มคอ.คืออะไรในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา

มคอ.คืออะไร

โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุขุมาล หวังวณิชพันธุ์
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd) เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระกับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น การแบ่งสายวิชา มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ การเปิดโอกาสในเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป้นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
มคอ.1 การพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา กรอบที่กําหนดมาตรฐานผลการเรียนรูปของบัณฑิต ในแต่ละระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชาหนึ่งซึ่งจะกําหนดคุณลักษณะของบัณฑิตในสาขา/สาขาวิชา ปริญญา และองค์ความรู์ที่เป็นเนื้อหาเท่าที่าเป็นจะต้องมีในหลักสูตรสาขา/สาขาวิชาและระดับคุณวุฒิ นั้นๆ เพื่อเป็นหลักประกันว้่าผู้ที่สําเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆในสาขา/สาขาวิชาและระดับ คุณวุฒิเดียวกันจะมีผลการเรียนรู้ไม่น้อยกว่าที่กําหนด ในขณะเดียวกันมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาจะ เปิดกว้างและส่งเสริมให้สถาบันต่างๆมีโอกาสบรรจุเนื้อหาวิชาในส่วนที่นอกเหนือจากที่กําหนดไว้ ได้อย่างอิสระ เหมาะสม และตรงกับความต้องการหรือเอกลักษณ์ของแต่ละสถาบัน ซึ่งจะทําให้ สถาบันต่างๆสามารถพัฒนาหลักสูตรได้อย่างหลากหลาย แต่มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรใน สาขา/สาขาวิชาและระดับคุณวุฒิเดียวกันที่เทียบเคียงกันได้ นอกจากนี้มาตรฐานคุณวุฒิของสาขา/สาขาวิชายังได้กําหนดเงื่อนไข ข้อแนะนํา ในการบริหาร จัดการการเรียนการสอนที่สถาบันอุดมศึกษาต้องนําไปปฏิบัติเพื่อให้หลักประกันว่า หลักสูตรที่จัดการ เรียนการสอนสามารถบรรลุมาตรฐานผลการเรียนรูัที่คาดหวัง
มคอ.2 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับการพัฒนารายละเอียดของหลักสูตร ซึ่งหมายถึงเล่มหลักสูตรของแต่ละหลักสูตร คําอธิบายภาพรวมของ การจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนที่จะทําให้บัณฑิตบรรลุผลการเรียนรู้ของหลักสูตรนั้นๆ โดยจะถ่ายทอดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของบัณฑิตที่กําหนดไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและมาตรฐานคุณวุฒิสาขา ไปสู่การปฏิบัติในหลักสูตรซึ่งแต่ละสถาบันอุดมศึกษาสามารถ บรรจุเนื้อหาวิชาเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ได้อย่างอิสระ เหมาะสม ตรงกับความต้องการ หรือเอกลักษณ์ของสถาบันฯ โดยคณาจารย์ผู้สอนจะต้องร่วมมือกันวางแผนและจัดทํารายละเอียด ของหลักสูตร
มคอ.3 การพัฒนารายละเอียดของรายวิชา เริ่มจากการจัดทำมคอ.2 ต้องเริ่มต้นจากการจัดทำ "อัตลักษณ์ของบัณฑิต" และ มาตรฐานการเรียนรู้กลาง ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย แล้วนำไปจัดทำ Curriculum Mapping แต่ละหลักสูตร จากนั้นย้อนกลับไปที่แต่ละหลักสูตร เพื่อออกแบบการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาที่มีคำอธิบายรายวิชา สอดรับขึ้นไปถึงมาตรฐานการเรียนรู้กลาง ซึ่งความยากอยู่ที่การนำ มคอ.2 (ตัวอย่างของ CS) ที่มีกรอบเป็น คำอธิบายรายวิชา ไปจัดทำมคอ.3 ที่มีรายละเอียดในการจัดการเรียนการสอนแต่ละหลักสูตรอาจารย์ผู้สอนจะต้องส่ง มคอ.3 ก่อนเปิดภาคเรียน
มคอ.4 การพัฒนารายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม ดำเนินการเช่นเดียวกับมคอ.3 แต่รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการในรายวิชาหรือกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้อง ออกฝึกงาน ออก ฝึกภาคสนาม หรือสหกิจศึกษา ซึ่งจะต้องวางแผนให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่กําหนดไว้ใน รายละเอียดของหลักสูตร โดยจะกําหนดไว้อย่างชัดเจนถึงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของการ ดําเนินการของกิจกรรมนั้น ๆ ตลอดจนความรู้ความเข้าใจที่นักศึกษาจะได้รับจากการออกฝึก มีการกําหนดกระบวนการหรือวิธีการในการปลูกฝังทักษะต่าง ๆ ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ ที่นักศึกษา จะได้รับการพัฒนาให้ประสบความสําเร็จตามจุดมุ่งหมาย รวมทั้งเกณฑ์การวัดและประเมินผล นักศึกษา และการประเมินการดําเนินการตามรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม
มคอ.5 การรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา รายงานผลการดําเนินการของรายวิชา (Course Report) หมายถึง รายงานผลการจัดการเรียนสอนของอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาเมื่อสิ้นภาคการศึกษาเกี่ยวกับภาพรวมของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานั้น ๆ ว่าได้ดําเนินการสอนอย่างครอบคลุมและเป็นไปตามแผนที่วางไว ้ในรายละเอียดของรายวิชาหรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ต้องให้เหตุผลและ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาดังกล่าวในครั้งต่อไป รายงานนี้จะครอบคลุมถึงผลการเรียนของนักศึกษา จํานวนนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนจนสิ้นสุด ปัญหาในด้านการบริหารจัดการและสิ่งอํานวยความสะดวก การวิเคราะห์ผลการประเมินรายวิชาของนักศึกษา/หัวหน้าภาค/หรือผู้ประเมินภายนอก รวมทั้งการสํารวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต การวางแผนและให้ข้อเสนอแนะต้อผู้ประสานงานหลักสูตรเพื่อปรับปรุงและพัฒนารายวิชา
มคอ.6 การรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Report) หมายถึง รายงานผลการฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม หรือ สหกิจศึกษา ว่าได้บรรลุผลการเรียนตามแผนที่วางไว้ในรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนามหรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามแผนต้องให้เหตุผลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม หรือ สหกิจศึกษาในครั้งต่อไป รายงานนี้จะครอบคลุมถึงการฝึกประสบการณ์ภาคสนามตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุด ปัญหาด้านการบริหารจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวก การวิเคราะห์ผลการประเมิน การฝึกของนักศึกษา/อาจารย์ผู้รับผิดชอบ/พนักงานพี่เลี้ยง
มคอ.7 การรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร การรายงานผลประจำปีโดยผู้ประสานงานหลักสูตรหรือผู้รับผิดชอบหลักสูตรเกี่ยวกับผลการบริหารจัดการหลักสูตร เช่น ข้อมูลทางสถิติของนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตร สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถาบันที่มีผลกระทบต่อหลักสูตร สรุปภาพรวมของรายงานผลของรายวิชาในหลักสูตร ประสิทธิภาพของการสอนในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้าน การเทียบเคียงผลการดำเนินการกับมาตรฐานอื่นๆที่มี สรุปผลการประเมินหลักสูตรจากความเห็นของผู้สำเร็จการศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต ตลอดจนข้อเสนอในการวางแผนและพัฒนา รวมทั้งแผนปฏิบัติการในการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การรายงานผลดังกล่าวจะส่งไปยังหัวหน้าภาควิชา/คณบดี และใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาด้วยตนเองเพื่อปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรเป็นระยะๆ และเป็นข้อมูลในการรับรองหลักสูตรจากผู้ประเมินภายนอกได้ด้วย
สำหรับมทร.พระนคร ผู้สอนทุกท่านจะต้องเข้าไปกรอกข้อมูล มคอ.ต่างๆในระบบสารสนเทศ ผ่านช่องทาง http://reg.rmutp.ac.th/registrar/home.asp ที่กำหนดให้ทั้งระบบดังกล่าวได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้สอนสะดวกยิ่งขึ้น โดยมีการเชื่อโยงข้อมูลต่างอาทิเช่น ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา ผลการประเมินผู้สอน ระดับผลการเรียนของนักศึกษา ตั้งแต่ มอค.2 จนกระทั่งถึง มคอ.7

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *