Category: การดำเนินงานของ สวพ.

การให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผลงานคลินิกเทคโนโลยีประจำปี 2550 การให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เจ้าของผลงาน/หน่วยงาน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑา พีรพัชระ/ ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา การดำเนินงาน เป็นแผนงานการบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอด เพื่อให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี และเพื่อจัดทำเอกสาร เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ คลินิกเทคโนโลยี ผลการดำเนินงาน ดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 กันยายน 2550 โดยจัดทำข้อมูลเทคโนโลยี 30 เรื่อง ให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลแก่ผู้รับบริการจำนวน 46 คน และจัดทำเอกสารเผยแพร่ 2,000 ฉบับ การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการพบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.12

การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารจากสับปะรดสำหรับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด

เจ้าของผลงาน/หน่วยงาน รองศาสตราจารย์ดวงสุดา เตโชติรส /สำนักงานอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑา พีรพัชระ / สถาบันวิจัยและพัฒนา, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ อาจารย์วรลักษณ์ ปัญญาธิติพงศ์ /คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คุณลักษณะของผลงานและการใช้ประโยชน์กระบวนการผลิตสับปะรดแช่อิ่มอบแห้งและน้ำเชื่อมสับปะรดมีผลต่อคุณภาพทางกายภาพและคุณภาพทางเคมี โดยทำการศึกษาผลของน้ำเชื่อมที่มีระดับความเข้มข้นเริ่มต้นต่างกัน (20, 30 และ 40%) และเพิ่มความเข้มข้นของน้ำเชื่อมทุกวันวันละ 10% จนมีความเข้มข้นสุดท้าย 60% ในการผลิตสับปะรดแช่อิ่มอบแห้ง พบว่า ความเข้มข้นของน้ำเชื่อมเพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณการสูญเสียน้ำและมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้น และการแช่สับปะรดในน้ำเชื่อมที่ความเข้มข้นสูง ส่งผลให้มีการสูญเสียน้ำและมีปริมาณน้ำตาลเริ่มต้นลดลง (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) และผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบสับปะรดแช่อิ่มอบแห้งที่แช่ในน้ำเชื่อมเริ่มต้น 30% มากที่สุด (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) และทำการศึกษาระดับความเข้มข้นสุดท้ายของน้ำเชื่อมสับปะรด (65, 70 และ 75 องศาบริกซ์) ในกระบวนการผลิตน้ำเชื่อมสับปะรด พบว่า น้ำเชื่อมสับปะรดมีความข้นหนืดและปริมาณน้ำตาลรีดิวซิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความข้นสุดท้ายของน้ำเชื่อมสับปะรด (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.05) และผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบน้ำเชื่อมสับปะรดที่มีคข้มข้นสุดท้ายที่ 70 องศาบริกซ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดสามารถเก็บรักษาได้มากกว่า 12       

ถอดประสบการณ์... การเป็นผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี

ใครจะคาดคิดว่า  อยู่มาวันหนึ่ง  ผู้เขียนก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบกำกับดูแลงานถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในบทบาท  “ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร” หลาย ๆ ท่านคงทราบดีว่า  คลินิกเทคโนโลยี  คือ  กลไกความร่วมมือในการนำผลงานวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัย  ถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมายอาทิ  ชุมชน  วิสาหกิจชุมชน  ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  และภาคอุตสาหกรรม  โดยมีเจ้าภาพผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณคือ  คลินิกเทคโนโลยีในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก้าวแรกที่ผู้เขียนได้รับสัมผัสงานของคลินิกเทคโนโลยีนี้  ก็คือในสมัยที่รับผิดชอบงานวิจัยและฝึกอบรม  ในฐานะผู้ช่วยผู้อำนวยการในปี  2547  ตำแหน่งขณะนั้น  คือ  ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี  วิทยาเขตโชติเวช  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์วลัย  หุตะโกวิท  ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  วิทยาเขตโชติเวช  เป็นผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี ซึ่งยอมรับว่า ในครั้งแรกที่ทำงานจะรู้สึกกังวลและไม่มั่นใจ  เนื่องจากยังไม่มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกมาก่อน  ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมกับคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประมาณปีละ 1 – 2 ครั้ง ซึ่งในขณะนั้นไม่มีใครรู้จักมหาวิทยาลัยของเราเลย เนื่องจากความเป็นน้องใหม่ของเรานั่นเอง จุดเด่นของคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายของมหาวิทยาลัยของเราคือ  การมีผู้เชี่ยวชาญในงานวิชาชีพเฉพาะทางที่เป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชน  แต่ในขณะเดียวกันเราก็มีจุดอ่อนคือความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีที่ตั้งอยู่กลางใจเมืองกรุงเทพมหานคร  ทำให้การสร้างเครือข่ายการทำงานกับชุมชนต่าง ๆ  เป็นไปด้วยความยากลำบากกว่ามหาวิทยาลัยที่มีที่ตั้งในจังหวัดที่มีเครือข่ายชุมชนโดยตรง ซึ่งถือเสมือนเป็นเจ้าของพื้นที่ไปโดยปริยาย  การหากลยุทธ์ในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน จึงถือเป็นงานที่ท้าทายของมหาวิทยาลัยของเราเลยทีเดียว กลยุทธ์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของผู้เขียนคือ  การสำรวจข้อมูลจากคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายในกลุ่มจังหวัด  เพื่อวิเคราะห์เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ที่ยังขาดอยู่  แล้วเข้าไปเติมเต็มให้แก่ชุมชนผู้รับการถ่ายทอด  …

Continue reading