คุณภาพครู

คุณภาพครู

                          คุณภาพครู  ได้แก่  ครูที่มีความรู้  มีความใฝ่รู้และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  สม่ำเสมอ  มีความรัก  ความเมตตา  ปรารถนาดีต่อศิษย์  ทุ่มเท  เสียสละ  ทำงานเต็มศักยภาพ  มีความภาคภูมิใจต่อวิชาชีพ  มีจิตวิญญาณความเป็นครูและมีทัศนคติที่ดี

ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของครูมีหลายประการ คือ

๑.      ครูต้องมีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

๒.      มีความมุ่งมั่น  เสียสละ  ทุ่มเทกำลังความสามารถ

๓.      มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง  หน้าที่  และส่วนรวม

๔.      มีความภาคภูมิใจในเกียรติภูมิของอาชีพครู  ต้องครองตนเป็นแบบอย่างที่ดี

๕.      มีคุณธรรม  จริยธรรม  และจรรยาบรรณในวิชาชีพ

“ในฐานะครูซึ่งมีหน้าที่พัฒนาศิษย์ทุกคนให้มีคุณภาพ  เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า  คุณภาพครูคือ ภาพสะท้อนจากคุณภาพศิษย์ นั่นเอง” 

ที่มา : คุณภาพศิษย์ เป้าหมายการประเมิน. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.   ๒๕๕๕

คุณภาพการจัดการศึกษา

คุณภาพการจัดการศึกษา

               พ่อแม่สร้างชีวิต  สถาปนิกสร้างบ้าน  ครูอาจารย์สร้างอนาคต  การศึกษาที่แท้ต้องมุ่งสร้างคนให้มีคุณค่า  มิใช่เพียงเพื่อตนเอง  แต่ต้องเพื่อสังคม  ชุมชน  และแผ่ขยายไปสู่มวลมนุษยชาติ  การจัดการศึกษาเพื่อคุณภาพของศิษย์จึงเป็นการศึกษาเพื่อให้ศิษย์รู้จักกระบวนการเรียนรู้  ที่มิใช่เพียงอยู่ในห้องเรียน  แต่ต้องสอนให้ศิษย์ได้รู้จักแสวงหาความรู้จากโลกกว้าง  มิใช่มุ่งเพียงให้ศิษย์เป็นคนดี เป็นคนเก่ง  แต่ต้องให้เขารู้จักใช้ความดี  ความเก่งเพื่อประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งมวล

ในขณะที่ยูเนสโกได้กำหนดภาระด้านการศึกษาในทศวรรษที่ ๒๑  ว่าจะต้องประกอบด้วย

“สี่เสาหลัก” ที่เป็นรากฐาน  ได้แก่

การเรียนเพื่อรู้ (Learning to know)

เน้นการรวมความรู้ที่สำคัญเข้าด้วยกัน  มีการศึกษาลงลึกในบางวิชา  ซี่งจะเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต  เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับให้คนที่ชอบแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา

การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติ (Learning to do)

เน้นการพัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้เรียน  ช่วยสร้างความสามารถในการดำรงชีพอยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ทดลองและพัฒนาความสามารถของตน  โดยมีส่วนร่วมในโครงการประสบการณ์ในงานอาชีพหรืองานทางสังคม

“ยูเนสโกได้กำหนดภาระด้านการศึกษาในทศวรรษที่ ๒๑ ว่าจะต้องประกอบด้วย

“สี่เสาหลัก” ที่เป็นรากฐาน”

               การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to be)

               เน้นให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกด้านและสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  โดยมีส่วนในการจรรโลงสิ่งดี ๆ และระงับยับยั้งสิ่งไม่ดีไม่เหมาะสมได้อย่างมีความสุข

การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน (Learning to live together)

เน้นให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ  มีความรักและเคารพซึ่งกันและกัน  สร้างความรู้ความเข้าใจในผู้อื่นทั้งแง่ประวัติศาสตร์  ธรรมเนียมประเพณี  ค่านิยมทางจิตใจที่เหมาะที่ควรต่อมวลมนุษย์  อย่างไรก็ตามเราจะพบว่ามีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษา คือ

 

ด้านนโยบาย

๑)      การกำหนดนโยบายควรสอดคล้องกับบริบทของสังคม  มีความต่อเนื่อง  ชัดเจน

สามารถชี้นำสังคม  เป็นที่ยอมรับและไม่มุ่งประโยชน์ทางการเมือง

๒)      มีการทบทวน  ตรวจสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  สม่ำเสมอ

ด้านการเรียนการสอน

๑)      มีการ “ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน” โดยเน้นให้ผู้เรียนเรียนผ่านการปฏิบัติหรือ

ประสบการณ์ตรง

๒)      เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง  และผู้เรียนสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ

ได้จริง

๓)      มีคณาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิ  ความรู้ความสามารถและเพียงพอต่อการจัด

การเรียนการสอน  รวมถึงสามารถกำกับดูแลให้เป็นไปตามข้อกำหนด

๔)      ห้องเรียนต้องเป็นห้องเรียนที่มีชีวิต  มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจกระตุ้นความคิด

สร้างสรรค์

๕)      ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต  ประวัติศาสตร์

ภูมิศาสตร์  รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง

ด้านการบริหารจัดการ

๑)      ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์  มีคุณธรรมยึดมั่นและบริหารภายใต้หลักธรรมาภิบาล

๒)      มีระบบการคัดกรองและการประเมินผลที่มีคุณภาพและเหมาะสม

๓)      สถานศึกษาต้องมีเสรีภาพทางวิชาการและในการจัดการศึกษา  มีอิสรภาพในการบริหาร

จัดการ  ให้คำชี้แนะและเป็นที่พึ่งของสังคมได้

“การจัดการศึกษาเพื่อคุณภาพของศิษย์จึงเป็นการศึกษาเพื่อให้ศิษย์รู้จักกระบวนการเรียนรู้  ที่มิใช่เพียงอยู่ในห้องเรียน  แต่ต้องสอนให้ศิษย์ได้รู้จักแสวงหาความรู้จากโลกกว้าง”

      ด้านสถานที่และงบประมาณ

๑)      มีอาคารสถานที่และบริเวณที่สะอาด  ถูกสุขอนามัย  สวยงาม  กระตุ้นจูงใจให้อยาก

มาเรียน  และเพียงพอต่อความต้องการ

๒)      สื่อ อุปกรณ์  เช่น  ห้องสมุดที่ทันสมัย  หนังสือจำนวนมากให้ค้นคว้าในสิ่งที่อยากรู้

อยากเห็น  อยากทำความเข้าใจ  มีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงห้องเรียนกับโลกกว้างได้

ที่มา : คุณภาพศิษย์ เป้าหมายการประเมิน. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.  ๒๕๕๕

 

 

เครือข่าย C-IQA

เครือข่าย C-IQA

โครงการส่งเสริมและพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา

ภายในสถาบันอุดมศึกษาของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

      พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  มุ่งหมายให้การจัดการศึกษาของประเทศไทยให้ความสำคัญต่อคุณภาพและมาตรฐานเพื่อสร้างผลสัมฤทธิ์อันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน  โดยใช้กลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกเป็นเครื่องมือกำกับ  กระตุ้น  และส่งเสริมกาพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการสินค้าสาธารณะ (Public Goods) ทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักได้ดำเนินการส่งเสริมการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันอุดมศึกษา  โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา (IQA) ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา  เพื่อส่งเสริม  สนับสนุนและพัฒนาการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา  และเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาโดยนำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  รวมทั้งพัฒนากระบวนการประกันคุณภาพให้มีความทันสมัยสอดคล้องตามบริบททางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  โดยมีกลไกหลักคือ  กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ทั้งนี้  กระบวนการประเมินคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่ร่วมดำเนินงานกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในหลายสถานะ  ทั้งในฐานะเครือข่ายคณาจารย์ประเมินคุณภาพภายในระดับพื้นที่/ วิทยากรแกนนำ/ ผู้ประเมิน IQA ถือเป็นระบบที่เชื่อมโยงการทำงานแบบไม่เป็นทางการร่วมกับคณะกรรมการ IQA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ  และการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม

นับแต่ปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นมา  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดรูปแบบการทำงานแบบบูรณาความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน  โดยแบ่งพื้นที่ภูมิภาคออกเป็น 9 ภูมิภาค  และกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เดียวกันร่วมดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมศักยภาพความเข้มแข็งแก่คณาจารย์และสถาบันอุดมศึกษาไปด้วยกัน  โดยกำหนดประเด็นหลักเพื่อดำเนินการในระยะแรก 4 กลุ่ม คือ เครือข่ายวิจัยชุมชนฐานราก/ เครือข่าย UBI/ เครือข่ายวิจัยเชิงพาณิชย์/ และเครือข่ายสหกิจศึกษา ใช้ชื่อเรียกว่า เครือข่าย C – เชิงประเด็น  ในปีงบประมาณ 2555 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดตั้งเครือข่าย C – เชิงประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา หรือเครือข่าย C-IQA  โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างการดำเนินงานของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาซึ่งแบ่งเป็น 9 ภูมิภาค (Node)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่าย C – เชิงประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

ระดับอุดมศึกษา หรือเครือข่าย C – IQA เป็นคณะทำงานระดับพืนที่เพื่อส่งเสริมด้านการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา

  1. เพื่อสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานของคณาจารย์การประกันคุณภาพภายในระหว่าง

สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่

  1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความรู้ความเข้าใจ  ขยายความร่วมมือการดำเนินการประกัน

คุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาแก่ผู้บริหาร  คณาจารย์  และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

  1. เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาบูรณาการความร่วมมือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมการประกันคุณภาพ

ภายใน  เพื่อสร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการเรียนการสอนและทรัพยากรมนุษย์

  1. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพองค์กรโดยให้ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาเป็น

กลไกขับเคลื่อน

เป้าหมายของโครงการ

  1. ให้ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและ

ยกระดับมาตรฐานคุณภาพการเรียนการสอนและการวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา

  1. ให้มีเครือข่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา
  2. เสริมสร้างวัฒนธรรม – ค่านิยมใหม่ (Core Values) ให้คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษามีส่วนร่วม

สร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อให้มีวงจรพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง

กรอบการดำเนินงานและกิจกรรมที่ต้องเสนอ

เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาแต่ละแห่ง (โดยเครือข่าย C – IQA) นำเสนอโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร  และขยายผลความร่วมมือการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย  จำนวนไม่น้อยกว่า 4 โครงการ  โดยมีกรอบดำเนินกิจกรรม ดังนี้

  1. การดำเนินกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมและประสานการดำเนินการการประกันคุณภาพภายในของ

สถาบันอุดมศึกษาให้กับคณาจารย์  และสถาบันฯ สมาชิกในเชตพื้นที่  เช่น

(1)    การวางแผนกลยุทธ์ในระดับเครือข่าย

(2)    การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและการสร้างความสัมพันธ์เชิงลึกระหว่างเครือข่าย

คณาจารย์และสถาบันฯ สมาชิก  ด้วยวิธีการต่างๆ  เช่น  การประชุมสัมมนา  การฝึกอบรม  การตรวจเยี่ยม  การประชาสัมพันธ์  และการจัดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์อื่นทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

(3)    การเสริมสร้างทักษะ – องค์ความรู้ในการดำเนินงานและตรวจประเมินการประกันคุณภาพ

ภายในของสถาบันอุดมศึกษาให้กับผู้บริหาร  คณาจารย์  และบุคลากรในสถาบันฯ สมาชิกด้วยวิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การฝึกอบรม  การประชุมเชิงปฏิบัติการ  เป็นต้น

(4)    การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันฯ สมาชิก

รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน

(5)    การส่งเสริมให้เกิดข้อตกลงความร่วมมือและการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างเครือข่าย หรือ

สถาบันฯ สมาชิก

(6)    กิจกรรมอื่นที่เครือข่ายเห็นสมควรดำเนินการเพื่อผลสัมฤทธิ์ของการส่งเสริมพัฒนาการประกัน

คุณภาพภายใน

  1. กิจกรรมหลักที่สกอ. กำหนดในปีงบประมาณ 2555-2556 คือ

(1)    กิจกรรมสร้างความเข้าใจในตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในครบ

วงจร  ทั้งปัจจัยนำเข้า  กระบวนการและผลผลิต  และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในผ่านระบบ CHE QA  Online  ให้กับคณาจารย์และผู้รับผิดชอบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา  โดยมีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับขนาดของเครือข่าย

(2)    กิจกรรมการฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับนิสิต

นักศึกษา  ให้สามารถนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในงานกิจกรรมนิสิตนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยมีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับขนาดของเครือข่าย

(3)    กิจกรรมสานเสวนา  เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินรวมทั้ง

แนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  ระดับอุดมศึกษาในอนาคต

(4)    กิจกรรมอื่นๆ ที่เครือข่ายเห็นสมควรดำเนินการที่เหมาะสมกับจำนวนงบประมาณที่ได้รับ

  1. เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา (โดยเครือข่าย C – IQA) ต้องจัดทำรายงานผลความก้าวหน้า

การปฏิบัติงานทุกรอบ 6 เดือน (Progress  Repost) เสนอต่อคณะกรรมการติดตามประเมินผลในการตรวจเยี่ยม (Site  Visit) ปีละ 2 ครั้ง

จำนวนสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายเชิงประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา

เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9   แห่ง

(สถาบันแม่ข่าย)

จำนวนสถาบัน

อุดมศึกษา (แห่ง)

1.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

14

2.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง   (มหาวิทยาลัยนเรศวร)

10

3.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน   (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

14

  1.   เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง   (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)

15

5.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน   (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

44

6.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง   (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

31

7.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก   (มหาวิทยาลัยบูรพา)

6

8.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน   (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

7

9.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่าง   (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

9

รวม

150

หมายเหตุ  จำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่แสดงไม่รวมวิทยาลัยชุมชน

ทั้งนี้ มทร.พระนคร ได้เป็นสมาชิกในกลุ่มเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นแม่ข่าย) และผอ.สำนักประกันคุณภาพ ของมทร.พระนคร ผศ.สุขุมาล หวังวณิชพันธุ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหารเครือข่ายดังกล่าวด้วย

การบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศของ มทร.พระนคร

การบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศของ มทร.พระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุขุมาล  หวังวณิชพันธุ์

      เป็นที่ทราบกันแล้วว่า "คุณภาพของคน" เป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวสู่ความสำเร็จของการพัฒนาประเทศ และ "การศึกษา" เป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ  การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ ที่มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดให้มี ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ  และได้กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 48) รวมทั้งให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก 5 ปี โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 49) จากการจัดทำรายงานประเมินตนเอง ที่ผ่านมา ทำให้สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ได้เริ่มต้นกระบวนการดังกล่าว ตั้งแต่การรวบรวมผลการดำเนินงาน การประเมินตนเอง มาวิเคราะห์  จำแนกรายองค์ประกอบในแต่ละตัวชี้วัด โดยเฉพาะองค์ประกอบที่ 2 ด้านการเรียนการสอน ในตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร ได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำไปสู่วางแผนและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและการบริหารหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

อีกทั้งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552 ซึ่งถือเป็นกฎหมาย ได้ระบุให้ทุกหลักสูตรต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานที่กำหนดภายในปีการศึกษา 2555 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งที่เป็นหน่วยงานกำกับและส่งเสริมการดำเนินการของสถาบันอุดมศึกษา ได้จัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการนำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม  โดยกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา(TQF) เน้นผลการเรียนรู้ (learning outcomes)ของนักศึกษา ซึ่งต้องมีอย่างน้อย 5 ด้าน คือ (1)ด้านคุณธรรม จริยธรรม (2) ด้านความรู้  (3)ด้านทักษะทางปัญญา(4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นั้น นอกจากผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านดังกล่าวแล้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่ต้องการทักษะทางกายภาพจึงได้เพิ่มการเรียนรู้ด้าน ทักษะพิสัย เพื่อการพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติของมทร.พระนครให้มีคุณภาพ และมาตรฐานที่สามารถเทียบเคียงกันได้ ในการเตรียมความพร้อมเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปีพ.ศ. 2558 โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน(สสท.) ได้กำหนดหลักการประเมินผลการดำเนินงานของหลักสูตรโดยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยคณะต่างๆต้องจัดทำรายละเอียดหลักสูตร ตามขั้นตอนการเปิดหลักสูตรใหม่หรือการปรับปรุงหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ภายใต้รูปแบบที่กำหนดของมหาวิทยาลัย ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาวิชาการ สภามหาวิทยาลัยและสภาวิชาชีพ(ถ้ามี) จากนั้นจึงนำเสนอ สกอ. ภายใน 30 วัน หลังจากได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย

นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดทำ รายละเอียดรายวิชา(มคอ.3) และ/หรือรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม(มคอ.4) และต้องดำเนินการจัดทำให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคการศึกษานั้นๆ     หลังจากดำเนินการสอนเสร็จสิ้นในแต่ละภาคการศึกษา อาจารย์จะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ. 5) และ/หรือรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.6)  ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอน  ต้องจัดทำให้ครบถ้วนทุกรายวิชา โดยนำเสนอต่อคณะ  นอกจากนี้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรือหัวหน้าหลักสูตร จะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร(มคอ.7)  ภายใน 60 วัน  หลังสิ้นสุดปีการศึกษา ทั้งนี้ มคอ. 7 จะต้องนำเสนอต่อสภาวิชาการ และสภามหาวิทยาลัยตามลำดับ

จากขั้นตอนการดำเนินการบริหารหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น เป็นผลให้มีการกำหนดขั้นตอน

การดำเนินงานด้วยการกำหนดแผนผังการไหลของงาน(Flow Chart) ที่ได้จากการระดมสมองของ

ตัวแทน/หัวหน้างานหลักสูตรจากคณะต่างๆ เป็นแนวทางปฏิบัติการนำเสนอหลักสูตร ดังแผนผังด้านล่างนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แนวทางปฏิบัติการนำเสนอหลักสูตร

 

จากนั้นได้ดำเนินการจัดทำแผนผังการดำเนินการต่างๆอีกหลากหลาย อาทิเช่น แผนผังการเปิดหลักสูตร แผนผังการปิดหลักสูตร รวมทั้งแบบฟอร์มการรายงานรูปแบบต่างๆในการบริหารหลักสูตร โดยผ่านการจัดการความรู้ เช่น กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียน ที่มีแผนการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นระบบ จากนั้นจึงนำแนวทางที่ได้ตกลงร่วมกัน(Approach) อย่างมีแบบแผนด้วยนำไปใช้(Deployment)อย่างทั่วถึงทั้งองค์กร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้(Learning)และบูรณาการเชื่อมโยงสอดคล้องกัน(Integration)  มีการนำกระบวนการตามที่กำหนดไว้อย่างเป็นระบบไปสู่การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง ด้วยการประกาศใช้และมีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ เช่นแผ่นบันทึกซีดี เว๊บไซต์ของมหาวิทยาลัย คู่มือหลักสูตร การสื่อสารออนไลน์และการ”Walk-in”ในการให้ความกระจ่างตามคณะต่างๆอีกด้วย เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกแก่คณาจารย์ซึ่งนับว่าเป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอย่างครบถ้วน ในด้านกระบวนการ(Process)

ในส่วนของการรายงานผลการดำเนินการ มคอ.3-6 คณะมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อติดตาม ตรวจสอบ ความสมบูรณ์ของการจัดทำ มคอ.3-6  ส่วน สสท. จะรวบรวม มคอ.3-6 จากคณะในรูปของ CD โดยคณะต้องเป็นส่งเป็น Files Pdf. ไม่ต้องส่งเป็นเอกสาร เพื่อการลดความสิ้นเปลืองของทรัพยากร แต่ขอให้รวบรวมในรูปของ CD เพื่อมหาวิทยาลัยจะได้ควบคุม ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามการกำหนดตัวชี้วัด(Measurable)  ด้านการควบคุมคุณภาพการบริหารหลักสูตรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการบริหารหลักสูตรการเรียนการสอน สู่ความเป็นเลิศของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้เริ่มจากการสำรวจความต้องการขององค์กรผ่านการระดมสมอง สู่การกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน การจัดทำแผนปฏิบัติงานรวมทั้งการใช้เครื่องมือทางการจัดการต่างๆมาใช้ในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันทั้งสถาบัน โดยมีการวางเป้าหมายร่วมกัน มุ่งมั่นพัฒนาอย่างจริงจัง และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต

 

 

 

การประกันคุณภาพการศึกษาของอาเซียน

AQAN  ได้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ  สมาชิกในการพัฒนากรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเซียน   โดยการพัฒนาองค์ประกอบของกรอบการประกันคุณภาพเพื่อให้กลไกดังกล่าวมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนี้

(๑)    หน่วยงานการประกันคุณภาพภายนอก  (External Quality Assurance Agency)

เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งตามกฎหมาย  มีพันธกิจที่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานในระดับชาติ  สาธารณะ  และประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ   มีความอิสระในการดำเนินการ  การตัดสินใจในการดำเนินการต้องปลอดการแทรกแซงจากหน่วยงานภายนอก  มีปรัชญา  พันธกิจ  เป้าประสงค์  และเป้าหมายการดำเนินการที่ชัดเจน  มีเกณฑ์มาตรฐาน  และตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพที่ชัดเจน  และเป็นที่ยอมรับของสังคม  การบริหารจัดการต้องยึดมั่นหลักการธรรมาภิบาลโปร่งใสและตรวจสอบได้  มีทรัพยากรบุคคลและงบประมาณดำเนินการที่เพียงพอ  มีความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ   ต้องมีระบบการตรวจสอบคุณภาพภายในเพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  มีการติดตามความเคลื่อนไหวพัฒนาการและนวัตกรรมของการประกันคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อที่จะก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง  และมุ่งที่จะพัฒนาในแนวทางการปฏิบัติงานที่ดี (good  practices)

(๒)    กระบวนการประกันคุณภาพภายนอก  (External  Quality Assurance Processes)

การพัฒนาเกณฑ์และมาตรฐานต้องมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  มีการประกาศเกณฑ์และมาตรฐานล่วงหน้า  และสาธารณชนสามารถสืบค้นข้อมูลได้ตลอดเวลา  เกณฑ์และมาตรฐานใช้กับทุกสถานศึกษาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม  และควรคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม  กระบวนการควรจะมี  ๕  องค์ประกอบ ดังนี้

(๑)    การประเมินตนเอง (self-assessment) หรือเทียบเท่า

(๒)    การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกและมีการตรวจเยี่ยมสถานศึกษาตามที่ตกลงกัน

(๓)    การให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) และข้อเสนอแนะเพื่อเสนอศึกษานำไปปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น

(๔)    การติดตามผลการนำข้อเสนอแนะไปใช้

(๕)    ผลของการประเมินภายนอกต้องแจ้งให้สาธารณะได้รับทราบการประกันคุณภาพอยู่บนพื้นฐานของรอบเวลา (cyclical basis) ผู้ประเมินต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับสถานศึกษา  มีกลไกการอุทธรณ์

(๓)    หลักการการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา (Institutional  Principles)

สถานศึกษาควรสร้างวัฒนธรรมคุณภาพในทุกภารกิจ  รวมทั้งการเรียน  การสอน  การวิจัย  การให้บริการและการบริหารจัดการ  มีโครงสร้างการประกันคุณภาพอย่างเป็นระบบและกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน  ระบบการประกันคุณภาพเป็นที่รู้ของทุกคน  ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง  และมีการดำเนินการอย่างยั่งยืน  ระบบการประกันคุณภาพเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกคน  และทุกระดับ  ทั้งอาจารย์  เจ้าหน้าที่  นักศึกษา  และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  มีการติดตามผลเป็นประจำ  เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ  ควรเผยแพร่ให้สาธารณะทราบข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับสถานศึกษา  หลักสูตร  ความสำเร็จต่างๆ รวมทั้งการประกันคุณภาพ

(๔)    หลักการผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  (Learners Focus Generic Principles)

สนับสนุนการยอมรับคุณวุฒิระหว่างประเทศสมาชิก  ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ส่งเสริมการถ่ายโอนหน่วยกิต  และการเคลื่อนย้ายผู้เรียน  ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแรงงาน  กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติต้องมี  ๙ องค์ประกอบ ดังนี้

(๑)   กำหนดบนพื้นฐานของผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับการศึกษาต่าง ๆ

(๒)   เป็นระบบหน่วยกิต

(๓)   บูรณาการรูปแบบการเรียนรู้และการฝึกอบรมต่างๆ ทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัย

(๔)    เชื่อมโยงกับภาคส่วนต่างๆ ของการศึกษา  และการเรียนรู้

(๕)    มีหน่วยงานรับผิดชอบการดำเนินการ

(๖)    มีความร่วมมือกับหน่วยข้อมูลและหน่วยเทียบคุณวุฒิ

(๗)    มีกรอบการดำเนินการด้วยหลักการการประกันคุณภาพ  และมีมาตรฐานที่ครอบคลุม

(๘)    ยึดมั่นปรัชญาการให้โอกาสทางการศึกษาต่อเนื่อง

(๙)    เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ดังนั้น  ความร่วมมือในการพัฒนากรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเซียนดังกล่าวจะช่วยพัฒนาระบบการประกันคุณภาพในระดับชาติและนานาชาติ  ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเอื้ออำนวยให้ความเป็นนานาชาติเข้ามาสู่ประเทศรวดเร็วขึ้น  หากสถาบันอุดมศึกษาไทยสามารถก้าวสู่ความเป็นนานาชาติผ่านกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับภูมิภาคดังกล่าวให้  เราคงจะมีโอกาสแข่งขันได้อย่างน้อยก็ในเวทีภูมิภาคนี้

Ref.  จุลสาร สมศ.  หน้า 6   กันยายน   2555

 

ASEAN Quality Assurance Network ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การศึกษาล่าสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ของ SEAMEO-RIHED ซึ่งเป็นศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนาภายใต้องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) ดำเนินการสำรวจหน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันในการพัฒนากรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเชียน (ASEAN Quality Assurance Framework) ก่อนหน้านี้ ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ SEAMEO-RIHED ร่วมกับ Malaysian Qualifications Agency เชิญทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา  โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก SEAMEO ทั้ง ๑๐ ประเทศ  ในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา  การประชุมดังกล่าวส่งผลให้เกิดการก่อตั้งเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเชียน (ASEAN Quality Assurance Network หรือ AQAN)

การก่อตั้ง AQAN มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยแนวปฏิบัติที่ดีของการประกันคุณภาพการอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ร่วมมือในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการประกันคุณภาพการอุดมศึกษา  แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลด้านการอุดมศึกษาและการยอมรับคุณวุฒิการศึกษาร่วมกัน  และพัฒนากรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเชียน  ทั้งนี้ AQAN ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะส่งเสริมการสร้างความกลมกลืน (harmonisation) และการยอมรับคุณวุฒิ (mutual recognition of qualifications) ในระดับอุดมศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เพื่อพร้อมรับการเคลื่อนย้ายกำลังคนของประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘

ความท้าทายของการประกันคุณภาพการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ  ความร่วมมือในการประกันคุณภาพการศึกษาที่สามารถส่งผลให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยอมรับหน่วยกิต  และคุณวุฒิการศึกษาระหว่างกันและกัน

และการส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ  พัฒนากระบวนการประกันคุณภาพที่อยู่ในระนาบเดียวกันหรืออย่างน้อยสามารถที่จะเทียบเคียงกันได้  เพื่อความสะดวกในการถ่ายโอนหน่วยกิตและการยอมรับคุณวุฒิการศึกษาระหว่างประเทศต่างๆ อย่างไรก็ตาม  ประเทศในภูมิภาคนี้ยังมีปัญหาร่วมกันคือ  ระดับคุณภาพการศึกษาที่ยังมีช่องว่างอยู่มาก  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมหาวิทยาลัยในระดับโลก  (World Class)  เช่น  ในสิงคโปร์  และมหาวิทยาลัยที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของวงการวิชาการระหว่างประเทศ  เช่น  ในสหภาพพม่า  ประกอบกับหลายประเทศยังไม่มีทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับการประกันคุณภาพ  รวมทั้งการขาดผู้เชี่ยวชาญ  ในหลายประเทศพบข้อจำกัดในระดับนโยบาย  เพราะนโยบายการพัฒนาระบบประกันคุณภาพในบางประเทศไม่เป็นรูปธรรม  ประกอบกับมีหลายหน่วยงานในระบบราชการรับผิดชอบในการผลักดันการประกันคุณภาพ  ซึ่งบางครั้งล้มเหลวมากกว่าประสบความสำเร็จ  ดังนั้น ความร่วมมือในการพัฒนากรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเซียนจึงจะสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ดีขึ้นไม่มากก็น้อย

 

Ref.  จุลสาร สมศ. หน้า 5  กันยายน  2555

มหาวิทยาลัย กับ การประกันคุณภาพ

      “การศึกษา”  หมายถึง  กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม  โดยการถ่ายทอดความรู้  การฝึก  การอบรม  การสืบสานทางวัฒนธรรม  การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ  การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม  การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  “สถานศึกษา”  หมายถึง  สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย  โรงเรียน  ศูนย์การเรียน  วิทยาลัย  สถาบัน   มหาวิทยาลัย  หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา (พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔)

               ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง  ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศให้เป็นคนเก่ง  ดี  มีคุณค่า  ที่พร้อมทั้งด้านสติปัญญา  ความรู้ความสามารถ  เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  รู้จักรับผิดชอบต่อสังคม  อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา  สร้างการเปลี่ยนแปลงหรือเป็นที่พึ่งของสังคมในการป้องกัน  ชี้แนะและแก้ปัญหา  ทั้งในด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมืองและความมั่นคงของประเทศ

ในการบริหารมหาวิทยาลัยนั้น  กฎหมายได้กำหนดได้มีสภาสถานศึกษาหรือที่เรียกขานกันว่า  “สภามหาวิทยาลัย”  ทำหน้าที่กำกับ  ดูแลกิจการของสถานศึกษา  (พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๖) รวมถึงการที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กระจายอำนาจการกำกับดูแลโดยเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยมีอิสระ  คล่องตัวในการบริหารจัดการ  ดังนั้น สภามหาวิทยาลัยในฐานะองค์กรบริหารสูงสุดของสถาบันจึงมีบทบาทสำคัญ  ทำหน้าที่สรรหา  แต่งตั้งอธิการบดี  กำหนดนโยบาย  งบประมาณ  จัดหาและบริหารทรัพยากร  ติดตามประเมินผลการดำเนินการ  และตรวจสอบการบริหารงานของอธิการบดี  ทั้งนี้ ถึงแม้กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการประกันคุณภาพโดยต้องมีการประกันคุณภาพภายใน (Internal  Quality  Assurance : IQA) เป็นประจำทุกปีและต้องได้รับการประเมินภายนอก  (External  Quality  Assessment : EQA) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)  อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีก็ตาม  แต่ที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ที่ถูกสังคมตั้งคำถามว่า  “ทำไมการศึกษาไทยจึงด้อยคุณภาพ?”  หรือแม้กระทั่งปัญหาบางสถาบันมีบัณฑิตสำเร็จการศึกษา  ทั้งที่หลักสูตรยังไม่ผ่านการรับรองจากต้นสังกัด  เป็นต้น

ปรากฏการณ์เหล่านี้ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า  สภามหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นองค์กรบริหารสูงสุดของสถาบัน  มีผลการดำเนินงานแตกต่างกัน  แม้จะอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกันก็ตาม  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยนั่นเอง  ดังนั้นการกำกับดูแลกิจการมหาวิทยาลัยด้วยความทุ่มเท  ร่วมรับผิดชอบสังคม  โดยการจัดการศึกษาต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

๑)      ความเชี่ยวชาญ  สภามหาวิทยาลัยจะต้องกำกับ  ดูแลการจัดการศึกษาทั้งในระดับ

ปริญญาตรีและบัญฑิตศึกษาตามความเชี่ยวชาญเฉพาะของมหาวิทยาลัย  โดยหลักสูตรที่เปิดจะต้องเป็น    ความต้องการของสังคมและชุมชน  ที่สำคัญหลักสูตรต้องผ่านการรับรองจากต้นสังกัดและมีมาตรฐาน    คุณภาพ  ซึ่งความเชี่ยวชาญจะแสดงให้เห็นความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของสถาบันต่อไป

๒)  ความพร้อม  ซึ่งประกอบด้วยความพร้อมด้านคณาจารย์  บุคลากรและสิ่งสนับสนุน

มหาวิทยาลัยใดจะเปิดการเรียนการสอน  เปิดหลักสูตรนอกที่ตั้ง  หลักสูตรภาคพิเศษ  จะต้องได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องเพื่อเป็นการแสดงถึงความพร้อมของบุคลากรและสิ่งสนับสนุนของหลักสูตรนั้นๆ

๓)  ความต้องการหรือความจำเป็นของสังคมถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญ  เนื่องจากพบว่า  หลักสูตรที่เปิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นการเปิดเพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน (Supply  Side) ซึ่งในสภาพจริงแล้วควรตระหนักถึงความต้องการหรือความจำเป็นของสังคม (Demand  Side) เป็นสำคัญ

๔)  ความรับผิดชอบในผลผลิตของมหาวิทยาลัย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพบัณฑิตที่จะรับใช้สังคมต่อไป  บัณฑิตที่ดีนอกจากจะต้องเป็นคนที่มีความรู้  มีทักษะและต้องมีคุณธรรมจริยธรรม  ตลอดจนจรรยาบรรณในวิชาชีพ  มีจิตสำนึกที่ดี  มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์เฉพาะของสถาบัน

ในส่วนของการขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสได้รับการศึกษามากขึ้นนั้น  นับเป็นสิ่งที่ดีและจำเป็นที่ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมจัดให้มีขึ้น  แต่ทั้งนี้โอกาสทางการศึกษาที่หยิบยื่นให้นั้น  ต้องประกอบด้วย ๓ ค คือ (๑) คุณธรรม  คือ  ผู้บริหารสถาบันจะต้องมีคุณธรรม  ซื่อสัตย์ต่อผู้เรียน  โดยจัดบริหารเฉพาะหลักสูตรที่ผ่านการรับรองอย่างถูกต้อง  (๒) คุณภาพ  สถานศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อผลิตบัณฑิตได้มาตรฐาน  เพราะหากมหาวิทยาลัยยิ่งผลิตบัณฑิตที่ด้อยคุณภาพออกสู่สังคมมากเท่าใดก็จะส่งผลกระทบในด้านลบต่อตัวสถาบันเองในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ  (๓) คุณค่า  กล่าวคือ  มหาวิทยาลัยต้องตระหนักถึงความจำเป็นหรือความต้องการของสังคม  โดยการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน

ดังนั้นในฐานะสภามหาวิทยาลัยซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินของมหาวิทยาลัย  จะต้องส่งเสริม  สนับสนุน  ให้เกิดคุณภาพอย่างแท้จริง  โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล  มหาวิทยาลัยจะต้องกำกับ  ดูแล  ควบคุมให้มีคุณภาพ  ต้องมีการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจนเป็นวิถีชีวิตคุณภาพ  โดยการนำผลประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้ในการขับเคลื่อนและพัฒนาสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดีสู่การเป็นองค์กรคุณภาพต่อไป

อ้างอิง : สยามรัฐ  ปีที่ : ๖๓  ฉบับที่ : ๒๑๖๙๗  วันที่ : ศุกร์ ๒๑ กันยายน  ๒๕๕๕

หยิบมาเล่า....การประเมินคุณภาพรอบสาม

ในแวดวงการศึกษาทุกท่านคงรู้กันเป็นอย่างดีว่า การประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งมีทั้งการประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอก แต่ในคราวนี้ดิฉันขอนำเรื่องราวในแวดวงการประกันชคุณภาพการศึกษาภายนอก มาเล่าสู่กันฟังใน KM Blogนี้นะคะ

การประกันคุณภาพภายนอก ซึ่ง สมศ.ได้ดำเนินการประเมินภายนอกรอบแรก(พ.ศ. 2544-2548) และประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (พ.ศ. 2549-2553) เสร็จสิ้นไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินคุณภาพรอบสาม(พ.ศ. 2554-2558) โดยในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ในระดับอุดมศึกษานี้ สมศ.ได้กำหนดตัวบ่งชี้ จำนวน 18 ตัวบ่งชี้ ซึ่งครอบคลุมทั้ง 4 มาตรฐานตามที่กฎกระทรวงฯกำหนด โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มตัวบ่งชี้ ได้แก่กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน 15 ตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ 2 ตัวบ่งชี้และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม 1 ตัวบ่งชี้ ทั้งนี้ในส่วนของมทร.พระนคร ได้มีการดำเนินการในการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพรอบสาม ซึ่งจะมีในปีการศึกษา 2556 นี้

ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม  การรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา  ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้การรับรองมาตรฐานสถานศึกษา ดังนี้

๑.      การรับรองมาตรฐานระดับอุดมศึกษา  การรับรองมาตรฐานของสถานศึกษารอบสาม

ระดับอุดมศึกษา  จะพิจารณาข้อมูลจากการประเมินตัวบ่งชี้ที่เชื่อมโยงไปสู่การรับรองมาตรฐานของสถานศึกษา ดังนี้

๑.๑ การประเมินระดับตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้แต่ละตัวจะมีคะแนนต่ำสุดคือ ๐ และสูงสุดคือ ๕

๑.๒ การประเมินกลุ่มตัวบ่งชี้  สมศ. กำหนดเกณฑ์ไว้ ๒ ข้อ คือ

๑) คะแนนเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ที่ ๑ – ๑๑  มีค่าตั้งแต่ ๓.๕๑ ขึ้นไป

๒) คะแนนเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ทุกตัวรวมกัน มีค่าตั้งแต่ ๓.๕๑ ขึ้นไป  โดยใช้ทศนิยม ๒

ตำแหน่ง

๑.๓ ความหมายของระดับคุณภาพ  ค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวบ่งชี้หรือในภาพรวม

สามารถแปลความหมายของระดับคุณภาพ ดังนี้

ช่วงคะแนน                                             ระดับคุณภาพ

๔.๕๑ – ๕.๐๐                                               ดีมาก

๓.๕๑ – ๔.๕๐                                                  ดี

๒.๕๑ – ๓.๕๐                                               พอใช้

๑.๕๑ – ๒.๕๐                                            ต้องปรับปรุง

๐.๐๐ – ๑.๕๐                                        ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

๒.  การรับรองมาตรฐานระดับคณะ/เทียบเท่า  ใช้เกณฑ์ ๒ ข้อ ในข้อ ๑.๒ และแปลความหมายตามข้อ ๑.๓

๓.  การรับรองมาตรฐานระดับสถาบัน  สถาบันจะได้การรับรองเมื่อ

๓.๑ ผลประเมินระดับสถาบันได้คะแนนเฉลี่ยเป็นไปตามเกณฑ์ ๒ ข้อ ในข้อ ๑.๒

๓.๒ คะแนนผลการประเมินระดับคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่าเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้                       ๓.๒.๑ สถาบันที่มีจำนวน ๑ – ๓ คณะทุกคณะต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

๓.๒.๒ สถาบันที่มีจำนวน ๔ – ๙ คณะ มีคณะที่มีผลการประเมินคุณภาพในระดับ

พอใช้ได้เพียง ๑ คณะเท่านั้น

๓.๒.๓ สถาบันที่มีคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่าจำนวนตั้งแต่ ๑๐ คณะขึ้นไป มีคณะ

เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานตั้งแต่ร้อยละ ๙๐ ของจำนวนคณะทั้งหมด

หมายเหตุ :   หากสถาบันได้รับการรับรองมาตรฐาน แต่มีคณะที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานตามเกณฑ์

ข้างต้น ให้เป็นการรับรองมาตรฐานสถาบันแบบมีเงื่อนไข

โดยจากการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม  จำนวน ๔๗ แห่ง (จำนวน ๓๙๗ คณะ) พบว่า สถาบันอุดมศึกษาได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสถาบันจำนวน ๔๕ แห่ง (ร้อยละ ๙๕.๗๔) และมีสถาบันที่ได้รับการรับรองแบบมีเงื่อนไขจำนวน ๒ แห่ง (ร้อยละ ๔.๒๖) โดยสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานมากที่สุด คือ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎและสถาบันเฉพาะทาง ร้อยละ ๑๐๐ รองลงมา คือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ร้อยละ ๘๘.๒๔ ตามลำดับ  และสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองแบบมีเงื่อนไข คือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนร้อยละ ๑๑.๗๖ รายละเอียดดังนี้

 

 

ลำดับ

 

สังกัด

จำนวนทั้งหมด

(แห่ง)

รับรอง

รับรองแบบมีเงื่อนไข

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมหาวิทยาลัยราชภัฎ

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

สถาบันเฉพาะทาง

 

๒๑

๑๗

๒๑

๑๕

๑๐๐.๐๐

๑๐๐.๐๐

๑๐๐.๐๐

๘๘.๒๔

๑๐๐.๐๐

๐.๐๐

๐.๐๐

๐.๐๐

๑๑.๗๖

๐.๐๐

  รวม

๔๗

๔๕

๙๕.๗๔

๔.๒๖

จากผลการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยรายตัวบ่งชี้จำแนกตามประเภทสถาบันพบว่า สถาบันอุดมศึกษา

ส่วนใหญ่  มีคแนนรายตัวบ่งชี้อยู่ในระดับคุณภาพดีและดีมาก  ทั้งนี้เมื่อพิจารณาคะแนนรายตัวบ่งชี้ที่ ๓ ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  พบว่า อยู่ในระดับพอใช้ ต่างจากสถาบันอื่น คือ  มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎ  และมหาวิทยาลัยเอกชน  ที่อยู่ระดับดี  ส่วนตัวบ่งชี้ที่ ๔ , ๕ , ๖ , ๗ และ ๑๔ ของสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎ  และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน  พบว่า มีคะแนนรายตัวบ่งชี้ที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้และต้องปรับปรุง รายละเอียดดังนี้

 

 

 

 

ตัวบ่งชี้

ค่าน้ำหนัก

คะแนน

ประเภทสถาบัน / คะแนนเฉลี่ย   (ระดับคุณภาพ)

ม.ในกำกับรัฐ

ม.รัฐ

ม.ราชภัฎ

ม.เอกชน

๓.   ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ดั้บการตีพิมพ์หรือเผยแพร่๔.   ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับ

ปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

๕.   งานวิจัยหรืองานสร้งสรรค์ที่ได้รับ

การตีพิมพ์หรือเผยแพร่

๖.   งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ที่นำไปใช้ประโยชน์

๗.   ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรอง

คุณภาพ

๑๔.   การพัฒนาคณาจารย์

๓.๓๔

(พอใช้)

๔.๖๓

(ดีมาก)

๔.๒๐

(ดี)

๔.๕๒

(ดี)

๓.๗๒

(ดี)

๓.๕๐

(พอใช้

๔.๔๕

(ดี)

๔.๔๒

(ดี)

๔.๔๒

(ดี)

๔.๑๗

(ดี)

๓.๖๙

(ดี)

๓.๖๖

(ดี)

๔.๐๖

(ดี)

๑.๗๕

(ต้องปรับปรุง)

๒.๐๑

(ต้องปรับปรุง)

๔.๑๙

(ดี)

๒.๗๐

(พอใช้)

๒.๑๙

(ต้องปรับปรุง)

๓.๙๕

(ดี)

๓.๔๖

(พอใช้)

๒.๖๑

(พอใช้)

๓.๐๖

(พอใช้)

๓.๑๘

(พอใช้)

๒.๒๓

(ต้องปรับปรุง)

ด้านวุฒิการศึกษาของอาจารย์ทั้งหมด  จำนวน ๕๖,๙๗๘ คน  พบว่า ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับ

ปริญญาโท ร้อยละ ๕๘.๐๑ (๓๓,๐๕๕ คน)  มีวุฒิการศึกษาปริญญาเอกเพียงร้อยละ ๓๑.๑๔ (๑๗,๗๔๘ คน)  และส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งอาจารย์ ร้อยละ ๖๗.๑๑ (๓๘,๒๓๘ คน) มีวุฒิศาสตราจารย์เพียงร้อยละ ๑.๐๑ (๕๗๗ คน)  และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลไม่ตำแหน่งศาสตราจารย์เลย

สำหรับสัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อผู้เรียน  พบว่า ในภาพรวมมีจำนวนอาจารย์ต่อจำนวนผู้เรียน คือ

๑ : ๓๓ โดยมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีสัดส่วนน้อยที่สุด คือ ๑ : ๑๘ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎมีสัดส่วนมากที่สุด คือ ๑ : ๕๒

ข้อเสนอแนะต่อสถานศึกษาระดับอุดมศึกษามี ๒ ประเด็น คือ การพัฒนาบุคลากร  และผลงานวิชาการ  ภาครัฐต้องเร่งสร้างระบบและกลไกงานวิจัย  เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในบริบทของความเป็นไทย  เนื่องจากฐานคิดตะวันตกและฐานคิดตะวันออกมีความแตกต่างกัน  ทำอย่างไรให้งบประมาณเพียงพอต่อการวิจัย  ให้งบประมาณแล้วต้องอย่าให้โซ่ตรวน  ไม่ให้บั่นทอนขวัญและกำลังใจของคณาจารย์สร้างระบบบ่มเพาะ  ระบบพี่เลี้ยงให้เหมาะสมกับธรรมชาติของแต่ละศาสตร์  และการให้งบประมาณวิจัยควรต้องให้งบประมาณการวิจัยระยะยาว ๓ – ๕ ปี  และให้การสนับสนุนที่เป็นระบบ  พัฒนาให้มีสัดส่วนเวลาของการสอนและการสร้างงานวิจัยที่เหมาะสม  สร้างเงื่อนไขของการพัฒนาโดยการกำหนดตัวบ่งชี้ให้เพิ่มตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย  ผู้บริหารต้องบริหารจัดการให้ครูอาจารย์มีผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น  สถานศึกษาต้องสร้างบรรยากาศทางงานวิชาการเพิ่มขึ้น  ขอให้ผู้บริหารคำนึงถึงบาป บุญ คุณ โทษ  โดย สมศ. ได้ปรับ SWOT เป็น  CP- SWOT PLUS บาปส่งผลต่ออนาคตและเครดิตของสถานศึกษา  และจะเป็นคุณถ้าครูอาจารย์มีความเชี่ยวชาญและมีสัดส่วนที่เพียงพอ  แต่คงจะเป็นโทษมาก  ถ้ามีหลักสูตรแต่ไม่มีครูอาจารย์  สถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชนมีพันธกิจในการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ  จึงอยากฝากทั้งรัฐและเอกชนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย

Ref. : จุลสาร สมศ. / หน้า 7 – 8 / เดือนสิงหาคม 2555

นิทาน แว่นตาชีวิต

อภิมหาเศรษฐีเกือบจะชราผู้หนึ่ง สุดแสนจะภูมิใจ ที่ลูกชายวันห้าขวบของเขา กำลังจะได้เข้าเรียนในโรงเรียนชื่อดัง ซึ่งระดับเศรษฐีอย่างพวกเขาเท่านั้น จึงจะมีปัญญาส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนี้ได้ โดยส่วนตัวของเขาเอง ก็อยากจะสอนให้ลูกชายรู้จักกับชีวิตจริงในโลก ควบคู่ไปกับการสอนทฤษฏีในโรงเรียน ในวันหยุดเขาจะตระเวนพาลูกชายคนเดียว ไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ แล้ววันหนึ่ง เขาก็คิดถึงหัวข้อการสอนเรื่องความยากจน เพราะเขามีความเชื่อว่า ลูกชายของเขาคงไม่มีวันรู้จักแน่นอน เขาจึงพอลูกชายไปเยี่ยมครอบครัวชาวนาครอบครัวหนึ่ง และพักอยู่กับชาวนาเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน กลับถึงคฤหาสน์ของเขาในวันต่อมา มหาเศรษฐีก็จะทดสอบว่าลูกชายได้อะไรบ้าง จากการไปพักแรมกับชาวนาผู้ยากจน  ลูกชายตอบคำถามผู้เป็นบิดาว่า เขาขอขอบคุณเป็นอย่างมาก ที่ได้พาเขาไปพบกับชาวนาและพักแรมที่นั่น ซึ่งทำให้เขาได้พบว่า….

….ชาวนามีที่ทำงานเป็นท้องนาที่กว้างใหญ่  ในขณะที่พ่อมีเพียงห้องสี่เหลี่ยมที่ว่ากว้าง แต่ก็ยังน้อยกว่าท้องทำงานของชาวนา  ….อาหารที่ชาวนารับประทาน สามารถหาได้ตลอดเวลารอบๆ บริเวณบ้านโดยไม่ต้องซื้อหา  ในขณะที่บ้านของเรามีตู้เย็นเท่านั้นที่เป็นที่เก็บอาหาร

…….เวลารับประทานอาหารก็มีเพื่อนคุยอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาพ่อแม่ลูก
ในขณะที่ตัวเองก็ต้องนั่งทานอาหารกับโต๊ะอาหาร ที่ยาวเกือบสิบเมตร และมีเก้าอี้ว่างเปล่าทั้งสองด้าน ……ลูกชาวนาที่ซ้อนท้ายจักรยานของพ่อเขา ต้องกอดเอวพ่อให้แน่นเพื่อจะได้ไม่ตกจากจักรยาน  แต่เขาเองต้องนั่งในรถที่ใหญ่โตอยู่ข้างหลังเพียงลำพัง โดยมีคนขับรถพาไปทุกที่

………ชาวนามีแสงดาวแสงจันทร์เป็นโคมไฟส่องสว่างตลอดเวลาในเวลากลางคืน โดยไม่ขาดแคลน แต่เขาก็มีเพียงแสงจากโคมไฟที่ต้องซื้อด้วยเงิน  ……..ชาวนามีรั้วบ้านเป็นแม่น้ำ ภูเขาที่กว้างสุดลูกหูลูกตา แต่เขาเองกลับมีเพียงแค่กำแพงบล๊อคในพื้นที่ไม่กี่ไร่

………ลูกชาวนาได้มีเพื่อนเล่นเป็นจิ้งหรีด หิ่งห้อยนับร้อยนับพัน
แต่เขาเองกลับไม่มีใครเลย  ผู้เป็นพ่อฟังแล้วเงียบงัน ลูกชายสบตาพ่อเต็มตา
แล้วจบว่า ขอบคุณมากครับพ่อ ที่ช่วยให้ผมได้สำนึกว่า เราจนขนาดไหน

คุณเห็นด้วยไหมว่า แว่นตาชีวิตนี่ช่างเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก คิดดูสิว่าโลกจะเปลี่ยนไปสักเพียงใด  ถ้าเราทุกคนเปลี่ยนมา เป็นปลื้มและพอใจในทุกสิ่งที่เรามี แทนที่จะดิ้นรน
ไขว่คว้าเพื่อสิ่งที่เรายังไม่ได้มา ขอจงพอใจในสิ่งที่เรามีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อน
ชีวิตหนึ่งของเรานั้น สั้นนัก และเรามีเพื่อนได้น้อยมาก

 

นิทาน ทรายเต็มแก้ว

เขาเดินเข้าห้องเรียนมาพร้อมด้วยของสองสามอย่างบรรจุอยู่ในกระเป๋าคู่ใจ
เมื่อได้เวลาเรียน เขาหยิบ เหยือกแก้ว ขนาดใหญ่ขึ้นมา แล้วใส่ ลูกเทนนิส ลงไปจนเต็ม
พวกคุณคิดว่าเหยือกเต็มหรือยัง ?’ เขาหันไปถามนักศึกษาปริญญาโท
แต่ละคนมีสีหน้าตาครุ่นคิดว่าอาจารย์หนุ่มคนนี้จะมาไม้ไหนก่อนจะตอบพร้อมกันเต็มแล้ว…’
เขายิ้มไม่พูดอะไรต่อหันไปเปิดกระเป๋าเอกสารคู่ใจ  หยิบกระป๋องใส่กรวดออกมา แล้วเท กรวดเม็ดเล็กๆ จำนวนมากลงไปในเหยือกพร้อมกับเขย่าเหยือกเบาๆ  กรวดเลื่อนไหลลงไปอยู่ระหว่างลูกเทนนิสอัดจนแน่นเหยือก เขาหันไปถามนักศึกษาอีก  เหยือกเต็มหรือยัง ?’
นักศึกษามองดูอยู่พักหนึ่งก่อนจะหันมาตอบ เต็มแล้ว…’

เขายังยิ้มเช่นเดิม หันไปเปิดกระเป๋าหยิบเอาถุงทรายใบย่อมขึ้นมา และเททรายจำนวนไม่น้อยใส่ลงไปในเหยือก เม็ดทราย ไหลลงไปตามช่องว่างระหว่างกรวดกับลูกเทนนิสได้อย่างง่ายดาย เขาเทจนทรายหมดถุง เขย่าเหยือกจนเม็ดทรายอัดแน่นจนแทบล้นเหยือก  เขาหันไปถามนักศึกษาอีกครั้ง เหยือกเต็มหรือยัง ?’   เพื่อป้องกันการหน้าแตกนักศึกษาปริญญาโทเหล่านั้นหันมามองหน้ากัน ปรึกษากันอยู่นาน  หลายคนเดินก้าวเข้ามาก้มๆ เงยๆ มองเหยือกตรงหน้าอาจารย์หนุ่มอยู่หลายครั้ง มีการปรึกษาหารือกันเสียงดังไปทั้งห้องเรียน จวบจนเวลาผ่านไปเกือบห้านาที หัวหน้ากลุ่มนักศึกษาจึงเป็นตัวแทน เดินเข้ามาตอบอย่างหนักแน่น

คราวนี้เต็มแน่นอนครับอาจารย์
แน่ใจนะ
แน่ซะยิ่งกว่าแน่อีกครับ
คราวนี้เขาหยิบ น้ำอัดลม สองกระป๋องออกมาจากใต้โต๊ะแล้วเทใส่เหยือกโดยไม่รีรอ ไม่นานน้ำอัดลมก็ซึมผ่านทรายลงไปจนหมด ทั้งชั้นเรียนหัวเราะฮือฮากันยกใหญ่ เขาหัวเราะอย่างอารมณ์ดี

ไหนพวกคุณบอกว่าเหยือกเต็มแน่ๆ ไงเขาพูดพลางยกเหยือกขึ้น ผมอยากให้พวกคุณจำบทเรียนวันนี้ไว้ เหยือกใบนี้ก็เหมือนชีวิตคนเรา  ลูกเทนนิสเปรียบเหมือนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต เช่น ครอบครัว คู่ชีวิต การเรียน สุขภาพ ลูก และเพื่อน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่คุณต้องสนใจจริงจัง สูญเสียไปไม่ได้

เม็ดกรวดเหมือนสิ่งสำคัญรองลงมา เช่น งาน บ้าน รถยนต์ ทรายก็คือเรื่องอื่นๆ ที่เหลือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราจำเป็นต้องทำ แต่เรามักจะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้

เหยือกนี้เปรียบกับชีวิตของคุณ ถ้าคุณใส่ทรายลงไปก่อน คุณจะมัวหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล็กๆน้อยๆ อยู่ตลอดเวลา  ชีวิตเต็มแล้วเต็มจนไม่มีที่เหลือให้ใส่กรวด ไม่มีที่เหลือใส่ให้ลูกเทนนิสแน่นอน

ชีวิตของคนเราทุกคน ถ้าเราใช้เวลาและปล่อยให้เวลาหมดไปกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เราจะไม่มีที่ว่างในชีวิตไว้สำหรับเรื่องสำคัญกว่า  เพราะฉะนั้นในแต่ละวันของชีวิต เราต้องให้ความสนใจกับเรื่องที่ทำให้ตัวเราและครอบครัวมีความสุข  ใช้ชีวิตเล่นกับลูกๆ หาเวลาไปตรวจร่างกาย พาคู่ชีวิตกับลูกไปพักผ่อนในวันหยุด พากันออกกำลังกาย เล่นกีฬาร่วมกันสักชั่วโมงสองชั่วโมง เพื่อสุขภาพและความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิต เราต้องดูแลเรื่องที่สำคัญที่สุดจริงๆ ดูแลลูกเทนนิสของเราก่อนเรื่องอื่นทั้งหมด หลังจากนั้นถ้ามีเวลาเหลือเราจึงเอามาสนใจกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเรา

นักศึกษาคนหนึ่งยกมือขึ้นถาม แล้วน้ำที่อาจารย์เทใส่ลงไปล่ะครับ หมายถึงอะไร ?’

เขายิ้มพร้อมกับบอกว่า การที่ใส่น้ำลงไปเพราะอยากให้เห็นว่า ไม่ว่าชีวิตของเราจะวุ่นวายสับสนเพียงใด ในความสับสนและวุ่นวายเหล่านั้นคุณยังมีที่ว่างสำหรับการแบ่งปันน้ำใจให้กันเสมอ