ผู้นำแบบ จอมพลเจียง ไคเช็ก

เจียง ไค เช็ก เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พุทธศักราช 2430 จบการศึกษาจาก โรงเรียนนายร้อยของญี่ปุ่น และกลับมาเป็นขุนศึกค้ำบัลลังก์ของ ดร. ซุน ยัตเซน และได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2518 ผู้ซึ่งมีวันเกิดตรงกับวันปล่อยผีของฝรั่ง และมีวันตาย ตรงกับวันไหว้ผีของจีนในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2492
เดือนตุลาคม พุทธศักราช 2492 เป็นช่วงเวลาอันสำคัญ ที่นอกจากจะเป็นการเริ่มต้นของสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว ทว่ายังเป็นช่วงเวลาแห่งการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่สำหรับ “อีกจีนหนึ่ง” นั่นก็คือประเทศไต้หวันอีกด้วย กองทัพรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋ง หรือจีนคณะชาติ ภายใต้การนำของจอมพลเจียง ไคเช็ก เมื่อพ่ายแพ้การสู้รบ กับกองทัพปลดแอกของเหมา เจ๋อตุง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ จึงถอยร่น หนีมาตั้งหลักบนเกาะไต้หวัน และเริ่มต้นกันใหม่บนเกาะเล็กๆ ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศกึ่งเขตร้อนแห่งนี้ โดยนำความผิดพลาดในอดีตมาเป็นบทเรียน พรรคก๊กมินตั๋งลงมือดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจ ที่พวกเขาไม่อาจดำเนินการได้เลยบนแผ่นดินใหญ่ พร้อมกับวางรากฐาน จนทำให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศประชาธิปไตย ที่มีสีสัน และเป็นชาติ ซึ่งมีเรื่องราวความสำเร็จ อันน่ามหัศจรรย์ที่สุดชาติหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คือความปราชัย ที่แสนอัปยศสำหรับเจียง ไคเช็ก มันมากมายท่วมท้นเสีย จนกระทั่ง เค้าเอาแต่ใคร่ครวญ ไตร่ตรองถึงสิ่งที่เคยพลาดพลั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า ระบอบการปกครองใหม่บนอาณาจักรแห่งนี้จะมีชีวิตรอดสืบไป “ความย่อยยับบนแผ่นดินใหญ่เป็นบทเรียนสำคัญที่สุดสำหรับเจียง ไคเช็ก เมื่อเขาขึ้นเป็นผู้นำไต้หวัน” มีผู้กล่าวกันว่า “อนุทินของเจียงในช่วงทศวรรษ 1950 มีแต่การครุ่นคิด เกี่ยวกับความล้มเหลวบนแผ่นดินใหญ่ที่ผ่านมาของตนเองอยู่เต็มไปหมด”
มีความเห็นที่สอดคล้องกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ว่า นโยบาย การบริหารไต้หวัน ที่สำคัญที่สุดของเจียง ไคเช็ก ก็คือ การที่เขาตัดสินใจบังคับให้พวกชาวนาที่ร่ำรวย ยอมขายที่ดินส่วนใหญ่ให้แก่ชาวนาที่ยากจน การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดชนชั้น ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินรายย่อย ที่มีพลังขับเคลื่อนในการสร้างผลผลิตทางการเกษตร ขณะที่พวกเจ้าของที่ดิน ได้นำรายได้จากการขายที่ดินไปลงทุนในด้านอุตสาหกรรม ซึ่งปูทางไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ในฐานะชาติผู้ผลิตอุตสาหกรรมรายใหญ่ของโลกเจียง ไคเช็ก พยายามดำเนินโนบาย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับที่เขาเคยใช้เมื่อสมัยปกครองแผ่นดินใหญ่ ทว่าครั้งนั้น กลับไม่มีอิสระอย่างเต็มที่ในการบริหารประเทศตามวิสัยทัศน์ของตนเอง เพราะถูกขัดขวางจากพวกเจ้าของที่ดินซึ่งมีอิทธิพล พวกนักธุรกิจ ร่ำรวยล้นฟ้า และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ นโยบายเหล่านั้นจึงไม่สัมฤทธิ์ผล “พรรคจีนคณะชาติ ไม่เคยมีอำนาจบังคับบัญชาประเทศได้อย่างแท้จริง จนกระทั่งเดินทางมาถึงไต้หวัน ซึ่งนับเป็นครั้งแรก ที่พวกเขาได้มีอำนาจควบคุมอย่างมั่นคงจริง ๆ เสียที สิ่งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นบนแผ่นดินใหญ่ ”
เมื่อกองทัพของเจียง ไคเช็ก ยาตราถึงเกาะไต้หวัน นับเป็นช่วงเวลาเหมาะเจาะพอดี เนื่องจากเพิ่งหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น ซึ่งดำเนินมานานถึง 50 ปี เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติในปีพุทธศักราช 2488 จีนคณะชาติ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องกลุ่มอิทธิพล หรืออำนาจบารมีของชนชั้นเจ้าของที่ดิน เจียง ไคเช็กได้ใช้วิธีคลายการกุมบังเหียนเศรษฐกิจ ซึ่งบังเกิดผลอันน่าทึ่งในเวลาต่อมา นั้นคือ เกาะ ซึ่งมีประชากร 23 ล้านคนแห่งนี้ ผงาดขึ้นเป็นชาติที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 26 ในโลกเมื่อปี 2551 จากการจัดอันดับของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ทว่าขณะเดียวกัน เจียง ไคเช็ก ก็ปกครองประเทศในฐานะผู้นำเผด็จการเบ็ดเสร็จตราบจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี 2518 ไต้หวันเพิ่งประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกเมื่อปี 2530 เมื่อเจียง จิงกั๋ว บุตรชายของเขา ซึ่งเป็นที่รักของชาวไต้หวัน ค่อย ๆ ดำเนินการให้ประชาชนมีเสรีภาพทางการเมืองทีละน้อย ซึ่งเป็นย่างก้าวแรกไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างระมัดระวัง ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า “การเมืองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ แม้ไม่ใช่สิ่งดีเลิศ แต่ก็ส่งผลในทางอ้อม ต่อการก้าวไปสู่เป้าหมายนั้น”

Comments are closed.