คุณภาพ ๓ ประการ : ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพศิษย์

คุณภาพ ๓ ประการ : ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพศิษย์

      คุณภาพการจัดการศึกษา

ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาที่สำคัญ   ได้แก่   การกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับบริบท  นโยบายต้องมีความต่อเนื่อง  ชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ที่สำคัญ คือ  ต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  นอกจากนี้ ต้องมีครูอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิ/ความรู้  ผู้บริหารมีคุณภาพ  มีอาคารสถานที่เหมาะสม  ห้องเรียนมีชีวิต  และสถานศึกษาต้องมีเสรีภาพทางวิชาการ

คุณภาพครู

คือ  ภาพสะท้อนจากคุณภาพศิษย์  ดังนั้น ครูจึงเป็นหัวใจของการพัฒนาศิษย์  โดยมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพครู  ได้แก่  ครูที่มีความรู้  มีความใฝ่รู้  และมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  มีความรัก  ความเมตตา  ปรารถนาดีต่อศิษย์  ทุ่มเท  เสียสละ  ทำงานเต็มศักยภาพ  มีความภาคภูมิใจต่อวิชาชีพ  มีจิตวิญญาณความเป็นครูและมีทัศนคติที่ดี

คุณภาพการประเมิน

หมายรวมถึง  การประเมินตนเอง (IQA) การประเมินภายนอกด้วยกัลยาณมิตร (EQA) การประเมินเพื่อพัฒนาและการสร้างคุณค่าต่อสังคม  โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการประเมิน  ได้แก่  การที่ผู้ประเมินและผู้รับการประเมินมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการประเมิน  การประเมินที่จะต้องสะท้อนสภาพจริง  การมีส่วนร่วมในการประเมินของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงการนำผลประเมินไปใช้เพื่อการพัฒนาและนำไปสู่วิถีชีวิตคุณภาพต่อไป

จะเห็นได้ว่า  “คุณภาพศิษย์” เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของการจัดการศึกษา  คุณภาพของครู  รวมถึงคุณภาพของการประเมิน  ซึ่งเป็นพันธกิจที่สำคัญของ สมศ.  ดังนั้น สมศ. จึงได้กำหนด  “เป้าหมายสูงสุดของการประเมิน” คือ  “คุณภาพศิษย์”  เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึง  “คุณภาพ” ที่เกิดขึ้นจริงกับตัวผู้เรียนที่เป็นผลผลิตจากสถานศึกษา  ดังนั้น “คุณภาพศิษย์” จึงเป็นเป้าหมายของการประเมิน

ในโอกาสนี้อยากจะขอนำกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษาน้อมนำไปปฏิบัติร่วมกัน ความว่า“...เมื่อทำงานอย่าหยิบเอาความขาดแคลนมาเป็นข้ออ้าง  จงทำงานท่ามกลางความขาดแคลนให้บรรลุผล”

               “การเป็นคนเก่ง  ดี  และมีคุณค่านั้นจะทำให้เกิด “ความสุข” ขึ้นได้  ความสุข คือ  สุขอย่างคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ  ซึ่ง “คุณภาพชีวิตที่ดี”เกิดจากการพัฒนาใน ๔ มิติ คือ  กาย  จิต  ปัญญา  และสังคม”

ที่มา : คุณภาพศิษย์ เป้าหมายการประเมิน. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. ๒๕๕๕

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *