การสื่อสารในองค์กร

องค์กรหรือบริษัทใหญ่ๆ มักมีปัญหาในการสื่อสาร โดยเฉพาะระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง หรือระหว่างพนักงานระดับล่างกับผู้บริหาร  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสังคมไทย เป็นสังคมที่รู้จักถนอมน้ำใจกันและกัน ไม่ยอมหักหน้า หรือมุ่งรักษาศักดิ์ศรีของคนที่รู้จัก นอกจากลักษณะของผู้คนในสังคมเป็นแบบนั้น อาจเกี่ยวเนื่องจากตอนเรียนไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็น ไม่กล้ายกมือถามครู จึงส่งผลให้เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน ก็เข้ารูปแบบเดิมคือ ไม่กล้าในการสอบถามถึงความชัดเจน ของเรื่องราวที่ได้รับคำสั่ง ไม่กล้าล้วงลูก สาวถึงความจริงในเรื่องต่างๆ ได้แต่ฟังคนที่สอง ที่สามเล่าเหตุการณ์ความเป็นไปอยู่ห่างๆ …...ซึ่งความจริงย่อมบิดพลิ้วถูกเสริมแต่งไปไม่มากก็น้อย…….

  ลักษณะของสังคมไทยอีกอย่างคือ "ระบบการช่วยเหลือ" หรือ"ระบบอุปถัมถ์" ทำให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก เธอเป็นคนของใคร ฉันเป็นคนของใคร เราต่างไม่ถูกคอกัน เพราะไม่ได้เป็นของคนคนเดียวกัน การติดต่อสื่อสารก็มักจะห้วนๆ แฝงอคติ ....มากมาย

ปัญหา ในองค์กรใหญ่ก็คือ ผู้คนในหลายหน่วยงานก็เกิดจากระบบอุปถัมภ์ ทำให้อาจเกิดความรู้สึกไม่ชอบขี้หน้าระหว่างกันได้ การสั่งงานที่เกิดจากผู้บริหารหรือหัวหน้างานส่งผ่านมายังผู้ปฏิบัติการหรือ คนทำงานดำเนินไปในรูปที่คลุมเครือ ไม่แน่ชัด เข้าใจไม่ตรงกัน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรไม่ถึงระดับที่คาดหวัง ทั้งนี้อาจมีสัญญาณเตือนสำหรับผู้บริหารหรือหัวหน้า หลายประการดังนี้ค่ะ

การ สั่งงานที่อาจเริ่มต้นคล้ายๆ ประโยคที่ว่าทุกคนคงทราบดีแล้วว่า……ขณะนี้เรากำลังเผชิญปัญหา……” หรือคงไม่ต้องอธิบายขั้นตอนอะไรมาก เพราะพวกเราก็ทำกันจนชินแล้ว…..” การเริ่มต้นที่ความไม่แน่ชัดคลุมเครือในสิ่งที่จะกล่าว ย่อมทำให้ผู้ที่ได้รับคำสั่ง นึกว่าไม่มีอะไรสำคัญก็ได้ หรือไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร การตอกย้ำหรือพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการชี้แจง เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ คำพูดที่ว่า....  “ถ้ามีเวลาว่าง ช่วยค้นข้อมูลเรื่องนั้นหน่อยนะ…..”  “ยุ่งอะไรอยู่หรือเปล่า ช่วยพี่ทำ…..” การขอความ ช่วยเหลือกันเป็นสิ่งปกติ แต่บ่อยครั้งที่ความผิดพลาดเกิดขึ้น เพราะคำกล่าวที่ไม่ให้รายละเอียดที่มากนัก ทำให้ลูกน้องไม่รู้ว่าจะทำสิ่งใด ทำไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร มีขอบเขตงานขนาดไหน ความเร่งด่วนมากเพียงใด สิ่งเหล่านี้ถ้าลูกน้องเกิดเกรงใจ ไม่กล้าถาม ก็คงอาศัยการนั่งทางในหรือเดาใจหัวหน้าไปก่อน ทำให้การเสียเวลาทำงานนั้นไม่คุ้มค่า   “มีปัญหาอะไรหรือเปล่า…..”     “ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้เสร็จหรือยัง หัวหน้าที่ถามประโยคเช่นนี้บ่อยๆ แสดงให้เห็นถึงการไม่รับรู้ความเป็นจริงของสภาพปัญหาที่ลูกน้องของตนเอง ประสบอยู่เลย การให้ลูกน้องพูดอธิบายปัญหาเดิมๆ หลายรอบก็อาจบ่งชี้ถึงการไม่ใส่ใจต่อสิ่งที่ลูกน้องพบเจอ หรือแท้จริงคือ การไม่ช่วยลูกน้องคิดหาทางแก้ปัญหาเลยนั่นเอง “…นี่คุณช่วยบอก….ให้ทำงาน…..หน่อยนะ” “คุณอยู่หรือเปล่า.ช่วยบอกเขาด้วยนะว่าผมสั่งอะไรไป.แค่นี้ล่ะ สิ่งเหล่านี้ ทำให้เกิด "คนกลาง" ในการติดต่อประสานงานกับคนอื่น ลองนึกดูถ้าเป็นงานเร่งด่วนและมีความสำคัญมาก การสั่งงานผ่านใครไปยังเจ้าของงานตัวจริงอาจจะลดทอนรายละเอียดที่สำคัญได้ และอาจทำให้เกิดปัญหาระหว่างคนทำงานตัวจริงกับคนกลางที่ติดต่อไปได้ ต่างทำให้เสียเวลา และไม่แน่ชัดในสิ่งที่จะทำ  ปัญหานี้ นายดำเป็นคนผิด เพราะเป็นผู้ที่รับผิดชอบ….”        “นายดำนี่เป็นคนสะเพร่าจริงๆ นะ”         “ตรวจทานให้ดีนะ นายดำ ถ้านายดำเป็นคนผิดจริงในหลายครั้ง เหตุใดจึงไม่ช่วยนายดำตรวจสอบหรือแก้ปัญหาบ้าง หัวหน้าที่กล่าวเช่นนี้ให้ลูกน้องฟังบ่อยครั้ง คะแนนของคุณจะหายไปทันที เพราะแสดงให้เห็นความเป็นคนไม่รับผิดชอบ ไม่ร่วมลงแรงด้วย รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการลำเอียงที่ต้องติดต่อแต่นายดำ หรือมีปัญหาทางการสื่อสารกับคนอื่น จึงกล้าพูดตำหนิกับนายดำเท่านั้น คนอื่นไม่กล้า หรือต้องการรักษาหน้าตัวเองต่อลูกน้องคนอื่นว่า ตนเป็นคนดี มีน้ำใจ แต่ยกเว้นกับนายดำ ระวังคนอย่างนายดำจะลาออกไป คุณจะตกที่นั่งลำบาก  "ได้ครับ……เดี๋ยวผมจะส่งคนไปดำเนิน การให้” “ยินดีครับ……อ๋อต้องการคนช่วยเหรอครับ…..เดี๋ยวผมจัดให้ถ้าหัวหน้าพูดทาง  โทรศัพท์กับใครบ่อยๆ ในแนวนี้และลูกน้องต่างได้ยิน ทุกคนจะรู้สึกขวัญหนีดีฝ่อ เพราะมีหัวหน้าเป็นพ่อพระ รับแต่งานเข้ามา แล้วก็แล้ว อาจจะเอาแต่โยนมันไปให้ลูกน้องของตัวทำ งานในหน้าที่ของลูกน้องเขาก็มีล้นมือ ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อยๆ ลูกน้องคงเอือมระอากับพฤติกรรมใจบุญของหัวหน้าเป็นแน่ และอาจกำลังหางานบริษัทอื่นเป็นทางแก้ปัญหา  สัญญาณเตือนจากคำพูดของหัวหน้าในลักษณะต่างๆ เหล่านี้ ... สะท้อนให้ เห็นสิ่งที่คับข้องใจของทั้งลูกน้องและก็หัวหน้าด้วย ถ้าตระหนักถึงปัญหาอย่างแท้จริง ย่อมต้องมุ่งที่ความชัดเจนในการพูดคุยสาวไปถึงต้นตอสาเหตุ มากกว่าจะคอยรักษาหน้าตาหรือกลัวจะเสียหน้า หรือกลัวไม่เป็นที่รักของลูกน้อง เพราะการมุ่งรักษาเพียงภาพลักษณ์หรือคะแนนนิยมของตนเองในสายตาคนอื่นไว้ อาจมีราคาแพงเท่ากับผลขาดทุนที่มีค่ามหาศาลได้

Comments are closed.