Monthly Archives: November 2012

การประกันคุณภาพการศึกษาของอาเซียน

AQAN  ได้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ  สมาชิกในการพัฒนากรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเซียน   โดยการพัฒนาองค์ประกอบของกรอบการประกันคุณภาพเพื่อให้กลไกดังกล่าวมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนี้

(๑)    หน่วยงานการประกันคุณภาพภายนอก  (External Quality Assurance Agency)

เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งตามกฎหมาย  มีพันธกิจที่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานในระดับชาติ  สาธารณะ  และประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ   มีความอิสระในการดำเนินการ  การตัดสินใจในการดำเนินการต้องปลอดการแทรกแซงจากหน่วยงานภายนอก  มีปรัชญา  พันธกิจ  เป้าประสงค์  และเป้าหมายการดำเนินการที่ชัดเจน  มีเกณฑ์มาตรฐาน  และตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพที่ชัดเจน  และเป็นที่ยอมรับของสังคม  การบริหารจัดการต้องยึดมั่นหลักการธรรมาภิบาลโปร่งใสและตรวจสอบได้  มีทรัพยากรบุคคลและงบประมาณดำเนินการที่เพียงพอ  มีความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ   ต้องมีระบบการตรวจสอบคุณภาพภายในเพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  มีการติดตามความเคลื่อนไหวพัฒนาการและนวัตกรรมของการประกันคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อที่จะก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง  และมุ่งที่จะพัฒนาในแนวทางการปฏิบัติงานที่ดี (good  practices)

(๒)    กระบวนการประกันคุณภาพภายนอก  (External  Quality Assurance Processes)

การพัฒนาเกณฑ์และมาตรฐานต้องมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  มีการประกาศเกณฑ์และมาตรฐานล่วงหน้า  และสาธารณชนสามารถสืบค้นข้อมูลได้ตลอดเวลา  เกณฑ์และมาตรฐานใช้กับทุกสถานศึกษาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม  และควรคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม  กระบวนการควรจะมี  ๕  องค์ประกอบ ดังนี้

(๑)    การประเมินตนเอง (self-assessment) หรือเทียบเท่า

(๒)    การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกและมีการตรวจเยี่ยมสถานศึกษาตามที่ตกลงกัน

(๓)    การให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) และข้อเสนอแนะเพื่อเสนอศึกษานำไปปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น

(๔)    การติดตามผลการนำข้อเสนอแนะไปใช้

(๕)    ผลของการประเมินภายนอกต้องแจ้งให้สาธารณะได้รับทราบการประกันคุณภาพอยู่บนพื้นฐานของรอบเวลา (cyclical basis) ผู้ประเมินต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับสถานศึกษา  มีกลไกการอุทธรณ์

(๓)    หลักการการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา (Institutional  Principles)

สถานศึกษาควรสร้างวัฒนธรรมคุณภาพในทุกภารกิจ  รวมทั้งการเรียน  การสอน  การวิจัย  การให้บริการและการบริหารจัดการ  มีโครงสร้างการประกันคุณภาพอย่างเป็นระบบและกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน  ระบบการประกันคุณภาพเป็นที่รู้ของทุกคน  ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง  และมีการดำเนินการอย่างยั่งยืน  ระบบการประกันคุณภาพเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกคน  และทุกระดับ  ทั้งอาจารย์  เจ้าหน้าที่  นักศึกษา  และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  มีการติดตามผลเป็นประจำ  เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ  ควรเผยแพร่ให้สาธารณะทราบข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับสถานศึกษา  หลักสูตร  ความสำเร็จต่างๆ รวมทั้งการประกันคุณภาพ

(๔)    หลักการผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  (Learners Focus Generic Principles)

สนับสนุนการยอมรับคุณวุฒิระหว่างประเทศสมาชิก  ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ส่งเสริมการถ่ายโอนหน่วยกิต  และการเคลื่อนย้ายผู้เรียน  ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแรงงาน  กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติต้องมี  ๙ องค์ประกอบ ดังนี้

(๑)   กำหนดบนพื้นฐานของผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับการศึกษาต่าง ๆ

(๒)   เป็นระบบหน่วยกิต

(๓)   บูรณาการรูปแบบการเรียนรู้และการฝึกอบรมต่างๆ ทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัย

(๔)    เชื่อมโยงกับภาคส่วนต่างๆ ของการศึกษา  และการเรียนรู้

(๕)    มีหน่วยงานรับผิดชอบการดำเนินการ

(๖)    มีความร่วมมือกับหน่วยข้อมูลและหน่วยเทียบคุณวุฒิ

(๗)    มีกรอบการดำเนินการด้วยหลักการการประกันคุณภาพ  และมีมาตรฐานที่ครอบคลุม

(๘)    ยึดมั่นปรัชญาการให้โอกาสทางการศึกษาต่อเนื่อง

(๙)    เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ดังนั้น  ความร่วมมือในการพัฒนากรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเซียนดังกล่าวจะช่วยพัฒนาระบบการประกันคุณภาพในระดับชาติและนานาชาติ  ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเอื้ออำนวยให้ความเป็นนานาชาติเข้ามาสู่ประเทศรวดเร็วขึ้น  หากสถาบันอุดมศึกษาไทยสามารถก้าวสู่ความเป็นนานาชาติผ่านกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับภูมิภาคดังกล่าวให้  เราคงจะมีโอกาสแข่งขันได้อย่างน้อยก็ในเวทีภูมิภาคนี้

Ref.  จุลสาร สมศ.  หน้า 6   กันยายน   2555

 

ASEAN Quality Assurance Network ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การศึกษาล่าสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ของ SEAMEO-RIHED ซึ่งเป็นศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนาภายใต้องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) ดำเนินการสำรวจหน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันในการพัฒนากรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเชียน (ASEAN Quality Assurance Framework) ก่อนหน้านี้ ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ SEAMEO-RIHED ร่วมกับ Malaysian Qualifications Agency เชิญทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา  โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก SEAMEO ทั้ง ๑๐ ประเทศ  ในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา  การประชุมดังกล่าวส่งผลให้เกิดการก่อตั้งเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเชียน (ASEAN Quality Assurance Network หรือ AQAN)

การก่อตั้ง AQAN มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยแนวปฏิบัติที่ดีของการประกันคุณภาพการอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ร่วมมือในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการประกันคุณภาพการอุดมศึกษา  แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลด้านการอุดมศึกษาและการยอมรับคุณวุฒิการศึกษาร่วมกัน  และพัฒนากรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเชียน  ทั้งนี้ AQAN ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะส่งเสริมการสร้างความกลมกลืน (harmonisation) และการยอมรับคุณวุฒิ (mutual recognition of qualifications) ในระดับอุดมศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เพื่อพร้อมรับการเคลื่อนย้ายกำลังคนของประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘

ความท้าทายของการประกันคุณภาพการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ  ความร่วมมือในการประกันคุณภาพการศึกษาที่สามารถส่งผลให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยอมรับหน่วยกิต  และคุณวุฒิการศึกษาระหว่างกันและกัน

และการส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ  พัฒนากระบวนการประกันคุณภาพที่อยู่ในระนาบเดียวกันหรืออย่างน้อยสามารถที่จะเทียบเคียงกันได้  เพื่อความสะดวกในการถ่ายโอนหน่วยกิตและการยอมรับคุณวุฒิการศึกษาระหว่างประเทศต่างๆ อย่างไรก็ตาม  ประเทศในภูมิภาคนี้ยังมีปัญหาร่วมกันคือ  ระดับคุณภาพการศึกษาที่ยังมีช่องว่างอยู่มาก  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมหาวิทยาลัยในระดับโลก  (World Class)  เช่น  ในสิงคโปร์  และมหาวิทยาลัยที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของวงการวิชาการระหว่างประเทศ  เช่น  ในสหภาพพม่า  ประกอบกับหลายประเทศยังไม่มีทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับการประกันคุณภาพ  รวมทั้งการขาดผู้เชี่ยวชาญ  ในหลายประเทศพบข้อจำกัดในระดับนโยบาย  เพราะนโยบายการพัฒนาระบบประกันคุณภาพในบางประเทศไม่เป็นรูปธรรม  ประกอบกับมีหลายหน่วยงานในระบบราชการรับผิดชอบในการผลักดันการประกันคุณภาพ  ซึ่งบางครั้งล้มเหลวมากกว่าประสบความสำเร็จ  ดังนั้น ความร่วมมือในการพัฒนากรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเซียนจึงจะสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ดีขึ้นไม่มากก็น้อย

 

Ref.  จุลสาร สมศ. หน้า 5  กันยายน  2555

มหาวิทยาลัย กับ การประกันคุณภาพ

      “การศึกษา”  หมายถึง  กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม  โดยการถ่ายทอดความรู้  การฝึก  การอบรม  การสืบสานทางวัฒนธรรม  การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ  การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม  การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  “สถานศึกษา”  หมายถึง  สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย  โรงเรียน  ศูนย์การเรียน  วิทยาลัย  สถาบัน   มหาวิทยาลัย  หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา (พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔)

               ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง  ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศให้เป็นคนเก่ง  ดี  มีคุณค่า  ที่พร้อมทั้งด้านสติปัญญา  ความรู้ความสามารถ  เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  รู้จักรับผิดชอบต่อสังคม  อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา  สร้างการเปลี่ยนแปลงหรือเป็นที่พึ่งของสังคมในการป้องกัน  ชี้แนะและแก้ปัญหา  ทั้งในด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมืองและความมั่นคงของประเทศ

ในการบริหารมหาวิทยาลัยนั้น  กฎหมายได้กำหนดได้มีสภาสถานศึกษาหรือที่เรียกขานกันว่า  “สภามหาวิทยาลัย”  ทำหน้าที่กำกับ  ดูแลกิจการของสถานศึกษา  (พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๖) รวมถึงการที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กระจายอำนาจการกำกับดูแลโดยเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยมีอิสระ  คล่องตัวในการบริหารจัดการ  ดังนั้น สภามหาวิทยาลัยในฐานะองค์กรบริหารสูงสุดของสถาบันจึงมีบทบาทสำคัญ  ทำหน้าที่สรรหา  แต่งตั้งอธิการบดี  กำหนดนโยบาย  งบประมาณ  จัดหาและบริหารทรัพยากร  ติดตามประเมินผลการดำเนินการ  และตรวจสอบการบริหารงานของอธิการบดี  ทั้งนี้ ถึงแม้กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการประกันคุณภาพโดยต้องมีการประกันคุณภาพภายใน (Internal  Quality  Assurance : IQA) เป็นประจำทุกปีและต้องได้รับการประเมินภายนอก  (External  Quality  Assessment : EQA) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)  อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีก็ตาม  แต่ที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ที่ถูกสังคมตั้งคำถามว่า  “ทำไมการศึกษาไทยจึงด้อยคุณภาพ?”  หรือแม้กระทั่งปัญหาบางสถาบันมีบัณฑิตสำเร็จการศึกษา  ทั้งที่หลักสูตรยังไม่ผ่านการรับรองจากต้นสังกัด  เป็นต้น

ปรากฏการณ์เหล่านี้ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า  สภามหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นองค์กรบริหารสูงสุดของสถาบัน  มีผลการดำเนินงานแตกต่างกัน  แม้จะอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกันก็ตาม  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยนั่นเอง  ดังนั้นการกำกับดูแลกิจการมหาวิทยาลัยด้วยความทุ่มเท  ร่วมรับผิดชอบสังคม  โดยการจัดการศึกษาต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

๑)      ความเชี่ยวชาญ  สภามหาวิทยาลัยจะต้องกำกับ  ดูแลการจัดการศึกษาทั้งในระดับ

ปริญญาตรีและบัญฑิตศึกษาตามความเชี่ยวชาญเฉพาะของมหาวิทยาลัย  โดยหลักสูตรที่เปิดจะต้องเป็น    ความต้องการของสังคมและชุมชน  ที่สำคัญหลักสูตรต้องผ่านการรับรองจากต้นสังกัดและมีมาตรฐาน    คุณภาพ  ซึ่งความเชี่ยวชาญจะแสดงให้เห็นความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของสถาบันต่อไป

๒)  ความพร้อม  ซึ่งประกอบด้วยความพร้อมด้านคณาจารย์  บุคลากรและสิ่งสนับสนุน

มหาวิทยาลัยใดจะเปิดการเรียนการสอน  เปิดหลักสูตรนอกที่ตั้ง  หลักสูตรภาคพิเศษ  จะต้องได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องเพื่อเป็นการแสดงถึงความพร้อมของบุคลากรและสิ่งสนับสนุนของหลักสูตรนั้นๆ

๓)  ความต้องการหรือความจำเป็นของสังคมถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญ  เนื่องจากพบว่า  หลักสูตรที่เปิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นการเปิดเพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน (Supply  Side) ซึ่งในสภาพจริงแล้วควรตระหนักถึงความต้องการหรือความจำเป็นของสังคม (Demand  Side) เป็นสำคัญ

๔)  ความรับผิดชอบในผลผลิตของมหาวิทยาลัย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพบัณฑิตที่จะรับใช้สังคมต่อไป  บัณฑิตที่ดีนอกจากจะต้องเป็นคนที่มีความรู้  มีทักษะและต้องมีคุณธรรมจริยธรรม  ตลอดจนจรรยาบรรณในวิชาชีพ  มีจิตสำนึกที่ดี  มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์เฉพาะของสถาบัน

ในส่วนของการขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสได้รับการศึกษามากขึ้นนั้น  นับเป็นสิ่งที่ดีและจำเป็นที่ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมจัดให้มีขึ้น  แต่ทั้งนี้โอกาสทางการศึกษาที่หยิบยื่นให้นั้น  ต้องประกอบด้วย ๓ ค คือ (๑) คุณธรรม  คือ  ผู้บริหารสถาบันจะต้องมีคุณธรรม  ซื่อสัตย์ต่อผู้เรียน  โดยจัดบริหารเฉพาะหลักสูตรที่ผ่านการรับรองอย่างถูกต้อง  (๒) คุณภาพ  สถานศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อผลิตบัณฑิตได้มาตรฐาน  เพราะหากมหาวิทยาลัยยิ่งผลิตบัณฑิตที่ด้อยคุณภาพออกสู่สังคมมากเท่าใดก็จะส่งผลกระทบในด้านลบต่อตัวสถาบันเองในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ  (๓) คุณค่า  กล่าวคือ  มหาวิทยาลัยต้องตระหนักถึงความจำเป็นหรือความต้องการของสังคม  โดยการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน

ดังนั้นในฐานะสภามหาวิทยาลัยซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินของมหาวิทยาลัย  จะต้องส่งเสริม  สนับสนุน  ให้เกิดคุณภาพอย่างแท้จริง  โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล  มหาวิทยาลัยจะต้องกำกับ  ดูแล  ควบคุมให้มีคุณภาพ  ต้องมีการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจนเป็นวิถีชีวิตคุณภาพ  โดยการนำผลประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้ในการขับเคลื่อนและพัฒนาสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดีสู่การเป็นองค์กรคุณภาพต่อไป

อ้างอิง : สยามรัฐ  ปีที่ : ๖๓  ฉบับที่ : ๒๑๖๙๗  วันที่ : ศุกร์ ๒๑ กันยายน  ๒๕๕๕

หยิบมาเล่า....การประเมินคุณภาพรอบสาม

ในแวดวงการศึกษาทุกท่านคงรู้กันเป็นอย่างดีว่า การประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งมีทั้งการประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอก แต่ในคราวนี้ดิฉันขอนำเรื่องราวในแวดวงการประกันชคุณภาพการศึกษาภายนอก มาเล่าสู่กันฟังใน KM Blogนี้นะคะ

การประกันคุณภาพภายนอก ซึ่ง สมศ.ได้ดำเนินการประเมินภายนอกรอบแรก(พ.ศ. 2544-2548) และประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (พ.ศ. 2549-2553) เสร็จสิ้นไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินคุณภาพรอบสาม(พ.ศ. 2554-2558) โดยในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ในระดับอุดมศึกษานี้ สมศ.ได้กำหนดตัวบ่งชี้ จำนวน 18 ตัวบ่งชี้ ซึ่งครอบคลุมทั้ง 4 มาตรฐานตามที่กฎกระทรวงฯกำหนด โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มตัวบ่งชี้ ได้แก่กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน 15 ตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ 2 ตัวบ่งชี้และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม 1 ตัวบ่งชี้ ทั้งนี้ในส่วนของมทร.พระนคร ได้มีการดำเนินการในการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพรอบสาม ซึ่งจะมีในปีการศึกษา 2556 นี้

ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม  การรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา  ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้การรับรองมาตรฐานสถานศึกษา ดังนี้

๑.      การรับรองมาตรฐานระดับอุดมศึกษา  การรับรองมาตรฐานของสถานศึกษารอบสาม

ระดับอุดมศึกษา  จะพิจารณาข้อมูลจากการประเมินตัวบ่งชี้ที่เชื่อมโยงไปสู่การรับรองมาตรฐานของสถานศึกษา ดังนี้

๑.๑ การประเมินระดับตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้แต่ละตัวจะมีคะแนนต่ำสุดคือ ๐ และสูงสุดคือ ๕

๑.๒ การประเมินกลุ่มตัวบ่งชี้  สมศ. กำหนดเกณฑ์ไว้ ๒ ข้อ คือ

๑) คะแนนเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ที่ ๑ – ๑๑  มีค่าตั้งแต่ ๓.๕๑ ขึ้นไป

๒) คะแนนเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ทุกตัวรวมกัน มีค่าตั้งแต่ ๓.๕๑ ขึ้นไป  โดยใช้ทศนิยม ๒

ตำแหน่ง

๑.๓ ความหมายของระดับคุณภาพ  ค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวบ่งชี้หรือในภาพรวม

สามารถแปลความหมายของระดับคุณภาพ ดังนี้

ช่วงคะแนน                                             ระดับคุณภาพ

๔.๕๑ – ๕.๐๐                                               ดีมาก

๓.๕๑ – ๔.๕๐                                                  ดี

๒.๕๑ – ๓.๕๐                                               พอใช้

๑.๕๑ – ๒.๕๐                                            ต้องปรับปรุง

๐.๐๐ – ๑.๕๐                                        ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

๒.  การรับรองมาตรฐานระดับคณะ/เทียบเท่า  ใช้เกณฑ์ ๒ ข้อ ในข้อ ๑.๒ และแปลความหมายตามข้อ ๑.๓

๓.  การรับรองมาตรฐานระดับสถาบัน  สถาบันจะได้การรับรองเมื่อ

๓.๑ ผลประเมินระดับสถาบันได้คะแนนเฉลี่ยเป็นไปตามเกณฑ์ ๒ ข้อ ในข้อ ๑.๒

๓.๒ คะแนนผลการประเมินระดับคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่าเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้                       ๓.๒.๑ สถาบันที่มีจำนวน ๑ – ๓ คณะทุกคณะต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

๓.๒.๒ สถาบันที่มีจำนวน ๔ – ๙ คณะ มีคณะที่มีผลการประเมินคุณภาพในระดับ

พอใช้ได้เพียง ๑ คณะเท่านั้น

๓.๒.๓ สถาบันที่มีคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่าจำนวนตั้งแต่ ๑๐ คณะขึ้นไป มีคณะ

เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานตั้งแต่ร้อยละ ๙๐ ของจำนวนคณะทั้งหมด

หมายเหตุ :   หากสถาบันได้รับการรับรองมาตรฐาน แต่มีคณะที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานตามเกณฑ์

ข้างต้น ให้เป็นการรับรองมาตรฐานสถาบันแบบมีเงื่อนไข

โดยจากการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม  จำนวน ๔๗ แห่ง (จำนวน ๓๙๗ คณะ) พบว่า สถาบันอุดมศึกษาได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสถาบันจำนวน ๔๕ แห่ง (ร้อยละ ๙๕.๗๔) และมีสถาบันที่ได้รับการรับรองแบบมีเงื่อนไขจำนวน ๒ แห่ง (ร้อยละ ๔.๒๖) โดยสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานมากที่สุด คือ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎและสถาบันเฉพาะทาง ร้อยละ ๑๐๐ รองลงมา คือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ร้อยละ ๘๘.๒๔ ตามลำดับ  และสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองแบบมีเงื่อนไข คือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนร้อยละ ๑๑.๗๖ รายละเอียดดังนี้

 

 

ลำดับ

 

สังกัด

จำนวนทั้งหมด

(แห่ง)

รับรอง

รับรองแบบมีเงื่อนไข

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมหาวิทยาลัยราชภัฎ

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

สถาบันเฉพาะทาง

 

๒๑

๑๗

๒๑

๑๕

๑๐๐.๐๐

๑๐๐.๐๐

๑๐๐.๐๐

๘๘.๒๔

๑๐๐.๐๐

๐.๐๐

๐.๐๐

๐.๐๐

๑๑.๗๖

๐.๐๐

  รวม

๔๗

๔๕

๙๕.๗๔

๔.๒๖

จากผลการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยรายตัวบ่งชี้จำแนกตามประเภทสถาบันพบว่า สถาบันอุดมศึกษา

ส่วนใหญ่  มีคแนนรายตัวบ่งชี้อยู่ในระดับคุณภาพดีและดีมาก  ทั้งนี้เมื่อพิจารณาคะแนนรายตัวบ่งชี้ที่ ๓ ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  พบว่า อยู่ในระดับพอใช้ ต่างจากสถาบันอื่น คือ  มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎ  และมหาวิทยาลัยเอกชน  ที่อยู่ระดับดี  ส่วนตัวบ่งชี้ที่ ๔ , ๕ , ๖ , ๗ และ ๑๔ ของสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎ  และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน  พบว่า มีคะแนนรายตัวบ่งชี้ที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้และต้องปรับปรุง รายละเอียดดังนี้

 

 

 

 

ตัวบ่งชี้

ค่าน้ำหนัก

คะแนน

ประเภทสถาบัน / คะแนนเฉลี่ย   (ระดับคุณภาพ)

ม.ในกำกับรัฐ

ม.รัฐ

ม.ราชภัฎ

ม.เอกชน

๓.   ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ดั้บการตีพิมพ์หรือเผยแพร่๔.   ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับ

ปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

๕.   งานวิจัยหรืองานสร้งสรรค์ที่ได้รับ

การตีพิมพ์หรือเผยแพร่

๖.   งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ที่นำไปใช้ประโยชน์

๗.   ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรอง

คุณภาพ

๑๔.   การพัฒนาคณาจารย์

๓.๓๔

(พอใช้)

๔.๖๓

(ดีมาก)

๔.๒๐

(ดี)

๔.๕๒

(ดี)

๓.๗๒

(ดี)

๓.๕๐

(พอใช้

๔.๔๕

(ดี)

๔.๔๒

(ดี)

๔.๔๒

(ดี)

๔.๑๗

(ดี)

๓.๖๙

(ดี)

๓.๖๖

(ดี)

๔.๐๖

(ดี)

๑.๗๕

(ต้องปรับปรุง)

๒.๐๑

(ต้องปรับปรุง)

๔.๑๙

(ดี)

๒.๗๐

(พอใช้)

๒.๑๙

(ต้องปรับปรุง)

๓.๙๕

(ดี)

๓.๔๖

(พอใช้)

๒.๖๑

(พอใช้)

๓.๐๖

(พอใช้)

๓.๑๘

(พอใช้)

๒.๒๓

(ต้องปรับปรุง)

ด้านวุฒิการศึกษาของอาจารย์ทั้งหมด  จำนวน ๕๖,๙๗๘ คน  พบว่า ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับ

ปริญญาโท ร้อยละ ๕๘.๐๑ (๓๓,๐๕๕ คน)  มีวุฒิการศึกษาปริญญาเอกเพียงร้อยละ ๓๑.๑๔ (๑๗,๗๔๘ คน)  และส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งอาจารย์ ร้อยละ ๖๗.๑๑ (๓๘,๒๓๘ คน) มีวุฒิศาสตราจารย์เพียงร้อยละ ๑.๐๑ (๕๗๗ คน)  และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลไม่ตำแหน่งศาสตราจารย์เลย

สำหรับสัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อผู้เรียน  พบว่า ในภาพรวมมีจำนวนอาจารย์ต่อจำนวนผู้เรียน คือ

๑ : ๓๓ โดยมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีสัดส่วนน้อยที่สุด คือ ๑ : ๑๘ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎมีสัดส่วนมากที่สุด คือ ๑ : ๕๒

ข้อเสนอแนะต่อสถานศึกษาระดับอุดมศึกษามี ๒ ประเด็น คือ การพัฒนาบุคลากร  และผลงานวิชาการ  ภาครัฐต้องเร่งสร้างระบบและกลไกงานวิจัย  เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในบริบทของความเป็นไทย  เนื่องจากฐานคิดตะวันตกและฐานคิดตะวันออกมีความแตกต่างกัน  ทำอย่างไรให้งบประมาณเพียงพอต่อการวิจัย  ให้งบประมาณแล้วต้องอย่าให้โซ่ตรวน  ไม่ให้บั่นทอนขวัญและกำลังใจของคณาจารย์สร้างระบบบ่มเพาะ  ระบบพี่เลี้ยงให้เหมาะสมกับธรรมชาติของแต่ละศาสตร์  และการให้งบประมาณวิจัยควรต้องให้งบประมาณการวิจัยระยะยาว ๓ – ๕ ปี  และให้การสนับสนุนที่เป็นระบบ  พัฒนาให้มีสัดส่วนเวลาของการสอนและการสร้างงานวิจัยที่เหมาะสม  สร้างเงื่อนไขของการพัฒนาโดยการกำหนดตัวบ่งชี้ให้เพิ่มตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย  ผู้บริหารต้องบริหารจัดการให้ครูอาจารย์มีผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น  สถานศึกษาต้องสร้างบรรยากาศทางงานวิชาการเพิ่มขึ้น  ขอให้ผู้บริหารคำนึงถึงบาป บุญ คุณ โทษ  โดย สมศ. ได้ปรับ SWOT เป็น  CP- SWOT PLUS บาปส่งผลต่ออนาคตและเครดิตของสถานศึกษา  และจะเป็นคุณถ้าครูอาจารย์มีความเชี่ยวชาญและมีสัดส่วนที่เพียงพอ  แต่คงจะเป็นโทษมาก  ถ้ามีหลักสูตรแต่ไม่มีครูอาจารย์  สถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชนมีพันธกิจในการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ  จึงอยากฝากทั้งรัฐและเอกชนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย

Ref. : จุลสาร สมศ. / หน้า 7 – 8 / เดือนสิงหาคม 2555