การบริหารจัดการ แบบ ไททานิค

ดิฉัน นำแนวทางการบริหารจัดการใน เรือไททานิค มาเล่าให้ฟังค่ะ ยังจำเรื่อง ไททานิค ที่แสนจะโด่งดัง ที่ได้เข้าฉายในประเทศไทยในปี 2540 กันได้ดีนะค่ะ เรือไททานิคอัปปาง ตั้งแต่ออกเดินทางครั้งแรกเลยทีเดียว ซึ่งตรงกับวันที่ 14 เม.ย. พุทธศักราช 2455 เรือแล่นออกเดินทางจากเมือง เซาแธมป์ตั้น จุดหมายที่นครนิวยอร์ก แต่มาล่มกลางทาง เมื่อตัวเรือพุ่งชนภูเขาน้ำแข็งลูกมหึมาและจมอยู่ใต้สมุทร เกาะนิวฟาวนด์แลนด์ ประเทศแคนาดา พร้อมผู้โดยสารทั้งสิ้น 2,200 คน ที่รอดชีวิตมาได้เพียง 678 คน
กัปตัน เอ็ดเวิร์ด เจ. สมิท (Edward J. Smith) ซึ่งถือว่าเป็นกัปตันที่เก่งกาจ และมีค่าตัวแพงที่สุดในยุคนั้น เค้าได้ มาเป็นกัปตัน เรือไททา นิค เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เขา ได้ ทำการ เร่งเครื่อง ยนต์เรือไททานิกด้วยความเร็ว 21 น้อต คือ ครึ่งหนึ่ง ของความเร็วเต็มที่ของไททานิค และพอตกเย็น เขาได้รับคำเตือนเรื่องภูเขาน้ำแข็ง ขณะนั้น คุณบรูซ (เจ้าของเรือไททานิค) ได้สั่งให้เขา เร่งเครื่องยนต์ไททานิคให้เต็มที่ คือ 54 น้อต ตอนแรก กัปตันก็ไม่สนใจ เพราะไม่อยากจะ ฝืนกำลังเครื่องยนต์ แต่ปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่กัปตันจะเกษียณแล้ว เลยทำให้เขาชะล่าใจและตกลงเร่งเครื่องให้เต็มพิกัด จนกระทั่ง พอถึงตอนที่เรือปะทะภูเขาน้ำแข็งและเริ่มจม การกักกันผู้โดยสารชั้นสามไว้ ที่ใต้ท้องเรือ แต่ไม่มีข้อยืนยันว่า ได้มีการกักกันผู้โดยสารชั้นสามไว้ที่ใต้ท้องเรือ แต่มีการจัดระเบียบการอพยพผู้โดยสาร ซึ่งหมายถึงผู้โดยสารชั้นหนึ่งที่เป็นเด็กและผู้หญิงจะได้สิทธิลงเรือชูชีพไปก่อน ส่วนผู้โดยสารชั้นสามต้องรอทีหลัง แต่ในที่สุด ทุกอย่างก็เป็นไปตามระบบเอาตัวรอดกันแบบตัวใครตัวมัน โดยธรรมเนียมของกัปตันเรือ กัปตันสมิทจะต้องอพยพจากเรือเป็นคนสุดท้าย ดังนั้น เขาจึงไม่ได้ลงเรือชูชีพ แต่ได้พยายามอำนวยการอพยพผู้โดยสารจนถึงวาระสุดท้ายอย่างเข้มแข็ง
ในขณะนั้นยังมี วิศวกรแอนดรูวส์ เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่ลงเรือชูชีพ เพราะไม่ต้องการเอาชีวิตรอด เพื่อไปพบกับคำวิพากษ์วิจารณ์จนถึงสาบแช่งในภายหลัง เขาเลือกที่จะจมไปกับเรือเพื่อแสดงความรับผิดชอบอย่างกล้าหาญ โดยเขาเลือกที่จะนั่งรอวาระสุดท้ายในห้องสูบบุหรี่ของผู้โดยสารชั้น 1
โทมัส แอนดรูวส์ (Thomas Andrews) วิศวกรอาวุโสของอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์ และ "วูลฟฟ์" (Wolff) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบ และควบคุมการต่อเรือไททานิค ได้ชื่นชมเรือไททานิคว่าเป็นเรือที่สมบรูณ์แบบที่สุดเท่าที่สติปัญญาของมนุษย์จะทำได้ แต่แล้ว เรือไททานิค ก็จมอยู่ใต้ทะเลมาเป็นเวลา 97 ปีแล้ว และใน ปี 2539 มีทีมงานพยายามจะกู้ซากขึ้นมาแต่ก็ล้มเหลว เพราะเรือลำนี้มีน้ำหนักมากหลายหมื่นตัน
เป็นที่ทราบกันดีว่าโศกนาฏกรรมเรือไททานิค เมื่อ 97 ปีที่แล้วนั้น ความประมาท เป็นบทบาทที่สำคัญมากเพราะไททานิค เพิกเฉยต่อคำเตือนภัยเรื่อง ภูเขาน้ำแข็งที่มาจากเรือลำอื่น แถมยังใช้ความเร็วเต็มที่เพื่อสร้างสถิติใหม่ ซ้ำร้ายเมื่อเรือชนกับภูเขาน้ำแข็งจริง คนบนเรือยังคิดว่าเรือไม่เป็นอะไรมาก จนเวลาผ่านไปสัก 2 ชั่วโมงจึงตระหนักว่า เรือจมจริงๆ ซึ่งก็สายเกินแก้ ตำนานความประมาทแบบนี้ มักจะควบคู่มากับกัปตันเรือหรือผู้นำองค์กรที่มีความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป ซึ่งความเชื่อมั่นแบบนี้ สามารถนำไปสู่ความหายนะมากกว่าที่ควรจะเป็นเนื่องจาก กระการที่หนึ่ง คือความไม่รับฟังผู้อื่น ทำให้ตนเองไม่สามารถเข้าถึงหรือเข้าใจว่า ความร้ายแรงของวิกฤตที่รออยู่ข้างหน้าเป็นอย่างไร ประการที่สอง ก็คือการทให้ทีมงานไม่มีการวางแผนกับระบบการรับมือกับสถานการณ์ที่มีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับเรือไททานิค ที่ไม่รู้กระทั่งว่าเรือสำรองจุคนได้เท่าไหร่ จึงปล่อยเรือบดออกไปทั้งๆที่ยังบรรจุคนได้ไม่เต็มพิกัดเลย แทนที่เรือสำรองจะช่วยชีวิตคนได้ 1,178 คน ตามที่ถูกออกแบบมา กลับรับผู้โดยสารได้เพียง 712 คนเท่านั้น หายนะของเรือไททานิค ในครั้งนี้จึงเกิดขึ้น 2 จังหวะคือ หนึ่งไม่สนใจว่ามีภูเขาน้ำแข็ง จึงชน และสองเมื่อชนแล้ว ยังไม่คิดว่าเรือจะเสียหายมากค่ะ ท่านผู้ฟังลองคิดเปรียบเทียบดูนะค่ะว่า ถ้าองค์กรของท่านเปรียบได้กับไททานิค และผู้นำองค์กรของท่านคือ กัปตัน เอ็ดเวิร์ด เจ. สมิท ท่านควรจะมีมาตรการกับการจัดการความเสี่ยงที่เราเรียกกันติดปากว่า Risk Management อย่างไรกันดี

Comments are closed.