งานวิจัย

การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ  (สามารถดาวโหลด์)

The uidelines and Legal Measures Relating to the Older Persons ' Welfare in Thailand
โดย ช.ชยินทร์ เพ็ชญไพศิษฏ์

บทคัดย่อ
จากการศึกษาวิจัยพบว่า สิทธิผู้สูงอายุ ได้รับการรับรองปรากฏอยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน ในฐานะที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์โดยบัญญัติไว้ชัดเจนในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษย
ชน ซึ่งเป็นแนวทางให้ทุกรัฐต้องยึดถือและปฏิบัติตามแนวนโยบายขององค์การสหประชาชาติ ในแผนปฏิบัติการ
ระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุส่งเสริมให้มีการร่วมมือกันในระดับภูมิ
ภาคและระหว่างประเทศ ในการรับรองสิทธิของผู้สูงอายุ เริ่มปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อองค์การสหประชาชาติได้
ประกาศให้ ปี ค.ศ.1999 เป็นปีผู้สูงอายุสากล และกำ หนดสิทธิและแนวทางในการรับรองสิทธิผู้สูงอายุ โดยยึด
หลักความเท่าเทียมกัน
แนวคิดและความเป็นมาเกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุในประเทศไทย อิงอยู่กับวัฒนธรรมและจารีตประเพณี
เป็นสำ คัญ และบัญญัติอยู่ในกฎหมายบางส่วน และเริ่มชัดเจนในแนวนโยบายของรัฐ รัฐธรรมนูญ ตลอดจน
ระเบียบและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แต่ยังไม่มีกฎหมายผู้สูงอายุซี่งบัญญัติรับรองสิทธิโดยเฉพาะ
รูปแบบของกฎหมายผู้สูงอายุในนานาประเทศมีทั้งรูปแบบที่กำ หนดรับรองสิทธิของผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
และรูปแบบการออกกฎหมายประกันสังคมโดยมีส่วนที่ให้สวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตาม รัฐต่าง ๆ ก็อาจ
มีกฎหมายเสริมในบางเรื่องที่ต้องการให้สิทธิแก่ผู้สูงอายุเป็นพิเศษ หรือปรากฏอยู่ในกฎหมายส่วนอื่น ๆ เช่น
กฎหมายแรงงาน กฎหมายคนพิการ กฎหมายภาษีอากร เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบาย สถานการณ์ทางด้าน
เศรษฐกิจและสังคมของแต่ละรัฐ
รูปแบบและการจัดองค์กรในการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย รัฐควรเน้นถึงการแก้ไขปัญหาการ
จัดสรร และการใช้งบประมาณให้เพียงพอ กำ หนดนโยบายในการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุในทิศทางที่ชัดเจน ให้
เกิดความหลากหลายและเหมาะสมแก่ผู้สูงอายุที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม ควรจัดแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ
ออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพหรือยากไร้ และประเภทที่มีรายได้เพียงพอแก่
การยังชีพ โดยมีรูปแบบการจัดสวัสดิการที่แตกต่างกัน กำ หนดนโยบายแห่งชาติ จัดตั้งองค์กรที่มีหน้าที่กำ กับดู
แลในระดับประเทศและท้องถิ่น ยกระดับความสำ คัญของสภาผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุ สนับสนุนให้องค์กร
เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ และกำ หนดให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ
มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสม รัฐควรบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกัน กำ หนดสิทธิประโยชน์ที่จะให้แก่ผู้สูงอายุอย่างชัดเจน และไม่ก่อให้
เกิดปัญหาในด้านการตีความอันจะเป็นผลเสียต่อผู้สูงอายุได้ โดยกำ หนดสิทธิพื้นฐานของผู้สูงอายุในรูปของ
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ซึ่งควรมีการจัดตั้งองค์กรดำ เนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะทั้งในระดับประเทศ
และท้อง

Resource allocation for improving quality of life of the aged: a proposed guideline
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนานโยบายระบบสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย

โดย สุกัญญา นิธังกร และนงนุช สุนทรชวกานต์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สนับสนุนทุนวิจัยโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
พฤศจิกายน 2542

 

บทคัดย่อ
ประเทศไทยซึ่งเคยมีโครงสร้างประชากรเป็นรูปทรงเจดีย์ปลายแหลมที่ประกอบด้วยผู้สูงอายุอยู่บนยอด
ปลายเรียวแหลมนั้น ได้เริ่มเปลี่ยนไปโดยปลายเรียวแหลมเริ่มใหญ่ขึ้นเพราะสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงมี
ความจำ เป็นที่จะต้องเตรียมตัวรับปัญหาใหม่ ๆ ที่จะต้องเผชิญ ในปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีหลัก
ประกันชราภาพมากกว่ากลุ่มอื่นใด คือกลุ่มผู้สูงอายุที่เกษียณจากการทำ งานในภาคราชการ กลุ่มนี้จะได้รับ
การดูแลด้านรายได้และการรักษาพยาบาล ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ที่เหลือ ต้องอาศัยครอบครัวเป็นหลักในการดูแลใน
ยามชรา สวัสดิการที่รัฐให้แก่ผู้สูงอายุบางส่วนที่ยากไร้ คือการให้ที่อยู่อาศัยในรูปสถานสงเคราะห์ ในรูป
ศูนย์บริการ และ การให้เบี้ยยังชีพรายเดือน แก่ผู้สูงอายุที่เข้าข่ายยากจนจำ นวนหนึ่งกระจายไปทั่วประเทศ
และการให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งรวมอยู่ในโครงการรักษาพยาบาลผู้มีรายได้
น้อยและผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งให้ผ่านกระทรวงสาธารณสุข
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการจัดสรรงบประมาณที่รัฐให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อดูความสนใจของรัฐ
ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และเพื่อดูว่าถ้ารัฐต้องการจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุโดยใช้
เกณฑ์รายได้ และเกณฑ์อายุเป็นหลัก จะต้องใช้ทรัพยากรเท่าใด โดยพยากรณ์รายจ่ายเพื่อผู้สูงอายุจนสิ้นสุด
แผนปฎิบัติการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ผู้สูงอายุในช่วงปี 2542 - 2554
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าในส่วนของผู้สูงอายุที่เป็นข้าราชการเกษียณ ในปี 2540 รัฐบาลมีภาระ
จ่ายด้านบำ เหน็จบำ นาญเท่ากับ 24, 717 ล้านบาท และรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่ากับ 1, 787 ล้านบาท
ทั้งสองรายการนี้รวมแล้ว ตกราวร้อยละ 3 ของรายจ่ายงบประมาณแผ่นดิน หรือ ราวร้อยละ 3. 2 ของ
งบรายได้จากภาษีอากรของรัฐ และจากการ พยากรณ์รายจ่ายนี้ในไปจนถึงปี 2554 พบว่า รายจ่ายเพื่อผู้สูง
อายุที่เกษียณในราชการคิดเป็นร้อยละ 2.24 10.85 11.97 และ 13.59 ของรายได้ประชาชาติ รายจ่ายของ
รัฐบาล รายได้ของรัฐบาล และรายได้จากภาษีอากร ตามลำดับ
สำหรับรายจ่ายที่รัฐให้ในรูปสวัสดิการผู้สูงอายุทั่วไป ที่จ่ายผ่านกระทรวงแรงงานและสวัสดิการ ค่าใช้
จ่ายส่วนใหญ่ในด้านสถานสงเคราะห์คนชราและศูนย์บริการเป็นค่าใช้จ่ายในด้านบริหารจัดการ ส่วนในด้าน
เบี้ยยังชีพนั้น ไม่ถึงร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุที่ยากจนทั้งหมดเท่านั้นที่ได้รับการจัดสรร ในส่วนของงบประมาณ
รายจ่ายด้านสาธารณสุขที่รัฐให้แก่โครงการสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล ได้จัด
สรรแก่ผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่ถึงร้อยละ 50 เมื่อพยากรณ์รายจ่ายทั้งสองส่วนรวมกันนี้ไปจนถึงปี 2554 พบว่า
รายจ่ายที่รัฐจ่ายเป็นสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุที่ยากจนทั่วไป จะประมาณร้อยละ 0.15 0.75 0.83 และ 0.94 ของ
รายได้ประชาชาติ รายจ่ายของรัฐบาล รายได้ของรัฐบาล และรายได้จากภาษีอากร ตามลำดับ
งานวิจัยนี้ยังได้ใช้ข้อมูลจากการสำ รวจผู้สูงอายุทั่วประเทศปี 2537 ของสำ นักงานสถิติแห่งชาติศึกษา
ปัจจัยที่กำ หนดรายจ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลที่ผู้สูงอายุจ่ายเอง และได้คำ นวณค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้
สูงอายุกลุ่มรายได้ตํ่า เพื่อคำ นวณภาระรายจ่ายของรัฐถ้าจะให้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้สูงอายุที่ยาก
จน และเพื่อพยากรณ์รายจ่ายของรัฐ ถ้ารัฐให้ความช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาล และด้านเบี้ยยังชีพแก่
ผู้สูงอายุที่ยากจนทุกคน จากการคำ นวณพบว่า ในปี 2554 รายจ่ายนี้รวมกันจะตกราว 7.1 พันล้านบาท
หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.1 0.5 0.56 และ 0.63 ของรายได้ประชาชาติ รายจ่ายของรัฐบาล รายได้ของรัฐ
บาล และรายได้จากภาษีอากรของรัฐบาล ตามลำดับ
นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังได้คำ นวณการสูญเสียรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้ารัฐยอมให้ผู้มีเงินได้
หักค่าลดหย่อนในการเลี้ยงดูบิดามารดาที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน (คนละ 15,000 บาทต่อปี) โดย
คำ นวณเฉพาะผู้มีเงินได้ที่มีสถานภาพการทำ งานเป็นลูกจ้างประจำ พบว่า รัฐจะสูญเสียรายได้ทั้งสิ้นประมาณ
134.6 ล้านบาท
โดยสรุป รัฐยังให้การดูแลด้านสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุที่ยากจนน้อยมาก และควรจะต้องมีมาตรการส่งเสริม
ให้สถาบันครอบครัว และภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุที่สามารถช่วยตัวเองทางเศรษฐกิจได้
มากกว่านี้

โดย ประสิทธิ์ ลีระพันธ์ และเพ็ญประภา ศิวิโรจน์  พ.ศ. 2542

โครงการวิจัย เรื่อง “ วิสัยทัศน์ และแนวทางในการปฏิรูประบบสาธารณสุข เพื่อผู้สูงอายุไทยในอนาคต : มุมมองจากประชาคม องค์กรชุมชนด้านผู้สูงอายุ ”

ดำาเนินการโดย มูลนิธิพัฒนาผู้ส้สูงอายุ
สนับสนุนโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

file icon ทบทวนวรรณกรรม เรื่อง ภาวะสุขภาพและอนามัยผู้สูงอายุ

การสังเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อจัดทำข้อเสนอ การปฎิรูประบบบริการสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย