Fabian society เห็นว่าถ้ารัฐสามารถจัดการสิ่งเหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกในสังคมมีความเท่าเทียม ความสามัคคี และสามารถเปลี่ยนทัศนคติและจิตใจของสมาชิกในสังคมาส่วนใหญ่ให้หันมาเสียสละเพื่อส่วนรวมมากขึ้น (altruism)
การศึกษาแนวคิดแบบ Fabian society จะพบว่าเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมให้รัฐลดบทบาทในการพัฒนาสังคมลง แต่เป็นการมอบหมายความรับผิดชอบให้กลุ่มสังคมที่กระจัดกระจายทั่วไปได้เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาสังคม โดยการนำเสนอข้อเรียกร้องตามระบอบการปกครองเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายต่อไป

เมื่อนำความคิดของกลุ่ม Fabian society มาวิเคราะห์เปรียบเทียบในสังคมของประเทศไทยเราพบว่ากระบวนการจัดทำนโยบายเพื่อนำไปสู่สังคมอุดมโภคา (High Mass Consumption) นั้น ล้วนแล้วแต่ถูกดำเนินการภายใต้กรอบทางความคิดแบบทุนนิยม (Capitalism) โดยรัฐบาลได้ให้ให้ความสนใจในการกำหนดนโยบายทางสังคมตามแบบของสังคมนิยมเฟเบียนน้อยเกินไป แท้จริงแล้ว กลุ่มแนวคิดของ Fabian society ก็มิได้รังเกียจหรือปฏิเสธลัทธิทุนนิยมอย่างแข็งกร้าวเมื่อเทียบกับกลุ่มแนวคิดต้านมวลชนนิยม (Anti-Collectivism) เพียงแต่เสนอว่าการดำเนินการในการพัฒนาสังคมควรจะต้องมีการยับยั้งการเจริญเติบโตทางความคิดของทุนนิยมอยู่บ้าง ทั้งนี้ เพราะจะทำให้สังคมมีความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นอย่างชัดเจน
สิ่งที่เหมาะสมของรัฐบาลในขณะนี้คือ การสนับสนุน แนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative) เพื่อทำให้สมาชิกในสังคมเกิดความรู้สึกเสียสละ มีส่วนร่วม ด้วยการดำเนินนโยบายทางสังคมเข้ามามีส่วนการช่วยเหลืออย่างชอบธรรมต่อสังคมส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐสวัสดิการ ทางการศึกษา ทางการแพทย์ การใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม รวมถึงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ควรคำนึงถึงประชากรส่วนใหญ่เพื่อสร้างความเสมอภาค การก้าวกระโดดทางระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นการกระโจนเข้าสู่วงโคจรของระบบเศรษฐกิจโลก (World Economic) อย่างไม่สามารถจะถอนตัวได้
และพบว่าการผูกมัดทางสนธิสัญญาทางการค้าของโลกดูเหมือนว่าจะยิ่งทำให้ประเทศไทยตกเป็นทาสทางการต่อรองจากประเทศคู่สัญญานั้น ก็จะส่งผลต่อสมาชิกในสังคมของประเทศที่ด้อยพัฒนาย่างเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงเป็นการทำลายค่านิยม อุดมคติ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของไทยให้ไกลออกไปจากคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ออกไปทุกที การหวนกลับมาเพื่อทบทวนนโยบายทางสังคมโดยการใช้หลักคิดเพื่อความเสมอภาคภายใต้กรอบทฤษฎีของกลุ่มนักสังคมนิยมแบบเฟเบียน
ดูเหมือนว่าจะถูกที่ถูกเวลาและเหมาะสมแก่ประเทศที่ด้อยพัฒนาอย่างเรามากที่สุด

แหล่งข้อมูล: ข่าวสด 6 ตค. 48
6 ตุลาคม 2548