งานวิจัย

การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ  (สามารถดาวโหลด์)

The uidelines and Legal Measures Relating to the Older Persons ' Welfare in Thailand
โดย ช.ชยินทร์ เพ็ชญไพศิษฏ์

บทคัดย่อ
จากการศึกษาวิจัยพบว่า สิทธิผู้สูงอายุ ได้รับการรับรองปรากฏอยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน ในฐานะที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์โดยบัญญัติไว้ชัดเจนในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษย
ชน ซึ่งเป็นแนวทางให้ทุกรัฐต้องยึดถือและปฏิบัติตามแนวนโยบายขององค์การสหประชาชาติ ในแผนปฏิบัติการ
ระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุส่งเสริมให้มีการร่วมมือกันในระดับภูมิ
ภาคและระหว่างประเทศ ในการรับรองสิทธิของผู้สูงอายุ เริ่มปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อองค์การสหประชาชาติได้
ประกาศให้ ปี ค.ศ.1999 เป็นปีผู้สูงอายุสากล และกำ หนดสิทธิและแนวทางในการรับรองสิทธิผู้สูงอายุ โดยยึด
หลักความเท่าเทียมกัน
แนวคิดและความเป็นมาเกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุในประเทศไทย อิงอยู่กับวัฒนธรรมและจารีตประเพณี
เป็นสำ คัญ และบัญญัติอยู่ในกฎหมายบางส่วน และเริ่มชัดเจนในแนวนโยบายของรัฐ รัฐธรรมนูญ ตลอดจน
ระเบียบและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แต่ยังไม่มีกฎหมายผู้สูงอายุซี่งบัญญัติรับรองสิทธิโดยเฉพาะ
รูปแบบของกฎหมายผู้สูงอายุในนานาประเทศมีทั้งรูปแบบที่กำ หนดรับรองสิทธิของผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
และรูปแบบการออกกฎหมายประกันสังคมโดยมีส่วนที่ให้สวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตาม รัฐต่าง ๆ ก็อาจ
มีกฎหมายเสริมในบางเรื่องที่ต้องการให้สิทธิแก่ผู้สูงอายุเป็นพิเศษ หรือปรากฏอยู่ในกฎหมายส่วนอื่น ๆ เช่น
กฎหมายแรงงาน กฎหมายคนพิการ กฎหมายภาษีอากร เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบาย สถานการณ์ทางด้าน
เศรษฐกิจและสังคมของแต่ละรัฐ
รูปแบบและการจัดองค์กรในการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย รัฐควรเน้นถึงการแก้ไขปัญหาการ
จัดสรร และการใช้งบประมาณให้เพียงพอ กำ หนดนโยบายในการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุในทิศทางที่ชัดเจน ให้
เกิดความหลากหลายและเหมาะสมแก่ผู้สูงอายุที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม ควรจัดแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ
ออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพหรือยากไร้ และประเภทที่มีรายได้เพียงพอแก่
การยังชีพ โดยมีรูปแบบการจัดสวัสดิการที่แตกต่างกัน กำ หนดนโยบายแห่งชาติ จัดตั้งองค์กรที่มีหน้าที่กำ กับดู
แลในระดับประเทศและท้องถิ่น ยกระดับความสำ คัญของสภาผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุ สนับสนุนให้องค์กร
เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ และกำ หนดให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ
มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสม รัฐควรบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกัน กำ หนดสิทธิประโยชน์ที่จะให้แก่ผู้สูงอายุอย่างชัดเจน และไม่ก่อให้
เกิดปัญหาในด้านการตีความอันจะเป็นผลเสียต่อผู้สูงอายุได้ โดยกำ หนดสิทธิพื้นฐานของผู้สูงอายุในรูปของ
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ซึ่งควรมีการจัดตั้งองค์กรดำ เนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะทั้งในระดับประเทศ
และท้อง

Resource allocation for improving quality of life of the aged: a proposed guideline
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนานโยบายระบบสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย

โดย สุกัญญา นิธังกร และนงนุช สุนทรชวกานต์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สนับสนุนทุนวิจัยโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
พฤศจิกายน 2542

 

บทคัดย่อ
ประเทศไทยซึ่งเคยมีโครงสร้างประชากรเป็นรูปทรงเจดีย์ปลายแหลมที่ประกอบด้วยผู้สูงอายุอยู่บนยอด
ปลายเรียวแหลมนั้น ได้เริ่มเปลี่ยนไปโดยปลายเรียวแหลมเริ่มใหญ่ขึ้นเพราะสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงมี
ความจำ เป็นที่จะต้องเตรียมตัวรับปัญหาใหม่ ๆ ที่จะต้องเผชิญ ในปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีหลัก
ประกันชราภาพมากกว่ากลุ่มอื่นใด คือกลุ่มผู้สูงอายุที่เกษียณจากการทำ งานในภาคราชการ กลุ่มนี้จะได้รับ
การดูแลด้านรายได้และการรักษาพยาบาล ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ที่เหลือ ต้องอาศัยครอบครัวเป็นหลักในการดูแลใน
ยามชรา สวัสดิการที่รัฐให้แก่ผู้สูงอายุบางส่วนที่ยากไร้ คือการให้ที่อยู่อาศัยในรูปสถานสงเคราะห์ ในรูป
ศูนย์บริการ และ การให้เบี้ยยังชีพรายเดือน แก่ผู้สูงอายุที่เข้าข่ายยากจนจำ นวนหนึ่งกระจายไปทั่วประเทศ
และการให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งรวมอยู่ในโครงการรักษาพยาบาลผู้มีรายได้
น้อยและผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งให้ผ่านกระทรวงสาธารณสุข
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการจัดสรรงบประมาณที่รัฐให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อดูความสนใจของรัฐ
ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และเพื่อดูว่าถ้ารัฐต้องการจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุโดยใช้
เกณฑ์รายได้ และเกณฑ์อายุเป็นหลัก จะต้องใช้ทรัพยากรเท่าใด โดยพยากรณ์รายจ่ายเพื่อผู้สูงอายุจนสิ้นสุด
แผนปฎิบัติการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ผู้สูงอายุในช่วงปี 2542 - 2554
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าในส่วนของผู้สูงอายุที่เป็นข้าราชการเกษียณ ในปี 2540 รัฐบาลมีภาระ
จ่ายด้านบำ เหน็จบำ นาญเท่ากับ 24, 717 ล้านบาท และรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่ากับ 1, 787 ล้านบาท
ทั้งสองรายการนี้รวมแล้ว ตกราวร้อยละ 3 ของรายจ่ายงบประมาณแผ่นดิน หรือ ราวร้อยละ 3. 2 ของ
งบรายได้จากภาษีอากรของรัฐ และจากการ พยากรณ์รายจ่ายนี้ในไปจนถึงปี 2554 พบว่า รายจ่ายเพื่อผู้สูง
อายุที่เกษียณในราชการคิดเป็นร้อยละ 2.24 10.85 11.97 และ 13.59 ของรายได้ประชาชาติ รายจ่ายของ
รัฐบาล รายได้ของรัฐบาล และรายได้จากภาษีอากร ตามลำดับ
สำหรับรายจ่ายที่รัฐให้ในรูปสวัสดิการผู้สูงอายุทั่วไป ที่จ่ายผ่านกระทรวงแรงงานและสวัสดิการ ค่าใช้
จ่ายส่วนใหญ่ในด้านสถานสงเคราะห์คนชราและศูนย์บริการเป็นค่าใช้จ่ายในด้านบริหารจัดการ ส่วนในด้าน
เบี้ยยังชีพนั้น ไม่ถึงร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุที่ยากจนทั้งหมดเท่านั้นที่ได้รับการจัดสรร ในส่วนของงบประมาณ
รายจ่ายด้านสาธารณสุขที่รัฐให้แก่โครงการสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล ได้จัด
สรรแก่ผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่ถึงร้อยละ 50 เมื่อพยากรณ์รายจ่ายทั้งสองส่วนรวมกันนี้ไปจนถึงปี 2554 พบว่า
รายจ่ายที่รัฐจ่ายเป็นสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุที่ยากจนทั่วไป จะประมาณร้อยละ 0.15 0.75 0.83 และ 0.94 ของ
รายได้ประชาชาติ รายจ่ายของรัฐบาล รายได้ของรัฐบาล และรายได้จากภาษีอากร ตามลำดับ
งานวิจัยนี้ยังได้ใช้ข้อมูลจากการสำ รวจผู้สูงอายุทั่วประเทศปี 2537 ของสำ นักงานสถิติแห่งชาติศึกษา
ปัจจัยที่กำ หนดรายจ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลที่ผู้สูงอายุจ่ายเอง และได้คำ นวณค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้
สูงอายุกลุ่มรายได้ตํ่า เพื่อคำ นวณภาระรายจ่ายของรัฐถ้าจะให้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้สูงอายุที่ยาก
จน และเพื่อพยากรณ์รายจ่ายของรัฐ ถ้ารัฐให้ความช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาล และด้านเบี้ยยังชีพแก่
ผู้สูงอายุที่ยากจนทุกคน จากการคำ นวณพบว่า ในปี 2554 รายจ่ายนี้รวมกันจะตกราว 7.1 พันล้านบาท
หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.1 0.5 0.56 และ 0.63 ของรายได้ประชาชาติ รายจ่ายของรัฐบาล รายได้ของรัฐ
บาล และรายได้จากภาษีอากรของรัฐบาล ตามลำดับ
นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังได้คำ นวณการสูญเสียรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้ารัฐยอมให้ผู้มีเงินได้
หักค่าลดหย่อนในการเลี้ยงดูบิดามารดาที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน (คนละ 15,000 บาทต่อปี) โดย
คำ นวณเฉพาะผู้มีเงินได้ที่มีสถานภาพการทำ งานเป็นลูกจ้างประจำ พบว่า รัฐจะสูญเสียรายได้ทั้งสิ้นประมาณ
134.6 ล้านบาท
โดยสรุป รัฐยังให้การดูแลด้านสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุที่ยากจนน้อยมาก และควรจะต้องมีมาตรการส่งเสริม
ให้สถาบันครอบครัว และภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุที่สามารถช่วยตัวเองทางเศรษฐกิจได้
มากกว่านี้

โดย ประสิทธิ์ ลีระพันธ์ และเพ็ญประภา ศิวิโรจน์  พ.ศ. 2542

โครงการวิจัย เรื่อง “ วิสัยทัศน์ และแนวทางในการปฏิรูประบบสาธารณสุข เพื่อผู้สูงอายุไทยในอนาคต : มุมมองจากประชาคม องค์กรชุมชนด้านผู้สูงอายุ ”

ดำาเนินการโดย มูลนิธิพัฒนาผู้ส้สูงอายุ
สนับสนุนโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

file icon ทบทวนวรรณกรรม เรื่อง ภาวะสุขภาพและอนามัยผู้สูงอายุ

การสังเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อจัดทำข้อเสนอ การปฎิรูประบบบริการสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย

 

การประเมินภาวะโภชนาการสำหรับผู้สุงอายุ

การประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ
องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย สามารถนำมาใช้ในการประเมินผลภาวะโภชนาการ ในผู้สูงอายุได้ดี โดยเฉพาะผู้สูงอายุระหว่าง 60 - 69 ปี ที่สามารถยืนตัวตรงได้สำหรับผู้สูงอาย ุที่มีลักษณะโครงสร้างผิดปกติ ไม่สามารถยืนตัวตรงได้ เช่น ขาโกง หลังโกง โครงสร้างกระดูกทรุด เป็นต้น ให้คำนวณค่าดัชนีมวลกาย โดยการใช้ความยาวของช่วงแขน (arm span) แทนความสูง (การวัด arm span ให้วัดจากปลายนิ้วกลางของมือข้างหนึ่ง ถึงปลายนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่ง โดยให้ผู้ถูกวัดกางแขนทั้ง 2 ข้างขนานไหล่ และเหยียดแขนให้ตรง) ให้วัดหน่วยนับเป็นเมตร ใช้แทนส่วนสูงแล้วคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ตามสูตร

สูตรการคำนวณ ดัชนีมวลกาย
น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม   (ส่วนสูงเป็นเมตร) ยกกำลัง 2
น้ำหนักปกติ ค่าอยู่ระหว่าง 18.5 - 24.9 กก./ม2
ภาวะโภชนาการเกิน ค่าอยู่ระหว่าง 25 - 29.9 กก./ม2
โรคอ้วน ค่าอยู่ระหว่าง 30 กก./ม2 ขึ้นไป
ความต้องการสารอาหารที่ควรได้รับใน 1 วัน สำหรับผู้สูงอายุ

ที่มา : ข้อกำหนดสารอาหารที่ควรจะได้รับประจำวันและแนวทางการบริโภคอาหารสำหรับคนไทย กรมอนามัย 2532

ปริมาณอาหารใน 1 วัน สำหรับผู้สูงอายุที่ควรกิน
หลักการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
-  ควรมีปริมาณสารอาหารและคุรค่าทางโภชนาการเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

-  การจัดอาหารแต่ละมื้อควรมรปริมาณน้อยลง และให้กินบ่อยครั้งกว่าเดิมในแต่ละวัน

- ควรมีลักษณะนุ่ม เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย และเลือกวิธีการเตรียมการปรุงที่เหมาะสม สะดวกต่อการเคี้ยว และการย่อย

- อาหารประเภทผักต่าง ๆ ควรปรุงโดยวิธีการต้มหรือนึ่ง หลักเลี่ยงการกินผักสดที่มีผลทำให้แก็สและทำให้ท้องอืด ผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาเรื่องท้องอืด แน่นท้อง จากการกินผัดสดก็จัดให้ได้

- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะผู้สูงอายุจะย่อย และดูดซึมไขมันน้อยลง อาจจะทำให้อาการท้องอืด และแน่นท้องได้

- ควรเป็นอาหารประเภทที่มีน้ำ เพื่อช่วยหล่อลื่นหลอดอาหาร ทำให้กลืนอาหารสะดวกขึ้น

- จัดผลไม้ให้ผู้สูงอายุทุกวัน และควรเป็นผลไม่ที่นิ่ม เคี้ยวง่าย เพื่อช่วยในการขับถ่ายและให้ได้วิตามินต่างๆ เพิ่มขึ้น

- ผู้สูงอายุชอบขนมหวาน จึงควรจัดให้บ้างแต่ไม่บ่อยนัก และควรเป็นขนมที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายด้วย เช่น กล้วยบวชชี เต้าส่วน ลอยแก้วผลไม้ เป็นต้น

- ให้เวลาในการกินอาหารผู้สูงอายุตามสบาย ไม่ควรรีบเร่ง เพราะอาจสำลัก เคี้ยวไม่ละเอียด หรืออาหารติดคอได้

ข้อพิจารณาในการกำหนดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
1. ความต้องการอาหาร และการเตรียมอาหารในผู้สูงอายุ พบว่า เป็นเรื่องที่สับสนมาก
เนื่องจากผู้สูงอายุแต่ละคน มีความแตกต่างกันในเรื่องความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ตลอดจนประสิทธิภาพในการทำงานของอวัยวะ และระบบต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อการได้รับ และการใช้อาหารของร่างกาย ซึ่งสภาพการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในผู้สูงอายุนี้ เป็นการยากมาก ที่จะกำหนดการบริโภคอาหาร เพราะจะต้องให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป และความต้องการของร่างกาย

2. การจัดอาหารบริโภคประจำวัน และการจัดอาหารเฉพาะโรคในกลุ่มผู้สูงอายุ
มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เศรษฐานะ และสาขาวิชาชีพเพราะผู้สูงอายุแต่ละคน มีพฤติกรรมสะสมด้านอาหารและโภชนาการแตกต่างกัน จึงต้องมีการประยุกต์การปฏิบัติเกี่ยวกับอาหาร ให้ใกล้เคียงกับพฤติกรรมสะสมของแต่ละคน ตลอดจนสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป และโรคประจำตัวของแต่ละคน ซึ่งอาจมีขึ้น

3. การให้โภชนาศึกษา
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้สูงอายุน้อยมาก เนื่องจากพฤติกรรมการกิน ได้ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก และคุ้นเคยมาช้านาน จึงยากต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น การส่งเสริมโภชนาการในผู้สูงอายุ จึงควรพิจารณาพฤติกรรมการกิน ในอดีตที่ผ่านมายาวนาน แล้วปรับปรุงเพื่อให้ได้สารอาหารที่เหมาะสม กับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปและโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่มีผลต่ออาหารที่บริโภคและความต้องการอาหารของร่างกาย

อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

        ผู้สูงอายุมีความต้องการปริมาณอาหารลดน้อยลง แต่ความต้องการสารอาหารนี้ ยังคงเดิมดังนั้นอาหารของผู้สูงอายุ ควรจัดให้มีปริมาณและคุณภาพพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทุกวัน ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญ และควรปฏิบัติ ในการแนะนำอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์และพึงประสงค์

อาหารหลัก 5 หมู่
ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 5 หมู่ โดยแยกตามหน้าที่และประโยชน์ที่มีต่อร่างการ คือ นำเอาอาหาร ที่มีประโยชน์คล้ายคลึงกัน หรือเหมือนกันมาไว้ด้วยกัน เพื่อสะดวกในการเลือกใช้อาหารทกแทนกัน และสะดวกในการตรวจสอบว่า ใน 1 วัน ร่างกายได้รับอาหารควบถ้วนเพียงพอหรือไม่
คนเราทุกคน ควรได้รับอาหารครบที่ 5 หมู่ ในปริมาฯที่เพียงพอทุกวัน เพราะไม่มีอาหารชนิดใดเพียงชนิดเดียว ที่มีสารอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายเพียงพอ และครบถ้วน เราจึงต้องกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ทุกวัน เพราะแต่ละหมู่ของอาหารมีหน้าที่ต่อร่างกายต่างกัน นอกจากนั้นอาหารแต่ละชนิด ต่างก็อาศัยซึ่งกันและกันในการย่อย ดูดซึม และนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย

อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ซึ่งให้สารอาหารประเภทโปรตีน มีหน้าที่ในการเสริมสร้าง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ควรทำให้สะดวกต่อการเคี้ยวและการย่อย โดยการสับละเอียด หรือต้มให้เปื่อย อาหารปลาจะเหมาะมากสำหรับผู้สูงอายุ แต่ควรเลือกก้างออกให้หมด ตามปกติควรให้ผู้สูงอายุบริโภคเนื้อสัตว์ประมาณ วันละ 120 - 160 กรัม (น้ำหนักขณะดิบ) ปริมาณนี้จะลดลงได้ถ้ามีการบริโภค ไข่ ถั่ว หรือนมอีก


ไข่ เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผ๔สูงอายุ เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูงมากในไข่แดงมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ไข่เป็นอาหารที่นิ่ม เคี้ยวง่าย ย่อยและดูดซึมได้ดี โดยปกติ ในผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง ควรบริโภคไข่ สัปดาห์ละ 3 - 4 ฟอง ถ้าผู้สูงอายุที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง ควรลดจำนวนลงหรือบริโภคเฉพาะไข่ขาวเท่านั้น
นม เป็นอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนสูง ผู้สูงอายุควรดื่มวันละ 1 แก้ว สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง หรือน้ำหนักตัวมาก อาจดื่มนมพร่องมันเนย หรือนมถั่วเหลืองแทนได้
ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง และราคาถูก ใช้แทนอาหารพวกเรื้อสัตว์ได้ สำหรับผู้สูงอายุ ก่อนนำมาบริโภค ควรปรุงให้มีลักษณะนุ่มเสียก่อน ใช้ประกอบเป็นอาหารได้ทั่ง คาว หวาน และในรูปของผลิตภัณฑ์ เช่น เต้าหู้ เต้าเจียว เป็นต้น

อาหารหมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน อาหารหมู่นี้ ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรท มีหน้าทีให้พลังงาน และความอบอุ่นแก่ร่างกาย ผู้สูงอายุต้องการอาหารหมู่นี้ ลดลงกว่าวัยทำงาน เพราะการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง ถ้าได้รับมากเกินไป จะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมไว้ในร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากโรคอ้วน และถ้าได้รับน้อยเกินไป จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดสารอาหารอื่น ๆได้เช่นกัน


อาหารหมู่ที่ 3 ผักต่าง ๆ ให้สารอาหารพวกวิตามินและแร่ธาตุ ผู้สูงอายุควรเลือกกินผักหลาย ๆ ชนิดสลับกัน ควรปรุงโดยวิธีต้มสุก หรือนึ่งได้จะดี เพราะจะทำให้ย่อยง่าย และไม่เกิดแก๊สในกระเพราะ ป้องกันท้องอืด ท้องเฟ้อได้

อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ เป็นอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกานคล้ายอาหารหมู่ 3 มีวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย และยังมีรสหวานหอม มีปริมาณของน้ำอยู่มาก ทำให้ร่างกายสดชื่น เมื่อได้กินผลไม้ ผู้สูงอายุสามารถกินผลไม้ได้ทุกชนิด และควรกินผลไม้ทุกวัน เพื่อจะได้รับวิตามินซี และเส้นใยอาหาร ควรเลือกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม เคี้ยวง่าย เช่น มะละกอ กล้วยสุก ส้ม เป็นต้น สำหรับผู้ที่อ้วน หรือเป็นเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย น้อยหน่า

อาหารหมู่ที่ 5 ไขมันจากสัตว์ และพืช อาหารหมู่นี้นอกจากจะให้พลังงาน และความอบอุ่นแก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในน้ำเช่น วิตามินเอ ดี และ เค ผู้สูงอายุจะต้องการไขมันในปริมาณน้อย แต่ก็ขาดเสียมิได้ ถ้าบริโภคไขมันมากเกินไปจะทำให้อ้วน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด นอกจากรนั้นยังทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อหลังอาหารได้ ควรใช้นำมันพืชที่มีกรดไลโนอิค ในการปรุงอาหาร เช่น น้ำนมถั่วเหลือง นำมันรำ หลีกเลี่ยงการใช้ไขมันจากสัตว์และน้ำมันมะพร้าว

ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ
1. พลังงาน ในวัยสูงอายุ กิจกรรมต่าง ๆ ลดลง การใช้แรงงานหนักต่าง ๆ ก็น้อยลง และอวัยวะ
ต่าง ๆ ของร่างกายมีการทำงายน้อยลงด้วย ดังนั้นความต้องการพลังงานของผู้สูงอายุจะลดลง ร้อยละ 20 - 30 เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการพลังงานที่ได้รับใน 1 วัน ของกลุ่มอายุ 20 - 30 ปี กล่าวคือ

- ผู้สูงอายุชาย อายุ 60 - 69 ปี ต้องการพลังงานเฉลี่ยประมาณ 2200 กิโลแคลอรี/วัน
- ผู้สูงอายุหญิง อายุ 60 - 69 ปี ต้องการพลังงานเฉลี่ยประมาณ 1850 กิโลแคลอรี/วัน
- อายุ 70 ปีขึ้นไป ต้องการพลังงานโดยเฉลี่ยลดลง 10 - 12 % ของกลุ่มอายุ 60 - 69 ปี

พลังงานที่ผู้สูงอายุได้รับ ไม่ควรน้อยกว่า 1200 กิโลแคลอรีต่อวัน เพราะจะทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ นอกจากรายจำเป็นจะต้องลดน้ำหนักตัว ถ้าได้รับพลังงานน้อยกว่าที่กำหนด ควรได้รับวิตามินและเกลือแร่ในรูปของยาเมล็ดเสริมให้ด้วย
ผู้สูงอายุ ควรระวังอย่าให้อ้วน เพราะจะตามมาด้วยโรคหลายอย่าง เช่น เบาหวาน หัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด เป็นต้น ดังนั้น ควรกินอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และพยายามรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป

2. โปรตีน สารอาหารโปรตีน จำเป็นในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ตั้งแต่ผิวหนัง
กล้ามเนื้อ เลือด กระดูก ตลอดจนเนื้อเยื่อต่าง ๆ ผู้สูงอายุต้องการโปนตีนประมาณ 0.88 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน หรือเมื่อคิดเป็นพลังงาน ควรได้พลังงานจากโปรตีนประมาณ 12 - 15 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่ควรได้รับทั้งหมดใน 1 วัน และควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ ได้แก่ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเมล็ดแห้ง
ผู้สูงอายุ ต้องการโปรตีนน้อยกว่าบุคคลในวัยเจริญเติบโต และวัยทำงาน เนื่องจากไม่มีการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ต้องการเพียงเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รักษาระดับความสมดุลย์ของร่างกาย และป้องกันการเสื่อมสภาพของร่างกายก่อนวัยอันควรเท่านั้น

3. ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เป็นตัวนำวิตามินที่ละลายในไขมัน
ให้ใช้ประโยชน์ได้ในร่างกาย และยังช่วยให้อาหารมีรสอร่อยและทำให้รู้สึกอิ่ม
ผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานลดลง จึงควรลดการบริโภคไขมันลงด้วย โดยการกินอาหารพวกไขมันแต่พอสมควร คือไม่ควรเกินร้อยละ 25 - 30 ของปริมาณพลังงานทั้งหมด ที่ได้รับต่อวัน น้ำมันที่ใช้ควรเลือกใช้นำมันพืชแทนน้ำมันสัตว์ เพื่อป้องกันไขมันในเลือดสูง ปริมาณน้ำมันพืชที่ผู้สูงอายุควรได้รับประมาณ 2 - 3 ช้อนโต๊ะต่อวันในการประกอบอาหารต่าง ๆ

4. คาร์โบไฮเดรท เรามักจะได้รับพลังงานส่วนมาก จากคาร์โบไฮเดรท เพราะเป็นอาหารที่ราคาไม่
แพง อร่อย และเป็นสิ่งที่เก็บไว้ได้นาน ไม่เสียง่าย เป็นอาหารที่ประกอบได้ง่ายและกินง่าย เคี้ยวง่าย แต่ผู้สูงอายุควรลดการกินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรท โดยเฉพาะน้ำตาลต่าง ๆ เพื่อเป็นการลดปริมาณพลังงานผู้สูงอายุได้รับคารโบไฮเดรท ร้อยละ 55% ของปริมาณพลังงานทั้งหมดต่อวัน การกินควรอยู่ในรูปของคาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อน แป้งที่เชิงซ้อน เช่น กล้วย ถั่วเมล็ดแห้ง มัน ข้าว และแป้ง เพราะนอกจากร่างกายจะได้รับคาร์โบไฮเดรท แล้วยังได้วิตามินและแร่ธาตุอีกด้วย

5. วิตามิน ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ ผู้สูงอายุมีความต้องการวิตามินเท่ากับวันหนุ่มสาว
แต่จะลดปริมาณวิตามินบางตัว เช่น วิตามินบี ซึ่งจะสัมพันธ์กับความต้องการของพลังงานที่ลดลง การที่ผู้สูงอายุกินอาหารอ่อน ๆ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องฟัน อาจทำให้การได้รับวิตามินบางอย่างไม่เพียงพอ แหล่งของวิตามินส่วนใหญ่อยุ่ในผัก ผลไม้สด ดังนั้น ผู้สูงอายุควรได้กินผัก ผลไม้เพียงพอในแต่ละวัน

6. แร่ธาตุ ผู้สูงอายุมีความต้องการแร่ธาตุเท่าเดิม แต่ส่วนมากปัญหาคือ การกินที่ไม่เพียงพอแร
ธาตุที่สำคัญ และเป็นปัญหาในผู้สูงอายุ ได้แก่ แร่ธาตุเหล็ก และแคลเซียม
6.1 แร่ธาตุเหล็ก โดยทั่วไปอาหารของผู้สูงอายุจะมีปริมาณโปรตีนต่ำ ซึ่งจะมีผลทำให้ได้รับเหล็ก
ต่ำไปด้วย ถ้าขาดทำให้เป็นโรคซีด หรือโลหิตจาง พบว่า แม้จะกินในปริมาณที่เพียงพอ แต่การดูดซึมในผู้สูงอายุ น้อยกว่าในวัยหนุ่มสาว อาหารที่แร่ธาตุเหล็กมาก ได้แก่ ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และเลือดสัตว์ เป็นต้น และเพื่อให้การดูดซึมแร่เหล็กดีขึ้น ควรกินผักสด หรือผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงด้วย ผู้สูงอายุต้องการแร่ธาตุเหล็กประมาณ 10 มิลิกรัม ต่อวัน
6.2 แคลเซียม คนทั่วไปมักคิดว่าเมื่อร่างกายโตเต็มที่แล้ว ไม่จำเป็นต้องได้แคลเซียมเพื่อการสร้าง
กระดูกและฟันอีก แต่ความเป็นจริงแล้ว แคลเซียมมีความสำคัญต่อร่างกายอีกหลายอย่าง เช่น ช่วยในการแข็งตัวของโลหิต เกี่ยวกับความยืดหดของกล้ามเนื้อ เป็นต้น เมื่อร่างกายได้แคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ก็จะดึงจากกระดูก และการขาดแคลเซียมพบมากในผู้สูงอายุ ทั้งนี้สาเหตุมาจากการกินแคลเซียมน้อย นอกจากนี้การดูดซึมและการเก็บไว้ในร่างกาย ยังมีน้อยกว่าในวัยหนุ่มสาว จึงทำให้เกิดปัญหาโรคกระดูกพรุน อาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม ได้แก่ นม ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแก้ง เป็นต้น

7. น้ำ มีความสำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยให้ระบบย่อยอาหาร และการขับถ่ายของเสียส่วนมากผู้สูง
อายุจะดื่มน้ำไม่เพียงพอ ดังนั้น ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำประมาณ 6 - 8 แก้ว เป็นประจำทุกวัน

8. เส้นใยอาหาร แม้ว่าเส้นใยอาหารจะไม่ใช่สารอาหาร แต่เส้นใยอาหารเป็นสานที่ได้จากพื้นและ
ผักทุกชนิด ซึ่งน้ำย่อยไม่สามารถย่อยได้ มีความสำคัญต่อสุขภาพของมนุษย์มาก เพราะถ้ากินเส้นใยอาหารเป็นประจำ จะช่วยให้ท้องไม้ผูก ลดไขมันในเส้นเลือด ในทางตรงกันข้าม หากกินอาหารที่มีเส้นใยน้อยจะทำให้ร่างกายเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น ท้องผูก ริดสีดวงทวาร โรคอ้วน ไขมันในเส้นเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น การกินเส้นใยอาหารทำให้ถ่ายอุจจาระได้สะดวก ทำให้ร่างกายไม่หมักห่มสิ่งบูดเน่า และสารพิษบางอย่างไว้ในร่างกายนานเกินควร จึงควรป้องกันการเกิดมะเร็งในสำไส้ใหญ่ได้ คุณสมบัติพิเศษของเส้นใยอาหารที่ป้องกันโรคดังกล่าวได้ นอกจาจะไม่ถูกย่อยด้วยน้ำย่อย แต่ดูดน้ำทำให้อุจจาระนุ่มมีน้ำหนัก และถ่ายง่ายแล้ว เส้นใยอาหารยังมีไขมันและแคลอรีต่ำมาก

ดังนั้น เพื่อให้ร่างกายได้รับเส้นใยอาหารอย่างสม่ำเสมอ จึงควรกินอาหารที่ปรุงและประกอบด้วยผักเป็นประจำ แลควรกินผลไม้ โดนเฉพาะผลไม้สด จะให้เส้นใยอาหารมากกว่าดื่มน้ำผลไม้ นอกจากนี้ควรกินอาหารประเภทถั่วเมล็ดแห้ง และข้าวซ้อมมือเป็นประจำ

โรคต่างๆ ที่มากับวัยนี้

                 โรคที่พบในผู้สูงอายุนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดมา ตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว แต่ไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ บางโรคเกิดเนื่องจาก ความเปลี่ยนแปลงของ การบริโภคอาหาร ภายหลังจากเกษียนอายุราชการ โรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ โภชนาการในอดีตหรือปัจจุบัน ได้แก่

โรคอ้วน

อ้วนนับเป็นโรคอย่างหนึ่ง ที่เกิดจากการสะสมของพลังงาน ที่ได้จากอาหารที่รับประทาน เกินความต้องการของร่างกาย และมีการเก็บสะสมไว้ ในรูปของไขมันในระยะนานเข้า ก็จะปรากฏให้เห็น ด้วยการมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น จากเดิมทีละน้อยๆ อายุที่เพิ่มขึ้น มีโอกาสมีน้ำหนักตัวเพิ่มอยู่แล้ว เพราะการใช้แรงงานน้อยลง การรับประทานอาหารยังคงเดิม ดังนั้น ถ้าไม่ควบคุมการรับประทานอาหาร โอกาสอ้วนย่อมมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว โรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงนำไปสู่การเป็นโรคอื่นๆ อีกหลายโรค เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเกี่ยวกับข้อ ฯลฯ คนทั่วๆ ไปจะมีการเปลี่ยนแปลง น้ำหนักตัว และสังเกตเห็นว่า เริ่มอ้วนเมื่ออายุประมาณ 35-40 ปี ถ้าให้ความสนใจต่อสุขภาพ ระวังน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ปัญหาของโรคต่างๆ ที่จะเกิด ย่อมน้อยลงได้ หรือเมื่อมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานแล้ว ต้องพยายามควบคุมอาหาร จัดอาหารที่ให้คุณค่าอาหารสูง แต่พลังงานต่ำ เพื่อช่วยลดน้ำหนักลง ก็เป็นการช่วยลด ปัญหาสุขภาพได้อีกทางหนึ่ง

โรคโลหิตจาง

บางครั้งเราเรียกว่า โรคซีด โรคโลหิตจางเกิดได้ เนื่องจากการรับประทานอาหาร ที่ขาดธาตุเหล็กมาในระยะเวลานาน หรืออาจเกิดจากการสูญเสียเลือด ในปริมาณที่ไม่มากนัก จนไม่สามารถตรวจพบ แต่เกิดเรื้อรังมาเป็นเวลานาน เช่น เลือดออกในลำไส้ หรือกระเพาะอาหาร เป็นต้น โรคนี้ทำให้ผู้สูงอายุซีด ร่างกายอ่อนเพลีย ความต้านทานโรคน้อยลง ทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น การจัดอาหารที่มีเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ให้รับประทานเป็นประจำ เพื่อให้ได้รับเหล็กที่เพียงพอ

โรคหัวใจและหลอดเลือด

สถิติของการเกิดโรคนี้มากที่สุด ในช่วงอายุ 45 ปี ความรุนแรงจะมากขึ้น ถ้าไม่ได้รับการรักษา และดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง เพราะสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรค คือ การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เกินความต้องการของร่างกาย และการเลือกรับประทานที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีไขมันสูง โคเลสเตอรอลสูง รวมถึงการสูบบุหรี่ และการขาดการออกกำลังกาย การป้องกันโรคนี้ ควรเริ่มเมื่อก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น หนังเป็ด หนังไก่ เครื่องในสัตว์ กะทิ เป็นต้น งดการสูบบุหรี่ และมีการออกกำลังกายเป็นประจำ

โรคเบาหวาน

ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ เป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัว มากกว่ามาตรฐาน ในช่วงอายุเกิน 50 ปี ผู้สูงอายุที่ชอบรับประทานน้ำตาลมากๆ พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น มากกว่าคนหนุ่ม-สาว และลดระดับคืนสู่ปกติได้ช้า โรคเบาหวานพบในผู้สูงอายุ ที่มีการเกิดโรคนี้ในครอบครัว การรับประทานอาหารมากและอ้วน การเป็นโรคนี้จะนำไปสู่ การเป็นโรคหลอดเลือดแข็ง และอุดตันได้ง่าย และเป็นสาเหตุการตายของผู้สูงอายุ เป็นโรคเบาหวานด้วย ดังนั้น การควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ให้อ้วน เป็นทางหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคได้

โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ

ผู้สูงอายุ มีการเสียสมดุลของฮอร์โมน ทำให้การเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติ การดูดซึมสารอาหาร และแร่ธาตุโดยเฉพาะ แคลเซียมเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การเกิดโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่พบมากในผู้สูงอายุ ที่ทำให้กระดูกเปราะและหักได้ง่าย เกิดมากในผู้หญิงอายุเกิน 50 ปี และผู้ชายอายุเกิน 60 ปี การอักเสบต่างๆ ของข้อ เกิดจากการมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้เป็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหว และการช่วยตัวเอง ของผู้สูงอายุ การจัดอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้งและผลไม้ ให้ผู้สูงอายุรับประทานเป็นประจำ เพื่อช่วยบำรุงความแข็งแรงให้แก่กระดูก

โรคความดันโลหิตสูง หรือความดันเลือดสูง

เป็นโรคเรื้อรัง และพบได้บ่อยในคนไทย สามารถตรวจได้ง่าย โดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตด้วยตัวเอง เครื่องดังกล่าวจะแสดงค่า ความดันโลหิตสองตัว คือ ความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง ในคนปกติจะมีค่าความดันโลหิตไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และความดันตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท และความดันเลือดปกติ จะมีค่าความแตกต่างกัน ในแต่ละคนแต่ละอายุความดันโลหิตที่สูงขึ้น คนที่น้ำหนักตัวมาก (ถ้ามากเกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น) ควรพยายามลดน้ำหนัก เพราะจะช่วยลดความดันลงได้ โดยใช้วิธีการควบคุมปริมาณอาหาร และหมั่นออกกำลังกายพอดีและเหมาะสม
ควรลดปริมาณแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน วิ่ง ฯลฯ โดยเริ่มฝึกจากวันละน้อยแล้วค่อย ๆ เพิ่มวันละ 2 นาทีทุกวัน จนครบ 30 นาที การวิ่งหรือออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาอยู่ ไม่ควรออกกำลังกายประเภท ที่ต้องกลั้นหายใจและเบ่ง ยกน้ำหนัก ชักเย่อ วิดน้ำ งดเหล้าและบุหรี่  หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้คุณหงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น ลดปริมาณไขมันในอาหาร ถ้ามีโรคเบาหวานต้องควบคุมและรักษาเบาหวานให้ดี  รับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอและไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง    ไม่ควรหยุดหรือเปลี่ยนยาด้วยตนเอง สำหรับผู้ป่วยที่กินยาขับปัสสาวะ ควรกินส้มหรือกล้วยเป็นประจำ เพื่อทดแทนโพแทสเซียมที่เสียไปในปัสสาวะ ผู้ที่ป่วยแล้วไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนเองไม่ถูกต้อง จะมีผลกับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้เช่น สมอง - เมื่อความดันโลหิตสูงมาก หลอดเลือดในสมองก็ตีบตันหรือแตกได้ง่าย ทำให้ตกเลือดในสมองได้ง่าย และบ่อยกว่าคนปกติ ทำให้เกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ถ้าความดันสูงมาก ๆ ในทันที อาจจะทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะ ไม่รู้สึกตัวและชักได้ ถ้ารักษาไม่ทันอาจถึงตาย


วัยหมดระดู หรือ วัยทอง (Menopause)

เป็นวัยที่สิ้นสุดการมีระดูอย่างถาวรเนื่องจากรังไข่สร้างฮอร์โมนลดลง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับสตรีทุกคน โดยส่วนใหญ่สตรีจะเข้าสู่วัยหมดระดูเมื่ออายุ 47-50 ปี เริ่มจากรังไข่เริ่มทำงานไม่ปกติ ซึ่งทำให้มีระดูถี่ขึ้นจากช่วงห่าง 28 วัน เป็นประมาณ 21 วัน หรือมีระดูไม่สม่ำเสมอ ระยะเวลาระหว่างรอบระดูจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งไม่มีระดูอย่างถาวร โดยทั่วไปช่วงนี้ใช้เวลา 2-8 ปี เราเรียกช่วงเวลานี้ว่าวัยใกล้หมดระดู (Perimenopause) หรือวัยเปลี่ยน (Climacteric)การเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูเกิดขึ้นได้หลากหลาย ส่วนใหญ่ดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในสตรีบางคนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างราบรื่นและไม่พบปัญหา แต่ในสตรีบางคนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงทำให้มีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งต้องการการดูแลรักษา ความแตกต่างในสตรีแต่ละคนนั้นอาจเนื่องจากความแตกต่างในพื้นฐานพันธุกรรม การดำเนินชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ มีปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและชุมชน ดังนั้นจึงควรทราบว่าการเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่วัยหมดระดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในวัยหมดระดูสามารถแบ่งอย่างง่ายๆ ออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น และการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
                 การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัยใกล้หมดระดู และวัยหมดระดูช่วงต้น เกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้แก่
1. อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบตามตัว (Hot Flashes) มักจะมีอาการร้อนซู่ขึ้นมาทันทีบริเวณหน้า ลำคอ และหน้าอก มักเกิดอาการอยู่นานประมาณ 3 - 5 นาที แล้วก็หายไป บางคนพบมีเหงื่อออกมากร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักมีอาการในช่วงกลางคืน ทำให้นอนไม่หลับตามมา
2. อาการของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ได้แก่ ช่องคลอดอักเสบ คันช่องคลอด ช่องคลอดแห้ง ทำให้เจ็บเวลามีการร่วมเพศ
3. อาการช่องระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย
4. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ ได้แก่ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เครียด กังวล เหนื่อย เพลีย หมดความต้องการทางเพศ เป็นต้น
5. การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง ในวัยหมดระดูผิวหนังจะบางลง ความยืดหยุ่นลดลง
6. การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและข้อ พบว่า กำลังของกล้ามเนื้อลดลง มีอาการปวดตามข้อ
                  การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในวัยหมดระดูช่วงหลัง มักเกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกาย ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงทางกระดูก เมื่อเข้าสู่วัยหมดระดูจะมีการสูญเสียกระดูกมากขึ้น แต่ละคนจะมีอัตราการสูญเสียกระดูกที่เร็วช้าแตกต่างกันไป ประมาณ 1 ใน 3 จะสูญเสียเนื้อกระดูกอย่างรวดเร็ว เกินกว่าร้อยละ 3 ต่อปี ทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็ว การสูญเสียกระดูกที่รวดเร็วในอัตรานี้อาจคงอยู่นาน 10-15 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มลดลง
2. การเปลี่ยนแปลงของหัวใจและหลอดเลือด พบว่าในวัยหมดระดูจะมีอุบัติการณ์และความชุกของโรคหัวใจ และหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น มีไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น
ในปัจจุบันมีการใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อป้องกัน และรักษาอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามผู้ที่ใช้ฮอร์โมนทดแทน หรือผู้ที่อยู่ในวัยหมดระดูควรมีความรู้ และความเข้าใจในฮอร์โมนทดแทน และการปฏิบัติตัวในช่วงวัยหมดระดู เพื่อสามารถใช้ชีวิตในช่วงวัยหมดระดูได้อย่างมีความสุข และสุขภาพที่ดี
                  ฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดระดู แบ่งตามลักษณะการใช้ออกเป็น
1. ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้ที่ผ่าตัดมดลูกออกไปแล้ว จะเป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย เอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยบรรเทาอาการของวัยหมดระดู มีทั้งชนิดรับประทาน ชนิดทาบริเวณผิวหนังชนิดแผ่นแปะ
2. ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้ที่ยังมีมดลูกอยู่ เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย เอสโตรเจน และโปรเจสโตเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ฮอร์โมนชนิดนี้สามารถแบ่งได้เป็น
- ชนิดที่ใช้เป็นรอบๆ (Cyclic regimen) เป็นการให้เอสโตรเจน 21 วันและใน 12 วัน หลังจะมีโปรเจสโตเจนร่วมด้วย จะมีช่วงที่ไม่ต้องใช้ฮอร์โมน 7 วัน ทำให้มีระดูสม่ำเสมอ ชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้กับผู้ที่อยู่ในวัยเปลี่ยน หรือวัยหมดระดูช่วงต้น
- ชนิดที่ต้องใช้ต่อเนื่อง (Continuous combined regimen) เป็นการให้เอสโตรเจนในปริมาณที่เท่ากันทุกวันเพื่อให้ไม่ต้องมีระดู ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่หมดระดูมานานมากกว่า1ปีขึ้นไป
3. ฮอร์โมนทดแทนอื่นๆ เป็นฮอร์โมนที่ไม่ใช่เอสโตรเจน แต่สามารถป้องกันและรักษาการเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูได้ ได้แก่   Tibolone   Raloxifene

จากตัวอย่างของโรค ที่พบในผู้สูงอายุที่กลาวมา คงทำให้เห็นความสำคัญของโภชนาการ ที่มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุ การให้การดูแลในเรื่องอาหารการกิน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหาร ในปริมาณที่มากพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ยังช่วยชะลอการเกิดโรค หรือบรรเทาความรุนแรงของโรคได้

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

             การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจดังกล่าว เป็นไปในทางเสื่อมถอย เป็นธรรมชาติในผู้สูงอายุอยู่ปล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเร็ว หรือช้า ขึ้นกับสาเหตุ 2 ประการ คือ กรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อม แม้กรรมพันธุ์จะมีส่วน แต่ปัจจุบันพบว่า ปัจจัยแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสำคัญ ได้แก่            

             ภาวะโภชนาการ : ทั้งภาวะโภชนาการขาด และภาวะโภชนาการเกิน นอกจากจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย และจิตใจผู้สูงอายุในทางเสื่อมถอย โดยตรงแล้ว ยังเป็นสาเหตุของการเกิด และสัมพันธ์กับความรุนแรงของรอยโรค และโรคเรื้อรัง เช่น การขาดสารอาหารพวกวิตามินบี สัมพันธ์กับเกิดรอยโรคปากนกกระจอก การได้รับอาหารประเภทไขมันอิ่มตัวมาก เช่น กะทิ สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด อาหารรสเค็ม หรืออาหารที่มีเกลือในปริมาณสูง สัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
            ภาวะโรคเรื้อรัง และอุบัติเหตุ : ถ้าควบคุมโรคทางระบบ ให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมไม่ได้ หรือมีอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติที่รุนแรง และภาวะทุพพลภาพ จะส่งผลต่อการเสื่อมถอยของร่างกาย และจิตใจในผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว เช่น ผู้สูงอายุที่ปกติมีการได้ยินลดลง เนื่องจากการเสื่อมของประสาทรับเสียงในหูชั้นในอยู่แล้ว แต่ถ้ามีโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของเส้นเลือดเลี้ยงหูชั้นในง่ายขึ้น อาจทำให้เกิดหูอื้อ หูตึงได้ หรือผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ที่ควบคุมไม่ได้ จะมีแนวโน้มการเสื่อมของตา เส้นประสาทเสื่อม มือเท้าชา ผิวหนังอักเสบง่าย เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อในช่องปาก และการสูญเสียฟันง่ายกว่า เร็วกว่าผู้สูงอายุที่ปกติ เป็นต้น
วิถีชีวิต และพฤติกรรมสุขภาพ : เป็นปัจจัยที่สามารถช่วยทั้งชะลอการเปลี่ยนแปลง เช่น พฤติกรรมการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือเป็นปัจจัยที่ช่วยเร่งการเสื่อมถอย เช่น พฤติกรรมเสี่ยง การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งที่ตับ ปอด เป็นต้น
          ดังนั้น แม้จะสูงวัย หากมีการปฏิบัติตน และได้รับการดูแลที่เหมาะสม ก็จะสามารถชะลอความชรา มีสุขภาพร่างกายที่ดี เหมาะสมกับวัยได้

การเปลี่ยนแปลงต่างๆ

 

                วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบ ต่อความสามารถในการดำเนินชีวิต อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และจิตใจ ที่เป็นผลมาจากอายุที่เห็นได้ชัด ได้แก่

1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

               ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ฝ่อลีบ ไม่แข็งแรง ไม่สามารถพยุงข้อไว้ได้ ทำให้การเคลื่อนไหวช้าลง ร่วมกับความไวของการตอบสนองของเซลล์ประสาทลดลง อวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัวในหูชั้นในเสื่อมไป ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถที่จะเปลี่ยนอริยาบถ เคลื่อนไหว หรือตอบโต้เมื่อจำเป็นต้องใช้ความเร็ว มากกว่าปกติได้ จึงมีการเสี่ยงที่จะเสียการทรงตัว พลัดหกล้มง่าย และเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว มักจะเกิดความผิดปกติที่รุนแรง และภาวะทุพพลภาพได้

              ระบบประสาทสัมผัสพิเศษ เช่น

- สายตามีปัญหาการมองไม่ชัด จากสายตายาว ต้อกระจก กล้ามเนื้อลูกตาเสื่อม ทำให้การกรอกตาตาม การมองภาพเคลื่อนไหวไม่ชัด

- การได้ยินมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากประสาทรับเสียงในหูชั้นในเสื่อม จากอายุที่มากขึ้น

- การรับรส และกลิ่น มีแนวโน้มลดลง ลิ้นรับรสได้น้อยลง โดยเฉพาะรสหวาน ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มรับประทานอาหารหวานมากขึ้น

- ผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ รวมทั้งเยื่อบุช่องปาก มีความยืดหยุ่นลดลง ปริมาณไขมันใต้ผิวหนังลดลง เกิดการเหี่ยวย่นบางลง บาดเจ็บ และเกิดรอยแผลได้ง่าย

- ระบบหายใจ และไหลเวียนโลหิต หลอดเลือดที่แข็งตัวจากการเสื่อมตามวัย เป็นสาเหตุหนึ่งของความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ ซึ่งถ้าเป็นมากอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ สมองไม่พอ เกิดอาการใจสั่น เจ็บหน้าอกได้ หน้ามืดเป็นลมได้

- ระบบการบดเคี้ยว และการเปลี่ยนแปลงในช่องปาก (รายละเอียดในบทต่อไป)

- ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย ต่อมน้ำลายที่ขับน้ำลายน้อยลง น้ำย่อยในกระเพาะที่ลดลง ทำให้การกลืน และการย่อยอาหารทำได้ไม่ดี การดูดซึมน้อยลง การเคลื่อนไหวของลำไส้ที่ลดลง ทำให้ท้องอืด หรือท้องผูกเพิ่มขึ้น การรับประทานที่มีกากใย ร่วมกับการมีระบบการบดเคี้ยวที่ดี จะช่วยการทำงานของกระเพาะลำไส้ ให้ร่างกายนำสารอาหารไปใช้งานง่ายขึ้น ขับถ่ายดีขึ้น

- ระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย มีอัตราลดลง (Basal metabolic rate) การใช้พลังงานของร่างกายลดลง เกิดภาวะน้ำหนักเกิน อ้วนง่าย

- ระบบอื่นๆ เช่น ระบบต่อมไขมัน มีการผลิตฮอร์โมนลดลง เช่น ตับอ่อน ผลิตอินซูลินน้อยลง อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานง่ายกว่าวัยอื่น ระบบการตอบสนองต่อการอักเสบของระบบภูมิคุ้มกันที่เสื่อมไป ตามอายุที่มากขึ้น จนเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทั้งทางร่างกาย และช่องปาก ในผู้สูงอายุ

2.การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ

           มีการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท ทำให้ความต้องการการเรียนรู้สิ่งใหม่ลดลง มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ บางครั้งใจน้อย หงุดหงิด วิตกกังวล อาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยทางสุขภาพจิต นอนไม่หลับ ซึมเศร้า ส่งผลกระทบต่อการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตได้

การปฏิบัติตัว

"ผู้สูงอายุ" คำนิยามในทางการแพทย์และสาธารณสุข คือ ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยปกติร่างกายของสิ่งมีชีวิต จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายไปในทางที่เสื่อมลง ตั้งแต่อยู่ในวัยกลางคน แต่จะเห็นเป็นลักษณะของความเสื่อมอย่างชัดเจน ตั้งแต่อายุประมาณ 40 กว่าปีเป็นต้นไป
ผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกาย เนื่องจากความสูงอายุ ซึ่งแต่ละคน จะมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสุขภาพและการใช้ชีวิตในวัยที่ผ่านมา  ร่วมกับผู้สูงอายุบางคนมีโรคประจำตัว ซึ่งทำให้สมรรถภาพของร่างกายเสื่อมถอยลงไป จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้สูงอายุคือ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้สามารถใช้ชีวิตแต่ละวันอย่างมีความสุข มีอิสระที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพตามที่ตนต้องการ ถึงแม้สภาพร่างกายจะเสื่อมถอยไป  และมีโรคเรื้อรังต่าง ๆ อยู่ก็ตาม เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ดังกล่าวนี้ การดูแลผู้สูงอายุจะต้องเน้นที่จะทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ร่วมกับส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ตามที่สภาพร่างกาย จิตใจ และเวลาเอื้ออำนวย โดยยึดหลัก 11 อ.เพื่อสุขภาพกายใจที่ดี ดังนี้
1. อาหาร ความต้องการพลังงานลดลง แต่ความต้องการสารอาหารต่าง ๆ  ยังใกล้เคียงกับวัยผู้ใหญ่   ผู้สูงอายุควรลดอาหารประเภทไขมัน   (น้ำมันจากสัตว  ์และพืช  ไข่แดง  เนย)   และประเภทคาร์โบไฮเดรต   (ข้าว แป้ง  และน้ำตาล)ผู้สูงอายุควรได้รับอาหารโปรตีน หรือกลุ่มเนื้อสัตว์ ประมาณ 50-60 กรัมต่อวัน หรือประมาณมื้อละ 2 ช้อนโต๊ะ ควรเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย พวกปลาจะดีที่สุด  ผู้สูงอายุกินไข่ขาวได้ไม่จำกัด แต่ควรกินไข่แดงไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์  ผู้สูงอายุควรกินผักมาก ๆ ทั้งผักที่ใช้ใบ หัว และถั่วต่าง ๆ ผลไม้รับประทานได้มากเช่นกัน  แต่ควรเลือกผลไม้ที่ไม่หวานจัด  ผลไม้ที่หวานจัดเช่น กล้วยสุก มะม่วงสุก ทุเรียน ลำไย ควรรับประทานแต่น้อย  เพราะถ้ารับประทานมาก  อาจจะทำให้เกิดโรคตามมาได้ เช่นเบาหวาน เป็นต้น
2. ออกกำลังกาย  ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายประมาณสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายมีความคล่องตัว แข็งแรง  ซึ่งจะทำให้การ
ทรงตัว และการเคลื่อนไหวดีขึ้น ไม่หกล้มง่าย
3. อนามัย   คือ การดูแลตนเองโดยเฉพาะให้พยายาม ลด ละ เลิก สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น บุหรี่ เหล้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ  รวมทั้งสังเกตการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย  การขับถ่าย เป็นต้น  และควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่อายุประมาณ 65 ปี เป็นต้นไป
4. อุจจาระ ปัสสาวะ จะต้องให้ความสนใจการขับถ่ายของผู้สูงอายุด้วยว่ามีปัญหาหรือไม่ บางรายอาจจะเกิดปัญหาถ่ายยาก ถ่ายลำบากอีกส่วนหนึ่งอาจมีปัญหาเรื่องกลั้นการขับถ่ายไม่ได้ ซึ่งแต่ละปัญหาจะต้องให้การดูแลแก้ไขไปตามสาเหตุ
5. อากาศ และแสงอาทิตย์  จะเน้นให้อยู่ในสถานที่ ๆ มีสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสม
6. อารมย์ อดิเรก อนาคต และอบอุ่น  เป็น 4 อ. ที่เน้นทางด้านความรู้สึกนึกคิด และจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยให้การมีชีวิตอยู่แต่ละวันมีความสุข มีความรื่นรมย์กับการมีชีวิตอยู่   และมีคุณภาพชีวิตที่ดี   ควรเข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ   และปรับความรู้สึกนึกคิดไปตามนั้น ไม่ยึดแต่ลักษณะเก่า ๆ ดั้งเดิมที่เคยเป็นมา ควรมีงานอดิเรกที่น่าสนใจ แต่ไม่ควรเป็นสิ่งที่เป็นภาระมากนัก เช่น ถ้าอยู่คนเดียวก็ไม่ควรเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก   เพราะจะเป็นภาระในการซื้อหา และให้อาหาร  และถ้าสัตว์เจ็บป่วย  เสียชีวิต ก็จะเกิดความสลดหดหู่ และจิตใจเศร้าหมองได้  ผู้สูงอายุควรคิดถึงอนาคตด้วย   และควรพยายามเข้าร่วมในสังคมกลุ่มต่าง ๆ  ตามสมควร การมีเพื่อนรุ่นเดียวกัน หรือต่างรุ่น จะทำให้มีความอบอุ่น และรู้สึกถึงคุณค่าของตน
7. อุบัติเหตุ  เกิดขึ้นได้ทุกขณะ และอาจทำให้เกิดความบาดเจ็บ และความพิการต่างๆ ได้ ควรพยายามดูแลสภาพบ้านเรือนให้
ปลอดภัย มีแสงสว่างพอเหมาะ พื้นไม่ลื่น หรือควรมีราวจับในบางแห่งที่เกิดอุบัติเหตุได้บ่อย ๆ เช่น ห้องน้ำ เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นหลักการเบื้องต้น ในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งแต่ละคนจะมีปัญหาแตกต่างกันไป ดังนั้น จะต้องปรับการดูแลให้เหมาะสม หลักสำคัญก็คือ ต้องให้ท่านเหล่านั้นสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด และมีความสุขกายสบายใจในบั้นปลายของชีวิต ดังคำที่ว่า "เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลาน"