Monthly Archives: September 2009

การประเมินองค์การ (Self-Assessment)

ในการประเมินองค์การ (Self-Assessment) ปัญหาที่ได้รับการระบุมากที่สุดก็คือ ปัญหาในเรื่อง "คน" ในองค์การใหญ่ ๆ ที่มีนโยบายให้ความสำคัญในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ จะมีผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลดด้านนี้โดยเฉพาะ มีระบบการสรรหา ว่าจ้าง การพัฒนาบุคลากร การประเมินผล การจัดสวัสดิการ ไปจนถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งในรูปแบบของกิจกรรมวิชาการและกิจกรรมสัมพันธ์ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดก็คือ การทำให้พนักงานทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันองค์การไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ถึงกระนั้นก็ตามทุกองค์การก็ยังมีปัญหาเรื่องคนไม่มากก็น้อย เพราะเรื่องของคนเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน
เป็นที่ยอมรับกันว่า การสร้างความพึงพอใจให้พนักงานเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในองค์การ ในเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ และ PMQA ในกระบวนการการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ของเรา จะนำ PMQA มาใช้ในปี พุทธศักราช 2553 นี้ค่ะ ได้ระบุในเรื่องนี้ไว้ และเกณฑ์นี้จะประสบความสำเร็จได้ต้องเชื่อมโยงกับเกณฑ์ในข้ออื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะวิสัยทัศน์ของผู้นำ
การ "บริหารคน" นั้น วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสำคัญมากที่สุด ถ้าหากผู้บริหารเห็นความสำคัญของพนักงานอย่างแท้จริง มองเห็นความเป็นคนที่เท่าเทียมกัน เข้าใจความต้องการของพนักงาน และมีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม องค์การนั้นอาจไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ระบบการบริหารจัดการที่ซับซ้อนอะไรเลย พนักงานก็พร้อมที่จะทำให้องค์การนั้นไปสู่เป้าหมายร่วมกันได้ ด้วยความรักและความรู้สึกเป็นเจ้าของเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์การ
ในขณะเดียวกันถ้าผู้บริหารเห็นพนักงานเป็นแค่เพียงแรงงาน หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรในโรงงาน ที่หาได้ทั่วไปตามท้องตลาด องค์การมีบุญคุณกับพนักงานที่มีงานให้ทำ มีเงินให้ใช้ พนักงานมีหน้าที่ต้องตอบแทนองค์การให้คุ้มค่า องค์การแบบนี้ก็จะมีปัญหาในเรื่องคนอย่างต่อเนื่อง เพราะคนที่มีคุณภาพก็ไม่อยากอยู่ คนที่อยู่ก็เพราะไม่มีทางไป ไม่มีคุณภาพ ซึ่งมีให้เห็นอยู่ทั่วไป
ดังนั้น เคล็ดลับสำคัญในการ "บริหารคน" ให้มีประสิทธิผลที่สุดก็คือการใช้หัวใจในการบริหาร ซึ่งมีองค์การแบบไทย ๆ หลายองค์การเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ เพราะทุนทางสังคมไทยยังมีให้หยิบมาใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเอื้ออาทรหรือหลักพุทธศาสนา ที่ทำให้สังคมไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตลอดมา โดยแท้จริงแล้วถ้าพิจารณากันให้ดีพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ก็คือ หลักการบริหารคนที่ดีที่สุด หลักธรรมง่าย ๆ ที่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลในการอยู่ร่วมกัน คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ตามหลักพุทธศาสนาผู้บริหารคนแบบมืออาชีพจะต้องสามารถ “การบริหารตน การบริหารคน และการบริหารงาน” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้ามองย้อนกลับไปทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นจากคนเพียงคนเดียว ก็คือตัวเรานั่นเอง จนกระทั่งถึงกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ขึ้น...มาดูกันค่ะว่า การบริหาร 3 ส่วนนี้มีความสำคัญอย่างไรกันบ้าง
1. การบริหารตน “อัตตาหิ อัตตโนนาโถ” แปลเป็นภาษาไทยว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” เป็นคำกล่าวที่น่าคิดทีเดียว สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้การบริหารตนมีประสิทธิภาพคือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดนั่นคือ “จิตใจ” เพราะหากคุณบริหารจิตใจของให้มีความเข้มแข็ง ไม่หวั่นไหวต่อสถานการณ์ใดที่จะมากระทบ ไม่ว่าสุข หรือทุกข์ คุณก็จะสามารถรับมือกับมันได้ เพราะหากมีสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นมากระทบในลักษณะของความรุนแรงปฏิกิริยาโต้ตอบกลับมักจะเป็นความรุนแรงเช่นกัน ซึ่งนั่นก็จะนำมาซึ่งความหายนะ หรือความล้มเหลวในการบริหารตนเองในที่สุดหากว่าจิตใจของคุณไม่เข้มแข็งพอ
2. การบริหารคน การจะบริหารผู้อื่นอาจมีความยากยิ่งกว่าการบริหารตน เพราะการบริหารตนเป็นการบริหารบุคคลคนเพียงคนเดียวก็คือ ตัวคุณเท่านั้น ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือ “การทำอย่างไรให้ “คน” เป็นคนที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากที่สุด” การสร้างแรงจูงใจถือเป็นสิ่งหนึ่งที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้คนมีความขยันขันแข็งและมีความมานะพยายามในการทำงาน อาทิ การจูงใจที่เป็นตัวเงิน (Financial Incentive) เช่น เงินเดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา เป็นต้น และการงจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงิน (Non-financial Incentive) เช่น “การมีผู้นำหรือผู้บริหารที่ดี” มีความสามารถ ความตรงไปตรงมา ใช้หลักจิตวิทยาในบริหาร มีความยุติธรรมไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ยอมรับฟังความคิดเห็นทั้งจากบุคคลที่มีความคิดเดียวกัน และฟังเหตุผลของผู้ที่มีความคิดเห็นขัดแย้งด้วย เพื่อนำเหตุผลดังกล่าวนั้นมาพิจารณาซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้ “การให้โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งงาน” สำหรับพนักงานที่มีความขยันขันแข็งทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ “การให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์การ” เพื่อให้พนักงานรู้สึกเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้องค์การประสบความสำเร็จ เป็นต้น
3. การบริหารงาน เป็นการที่ผู้บริหารองค์การจัดสรรงานและกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์การอย่างเป็นระบบ ระเบียบ โดยนำทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดในองค์การมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ที่องค์การกำหนดไว้ ผู้บริหารงานที่ดีจะต้องมีการกระจายอำนาจหน้าที่อย่างเหมาะสม มิใช่ให้งานกระจุกตัวอยู่ที่ตนหรือใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น เพราะจะทำให้การดำเนินงานเกิดการล่าช้า เสร็จไม่ทันตามเวลาที่กำหนด

การบริหารอย่างไรดี? ในโลกที่ไร้พรมแดน

ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไร้พรมแดน ส่งผลให้โลกแคบลง เทคโนโลยี และความรู้ทาง วิทยาการใหม่ๆเกิดขึ้น และถูกส่งต่อไปทั่วโลก อย่างไร้ขีดจำกัดผ่านช่องทาง อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีและ การรับรู้อย่างรวดเร็วเหล่าส่งผลในด้านความ เป็นส่วนตัวน้อยลง ความผิดพลาดในอดีตที่ถูกเก็บเอาไว้ เป็นความลับได้รับการเปิดเผยมากขึ้น ความโปร่งใส จริยธรรม ถูกตั้ง
เป็นประเด็นอย่างเข้มข้นในการ บริหารงานองค์กรในทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม ความสำคัญตกอยู่ที่ผู้นำองค์กร ได้แก่ กรรมการบริษัทซึ่งเป็น ผู้กำหนด นโยบาย และ CEO ผู้วางกลยุทธ์ในการ
ดำเนินการ จำเป็นต้องตระหนักในความเปลี่ยนแปลง เหล่านี้ด้วย และต้องปรับ ตัวให้ทันยุค เพราะทุกวันนี้หมดยุคเถ้าแก่เป็นจอมบงการหรือ อัศวินม้าขาว แล้ว อีกทั้งกฎหมายเกี่ยวกับ สังคมก็รุนแรงมากขึ้นในการคุ้มครองความปลอดภัย และสวัสดิภาพ
ของผู้บริโภค
ผู้นำยุคเก่า มีสถานะเป็นแบบเถ้าแก่ ใช้อำนาจตัดสินในทุกเรื่อง ไม่มีการกระจายอำนาจ เข้าไปยุ่งทุก เรื่องจนลูกน้องเกร็งไม่ต้อง
ทำอะไร อิงสามัญสำนึกของผู้นำอย่างเดียว ขาดการฟัง ความคิดเห็นของลูกน้อง อาศัยโชคชะตาและหมอดูเข้าช่วย ความสำเร็จ เกิดขึ้นก็ภูมิใจจนเคลิ้ม พอล้มเหลวก็โทษโชคชะตาหรือ คนอื่นทำให้เกิด ไม่มีการวางแผนและคำนวณผลลัพธ์ล่วงหน้าอย่างดี
บางคนทำธุรกิจตามใจชอบเหมือน เลือกเบอร์แทงหวย ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ที่จะได้เป็นที่ตั้ง บ้างก็เอาเปรียบลูกค้า ยังไม่พอ หัน มาเอาเปรียบพนักงานด้วยเพื่อกอบโกยความร่ำรวย ชอบใช้สินบนกับผู้มีอำนาจ เพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่จะได้ เห็นได้ดาษดื่นทั่วไปในบ้านเมืองเราไม่เว้นแม้แต่ผู้นำ ประเทศที่ร่ำรวยเงินทองมาจากสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งการฉวยโอกาสร่ำรวย จากการลดค่าเงินบาท อย่างไร้ยางอาย แต่กลับอ้างตนเป็นผู้นำยุคใหม่ (น่าจะเป็นผู้นำแบบเก่าที่เคลือบตัวแบบใหม่)ส่วนเถ้าแก่ ที่ประสพความสำเร็จมากก็มี หากถ้า มองลึกลง ไปในความสำเร็จของคนเหล่านั้น มักพบว่า ความเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมและไม่เอา รัด เอาเปรียบผู้คน ลูกค้า รักและมีน้ำใจกับลูกน้อง ไม่ทอดทิ้งยามลำบาก ล้วนมีในคนเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในธุรกิจ แบบยั่งยืนไปได้หลายรุ่นจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี แนวทางการบริหารในโลกที่ไร้พรมแดน ที่มีความเปลี่ยนแปลงและเข้าถึงอย่าง รวดเร็ว รวมทั้งการแข่งขันที่ดุเดือด รุนแรง ผู้นำในยุคใหม่จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ ตามให้ทัน และปรับตัว ให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นให้ได้ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

สิ่งที่ผู้นำต้องมีก็คือ มนุษยสัมพันธ์

ไม่มีใครสามารถเลียนแบบบรรดาผู้นำเก่งๆอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เจงกิสข่าน ซีซาร์ มหาตมะ คานที ที่ดิฉันได้เคยนำศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการของผู้นำเหล่านั้น มาเขียนเล่า ให้ท่านผู้อ่าน อ่านมาหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ไม่มีใครสามารถเป็นผู้นำให้เหมือนคนเหล่านี้ได้เช่นกัน แต่สิ่งที่เราทำได้ก็คือ ปรับปรุงเอากลยุทธ์ในการเป็นผู้นำของพวกเขาเหล่านั้นมาใช้ให้เหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นตัวของเราเองนั่นแหละดีที่สุดค่ะ ในขั้นแรกเราต้องเข้าในในบทบาทผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์ก่อนนะค่ะ ว่ายุคนี้เป็นยุคที่อาศัยความรู้เป็นฐานสำคัญในการดำเนินงาน ผู้นำต้องทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ตาม ผู้ร่วมทีมอย่างเป็นระบบเดียวกัน ไม่มองว่าตนเองอยู่เหนือผู้อื่น รู้ว่าหน้าที่ของตนที่แท้จริง คือ ต้องพยายามทำให้ผู้ร่วมงานทุ่มเทความสามารถในการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อผลประโยชน์ขององค์กร มีผู้กล่าวไว้ว่า การมีอำนาจบังคับ ไม่ใช่สิ่งบ่งบอกถึงความเป็นผู้นำ แต่ความเชื่อถือไว้วางใจผู้ร่วมงานต่างหาก คือตัวบ่งบอกที่ชัดเจน นอกจากนี้ บทบาทผู้นำยังเป็นหัวโขนที่เราต้องรู้จักใส่ และรู้จักถอดให้ถูกกาลเทศะ ยกตัวอย่างเช่น ในการทำงานเป็นทีม ที่ประกอบด้วยสมาชิกและผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ถึงแม้ว่าโดยตำแหน่งแล้วเราจะเป็นผู้นำ แต่ในบางเรื่องบางงานที่เราไม่มีความรู้ดีพอ เราก็ควรปล่อยให้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นเป็นผู้นำแทนเรา แต่ในบางเรื่องที่เรามั่นใจว่า ถ้าปล่อยไปเช่นนั้นแล้วจะเสียหาย เราต้องตัดสินใจลงมือโดยทันที
นอกจากนี้สิ่งที่ผู้นำพึงมีก็คือ ความรู้ เพราะผู้นำจะต้องมีความรู้ความชำนาญและมีการตัดสินใจ อันเป็นที่ยอมรับของทีม สามารถใช้ความรู้ต่างๆมาประเมินวิเคราะห์อนาคตของทีมได้อย่างแม่นยำ ความรู้ความสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ และความน่าเชื่อถือก็จะทำให้ผู้ร่วมงานยอมรับฟังเรา ดังคำกล่าวที่ว่า คนส่วนใหญ่ยอมให้นำได้ แต่มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่ยอมให้บังคับได้ ค่ะ และสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่ผู้นำต้องมีก็คือ มนุษยสัมพันธ์ ผู้นำต้องเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ของผู้ตาม เพื่อที่จะได้รู้ว่า ทำอย่างไรผู้ร่วมงานจึงจะยินดีทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับงานและ การเอาใจเขา มาใส่ใจเรา คือสิ่งสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจผู้ตามและผู้ร่วมงานคนอื่นๆ โดยผู้นำต้องมีความสามารถในการทำให้งานดำเนินไปด้วยดี จนสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่วางไว้ค่ะ

อับราฮัม ลิงเคิล์น

ดิฉันมีเรื่อง ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการของ อับราฮัม ลิงเคิล์น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 16 หนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยความวิริยะอุสาหะ และด้วยนโยบายเลิกทาส ที่นำอเมริกาสู่สงครามกลางเมือง อันเนื่องจากความไม่พอใจของบุคคลผู้มีอำนาจในบางรัฐ แต่ในที่สุดเขาสามารถชนะสงครามนี้ได้ แต่ความไม่พอใจก็ยังคงครุ
กรุ่นอยู่ และนำมาซึ่งจุดจบในชีวิตของท่าน มาเล่าให้ฟังค่ะ
อับราฮัม ลิงเคิล์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา อับราฮัม ลิงเคิล์น เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 เป็นบุตรของ โทมัส ลิงเคิล์น และแนนซี่ แฮงค์ ทั้งสองไม่ได้เรียนหนังสือและประกอบอาชีพชาวนา เค้าเกิดในครอบครัวที่ยากจนและลำบาก ในตะวันตกของเมือง ฮาร์ดิน มลรัฐแมสซาชูเซตส์ บรรพบุรุษของลิงเคิล์น มาตั้งรกรากที่เมืองนี้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ส่วนทายาทของเขาได้ย้ายถิ่นฐานจาก มลรัฐเพนซิลวาเนีย ไปยัง มลรัฐเวอร์จิเนีย บางครั้งโธมัส ลิงเคิล์น พ่อของอิบราฮัม ลิงเคิล์น ถูกคาดหวังและนำไปเปรียบเทียบกับพลเมืองที่มั่งคั่ง ในเขตพื้นที่เพาะปลูกใน มลรัฐเคนทักกี เขาทำให้น้ำท่วมฟาร์มในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เพื่อนำเงินสด 200$ นำไปใช้หนี้[4] ครอบครัวของลิงเคิล์น ชอบไปทำพิธีการทางศาสนาที่โบสถ์ ฮาร์ดเชลล์ แบบติสท์ แต่ตัวของ อับราฮิม ลิงเคิล์น ไม่เคยไปร่วมกับทางครอบครัวเลย
ในปี ค.ศ. 1816 ครอบครัวของลิงเคิล์นถูกบังคับให้มาเริ่มต้นทำนาใหม่ที่ เพอร์รี่ มลรัฐอินดีแอนา[5] จากนั้นเขาได้บันทึกไว้ว่า การย้ายถิ่นฐานในครั้งนี้เปรียบเสมือนการตกเป็นทาส
เมื่อลิงเคิล์นอายุ 9 ขวบ แม่ของลิงเคิล์นเสียชีวิต หลังจากนั้นไม่นาน พ่อของเขาได้แต่งงานใหม่กับ ซาห์ร่า บุช จอห์นสัน และอับราฮัม ลิงคอร์นก็ได้รับความอบอุ่นจากแม่เลี้ยงคนใหม่นี้มาก ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อของเขายังคงห่างเหิน[6]
ค.ศ. 1830 หลังจากปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาที่ดินในรัฐอินเดียนา บานปลายออกไปมากขึ้น ครอบครัวลิงเคิล์น จึงตัดสินใจย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่สาธารณะ[7] เมคอน มลรัฐอิลลินอยส์ หลังจากที่พายุฤดูร้อน พัดกระหน่ำจนบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ครอบครัวของเขาจึงตัดสินใจกลับไปอินเดียนา ปีถัดมา พ่อของลิงเคิล์น ย้ายครอบครัวไปยังบ้านและที่ดินใหม่ที่เมืองโคลส์ มลรัฐอิลลินอยส์
ลิงเคิล์นใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนเพียง 18 เดือนเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เขาชอบที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่า นอกจากนี้ลิงเคิล์น ยังมีทักษะเกี่ยวกับการใช้ขวานอีกด้วย[8] ลิงเคิล์นหลีกเลี่ยงการล่าสัตว์ การตกปลา เพราะเขาไม่ชอบฆ่าสัตว์[9
อับราฮัมเป็นผู้ที่ความอดทน และไม่ย้อท้อต่อตวามลำบากเคยทำแม้กระทั่งคนล้างจานในร้านอาหาร เขาเคยรับราชการเป็นทหารอาสา ได้ยศร้อยเอกในสงครามกับอินเดียนแดง คือสงครามแบล็กฮอว์ก เขาได้รับเลือกตั้งเข้าเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติในปีค.ศ.1840 ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1860 ลิงคอร์น ประกาศว่าเขาต่อต้านระบบทาสในสหรัฐอเมริกา[1][2] ลิงคอร์นชนะตัวแทนจากพรรครีพับลิกันในปี ค.ศ. 1860 และได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีในปีถัดมา ระหว่างการดำรงตำแหน่ง ลิงคอร์นได้ช่วยรักษาประเทศ โดยการเป็นผู้นำ ในการถอนตัวออกจาก ผู้สมรู้ร่วมคิดในสงครามประชาชนอเมริกัน ของรัฐบาลกลางสหรัฐในสงครามอเมริกัน เขายังได้แนะนำมาตรการในการเลิกทาส ซึ่งนโยบายอันนี้ได้ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1863 และได้รับการผลักดันให้บรรจุเข้าไปในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 13 ในปี ค.ศ. 1865 หลังจากนั้นได้มีการต่อต้านนโยบายของเขาจากรัฐต่างๆ ทำให้เกิดสงครามขึ้น แต่ในที่สุดฝ่ายของเขาก็ได้รับชัยชนะ และได้มีการปลดปล่อยทาส ให้เป็นอิสระในรัฐต่างๆ อับราฮัม ลิงเคิล์น ได้ติดตามในความพยายาม ในการทำสงครามเพื่อชัยชนะอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกนายพลระดับสูง ลิงเคิล์นได้เข้าไปช่วยเหลือแต่ละกลุ่มในพรรครีพับลิกัน เป็นอย่างดี การนำมาของผู้นำแต่ละกลุ่มเข้ามาร่วมในคณะรัฐมนตรีของเขา และบังคับให้พวกเขาเหล่านั้นร่วมมือกัน ลิงเคิล์นประสบความสำเร็จ ในการลดความรุนแรงของสงคราม ที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว (Trent Affair) กับสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1864
ฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับสงคราม (Copperheads) ได้วิจารณ์ลิงเคิล์นเกี่ยวกับการปฏิเสธ การทำข้อตกลงเกี่ยวกับนโยบายการเลิกทาส ความขัดแย้ง โดยเฉพาะพวกรีพับลิกันที่เป็นพวกหัวรุนแรง หัวหน้ากลุ่มที่มีความคิดในการเลิกทาสในพรรครีพับลิกัน ได้วิจารณ์ว่า ลิงเคิล์นออกมาเคลื่อนไหวช้าเกินไป ลิงเคิล์นประสบความสำเร็จ ในการปลุกระดมมวลชนโดยการพูดโน้มน้าวใจประชาชนในที่สาธารณะ อับราฮัม ลิงเคิล์น เป็น 1 ใน 4 ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่รูปใบหน้าได้รับการสลักไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมานต์รัชมอร์ (Mount Rushmore) ใบหน้าของเขาปรากฏอยู่บนธนบัตรราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ และเหรียญราคา 1 เซนต์ ชื่อของเขาถูกนำมาตั้งเป็นชื่อเรือดำน้ำนิวเคลียร์ และเรือบรรทุกเครื่องบิน
อับราฮัม ลิงเคิล์นถูกยิงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1865 เป็นประธานาธิบดีคนแรก ที่ถูกลอบสังหารในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา และทำให้เขากลายเป็นผู้เสียสละเพื่อความสามัคคีของคนในชาติในความคิดของประชาชนคนรุ่นหลัง

นักปราชญ์ขงจื้อ

ดิฉันมีเรื่อง ขงจื๊อ นักปราชญ์ทางความคิด ขงจื้อผู้อยู่ในศตวรรษที่๖ ก่อนคริสต์กาลนั้นเป็นนักคิด นักการศึกษาที่มีชื่อ เสียงในประวัติของจีน วิชาการสำนักหยู ที่เขาก่อตั้งขึ้นนั้น ได้กลาย เป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของวัฒนธรรมจีนยุคหลัง. ในสมัยศักดินาอันยาวนานของจีน ผู้ปกครองต่างนับถือความคิดสำนักปรัชญาขงจื้อ เป็นความคิดยึดประเพณีนิยมดั้งเดิม ด้วยเหตุนี้ วงศ์ตระกูลขงจื้อจึงเป็นวงศ์ตระกูลที่มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือกันมากตลอดมา มาเล่าให้ฟังค่ะ
ขงจื้อ เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ เมื่อทศวรรษ 1970 มีนักวิชาการชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้จัดให้ขงจื้อเป็นบุคคลอันดับที่ 5ใน100คน ที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่สำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื้อน่าจะอยู่อันดับแรกมากกว่า กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื้อ ไม่มากก็น้อย ขงจื้อ มีชื่อตัวว่า ชิว เป็นคนรัฐหลู่ (คำว่า”จื้อ ” เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็น“อาจารย์”) เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในปลายสมัยชุนชิว และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา“หยูเจีย” หรือสำนักปรัชญาขงจื้อนั่นเอง ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ขงจื้อเกิดที่รัฐหลู่ ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น“เมืองแห่งจารีตและ ดนตรี” มาแต่โบราณกาล การก่อรูปแนวคิดขงจื้อขึ้นอาจได้รับ อิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษา ของรัฐหลู่ ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อสัตย์สุจริตเลี้ยงดูขงจื้อมาด้วยความเข้มงวด กวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็น ผู้มีความรู้และมีคุณธรรม ขงจื้อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่างๆที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล ขงจื้อ “ตั้งตนเป็นอาจารย์ เมื่ออายุ30” และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื้อได้พลิกโฉม การศึกษาในสมัยนั้นโดยทำลาย ธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่ เฉพาะแต่ในราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น ขงจื้อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียน แม้“เนื้อตากแห้ง”เพียง ชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์ เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่าเป็นผุ้มีความรู้ปราดเปรื่อง และมีคุณธรรมสูงส่งถึง 70 คน จากสานุศิษย์ 7 0คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื้อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื้อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า “อาจารย์กล่าวว่า...” ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื้อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือชื่อว่า“หลุน-อวี่” บั้นปลายชีวิตขงจื้อก็ได้รวบรวม บันทึกพงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆมีชื่อว่า “ชุนชิว” ขงจื้อยังเป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญๆทางวรรณคดีจีนซึ่งเป็นที่ยกย่องกันภาย หลัง ได้แก่“ซูจิง”(ตำราประวัติศาสตร์) “ซือจิง”(ตำราว่าด้วยลำนำกวี) เป็นผู้ตรวจแก้ ”อี้ว์จิง” (ตำราว่าด้วยการดนตรี-แต่สาบสูญไปในภายหลัง )และ”หลี่จี้”(ตำราว่าด้วยจารีตประเพณี) หนังสือทั้ง 5 เล่มนี้เรียก รวมกันใน ภาษาจีนว่า ”อู่จิง” (คัมภีร์ทั้งห้า) ขงจื้อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่อง เมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่าง ยิ่ง ความคิดของขงจื้อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรก ที่ขงจื้อสอนสั่งคือ ”เหริน”หรือเมตตาธรรม เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ท่านขงจื่อเรียนถามท่านอาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่า เหริน ?" ท่านก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ "เหริน"
ดิฉันขอเล่าตัวอย่างของขงจื้อ จากหนังสือพงศาวดาร ซึ่งรวบรวมโดย ซือหม่าเซียน นักประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยราชวงศ์ฮั่นในหนังสือเล่มนี้ มีอยู่บทหนึ่งกล่าวว่า
จือ-อวี่ และ ใจ่-อวี่ เป็นศิษย์รุ่นราวคราวเดียวกันของบรมครูขงจื้อ ระยะแรกที่ศิษย์ทั้งสองมาสมัครเรียนวิชาความรู้กับบรมครูขงจื้อนั้น ได้รับท่าทีที่บรมครูแสดงออกแตกต่างกัน จือ-อวี่เป็นผู้ที่มีหน้าตาไม่น่าดู ครั้งแรกที่เขาเข้ามาคุกเข่ามอบตัวเป็นศิษย์นั้น บรมครูขงจื้อก็มีความรู้สึกว่า
“เด็กคนนี้หน้าตาอัปลักษณ์นัก เรียนไปก็คงไม่ได้ดี”
เมื่อมีความรู้สึกเช่นนี้ จึงทำให้บรมครูขาดความเอาใจใส่และเฉยเมยต่อเขา จื่อ-อวี่ เห็นดังนั้นจึงหมดความอดทนและเห็นว่า อยู่ต่อไปก็คงไม่ได้ความรู้ตามที่ตั้งใจมา จึงลาออกไปในที่สุด
ส่วนใจ่-อวี่ นั้นเป็นชายหนุ่มที่หน้าตาดี บรมครูขงจื้อนึกรัก ตั้งแต่ เห็นหน้าครั้งแรก และคิดว่า “เด็กคนนี้หน้าตาสะอาดหมดจด คงต้องมีอนาคตสดใสในการศึกษาเล่าเรียน”
ท่านจึงมีอุตส่าห์ตั้งใจอบรมสั่งสอนเป็นอย่างดี แต่การณ์หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ใจ่-อวี่ มีแต่ความเกียจคร้าน ตื่นสายไม่เอาไหนจนบรมครูขงจื้อ เอือมระอา ถึงกับขนานนามเขาว่า “ไม้ผุที่ใช้ แกะสลักลวดลายมิได้”
ส่วนจื่อ-อวี่นั้น เมื่อเสียใจไปจากท่านบรมครูขงจื้อแล้ว ก็มุมานะศึกษาเล่าเรียนจนกระทั่งต่อมาเขาได้ประสบความสำเร็จ เป็นนักวิชาการศิลปศาสตร์ ตั้งตนเป็นครู มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ในที่สุด จื่อ-อวี่ไ ด้เข้ารับราชการมีตำแหน่งเป็นถึงมหาอำมาตย์แห่งเมืองฉี ท่านบรมครูขงจื้อได้บันทึกความผิดพลาดของท่านเอาไว้แต่ในหนหลัง เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับอนุชนรุ่นหลังโดยไม่อายที่จะบอกถึงความผิดพลาดของตนเองในครั้งนั้นว่า
“เรื่องของใจ่-อวี่ สอนให้ข้าพเจ้ารู้ว่าอย่าเลือกคนจากวาจาหรือชื่นชมหน้าตาอันน่าพึงใจ” วาทะนี้จึงกลายมาเป็น “เลือกคน ให้ดูหน้า”
พอถึงวัยชรา ขงจื้อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป ภายหลังขงจื๊อได้ล้มป่วยหนัก และเจ็ดวันให้หลัง ได้อำลาโลก ตรงกับเดือนสี่ ทางจันทรคติ ในปีที่ 16 รัชสมัยอ๋องอี้ ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมใน ปี 479 ก่อนคริสต์ศักราช รวมอายุได้ 73 ปี ร่างถูกฝังไว้ที่ ซื่อ-สุ่ย ทางเหนือของรัฐหลู่ (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง)

หลักความรู้ ที่ขงจื้อได้วางรากฐานไว้ให้แก่ชนรุ่นหลังเป็นจำนวน 4 แขนงด้วยกัน ได้แก่ วัฒนธรรม ความประพฤติ ความจงรักภักดี และ ความซื่อสัตย์ โดยวัฒนธรรมเน้นถึงการเคารพบรรพบุรุษและพิธีการโบราณ ยึดถือผู้อาวุโสเป็นหลัก แต่ไม่ยึดติด หรืออายที่จะหาความรู้จากคนที่ต่ำชั้นหรืออายุน้อยกว่า ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย"

จูเลียส ซีซาร์

ดิฉันมีเรื่อง ศาสตร์และศิลป์ของ จูเลียส ซีซาร์ มาเล่าให้ฟังค่ะ
จูเลียส เกิด เมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในตระกูลขุนนางเก่าตระกูลหนึ่ง เป็นมนุษย์คนแรกที่เกิดโดยวิธีการผ่าตัดออกมาทางหน้าท้อง จูเลียสเป็นกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุยังน้อย คงมีแต่มารดาซึ่งคอยให้ความปกป้องคุ้มครองดูแลนับตั้งแต่เด็กมา จูเลียสไม่เคยคิดที่จะยึดเอาการทหารเป็นอาชีพอย่างแท้จริงเลยทั้ง ๆ ที่เขาเคยเข้าฝึกทหารอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เขาตั้งใจจะเป็นทนายความ หรือเป็นนักกฎหมายซึ่งเป็นอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในสมัยนั้นมากกว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกโจรสลัดจับตัวไปเรียกค่าไถ่ เมื่อเขารอดชีวิตกลับมา เขากลับรวบรวมสมัครพรรคพวกและเรือทั้งหลาย กลับไปยังเกาะที่เขาเคยถูกนำตัวไปกักไว้ ได้สู้รบกับบรรดาโจรสลัด จนได้ชัยชนะนำพวกโจรกลับมารับการลงโทษ เหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นว่า จูเลียสนั้นเป็นผู้ที่ชอบการสู้รบมาตั้งแต่เด็ก และก็ดูเหมือนว่าเขาจะมีชื่อเสียงที่สุดในด้านการทหาร เมื่ออายุ 21 ปี เขาได้รับเหรียญกล้าหาญ ในฐานะที่ได้ช่วยชีวิตทหารคนหนึ่ง ไว้ได้จากการรบ สามารถตีชนะประเทศต่าง ๆ ถึง 300 ประเทศ ได้เมืองต่าง ๆ ไว้ในอำนาจถึง 800 เมือง แม้แต่ในวงการทหารสมัยปัจจุบัน ก็ยังอดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมจูเลียส ซีซาร์ จึงสามารถเดินทัพ และทำสงครามเผด็จศึก ได้อย่างรวดเร็วถึงเพียงนั้น ทัพของโรมันได้ชัยชนะตั้งแต่ยุโรปทางตอนเหนือจรดยุโรปตอนใต้ จากสเปนไปจนถึงอาเซียน้อยและเรื่อยไปจนถึงอียิปต์ ตลอดเวลาของการเดินทัพ จูเลียส จะกินอยู่หลับนอนร่วมกับทหารเลวทั้งหมด ทั้งมักจะชอบแสดงถึงความกล้าหาญ ปราศจากความกลัวในภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงให้เหล่าทหารได้เห็น ครั้งหนึ่งเขาควบม้าอย่างรวดเร็ว เต็มฝีเท้าแต่กลับปล่อยมือจากสายบังเหียน แล้วยกขึ้นประสานไว้เหนือศีรษะ และอีกครั้งหนึ่งเขาได้ขอลองขึ้นขี่ม้าที่ขึ้นชื่อว่ายพยศที่สุด จนไม่มีใครกล้าขี่ ในการบุกทุกครั้ง จูเลียส จะเข้าร่วมอยู่ในกลุ่มทหาร ปฏิเสธไม่ยอมใส่แม้แต่หมวกเหล็ก เพื่อให้ทหารจำได้ เขาไม่เคยตกใจจนทำอะไรไม่ถูก และไม่ว่าจะทำอะไรเขาจะทำอย่างเชื่อมั่นในตนเอง ตลอดเวลาเขามักจะคิดถึง แต่ความสง่างามความยิ่งใหญ่ ของเขา
ต่อมาจูเลียสได้รับเลือกเป็นกงสุล และได้มีการแบ่งอำนาจกันระหว่างคู่สัญญาทั้งสาม ซึ่งทำให้จูเลียสได้โอกาสแผ่ขยายอำนาจต่อไปได้เต็มที่ ต่อมาเขาได้เข้าเมืองอียิปต์ ช่วยจัดการให้ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งกำลังมีเรื่องแย่งราชสมบัติกับพระอนุชา ให้ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ จนมีเรื่องลือกระฉ่อนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับพระนางคลีโอพัตรา ในตอนนี้จูเลียสก็ได้มีอำนาจเต็มที่ในโรม และได้รับการยกย่องให้เป็น "ผู้มีอำนาจปกครองโดยเผด็จการ" โดยกำหนดให้มีอำนาจอยู่ครั้งละสิบปี และต่อมาเมื่อเขาปราบปรามตีดินแดนทางแถบแอฟริกาและสเปนได้ เขาจึงได้รับการอนุมัติ ให้เป็น "หัวหน้าผู้เผด็จการ" ตลอดชีวิต ท่านผู้ฟังค่ะ ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะไม่มีความชั่วติดตัวเลย จูเลียส ซีซาร์เอง แม้ว่าจะมีความสามารถเก่งกล้ายิ่งนักในการสงคราม แต่ก็มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ มีความทะเยอทะยานอย่างรุนแรง เมื่อเล็ก ๆ เขามีชื่อเสียงในเรื่องการใช้เงินเปลืองจนเป็นหนี้สินเมื่อเติบโตมีอำนาจในมือ เขาก็จับจ่ายใช้สอยอย่างมือเติบทั้ง ๆที่ เงินนั้นเป็นของหลวง ในด้านการสงคราม จูเลียส ซีซาร์ ก็ถูกโจมตีว่าพาคนไปตายเสียมากต่อมาก แต่ในการรบในสมัยโน้น แต่ละฝ่ายต่างก็ยอมเสียทหารเป็นจำนวนมากเสมอ การสั่งประหารชีวิตแม่ทัพโกล ซึ่งยอมแพ้ต่อทัพโรมัน เมื่อครั้งจูเลียส ซีซาร์ พากองทัพอันเกรียงไกรเข้าไปบุกโกล เป็นตราบาปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา จูเลียสสั่งขังแม่ทัพโกลไว้ถึงหกปี แล้วจึงสั่งให้ประหารชีวิตทั้ง ๆ ที่มิได้มีความผิดใด ๆ เพียงแต่ต้องการให้เป็น เครื่องส่งเสริมบารมีของเขาเพียงคนเดียวเท่านั้นแต่ก็น่าแปลกที่ครั้งหนึ่งจูเลียส ซีซาร์ ได้ทราบข่าวว่าปอมเปย์ คู่อริที่ยิ่งใหญ่ของเขาถูกฆ่าแล้วในอียิปต์ จูเลียสก็ถึงกับทรุดนั่ง และร้องไห้อย่างไรก็ตาม แม้จูเลียสจะได้ชื่อว่าทารุณ โหดร้าย แต่เขาก็เป็นแม่ทัพที่ ทหารพากันจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง จนแทบจะพูดได้ว่า ไม่เคยมีทหารในสมัยใดจะ รักเจ้านายของตนยิ่งไปกว่าทหารรักซีซาร์ ที่ไหนมีอันตราย ที่นั่นซีซาร์จะเป็นคนแรกที่บุกเข้าไปก่อน ถ้าในการเดินทางกองทหารจำเป็นจะต้องข้ามแม่น้ำสักสายหนึ่งที่น่ากลัวที่สุด จูเลียสจะเป็นคนแรกที่ลงว่ายน้ำนำบรรดาทหารทั้งหลายลงไปผู้ยิ่งใหญ่ทุกคนย่อมมีศัตรู ในโลกนี้ มีคนอีกหลายคนที่ทนเห็นความสำเร็จของผู้อื่นไม่ได้ จูเลียส ซีซาร์ เป็นคน ๆ หนึ่งที่ถูกอิจฉาริษยา เขาเองก็รู้ตัวดี แต่เขาจำเป็นต้องทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็นเสียบ้าง คนที่คิดปองร้ายเขา คือนักโทษคนหนึ่งที่ซีซาร์เองเป็นผู้ออกคำสั่งให้ไว้ชีวิต จูเลียสไม่เคยคิดเลยว่า คน ๆ นี้จะเป็นคนที่ไว้ใจไม่ได้ เขาผู้นั้นมีชื่อว่า มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ซึ่งเขารับเป็นลูกเลี้ยงในเวลาต่อมา การลอบฆ่าซีซาร์ เป็นไปอย่างง่ายดาย ซีซาร์เองไม่เคยได้คิดถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย จึงไม่มีการระวังตัวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในวันที่ 14 มีนาคมก่อนคริสต์ศักราช 44 ปี ซึ่งเป็นวันก่อนวันเกิดเหตุร้ายเพียงหนึ่งวัน ก็ได้มีสัญญาณหลายอย่างที่แสดงว่า โลกเรากำลังจะต้องสูญเสียผู้ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่ง พายุพัดแรงจัด มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้าคัลเฟอร์เนีย ภรรยาของจูเลียส นึกสังหรณ์ใจ จนถึงกับกราบขอร้องอ้อนวอน มิให้สามีเธอเดินทางไปประชุมสภาเซเนทในวันรุ่งขึ้น แต่จูเลียสกลับหัวเราะเยาะราวกับเห็นเป็นเรื่องขบขันเสียเต็มประดา จูเลียส ดื้อรั้นที่จะไปประชุมในวันนั้นให้ได้ เมื่อเขาเดินผ่านห้องโถง รูปปั้นตัวเขาเองก็หล่นลงมาแตกละเอียดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย นอกจากนั้นระหว่างทาง มีชายคนหนึ่งแอบส่งจดหมายให้เขาฉบับหนึ่งขอร้องให้เขาอ่านก่อนที่จะเข้าประชุม แต่จูเลียสเพียงแต่กำไว้ในมือโดยไม่ทันได้อ่าน ถ้าเพียงแต่เขาจะได้มีโอกาสอ่านจดหมายฉบับนั้น ประวัติศาสตร์โรมันก็คงจะเปลี่ยนไปอีกเป็นคนละรูป เพราะในจดหมายฉบับนั้นมีรายชื่อของผู้ที่คิดวางแผนจะเอาชีวิตเขาทั้งหมด รวมทั้งแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการนั้นด้วย เช้าวันที่ 15 มีนาคม ก่อนคริสต์ศักราช 44 ปี ขณะที่จูเลียส ซีซาร์กำลังยืนอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการประชุมในสภาเซเนท แคสซิอุส มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ลูกเลี้ยงของเขา หนึ่งในจำนวนผู้วางแผนทรยศ ก็ได้ปักดาบคู่มือทะลุผ่านลำคอ ซีซาร์ยกมือขึ้นรับ แต่ก็ไม่สำเร็จ เขาล้มลงขาดใจตายจมกองเลือดอยู่ ณ ที่นั่นเอง

ศิลปะการบริหารงานแบบ เซน

ดิฉันมีเรื่อง ศิลปะการบริหารงานแบบเซนมาเล่าให้ฟังค่ะ   มีวัดแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น มีไก่ฝูงหนึ่ง ทุกๆเช้าเวลาประมาณตีห้า ไก่ที่เป็นจ่าฝูงจะลุกขึ้นมาขัน พอขันเสร็จแล้วก็จะเฝ้ารอพระอาทิตย์ขึ้นประมาณหกโมงเช้าทุกวัน หลังจากที่ขัน ไก่ตัวนั้นก็เฝ้าสังเกตดูพระอาทิตย์ จนมีความคิดว่าพระอาทิตย์ขึ้นก็เพราะตัวเองขัน          ดังนั้นถ้าวันไหนที่ฉันไม่ขัน พระอาทิตย์ก็จะไม่ขึ้น ไก่ตัวนั้นสรุปออกมาอย่างนั้นจนมีความเชื่อเช่นนั้นมานานปี และทุกๆเช้ามันก็จะกุลีกุจอมาขันทุกวันเป็นประจำ และก็เฝ้ารอพระอาทิตย์ขึ้นทุกวันรวมทั้งยังมีความกังวลว่า ถ้าวันไหนตัวเองไม่ขัน พระอาทิตย์ไม่ขึ้นแน่ๆ  ต่อมาวันหนึ่ง ไก่ตัวนั้นเกิดป่วยขึ้นมา  จึงโก่งคอขันไม่ได้ พยายามเปล่งเสียงอย่างไรก็ไม่มีเสียงเหมือนเช่นทุกวัน มันจึงมีความห่วงใยโลกว่า ถ้าวันนี้ขันไม่ได้ พระอาทิตย์จะไม่ขึ้นก็พยายามอยู่อย่างนั้น จนไก่โต้งลูกชายมองเห็นอาการผิดปกติของพ่อ จึงถามพ่อว่า พ่อให้ผมขันแทนพ่อไหม๊?  ผมก็เสียงดีนะ  ฝ่ายพ่อมองลูกตั้งแต่หัวจรดเท้า  แล้วถามว่า เอ็งนึกว่าเอ็งเป็นใคร จะมาขันแทนพ่อ  น้ำหน้าอย่างเอ็งมายืนขันแทนชั๊น คิดว่าตะวันจะขึ้นได้อย่างนั้น รึ? ลูกชายหน้าจ๋อยไปเลย  ทั้งๆที่เจ็บคอมาก แต่ไก่ตัวนั้นก็ยังฝืนสังขารลุกขึ้นมาขัน  ขันเสร็จเฝ้ารอพระอาทิตย์ขึ้น แต่ยังไม่ทันได้เห็นว่าพระอาทิตย์ขึ้นหรือเปล่า ก็ขาดใจตายเสียก่อน ไก่ผู้เป็นพ่อไม่เคยรู้สักนิดว่า การที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือไม่ขึ้น ไม่เกี่ยวกับการขันของมันเลย ไก่ตัวนั้นเข้าใจผิดจนตัวตาย ว่าที่พระอาทิตย์ขึ้น เพราะเกี่ยวกับการขันรับพระอาทิตย์ของมัน  ผู้บริหารหรือผู้นำที่ดี ต้องมีวิธีการบริหารที่จะทำให้ชนะใจลูกน้อง สิ่งที่จำเป็นมากสำหรับคนที่เป็นผู้นำก็คือ ต้องแบ่งงานให้คนอื่นช่วยทำ ช่วยบริหาร ช่วยจัดการ ถ้าไม่แบ่งงานให้คนอื่นช่วยทำ ผู้นำก็ต้องแบกภาระนั้นอยู่แต่ผู้เดียว จะต้องรู้สึกหนักทั้งกายและหนักทั้งใจ จากนั้นสุขภาพ ก็จะส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่พร้อมกันเดินเข้าหาท่านผู้นำเหล่านั้น   

การเริ่มต้นเดินทางของมนุษย์ เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำนั้น เราจะต้องมีความรัก และจะต้องมีความลุ่มหลง และต้องหัดหมั่นถามตัวเองว่า เรารักอะไร รักที่จะทำอะไร และเราลุ่มหลงที่จะทำอะไร อยากเป็นอะไร เพราะคนที่ประสบความสำเร็จเขามักจะถามคำถามแบบนี้กับตัวเอง ที่สำคัญคนที่ประสบ ความสำเร็จเขารักในสิ่งที่เขาทำ และจะทำในสิ่งที่ตัวเองรักเท่านั้น  เพราะความรักทำให้เกิดพลัง พลังเป็นผลพลอยได้ของความรัก และความรักทำให้เกิดแรงกระตุ้นไปข้างหน้า  เพราะฉะนั้นถ้าคุณอยากทำตามจุดประสงค์ของคุณ คุณก็ต้องรู้ว่าคุณรักที่จะทำอะไร" "นอกจากนั้นเราจะต้องรู้จุดแข็ง ของตัวเอง หรือรู้ความสามารถของตัวเอง และพยายามทำในสิ่งที่เรามีนั้น ซ้ำๆ กัน  อยู่เรื่อยๆ จนเกิดความชำนาญ อย่าไปทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด เป็นอันขาด เพราะจะทำให้เสียเวลา"

การที่มนุษย์คนหนึ่ง จะประสบความสำเร็จในชีวิต จนก้าวขึ้นเป็นผู้นำนั้น เขาจะต้องรู้จุดประสงค์ ในชีวิต และเมื่อรู้จุดประสงค์แล้ว จะต้องพยายามค้นหา และจะต้องพยายามไปให้ถึงเป้าหมาย การที่คนๆหนึ่ง จะประสบความสำเร็จ หรือเป็นผู้นำคนอื่นได้นั้น เราต้องรู้จุดประสงค์ของตัวเอง ต้องมีความฝัน และจะต้องมีการบริหาร การตัดสินใจ ทั้งยังต้องเพิ่มคุณค่าให้ผู้อื่น เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพ เพราะถ้าทำทั้งหมดนี้ได้ คุณก็จะเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จและไม่ใช่แค่วันนี้วันเดียว หากแต่ต้องปฏิบัติเช่นนี้ ตลอดไปด้วยค่ะ

สามก๊ก : ก๊กเล่าปี่

ดิฉันมีเรื่อง ศาสตร์และศิลป์ของการบริหารจัดการในสามก๊ก มาเล่าให้ฟังค่ะ   สามก๊กเป็นวรรณกรรมอมตะของจีนที่ทั่วโลกต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี สามก๊กเป็นการอิงชัยภูมิแผ่นดินจีนสมัยปลายแผ่นดินฮั่น ซึ่งแบ่งแผ่นออกเป็น สามส่วนคือ  ก๊กโจโฉหรือเรียกว่า วุยก๊ก   ก๊กซุนกวนเรียกว่า ง่อก๊ก  และก๊กเล่าปี่ เรียกว่า จ๊กก๊ก  ใครก็ตามที่ได้อ่านและศึกษาวรรณกรรมเล่มนี้ ต้องยอมรับว่าเป็นสุดยอดของวรรณกรรม ที่นำเรื่องการบริหารมาถ่ายทอดผ่านฉากการทำสงครามในประวัติศาสตร์ได้อย่างลึกซึ้ง โดยผู้อ่านแต่ละคนจะสามารถดึงสิ่งที่ซุกซ่อนอยู่ในวรรณกรรม ออกมาใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงไร ซึ่งเราสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรในทุกยุดสมัย โดยอาศัยหลากแง่มุมของพงศาวดารจีนเรื่องนี้ มาใช้ในการบริหารจัดการ

เล่าปี่และขงเบ้ง เป็นตัวเอกของเรื่องสามก๊ก เล่าปี่นั้นเมื่อเด็กชื่อ เหี้ยนเต็ก ไม่สู้รักเรียนหนังสือ ชอบทางบู้มากกว่าบุ๋น  แต่เป็นคนมีปัญญา น้ำใจนั้นดี  ฉลาดและมีคุณธรรม ครั้นมีความโกรธหรือความยินดีก็ตามที มิได้ปรากฏออกมาภายนอก ด้วยความ เป็นคนสุขุม รู้จักควบคุมอารมณ์ จิตใจนั้นเอื้ออารี มีเพื่อนฝูงมาก ใจกว้างขวาง  เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี หรือที่เรียกว่า human relation skills สูง  หมายจะเป็นใหญ่กว่าคนทั้งปวง มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง เป็นผู้ก่อตั้งจ๊กก๊ก 

 ส่วนขงเบ้ง  ผู้ที่แสดงให้คนเห็นว่า ปัญญาคืออาวุธ ที่เหนือกว่าอาวุธใดๆ ที่สำคัญ เราไม่ต้องมาแบกปัญญาให้หนักกาย ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่า ขงเบ้ง จะออกรบด้วยพัดเพียงเล่มเดียวเท่านั้น  ขณะอายุเพียง 28 ปีก็ได้พบกับเล่าปี่  เมื่อเล่าปี่อายุ 48 ปี ทั้งสองอายุห่างกันราวพ่อกับลูก แต่กษัตริย์เล่าปี่ กลับกล้าที่จะมอบกำลังทหารทั้งหมด ที่เค้ามีอยู่ในขณะนั้น  ให้ขงเบ้งบริหาร ทำให้ขงเบ้งยกย่องเล่าปี่  ท่านผู้ฟังค่ะลองคิดดูซิค่ะว่า มีเจ้าของธุรกิจคนไหนบ้างที่กล้ายกธุรกิจทั้งหมดของตัวเอง ให้เด็กหนุ่มอายุรุ่นราวคราวลูกจัดการทั้งหมด ซึ่งกลวิธีการบริหารจัดการของเล่าปี่ก็คือ ดูแลได้แต่ไม่ไปก้าวก่าย พยายามรักษามารยาท ให้ผู้อื่นอยากทำงานด้วยไปนานๆ  ซึ่งการบริหารของเล่าปี่เป็นการให้เกียรติและให้อำนาจเป็นอย่างมากแก่ขงเบ้ง ประกอบกับขงเบ้งก็เป็น CEO มืออาชีพที่เพียบพร้อมทั้งสติปัญญาและจริยธรรม เทคนิคการบริหารคนชั้นยอดของเล่าปี่ก็คือ ขงเบ้งที่ถือว่าฉลาดกว่าเล่าปี่มาก ไฉนจึงยอมรับใช้เล่าปี่  แม้เล่าปี่ตาย ยังยอมรับใช้ลูกเล่าปี่จนกระทั้งตัวตาย  ขงเบ้งยามออกศึก จะบัญชาการการรบ บนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนห่านเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า เป็นคนที่มีสติปัญญา สามารถคาดเดาสิ่งต่างๆล่วงหน้าได้ เหมือนมีญาณวิเศษ เทียบกับปัจจุบันก็เรียกได้ว่าวิสัยทัศน์ หรือ VISION กว้างไกล และแม่นยำเหนือคนธรรมดา

เล่าปี่นั้น ด้วยความที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีมาก จนบางครั้งก็ถูกเรียกว่า เป็นผู้พนมมือได้ทั้งสิบทิศ  เป็นตัวละครที่ไม่ใช่ฮีโร่นักรบที่เก่งกล้าเมื่อเทียบกับกวนอูและเตียวหุย ที่เป็นน้องร่วมสาบาน ไม่ปราญเปรื่องหยั่งรู้ฟ้าดินเหมือนขงเบ้ง แต่เล่าปี่มีจุดเด่นที่สามารถทำให้คนเก่งระดับตำนานหลายๆคน มาทำงานให้อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์ภักดี ไม่แปรพักตร์แม้ถูกเกลี้ยกล่อมซื้อตัวด้วยลาภสักการะที่เย้ายวน จุดแข็งที่สำคัญประการหนึ่งของเล่าปี่ คือ การให้ความเคารพ ให้เกียรติผู้อื่นอย่างเสมอต้นเสมอปลายเป็นธรรมชาติของตัวเอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ได้คนเก่ง คนดี มาร่วมงานด้วย

สามก๊ก : ก๊กโจโฉ

ดิฉันมีเรื่อง ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการของโจโฉในสามก๊ก มาเล่าให้ฟังค่ะ   โจโฉ เป็นหัวหน้าวุยก๊ก เป็นคนเก่ง และมีความสามารถสูงมาก เปรียบกับผู้บริหารที่ดี ก็คือ รู้จักเลือกใช้คนอื่นทำงานแทนตัว ผู้บริหารไม่จำเป็นต้องทำได้หรือรู้ในทุกเรื่อง แต่ต้องรู้จักเลือกคนที่มีความเหมาะสม คุณสมบัติในข้อนี้โจโฉมีเกินร้อยค่ะ  เป็นยิ่งกว่ามืออาชีพ  

ในคราวหนึ่ง พวกขุนนางดีๆ รวมตัวกัน จะหาทางฆ่า ตั๋งโต๊ะ ตอนนั้น โจโฉ ก็รวบรวมพล จัดตั้งกองทัพปฏิวัติขึ้น ก็แต่งตั้ง แม่ทัพสูงสุด ชื่ออ้วนเสี้ยว ก็มีคนมาสมัครมากมาย ในจำนวนนั้นก็มี เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุย ที่รวบรวมคนมาได้จำนวนนึง  ทั้งสามอาสาเข้ามาด้วย เรียกได้ว่า เป็นที่สะดุดตาคนเลยล่ะค่ะ ซักประวัติกันดู ก็รู้ ว่า หนึ่งในสามนั้น แซ่เล่า เป็นราชนิกูลตกยาก หน้าขาว คือ เล่าปี่  อีกคน หน้าแดงเหมือนพุทราสุก หนวดกับคิ้วสวยเหมือนเส้นไหม ร่างกายกำยำสูงใหญ่ ถือง้าวอันใหญ่มากคือ กวนอู  อีกคนหน้าดำปิ๊ด คางใหญ่เหมือนขากรรไกรเสือ ท่าทางทางบ้าดีเดือด ตาขวางเหมือนคนชอบหาเรื่องทะเลาะอยู่ตลอดเวลา อาวุธก็แปลกเหมือนกัน เป็นทวนยาว ยาวกว่าทวนที่คนอื่นๆใช้กัน ตรงปลายเป็นรูปงู คดๆเลี้อยๆคือ เตียวหุย   ทั้งสามคนนี่ พออ้วนเสี้ยว  เห็นแต่แรกก็ดันไปนึกดูแคลน ส่วนคนอื่นๆในกองทัพก็คิดแบบเดียวกัน ยกเว้นแต่โจโฉ ผู้นำที่เป็นนักอ่านคนตัวยงคนนี้

ในออกรบกันครั้งแรก  ทหารเอกของ กองทัพปฏิวัติโจโฉมีทั้งหมด 17 กอง ตายหมด โดนฮัวหยง องครักษ์ของลิโป้ ตัดหัวในสนามรบตายเรียบโดยที่รบกันยังไม่ถึง 3 เพลงด้วยซ้ำไป เล่นเอา คนที่เหลือ กลัวกันหัวหดไม่กล้าออกรบอีก เลยจัดประชุมขึ้น ใครๆก็ไม่กล้า กวนอูก็เลยอาสาเอง แต่อ้วนเสี้ยวกลับสั่งเฆี่ยนซะนี่ โทษฐานที่เป็นทหารเลว ไร้ฝีมือในการรบ แล้วดันอาสา  โจโฉเห็นแบบนั้น เลยออกมาคัดค้าน ขอให้คิดใหม่ น่าจะให้กวนอูลองออกรบดู เพราะถ้าทำไม่ได้ ยังไงๆ กวนอูก็ต้องตายอยู่ดี แต่อ้วนเสี้ยวก็ยังยืนกรานต่อ โจโฉต้องเลยขอ มติที่ประชุม ชนะไป (เห็นมั้ยคะ ความเป็นผู้นำที่ดีของโจโฉ ถึงแม้ ตัวเองจะเป็นนายใหญ่ แต่ในกองทัพ อ้วนเสี้ยวเป็นใหญ่ วิธีการค้านถ้าโจโฉจะสั่งคำเดียวก็ทำได้ เรียกว่าไม่ก้าวก่ายหน้าที่ ผู้ใต้บังคับบัญชา) แต่งานนี้ ใช้มติที่ประชุมแทน ฉลาดยอดคนจริงๆ อ้วนเสี้ยวมีเสียงเดียว ก็เลยแพ้ไป

จากนั้น โจโฉ แสดงน้ำใจต่อผู้กล้าหาญโดยการรินเหล้าให้กวนอู แต่ กวนอูบอก ยังไม่รับ เพราะตัวเองต่ำต้อยเป็นทหารเลว ไร้ฝีมือ แล้วเดี๋ยวคนจะว่า ตัวเองรบได้เพราะเมา ว่าแล้วก็เดินออกไปนอกค่าย คนอื่นๆ ก็ พากันตามออกไปดู เดินไปยังไม่ทันถึงประตู กวนอูก็เดินสวนกลับมา พร้อมกับหัวของฮัวหยง  กลับมาถึงก็รับเหล้าจอกเดิมนั้นดื่มในขณะที่เหล้าที่โจโฉรินไว้แต่แรกนั้นยังอุ่นอยู่ ท่านผู้ฟังค่ะลองวิเคราะห์ดูนะค่ะ ประเทศจีนในยุคนั้นอากาศค่อนข้างเย็น เนื่องจากเป็นช่วงฤดูใบไม่ร่วง เพราะการยกทัพต่อสู้มักทำกันในช่วงฤดูใบไม้ร่วง เพราะเป็นช่วงที่ผ่านการเก็บเกี่ยวพืชผลทางเกษตรกรรมเรียบร้อยแล้ว หากชนะก็จะได้เสบียงของเชลยกลับมาด้วย อีกทั้งม้าศึกก็มีความพร้อมทางร่ายกายและกำลังวังชา เพราะสัตว์เหล่านั้นเตรียมกินอาหารสะสมไว้ตั้งแต่ฤดูร้อนที่ผ่านมาแล้ว งานนี้กวนอูไม่ได้รับ รางวัล หรือความชอบอะไรเลยค่ะ เพราะ อ้วนเสี้ยวแกงอน บอก ถ้าจะให้รางวัลกวนอู  แกจะถอนกองทหารของเค้าออก ไม่ร่วมด้วย  

ท่านผู้ฟังค่ะ โจโฉ ฉลาดค่ะ เอา หมู ไก่ เหล้า ไปให้ สามพี่น้อง เป็นการส่วนตัวถึงที่แทน งานนี้ทำให้ โจโฉ ซื้อใจกวนอูได้หมด

ใจเลยค่ะ

เห็นไหมค่ะ นอกจากการ รู้จักดูคน เลือกใช้คนเป็นแล้ว โจโฉ ยัง รู้จักการ บำรุงขวัญผู้ใต้บังคับบัญชาหรือทหารให้ภักดี ที่สำคัญ เป็นผู้นำที่ไม่ถือตัว เรียกได้ว่า เป็นเสน่ห์ของคนเป็นนาย ที่รู้จัก

ให้เกียรติผู้น้อยนั่นเองค่ะ

ผู้นำแบบ จิ๋นซีฮ่องเต้

ดิฉันมีเรื่อง ศาสตร์และศิลป์ของการบริหารจัดการของจิ๋นซีฮ่องเต้ มาเล่าให้ฟังค่ะ  

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ ผู้ริเริ่มการปกครองแบบรวบอำนาจไว้ส่วนกลาง สันนิษฐานว่าประสูติเมื่อ 260 ปีก่อนคริสตกาล ทรงเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นฉิน   จากการรวมประเทศในสมัยราชวงศ์นี้ ทำให้กลายมาเป็นคำเรียกว่าจีนในภาษาไทย และ china ในภาษาอังกฤษ

ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าพระองค์เป็นบุตรของใคร แต่โดยทั่วไปเชื่อว่าเป็นบุตรชายของพ่อค้าคนสำคัญคนหนึ่ง ที่ต่อมาภายหลังได้เป็นเสนาบดีคนสำคัญของแคว้นฉิน ชื่อ หลี่ปู้เหว่ย กับมารดาที่เป็นนางสนมชื่อ เจ้าจี แคว้นฉินเป็นแคว้นหนึ่งในประเทศจีน สมัยนั้นซึ่งยังมีแว่นแคว้นต่างๆ มากมาย และมีเจ้าผู้ครองแคว้นของตนเอง  ต่อมา ฉินอ๋อง หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้ทรงรวบรวมแว่นแคว้นต่างๆ เข้ามาเป็นปึกแผ่น เป็นจักรวรรดิจีน และทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ -หวงตี้ องค์แรกของจักรวรรดิจีนตั้งแต่ พ.ศ. 323  โดยขนานนามพระองค์เองว่า เป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่งราชวงศ์จิ๋นหรือราชวงศ์ฉินของพระองค์ ขณะมีอายุเพียง 15 ปี แต่ก็เป็นจุดหักเหสำคัญของประวัติศาสตร์จีน ในการที่จะรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นได้นั้น จิ๋นซีฮ่องเต้และเสนาบดีของพระองค์ นาม หลี่ซือ ต้องยกกองทัพไปตีแคว้นต่างๆ รัฐฉิน ค่อยๆผนวกเอาดินแดนทั้ง6รัฐ รวมเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน และสถาปนาราชวงศ์ฉินขึ้น เป็นราชวงศ์แรกที่มีความเป็นเอกภาพ มีหลายชนชาติและใช้ระบบการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจไว้ที่อำนาจส่วนกลาง เพื่อขจัดความกระด้างกระเดื่องของเชื้อพระวงศ์ 6 รัฐเดิม โดยมี หลี่ซือ อัครมหาเสนาบดีเสนอแนะให้รวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง จิ๋นซีฮ่องเต้ ทรงเห็นชอบด้วย กล่าวโดยสรุปแล้วก็คือ สลายระบบเจ้าผู้ครองนครรัฐ การใช้อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่องค์จักรพรรดิหรือฮ่องเต้ แต่ผู้เดียว แบ่งเขตการปกครองราชอาณาจักรออกเป็น36 จังหวัด แต่ละจังหวัดมีผู้ว่าการทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร และตำแหน่งผู้ตรวจการอีกตำแหน่งหนึ่ง แต่ละเขตยังแบ่ง เขตปกครองออกเป็นอำเภอ และรองลงมาเป็นตำบลและหมู่บ้านตามลำดับ  ซึ่งการแบ่งเขตปกครองระดับจังหวัด 36 จังหวัดๆ หนึ่งๆ แบ่งเป็นอำเภอขึ้นตรงต่อส่วนกลาง  ห้ามบรรดาเจ้าราชนิกุล อำมาตย์ และบุคคลใหญ่โตมีที่ดินเป็นของตนเอง เพื่อให้การปกครองขึ้นอยู่กับฮ่องเต้โดยตรง ส่วนแผนกวาดล้างอาวุธ ให้แต่ละถิ่น รวบรวมอาวุธยุทธภัณฑ์ที่เป็นโลหะของชาวบ้านเอามาหลอมเป็นรูปคนตั้งไว้กลางนครเพื่อเป็นเครื่องประดับรวม 12 ตัว ตัวหนึ่งหนักราว 144,000 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังแก้ไขอักษรจีนให้เขียนสะดวกขึ้น ขณะเดียวกันจิ๋นซี ยังสั่งให้สร้างถนนหลวงไว้หลายสาย ขนาดกว้าง 75 เมตร สองข้างทางปลูกต้นไม้ใหญ่ ส่วนผลงานที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากคือ การฆ่าหมู่นักศึกษาที่เป็นปรปักษ์ และการเกณฑ์ชาวบ้านไปสร้างกำแพงเมืองจีนยาวเหยียดถึง 2,200 กิโลเมตรเพื่อรักษาอาณาเขต รวมถึงการเผาทำลายหนังสือและสังหารนักปราชญ์ไปจำนวนมาก  ซึ่งทำให้ศิลปะวิชาต่างๆต้องชะงักลง เพราะไม่สามารถสร้างวิชาอะไรขึ้นมาได้อีก  เนื่องจากฉินซีฮ่องเต้ทรงเกรงว่านักคิดปัญญาชนเรียนรู้ประวัติศาสตร์แล้วจะนำความรู้ที่เล่าเรียนมา คัดค้านการปกครองและทำให้ ประชาชนในอาณาจักรพลอยสับสนไปด้วย พระองค์จึงมีพระบรมราช โองการให้เผาทำลายหนังสือประวัติศาสตรที่บันทึกเรื่องราวของรัฐต่างๆ ทั้งหมด ยกเว้นประวัติศาสตร์ของรัฐฉิน และหนังสือว่าด้วยการแพทย์ การทำนายพยากรณ์และการเกษตร ตามข้อเสนอของหลี่ซือ เสนาบดี ของพระองค์ ส่วนใครที่ยังชอบวิพากษ์วิจารณ์ พระองค์ จะทรงถือเป็น การดูหมิ่นพระองค์อย่างรุนแรง ทรงมีบัญชาให้ดำเนิน การสอบสวน และท้ายสุด ให้ลงโทษด้วยการฝังทั้งเป็น เนื่องจากพระองค์ทรงดำริว่า  ถ้าต่างแคว้นต่างมีวัฒนธรรมความคิดของตนเองแล้ว การที่จะทำให้แผ่นดินเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวนั้นไม่มีทางเป็นไปได้ 

ทางด้านเศรษฐกิจ ฉินซีฮ่องเต้ทรงสนพระทัยการเกษตร แต่ไม่ได้ส่งเสริมการค้า ส่งเสริมการพัฒนาระบบกรรมสิทธิ์ส่วนตัวของที่ดินแบบสังคมศักดินา ฉินซีฮ่องเต้ทรงสั่งการให้เจ้า ของที่ดินและเกษตรกรที่ทำไร่ไถนา ซึ่งได้ครอบครองที่ดินอยู่แล้วเพียงแต่ แจ้งจำนวนที่ดินและเสียภาษีแก่รัฐบาลเท่านั้น รัฐบาลก็จะให้การรับรอง หรือคุ้มครองกรรมสิทธิ์ของพวกเขา จากนั้น จึงได้กำหนดระบบ กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในที่ดินไว้ตั้งแต่บัดนั้น เพื่อให้การปกครองทั่วทั้งอาณาจักรได้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิ ภาพและให้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันได้โดยสะดวก ฉินซีฮ่องเต้ ทรงมีพระบรมราชโองการกำหนดให้ ทั่วทั้งอาณาจักรใช้ภาษาหนังสือ มาตราชั่งตวงวัดเป็นมาตรฐานอย่างเดียวกันทั้งหมดและเพื่อให้สะดวกในการเคลื่อนย้ายกำลังทหาร การติดต่อคมนาคมและการสื่อ สารระหว่างกันภายในอาณาจักร

ฉินชีฮ่องเต้ทรงบัญชาให้สร้าง ทางหลวงขึ้นรวมทั้งให้ขุดคลองเพื่อการคมนาคมทางน้ำด้วย นอกจากนั้น ยังมีการสร้างถนนระหว่างมณฑลหูหนาน เจียงซี กว่างตุงและกว่างซี ในปัจจุบัน
ตลอดไปจนถึงเขตที่อยู่ห่างไกล นอกจากตัดถนนแล้ว ยังมีการขุดคลองหลิงฉวีในเขตปกครองตนเอง เพื่อเชื่อมกับแม่น้ำหลีเจียงและแม่น้ำเซียงเจียงในมณฑลหูหนานในปัจจุบัน พระองค์ทรงริเริ่มสร้างผลงานที่โลกต้องยกย่องให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ซึ่งก็คือ กำแพงเมืองจีน มีระยะทางราว6,000กิโลเมตร เท่ากับ12,000ลี้  หรือกำแพงหมื่นลี้ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อป้องกันประเทศจีนจากชนเผ่าทางเหนือ โดยการสร้างครั้งนี้ มีการบันทึกว่ามีประชาชนชาวจีนและเชลยศึกจำนวนมหาศาลต้องสังเวยชีวิตไปในการสร้างกำแพงครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังมีสุสานของพระองค์ ซึ่งยังปริศนาให้ชาวโลกรอไขความจริง

แม้ว่าพระองค์ จะทรงถูกชาวโลกจดจำว่าเป็นจักรพรรดิผู้โหดเหี้ยมหรือเป็นทรราชย์องค์หนึ่งของโลก แต่ชาวจีนก็ยังคงยกย่องพระองค์ให้เป็นบิดาผู้รวบรวมประเทศจีนให้เป็นปึกแผ่น ซึ่งเคยแตกกระจายเป็นแว่นแคว้นต่างๆ มานานกว่าสองสหัสวรรษ และการปฏิรูปทั้งหลายของพระองค์ ก็ยังคงมีผลกระทบถึงคนเราในปัจจุบัน และต่อมาแคว้นฉินก็แตกได้อย่างง่ายดายในปี 337 หลังจากจิ๋นซีฮ่องเต้ สวรรคต เนื่องจากอำนาจทั้งหมดควบคุมไว้ที่ศูนย์กลางที่เดียว