Author Archives: wanapun

ลิสต์ (Lists) ใน Turbo Prolog

วันนี้ว่ากันเรื่องภาษา Prolog บ้าง ดูเรื่องของรายการ (Lists, ลิสต์) แล้วกัน เริ่มแรกรู้จักลักษณะของ ลิสต์ ใน Prolog กันก่อน ตัวอย่าง [1, 2, 3, 4], [a, d, x, b, s], [“Wichar”, “Somsri”, “Susan Ann”]  ให้สังเกตลิสต์แรก 1 จะเป็นตัวแรกของลิสต์ เรียกว่าหัวของลิสต์ (Head) ที่เหลือ [2, 3, 4] คือลิสต์ของหาง (Tail) Turbo Prolog จะใช้เครื่องหมาย | (เรียกว่า vertical bar) เพื่อแยกส่วนหัวและหาง ตัวอย่าง [X|Y] X คือ ส่วนหัว และ Y คือหาง ตัวอย่าง ถ้ามีเป้าประสงค์ (Goal) test([X|Y]) และมีค่าความจริง (Fact) test(a, b, c, d) ค่าของ X จะหมายถึง a ค่าของ Y คือ ลิสต์ [b, c, d] การเทียบค่าของ list [X, Y, Z] กับ [susan, read, book] X=susan, Y=read, Continue reading →

Backtracking ใน Turbo Prolog

 สมมุติปัญหาต้องการจับคู่ นักเรียนมาแข่งขันตอบปัญหาโดยที่จะต้องมีอายุเท่ากันตัวอย่าง ค่าความจริง (facts) ของนักเรียนในห้อง domains           learner = symbol            age = integer predicates            student(learner, age) clauses             student(wichai, 21).             student(somsak, 19).             student(somsri, 21).             student(somchai, 21).  ให้จับคู่นักเรียน อายุ 21 ปี มาแข่งขันกัน 2 รอบ กำหนดเป้าประสงค์ (goal) แบบผสม (compound goal) ซึ่งจะมีเป้าประสงค์ย่อย (subgoals) หลาย ๆ เป้าประสงค์ดังนี้ student(Who1, 21) and student(Who2, 21) and Who1 <> Who2.  โตยที่ Who1 และ Who2 เป็นคนละคนกัน การทำงานของ Turbo Prolog จะหาคำตอบจากเป้าประสงค์ย่อย (subgoal) อันแรก และจะหาจากเป้าประสงค์ย่อยอื่นต่อไปก็ต่อเมื่อ เจอเป้าประสงค์ย่อยแรกแล้ว จากตัวอย่าง Who1 คือ wichai Turbo Prolog จะหาเป้าประสงค์ย่อยอื่นต่อไป คือ student(Who2, 21) จะได้ Who2 มีค่าเป็น wichai ด้วย Continue reading →

ตัวอย่างการรับชื่อด้วย Text field และแสดงผลที่ Status bar

import javax.swing.*; import java.awt.*; import java.awt.event.*; public class ShowName extends JApplet implements ActionListener { JLabel EnterName;    JTextField NameField; JButton enterButton;                                   public void init() {  Container c = getContentPane();                    c.setLayout(new FlowLayout());                   EnterName = new JLabel( "Enter your name " );  c.add(EnterName);  NameField = new JTextField( 40 );  c.add(NameField); // Enter button  enterButton = new JButton( "Enter name" );  enterButton.addActionListener( this );     c.add(enterButton);             }// end init public void actionPerformed( ActionEvent action ) {     showStatus("Your name is "+NameField.getText()); } // end actionPerformed } // end Class อย่าลืมสร้าง Continue reading →

พระนครเหนือก็อยู่ภายใต้ไตรลักษณ์

วันนี้ตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม 2552 ไม่ได้คิดว่าเป็นวันฤกษ์ดีหรือวันพิเศษ วันหน้าจะลองค้นดูเรื่องฤกษ์งามยามดีในทางพุทธศาสนาดู ว่าท่านกล่าวไว้อย่างไรบ้าง ตามที่ได้ยินมาไม่น่าจะมีเรื่องแบบนี้ในทางศาสนาพุทธที่ให้ยึดติด อีกเรื่องคือไตรลักษณ์ วันหน้าอีกเหมือนกันจะลองค้นดูว่าตามจริงแล้วท่านกล่าวไว้อย่างไร แต่เท่าที่รู้บ้างและเข้าใจก็ตามชื่อนั่นแหละ ว่าหมายถึงลักษณะสามอย่าง หรือสามัญลักษณะ ซึ่งเป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ก็มี อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา วันนี้จะเขียนเกี่ยวกับไตรลักษณ์ข้อแรกแบบพื้น ๆ ตามที่เข้าใจกัน ว่าอนิจจังคือความไม่เที่ยง (แค่นี้ก็ฟังยากแล้ว ว่าหมายความว่าอย่างไร) ที่เหลือว่ากันอีกที (ถ้ามี) วันหน้า (ที่เขียนว่าถ้ามีก็เพราะมันก็เป็นอนิจจังเหมือนกัน ลองไปอ่านพระสูตรสุดท้ายก่อนพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน) เขียนถึงตรงนี้เห็นถึงความฟุ้งซ่านของตัวเอง ที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสตัวหนึ่ง (อยู่ในเรื่อง อุปกิเลส ๑๐ แห่งวิปัสสนา) ก็ผลัดไว้เขียนวันหน้าอีก 🙂 เข้าเรื่องต่อ ตามหัวข้อตั้งใจจะเขียนนิดหนึ่งว่าประมาณ 3 ปีที่ผ่านมานี้ก่อนวันครบรอบวันสถาปนาหนึ่งวัน (The Eve of Foundation Day) มีการสร้างรูปแบบบางอย่างเพิ่มขึ้น นั่นคือมีการไปเฝ้าองค์พระวิษณุที่หน้ามหาวิทยาลัยตลอดคืนจนถึงตอนเช้า แต่ปีนี้มีบางอย่างเพิ่มขึ้นอีก (ไม่รู้ว่าเป็นสีสันที่ควรจะเพิ่มเข้าไปหรือเปล่า) ถ้าใครผ่านมาหน้ามหาวิทยาลัยคงจะนึกว่า เอ๊ะ วันนี้เป็นวันลอยกระทงหรือ เพราะมีเสียง (น่าจะเป็น) ประทัดจุดอยู่หลาย ๆ ครั้ง สอบถามคนที่อยู่แถวนี้เขาบอกว่ามีเสียงจุดทั้งคืน เมื่อก่อนหน้านี้ก่อนที่จะมีการห้ามจุดประทัด เมื่อใกล้วันลอยกระทงจะมีการจุดประทัดเกือบทั้งคืน แต่พอมีการห้ามจุดประทัดก็ได้ยินเสียงน้อยลงไปมาก ที่เขาห้ามเพราะมักจะมีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ปีนี้น่าจะเป็นปีแรกที่มีการจุดประทัด (มองโลกแง่ดีว่าเป็นประทัด) ต่อไปถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นก็คงจะห้ามกัน (ตามสำนวนวัวหายล้อมคอก ที่บางประเทศชอบทำกัน) ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น บรรดาคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทั้งหลาย ที่รักและห่วงใยลูกหลานเป็นอย่างยิ่ง ก็จะออกมาหาผู้รับผิดชอบ สุดท้ายก็คงจะมีคำตอบอยู่แล้วว่าใครผิด (น้ำมัน โซ.... ผิด) ที่เขียนมานี่ก็ไม่อยาก (วิภวตัณหา) ให้ประเพณีของการทำบุญ ในวันนี้ต้องหายไปหรือถูกห้ามจัดอีก (คล้ายกิจกรรมบางอย่างของมหาวิทยาลัยที่จัดเพื่อสร้างความสามัคคีภายใน แต่กลายกิจกรรมเพื่อที่จะประกาศว่า กูเก่ง กูเก่ง) เมื่อคืนฟังข่าวที่ว่าเด็กไทยระดับมัธยม Continue reading → Continue reading →