ประเภทของจริยธรรม

จริยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

     1) จริยธรรมภายนอก เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมภายนอกที่ปรากฏให้เป็นที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยความมีวินัย การตรงต่อเวลาเป็นต้น

     2) จริยธรรมภายใน เป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคคลิตามสภาพของจิตใจและสภาวะแวดล้อม เช่น ควงาใมซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น

บทบาทนักศึกษากับการวิจัย

ในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ต้องดำเนินการไปควบคู่กับการดำเนินการตามพันธกิจของคณะฯ / มหาวิทยาลัย ซึ่งหนึ่งในพันธกิจของคณะ/มหาวิทยาลัยคือการดำเนินการด้านการวิจัย ซึ่งทุกหลักสูตรจะต้องให้ความรู้แก่นักศึกษาด้านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการทำวิจัย ซึ่งในบางหลักสูตรนั้น นักศึกษาจะต้องมีการจัดทำสารนิพนธ์ โครงงาน หรือโปรเจค เพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ ดังนั้น นักศึกษาจะมีบทบาทเกี่ยวกับงานวิจัยดังนี้

     1. 
     2.
     3.
     4.

บทบาทนักศึกษากับการจัดการเรียนการสอน

ในระบบประกันคุณภาพของสถาบันการศึกษานั้น บทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งที่นักศึกษาจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก คือเรื่องการจัดการเรียนการสอน ซึ่งนักศึกษามีสิทธิต่างๆ ดังนี้

     1. ตรวจสอบแผนการเรียนและวางแผนการเรียนได้ด้วยตนเอง
     2. มีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนการสอน
     3. ประเมินการสอนของคณาจารย์
     4. ประเมินผล และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนของคณะ/มหาวิทยาลัย

ประกันคุณภาพกับนักศึกษา

ในระบบประกันคุณภาพของทุกๆ มหาวิทยาลัย ตัวแปรหนึ่งที่มีความสำคัญคัญต่อการดำเนินงานได้แก่ นักศึกษา ซึ่งจัดได้ว่านักศึกษาเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มแรกๆ ของสถานศึกษา ดังนั้น นักศึกษาควรรับรู้บทบาทของตนเองต่อการประกันคุณภาพของสถานศึกษา ดังนีดังนี้

     1.  บทบาทด้านการจัดการเรียนการสอน
     2. บาทบาทด้านการวิจัย
     3. บทบาทด้านการบริการวิชาการ และ
     4. บทบาทด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

PDCA กับการทำรายงาน

วันนี้เราจะมาคุยกนเรื่อง การนำวงจรคุณภาพ หรือวงจร PDCA ไปใช้ในการจัดทำรายงานกันค่ะ จะทำได้อย่างไรนั้นมาดูกันเลยดีกว่า

  P = Plan     ในขั้นนี้เป็นขั้นของการวางแผนซึ่งนักศึกษาจะต้องนำหัวข้อที่ครูให้จัดทำรายงานมาวิเคราะห์และแยกย่อยหัวข้อต่างๆ เพื่อทำการค้นหาข้อมูลต่างๆ ตามหัวข้อย่อยเพื่อนำมาจัดทำเป็นรายงาน จากนั้นจะต้องทำการกำหนดวิธีการหาข้อมูลว่าจะได้มาจากแหล่งใด กำหนดวิธีการได้มาของข้อมูล เช่น จากหนังสือ แล้วจะหาหนังสือได้จากที่ใด และโดยปกติทั่วไปแล้วหนังสือส่วนใหญ่ก็จะหาได้จากห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดของมหาวิทยาที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัยอื่นๆ หรือจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ หรือหาข้อมูลจากการค้นหาผ่านเครือข่ายอิ นเตอร์เน็ต เป็นต้น

     D = Do     เป็นขั้นลงมือปฏิบัติ ดังนั้น นักศึกษาจะลงมือหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่นักศึกษาได้กำหนดไว้แล้ว และนำมาจัดพิมพ์เป็นรายงาน ตามห้วข้อต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้แล้ว

     C = Check ในขั้นตอนของการตรวจสอบนี้ นักศึกษาจะต้องทำการตรวจสอบความเรียบร้อย ความสมบูรณ์ของข้อมูลที่จัดทำเป็นรายงาน เมื่อตรวจสอบพบว่าข้อมูลที่ได้มานั้นไม่สมบูรณ์ นักศึกษาจะต้องดำเนินการในขั้นต่อไป

     A = Act     ในตอนนี้เป้นขั้นตอนของการทบทวนการปฏิบัติงาน ซึ่งในการจัดทำรายงาน เมื่อพบว่าข้อมูลที่นักศึกษาจะใส่ในรายงานนั้นไม่มีความสมบูรณ์ นักศึกษาจะต้องทำการวางแผนใหม่อีกคี้งเพื่อจะดำเนินการค้นหาข้อมูลให้ได้ครบตามที่ได้ตั้งกรอบของรายงานไว้แล้ว

    จากการดำเนินงานทั้ง 4 กระบวนการตามวงจร PDCA จะเป็นการดำเนินงานแบบวนรอบ ซึ่งจะทำให้การทำงานความความละเอียดรอบคอบ ละส่งผลให้นักศึกษาได้รายงานที่มีความสมบูรณ์ และส่งผลให้นักศึกษาเป็นคนที่ทำงานได้อย่างมีคุณภาพ

PDCA กับชีวิตประจำวัน

คงมีคนหลายคนที่เคยได้ยินคำว่าวงจร PDCA กันมาบ้าง
ถ้าจะให้เปรียบเทียบกันจริงๆ PDCA เป็นวงจรคุณภาพที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกๆ คน
ดังนั้น ผู้เขียนจะยกตัวอย่างให้เข้าใจกันอย่างง่าย ๆ ดังนี้

ตัวอย่าง PDCA กับการแต่งตัว

     เมื่อนักศึกษาจะต้องมาเรียนซึ่งจะต้องแต่งชุดนักศึกษาในตอนเช้าสามารถวิเคราะห์ขั้นตอนการแต่งตัวเข้ากับวงจร PDCA ได้ดังนี้ 

     P = Plan     ก่อนแต่งตัวนักศึกษาจะต้องทำการวางแผนเลือกเสื้อผ้าหรือเลือกชุดที่นักศึกษาจะใส่ในวันนั้น

     D = Do        นักศึกษาทำการแต่งตัวชุดนักศึกษาที่ได้เตรียมไว้แล้ว

     C = Check  นักศึกษาทำการตรวจสอบความเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นชุดที่สวมใส่ ทรงผม และหน้าตา รวมไปถึงรองเท้าที่ใส่

     A = Act      นักศึกษาตรวจสอบการแต่งกายของตัวเองอีกครั้งก่อนออกจากบ้าน ถ้ายังไม่เรียบร้อย นักศึกษาต้องกลับไปจัดการให้เรียบ

    เห็นไหมคะ ว่าวงจรคุณภาพ หรือที่เรียกว่าวงจร PCDA อยู่ในชีวิตประจำวันของคนเราจริงๆ

ความสำคัญของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

     จริยธรรมเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างจรรยา คือความประพฤติ และธรรม คือเครื่องรักษาความประพฤติ การประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม ผู้ประกอบอาชีพจะต้องคำนึงถึงผลต่อสังคมภายนอกเสมอทั้งนี้ก็จะต้องไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ผิด หากประกอบอาชีพโดยไร้จริยธรรมผลเสียหายจะตกอยู่กับสังคมและประเทศชาติ  ฉะนั้นจริยธรรมจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ความสำคัญของจริยธรรม  มีดังนี้

     1) ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพแต่ละสาขาได้ใช้วิชาชีพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม และประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

     2) ช่วยควบคุมและส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบในงานของตน

     3) งานส่งเสริมและควบคุมการผลิต และการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยและการบริการที่ดี

     4) ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค และไม่เห็นแก่ตัว ทั้งนั้นจะต้องยึดหลักโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคเสมอ

     5) ช่วยให้วงการธุรกิจของผู้ประกอบอาชีพมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีความเอื้อเฟื้อต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น

 

แล้วจริงๆ จริยธรรมคืออะไร?

จริงๆ แล้ว คำว่า "จริยธรรม" น่าจะสรุปเป็นคำจำกัดความกว้างๆ ได้ว่า "จริยธรรม" เป็นหลักหรือแนวทางของความประพฤติของมนุษย์ในสังคมให้อยู่รวมกันอย่างสงบสุขเป็นสิ่งจำเป็นที่ทั้งคุณค่าและประโยชน์อย่างมากมายแก่บุคคลทั้งระดับครอบครัวไปจนถึงระดับประเทศชาติ จริยธรรมประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ ระเบียบวินัย สังคม และอิสระเสรี การแบ่งประเภทของจริยธรรมแบ่งได้แบบกว้าง ๆ 2 ประเภท คือ จริยธรรมภายนอก ได้แก่ จริยธรรมภายใน ได้แก่ จริยธรรมมีแหล่งที่มาจากดต้นกำเนิดหลายสาขาด้วยกัน คือ ด้านปรัชญา ศาสนา วรรณคดี สังคม และการเมืองการปกครอง และจากรากฐานที่กล่าวมาจึงค่อย ๆ พัฒนามาเป็นจริยธรรม

คุณลักษณะของจริยธรรม

     คุณลักษณะของจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของจริยธรรมเพื่อให้เห็นเด่นชัดในด้านหนึ่งและมีความแตกต่างจากจริยธรรมด้านอื่น ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการศึกษาหลายหน่วยงาน ได้กำหนดโครงสร้างจริยธรรม พร้อมทั้งกำหนดคุณลักษณะของจริยธรรม ไว้ดั้งนี้

     1) ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียดรอบคอบ มีความพากเพียรพยายามเพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย

     2) ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริง  ทั้งการ วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น

     3) ความมีเหตุผล หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพิสูจน์ สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประจักษ์ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นในความคิดของตนเอง

     4) ความกตัญญูกตเวที หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ หรือ สิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณ อาจกระทำด้วยสิ่งของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม

     5) ความอุตสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงานหรือกิจกรรมที่ทำด้วยขยันขันแข็งกระตือรือร้น อดทน ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรคขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย่อท้อ

     6) ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพียงเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน การให้ความร่วมมือในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน

     7) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคม กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ กฏหมายและศลีธรรม

     8) ความเสียสละ หมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังปัญญาของตนเอง

     9) ความประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะพอควร เพื่อให้เกิดประโยชนสูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้มเฟือยจนเกิดฐานะของตน

     10) ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราวต่างๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่มีความลำเอียงหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

     11) ความเมตตากรุณา หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความสงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุข์

ความสำคัญของจริยธรรม

ความสำคัญของจริยธรรม

     จริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญในสังคมที่จะนำความสุขสงบและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้น ๆเพราะเมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาดและสว่างในจิตใจ

     จริยธรรมเป็นความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องดีงาม รวมถึงการทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบการและดำรงชีวิตอย่างฉลาด ด้วยสติและปัญญา รู้เหตุรู้ผลรู้กาลเทศะ กระทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เสียสละอุทิศตน มุ่งมั่นและบากบั่น

     ความสำคัญของจริยธรรม จึงเป็นเครื่องมือยุทธศาสตร์ของชาติ และ สังคมเครื่องชี้วัดความเจริญความเสื่อมของสังคมจริยธรรมเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่าและทุกอาชีพ สังคมจะอยู่รอดและเป็นสุขได้ ก็ด้วยจริยธรรม