Tag: การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

วันนี้มาลองดูขั้นตอนการดำเนินงานในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนกันดีกว่า ใครจะลองทำบ้างจะได้มีแนวทางอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไปดำเนินการได้เลย ขั้นตอนการดำเนินงาน สำรวจความต้องการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดทำข้อเสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ ประสานงานชุมชนเกี่ยวกับการรับสมัครและสถานที่สำหรับการถ่ายทอด สำรวจพื้นที่ของชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อม เตรียมรายการที่เกี่ยวข้อง (วิทยากร เอกสาร สถานที่ วัตถุดิบ/วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก) ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี (ทดสอบความรู้ก่อนรับการถ่ายทอด ดำเนินการถ่ายทอด ทดสอบความรู้หลังการถ่ายทอด ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ) ติดตามผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ประเมินผลด้านผลผลิต/ผลลัพธ์ของโครงการ จัดทำเอกสาร และรายงานผล (ระบบออนไลน์ และระบบเอกสาร) เทคนิคการดำเนินงาน การสำรวจความต้องการของชุมชน (Need Assessment) ต้องมีการเดินทางสู่พื้นที่ของชุมชนเพื่อสำรวจประกอบการสัมภาษณ์ความต้องการที่แท้จริง และมีผลสืบเนื่องถึงการได้มาซึ่งโจทย์วิจัย ถือเป็นการบูรณาการงานบริการวิชาการและงานวิจัยของหน่วยงาน การจัดทำข้อเสนอโครงการต้องเขียนแสดงให้เห็นถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนในด้านต่าง ๆ อาทิ ต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือต้องการให้มหาวิทยาลัยให้คำปรึกษาหรือบริการข้อมูลร่วมด้วย ในกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น วิทยากรต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ทั้งในเชิงวิชาการและวิชาชีพ กล่าวคือ ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีในองค์ความรู้ที่ทำให้ผู้รับการถ่ายทอดเข้าใจ และทำตามหรือประยุกต์ได้ รวมทั้งต้องมีเทคนิคในการบรรยายหรือปฏิบัติให้เกิดบรรยากาศที่สนุกสนานควบคู่กับการเรียนรู้ การติดตามผลการนำไปใช้ประโยชน์ สามารถใช้เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (แบบติดตามผล) หรือบุคคล (โทรศัพท์) ควบคู่กันจะทำให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง และควรสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา/อุปสรรคของการนำไปใช้ประโยชน์ด้วย เพื่อให้มหาวิทยาลัยใช้เป็นข้อมูลประกอบการขอสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่องในปีงบประมาณถัดไป

ของทอดต่อยอดธุรกิจอาหาร

โครงการของทอดต่อยอดธุรกิจอาหาร สถานภาพของเรื่องเล่าความสำเร็จและกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มชุมชนสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด และกลุ่มสตรีชุมชนตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีอาชีพจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผลไม้ทอด อาทิ ฟักทองทอด เผือกทอด มันต่อเผือกทอด ขนุนทอด และกล้วยทอด โดยรับซื้อผลิตภัณฑ์จากชุมชนแหล่งอื่นมาจำหน่าย ณ ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์ พบว่า มียอดการจำหน่ายค่อยข้างสูง แต่กำไรน้อยเพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ผลิตเอง การดำเนินการและผลที่ได้รับ ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลไม้แก่ชุมชนสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง และกลุ่มสตรีชุมชนตำบลเขาใหญ่ ต่อเนื่องมาตั้งปีงบประมาณ 2550- 2551 โดยเชิญวิทยากรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าชุมชน (OTOP) จากชุมชนสตรีบ้านทาน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี มาให้ความรู้และศึกษาดูงานการประกอบธุรกิจการทำผลไม้ทอด แก่ ชุมชนเป้าหมาย จำนวน 65 คนผลที่ได้รับทำให้มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ของครอบครัวคือ ชุมชนโดยการนำของนางกัญญา แป้นทอง ประธานกลุ่มขนมได้รวมตัวกันผลิต ผลิตภัณฑ์จำหน่ายในศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารของสหกรณ์และจำหน่ายในงานการแสดงนิทรรศการต่างๆ รวมทั้งงานนิทรรศการตลาดนัดองค์ความรู้ SML ณ ทำเนียบรัฐบาล ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10

รวมใจปั้นสู่ความสำเร็จ (เรื่องเล่าความสำเร็จเปเปอร์มาเช่)

สถานภาพของเรื่องเล่าความสำเร็จและกลุ่มเป้าหมาย อนุสาวรีย์สุนทรภู่ ตั้งอยู่ ณ เทศบาลตำบลสุนทรภู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ถือเป็นสถานที่สักการะและสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนสำหรับประชาชนในจังหวัดระยอง และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในอนุสาวรีย์ฯ แห่งนี้ นอกจากจะเป็นสถานที่สำหรับท่องเที่ยวแล้วยังมีการจำหน่ายสินค้าอาหารแปรรูปจากทะเล เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนของท้องถิ่น แต่ไม่มีผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของสถานที่แห่งนี้ สมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกร่ำ จำนวน 20 คน สนใจและรวมตัวกันขอรับการฝึกอบรมจากศูนย์คลินิกเทคโนโลยีโชติเวชเกี่ยวกับการทำเปเปอร์มาเช่ตัวละครพระอภัยมณี คือ พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ นางพันธุรัตน์ นางเงือก สินสมุทร สุดสาคร ม้านิลมังกร ชีเปลือย นางละเวง และฤาษี การดำเนินการและผลที่ได้รับ ผลที่ได้รับของโครงการในขณะนี้ คือ ผลกระทบทางด้านสังคมและคุณภาพชีวิต โดยเทศบาลตำบลสุนทรภู่ได้รวมกลุ่มสมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และผู้สนใจร่วมจัดทำกิจกรรมในวันสุนทรภู่ โดยประยุกต์ใช้ความรู้จากการอบรมปั้นตัวละครพระอภัยมณีขนาดใหญ่ 3 ตัว ได้แก่ พระอภัยมณี นางเงือก นางพันธุรัตน์ โดยมีแผนจะดำเนินการทำ เปเปอร์มาเช่ทั้ง 10 ตัว จำหน่าย ในเบื้องต้นจะได้รับสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากเทศบาลตำบลสุนทรภู่ ความสำเร็จดังกล่าวนี้คือ การที่ชุมชนมีการรวมตัวและร่วมทำกิจกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของชุมชน …

Continue reading