นักปราชญ์ขงจื้อ

ดิฉันมีเรื่อง ขงจื๊อ นักปราชญ์ทางความคิด ขงจื้อผู้อยู่ในศตวรรษที่๖ ก่อนคริสต์กาลนั้นเป็นนักคิด นักการศึกษาที่มีชื่อ เสียงในประวัติของจีน วิชาการสำนักหยู ที่เขาก่อตั้งขึ้นนั้น ได้กลาย เป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของวัฒนธรรมจีนยุคหลัง. ในสมัยศักดินาอันยาวนานของจีน ผู้ปกครองต่างนับถือความคิดสำนักปรัชญาขงจื้อ เป็นความคิดยึดประเพณีนิยมดั้งเดิม ด้วยเหตุนี้ วงศ์ตระกูลขงจื้อจึงเป็นวงศ์ตระกูลที่มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือกันมากตลอดมา มาเล่าให้ฟังค่ะ
ขงจื้อ เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ เมื่อทศวรรษ 1970 มีนักวิชาการชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้จัดให้ขงจื้อเป็นบุคคลอันดับที่ 5ใน100คน ที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่สำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื้อน่าจะอยู่อันดับแรกมากกว่า กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื้อ ไม่มากก็น้อย ขงจื้อ มีชื่อตัวว่า ชิว เป็นคนรัฐหลู่ (คำว่า”จื้อ ” เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็น“อาจารย์”) เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในปลายสมัยชุนชิว และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา“หยูเจีย” หรือสำนักปรัชญาขงจื้อนั่นเอง ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ขงจื้อเกิดที่รัฐหลู่ ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น“เมืองแห่งจารีตและ ดนตรี” มาแต่โบราณกาล การก่อรูปแนวคิดขงจื้อขึ้นอาจได้รับ อิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษา ของรัฐหลู่ ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อสัตย์สุจริตเลี้ยงดูขงจื้อมาด้วยความเข้มงวด กวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็น ผู้มีความรู้และมีคุณธรรม ขงจื้อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่างๆที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล ขงจื้อ “ตั้งตนเป็นอาจารย์ เมื่ออายุ30” และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื้อได้พลิกโฉม การศึกษาในสมัยนั้นโดยทำลาย ธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่ เฉพาะแต่ในราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น ขงจื้อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียน แม้“เนื้อตากแห้ง”เพียง ชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์ เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่าเป็นผุ้มีความรู้ปราดเปรื่อง และมีคุณธรรมสูงส่งถึง 70 คน จากสานุศิษย์ 7 0คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื้อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื้อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า “อาจารย์กล่าวว่า...” ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื้อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือชื่อว่า“หลุน-อวี่” บั้นปลายชีวิตขงจื้อก็ได้รวบรวม บันทึกพงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆมีชื่อว่า “ชุนชิว” ขงจื้อยังเป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญๆทางวรรณคดีจีนซึ่งเป็นที่ยกย่องกันภาย หลัง ได้แก่“ซูจิง”(ตำราประวัติศาสตร์) “ซือจิง”(ตำราว่าด้วยลำนำกวี) เป็นผู้ตรวจแก้ ”อี้ว์จิง” (ตำราว่าด้วยการดนตรี-แต่สาบสูญไปในภายหลัง )และ”หลี่จี้”(ตำราว่าด้วยจารีตประเพณี) หนังสือทั้ง 5 เล่มนี้เรียก รวมกันใน ภาษาจีนว่า ”อู่จิง” (คัมภีร์ทั้งห้า) ขงจื้อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่อง เมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่าง ยิ่ง ความคิดของขงจื้อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรก ที่ขงจื้อสอนสั่งคือ ”เหริน”หรือเมตตาธรรม เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ท่านขงจื่อเรียนถามท่านอาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่า เหริน ?" ท่านก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ "เหริน"
ดิฉันขอเล่าตัวอย่างของขงจื้อ จากหนังสือพงศาวดาร ซึ่งรวบรวมโดย ซือหม่าเซียน นักประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยราชวงศ์ฮั่นในหนังสือเล่มนี้ มีอยู่บทหนึ่งกล่าวว่า
จือ-อวี่ และ ใจ่-อวี่ เป็นศิษย์รุ่นราวคราวเดียวกันของบรมครูขงจื้อ ระยะแรกที่ศิษย์ทั้งสองมาสมัครเรียนวิชาความรู้กับบรมครูขงจื้อนั้น ได้รับท่าทีที่บรมครูแสดงออกแตกต่างกัน จือ-อวี่เป็นผู้ที่มีหน้าตาไม่น่าดู ครั้งแรกที่เขาเข้ามาคุกเข่ามอบตัวเป็นศิษย์นั้น บรมครูขงจื้อก็มีความรู้สึกว่า
“เด็กคนนี้หน้าตาอัปลักษณ์นัก เรียนไปก็คงไม่ได้ดี”
เมื่อมีความรู้สึกเช่นนี้ จึงทำให้บรมครูขาดความเอาใจใส่และเฉยเมยต่อเขา จื่อ-อวี่ เห็นดังนั้นจึงหมดความอดทนและเห็นว่า อยู่ต่อไปก็คงไม่ได้ความรู้ตามที่ตั้งใจมา จึงลาออกไปในที่สุด
ส่วนใจ่-อวี่ นั้นเป็นชายหนุ่มที่หน้าตาดี บรมครูขงจื้อนึกรัก ตั้งแต่ เห็นหน้าครั้งแรก และคิดว่า “เด็กคนนี้หน้าตาสะอาดหมดจด คงต้องมีอนาคตสดใสในการศึกษาเล่าเรียน”
ท่านจึงมีอุตส่าห์ตั้งใจอบรมสั่งสอนเป็นอย่างดี แต่การณ์หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ใจ่-อวี่ มีแต่ความเกียจคร้าน ตื่นสายไม่เอาไหนจนบรมครูขงจื้อ เอือมระอา ถึงกับขนานนามเขาว่า “ไม้ผุที่ใช้ แกะสลักลวดลายมิได้”
ส่วนจื่อ-อวี่นั้น เมื่อเสียใจไปจากท่านบรมครูขงจื้อแล้ว ก็มุมานะศึกษาเล่าเรียนจนกระทั่งต่อมาเขาได้ประสบความสำเร็จ เป็นนักวิชาการศิลปศาสตร์ ตั้งตนเป็นครู มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ในที่สุด จื่อ-อวี่ไ ด้เข้ารับราชการมีตำแหน่งเป็นถึงมหาอำมาตย์แห่งเมืองฉี ท่านบรมครูขงจื้อได้บันทึกความผิดพลาดของท่านเอาไว้แต่ในหนหลัง เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับอนุชนรุ่นหลังโดยไม่อายที่จะบอกถึงความผิดพลาดของตนเองในครั้งนั้นว่า
“เรื่องของใจ่-อวี่ สอนให้ข้าพเจ้ารู้ว่าอย่าเลือกคนจากวาจาหรือชื่นชมหน้าตาอันน่าพึงใจ” วาทะนี้จึงกลายมาเป็น “เลือกคน ให้ดูหน้า”
พอถึงวัยชรา ขงจื้อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป ภายหลังขงจื๊อได้ล้มป่วยหนัก และเจ็ดวันให้หลัง ได้อำลาโลก ตรงกับเดือนสี่ ทางจันทรคติ ในปีที่ 16 รัชสมัยอ๋องอี้ ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมใน ปี 479 ก่อนคริสต์ศักราช รวมอายุได้ 73 ปี ร่างถูกฝังไว้ที่ ซื่อ-สุ่ย ทางเหนือของรัฐหลู่ (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง)

หลักความรู้ ที่ขงจื้อได้วางรากฐานไว้ให้แก่ชนรุ่นหลังเป็นจำนวน 4 แขนงด้วยกัน ได้แก่ วัฒนธรรม ความประพฤติ ความจงรักภักดี และ ความซื่อสัตย์ โดยวัฒนธรรมเน้นถึงการเคารพบรรพบุรุษและพิธีการโบราณ ยึดถือผู้อาวุโสเป็นหลัก แต่ไม่ยึดติด หรืออายที่จะหาความรู้จากคนที่ต่ำชั้นหรืออายุน้อยกว่า ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย"

Comments are closed.