มนุษย์ ถ้าจะมีดีกว่า สิ่งมีชีวิตทั่วไปก็ตรงที่มีสติและปัญญา

บางสิ่งอาจดีที่สุดในเชิงเหตุผล แต่อาจไม่สามารถก่อให้เกิดอารมณ์แห่งความพึงพอใจให้กับคนส่วนใหญ่ได้ เชื่อว่าทุกคนคงเห็นด้วยกับดิฉันที่ว่า มนุษย์ถ้าจะมีดีกว่าสิ่งมีชีวิตทั่วไปก็ตรงที่มีสติและปัญญา ในการแยกแนะสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และคิดพิจารณาเพื่อเลือกทางออกที่ดีที่สุดในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอก มากกว่าการใช้สัญชาตญาณที่ตอบสนองโดยฉับพลันเหมือนสัตว์อื่นทั่วไป การคิดวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนนี้นี่เองที่ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ระมัดระวัง แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์ ก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นทั่วไปเหมือนกัน ตรงที่มีอารมณ์ความรู้สึก มีรัก มีชอบ มีโกรธ และมีหลง เพียงแต่พฤติกรรมการแสดงออกได้ถูกคัดเกลาและหล่อหลอมไปในทางที่ดีได้มากกว่า และตัวที่จะช่วยกำกับอารมณ์ที่อาจจะพลุ่งพล่านไปก็คือเหตุผล ด้วยการศึกษาและการอบรมนอกจากจะช่วยเพิ่มพูนความรู้แล้วแต่นั่นยังไม่พอ เพราะแค่เพียงรู้แต่ยังไม่เกิดจิตสำนึกและนำไปสู่การปฏิบัติได้ ย่อมไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ในท้ายที่สุด การมีสติและใช้เหตุผลเป็นเรื่องทางศาสตร์ ในขณะที่การใช้และควบคุมอารมณ์เป็นเรื่องทางศิลป์ หากแต่ทั้งสองสิ่งสามารถจัดการได้ด้วยการฝึกฝนทั้งสิ้น ดังเช่นเรามักจะคุ้นชินกับคำพูดที่ว่า การคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา (Critical Thinking) เป็นการใช้สมองซีกซ้ายแบบมีลำดับขั้นตอนอย่างมีตรรกะ ในขณะที่ การคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่อแสวงหาหนทางใหม่ๆ (Creative Thinking) เป็นการใช้สองซีกขวาแบบมีจินตนาการไร้ขอบเขต แต่ทั้งนี้ไม่มีใครที่ใช้สมองเพียงซีกเดียว ล้วนแล้วแต่ใช้ทั้งสองซีกทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้การเลือกใช้ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่อยู่ตรงหน้านั้นถือว่าเป็นปัญญาอย่างแท้จริง บางคนใช้อารมณ์มากจนเกินไป ในขณะที่สิ่งที่อยู่ตรงหน้าเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขด้วยการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ในขณะที่บางคนใช้เหตุผลเพียงเพื่อจะหาคำตอบหนึ่งเดียวในขณะที่มีทางออกมากมายที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์นั้นๆ แต่เชื่อว่าส่วนใหญ่ในโลกนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาทั้งเหตุผลและอารมณ์ควบคู่กันไป เพราะบางสิ่งอาจดีที่สุดในเชิงเหตุผล แต่อาจไม่สามารถก่อให้เกิดอารมณ์แห่งความพึงพอใจให้กับคนส่วนใหญ่ได้ ในขณะเดียวกันสิ่งที่คนจำนวนมากเรียกร้อง แต่ถ้าไม่ถูกต้องในเชิงเหตุผลหรือศีลธรรมอันดีงาม ก็คงเป็นไปไม่ได้ที่จะถูกหยิบยกมาปฏิบัติ ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นแบบอย่างที่ยึดถือปฏิบัติกันโดยผิดๆ หลักอันหนึ่งสำหรับทุกคนที่น่าจะลองพิจารณาและหยิบยกมาใช้ ในฐานะที่แต่ละคนเมื่อมารวมตัวอยู่ด้วยกันก็กลายเป็นสังคมที่ต้องระมัดระวังและเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน การรักษาสิทธิของตนเองเป็นสิ่งที่ดีแต่ก็ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่นเป็นอันขาด ดังนั้นกฎกติกาในสังคมนั้นๆ เช่น กฎในครอบครัว กฎในหมู่บ้าน กฎในสมาคม/ชมรม กฎหมายของประเทศ กฎระเบียบในองค์กร ย่อมมีไว้เพื่อกำกับทุกคนให้ได้รับความยุติธรรม มีความเสมอภาค ที่สำคัญไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมโดยรวม ดังนั้นถ้าเราจะใช้อารมณ์ให้มากไปกับเรื่องราวที่เป็นส่วนตัว และใช้เหตุผลอย่างเต็มที่กับเรื่องราวส่วนรวม น่าจะเป็นหนทางที่พอช่วยคลี่คลายความแตกต่าง ที่อาจจะนำพามาสู่ความแตกแยกได้เหมือนกัน ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น อาทิ ความต้องการส่วนตนในการบริโภคสิ่งต่างๆ ในชีวิต ทุกคนมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะเลือกสรรในสิ่งที่ตรงกับใจตัวเองได้มากที่สุด ไม่ว่าจะสี รูปร่าง ขนาด ปริมาณ ราคา หรือแม้แต่ตราสินค้า ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่ปรุงแต่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่กลยุทธ์ทางการตลาด ทั้งลด แลก แจก แถม ล้วนเป็นสิ่งที่คิดขึ้นเพื่อให้ตอบสนองต่ออารมณ์ของผู้บริโภคทั้งสิ้น (Emotional marketing) ซึ่งแน่นอนแต่ละคนสามารถพิจารณาเลือกซื้อและใช้ได้อย่างเต็มที่ ตราบใดที่ไม่เป็นภาระทางการเงินจนลุกลามเป็นปัญหาทางสังคม อย่างการเป็นหนี้นอกระบบของคนมากมายในปัจจุบัน แต่ถ้าเป็นเรื่องทางสังคมส่วนรวม คงไม่สามารถใช้อารมณ์มาเป็นเครื่องตัดสินได้ เพราะแต่ละคนก็มีความรู้สึกนึกคิดแตกต่างกันไปในรายละเอียด ถึงแม้บางครั้งภาพรวมอาจจะเห็นพ้องต้องกันได้ แต่เมื่อลงลึกแล้วก็อาจจะไม่เห็นด้วยกันเลยก็ได้ การใช้เหตุผลจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเวลาที่จะต้องตัดสินใจในสิ่งที่มีผลกระทบกับทุกคน เพื่อไม่ให้ใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ หรือไปตอบสนองต่อใครคนใดคนหนึ่ง ซึ่งทางเลือกสุดท้ายที่เกิดจากเหตุและผลด้วยการใช้สติ จะสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกคนเองใน

Comments are closed.