Monthly Archives: October 2009

แม่ทัพใหญ่ กับการนำทัพองค์กรต่อสู้ให้อยู่รอด

แม่ทัพใหญ่ นำทัพต่อสู้ให้อยู่รอดและประสบชัยชนะได้นั้นเป็นเรื่องไม่ธรรมดา โดยเฉพาะในยุคนี้สมัยนี้ สภาพเศรษฐกิจที่ประสบปัญหากันทั่วโลก สังคมที่มีประชากรโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทรัพยากรธรรมชาติมีจำกัด มีสภาพขาดแคลน มีไม่พอ ทั้งยังเกิดภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะโลกร้อน การเกิดภัยทางน้ำเช่นคลื่นยักษ์ การเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ทำลายบ้านเมืองเช่นที่เกิดที่ประเทศจีน ภาวะการขาดแคลนพลังงาน น้ำมันแพง สิ่งแวดล้อมภายนอก เกิดผลกระทบที่สำคัญต่อองค์กร สิ่งแวดล้อมภายใน ยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นเดียวกัน การขัดแย้งกันที่นำไปสู่ความแตกแยก การขาดความสามัคคี ปัญหาด้านจิตใจนั้นใหญ่กว่าปัญหาด้านวัตถุเป็นอันมาก ผู้นำองค์กรต้องมีทั้งความเก่งและความดี มีการปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ และรวดเร็วทันกับความเปลี่ยนแปลง คอยเสริมดี เพิ่มดี เติมดีอยู่เสมอ พื้นฐานแห่งความสำเร็จ คือ ความตั้งใจ ความเพียร สนใจใส่ใจ และหมั่นทบทวนพิจารณาเพื่อปรับปรุงอยู่เสมอ การนำองค์กร อย่างมีขั้นตอนมีดังนี้ค่ะ
ขั้นตอนที่ 1. เป็นผู้นำในการกำหนดทิศทางให้แก่องค์กร กำหนดวาระในการเปลี่ยนแปลง (Strategic Change Agenda) และกำหนดกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 2. เป็นผู้นำในการวางแผนกลยุทธ์ จัดทำแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Maps) กำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมในการปรับปรุงพัฒนา และเพื่อดึงให้คนในองค์กรมาร่วมมือกัน
ขั้นตอนที่ 3. เป็นผู้นำในการสร้างความสอดคล้อง (Alignment)ให้เกิดกับทุกหน่วยงาน สื่อสารถึงทิศทางและกลยุทธ์ให้กับทุกคนในองค์กร
ขั้นตอนที่ 4. เป็นผู้นำในการสนับสนุนให้มีการปรับปรุงกระบวนการที่จำเป็นต่อการดำเนินกลยุทธ์ และเชื่อมโยงแผนกลยุทธ์เข้ากับแผนดำเนินงานและงบประมาณ
ขั้นตอนที่ 5. เป็นผู้นำในการติดตามผลดำเนินงาน ติดตามผลในการดำเนินกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 6. เป็นผู้นำในการปรับปรุงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับข้อมูลและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนดังกล่าวนั้นเป็นการบริหารกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเป็นวงจร หรือที่เรียกว่า Close loop management system ซึ่งในขั้นตอนดังกล่าวเปรียบเสมือน Master Plan จะผูกเครื่องมือในการบริหารย่อยทั้งหมดอีกหลายชนิด
แม่ทัพใหญ่ นำทัพต่อสู้ให้อยู่รอดและประสบชัยชนะได้นั้นเป็นเรื่องไม่ธรรมดา โดยเฉพาะในยุคนี้สมัยนี้ สภาพเศรษฐกิจที่ประสบปัญหากันทั่วโลก สังคมที่มีประชากรโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทรัพยากรธรรมชาติมีจำกัด มีสภาพขาดแคลน มีไม่พอ ทั้งยังเกิดภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะโลกร้อน การเกิดภัยทางน้ำเช่นคลื่นยักษ์ การเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ทำลายบ้านเมืองเช่นที่เกิดที่ประเทศจีน ภาวะการขาดแคลนพลังงาน น้ำมันแพง สิ่งแวดล้อมภายนอก เกิดผลกระทบที่สำคัญต่อองค์กร สิ่งแวดล้อมภายใน ยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นเดียวกัน การขัดแย้งกันที่นำไปสู่ความแตกแยก การขาดความสามัคคี ปัญหาด้านจิตใจนั้นใหญ่กว่าปัญหาด้านวัตถุเป็นอันมาก ผู้นำองค์กรต้องมีทั้งความเก่งและความดี มีการปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ และรวดเร็วทันกับความเปลี่ยนแปลง คอยเสริมดี เพิ่มดี เติมดีอยู่เสมอ พื้นฐานแห่งความสำเร็จ คือ ความตั้งใจ ความเพียร สนใจใส่ใจ และหมั่นทบทวนพิจารณาเพื่อปรับปรุงอยู่เสมอ การนำองค์กร อย่างมีขั้นตอนมีดังนี้ค่ะ
ขั้นตอนที่ 1. เป็นผู้นำในการกำหนดทิศทางให้แก่องค์กร กำหนดวาระในการเปลี่ยนแปลง (Strategic Change Agenda) และกำหนดกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 2. เป็นผู้นำในการวางแผนกลยุทธ์ จัดทำแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Maps) กำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมในการปรับปรุงพัฒนา และเพื่อดึงให้คนในองค์กรมาร่วมมือกัน
ขั้นตอนที่ 3. เป็นผู้นำในการสร้างความสอดคล้อง (Alignment)ให้เกิดกับทุกหน่วยงาน สื่อสารถึงทิศทางและกลยุทธ์ให้กับทุกคนในองค์กร
ขั้นตอนที่ 4. เป็นผู้นำในการสนับสนุนให้มีการปรับปรุงกระบวนการที่จำเป็นต่อการดำเนินกลยุทธ์ และเชื่อมโยงแผนกลยุทธ์เข้ากับแผนดำเนินงานและงบประมาณ
ขั้นตอนที่ 5. เป็นผู้นำในการติดตามผลดำเนินงาน ติดตามผลในการดำเนินกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 6. เป็นผู้นำในการปรับปรุงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับข้อมูลและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนดังกล่าวนั้นเป็นการบริหารกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเป็นวงจร หรือที่เรียกว่า Close loop management system ซึ่งในขั้นตอนดังกล่าวเปรียบเสมือน Master Plan จะผูกเครื่องมือในการบริหารย่อยทั้งหมดอีกหลายชนิด
ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญของกองทัพ คือ ขวัญและกำลังใจ หรือพลังจิตของคนในองค์กรเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ หากผู้นำสูญเสียพลังใจแล้วคงไม่สามารถรบได้ถึงร้อยครั้ง อาจสูญสิ้นตั้งแต่การต่อสู้ในครั้งแรก แต่หากมีพลังใจที่ดีแล้ว สู้ไม่ถอย จะเกิดความพร้อมทั้งแรงกายและแรงใจ อีกทั้งสติปัญญา สามารถบรรลุความสำเร็จได้ในที่สุด
หรือพลังจิตของคนในองค์กรเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ หากผู้นำสูญเสียพลังใจแล้วคงไม่สามารถรบได้ถึงร้อยครั้ง อาจสูญสิ้นตั้งแต่การต่อสู้ในครั้งแรก แต่หากมีพลังใจที่ดีแล้ว สู้ไม่ถอย จะเกิดความพร้อมทั้งแรงกายและแรงใจ อีกทั้งสติปัญญา สามารถบรรลุความสำเร็จได้ในที่สุด

ดร. ซุนยัดเซ็น นักปฏิวัติผู้ช่วยชีวิตประเทศจีน'

ดิฉันมีเรื่อง ศาสตร์และศิลป์ของการบริหารจัดการของ ดร. ซุนยัดเซ็น บุรุษผู้ตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางชีวิตจาก 'นายแพทย์ผู้รักษาชีวิตคน' มาเป็น 'นักปฏิวัติผู้ช่วยชีวิตประเทศจีน' ท่านผู้นี้คงเป็นบุคคลเพียงคนเดียว ที่ทั้งชาวจีนทั้งสองฝั่ง กล่าวได้เต็มปากว่า หากไม่มีเขาก็อาจไม่มีประเทศจีนในวันนี้ มาเล่าให้ฟังค่ะ
ดร. ซุน ยัต เซน (Sun Yat Sen)หัวหน้าพรรคก๊ก มิน ตั๋ง เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน คริตส์ศักราช 1866 ที่เมืองเซียงซัน กวางเจา มณฑลกวางตุ้ง เป็นผู้นำในการล้มล้างสถาบันกษัตริยและการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาปนาการปกครองระบอบสาธารณรัฐ ในแบบฉบับของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวัยเด็ก ดร.ซุน ยัต เซน ศึกษาอักษรศาสตร์ของจีนตามแนวทางขงจื๊อ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรคัมภีร์โบราณ เมื่ออายุ 12 ปีได้ติดตามมารดาเดินทางไปเกาะฮาวาย ได้พบเห็นเรือกลไฟ และความกว้างใหญ่ไพศาลของมหาสมุทร ก่อเกิดศรัทธาต่อวิชาการตะวันตก มุ่งมั่นที่จะศึกษาให้เข้าใจในสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆของโลก และเข้าศึกษาในเมืองฮอนโนลูลู สถาบันการศึกษาสูงสุดของฮาวายในขณะนั้น ตั้งใจว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนี้แล้ว จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอมริกาเ แต่พี่ชายสังเกตเห็นว่า ซุนยัตเซ็นเริ่มสนใจธรรมะของพระเยซู เกรงว่าจะเข้ารีต ครอบครัวจะตำหนิเอาได้ที่ดูแลน้องชายไม่ดี จึงจัดแจงส่งเค้ากลับเมืองจีนในวัย 18 ปี
แต่เมื่อกลับมาบ้านครอบครัวรับรู้ก็ไม่ได้ตำหนิประการใด ซุนยัตเซน พักอยู่ที่บ้านหลายเดือนก่อนไปศึกษาภาษาอังกฤษต่อที่ฮ่องกง ต่อมาครอบครัวมีปัญหาจึงลาออกเดินทางไปฮาวายอีกครั้ง เขาหยุดเรียนภาษาอังกฤษหันไปค้นคว้าคัมภีร์และประวัติศาสตร์โบราณของจีน
เมื่ออายุ 21 ปี ซุนยัตเซนกลับ บ้านเกิด ศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่ที่โรงพยาบาลกวางตุ้ง กับหมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน และย้ายเข้าวิทยาลัยแพทย์ฮ่องกง 5 ปี จบการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยมในวัย 26 ปี ดร.ซุน ยัต เซ็น ตื่นตัวกระตือรือร้นสนใจสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา วิชาความรู้ก็มีกว้างขวางรอบด้าน ศาสตร์ของจีนโบราณเขานิยมชมชอบวรรณคดีของยุค 3 จักรพรรดิ ส่วนศาสตร์ตะวันตก เขาชื่นชอบทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาร์วิน ตำราด้านธรรมชาติ การเมือง การปกครอง ก็อ่านอยู่ประจำ ด้านศาสนาเขานับถือพระเยซู ส่วนบุคคลที่เทิดทูนคือพระเจ้าทัง พระเจ้าอู่ของจีน และประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ของสหรัฐอเมริกา
ปีคริสต์ศักราช 1909 ดร.ซุน ยัดเซน ในฐานะหัวหน้าพรรคก๊ก มิน ตั๋ง นำล้มล้างสถาบันกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปฏิวัติโค่นราชวงศ์ชิงของชาวแมนจู แล้วสถาปนาการปกครองระบอบสาธารณรัฐ จัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยขึ้นที่กรุงนานกิง (เมืองหลวงในขณะนั้น) ตั้งนายหยวน ซี ข่าย เป็นประธานาธิบดีคนแรก เพื่อหลีกทางให้หยวนซื่อข่ายที่ต้องการจะขึ้นมาเป็นผู้นำแทน ไม่เช่นนั้นจะเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น และตัวเค้าเองได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 2 ระหว่าง คริสต์ศักราช 1921-1925
ระหว่างการปกครองครองจีน ของดร. ซุน ยัต เซน มีแนวคิดประชาธิปไตย ลัทธิไตรประชา นำทางประชาชนให้ยึดหลัก เอกราช หลักอํานาจอธิปไตย หลักความยุติธรรมในการครองชีพ แต่เวลาของเขาน้อย มีบทบาทปกครองจีนในช่วงสั้นๆ ก่อนประเทศเข้าสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ เป็นสาธารณรัฐประชาชนที่นำโดยประธานเหมาเจ๋อตุง ดร.ซุน ยัต เซน เป็นผู้นำของสมาคมมสัมพันธมิตรแห่งประเทศจีน มีจุดประสงค์ที่จะให้ประชาชนชาวจีนได้รับความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และต้องการที่จะสถาปนาจีนเป็นสาธารณรัฐ มีแนวคิดค่อนไปทางสังคมนิยม เน้นที่จะให้ความสำคัญกับคนจน ชนชั้นใช้แรงงาน แต่ไม่แรงถึงคอมมิวนิสต์แบบลัทธิเหมา
ดร. ซุน ยัตเซน ถึงแก่อนิจกรรมวันที่ 12 มีนาคม คริส์ตศักราช1925 ที่กรุงปักกิ่ง ด้วยโรคมะเร็งตับ ด้วยอายุ 59 ปี ก่อนเสียชีวิต ดร.ซุนได้ทิ้งคำสั่งเสียไว้ว่า
“ข้าพเจ้าดำเนินงานปฏิวัติ ประชาราษฎร์มาเป็นเวลาถึง 40 ปี มีเป้าหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพและความเสมอภาคของประเทศจีน ด้วยประสบการณ์เป็นเวลา 40 ปี จึงรู้ซึ้งว่า การจะบรรลุเป้าหมายนี้ จะต้องปลุกมวลชนให้ลุกขึ้น และร่วมมือกับประชาชาติที่ให้ความเสมอภาคแก่เรา ร่วมกันบากบั่นต่อสู้ บัดนี้ การปฏิวัติยังไม่ประสพความสำเร็จ ขอให้สหายทั้งหลายจงปฏิบัติตามบทประพันธ์ แผนการสร้างชาติ หลักนโยบายยสร้างชาติ และ แถลงการณ์การประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 1 ของข้าพเจ้าบากบั่นต่อไป เพื่อให้บรรลุผลถึงที่สุด เมื่อเร็วๆนี้ได้เสนอ ให้เปิดการประชุมสภาประชาราษฎร์และยกเลิกสนธิสัญญาอันไม่เสมอภาค ซึ่งสมควรให้สำเร็จลุล่วงไปในเวลาสั้นที่สุดนี่เป็นยอดปรารถนาของข้าพเจ้า”
ดร.ซุน ยัด เซน ได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจ ในการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประเทศชาติ และประชาชนชาวจีน ให้รอดพ้นจากการถูกกดขี่ขูดรีดจากชนชั้นปกครอง และจักรวรรดินิยมตะวันตก ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ และเพียรพยายามอย่างไม่ย่อท้อ จนได้รับชัยชนะในที่สุดและกลายเป็นนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่แห่งแผ่นดินจีน

แนวทางในการเลือกคนให้ได้อย่างแม่นยำและ มีมาตรฐานสูง

งานสำคัญยิ่งงานหนึ่งขององค์กร คือ การสรรหาคัดเลือกคนเก่ง คนดีที่มีแนวคิด ค่านิยมสอดคล้องไปกับองค์กรให้ได้ทันท่วงที และสามารถเลือกคนได้ อย่างแม่นยำ เพราะ หากค้นหาเพชรแท้ไม่เจอ ซ้ำยังพลาดไปรับพลอยหุง เข้ามาร่วมงาน ก็จะทำให้องค์กรต้องเสียทั้งเวลา อารมณ์ และค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย ดังนั้น งานบุคลากร จึงต้องมีความสามารถในการทำนาย ทายทัก หรือคอนเฟิร์มเบื้องต้นได้ว่า “บุคคล” เหล่านี้มีความเหมาะสม ที่จะพิจารณารับเข้าไปทำงานในองค์กรหรือไม่
คนแบบไหนที่ งานบุคลากร จะช่วย “ฟันธง” ว่ารับเข้ามาร่วมงานแล้ว งานบุคลากร ก็หน้าบาน หัวหน้าสายงานก็ไม่ผิดหวัง ตอบโดยหลักการพยากรณ์ก็คือ ต้องหาคนที่มีดวงชะตาราศี เลขลักขณาลงตรงที่เลข 3 ซึ่งหมายถึง “คุณงามความดี” 3 ประการ คือ
1) มีคุณลักษณะบุคคล ได้แก่ ความถนัดพิเศษ ความสนใจใฝ่รู้ ฯลฯ ที่ตรงกับลักษณะงาน
2) มีคุณสมบัติ (Qualification) คือ มีพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถที่เหมาะกับตำแหน่งงาน และ
3) มีคุณค่าของทัศนคติ ความคิด ความเชื่อและค่านิยมของตนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆค่ะ
แนวทางในการเลือกคนให้ได้อย่างแม่นยำ และ มีมาตรฐานสูง เริ่มต้นต้องมาพิจารณาอย่างละเอียดก่อนว่า “ตำแหน่งงาน” ที่เปิดรับสมัครนั้น มีขอบข่ายในการทำงานอย่างไรบ้าง และในการทำงานแต่ละงานนั้น จำเป็นต้องมีคุณลักษณะบุคคล และต้องใช้คุณสมบัติเชิงทักษะความสามารถด้านใดบ้าง จึงจะทำงานในตำแหน่งงานนั้นได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ตัวอย่างเช่น ตำแหน่งขาย ที่มีขอบข่ายหน้าที่หลักในการวางแผนไปเยี่ยมเยียนลูกค้าเป้าหมาย และทำหน้าที่ในการนำเสนอสินค้าและบริการ เพื่อสร้างรายได้จากยอดขาย เป็นต้น ดังนั้น คุณลักษณะบุคคลที่จะเอื้ออำนวยให้ทำงานในตำแหน่งงานขายได้อย่างสัมฤทธิ์ผล จึงต้องมีคุณลักษณะบุคคลที่ชอบพบปะสนทนากับผู้คน มีความมุ่งมั่นต่อผลสำเร็จตามเป้าหมาย ชอบความท้าทาย เป็นต้น คนที่มีคุณลักษณะเช่นนี้ จะทำงานขายได้โดยไม่ยาก เพราะงานตรงกับความชอบ ความถนัดของตน
สำหรับคุณสมบัติที่แสดงทักษะความสามารถของตำแหน่งงานขายนั้น แน่นอนต้องมีความสามารถในการสื่อสาร เจรจาต่อรอง (Communication Skill) และความสามารถในการวางแผนจัดลำดับงาน (Planning & Organizing) มีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (Interpersonal Skill) ซึ่งเป็นทักษะความสามารถที่จะทำให้ทำงานในตำแหน่งการขายได้อย่างประสบความสำเร็จ
นอกจากต้องถอดรหัส คุณลักษณะส่วนบุคคล และคุณสมบัติของทักษะความสามารถที่จำเป็นออกมาจากตำแหน่งงานต่างๆ แล้ว ยังต้องถอดรหัสวัฒนธรรมองค์กรออกมาด้วยว่า วัฒนธรรมองค์กรของเราเป็นอย่างไร
วัฒนธรรมองค์กรก็คือ วิธีคิด วิธีปฏิบัติของผู้คนในองค์กร เช่น องค์กรมีวัฒนธรรมของการคิดเร็ว ทำเร็ว ชอบ และสนุกกับการเปลี่ยนแปลง คนที่เราจะมองหาและเลือกมาทำงาน ก็คงต้องมีความนิยมชมชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ มีทัศนคติที่เข้าใจและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ถ้าหากคนที่เรารับเข้ามาทำงาน แม้ว่าเขาจะมีความรู้ประสบการณ์ตรงกับตำแหน่งงาน แต่ถ้าเขามีมุมมองที่เห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องยุ่งยาก ไร้ระเบียบ เขาจะไม่สนุกกับวัฒนธรรมการทำงานที่ต้องปรับบ่อยๆ ต้องเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ในที่สุดเขาจะรู้สึกมีแรงเสียดทาน ไม่จูงใจ ซึ่งย่อมกระทบต่อการสร้างผลงานของตนและหน่วยงานได้ เมื่อได้กำหนด หรือระบุคุณลักษณะบุคคล และคุณสมบัติเชิงทักษะความรู้ ความสามารถ ที่ต้องใช้ในแต่ละตำแหน่งงานได้เบื้องต้นแล้ว ก็ต้องนำไปให้หัวหน้าสายงานตรวจสอบและให้ความเห็นเพิ่มเติมด้วย เพื่อเป็นการประกันความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล
หลังจากนั้น สิ่งที่เราต้องดำเนินการต่อ ก็คือ การหาเครื่องไม้เครื่องมือ และการทดสอบต่างๆ มาใช้ในการคัดกรองผู้สมัคร ตลอดจนการสร้างคู่มือในการสัมภาษณ์ เพื่อให้ทั้งหน่วยงาน งานบุคลากร และหัวหน้าตามสายงานใช้เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้มีความเหมาะสมตรงตามที่ได้กำหนดคุณงามความดีพร้อม 3 ประการค่ะ

The Management Gurus

ความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้กลายเป็นอดีตไปเสียแล้ว และจีนกำลังเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ในปัจจุบันและสำหรับอนาคตอีกอย่างน้อย 80 ปีหรือจนถึงปี 2088 พวกเราปรับเปลี่ยนตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ทันหรือไม่ค่ะ? อีก 30 ปีภาษาจีนกลาง คงผงาดขึ้นมาเคียงคู่กับภาษาอังกฤษ ปรัชญาจีนโดยปรัชญาขงจื้อ ที่ดิฉันเคยนำเล่าให้ฟังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และเหลาจื้อ จะกลายเป็นหลักปรัชญาที่ชาวโลกจำเป็นต้องศึกษาค่ะ
อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่า อะไรที่เป็นภาษาอังกฤษ จะไร้ความหมายไปนะค่ะ อย่างน้อยก็เป็นประวัติศาสตร์ ที่ควรค่าต่อการศึกษาและจดจำเป็นบทเรียนไว้นำไปประยุกต์ใช้ ในการบริหารจัดการสำหรับองค์กรหรือหน่วยงานของท่านค่ะ ในหนังสือชื่อ The Management Gurus ที่เขียนโดย Chris Lauer ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง และคุณสมบัติที่สำคัญของการเป็นผู้นำ ซึ่งขึ้นอยู่กับการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ระแวงหรือไม่ไว้ใจกัน ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ท่านเหล่าจื้อเขียนไว้ในคัมภีร์ เต้าเต๋อจิง เมื่อราวๆ 3พันปีที่แล้ว หรือก่อนพระพุทธเจ้าประมาณ 2ร้อยปี ในหนังสือ The Management Gurus ได้เขียนไว้ว่า วัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจคือ รากฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่ขึ้นมาเป็นผู้นำทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นระดับองค์กรหรือประเทศชาติ ถ้าท่านไม่ไว้วางใจลูกน้องของท่านแล้ว ท่านจะเป็นผู้นำได้อย่างไร คุณสมบัติอีกข้อของผู้นำก็คือ ให้ก่อน แล้วจึงค่อยรับ หรือพูดง่ายๆก็คือ ให้ความไว้วางใจก่อน และท่านก็จะได้รับความไว้วางใจจากลูกน้องเป็นการตอบแทน คนที่ขี้ระแวงสงสัยหรือมีอคติ คนประเภทนี้เป็นผู้นำไม่ได้ ผู้นำที่ดีต้องรับฟังจากแหล่งข้อมูลมากกว่าสองแหล่งขึ้นไป แล้วค่อยมาคิด แล้วจึงตัดสินใจ อย่าเชื่อเพราะนั่นเป็นคำพูด หรือข้อมูลจากเพื่อนสนิท มิตรคู่ใจที่ยื่นให้ท่านค่ะ

ขงจื้อ นักปราชญ์ทางความคิด

ดิฉันมีเรื่อง ขงจื๊อ นักปราชญ์ทางความคิด ขงจื้อผู้อยู่ในศตวรรษที่๖ ก่อนคริสต์กาลนั้นเป็นนักคิด นักการศึกษาที่มีชื่อ เสียงในประวัติของจีน วิชาการสำนักหยู ที่เขาก่อตั้งขึ้นนั้น ได้กลาย เป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของวัฒนธรรมจีนยุคหลัง. ในสมัยศักดินาอันยาวนานของจีน ผู้ปกครองต่างนับถือความคิดสำนักปรัชญาขงจื้อ เป็นความคิดยึดประเพณีนิยมดั้งเดิม ด้วยเหตุนี้ วงศ์ตระกูลขงจื้อจึงเป็นวงศ์ตระกูลที่มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือกันมากตลอดมา มาเล่าให้ฟังค่ะ
ขงจื้อ เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ เมื่อทศวรรษ 1970 มีนักวิชาการชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้จัดให้ขงจื้อเป็นบุคคลอันดับที่ 5ใน100คน ที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่สำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื้อน่าจะอยู่อันดับแรกมากกว่า กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื้อ ไม่มากก็น้อย ขงจื้อ มีชื่อตัวว่า ชิว เป็นคนรัฐหลู่ (คำว่า”จื้อ ” เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็น“อาจารย์”) เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในปลายสมัยชุนชิว และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา“หยูเจีย” หรือสำนักปรัชญาขงจื้อนั่นเอง ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ขงจื้อเกิดที่รัฐหลู่ ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น“เมืองแห่งจารีตและ ดนตรี” มาแต่โบราณกาล การก่อรูปแนวคิดขงจื้อขึ้นอาจได้รับ อิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษา ของรัฐหลู่ ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อสัตย์สุจริตเลี้ยงดูขงจื้อมาด้วยความเข้มงวด กวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็น ผู้มีความรู้และมีคุณธรรม ขงจื้อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่างๆที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล ขงจื้อ “ตั้งตนเป็นอาจารย์ เมื่ออายุ30” และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื้อได้พลิกโฉม การศึกษาในสมัยนั้นโดยทำลาย ธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่ เฉพาะแต่ในราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น ขงจื้อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียน แม้“เนื้อตากแห้ง”เพียง ชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์ เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่าเป็นผุ้มีความรู้ปราดเปรื่อง และมีคุณธรรมสูงส่งถึง 70 คน จากสานุศิษย์ 7 0คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื้อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื้อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า “อาจารย์กล่าวว่า...” ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื้อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือชื่อว่า“หลุน-อวี่” บั้นปลายชีวิตขงจื้อก็ได้รวบรวม บันทึกพงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆมีชื่อว่า “ชุนชิว” ขงจื้อยังเป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญๆทางวรรณคดีจีนซึ่งเป็นที่ยกย่องกันภาย หลัง ได้แก่“ซูจิง”(ตำราประวัติศาสตร์) “ซือจิง”(ตำราว่าด้วยลำนำกวี) เป็นผู้ตรวจแก้ ”อี้ว์จิง” (ตำราว่าด้วยการดนตรี-แต่สาบสูญไปในภายหลัง )และ”หลี่จี้”(ตำราว่าด้วยจารีตประเพณี) หนังสือทั้ง 5 เล่มนี้เรียก รวมกันใน ภาษาจีนว่า ”อู่จิง” (คัมภีร์ทั้งห้า) ขงจื้อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่อง เมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่าง ยิ่ง ความคิดของขงจื้อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรก ที่ขงจื้อสอนสั่งคือ ”เหริน”หรือเมตตาธรรม เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ท่านขงจื่อเรียนถามท่านอาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่า เหริน ?" ท่านก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ "เหริน"
ดิฉันขอเล่าตัวอย่างของขงจื้อ จากหนังสือพงศาวดาร ซึ่งรวบรวมโดย ซือหม่าเซียน นักประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยราชวงศ์ฮั่นในหนังสือเล่มนี้ มีอยู่บทหนึ่งกล่าวว่า
จือ-อวี่ และ ใจ่-อวี่ เป็นศิษย์รุ่นราวคราวเดียวกันของบรมครูขงจื้อ ระยะแรกที่ศิษย์ทั้งสองมาสมัครเรียนวิชาความรู้กับบรมครูขงจื้อนั้น ได้รับท่าทีที่บรมครูแสดงออกแตกต่างกัน จือ-อวี่เป็นผู้ที่มีหน้าตาไม่น่าดู ครั้งแรกที่เขาเข้ามาคุกเข่ามอบตัวเป็นศิษย์นั้น บรมครูขงจื้อก็มีความรู้สึกว่า
“เด็กคนนี้หน้าตาอัปลักษณ์นัก เรียนไปก็คงไม่ได้ดี”
เมื่อมีความรู้สึกเช่นนี้ จึงทำให้บรมครูขาดความเอาใจใส่และเฉยเมยต่อเขา จื่อ-อวี่ เห็นดังนั้นจึงหมดความอดทนและเห็นว่า อยู่ต่อไปก็คงไม่ได้ความรู้ตามที่ตั้งใจมา จึงลาออกไปในที่สุด
ส่วนใจ่-อวี่ นั้นเป็นชายหนุ่มที่หน้าตาดี บรมครูขงจื้อนึกรัก ตั้งแต่ เห็นหน้าครั้งแรก และคิดว่า “เด็กคนนี้หน้าตาสะอาดหมดจด คงต้องมีอนาคตสดใสในการศึกษาเล่าเรียน”
ท่านจึงมีอุตส่าห์ตั้งใจอบรมสั่งสอนเป็นอย่างดี แต่การณ์หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ใจ่-อวี่ มีแต่ความเกียจคร้าน ตื่นสายไม่เอาไหนจนบรมครูขงจื้อ เอือมระอา ถึงกับขนานนามเขาว่า “ไม้ผุที่ใช้ แกะสลักลวดลายมิได้”
ส่วนจื่อ-อวี่นั้น เมื่อเสียใจไปจากท่านบรมครูขงจื้อแล้ว ก็มุมานะศึกษาเล่าเรียนจนกระทั่งต่อมาเขาได้ประสบความสำเร็จ เป็นนักวิชาการศิลปศาสตร์ ตั้งตนเป็นครู มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ในที่สุด จื่อ-อวี่ไ ด้เข้ารับราชการมีตำแหน่งเป็นถึงมหาอำมาตย์แห่งเมืองฉี ท่านบรมครูขงจื้อได้บันทึกความผิดพลาดของท่านเอาไว้แต่ในหนหลัง เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับอนุชนรุ่นหลังโดยไม่อายที่จะบอกถึงความผิดพลาดของตนเองในครั้งนั้นว่า
“เรื่องของใจ่-อวี่ สอนให้ข้าพเจ้ารู้ว่าอย่าเลือกคนจากวาจาหรือชื่นชมหน้าตาอันน่าพึงใจ” วาทะนี้จึงกลายมาเป็น “เลือกคน ให้ดูหน้า”
พอถึงวัยชรา ขงจื้อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป ภายหลังขงจื๊อได้ล้มป่วยหนัก และเจ็ดวันให้หลัง ได้อำลาโลก ตรงกับเดือนสี่ ทางจันทรคติ ในปีที่ 16 รัชสมัยอ๋องอี้ ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมใน ปี 479 ก่อนคริสต์ศักราช รวมอายุได้ 73 ปี ร่างถูกฝังไว้ที่ ซื่อ-สุ่ย ทางเหนือของรัฐหลู่ (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง)

หลักความรู้ ที่ขงจื้อได้วางรากฐานไว้ให้แก่ชนรุ่นหลังเป็นจำนวน 4 แขนงด้วยกัน ได้แก่ วัฒนธรรม ความประพฤติ ความจงรักภักดี และ ความซื่อสัตย์ โดยวัฒนธรรมเน้นถึงการเคารพบรรพบุรุษและพิธีการโบราณ ยึดถือผู้อาวุโสเป็นหลัก แต่ไม่ยึดติด หรืออายที่จะหาความรู้จากคนที่ต่ำชั้นหรืออายุน้อยกว่า ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย"

คนเข้าทำงานเพราะองค์กร แต่...จากไปเพราะหัวหน้า

วันนี้ดิฉันขอนำสรุปบทความ ที่ชื่อว่า "คนเข้าทำงานเพราะองค์กร แต่จากไปเพราะหัวหน้า..........จริงหรือ" จากบทความเรื่อง "People join organization but leave their boss" ซึ่งบทความดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นถึงการที่องค์กรไม่สามารถรักษาคนเก่งไว้ได้นั้น เพราะสาเหตุใด
โดยสรุปข้อคิดดี ๆ ที่ได้จากการที่ Mr.Marshall Goldsmith ปรมาจารย์ด้าน Executive Coaching ได้กล่าวไว้ในหัวข้อเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ซึ่งดิฉันจะขอนำสรุปประเด็นที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับการเป็นหัวหน้างานที่ดีมาบอกต่อดังนี้ค่ะ
ท่านได้ทิ้งข้อคิดดี ๆ เพื่อเตือนสติหัวหน้างานว่า "What got you here, won't get you there" นั่นหมายความว่า "วิธีการที่ท่านใช้ในอดีต และทำให้ท่านประสบความสำเร็จในวันนี้ อาจไม่ใช่วิธีการที่ท่านจะนำไปใช้เพื่อสร้างความสำเร็จในอนาคต"
ซึ่งถ้าดูจากข้อนี้แล้ว ดูจะตรงอย่างยิ่งในสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม ขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เครื่องมือ หรือประสบการณ์เดิม ๆ ที่เราเคยใช้ในอดีต อาจจะไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป หรือบางครั้ง สิ่งที่เป็น best practice ขององค์กรหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะกับบริบทของอีกองค์กรหนึ่งก็ได้
นั่นหมายความว่า การที่หัวหน้างานมักจะใช้วิธีการเดิม ๆ ในสมัยที่เป็นลูกน้อง มาใช้ตอนที่เป็นหัวหน้างาน แต่มักพบว่า มักจะไม่ประสบผลสำเร็จเหมือนอดีตที่ผ่านมา
นอกจากนั้น เขายังได้กล่าวว่า "การเป็นหัวหน้างานที่ดีนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเรียนรู้ว่าควรทำอะไรเพิ่มเติม ถ้าเพียงแต่พวกเขาเรียนรู้ที่จะหยุดทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ พวกเขาก็จะเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นได้ในทันที" ซึ่งในบทความนี้ ได้รวบรวมสิ่งที่หัวหน้าควรหยุดทำ 5 อย่าง มาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ค่ะ
1. รับปากแล้วไม่ทำ หรือรับปากในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถทำได้ด้วยอำนาจหน้าที่ของตนเองคนเดียว เช่น การรับปากว่าจะขึ้นเงินเดือนให้ หรือรับปากว่าจะให้โบนัส เป็นต้น หัวหน้าควรยอมให้ลูกน้องโกรธที่ไม่ยอมรับปาก (ในสิ่งที่รับปากไม่ได้) ดีกว่าให้ลูกน้องโกรธที่รับปากแล้วไม่ทำ
2. รับชอบแต่ไม่รับผิด ไม่กางปีกปกป้องลูกน้อง ดร.เสรี วงษ์มณฑา เคยกล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า การเป็นหัวหน้าที่ดีคือ การรู้จักใช้มือ ใช้หัว และใช้หน้า หมายถึง หัวหน้าต้องรู้จักที่จะใช้มือในการลงมือทำให้ลูกน้องได้เห็น ใช้หัวเพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ ให้กับทีมงาน และที่สำคัญใช้หน้าเพื่อเอาไว้ยืดหน้ารับความผิดแทนลูกน้อง เหมือนคำโบราณที่ว่า “รับหน้า” ไม่ใช่ทุกอย่างโบ้ยว่าผมไม่รู้ ลูกน้องเป็นคนทำ
3. ตัดสินใจโดยไม่ต้องฟังความคิดเห็นผู้อื่น ไม่อธิบายเหตุผลใดๆ เป็นการตัดสินใจโดยยึดความคิดของตนเองเป็นหลัก หรือเมื่อมีการตัดสินใจมาจากเบื้องบนก็มักอ้างเหตุผลว่า “มันเป็นนโยบาย” ซึ่งการอธิบายเพียงเท่านี้อาจไม่สามารถทำให้ลูกน้องเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องได้ แทนที่ลูกน้องจะได้ความกระจ่างกลับยิ่งทำให้ลูกน้องเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อองค์การยิ่งขึ้นไปด้วย
4. พูดจาไม่ให้เกียรติลูกน้อง หัวหน้างานจำนวนหนึ่งมักจะเชื่อว่าตนเองมีความสนิทสนมกับลูกน้องเป็นอย่างดี จึงไม่จำเป็นต้องระวังคำพูดมากนัก ยิ่งลูกน้องที่ทำงานด้วยกันมานานยิ่งรู้สึกสนิท จึงคิดไปเองว่าลูกน้องคงรู้จักนิสัยของตนดีอยู่แล้ว ทำให้หัวหน้าหลายๆ คนไม่ระวังคำพูดและบ่อยครั้งที่เรามักได้ยินวาจาที่ไม่สุภาพหรือภาษาสมัยพ่อขุนผุดขึ้นมาระหว่างการทำงานอยู่บ่อยๆ
5. ตำหนิลูกน้องต่อหน้าธารกำนัล หัวหน้าจำนวนไม่น้อยไม่ไว้หน้าลูกน้อง ถ้าทำพลาดก็ซัดกันตรงนั้นเลย และที่สำคัญถ้าทำดีก็ไม่เคยชม นัยว่ากลัวจะเหลิงอะไรทำนองนั้น
ถ้าคุณเป็นหัวหน้าคน ลองย้อนมองดูตนเองด้วยใจเป็นกลางซักนิด แล้วประเมินดูซิว่า “คุณมีสักกี่ข้อแล้ว??”

การบริหารงานแบบ จูเลียส ซีซาร์

ดิฉันมีเรื่อง ศาสตร์และศิลป์ของ จูเลียส ซีซาร์ มาเล่าให้ฟังค่ะ
จูเลียส เกิด เมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในตระกูลขุนนางเก่าตระกูลหนึ่ง เป็นมนุษย์คนแรกที่เกิดโดยวิธีการผ่าตัดออกมาทางหน้าท้อง จูเลียสเป็นกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุยังน้อย คงมีแต่มารดาซึ่งคอยให้ความปกป้องคุ้มครองดูแลนับตั้งแต่เด็กมา จูเลียสไม่เคยคิดที่จะยึดเอาการทหารเป็นอาชีพอย่างแท้จริงเลยทั้ง ๆ ที่เขาเคยเข้าฝึกทหารอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เขาตั้งใจจะเป็นทนายความ หรือเป็นนักกฎหมายซึ่งเป็นอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในสมัยนั้นมากกว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกโจรสลัดจับตัวไปเรียกค่าไถ่ เมื่อเขารอดชีวิตกลับมา เขากลับรวบรวมสมัครพรรคพวกและเรือทั้งหลาย กลับไปยังเกาะที่เขาเคยถูกนำตัวไปกักไว้ ได้สู้รบกับบรรดาโจรสลัด จนได้ชัยชนะนำพวกโจรกลับมารับการลงโทษ เหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นว่า จูเลียสนั้นเป็นผู้ที่ชอบการสู้รบมาตั้งแต่เด็ก และก็ดูเหมือนว่าเขาจะมีชื่อเสียงที่สุดในด้านการทหาร เมื่ออายุ 21 ปี เขาได้รับเหรียญกล้าหาญ ในฐานะที่ได้ช่วยชีวิตทหารคนหนึ่ง ไว้ได้จากการรบ สามารถตีชนะประเทศต่าง ๆ ถึง 300 ประเทศ ได้เมืองต่าง ๆ ไว้ในอำนาจถึง 800 เมือง แม้แต่ในวงการทหารสมัยปัจจุบัน ก็ยังอดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมจูเลียส ซีซาร์ จึงสามารถเดินทัพ และทำสงครามเผด็จศึก ได้อย่างรวดเร็วถึงเพียงนั้น ทัพของโรมันได้ชัยชนะตั้งแต่ยุโรปทางตอนเหนือจรดยุโรปตอนใต้ จากสเปนไปจนถึงอาเซียน้อยและเรื่อยไปจนถึงอียิปต์ ตลอดเวลาของการเดินทัพ จูเลียส จะกินอยู่หลับนอนร่วมกับทหารเลวทั้งหมด ทั้งมักจะชอบแสดงถึงความกล้าหาญ ปราศจากความกลัวในภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงให้เหล่าทหารได้เห็น ครั้งหนึ่งเขาควบม้าอย่างรวดเร็ว เต็มฝีเท้าแต่กลับปล่อยมือจากสายบังเหียน แล้วยกขึ้นประสานไว้เหนือศีรษะ และอีกครั้งหนึ่งเขาได้ขอลองขึ้นขี่ม้าที่ขึ้นชื่อว่ายพยศที่สุด จนไม่มีใครกล้าขี่ ในการบุกทุกครั้ง จูเลียส จะเข้าร่วมอยู่ในกลุ่มทหาร ปฏิเสธไม่ยอมใส่แม้แต่หมวกเหล็ก เพื่อให้ทหารจำได้ เขาไม่เคยตกใจจนทำอะไรไม่ถูก และไม่ว่าจะทำอะไรเขาจะทำอย่างเชื่อมั่นในตนเอง ตลอดเวลาเขามักจะคิดถึง แต่ความสง่างามความยิ่งใหญ่ ของเขา
ต่อมาจูเลียสได้รับเลือกเป็นกงสุล และได้มีการแบ่งอำนาจกันระหว่างคู่สัญญาทั้งสาม ซึ่งทำให้จูเลียสได้โอกาสแผ่ขยายอำนาจต่อไปได้เต็มที่ ต่อมาเขาได้เข้าเมืองอียิปต์ ช่วยจัดการให้ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งกำลังมีเรื่องแย่งราชสมบัติกับพระอนุชา ให้ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ จนมีเรื่องลือกระฉ่อนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับพระนางคลีโอพัตรา ในตอนนี้จูเลียสก็ได้มีอำนาจเต็มที่ในโรม และได้รับการยกย่องให้เป็น "ผู้มีอำนาจปกครองโดยเผด็จการ" โดยกำหนดให้มีอำนาจอยู่ครั้งละสิบปี และต่อมาเมื่อเขาปราบปรามตีดินแดนทางแถบแอฟริกาและสเปนได้ เขาจึงได้รับการอนุมัติ ให้เป็น "หัวหน้าผู้เผด็จการ" ตลอดชีวิต ท่านผู้ฟังค่ะ ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะไม่มีความชั่วติดตัวเลย จูเลียส ซีซาร์เอง แม้ว่าจะมีความสามารถเก่งกล้ายิ่งนักในการสงคราม แต่ก็มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ มีความทะเยอทะยานอย่างรุนแรง เมื่อเล็ก ๆ เขามีชื่อเสียงในเรื่องการใช้เงินเปลืองจนเป็นหนี้สินเมื่อเติบโตมีอำนาจในมือ เขาก็จับจ่ายใช้สอยอย่างมือเติบทั้ง ๆที่ เงินนั้นเป็นของหลวง ในด้านการสงคราม จูเลียส ซีซาร์ ก็ถูกโจมตีว่าพาคนไปตายเสียมากต่อมาก แต่ในการรบในสมัยโน้น แต่ละฝ่ายต่างก็ยอมเสียทหารเป็นจำนวนมากเสมอ การสั่งประหารชีวิตแม่ทัพโกล ซึ่งยอมแพ้ต่อทัพโรมัน เมื่อครั้งจูเลียส ซีซาร์ พากองทัพอันเกรียงไกรเข้าไปบุกโกล เป็นตราบาปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา จูเลียสสั่งขังแม่ทัพโกลไว้ถึงหกปี แล้วจึงสั่งให้ประหารชีวิตทั้ง ๆ ที่มิได้มีความผิดใด ๆ เพียงแต่ต้องการให้เป็น เครื่องส่งเสริมบารมีของเขาเพียงคนเดียวเท่านั้นแต่ก็น่าแปลกที่ครั้งหนึ่งจูเลียส ซีซาร์ ได้ทราบข่าวว่าปอมเปย์ คู่อริที่ยิ่งใหญ่ของเขาถูกฆ่าแล้วในอียิปต์ จูเลียสก็ถึงกับทรุดนั่ง และร้องไห้อย่างไรก็ตาม แม้จูเลียสจะได้ชื่อว่าทารุณ โหดร้าย แต่เขาก็เป็นแม่ทัพที่ ทหารพากันจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง จนแทบจะพูดได้ว่า ไม่เคยมีทหารในสมัยใดจะ รักเจ้านายของตนยิ่งไปกว่าทหารรักซีซาร์ ที่ไหนมีอันตราย ที่นั่นซีซาร์จะเป็นคนแรกที่บุกเข้าไปก่อน ถ้าในการเดินทางกองทหารจำเป็นจะต้องข้ามแม่น้ำสักสายหนึ่งที่น่ากลัวที่สุด จูเลียสจะเป็นคนแรกที่ลงว่ายน้ำนำบรรดาทหารทั้งหลายลงไปผู้ยิ่งใหญ่ทุกคนย่อมมีศัตรู ในโลกนี้ มีคนอีกหลายคนที่ทนเห็นความสำเร็จของผู้อื่นไม่ได้ จูเลียส ซีซาร์ เป็นคน ๆ หนึ่งที่ถูกอิจฉาริษยา เขาเองก็รู้ตัวดี แต่เขาจำเป็นต้องทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็นเสียบ้าง คนที่คิดปองร้ายเขา คือนักโทษคนหนึ่งที่ซีซาร์เองเป็นผู้ออกคำสั่งให้ไว้ชีวิต จูเลียสไม่เคยคิดเลยว่า คน ๆ นี้จะเป็นคนที่ไว้ใจไม่ได้ เขาผู้นั้นมีชื่อว่า มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ซึ่งเขารับเป็นลูกเลี้ยงในเวลาต่อมา การลอบฆ่าซีซาร์ เป็นไปอย่างง่ายดาย ซีซาร์เองไม่เคยได้คิดถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย จึงไม่มีการระวังตัวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในวันที่ 14 มีนาคมก่อนคริสต์ศักราช 44 ปี ซึ่งเป็นวันก่อนวันเกิดเหตุร้ายเพียงหนึ่งวัน ก็ได้มีสัญญาณหลายอย่างที่แสดงว่า โลกเรากำลังจะต้องสูญเสียผู้ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่ง พายุพัดแรงจัด มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้าคัลเฟอร์เนีย ภรรยาของจูเลียส นึกสังหรณ์ใจ จนถึงกับกราบขอร้องอ้อนวอน มิให้สามีเธอเดินทางไปประชุมสภาเซเนทในวันรุ่งขึ้น แต่จูเลียสกลับหัวเราะเยาะราวกับเห็นเป็นเรื่องขบขันเสียเต็มประดา จูเลียส ดื้อรั้นที่จะไปประชุมในวันนั้นให้ได้ เมื่อเขาเดินผ่านห้องโถง รูปปั้นตัวเขาเองก็หล่นลงมาแตกละเอียดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย นอกจากนั้นระหว่างทาง มีชายคนหนึ่งแอบส่งจดหมายให้เขาฉบับหนึ่งขอร้องให้เขาอ่านก่อนที่จะเข้าประชุม แต่จูเลียสเพียงแต่กำไว้ในมือโดยไม่ทันได้อ่าน ถ้าเพียงแต่เขาจะได้มีโอกาสอ่านจดหมายฉบับนั้น ประวัติศาสตร์โรมันก็คงจะเปลี่ยนไปอีกเป็นคนละรูป เพราะในจดหมายฉบับนั้นมีรายชื่อของผู้ที่คิดวางแผนจะเอาชีวิตเขาทั้งหมด รวมทั้งแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการนั้นด้วย เช้าวันที่ 15 มีนาคม ก่อนคริสต์ศักราช 44 ปี ขณะที่จูเลียส ซีซาร์กำลังยืนอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการประชุมในสภาเซเนท แคสซิอุส มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ลูกเลี้ยงของเขา หนึ่งในจำนวนผู้วางแผนทรยศ ก็ได้ปักดาบคู่มือทะลุผ่านลำคอ ซีซาร์ยกมือขึ้นรับ แต่ก็ไม่สำเร็จ เขาล้มลงขาดใจตายจมกองเลือดอยู่ ณ ที่นั่นเอง

หัวหน้างาน

ในการปฏิบัติงานในทุกตำแหน่งหน้าที่ ทุกคนปราถนา ถึงความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้นด้วยกันทั้งสิ้น แต่การก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นนั้น ต้องทำให้หลายต่อหลายคนที่ต้องประสบปัญหาแตกต่างกันไป การจะก้าวขึ้นสู่การเป็นหัวหน้างาน เป็นผู้บังคับบัญชาคนอื่นหลายคน อาจต้องผ่านความยากลำบาก แต่หลายคนอาจจะไม่ต้องฝ่าฟันอะไรมากนักด้วยเหตุอาจจะเพราะโอกาส หรือจังหวะของชีวิต หรือระดับการศึกษา แต่คนทั้งสองกลุ่มจะหลีกไม่พ้นที่จะต้องพบและเจอเหตุการณ์ และสภาวะใหม่ ๆ ที่ไม่เคยชิน ในตำแหน่งงานของเป็นหัวหน้างานที่คล้าย ๆ กัน บางคนไม่สามารถฝ่าด่านการเป็นหัวหน้างานที่มีประสิทธิภาพได้ จนต้องกลับไปเป็นพนักงานเช่นเดิม หลายคนต้องใช้เวลา และโอกาสหลาย ๆ ครั้งหรือการเปลี่ยนงานหลาย ๆ องค์กร ในการเรียนรู้ ยิ่งถ้าหากการก้าวขึ้นเป็นหัวหน้างานภายในองค์กรก็ยิ่งจะลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่ได้รับการโปรโมท หรือได้รับการแต่งตั้งภายในองค์กร ในหน่วยงานเดิม เพราะลูกน้องในวันนี้คือเพื่อนร่วมงานของเราเมื่อวานนี้ ไม่รู้ว่าจะสั่งงานอย่างไรดี จะตำหนิหรือพูดอย่างไรเพื่อน (ลูกน้องใหม่) ถึงจะเข้าใจ ทั้งนี้หากจะมองสภาพที่มาของปัญหาในการเป็นหัวหน้างานมือใหม่ พอจะสรุปได้ดังนี้ค่ะ
1.ปัญหาจากภายใน
ได้แก่ปัญหาที่เกิดจากภายในของตัวผู้ที่เป็นหัวหน้างานมือใหม่เอง ที่ยังคงวางบทบาทตัวเองเป็นเหมือนเก่า ยังคิดว่าเขาเป็นเพื่อนเหมือนเดิม หรือบางคนก็คิดในมุมกลับมากเกินไปว่าวันนี้เราเป็นหัวหน้าแล้วจะต้องเป็นอย่างที่หัวหน้าคนเดิมเคยเป็น สั่งอะไรได้ทุกอย่าง เพื่อนร่วมงานจะต้องเชื่อฟังในทันทีที่มีตำแหน่งปะหน้า แต่ในความเป็นจริงแล้ว การยอมรับนับถือไม่ได้มาจากตำแหน่งหน้าที่เพียงอย่างเดียว องค์ประกอบที่สำคัญคือบารมี บารมีสร้างได้โดยอาศัยอำนาจที่มีให้เป็นประโยชน์ แต่ไม่ใช่ว่ามีอำนาจแล้วบารมีจะต้องมาทันที หลายคนบารมีกลับหดหายเมื่อคิดว่ามีอำนาจสั่งการได้ทุกอย่าง เพราะการที่คนเราจะมีบารมีหรือได้รับการยอมรับกับคนอื่นนั้น ต้องรู้จัก “การให้” ก่อน โดยที่มาของบารมี และการยอมต่อคนที่เป็นหัวหน้างานนั้น มีที่มาที่นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ของตำแหน่งงาน จาก “การให้” จากทางใด ทางหนึ่งดังนี้
1. มาจากความรู้ ความชำนาญในงาน ความสามารถในการแก้ปัญหางาน ที่มากกว่าคนอื่น การยอมรับของคนเรามักจะยอมรับคนที่เก่งกว่าตนเองค่อนข้างง่าย ในประเด็นนี้มักจะเป็นปัญหาใหญ่กับหัวหน้ามือใหม่ค่อนข้างมาก เพราะหัวหน้างานมือใหม่มักจะเจอข้อจำกัดสองขั้น ขั้นแรกเป็นความใหม่ ความน้อยของประสบการณ์ จึงอาจทำให้การแสดงความรู้ความสามารถไม่รวดเร็ว ชัดเจน และแม่นยำ ไม่ตรงกับความคาดหวังของผู้อื่นเท่าที่ควร ยิ่งต้องเป็นตำแหน่งงานที่เคยมีคนเก่าทำไว้ดีอยู่แล้วยิ่งทำให้ผลงานเกิดการเปรียบเทียบกันมากยิ่งขึ้น เพราะลูกน้องหรือคนดูมักจะเปรียบผลงานในวันสุดท้ายของคนเก่าซึ่งผ่านประสบการณ์มามากแล้ว มาเปรียบกันวันแรก ๆ ของคนใหม่ซึ่งยังไม่ประสบการณ์ เมื่อมองเห็นความผิดพลาดบ่อย ๆ ครั้งเข้าความเชื่อถือก็จะค่อย ๆ ลดลง บางครั้งกลายเป็นความฝังใจไปเลยก็มี ข้อจำกัดขั้นที่สองที่หัวหน้างานมือใหม่มักเจอในกรณีนี้ก็คือ ช่วงห่างของฝีมือ ประสบการณ์ระหว่างหัวหน้างานกับลูกน้องที่เคยเป็นอดีตเพื่อนร่วมงาน ยังไม่ห่างกันมากนัก เวลาที่ผ่านมาส่วนใหญ่ทั้งสองฝ่ายอยู่ในบทบาทหน้าที่ตำแหน่งงานเดียวกัน ทำให้ความรู้สึกในการยอมรับนับถือยังมีน้อย และการแสดงฝีมือ และความสามารถต้องอาศัยเวลา หรืออาจจะต้องเป็นฝีมือหรือความสามารถที่ชัดเจนจริง ๆ
2. ที่มาของบารมี ที่มาจาก “การให้” อีกอย่างหนึ่งคือ การให้ในเชิงความเข้าใจ ให้ในเชิงเข้าใจความรู้สึกที่แตกต่างกันระหว่างการเป็น “หัวหน้า” กับ “ลูกน้อง” ต้องเข้าใจว่าลูกน้องกำลังรู้สึกอย่างไรกับ “หัวหน้างานมือใหม่” เพราะลูกน้องเองก็ยังยึดติดกับแนวทางของหัวหน้างานคนเก่าอยู่ รวมทั้งยังเกิดความไม่มั่นใจกับฝีมือ ความสามารถของหัวหน้างานคนใหม่ บางทีบางคนยึดมีใจที่รู้สึกริษยาอยู่ลึก ๆ ถึงการที่ตนเองไม่มีโอกาสเช่นเดียวกับหัวหน้างานมือใหม่ ซึ่งเป็นธรรมชาติปกติของมนุษย์ ดังนั้นการบริหาร สั่งงานจึงควรต้องใช้จิตวิทยาการบังคับบัญชา โดยควรสั่งงานด้วยวิธีที่นุ่มนวล เป็นการขอความร่วมมือ มากกว่าจะเป็นการสั่งการหรือการใช้อำนาจ โดยทั้งสองด้านของที่มาของบารมี เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่หัวหน้างานต้องมี ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง หากไม่มีฝีมือหรือความสามารถในเชิงเทคนิคที่ชัดเจนแล้ว หัวหน้างานจะต้องมีฝีมือ และความสามารถในทางการบริหารและความเข้าใจทีมงาน หากมีทั้งสองด้าน จะทำให้หัวหน้างานนั้นประสบความสำเร็จในการบริหารงานได้อย่างรวดเร็วขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญสำหรับการแก้ปัญหาของหัวหน้างานมือใหม่คือควรจะต้องวิเคราะห์ตนเองในขณะนี้ว่า ทั้งสองด้านของที่มาของบารมีที่กล่าวมานั้น ตนเองมีช่องทางในการสร้างบารมีด้านใดได้ง่ายที่สุด หากมีฝีมือ หรือความสามารถในงานที่โดดเด่น ก็ค่อนข้างจะง่ายในการสร้างการยอมรับจากทีมงาน แต่หากตนเองมีปัญหาของความเป็น “มือใหม่” ทั้งหน้าที่ และบทบาท รวมทั้งความรู้ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงานใหม่แล้ว ขอแนะนำให้รีบดำเนินการสร้างบารมีและการยอมรับในด้านที่สอง คือการบริหารทีมงานด้วยความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วม ขอความร่วมมือจากทีมงาน ควบคู่ไปกับการฝึกฝนพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านเทคนิค
2.ปัญหาจากภายนอก
สิ่งที่สำคัญที่หัวหน้างานมือใหม่มักจะรู้สึกแปลกแตกต่าง กับบทบาทหน้าที่ใหม่ก็คือ คนอื่นๆ โดยเฉพาะแผนกอื่น ๆ ผู้บังคับบัญชาในระดับที่สูงขึ้นมักจะจ้องจับผิด หรือตำหนิการทำงานอยู่เสมอ ไม่เห็นเหมือนเมื่อก่อนเลย ในความจริงแล้วตัวเราเองยังรู้สึกว่าตัวเราเป็นแบบเดิม และรู้สึกกับคนอื่นเหมือนเดิม แต่ในทางตรงกันข้ามคนอื่น โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานแผนกอื่น ๆ จะเริ่มมองเราด้วยภาพที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้เกิดจากความคาดหวัง เกิดจากความต้องการรับรู้ในผลงานของเราในตำแหน่งใหม่ ๆ ไม่ใช่เกิดจากการที่ต้องการจะจับผิดแต่อย่างใด สิ่งที่หัวหน้างานมือใหม่ต้องทำ ก็คือ การปรับตัว เตรียมใจ เข้าสู่บทบาทใหม่ ให้ลืมวันสุดท้ายของตำแหน่งเก่า ๆ แต่ให้คิดว่าวันนี้คือวันแรกของตำแหน่งใหม่แล้ว ถ้าเราเป็นหัวหน้าเราจะคาดหวังอย่างไรกับ “หัวหน้างานมือใหม่” และ สำคัญคือต้องมีความพร้อมในการวางบทบาทของตัวเองกับตำแหน่งงานใหม่
จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับหัวหน้างานมือใหม่ เป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่คนทำงานทุกคนต้องเจอ เพียงแต่จะเจอเร็วหรือเจอช้า สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่คนรอบข้าง ตำแหน่งหรือสิ่งแวดล้อม แต่อยู่ที่ตัวเราเองว่าเราจะวางตัว รับมือกับสถานการณ์นั้นอย่างไร