Category: ผลงานวิจัย

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน ไข่เค็ม และไวน์สำหรับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด

เจ้าของผลงาน/หน่วยงาน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑา พีรพัชระ / สถาบันวิจัยและพัฒนา, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ อาจารย์ก้องเกียรติ มหาอินทร์ / คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น อาจารย์ประชา พิจักขณา / คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ คุณลักษณะของผลงานและการใช้ประโยชน์ เป็นงานวิจัยที่พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด โดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการเสวนากลุ่ม การวิเคราะห์หารูปแบบที่เหมาะสมของบรรจุภัณฑ์ การจัดทำแบบร่างบรรจุภัณฑ์ การตรวจสอบและปรับปรุงแบบร่างบรรจุภัณฑ์ การจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ และการประเมินต้นแบบบรรจุภัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ของชุมชนหุบกะพง มี 3 ชนิด คือ ของใช้ในครัวเรือน ไข่เค็ม และไวน์ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กระดาษ พลาสติกและผ้าเป็นวัตถุดิบหลัก สำหรับรองรับผลิตภัณฑ์สำเร็จ จำนวน 22 รายการ ผลงานวิจัยสามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพการผลิตรูปแบบ โดยได้บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมการขาย ซึ่งสามารถพัฒนาสู่การผลิตเชิงพาณิชย์  

เอกลักษณ์และรูปแบบของธุรกิจอาหารไทยประเภทร้านข้าวแกงในเขตจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย

เจ้าของผลงาน/หน่วยงาน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑา พีรพัชระ/มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อาจารย์พจนีย์ บุญนา อ.กฤตพร ชูเส้ง/คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อาจารย์สุวรรณ ประทีป ณ ถลาง /มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์     คุณลักษณะของผลงานและการใช้ประโยชน์ เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเอกลักษณ์และรูปแบบของธุรกิจอาหารไทยประเภทร้านข้าวแกงในเขตจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยในจังหวัดนครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา พัทลุง และสงขลา จำนวน 25 ร้าน พบว่า เอกลักษณ์ของการประกอบอาหารประเภทข้าวราดแกงในภาคใต้คือ ใช้พริก ขมิ้นชัน พริกไทย ตะไคร้ ข่า กระเทียม และกะปิเป็นเครื่องปรุงมากกว่าภาคอื่น ส่วนเนื้อสัตว์นิยมใช้ปลาน้ำเค็มในการประกอบอาหาร มีการใช้ผักในปริมาณมากโดยเฉพาะการเสิร์ฟในรูปของผักสดที่เรียกว่า “ผักเหนาะ” ใช้เกลือ ส้มแขก มะขามในการปรุงรส ประกอบอาหารประเภทแกงเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้อุปกรณ์ประเภทกระทะคู่กับตะหลิวหรือทัพพีมากกว่าใช้หม้อหุงต้ม ส่วนรูปแบบการตกแต่งร้านเน้นลักษณะธรรมชาติ และได้มีการจัดทำตำรับอาหารมาตรฐาน 30 ตำรับ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นร้านข้าวแกงใน 5 จังหวัด รวม 10 ร้าน ผลงานวิจัยได้ใช้ประโยชน์ในกลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือ ร้านข้าวแกง …

Continue reading