Monthly Archives: December 2012

คุณภาพ ๓ ประการ : ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพศิษย์

คุณภาพ ๓ ประการ : ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพศิษย์

      คุณภาพการจัดการศึกษา

ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาที่สำคัญ   ได้แก่   การกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับบริบท  นโยบายต้องมีความต่อเนื่อง  ชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ที่สำคัญ คือ  ต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  นอกจากนี้ ต้องมีครูอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิ/ความรู้  ผู้บริหารมีคุณภาพ  มีอาคารสถานที่เหมาะสม  ห้องเรียนมีชีวิต  และสถานศึกษาต้องมีเสรีภาพทางวิชาการ

คุณภาพครู

คือ  ภาพสะท้อนจากคุณภาพศิษย์  ดังนั้น ครูจึงเป็นหัวใจของการพัฒนาศิษย์  โดยมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพครู  ได้แก่  ครูที่มีความรู้  มีความใฝ่รู้  และมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  มีความรัก  ความเมตตา  ปรารถนาดีต่อศิษย์  ทุ่มเท  เสียสละ  ทำงานเต็มศักยภาพ  มีความภาคภูมิใจต่อวิชาชีพ  มีจิตวิญญาณความเป็นครูและมีทัศนคติที่ดี

คุณภาพการประเมิน

หมายรวมถึง  การประเมินตนเอง (IQA) การประเมินภายนอกด้วยกัลยาณมิตร (EQA) การประเมินเพื่อพัฒนาและการสร้างคุณค่าต่อสังคม  โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการประเมิน  ได้แก่  การที่ผู้ประเมินและผู้รับการประเมินมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการประเมิน  การประเมินที่จะต้องสะท้อนสภาพจริง  การมีส่วนร่วมในการประเมินของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงการนำผลประเมินไปใช้เพื่อการพัฒนาและนำไปสู่วิถีชีวิตคุณภาพต่อไป

จะเห็นได้ว่า  “คุณภาพศิษย์” เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของการจัดการศึกษา  คุณภาพของครู  รวมถึงคุณภาพของการประเมิน  ซึ่งเป็นพันธกิจที่สำคัญของ สมศ.  ดังนั้น สมศ. จึงได้กำหนด  “เป้าหมายสูงสุดของการประเมิน” คือ  “คุณภาพศิษย์”  เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึง  “คุณภาพ” ที่เกิดขึ้นจริงกับตัวผู้เรียนที่เป็นผลผลิตจากสถานศึกษา  ดังนั้น “คุณภาพศิษย์” จึงเป็นเป้าหมายของการประเมิน

ในโอกาสนี้อยากจะขอนำกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษาน้อมนำไปปฏิบัติร่วมกัน ความว่า“...เมื่อทำงานอย่าหยิบเอาความขาดแคลนมาเป็นข้ออ้าง  จงทำงานท่ามกลางความขาดแคลนให้บรรลุผล”

               “การเป็นคนเก่ง  ดี  และมีคุณค่านั้นจะทำให้เกิด “ความสุข” ขึ้นได้  ความสุข คือ  สุขอย่างคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ  ซึ่ง “คุณภาพชีวิตที่ดี”เกิดจากการพัฒนาใน ๔ มิติ คือ  กาย  จิต  ปัญญา  และสังคม”

ที่มา : คุณภาพศิษย์ เป้าหมายการประเมิน. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. ๒๕๕๕

คุณภาพการประเมิน

คุณภาพการประเมิน

               การที่บอกว่าสถานศึกษาใดมีคุณภาพหรือไม่นั้น  เราจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับใช้ในการวัดและประเมินผล  ดังนั้น การประเมินจึงเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการวัดคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  โดยการประเมินจะประกอบด้วยการประกันคุณภาพภายใน  และการประเมินคุณภาพภายนอก

การประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance)

เป็นกระบวนการที่บุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาร่วมกันวางแผน  กำหนดเป้าหมายและวิธีการ  ลงมือปฏิบัติตามแผนในทุกขั้นตอน  มีการบันทึกข้อมูลเพื่อร่วมกันตรวจสอบผลงาน  หาจุดเด่น  จุดที่ต้องปรับปรุง  และร่วมกันปรับปรุงแผนงานนั้น ๆ โดยมุ่งหวังให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษาที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ

การประเมินคุณภาพภายนอก (External Quality Assessment)

เพื่อกระตุ้นให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ  รวมทั้งเป็นการสะท้อนจุดเด่น  จุดที่ควรพัฒนา  เงื่อนไขความสำเร็จของสถานศึกษานั้น ๆ พร้อมเสนอแนะแนวทางปรับปรุงให้กับสถานศึกษา  และรายงานผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบต่อไป

“การประเมินภายนอกรูปแบบ “กัลยาณมิตรประเมิน” เป็นการประเมินที่มุ่งพัฒนาคุณภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด  พร้อมด้วยคุณธรรม  จริยธรรม  ตามนัยของความเกื้อกูลกัน  สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา”

               สมศ. มีการกำหนดรูปแบบในการประเมินคุณภาพภายนอกไว้คือ “กัลยาณมิตรประเมิน” (Amicable Assessment) ซึ่งเป็นการประเมินโดยกัลยาณมิตรที่มุ่งพัฒนาคุณภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด  พร้อมด้วยคุณธรรม  จริยธรรม  และจรรยาบรรณ  โดยมีการกำหนดขั้นตอนไว้ ๔ ขั้นตอนหลัก ดังนี้

ขั้นที่ ๑  ส่งเสริมและพัฒนา คือ การสร้างเจตคติที่ดีที่ถูกต้อง  สมจริงต่อการประกันคุณภาพการศึกษา  โดยเฉพาะการประเมินคุณภาพภายนอกและส่งเสริมพัฒนาให้สถานศึกษาพร้อมพัฒนาสู่คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบัน  และพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.

ขั้นที่ ๒  สร้างศรัทธาต่อหมอโรงเรียน คือ การพัฒนาคัดสรรผู้ประเมินภายนอกที่มีความสามารถและมีความเป็นกัลยาณมิตร  เพื่อให้สถานศึกษาเกิดศรัทธาและไว้วางใจต่อผู้ประเมินภายนอก  และมีความเป็นมิตรต่อกันในการปฏิบัติภารกิจการประเมินคุณภาพภายนอก  เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา

ขั้นที่ ๓  เพียรประเมินอย่างกัลยาณมิตร คือ การประเมินสภาพจริงเพื่อยืนยันผลประเมินจากการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  เพื่อพัฒนาสู่มาตรฐานโดยการบูรณาการ  การประเมินตนเอง  การประเมินเชิงประจักษ์  การประเมินเสริมพลัง  การประเมินเชิงคุณภาพ  และการประเมินเทียบมาตรฐานด้วยหลักการ “เข้าใจ  เข้าถึง  แล้วจึงเข้าประเมิน”

ขั้นที่ ๔ ชี้ทิศทางและเสริมแรงพัฒนา คือ  การรายงานผลการประเมินต่อสถานศึกษาต้นสังกัด  และสาธารณชนอย่างตรงไปตรงมา  พร้อมทั้งร่วมมือกับตันสังกัดในการให้แรงเสริม  เพื่อให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

“การประเมินเพื่อพัฒนา  เพื่อกระตุ้นให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  และมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ดี”

               การประเมินเพื่อพัฒนา

               ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามนี้สมศ. ได้พยายามชี้ให้เห็นว่าการประเมินของ

สมศ. เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา  เพราะหากสถานศึกษามีการวางระบบการประกันคุณภาพภายในที่อยู่ในวิถีชีวิตของการทำงานตามปกติอย่างต่อเนื่อง  และมีการนำผลจากการประเมินไปวางแผนพัฒนาสถานศึกษาตามข้อเสนอแนะแล้ว  การประเมินก็จะไม่เป็นภาระหรือสร้างความกังวลให้กับสถานศึกษาและบุคลากรในองค์กรอีกต่อไป

นอกจากการประเมินจะมีคุณูปการต่อสถานศึกษาแล้ว  ยังสร้างคุณค่าต่อสังคมในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวคือ การประเมินที่มคุณภาพจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค  ซึ่งหมายถึงพ่อแม่  ผู้ปกครองและสังคม  ว่าสถานศึกษาที่บุตรหลานของท่านกำลังศึกษาอยู่มีคุณภาพและมาตรฐาน  ทั้งนี้การประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. นับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยคุ้มครองผู้บริโภคด้วยระบบการประเมินที่มีคุณภาพ  ซึ่งประกอบด้วย

๑)      มีเกณฑ์และวิธีการประเมินที่มีคุณภาพเข้ากับบริบทของสถานศึกษา  และได้รับการ

ยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

๒)      มีกระบวนการประเมินที่มีคุณภาพ  ทั้งก่อนการประเมิน  ระหว่างการประเมิน  และหลัง

การประเมิน  รวมทั้งการเก็บข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  การจัดทำรายงานที่มีผลประเมินตรงตามสภาพจริง  ไม่บิดเบือน  เชื่อถือได้

๓)      มีผู้ประเมินภายนอกที่มีคุณภาพ  มีความรู้ความสามารถ  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และประเมินด้วยรูปแบบกัลยาณมิตร

ที่มา : คุณภาพศิษย์ เป้าหมายการประเมิน. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. ๒๕๕๕

คุณภาพครู

คุณภาพครู

                          คุณภาพครู  ได้แก่  ครูที่มีความรู้  มีความใฝ่รู้และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  สม่ำเสมอ  มีความรัก  ความเมตตา  ปรารถนาดีต่อศิษย์  ทุ่มเท  เสียสละ  ทำงานเต็มศักยภาพ  มีความภาคภูมิใจต่อวิชาชีพ  มีจิตวิญญาณความเป็นครูและมีทัศนคติที่ดี

ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของครูมีหลายประการ คือ

๑.      ครูต้องมีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

๒.      มีความมุ่งมั่น  เสียสละ  ทุ่มเทกำลังความสามารถ

๓.      มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง  หน้าที่  และส่วนรวม

๔.      มีความภาคภูมิใจในเกียรติภูมิของอาชีพครู  ต้องครองตนเป็นแบบอย่างที่ดี

๕.      มีคุณธรรม  จริยธรรม  และจรรยาบรรณในวิชาชีพ

“ในฐานะครูซึ่งมีหน้าที่พัฒนาศิษย์ทุกคนให้มีคุณภาพ  เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า  คุณภาพครูคือ ภาพสะท้อนจากคุณภาพศิษย์ นั่นเอง” 

ที่มา : คุณภาพศิษย์ เป้าหมายการประเมิน. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.   ๒๕๕๕

คุณภาพการจัดการศึกษา

คุณภาพการจัดการศึกษา

               พ่อแม่สร้างชีวิต  สถาปนิกสร้างบ้าน  ครูอาจารย์สร้างอนาคต  การศึกษาที่แท้ต้องมุ่งสร้างคนให้มีคุณค่า  มิใช่เพียงเพื่อตนเอง  แต่ต้องเพื่อสังคม  ชุมชน  และแผ่ขยายไปสู่มวลมนุษยชาติ  การจัดการศึกษาเพื่อคุณภาพของศิษย์จึงเป็นการศึกษาเพื่อให้ศิษย์รู้จักกระบวนการเรียนรู้  ที่มิใช่เพียงอยู่ในห้องเรียน  แต่ต้องสอนให้ศิษย์ได้รู้จักแสวงหาความรู้จากโลกกว้าง  มิใช่มุ่งเพียงให้ศิษย์เป็นคนดี เป็นคนเก่ง  แต่ต้องให้เขารู้จักใช้ความดี  ความเก่งเพื่อประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งมวล

ในขณะที่ยูเนสโกได้กำหนดภาระด้านการศึกษาในทศวรรษที่ ๒๑  ว่าจะต้องประกอบด้วย

“สี่เสาหลัก” ที่เป็นรากฐาน  ได้แก่

การเรียนเพื่อรู้ (Learning to know)

เน้นการรวมความรู้ที่สำคัญเข้าด้วยกัน  มีการศึกษาลงลึกในบางวิชา  ซี่งจะเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต  เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับให้คนที่ชอบแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา

การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติ (Learning to do)

เน้นการพัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้เรียน  ช่วยสร้างความสามารถในการดำรงชีพอยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ทดลองและพัฒนาความสามารถของตน  โดยมีส่วนร่วมในโครงการประสบการณ์ในงานอาชีพหรืองานทางสังคม

“ยูเนสโกได้กำหนดภาระด้านการศึกษาในทศวรรษที่ ๒๑ ว่าจะต้องประกอบด้วย

“สี่เสาหลัก” ที่เป็นรากฐาน”

               การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to be)

               เน้นให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกด้านและสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  โดยมีส่วนในการจรรโลงสิ่งดี ๆ และระงับยับยั้งสิ่งไม่ดีไม่เหมาะสมได้อย่างมีความสุข

การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน (Learning to live together)

เน้นให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ  มีความรักและเคารพซึ่งกันและกัน  สร้างความรู้ความเข้าใจในผู้อื่นทั้งแง่ประวัติศาสตร์  ธรรมเนียมประเพณี  ค่านิยมทางจิตใจที่เหมาะที่ควรต่อมวลมนุษย์  อย่างไรก็ตามเราจะพบว่ามีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษา คือ

 

ด้านนโยบาย

๑)      การกำหนดนโยบายควรสอดคล้องกับบริบทของสังคม  มีความต่อเนื่อง  ชัดเจน

สามารถชี้นำสังคม  เป็นที่ยอมรับและไม่มุ่งประโยชน์ทางการเมือง

๒)      มีการทบทวน  ตรวจสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  สม่ำเสมอ

ด้านการเรียนการสอน

๑)      มีการ “ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน” โดยเน้นให้ผู้เรียนเรียนผ่านการปฏิบัติหรือ

ประสบการณ์ตรง

๒)      เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง  และผู้เรียนสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ

ได้จริง

๓)      มีคณาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิ  ความรู้ความสามารถและเพียงพอต่อการจัด

การเรียนการสอน  รวมถึงสามารถกำกับดูแลให้เป็นไปตามข้อกำหนด

๔)      ห้องเรียนต้องเป็นห้องเรียนที่มีชีวิต  มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจกระตุ้นความคิด

สร้างสรรค์

๕)      ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต  ประวัติศาสตร์

ภูมิศาสตร์  รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง

ด้านการบริหารจัดการ

๑)      ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์  มีคุณธรรมยึดมั่นและบริหารภายใต้หลักธรรมาภิบาล

๒)      มีระบบการคัดกรองและการประเมินผลที่มีคุณภาพและเหมาะสม

๓)      สถานศึกษาต้องมีเสรีภาพทางวิชาการและในการจัดการศึกษา  มีอิสรภาพในการบริหาร

จัดการ  ให้คำชี้แนะและเป็นที่พึ่งของสังคมได้

“การจัดการศึกษาเพื่อคุณภาพของศิษย์จึงเป็นการศึกษาเพื่อให้ศิษย์รู้จักกระบวนการเรียนรู้  ที่มิใช่เพียงอยู่ในห้องเรียน  แต่ต้องสอนให้ศิษย์ได้รู้จักแสวงหาความรู้จากโลกกว้าง”

      ด้านสถานที่และงบประมาณ

๑)      มีอาคารสถานที่และบริเวณที่สะอาด  ถูกสุขอนามัย  สวยงาม  กระตุ้นจูงใจให้อยาก

มาเรียน  และเพียงพอต่อความต้องการ

๒)      สื่อ อุปกรณ์  เช่น  ห้องสมุดที่ทันสมัย  หนังสือจำนวนมากให้ค้นคว้าในสิ่งที่อยากรู้

อยากเห็น  อยากทำความเข้าใจ  มีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงห้องเรียนกับโลกกว้างได้

ที่มา : คุณภาพศิษย์ เป้าหมายการประเมิน. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.  ๒๕๕๕

 

 

เครือข่าย C-IQA

เครือข่าย C-IQA

โครงการส่งเสริมและพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา

ภายในสถาบันอุดมศึกษาของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

      พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  มุ่งหมายให้การจัดการศึกษาของประเทศไทยให้ความสำคัญต่อคุณภาพและมาตรฐานเพื่อสร้างผลสัมฤทธิ์อันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน  โดยใช้กลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกเป็นเครื่องมือกำกับ  กระตุ้น  และส่งเสริมกาพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการสินค้าสาธารณะ (Public Goods) ทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักได้ดำเนินการส่งเสริมการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันอุดมศึกษา  โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา (IQA) ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา  เพื่อส่งเสริม  สนับสนุนและพัฒนาการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา  และเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาโดยนำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  รวมทั้งพัฒนากระบวนการประกันคุณภาพให้มีความทันสมัยสอดคล้องตามบริบททางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  โดยมีกลไกหลักคือ  กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ทั้งนี้  กระบวนการประเมินคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่ร่วมดำเนินงานกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในหลายสถานะ  ทั้งในฐานะเครือข่ายคณาจารย์ประเมินคุณภาพภายในระดับพื้นที่/ วิทยากรแกนนำ/ ผู้ประเมิน IQA ถือเป็นระบบที่เชื่อมโยงการทำงานแบบไม่เป็นทางการร่วมกับคณะกรรมการ IQA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ  และการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม

นับแต่ปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นมา  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดรูปแบบการทำงานแบบบูรณาความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน  โดยแบ่งพื้นที่ภูมิภาคออกเป็น 9 ภูมิภาค  และกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เดียวกันร่วมดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมศักยภาพความเข้มแข็งแก่คณาจารย์และสถาบันอุดมศึกษาไปด้วยกัน  โดยกำหนดประเด็นหลักเพื่อดำเนินการในระยะแรก 4 กลุ่ม คือ เครือข่ายวิจัยชุมชนฐานราก/ เครือข่าย UBI/ เครือข่ายวิจัยเชิงพาณิชย์/ และเครือข่ายสหกิจศึกษา ใช้ชื่อเรียกว่า เครือข่าย C – เชิงประเด็น  ในปีงบประมาณ 2555 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดตั้งเครือข่าย C – เชิงประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา หรือเครือข่าย C-IQA  โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างการดำเนินงานของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาซึ่งแบ่งเป็น 9 ภูมิภาค (Node)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่าย C – เชิงประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

ระดับอุดมศึกษา หรือเครือข่าย C – IQA เป็นคณะทำงานระดับพืนที่เพื่อส่งเสริมด้านการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา

  1. เพื่อสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานของคณาจารย์การประกันคุณภาพภายในระหว่าง

สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่

  1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความรู้ความเข้าใจ  ขยายความร่วมมือการดำเนินการประกัน

คุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาแก่ผู้บริหาร  คณาจารย์  และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

  1. เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาบูรณาการความร่วมมือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมการประกันคุณภาพ

ภายใน  เพื่อสร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการเรียนการสอนและทรัพยากรมนุษย์

  1. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพองค์กรโดยให้ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาเป็น

กลไกขับเคลื่อน

เป้าหมายของโครงการ

  1. ให้ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและ

ยกระดับมาตรฐานคุณภาพการเรียนการสอนและการวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา

  1. ให้มีเครือข่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา
  2. เสริมสร้างวัฒนธรรม – ค่านิยมใหม่ (Core Values) ให้คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษามีส่วนร่วม

สร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อให้มีวงจรพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง

กรอบการดำเนินงานและกิจกรรมที่ต้องเสนอ

เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาแต่ละแห่ง (โดยเครือข่าย C – IQA) นำเสนอโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร  และขยายผลความร่วมมือการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย  จำนวนไม่น้อยกว่า 4 โครงการ  โดยมีกรอบดำเนินกิจกรรม ดังนี้

  1. การดำเนินกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมและประสานการดำเนินการการประกันคุณภาพภายในของ

สถาบันอุดมศึกษาให้กับคณาจารย์  และสถาบันฯ สมาชิกในเชตพื้นที่  เช่น

(1)    การวางแผนกลยุทธ์ในระดับเครือข่าย

(2)    การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและการสร้างความสัมพันธ์เชิงลึกระหว่างเครือข่าย

คณาจารย์และสถาบันฯ สมาชิก  ด้วยวิธีการต่างๆ  เช่น  การประชุมสัมมนา  การฝึกอบรม  การตรวจเยี่ยม  การประชาสัมพันธ์  และการจัดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์อื่นทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

(3)    การเสริมสร้างทักษะ – องค์ความรู้ในการดำเนินงานและตรวจประเมินการประกันคุณภาพ

ภายในของสถาบันอุดมศึกษาให้กับผู้บริหาร  คณาจารย์  และบุคลากรในสถาบันฯ สมาชิกด้วยวิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การฝึกอบรม  การประชุมเชิงปฏิบัติการ  เป็นต้น

(4)    การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันฯ สมาชิก

รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน

(5)    การส่งเสริมให้เกิดข้อตกลงความร่วมมือและการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างเครือข่าย หรือ

สถาบันฯ สมาชิก

(6)    กิจกรรมอื่นที่เครือข่ายเห็นสมควรดำเนินการเพื่อผลสัมฤทธิ์ของการส่งเสริมพัฒนาการประกัน

คุณภาพภายใน

  1. กิจกรรมหลักที่สกอ. กำหนดในปีงบประมาณ 2555-2556 คือ

(1)    กิจกรรมสร้างความเข้าใจในตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในครบ

วงจร  ทั้งปัจจัยนำเข้า  กระบวนการและผลผลิต  และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในผ่านระบบ CHE QA  Online  ให้กับคณาจารย์และผู้รับผิดชอบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา  โดยมีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับขนาดของเครือข่าย

(2)    กิจกรรมการฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับนิสิต

นักศึกษา  ให้สามารถนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในงานกิจกรรมนิสิตนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยมีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับขนาดของเครือข่าย

(3)    กิจกรรมสานเสวนา  เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินรวมทั้ง

แนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  ระดับอุดมศึกษาในอนาคต

(4)    กิจกรรมอื่นๆ ที่เครือข่ายเห็นสมควรดำเนินการที่เหมาะสมกับจำนวนงบประมาณที่ได้รับ

  1. เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา (โดยเครือข่าย C – IQA) ต้องจัดทำรายงานผลความก้าวหน้า

การปฏิบัติงานทุกรอบ 6 เดือน (Progress  Repost) เสนอต่อคณะกรรมการติดตามประเมินผลในการตรวจเยี่ยม (Site  Visit) ปีละ 2 ครั้ง

จำนวนสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายเชิงประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา

เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9   แห่ง

(สถาบันแม่ข่าย)

จำนวนสถาบัน

อุดมศึกษา (แห่ง)

1.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

14

2.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง   (มหาวิทยาลัยนเรศวร)

10

3.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน   (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

14

  1.   เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง   (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)

15

5.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน   (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

44

6.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง   (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

31

7.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก   (มหาวิทยาลัยบูรพา)

6

8.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน   (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

7

9.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่าง   (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

9

รวม

150

หมายเหตุ  จำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่แสดงไม่รวมวิทยาลัยชุมชน

ทั้งนี้ มทร.พระนคร ได้เป็นสมาชิกในกลุ่มเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นแม่ข่าย) และผอ.สำนักประกันคุณภาพ ของมทร.พระนคร ผศ.สุขุมาล หวังวณิชพันธุ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหารเครือข่ายดังกล่าวด้วย

การบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศของ มทร.พระนคร

การบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศของ มทร.พระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุขุมาล  หวังวณิชพันธุ์

      เป็นที่ทราบกันแล้วว่า "คุณภาพของคน" เป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวสู่ความสำเร็จของการพัฒนาประเทศ และ "การศึกษา" เป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ  การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ ที่มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดให้มี ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ  และได้กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 48) รวมทั้งให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก 5 ปี โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 49) จากการจัดทำรายงานประเมินตนเอง ที่ผ่านมา ทำให้สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ได้เริ่มต้นกระบวนการดังกล่าว ตั้งแต่การรวบรวมผลการดำเนินงาน การประเมินตนเอง มาวิเคราะห์  จำแนกรายองค์ประกอบในแต่ละตัวชี้วัด โดยเฉพาะองค์ประกอบที่ 2 ด้านการเรียนการสอน ในตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร ได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำไปสู่วางแผนและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและการบริหารหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

อีกทั้งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552 ซึ่งถือเป็นกฎหมาย ได้ระบุให้ทุกหลักสูตรต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานที่กำหนดภายในปีการศึกษา 2555 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งที่เป็นหน่วยงานกำกับและส่งเสริมการดำเนินการของสถาบันอุดมศึกษา ได้จัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการนำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม  โดยกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา(TQF) เน้นผลการเรียนรู้ (learning outcomes)ของนักศึกษา ซึ่งต้องมีอย่างน้อย 5 ด้าน คือ (1)ด้านคุณธรรม จริยธรรม (2) ด้านความรู้  (3)ด้านทักษะทางปัญญา(4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นั้น นอกจากผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านดังกล่าวแล้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่ต้องการทักษะทางกายภาพจึงได้เพิ่มการเรียนรู้ด้าน ทักษะพิสัย เพื่อการพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติของมทร.พระนครให้มีคุณภาพ และมาตรฐานที่สามารถเทียบเคียงกันได้ ในการเตรียมความพร้อมเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปีพ.ศ. 2558 โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน(สสท.) ได้กำหนดหลักการประเมินผลการดำเนินงานของหลักสูตรโดยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยคณะต่างๆต้องจัดทำรายละเอียดหลักสูตร ตามขั้นตอนการเปิดหลักสูตรใหม่หรือการปรับปรุงหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ภายใต้รูปแบบที่กำหนดของมหาวิทยาลัย ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาวิชาการ สภามหาวิทยาลัยและสภาวิชาชีพ(ถ้ามี) จากนั้นจึงนำเสนอ สกอ. ภายใน 30 วัน หลังจากได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย

นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดทำ รายละเอียดรายวิชา(มคอ.3) และ/หรือรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม(มคอ.4) และต้องดำเนินการจัดทำให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคการศึกษานั้นๆ     หลังจากดำเนินการสอนเสร็จสิ้นในแต่ละภาคการศึกษา อาจารย์จะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ. 5) และ/หรือรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.6)  ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอน  ต้องจัดทำให้ครบถ้วนทุกรายวิชา โดยนำเสนอต่อคณะ  นอกจากนี้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรือหัวหน้าหลักสูตร จะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร(มคอ.7)  ภายใน 60 วัน  หลังสิ้นสุดปีการศึกษา ทั้งนี้ มคอ. 7 จะต้องนำเสนอต่อสภาวิชาการ และสภามหาวิทยาลัยตามลำดับ

จากขั้นตอนการดำเนินการบริหารหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น เป็นผลให้มีการกำหนดขั้นตอน

การดำเนินงานด้วยการกำหนดแผนผังการไหลของงาน(Flow Chart) ที่ได้จากการระดมสมองของ

ตัวแทน/หัวหน้างานหลักสูตรจากคณะต่างๆ เป็นแนวทางปฏิบัติการนำเสนอหลักสูตร ดังแผนผังด้านล่างนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แนวทางปฏิบัติการนำเสนอหลักสูตร

 

จากนั้นได้ดำเนินการจัดทำแผนผังการดำเนินการต่างๆอีกหลากหลาย อาทิเช่น แผนผังการเปิดหลักสูตร แผนผังการปิดหลักสูตร รวมทั้งแบบฟอร์มการรายงานรูปแบบต่างๆในการบริหารหลักสูตร โดยผ่านการจัดการความรู้ เช่น กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียน ที่มีแผนการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นระบบ จากนั้นจึงนำแนวทางที่ได้ตกลงร่วมกัน(Approach) อย่างมีแบบแผนด้วยนำไปใช้(Deployment)อย่างทั่วถึงทั้งองค์กร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้(Learning)และบูรณาการเชื่อมโยงสอดคล้องกัน(Integration)  มีการนำกระบวนการตามที่กำหนดไว้อย่างเป็นระบบไปสู่การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง ด้วยการประกาศใช้และมีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ เช่นแผ่นบันทึกซีดี เว๊บไซต์ของมหาวิทยาลัย คู่มือหลักสูตร การสื่อสารออนไลน์และการ”Walk-in”ในการให้ความกระจ่างตามคณะต่างๆอีกด้วย เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกแก่คณาจารย์ซึ่งนับว่าเป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอย่างครบถ้วน ในด้านกระบวนการ(Process)

ในส่วนของการรายงานผลการดำเนินการ มคอ.3-6 คณะมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อติดตาม ตรวจสอบ ความสมบูรณ์ของการจัดทำ มคอ.3-6  ส่วน สสท. จะรวบรวม มคอ.3-6 จากคณะในรูปของ CD โดยคณะต้องเป็นส่งเป็น Files Pdf. ไม่ต้องส่งเป็นเอกสาร เพื่อการลดความสิ้นเปลืองของทรัพยากร แต่ขอให้รวบรวมในรูปของ CD เพื่อมหาวิทยาลัยจะได้ควบคุม ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามการกำหนดตัวชี้วัด(Measurable)  ด้านการควบคุมคุณภาพการบริหารหลักสูตรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการบริหารหลักสูตรการเรียนการสอน สู่ความเป็นเลิศของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้เริ่มจากการสำรวจความต้องการขององค์กรผ่านการระดมสมอง สู่การกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน การจัดทำแผนปฏิบัติงานรวมทั้งการใช้เครื่องมือทางการจัดการต่างๆมาใช้ในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันทั้งสถาบัน โดยมีการวางเป้าหมายร่วมกัน มุ่งมั่นพัฒนาอย่างจริงจัง และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต