5 ความผิดพลาด ในการเลือกคู่ ที่พบกันบ่อยๆ

     เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ทำผิดพลาดในเรื่องนี้อีก ลองใช้ความผิดพลาดที่พบกันบ่อยเหล่านี้เป็นแนวทางในยามที่คบหาใครสักคน

      1. รูปลักษณ์ กี่ครั้งกี่หนที่คุณแทบละลายเพราะผู้ชายรูปหล่อหน้าตาดี บ่อยเลยใช่มั้ยล่ะ ทำไมคุณถึงตกหลุมพวกเขาครั้งแล้วครั้งเล่า ทำไมคุณถึงได้วางเรื่องรักของคุณไว้บนพื้นฐานของหน้าตาล่ะ เราแน่ใจว่าสิ่งที่คุณต้องการจากคู่รักนั้นมากกว่าหน้าตาดีๆ ของพวกเขาแน่ และถ้าพวกเขาไม่ได้เป็นนายแบบหรือดารา รูปร่างหน้าตาไม่ได้ช่วยให้คุณมีเงินทองหรือความสุขได้หรอกนะ 

      2. ความสูง เราเข้าใจว่าผู้หญิงชอบผู้ชายตัวสูงๆ เพราะรู้สึกว่าได้รับการปกป้องคุ้มครองจากเขา อย่างไรก็ตามความสูงไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ใดๆ เลยว่าเขาจะปฏิบัติต่อคุณอย่างไร คุณคาดหวังจะได้อะไรจากผู้ชายรูปร่างสูง ที่ชายรูปร่างเล็กหรือเตี้ยให้คุณไม่ได้กันล่ะ เราบอกคุณได้เลยจากประสบการณ์ว่า ความสูงของผู้ชายไม่เป็นตัวกำหนดหัวใจของเขา และหัวใจต่างหากที่บอกว่าผู้ชายเป็นคนดีแค่ไหนและเขาจะปฏิบัติต่อคุณเพียงใด 

      3. ศักยภาพ

อย่าเขาใจเราผิดไป คนที่ศักยภาพในตัวเต็มเปี่ยมถือว่าเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่เรากำลังพูดถึงก็คือ คุณไม่ควรเลือกคนคนหนึ่งจากศักยภาพของเขาแต่เพียงอย่างเดียว ศักยภาพเป็นเพียงคุณสมบัติอย่างหนึ่งของคนเราเท่านั้น และไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะเป็นคนดี คุณจำเป็นต้องแยกแยะด้วยว่าเขามีคุณสมบัติอื่นใดอีกด้วยบ้าง มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะแยกแยะว่าคนคนนั้นตรงกับความต้องการของคุณหรือเปล่า ถ้าคุณไม่รู้ว่าอะไรที่คุณต้องการ คุณก็มีปัญหาใหญ่แล้วล่ะ 

      4. ความมีอารมณ์ขัน การมีคนซึ่งมีอารมณ์ขันและสนุกสนานอยู่ด้วยทำให้ชีวิตของคุณดูจะง่ายๆ สบายๆ ขึ้น การหัวเราะเป็นการเบี่ยงเบนตัวเองจากความวิตกกังวลและปัญหาต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อคู่รักของคุณทำตลกมากเกินไป และไม่อาจจะจริงจังกับเรื่องต่างๆ ในชีวิตได้ มันก็กลายเป็นปัญหา ซึ่งคุณไม่ต้องการอย่างแน่นอน การเน้นที่คุณสมบัติในเรื่องนี้มากเกินไป ในเมื่อคุณต้องการมากกว่านั้น จะนำคุณไปสู่เส้นทางที่เต็มไปด้วยปัญหาและปวดเศียรเวียนเกล้า 
      5. ความตื่นเต้น

ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจที่คุณจะถูกดึงดูดเข้าหาคนที่ดูน่าตื่นเต้น สนุกสนาน และมีชีวิตอยู่บนความเสี่ยงความพุ่งพล่านที่คุณรู้สึกเมื่ออยู่กับพวกเขาเป็นความรู้สึกที่แสนวิเศษ แต่คุณจะสามารถใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นเช่นนั้นได้นานเท่าไหร่กันล่ะ การแสวงหาคนที่จะให้ความตื่นเต้นแก่คุณทุกวัน อาจนำคุณไปสู่เส้นทางชีวิตที่ไร้ความรับผิดชอบ
       ลองนึกย้อนกลับไปถึงคนในสมัยเรียนที่ใช้ชีวิตน่าตื่นเต้นดูสิ เดี๋ยวนี้พวกเขาเป็นยังไงกันบ้าง เราแน่ใจว่าสิ่งที่พวกเขาเป็นอยู่คงไม่ค่อยดีเท่าไหร่นักหรอก มันเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องรับรู้ว่า คุณสมบัติบางอย่างของผู้ชายไม่เพียงพอที่จะสร้างชีวิตรักที่ทีความสุข ถ้าคุณสงสัยว่าทำไมคุณไม่มีความสุขกับชีวิตคู่ของคุณ ลองมองดูเงื่อนไขที่คุณใช้เลือกคู่ของคุณดูสิ

 

 

ที่มา ... Lisa

แนะหญิงถูกข่มขืน พบแพทย์ด่วน กินยากันเอดส์


     ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แนะหญิงที่ถูกข่มขืน ให้พบแพทย์ด่วน อย่าอายแพทย์ เพื่อกินยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี พร้อมแนะผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีแล้ว อย่าทำร้ายสังคมและตัวเอง ขอให้พบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อรับคำแนะนำการใช้ชีวิตอย่างคนปกติ แม้จะมีเชื้อเอชไอวีร่วมชีวิตด้วย ส่วนที่อำนาจเจริญ ส่งทีมแพทย์และนักจิตวิทยาเยียวยาผู้เสียหายแล้ว      จากกรณีที่มีข่าว มีชายหนุ่มติดเชื้อเอชไอวี และแต่งตัวคล้ายตำรวจ ดักจับจักรยานยนต์ อ้างรถเถื่อน ก่อนฉุดเด็กสาวที่ชอบเที่ยวกลางคืนข่มขืนมาไม่ต่ำกว่า 50 คน เหตุเกิดที่จังหวัดอำนาจเจริญ และที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งจากการตรวจร่างกาย ผลการตรวจเลือด พบชายหนุ่มดังกล่าวติดเชื้อเอชไอวีด้วยนั้น      เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ปัญหาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ประชดสังคมและตนเอง ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้ โดยได้จัดทำแนวทางปฏิบัติของสถานพยาบาล ในการจัดบริการการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสทุกประเภท เช่นกรณีถูกข่มขืน การสัมผัสเลือดของผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยกรณีที่ถูกข่มขืน ได้มีแนวทางที่จะให้คำปรึกษาแก่ผู้ถูกข่มขืน การป้องกันการตั้งครรภ์ มีการตรวจเช็คร่างกาย การป้องกันการติดเชื้อจากโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่นกามโรค หนองใน ซิฟิลิส เอชไอวี โรคเริม จึงขอให้ผู้ที่ถูกข่มขืน และเกรงว่าจะติดเชื้อเอชไอวี ให้รีบไปโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อขอคำแนะนำและการรักษา 

     ในส่วนของผู้ที่รู้ตัวว่าติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ก็ไม่ต้องกังวล สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ เพราะขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดโครงการให้ยาต้านไวรัสเอดส์อย่างครอบคลุมผู้ติดเชื้อทุกกลุ่ม โดยมีระบบการให้คำปรึกษาทางด้านจิตใจควบคู่ด้วย เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อดีขึ้น ไม่ป่วยบ่อยเหมือนที่ผ่านมา สุขภาพแข็งแรงสามารถทำงานได้ อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ผู้ติดเชื้อเอชไอวีแล้ว อย่าประชดสังคม หรือประชดตัวเอง เพราะเป็นผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น ทำให้โรคเอดส์แพร่ระบาดมากขึ้น ในกรณีที่อำนาจเจริญได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ส่งทีมแพทย์และนักจิตวิทยา เข้าไปเยียวยาแก่ผู้เสียหายแล้ว นายแพทย์ไพจิตร์กล่าว

     ทางด้านนายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีแล้วและไม่อยากไปรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาล สามารถใช้บริการได้ที่เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 20,000 คน มีระบบการทำงานเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายให้คำปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีโดยเฉพาะ และปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขมากกว่า 300 แห่งก็ได้ เพราะกลุ่มเหล่านี้จะเข้าใจความรู้สึกของผู้ติดเชื้อด้วยกันเป็นอย่างดี 

      อย่างไรก็ตามผู้ที่ถูกข่มขืน หรือผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี อย่าวิตกกังวล เนื่องจากมียาป้องกันการติดเชื้อในระยะเริ่มแรก ประการสำคัญจะต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันที หากพบแพทย์เร็ว จะทำให้การรักษาได้ผลดี อย่าอายแพทย์ ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ไปพบแพทย์ ก็ขอให้รีบไปพบแพทย์ ถึงแม้ว่าจะถูกข่มขืนมานานแล้วก็ตาม เพราะแพทย์จะมีแนวทางให้การช่วยเหลือทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างเป็นขั้นตอน ขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งสามารถให้คำปรึกษา การตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไอวีและมียาต้านไวรัสเอชไอวีพร้อมช่วยเหลือทุกแห่ง

ข้อมูลจาก  http://women.thaiza.com/

ยาสตรี


     ยาสตรี โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงยาที่ใช้สำหรับสตรีที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้อาการจุกเสียดแน่นท้องระหว่างมีประจำเดือน เป็นยาหลังคลอดบุตรช่วยขับน้ำคาวปลา และเป็นยาบำรุงโลหิตด้วย
      ยาสตรีที่มีจำหน่ายในประเทศไทย มีหลายหลายยี่ห้อ เช่น ยาสตรีเพ็ญภาค ยาสตรีเบลโล ส่วนประกอบจะต่างกันไปตามสูตร      ส่วนประกอบส่วนใหญ่ มักเป็นสมุนไพรชนิดต่าง ๆ และแอลกอฮอล์ สมุนไพรที่ใช้ก็ได้แก่ ขิง ไพล พริกไทย เทียนดำ เทียนแดง ตานเซียม กิ่งอบเชย บักดี้ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเชียง (ชาวจีนเรียกตังกุย) บางตำรับก็ใช้ว่านชักมดลูก แอลกอฮอล์ที่มีอยู่เพื่อไว้เป็นตัวสกัดเอาสารสำคัญชนิดหนึ่งออกมา เรียก ไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen)

    Phytoestrogen ไฟโตเอสโตรเจน เป็นสารอินทรีย์ซึ่งสร้างขึ้นโดยพืช แต่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับเอสโตรเจน สารเหล่านี้พบได้ทั้งในส่วนเมล็ด ลำต้น รากหรือดอก โดยในพืช สารนี้จะทำหน้าที่เป็นสารฆ่า เชื้อรา (fungicide) หรือเป็น phytoalexin นั่นคือเป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันตนเอง เมื่อถูกรุกรานโดยจุลชีพ phytoestrogen จะมีบางส่วนของสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงหรือเทียบได้กับ steroid nucleus ของ estradiol อันเป็นเอสโตรเจนที่พบในธรรมชาติหรือในร่างกายมนุษย์

    Estrogen เอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งร่างกายเราผลิตจากรังไข่ รก หรือต่อมอะดรีนาล ฮอร์โมนกลุ่มนี้มีผลโดยตรงต่อการแสดงลักษณะของเพศหญิง นับตั้งแต่การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ มีประจำเดือน ตกไข่ ตั้งท้อง ไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน

  

    ดังนั้นการได้รับประทานยาสตรี ที่มีสารไฟโตเอสโตรเจน จึงช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมน ที่เสียไปจากสาเหตุต่าง ๆ และช่วยทำให้รอบเดือนปกติ และยังมีส่วนเสริมให้การแสดงออกของลักษณะเพศหญิงดีขึ้น หรือที่เรียกว่าบำรุงเลือดก็เลยทำให้สุขภาพโดยรวม ๆ ของสตรีดีขึ้น
 

                ข้อควรระวัง ยาสตรีเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีปริมาณแอลกอฮอล์ค่อนข้างสูง การรับประทานติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้ติดได้

     ยาสตรี ไม่ใช่ยาสำหรับทำแท้ง ซึ่งอาจเข้าใจผิดจากสรรพคุณ ใช้ฟอกเลือด ขับประจำเดือน
                 ยาสตรี เป็นยาแผนโบราณ จะต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาแสดงบนฉลาก

ข้อมูลจาก http://women.thaiza.com/ยาสตรี_1212_174856_1212_.html

 

รู้จัก เบาหวาน โรคยอดฮิต . . .ที่คุณก็อาจเป็นได้

     โรคเบาหวาน ถือเป็นปัญหาสุขภาพยอดฮิตที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ เนื่องจากคนไทยป่วยด้วยโรคนี้มากถึง 2-3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโรคที่คุกคามคนไทย พบได้ในทุกช่วงวัย อย่างไรก็ตาม มีคนอีกจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานแต่ไม่รู้ตัว ทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้ป่วยได้ปล่อยให้โรคลุกลามจนอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ดังนั้น วันนี้ลองมาสำรวจดูว่าคุณอยู่ในข่ายเสี่ยงโรคเบาหวานหรือไม่ พร้อมๆ กับทำความเข้าใจโรคนี้อย่างถูกต้องกันค่ะ
     โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus) เกิดจากตับอ่อนสร้าง "ฮอร์โมนอินซูลิน" (Insulin) ได้น้อย หรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ เมื่อน้ำตาลคั่งในเลือดมากๆ ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวานหรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่า "เบาหวาน" นั่นเอง 
     ทั้งนี้ โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด และเป็นโรคทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ นอกจากพันธุกรรมแล้ว สิ่งแวดล้อม วิธีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดเบาหวานด้วย เช่น อ้วนเกินไป (หรือกินหวานมากๆ จนอ้วน ก็อาจเป็นเบาหวานได้) มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย เป็นต้น
     ลักษณะโดยทั่วไปของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงเอาน้ำจากเลือดออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อยๆ และด้วยความที่ผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ย เพลียแรง นอกจากนี้ การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ จึงทำให้อวัยวะต่างๆ เกิดความผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย 

   ประเภทของเบาหวาน   

    เบาหวานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้มีอาการ สาเหตุ ความรุนแรง และการรักษาต่างกัน ได้แก่
    1. เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes) เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านตับอ่อนของตัวเอง จนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ดังที่เรียกว่า "โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง" (autoimmune) ทั้งนี้ เป็นผลมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ร่วมกับการติดเชื้อหรือการได้รับสารพิษจากภายนอก
ดังนั้น ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นุรนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน (Ketones) ของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน ซึ่งสารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยหมดสติและทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่า "ภาวะคั่งสารคีโตน" หรือ "คีโตซิส" (Ketosis)
    2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non-insulin dependent diabetes) เป็นเบาหวานชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ มีความุรนแรงน้อย มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง โดยตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้างอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้กลายเป็นเบาหวานได้ บางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป และผู้ป่วยมักไม่เกิดภาวะคีโตซิส เหมือนกับชนิดพึ่งอินซูลิน
   อาการ    
    ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย (และออกครั้งละมาก ๆ ) กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย หิวบ่อย หรือกินข้าวจุ อ่อนเพลีย บางคนอาจสังเกตุว่าปัสสาวะมีมดขึ้น
    หากเป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน อาการต่างๆ มักเกิดขึ้นรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวที่ลดลงฮวบฮาบ ในช่วงระยะเวลาเพียงสัปดาห์หรือหนึ่งเดือน โดยในเด็กบางคนอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน
    สำหรับคนที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อาการมักค่อยเป็นค่อยไป แบบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมีรูปร่างอ้วน หญิงบางคนอาจมาหาหมอด้วยอาการคันตามช่องคลอดหรือตกขาว ในรายที่เป็นไม่มาก อาจไม่มีอาการผิดปกติอย่างชัดเจน และตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือดขณะที่ไปหาหมอด้วยโรคอื่น 
    บางคนมีอาการคันตามตัว เป็นฝีบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรังรักษาหายยาก
    ผู้หญิงบางคนอาจคลอดทารกที่มีน้ำหนักมากกว่าธรรมดา หรืออาจเป็นโรคครรภ์เป็นพิษ หรือคลอดทารกที่เสียชีวิตแล้วโดยไม่ทราบสาเหตุ
    ในรายที่เป็นมานานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจมาหาหมอด้วยภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ตามัวลงทุกที หรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อยๆ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
   อาการแทรกซ้อน มีอะไรบ้าง  

      อาการแทรกซ้อนต่างๆ มักจะเกิดเมื่อเป็นเบาหวานมานาน โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง หรือปล่อยปละละเลย ทั้งนี้ โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น

    1. ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตา (retina) เสื่อม หรือเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (vitreous hemorrhage) ทำให้มีอาการตามัวลงเรื่อยๆ หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมา และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
    2. ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาจทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย (อาจลุกลามจนเท้าเน่า) บางคนอาจมีอาการวิงเวียนเนื่องจากมีภาวะความดันตกในท่ายืน บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ ท้องเดินตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน (กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ)
    3. ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย มีอาการ บวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
    4. ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสู , อัมพาต , โรคหัวใจขาดเลือด ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท่าไม่พออาจทำให้เท้าเย็นเป็นตะคริวหรือปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยากหรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ)
    5. เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กรวยไตอักเสบ, ช่องคลอดอักเสบ, เป็นฝีพุพองบ่อย, เท้าเป็นแผลซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า (อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา) เป็นต้น
    6. ภาวะคีโตซิส (Ketosis) พบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ที่ขาดการฉีดอินซูลินนาน ๆ ร่างกายจะมีการคั่งของสารคีโตน ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไขมัน ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำอย่างมกา หายใจหอบลึก และลมหายใจมีกลิ่นหอม มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง (ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งหมดสติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้
      ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน         

    1. เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาติดต่อกัน เป็นเวลานานหรือตลอดชีวิต ซึ่งหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง อาจมีชีวิตเหมือนคนปกติได้ แต่ถ้ารักษาไม่จริงจังก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก 

    2. ควบคุมอาหาร การลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) และการออกกำลังกาย มีความสำคัญมาก ในรายที่เป็นไม่มาก ถ้าปฎิบัติในเรื่องเหล่านี้ได้ดี อาจหายจากเบาหวานได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรอาหารที่มีผลต่อโรค ดังต่อไปนี้

       - ลดการกินน้ำตาล และของหวานทุกชนิด รวมทั้งผลไม้หวานและน้ำผึ้ง และควรเลิกกินน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน เหล้าเบียร์

       - ลดการกินอาหารพวกแป้ง เช่น ข้าว ข้าวเหนียว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น เผือก มัน เป็นต้น

       - ลดอาการพวกไขมัน เช่น ของทอด ของมัน ขาหมู หมูสามชั้น อาหารหรือขนมที่ใส่กะทิ หันไปกินอาหารพวกโปรตีน เนื้อแดง ไข่ นม ถั่วต่างๆ รวมทั้งเพิ่มผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัดให้มากขึ้น

      - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหม เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน เล่นโยคะ กายบริหาร เป็นต้น 

    3. เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด มิเช่นนั้น อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่างๆ 

    4. หมั่นดูแลรักษาเท้าเป็นพิเศษ ระวังอย่าให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบ เพราะอาจลุกลามจนกลายเป็นแผลเน่าจนต้องตัดนิ้วหรือขาทิ้ง 

           ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ เช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะตรงซอกเท้า อย่าถูแรงๆ 
           เวลาตัดเล็บเท้า ควรตัดออกตรงๆ อย่าตัดโค้งหรือตัดถูกเนื้อ 
           อย่าเดินเท้าเปล่า ระวังเหยียบถูกของมีคม หนาม หรือของร้อน 
           อย่าสวมรองเท้าคับไป หรือใส่ถุงเท้ารัดแน่นเกินไป 
           ถ้าเป็นหูดหรือตาปลาที่เท้า ควรให้แพทย์รักษา อย่าแกะหรือตัดออกเอง 
           ถ้ามีตุ่มพอง มีบาดแผล หรือการอักเสบที่เท้าควรรีบไปให้แพทย์รักษา 

    5. ผู้ป่วยที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือมีอาการใจหวิว ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็นเหมือนเวลาหิวข้าว ถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นลม หมดสติ หรือชักได้ ดังนั้น จึงต้องระวังดูอาการดังกล่าว และควรพกน้ำตาลหรือของหวานติดตัวประจำ ถ้าเริ่มรู้สึกมีอาการดังกล่าวให้ผู้ป่วยรีบกินน้ำตาลหรือของหวาน จะช่วยให้หาย 

    6. หมั่นตรวจปัสสาวะด้วยตัวเอง และตรวจเลือดที่โรงพยาบาลเป็นประจำ เพราะเป็นวิธีที่บอกผลการรักษาได้แน่นอนกว่าการสังเกตจากอาการเพียงอย่างเดียว

    7. อย่าซื้อยาชุดกินเอง เพราะยาบางอย่างอาจเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้ แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเองต้องแน่ใจว่า ยานั้นไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

    8. ควรมีบัตรประจำตัว (หรือกระดาษแข็งแผ่นเล็กๆ) ที่เขียนข้อความว่า "ข้าพเจ้าเป็นโรคเบาหวาน" พร้อมกับบอกชื่อยาที่รักษาพกติดกระเป๋าไว้ หากบังเอิญเป็นลมหมดสติ ทางโรงพยาบาลจะได้ทราบประวัติการเจ็บป่วยและให้การรักษาได้ทันท่วงที

    9. ป้องกันโรคนี้ด้วยการรู้จักกินอาหาร ลดของหวานๆ อย่าปล่อยตัวให้อ้วน หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรตรวจเช็คปัสสาวะหรือเลือดเป็นครั้งคราว เพราะหากพบเป็นเบาหวานในระยะเริ่มแรก จะสามารถควบคุมอาการของโรคได้

 

 

ข้อมูลจาก  <a href="http://women.thaiza.com/รู้จัก%20เบาหวาน%20โรคย

ไม่ขับถ่ายตอนเช้า...จะเกิดอะไรขึ้น?

    ในช่วงเวลา 05.00 - 07.00 น. เป็นเวลาของลำไส้ใหญ่  

  - ก่อนเที่ยงถึงบ่าย ง่วงนอนเพราะเลือดไม่สะอาดไปเลี้ยงหัวใจ ๆ ก็จะอ่อนล้า ไม่สดชื่น      

  วิ ธี แ ก้      

    ** พยายามขับถ่ายระหว่างเวลา 05.00-07.00 น. ถ้าไม่ขับถ่ายให้กินขมิ้นชันเป็นประจำเพื่อบริหารลำไส้ใหญ่ 

    ถ้ายังไม่ยอมขับถ่ายอุจจาระแล้วปล่อยเวลาเลยมาถึง 07.00 - 09.00 น. ซึ่งเป็นเวลาของกระเพาะอาหาร แล้วไม่ยอมกินข้าวเช้าอีก อุจจาระจากลำไส้ใหญ่ที่ไม่ขับถ่ายออกจะถูกบีบตัวขึ้นมาจากลำไส้ใหญ่ ผ่านลำไส้เล็กมาที่กระเพาะอาหาร ก็จะถูกดูดซึมอีกครั้ง

    ในอุจจาระเก่ามีแก๊สที่เสียแล้ว เกิดจากการบูดเน่าโดยอุณหภูมิของร่างกายซึ่งมีความร้อน 37 องศาตลอดเวลา ไม่เหมือนกับตู้เย็นที่เก็บได้นานกว่า เพราะฉะนั้นแก๊สพิษเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด เลือดจึงไม่สะอาด

    ถ้าเลือดไม่สะอาดไหลไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย ไหลผ่านสมอง หัวใจ ปอด ม้าม ตับ ผิวหนัง ก็จะได้รับพิษจากแก๊สพิษด้วย

    - มีกลิ่นตัว กลิ่นปาก ก็มาจากเลือดไม่สะอาดไปเลี้ยงปอด ปอดก็จะขับออกทางผิวหนังและลมหายใจ ตัวเองไม่ค่อยได้กลิ่น แต่คนอื่นได้กลิ่น 

    - ถ้าปล่อยไว้ไม่ขับถ่ายในช่วงเวลา 05.00 - 07.00 น. นาน ๆ เข้าเป็นระยะเวลาหลาย ๆ ปี เลือดที่ไม่สะอาดไหลผ่านไปเลี้ยงสมอง และไม่กินอาหารมื้อเช้าช่วงเวลา 07.00-09.00 น. สมองก็จะไม่ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เมื่อแก่ตัวความจำก็จะเสื่อมเร็ว 

    - ปวดเข่าเมื่ออายุมากขึ้น เป็นริดสีดวงทวาร

 

    ** ควรกินข้าวเช้าทุกวันระหว่างเวลา 07.00 - 09.00 น.

ข้อมูลจาก  <a href="http://women.thaiza.com/ไม่ขับถ่ายต

 

บอกเขาดีไหม..ว่าเราไม่บริสุทธิ์

เรื่อง "ความบริสุทธิ์ของหญิงสาว" คุณหมอได้แจกแจงความเห็นออกเป็น 3 ประเด็นดังนี้

   1. คำว่า "บริสุทธิ์" แปลว่า "แท้...ไม่มีสิ่งเจอปน ปราศจากมลทิน" (มลทิน แปลว่า ความมัวหมอง) เข้าใจว่าคนที่คิดและเริ่มต้นป่าวประกาศว่าความบริสุทธ์ของผู้หญิงมีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่เยื่อพรหมจารี และเมื่อหญิงวัยสาวมีการร่วมเพศครั้งแรกเมื่อนั้นถือว่าเสียความบริสุทธิ์ ต้องเป็นผู้ชายแน่นอน

ความเห็นของคุณหมอ..ความบริสุทธิ์ของมนุษย์อยู่ที่การกระทำ ล่วงละเมิดทรัพย์สินและร่างกายผู้อื่น สมมติว่าผู้ชายคนหนึ่งข่มขืนหญิงวัยสาว อย่างนี้ถือว่าผู้ชายคนนั้นเสียความบริสุทธิ์..ไม่ใช่ฝ่ายหญิง

   2. ข้อนี้อยากให้ถือว่าเป็น "กฎ" ว่าผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเปิดเผยให้ว่าที่สามีรับรู้ว่าคุณเคยมีประสบการณ์ทางเพศกับแฟนคนเก่ามาก่อน..แม้ว่าเขาจะบอกกับคุณว่ายอมรับได้ก็ตาม เพราะหลายๆรายที่ตอนแรกก็ว่ารับได้ ไม่รังเกียจ..แต่เขาอาจเก็บซ่อนความรู้สึกระแวงหรือไม่ไว้วางใจไว้ข้างใน เคยมีตัวอย่างว่าเมื่อฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ปุ๊บ ฝ่ายชายก็เกิดอาการกำเริบคิดฟุ้งซ่านว่าลูกในท้องไม่ใช่ผลผลิตของเขา

อย่าปล่อยให้ผู้ชายเป็นฝ่ายตั้งคำถามกับเราว่า เธอเป็นผู้หญิงบริสุทธิ์หรือเปล่า..แล้วละเลยที่จะรับรู้ว่าว่าที่สามีของเราอาจเป็นพาหะนำเชื้อโรคมาติดเราก็ได้.. แนะนำว่าถ้าผู้ชายถามเรามากๆ ก็ย้อนถามเขากลับเลยว่าแล้วเขาเองล่ะบริสุทธิ์อยู่หรือเปล่า แน่จริงจับไปตรวจเลือดเอดส์และซิฟิลิสซะเลย

   3. ถ้าไม่บอก ผู้ชายไม่มีทางรู้ได้เลยว่าผู้หญิงที่เขามีเซ็กซ์อยู่นั้นเคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อนหรือเปล่า..ยกเว้นแต่ว่าคุณมีลูกติดจากสามีเก่ามาก่อน ขนาดหมอสูตินรีเวชที่ตรวจภายในผู้หญิงก็ไม่สามารถค้นพบร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นได้ ยกเว้นกรณีที่มีการคลอดบุตรผ่านช่องคลอดแล้วเท่านั้น จึงปรากฎเห็นชัดเจน มองด้วยตาหมอสูติฯยังไม่รู้ แล้วจากการสัมผัสร่วมเพศผู้ชายจะไปรู้ได้ยังไง

   แต่เขามองออกจากปฎิกิริยาตอบสนองทางเพศ ลีลาท่าทางของผู้หญิงต่างหากที่ทำให้เขาผิดสังเกต ถ้าเกิดคุณคล่องแคล่วโลดโผนพิศดาร แล้วมาบอกว่านี่เป็นครั้งแรกของฉัน..ยังไงผู้ชายเขาก็ไม่เชื่อ เพราะฉะนั้น..เซ็กซ์ครั้งแรกกับสามี ขอให้ทำตัวเหมือนเซ็กซ์ครั้งแรกในชีวิต คือทำงงๆเบลอๆเข้าไว้ แสร้งทำเป็นเกร็งๆกล้าๆกลัวๆ..อย่างนี้รับรองว่า ฝ่ายชายไม่มีทางจับได้ แล้วถ้าไม่อยากให้เขามาจับผิดเรื่องมีเลือดออกในการมีเซ็กซ์ครั้งแรก ก็หาฤกษ์เข้าหอในช่วงที่เรามีประจำเดือนซะ..อย่างนี้ความลับก็อยู่กับเราตลอดชีวิต

 

ข้อมูลจาก  http://women.thaiza.com/

10 วิธีไฮไลต์ความสุข

เปิดปฎิทิน กำหนดวันแห่งความสุขให้กับตัวคุณเองทุกๆ ต้นเดือน มีหลายวิธีที่จะเปลี่ยนวันธรรมดาให้แฝงความพิเศษ

1. วางแผนระยะสั้น
 การรู้จักวางแผนระยะสั้น เตรียมการและตั้งเป้าหมาย กับอะไรที่สามารถหวังผลได้เร็ว ไม่ต้องรอลุ้นกันเป็นเดือนเป็นปีจะทำให้ชีวิตมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนให้ทุกวันผ่านไปอย่างมีความหมายและน่าตื่นเต้นขึ้น

2. ช้อปปิ้งอาหารสมอง
 แวะร้านหนังสือ เลือกปรัชญาดีๆ อ่านง่ายๆ หรืออะไรก็ได้ที่จะขยายความรู้ในโลกใบเล็กของคุณ เอาไว้อ่านในบ่ายวันหยุดที่แสนสบาย ใช้เวลาช่วงนั้นเดินทางไปในโลกอีกใบที่สุดแสนจะน่าทึ่งเก็บเกี่ยวความรู้ใหม่และเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

3. เที่ยวป่า
 หาเวลาในวันหยุดนัดพบธรรมชาติ ออกจากเมืองไปพบธรรมชาติ หากมีเวลาน้อยก็ไปจังหวัดใกล้ๆแถวๆกาญจนบุรีและเขาใหญ่ ขอกระซิบว่าป่าในฤดูนี้เขียวชอุ่ม ฉ่ำ สดชื่น อากาศบริสุทธิ์ บรรยากาศเย็นสบายรอคุณเข้าไปสัมผัส

4. เตรียมร่างกายรับอากาศเปลี่ยน
 สภาพอากาศคุ้มดีคุ้มร้ายในช่วงต่อของฤดูกาล ทำให้เราไม่สบายอยู่เสมอปกป้องตนเองด้วยการรับประทานอาหารครบทั้งห้าหมู่ เสริมด้วยผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง หรือวิตามินซีเสริม เพราะวิตามินซีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยยับยั้งและป้องกันเชื้อโรคต่างๆและช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว ไม่ให้หวัดและภูมิแพ้มากล้ำกราย

5. ความสุขในเย็นวันศุกร์
 เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในยามเย็นวันศุกร์ของคุณบ้าง งดเว้นปาร์ตี้กับเพื่อนช่างเม้าท์ในเย็นวันศุกร์ แล้วหันมาผ่อนคลายด้วยการกลับบ้านทันทีหลังเลิกงาน เมื่อถึงบ้าน...ดื่มน้ำสักแก้ว เปิดเพลงเบาๆ เอนหลัง เหยียดแขนขาในท่าทีสบายที่สุดคลายความเครียดออกไปจากเรือนร่างและจิตใจจัดดอกไม้ลงแจกัน นอนแช่น้ำใช้เวลาผ่อนคลายไม่ต้องเร่งรีบสักคืน

6. โละของเก่า ช้อปของใหม่
 ถึงเวลาเปิดตู้โละของใช้หมดอายุ พ้นสมัยหรือเก่าเก็บ ออกจากตู้ จะเก็บไปทำไมให้รกตู้ ถึงเวลาช้อปของใหม่ ตู้ ลิ้นชักโต๊ะเครื่องแป้งจะได้มีที่ต้อนรับของใหม่ ไม่ใช่ทะลักล้นรกหูรกตา

7. ให้เวลากับเด็กๆ
 เด็กๆ เปี่ยมไปด้วยพลังชีวิต แค่ได่อยู่ใกล้ๆ คุณจะซึมซาบพลังแห่งชีวิตชีวาหากคุณไม่มีลูก ก็น่าจะมีหลานล่ะนะ หาเวลาอยู่กับพวกเขา คุย เล่น สอนสิ่งที่เขาควรรู้ พาเขาไปเที่ยวในสถานที่ที่เด็กควรไป ถ้าสามารถพาเขาไปเที่ยวต่างจังหวัดสูดอากาศบริสุทธิ์ได้ นั่นละวิเศษที่สุดเลย

8. สาวไม่กลัวฝน
 ช่วงนี้อากาศร้อนอบอ้าว หนักๆ เข้าฝนก็จะกระหน่ำลงมาได้เหมือนกัน เตรียมร่มและเสื้อกันฝนไว้ได้เลย เลือกแบบเก๋ๆหรือกวนๆ สุดแต่ใจถวิล ขอให้เห็นร่มเห็นบุคลิกเจ้าของเป็นใช้ได้ เก็บไว้ใกล้ๆตัว เชื่อเถอะว่าคุณต้องได้ใช้แน่นอน

9. ตื่นเช้าขึ้นเพื่อเลี่ยงรถติด
 คุณคงไม่ลืมว่าเวลาฝนตกนั้นรถติดมากแค่ไหน และโรงเรียนก็ทยอยกันเปิด...ตั้งนาฬิกาปลุกเสียงดี ให้ปลุกเร็วขึ้นอีกสักนิด (และอย่าลืมเข้านอนเร็วขึ้นด้วย) อย่าแอบนอนหลับต่อหลังเสียงนาฬิกาปลุก แล้วคุณจะไม่อารมณ์เสียเพราะรถติดตั้งแต่ตอนเช้า อย่ายอมเสียสุขภาพจิตเพราะห่วงนอนหรือเพราะนอนดึกเลย

10. ทำงานอย่างมีสุข
 ช่วงนี้เป็นธรรมดาที่คุณจะเกิดเบื่องานที่ทำอยู่บ้าง เข้ากลางปีแล้วนี่ หาวิธีสร้างกำลังใจของคุณขึ้นมาใหม่ บอกตนเองได้เลยว่าดีแค่ไหนแล้วที่มีงานทำ คนมีงาน ไม่มีเวลาให้เหงา ฟุ้งซ่านหรือทุกข์กับอะไรนาน เมื่อมีงานก็มีเงิน แม้จะไม่มากมายแต่ก็เรียกว่ามี และไม่ว่างานชิ้นใดสำเร็จ อย่าลืมให้รางวัลกับตนเอง จงสุขและภูมิใจกับมัน ยิ่งถ้ามีคนพูดถึงงานนั้นด้วยความชื่นชม ถือเป็นรางวัลพิเศษ นั่นคือคุณค่าแห่งการใชชีวิตคุณ

............................................................................................................................................

ขอบคุณที่มา : หนังสือนิตยสารลิซ่าเวลฟิต

แค่ "อ่าน" ก็สร้างชาติได้

หนังสือช่วยพัฒนาความคิด-จิตใจ ส่งผลระดับความรู้พลเมืองสูงขึ้น

 

การอ่านหนังสือทำให้คนหลายๆคนเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งในด้านความคิดและพฤติกรรม... หนังสือ จึงเปรียบเสมือนเครื่องมือสำคัญในการสร้างพัฒนาการที่ดีที่สุด ที่ไม่เพียงช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในทางด้านสติปัญญา แต่ยังรวมไปถึงการช่วยพัฒนาความคิด และยกระดับจิตใจได้อีกด้วย

 

 

            แต่ในปัจจุบันกลับพบว่า คนไทยอ่านหนังสือเพียง 5 เล่มต่อคนต่อปีเท่านั้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามนำโด่งไปที่ 60 เล่มต่อคนต่อปี...ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วคนไทยรักการอ่านหนังสือไม่แพ้ชาติใดในโลก...นายจรัญ มาลัยกุล หัวหน้าโครงการอ่านสร้างชาติ ได้ออกมาบอกว่า จากข้อมูลที่ระบุว่า คนไทยอ่านหนังสือน้อยนั้น...ความจริงแล้วคนไทยไม่ใช่ไม่อยากอ่านหนังสือ แต่ไม่มีหนังสือให้อ่าน เพราะหนังสือมีราคาแพง และสถานที่จำหน่ายก็มีเฉพาะในเขตเมือง ทำให้หนอนหนังสือไม่สามารถ เข้าถึง หนังสือได้ต่างหาก

 

เมื่อไม่สามารถเข้าถึงหนังสือได้ ทำให้ต้องหันไปหาสื่ออื่นที่เข้าถึงมากกว่า ดังจะเห็นได้จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่พบว่า คนไทยอ่านหนังสือลดลง จากร้อยละ 69.1 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 66.3 ในปี 2551 และจากจำนวนคนที่ไม่อ่านหนังสืออีกร้อยละ 33.7 นั้นใช้เวลาเพื่อดูโทรทัศน์ถึงร้อยละ 54.3 เพราะสื่อโทรทัศน์นั้น ถือเป็นว่าเป็นสื่อที่เข้าถึงทุกคนได้มากกว่าหนังสือ ทำให้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาดูโทรทัศน์มากขึ้น ความรู้ ความคิด และจินตนาการจึงลดน้อยลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบให้ประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาและก้าวไปข้างหน้าได้

 

หากมีการส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านตั้งแต่วัยเยาว์ ก็จะช่วยเปิดโลกทัศน์ เกิดการปรับวิธีคิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดการเรียนรู้อย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้ระดับจิตใจและสติปัญญาถูกพัฒนาการอย่างเหมาะสม และเมื่อระดับความรู้ของพลเมืองเปลี่ยนไป ประเทศก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นด้วย

 

 

การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กๆ นั้น ต้องอาศัยกำลังจากพ่อแม่เป็นสำคัญ เพียงพ่อแม่ใช้เวลาแค่วันละ 20 นาที ค้นหาหนังสือที่เหมาะกับวัยและความสนใจ บอกเล่าเรื่องราวเหล่านั้น โดยการอ่านออกเสียงให้ลูกฟังตัวต่อตัว ก็จะทำให้เด็กกล้าที่จะตอบคำถาม รู้สึกผ่อนคลาย อุ่นใจและกล้าที่จะเปิดเผย เป็นการสอนอย่างไม่เป็นทางการที่สมบูรณ์แบบ ให้เด็กได้คุ้นเคยกับหนังสือ ถือเป็นการบ่มเพาะนิสัยรักการอ่านได้อย่างแยบยล

 

และการที่จะเพิ่มจำนวนหนอนหนังสือ จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมเรื่องราคา ดังจะเห็นได้จากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยในปีนี้ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม ถึง 6 เมษายน ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่จะดึงดูดให้คนไทยหันมานิยมอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นได้ เพราะนอกจากจะมีหนังสือนานาชนิดให้ได้เลือกอ่านแล้ว ราคาหนังสือก็ยังถูกกว่าปกติทั่วไปอีกด้วย

 

อย่างไรก็ตาม การนำหนังสือมาไว้ที่เดียว ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการอ่านหนังสือของคนไทยได้ แต่ด้วยกลยุทธ์ หนังสือมือสอง ในโครงการอ่านสร้างชาติที่เชิญชวนให้ทุกคนร่วมบริจาคหนังสือที่ไม่ใช้แล้วอาจช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ เพียงแค่สละหนังสือคนละเล่ม แล้วส่งมาที่ มูลนิธิกระจกเงา 8/12 ซอยวิภาวดี44 ถนนวิภาวดี-รังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 หรือทางเว็บไซต์ www.read4thai.org

 

            เชื่อได้เลยว่า...หากคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงการอ่านได้เยอะและง่ายขึ้นก็ช่วยสร้างให้ชาติไทยของเราเกิดการพัฒนาและก้าวไปข้างหน้าได้อย่างแน่นอน...^^

 

 

  

 เรื่องโดย : อารยา สิงห์สวัสดิ์ Team content www.thaihealth.or.th

พืชพรรณที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนพื้นบ้าน

e0b8aae0b8a1e0b8b8e0b899e0b984e0b89ee0b8a3-2

ภาพจากอินเทอร์เน็ต

พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
          พืชสมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นยารักษาโรค โดยใช้ส่วนต่างของพืชชนิดเดียวหรือหลายชนิดพร้อมกัน พืชสมุนไพรเป็นกลุ่มพืชที่อยู่ในความสนใจ และมีผู้ศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านมากที่สุด ยารักษาโรคปัจจุบันหลายขนานที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม ได้มาจากการศึกษาวิจัยการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านของกลุ่มชนพื้นเมืองตามป่าเขาหรือในชนบท ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษที่ได้สังเกตว่าพืชใดนำมาใช้บำบัดโรคได้ มีสรรพคุณอย่างไร จากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ และการทดลองแบบพื้นบ้านที่ได้ทั้งข้อดีและข้อผิดพลาด

พืชสมุนไพรพื้นบ้านในตำรับยาไทยมีหลายร้อยชนิด จะนำมากล่าวถึงเป็นตัวอย่างเพียงบางชนิด แยกตามกลุ่มพืชที่ใช้บำบัดโรคต่างๆ ดังนี้
          กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้ไข้และขับปัสสาวะ  เช่น
            เปลือกพญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด (Alstoniascholaris) 
            เปลือกและใบทุ้งฟ้า (Alstonia macrophylla) 
            ใบหนาด (Blumea balsamifera) 
            ราก เปลือก และใบ ขลู่ (Pluchea indica) 
            ใบ เนื้อไม้ ผล และเมล็ดมะคำไก่ หรือประคำไก่ (Drypetes roxburghii) 
            ต้นและรากอ้อเล็ก (Phragmites australis) 
            รากและใบกรุงเขมา (Cissampelos pareira)
            เถาบอระเพ็ด (Tinospora crispa) 
            เถาขมิ้นเครือ (Arcangelisia flava) 
            ราก เหง้า และใบหญ้าคา (Imperatacylindrica) 
            ผลน้ำเต้า (Legenaria siceraria)          กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย เช่น
             เนื้อไม้สีเสียดหรือสีเสียดเหนือ (Acaciacatechu) 
             ใบและผลมะตูม (Aegle marmelo) 
             เปลือกประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus) 
             เหง้าไพล (Zingiber purpureum) 
             เหง้าและรากกระชาย (Boesenbergia rotunda) 
             แก่นฝาง (Caesalpinia sappan) 
             ราก เปลือก เนื้อไม้ ใบและดอกแก้ว (Murrayapaniculata) 
             เปลือกโมกหลวง(Holarrhenapubescens)          กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาระบายและขับพยาธิ เช่น
             ผลดิบมะเกลือ (Diospyros mollis)
             แก่นไม้มะหาด (Artocarpus lakoocha)
             เมล็ดเถาเล็กมือนาง (Quisqualis indica)
             เมล็ดสะแกนา (Combretum quadran-gulare)
             เมล็ดแห้งฟักทอง (Cucurbita moschata)
             เนื้อในเมล็ดมะขาม (Tamarindus indica)          กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาขับลม เช่น
             เหง้าแก่ขิง (Zingiber officinale)
             เหง้าว่านน้ำ (Acorus calamus)
             ผลกระวาน (Amomum krervanh)
             เหง้าข่า (Alpinia galanga)
             ผลพริกไทย (Piper nigrum)
             ต้นตะไคร้ (Cymbopogon citratus)         กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้โรคผิวหนัง เช่น
             เปลือก ใบ และเมล็ดสารภีทะเลหรือกระทิง (Calophyllum inophyllum)
             ใบและเมล็ดชุมเห็ดไทย (Cassia tora)
             ใบชุมเห็ดเทศ หรือ ชุมเห็ดใหญ่ (Cassia alata)
             ใบ ดอกและเมล็ดเทียนบ้าน (Impatiensbalsamina)
             รากและใบทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus)
             เปลือก ใบ ดอกและผลโพธิ์ทะเล (Thespesia populnea)
             ใบและเมล็ดครามป่า (Tephrosia purpurea)
             ยางสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum)
             น้ำยางสบู่ดำ (Jatropha curcas)
             เมล็ดทองกวาว (Butea monosperma)
             เปลือกเถาสะบ้ามอญ (Entada rheedii)
             เมล็ดกระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminthicus)
             เหง้าข่า (Alpiniaa galanga)
             หัวหรือกลีบกระเทียม (Allium sativum)

          กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและไล่แมลง เช่น
             รากเถาโล่ติ๊น หรือหางไหล (Derris elliptica)
             ใบและเมล็ดน้อยหน่า (Annona squamosa)
             รากหนอนตายหยาก (Stemona tuberosa)
             เมล็ดงา (Sesamun indicum)
             ผลมะคำดีควายหรือมะซัก (Sapindus rarak)
             ใบเสม็ดหรือเสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi)
              ต้นขอบชะนางหรือหญ้าหนอนตาย (Pouzol-zia pentandra)
              เปลือก ใบและผลสะเดา (Azadirachta indica)
              เปลือกกระเจาหรือกระเชา (Holopteleaintegrifolia)
              ใบสดกว้าว (Haldina cordifolia)

 พืชมีพิษ

          ชนพื้นบ้านรู้จักนำส่วนต่างๆ ของพืชหลายชนิดที่ให้สีมาใช้แต่งสีอาหาร อันเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อร่างกาย หรือนำพืชที่ให้สีย้อมมาย้อมผ้า แห อวน หรือหนัง โดยเฉพาะผ้าพื้นเมืองจำพวกผ้าไหม  ผ้าฝ้าย  ซึ่งให้สีสันเป็นธรรมชาติดีกว่าสีวิทยาศาสตร์หรือสีสังเคราะห์กลุ่มพืชที่ให้สีดังกล่าว เช่น 
          เหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร
          เมล็ดคำแสด (Bixa orellana) ใช้แต่งสีแสดในอาหาร
          แก่นไม้ฝาง (Caesalpinia sappan) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร และใช้ย้อมผ้า ส่วนรากให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า
          เมล็ดคำฝอย (Carthamus tinctorius) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร
          เนื้อผลฟักทอง (Cucurbita moschata) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร
          เนื้อจากผลตาลโตนด (Borassus flabellifer) ใช้แต่งสีเหลืองทำขนมตาล
          ผลสุกผักปลัง หรือ ผักปั๋ง (Basella alba) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร
          เมล็ดข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa var. glutinosa) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร
          กลีบดอกอัญชัน (Clitoria ternata) ใช้แต่งสีน้ำเงิน สีฟ้า สีฟ้าอมม่วงในอาหาร
          ดอกดอกดิน (Aeginetia indica)I ใช้แต่งสีน้ำเงินเข้ม ทำขนมดอกดิน
          เนื้อไม้สีเสียดเหนือ (Acacia catechu) ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง
          ใบอ่อนสัก (Tectona grandis) ให้สีแดงใช้ย้อมผ้า ย้อมกระดาษ
          เปลือกและผลสมอพิเภก (Terminaliabellirica) ให้สีขี้ม้า ใช้ย้อมผ้า
          เนื้อไม้แกแล (Maclura cochinchinensis) ให้สีเหลืองปนน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
          เปลือกโกงกาง (Rhizophora spp.) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมแห อวน หนัง
          ยางรง (Garcinia hanburyi) ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าและผสมสี
          เปลือกสะเดา (Azadirachta indica var.amensis) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
          รากมะหาด (Artocarpus lakoocha) ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า
          เปลือก ราก เนื้อไม้ และใบยอป่า (Morindapubescens) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
          เนื้อไม้ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ให้สีแดงคล้ำ และเปลือกให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
          เปลือกติ้วขน (Cratoxylum formosum ssp.pruniflorum) ให้สีน้ำตาลเข้ม ใช้ย้อมผ้า
          ผลมะเกลือ (Diospyrus mollis) ให้สีดำใช้ย้อมผ้า
          เปลือกสนทะเล (Casuarina equisetifolia) ให้สีน้ำตาลแกมแดง ใช้ย้อมผ้า
          เปลือกคาง (Albizia odoratissima) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า หนัง
          ดอกทองกวาว (Butea monosperma) ให้สีเหลืองอมส้ม ใช้ย้อมผ้า
          ต้นคราม (Indigofera tinctoria) สมัยก่อนนิยมใช้ทำสีครามย้อมผ้า
          ต้นฮ่อม (Baphicacanthus cusia) ให้สีน้ำเงินเข้ม นิยมใช้ย้อมเสื้อม่อฮ่อมทางภาคเหนือ
          ผลมะเกิ้ม หรือมะกอกเลื่อม (Canariumsubulatum) ให้สีดำ ใช้ทำหมึกเขียนพื้นบ้าน

พืชที่ใช้แต่งสีอาหาร หรือให้สีย้อม

          ชนพื้นบ้านรู้จักนำส่วนต่างๆ ของพืชหลายชนิดที่ให้สีมาใช้แต่งสีอาหาร อันเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อร่างกาย หรือนำพืชที่ให้สีย้อมมาย้อมผ้า แห อวน หรือหนัง โดยเฉพาะผ้าพื้นเมืองจำพวกผ้าไหม  ผ้าฝ้าย  ซึ่งให้สีสันเป็นธรรมชาติดีกว่าสีวิทยาศาสตร์หรือสีสังเคราะห์กลุ่มพืชที่ให้สีดังกล่าว เช่น 
          เหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร
          เมล็ดคำแสด (Bixa orellana) ใช้แต่งสีแสดในอาหาร
          แก่นไม้ฝาง (Caesalpinia sappan) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร และใช้ย้อมผ้า ส่วนรากให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า
          เมล็ดคำฝอย (Carthamus tinctorius) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร
          เนื้อผลฟักทอง (Cucurbita moschata) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร
          เนื้อจากผลตาลโตนด (Borassus flabellifer) ใช้แต่งสีเหลืองทำขนมตาล
          ผลสุกผักปลัง หรือ ผักปั๋ง (Basella alba) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร
          เมล็ดข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa var. glutinosa) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร
          กลีบดอกอัญชัน (Clitoria ternata) ใช้แต่งสีน้ำเงิน สีฟ้า สีฟ้าอมม่วงในอาหาร
          ดอกดอกดิน (Aeginetia indica)I ใช้แต่งสีน้ำเงินเข้ม ทำขนมดอกดิน
          เนื้อไม้สีเสียดเหนือ (Acacia catechu) ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง
          ใบอ่อนสัก (Tectona grandis) ให้สีแดงใช้ย้อมผ้า ย้อมกระดาษ
          เปลือกและผลสมอพิเภก (Terminaliabellirica) ให้สีขี้ม้า ใช้ย้อมผ้า
          เนื้อไม้แกแล (Maclura cochinchinensis) ให้สีเหลืองปนน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
          เปลือกโกงกาง (Rhizophora spp.) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมแห อวน หนัง
          ยางรง (Garcinia hanburyi) ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าและผสมสี
          เปลือกสะเดา (Azadirachta indica var.amensis) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
          รากมะหาด (Artocarpus lakoocha) ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า
          เปลือก ราก เนื้อไม้ และใบยอป่า (Morindapubescens) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
          เนื้อไม้ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ให้สีแดงคล้ำ และเปลือกให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
          เปลือกติ้วขน (Cratoxylum formosum ssp.pruniflorum) ให้สีน้ำตาลเข้ม ใช้ย้อมผ้า
          ผลมะเกลือ (Diospyrus mollis) ให้สีดำใช้ย้อมผ้า
          เปลือกสนทะเล (Casuarina equisetifolia) ให้สีน้ำตาลแกมแดง ใช้ย้อมผ้า
          เปลือกคาง (Albizia odoratissima) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า หนัง
          ดอกทองกวาว (Butea monosperma) ให้สีเหลืองอมส้ม ใช้ย้อมผ้า
          ต้นคราม (Indigofera tinctoria) สมัยก่อนนิยมใช้ทำสีครามย้อมผ้า
          ต้นฮ่อม (Baphicacanthus cusia) ให้สีน้ำเงินเข้ม นิยมใช้ย้อมเสื้อม่อฮ่อมทางภาคเหนือ
          ผลมะเกิ้ม หรือมะกอกเลื่อม (Canariumsubulatum) ให้สีดำ ใช้ทำหมึกเขียนพื้นบ้าน

พืชอาหาร
          กลุ่มชนพื้นบ้านนำพืชหลากชนิดมาใช้เป็นอาหาร แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นตามวัฒนธรรมการบริโภคของชนเผ่า การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในเรื่องของพืชอาหารพื้นบ้านจะเน้นเฉพาะพืชที่เก็บหาได้ในธรรมชาติ จากป่าท้องทุ่ง ฯลฯ พืชป่าหลายชนิดถูกนำมาปลูกทิ้งไว้ตามหัวไร่ปลายนา หรือในบริเวณหมู่บ้าน เพื่อความสะดวกในการเก็บหานำมาใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน พืชอาหารบางชนิดเป็นที่นิยมกันทั่วไปเกิดการแก่งแย่งเก็บหาออกจากป่าจนเกินกำลังผลิตทำให้ผลิตผลในธรรมชาติลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในปัจจุบันได้มีการนำพืชป่าดังกล่าวมาปลูกขยายพันธุ์ในสวนหรือในแปลง เพื่อเก็บผลิตผลเป็นการค้า เช่น สะตอ เนียง ผักหวาน ผักกระเฉด ฯลฯ พืชอาหารที่ใช้บริโภคเก็บหาในธรรมชาติบางครั้งจะพบวางขายตามตลาดสดในชนบทจำแนกออกเป็นกลุ่มได้          กลุ่มพืชผักพื้นบ้าน
          รวมถึงพืชชั้นต่ำจำพวกสาหร่าย เห็ด เฟินจนถึงพืชชั้นสูงทั่วไป ชนพื้นบ้านนำส่วนต่างๆ ของพืชมาใช้บริโภคตามความเหมาะสม ได้แก่ ส่วนของราก หัว เหง้า ลำต้น ยอด ใบ ดอก ผลเมล็ด หรือใช้ทั้งต้น วิธีการประกอบอาหารอาจจะใช้เป็นผักสด  ผักลวก  ผักดอง  ต้มใส่ในแกงผัด หรือใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร พืชผักพื้นบ้านของไทย เช่น 
          เทา (Spirogyra sp.) สาหร่ายสีเขียวน้ำจืดใช้กินเป็นผักกับน้ำพริก ลาบ ปนในแกงส้ม หรือ ผัดกับไข่
          เห็ด ที่เกิดตามธรรมชาติและนำมาเป็นอาหารมีหลายชนิด ส่วนใหญ่จะปรุงให้สุกเสียก่อนโดยการนึ่ง ย่าง ต้ม หรือผัด ใช้กินกับน้ำพริก ใส่แกงหรือผัดผัก เช่น 
          เห็ดไข่ห่าน (Amanita vaginata)
          เห็ดลม (Lentinus praerigidus)
          เห็ดตีนตุ๊กแก (Schizophyllum commune)
          เห็ดโคน (Termitomyces fuliginosus)
          เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ (Astreaushygrometricus)
          เห็ดมันปูใหญ่ (Cantharellus cibarius)
          เห็ดตับเต่า (Boletus edulis)
          เห็ดหล่มขาวหรือเห็ดตะไคล (Russuladelica)
          เห็ดขมิ้นน้อย (Craterellus sp.)
          เฟิน ใช้ส่วนของยอดอ่อนหรือใบอ่อนเป็นอาหาร ใช้เป็นผักสดหรือผักดอง นึ่ง ลวก ผัดหรือใส่แกง เช่น
          ผักขาเขียด (Ceratopteris thalictroides)
          ปรงสวน (Stenochlaena palustris)
          ผักกูดขาว (Diplazium esculentum)
          ผักแว่น (Marsilea crenata)
          ผักกูด (Pteridium aquilinum varyarrabense)
          ผักกะเหรี่ยงหรือผักเหลียง (Gnetum gnemonvar. tenerum) ไม้พุ่มจำพวกพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) ทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ยอดและใบอ่อนนิยมใช้เป็นผักลวกจิ้มน้ำพริก ผัดใส่แกงห่อหมก
          สะเดาหรือสะเดาไทย (Azadirachta indicavar. siamensis) ช่อดอกและใบอ่อนมีรสขม นำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำปลาหวาน
          ผักไผ่ (Polygonum odoratum) ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้ปรุงอาหารประเภทยำต่างๆ
          ผักขะยาหรือผักปู่ย่า (Caesalpinia mimosoides) ใบอ่อนและช่อดอกอ่อน ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก
          เลียบหรือผักเฮือด (Ficus lacor) ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือใช้ใส่แกงคั่ว หรือแกงต้มกะทิ
          ผักเค็ดหรือชุมเห็ดเล็ก (Cassia occidentalis) ยอดและใบอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้ม
          จมูกปลาหลด (Oxystelma esculenta) ยอดและใบอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม หรือยำ
           เถาย่านาง (Tiliacora triandra) ยอดและใบอ่อนใช้แกงเลียง ใบแก่นำมาปรุงแกงขี้เหล็ก แกงหน่อไม้
          สันตะวาใบพาย (Ottelia alismoides) ใบอ่อนและช่อดอกใช้เป็นผักจิ้มสดหรือใช้แกงส้ม
          ผักเผ็ด (Spilanthes paniculata) ดอกและใบสดใช้กินกับลาบ
          ลิ้นฟ้าหรือเพกา (Oroxylum indicum) ฝักอ่อนสดใช้กินกับลาบและน้ำพริก
          ผักสังหรือผักกระสัง (Peperomia pellucida) ยอดและต้นนำมาลวกกินกับลาบ แจ่ว
          ผักหวานบ้าน (Sauropus androgynus) ใบอ่อนนำมาลวกจิ้มน้ำพริก
          ผักหวานป่า (Melientha suavis) ยอดและใบอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้ม หากกินสดๆ จะมีกลิ่นเหม็นเขียวเล็กน้อย
          บัวสาย (Nymphaea lotus var. pubescens) ก้านดอกใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือแกงเผ็ด
          สะตอ (Parkia speciosa) นิยมกินกันมากทางภาคใต้ เมล็ดกินเป็นผักสดกับแกงเผ็ดต่างๆ หรือนำไปเผาไฟก่อน ใช้ผัดเผ็ด ผัดเปรี้ยวหวานต้มกะทิ
          เนียงหรือลูกเนียง (Archidendron jiringa) นิยมเฉพาะทางภาคใต้ ใช้เมล็ดเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือกินกับอาหารเผ็ด ทำเป็นลูกเนียงเพาะและดองเป็นผักจิ้ม
          เรียง (Parkia timoriana) นิยมเฉพาะทางภาคใต้เช่นกัน นำเมล็ดมาเพาะให้งอกรากเล็กน้อยคล้ายถั่วงอก ใช้เป็นผักสด ผักดองจิ้มน้ำพริก กินกับแกงเผ็ด หรือนำมาแกง
           ชะพลู (Piper sarmentosum) ใช้ใบกินกับเมี่ยงคำ
          ขี้เหล็ก (Cassia siamea) ใบอ่อนและช่อดอกอ่อนใช้แกงขี้เหล็ก
          ผักปอดหรือจุ่มปลา (Sphenoclea zeylanica) ยอดและต้นอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก
          หญ้าเอ็นยืดหรือผักกาดน้ำ (Plantago major) ยอดและใบอ่อนใช้เป็นผักสดกินกับลาบ
          ผักปลัง (Basella alba) ช่อดอกอ่อน ยอดและใบอ่อนลวกจิ้มน้ำพริกและใช้แกงกะทิ
          แคหางค่าง (Markhamia stipulata) แคบิด (Fernandoa adenophylla) และแคป่าหรือแคทุ่ง(Dolichandrone serrulata) ใช้กลีบดอกผัดหรือยำ
          โสนหรือโสนกินดอก (Sesbania javanica) ช่อดอกสีเหลืองใช้เป็นผักสดหรือต้มเป็นผักจิ้มดองน้ำเกลือเป็นผักดอง หรือชุบไข่ทอด
          สลิดหรือขจร (Telosma minor) ใช้ดอกเป็นผักสดหรือต้มให้สุก หรือผัดใส่ไข่
          อาวหรือดอกอาว (Curcuma sessilis) ใช้ช่อดอกอ่อนเป็นผักสด
          งิ้วหรืองิ้วแดง (Bombax ceiba) ใช้เกสรตัวผู้แห้งที่ร่วงหล่นจากดอกนำมาปรุงกับแกงส้มแกงเผ็ด ใบอ่อน ดอกตูมและผลอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก
          กระโดน (Careya sphaerica) ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริก
          เอื้องหมายนาหรือเอื้องต้น (Costus speciosus) หน่ออ่อนต้มใช้เป็นผักจิ้ม
          เสม็ดชุน (Syzygium grata) ยอดอ่อนใช้เป็นผักสด
          เมาะหรือกระดาษขาว (Alocasia odora) ยอดอ่อนใช้แกงเลียง แกงเผ็ด แกงไตปลา
          หวาย (Calamus spp.) หวายแทบทุกชนิดใช้เป็นอาหารได้ โดยใช้ส่วนของเนื้ออ่อนคอต้นหรือส่วนโคนใบเมื่อลอกกาบใบออก จะพบเนื้ออ่อนกินสดๆ หรือปรุงอาหารอย่างอื่น
          หวายงวย (Calamus peregrinus) ผลสุกมีรสเปรี้ยว ใช้ใส่แกงให้มีรสออกเปรี้ยว
          พยอมหรือสุกรม (Shorea roxburghii) ดอกใช้ใส่แกงส้ม แกงเลียง ลวกจิ้มน้ำพริก ทอดกับไข่
          ชะมวงหรือส้มมวง (Garcinia cowa) ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ใส่ต้มปลา ต้มหมู ต้มเครื่องใน
          ส้มแขกหรือส้มพะงุน (Garcinia atroviridis) ผลสดและเนื้อในผลตากแห้งมีรสเปรี้ยวใช้ใส่ต้มเนื้อต้มปลา แกงส้ม และน้ำแกงขนมจีน
          มันปู (Glochidion wallichianum) ยอดอ่อนกินเป็นผักสด นิยมกินกับขนมจีนทางภาคใต้
          มะกอกป่า (Spondias pinnata) ใบอ่อนและช่อดอก ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริกและหลน
          แฟบหรือหูลิง (Hymenocardia wallichii) ผลอ่อนกินสด ใส่แกงเลียง แกงส้ม
          พาโหมหรือกระพังโหม (Paederia linearis และ P. foetida) ใช้เป็นผักผสมข้าวยำทางภาคใต้จิ้มน้ำพริก ทั้งผัดทั้งต้ม กินกับแกงไตปลา
          ผักหนาม (Lasia spinosa) ยอดอ่อนต้มจิ้มน้ำพริก แกงส้ม ผัด ลำต้นอ่อนปอกผิวออกดองเป็นผักแกล้มแกงไตปลาและขนมจีน
          กุ่มน้ำ (Crateva magna และ C. religiosa) ใบอ่อนและดอก ลวกหรือดองเป็นผักจิ้มน้ำพริก
          กำจัดต้น (Zanthoxylum limonella) เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศผสมกับเครื่องแกงให้มีรสหอมและเผ็ดร้อน ใบอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม
          สะทอนหรือสะท้อนน้ำผัก (Milettia utilis) ชาวบ้านแถบจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก นำใบสะทอนมาหมักเพื่อทำเครื่องปรุงอาหารที่มีรสเค็มหอมคล้ายน้ำปลา

          กลุ่มพืชไม้ผล
          พรรณไม้ในป่าหลายชนิดให้ผลที่มีรสและคุณค่าทางโภชนาการ ชนพื้นบ้านนำมาใช้บริโภคแบบผลไม้เศรษฐกิจทั่วไป มีเพียงไม่กี่ชนิดที่นำมาปลูกตามบ้านหรือหัวไร่ปลายนา เช่น 
          คอแลนหรือหมากแวว (Nephelium hypoleucum) ผลคล้ายลิ้นจี่ แต่มีเมล็ดใหญ่เนื้อหุ้มเมล็ดบาง รสค่อนข้าวเปรี้ยว ใช้กินกับเกลือหรือน้ำปลาหวาน
          เงาะขนสั้น (Nephelium ramboutan-ake) ผลคล้ายเงาะแต่ขนสั้นเหลือแค่โคน เนื้อหุ้มเมล็ดรสหวานไม่เท่าเงาะ พบบ้างตามตลาดชนบททางภาคใต้ตอนล่าง มีมากในประเทศมาเลเซีย
          ตะคร้อหรือมะโจ๊ก (Schleichera oleosa) ผลสุกกินได้
          กระหรือประ (Elateriospermum tapos) ทางภาคใต้นำเมล็ดมาคั่วแกะกินเนื้อใน
          หว้า (Syzygium cumini) ผลสุกสีดำ รสฉ่ำหวาน
          มะขามป้อม (Phyllanthus emblica) ผลสดใช้อมหรือเคี้ยวทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ ผลแห้งนำมาต้มดื่มแก้ไอ แก้ไข้
          มะดัน (Garcinia schomburgkiana) ผลมีรสเปรี้ยวจัดใช้แทนมะนาวได้ดี มักนิยมนำไปดองน้ำเกลือเพื่อทำให้รสเปรี้ยวลดลงและเก็บไว้ได้นาน
          ก่อหนาม ก่อเดือย ก่อแป้น (Castanopsisspp.) ไม้ก่อหลายชนิดมีผลที่มีหนามหุ้ม เมื่อนำเมล็ดไปคั่วแกะกินเนื้อใน ได้รสหวานมันคล้ายลูกเกาลัด
          ลูกมุดหรือส้มมุด (Mangifera foetida) นิยมปลูกตามบ้านหรือหัวไร่ปลายนาทางภาคใต้ผลสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน ผลดิบนำมาทำมะม่วงดองได้เช่นเดียวกับมะม่วง
          มะเม่าหลวง (Antidesma bunius) และ มะเม่า (A. ghaesembilla) ผลเล็กจำนวนมากออกเป็นพวงบนช่อ ผลสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว
          เขลงหรือหยีหรือนางดำ (Dialium cochinchinensis) ผลสุกสีดำ เนื้อหุ้มเมล็ดนุ่มสีน้ำตาลรสหวานอมเปรี้ยว นิยมนำไปคลุกหรือเคลือบน้ำตาลเรียกลูกหยี ชนิดผลโตเรียก กาหยี (Dialium indum) พบทางภาคใต้
          ต๋าวหรือลูกชิด (Arenga pinnata) ปาล์มออกผลเป็นทะลาย เนื้อในผลกินได้ แต่ต้องต้มให้สุกเสียก่อน นิยมนำไปเชื่อมน้ำตาล เรียกลูกชิด
          จาก (Nypa fruticans) ปาล์มในป่าโกงกางออกผลเป็นทะลาย เนื้อในผลที่ยังไม่แข็ง มีรสหวานกินได้สดๆ แต่เมื่อผลแก่จัดเนื้อในจะแข็งและมีแป้งมาก ต้องนำมาบดเสียก่อนจึงนำมาทำอาหารได้
          มะตูม (Aegle marmelos) เนื้อของผลสุกเมื่อแกะเมล็ดทิ้งไปกินได้ รสหวาน ผลดิบนำมาฝานเป็นแผ่น ตากให้แห้งแล้วเอาไปย่างไฟพอเกรียม ใช้ชงน้ำร้อนแทนชาได้ เรียกชามะตูมหรือน้ำมะตูม
          มะไฟหรือมะไฟป่า (Baccaurea sapida) ผลสุกรสหวานเช่นเดียวกับมะไฟบ้าน แต่มะไฟในป่าผลมักจะมีรสหวานอมเปรี้ยว บางต้นมีรสเปรี้ยวจัด
          ละไมหรือรำไบ (Baccaurea motleyana) ผลสุกกินได้คล้ายมะไฟ รสหวานอมเปรี้ยว
          ส้มโหลกหรือส้มหูก (Baccaurea lanceolata) ผลคล้ายมะไฟ ผลสุกสีนวล รสเปรี้ยวจัด เปลือกหนาใช้ประกอบอาหาร
          ลังแขหรือลำแข (Baccaurea macrophylla) ผลใหญ่ เปลือกหนามาก เมล็ดมีเนื้อหนากรอบรสหวาน
          ละมุดสีดาหรือละมุดไทย (Manikara kauki) ผลรูปไข่ขนาดพุทรา สุกสีน้ำตาลอมเหลือง รสหวานมี ๒-๓ เมล็ด เป็นผลไม้พื้นบ้านของไทยในสมัยก่อน ปัจจุบันหายาก

 
พืชที่ใช้ทำกระดาษ
          การเขียนหนังสือลงบนวัสดุที่ทำจากพืชที่นิยมกันมากในสมัยโบราณอีกแบบหนึ่ง ได้แก่การจารึกลงใบลาน (Corypha umbraculifera) หรือใบตาล (Borassus flabellifer) เรียกว่า "คัมภีร์ใบลาน" การเขียนตัวอักษรลงบนใบลานเรียกว่า "การจาร" โดยใช้การฝังเขม่าสีดำลงไปในร่องที่ขีดไว้บนใบลาน แล้วขัดตกแต่งใบลานให้สะอาด จะได้ตัวอักษรสีดำฝังอยู่ในเนื้อของใบลานการทำคัมภีร์ใบลานในสมัยก่อน จะใช้เข้าห่อหรือผูกห่อคัมภีร์ตกแต่งปกหน้าหลังเช่นเดียวกับสมุดในปัจจุบัน          กระดาษสาทำจากต้นปอกระสา (Broussonetia papyrifera) และกระดาษข่อยทำจากต้นข่อย (Streblus asper)สมุดไทยที่ทำขึ้นจากกระดาษสาเรียก "สมุดสา" ทำจากกระดาษข่อยเรียก "สมุดข่อย" ใช้ตามชนบท ในสมัยก่อนสมุดมีลักษณะเป็นกระดาษแผ่นเดียวยาวติดต่อกันไปตลอดเล่ม ด้วยการพับทบกลับไปกลับมาจนเป็นเล่มหนา กว้างยาวเท่าใดก็ได้ สามารถเขียนภาพประกอบทั้งภาพลายเส้นและภาพสีประเภทจิตรกรรมลงสมุดได้ด้วย

          การเขียนหนังสือลงบนวัสดุที่ทำจากพืช ที่นิยมกันมากในสมัยโบราณอีกแบบหนึ่ง ได้แก่ การจารึกลงใบลาน(Corypha umbraculifera) หรือใบตาล (Borassus flabellifer) เรียกว่า "คัมภีร์ใบลาน" การเขียนตัวอักษรลงบนใบลานเรียกว่า "การจาร" โดยใช้การฝังเขม่าสีดำลงไปในร่องที่ขีดไว้บนใบลาน แล้วขัดตกแต่งใบลานให้สะอาด จะได้ตัวอักษรสีดำฝังอยู่ในเนื้อของใบลาน การทำคัมภีร์ใบลานในสมัยก่อน จะใช้เข้าห่อหรือผูกห่อคัมภีร์ตกแต่งปกหน้าหลังเช่นเดียวกับสมุดในปัจจุบัน

พืชที่ใช้ทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน
          คุณภาพเสียงของเครื่องดนตรีพื้นเมืองของไทยขึ้นกับวัสดุที่ใช้ เช่น แคนคุณภาพดีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ทำจาก ไผ่เฮียะ (Cephalostachyum virgatum) ระนาดที่มีคุณภาพมักใช้ไผ่บง (Bamboo spp.) หรือไม้พยุง (Dalbergiacochinchinensis) เป็นพื้นระนาด ส่วนรางระนาดทำจากไม้หลายชนิด เช่น มะริด(Diospyrosphilippensis) มะเกลือ (Diospyros mollis) กลองพื้นเมืองที่ให้เสียงดีขึ้นอยู่กับไม้และหนังที่ขึงหน้ากลอง เช่น กลองเพล ต้องใช้ไม้เนื้อแข็ง หนาจำพวกประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ชิงชัน (Dalbergia oliveri) เพราะความหนาและความแข็งของเนื้อไม้ช่วยให้อุ้มเสียงได้ดี

พืชที่ใช้ในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน

          กลุ่มชนพื้นบ้านใช้พืชเป็นวัตถุดิบในงานจักสาน หรือทำเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรเครื่องมือจับหรือดักสัตว์ และภาชนะใช้สอยในครัวเรือน สำหรับไว้ใช้สอยเท่าที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน เครื่องมือหรือภาชนะเหล่านั้นจะมีลักษณะเฉพาะถิ่นที่บ่งบอกถึงงานฝีมือของกลุ่มชนต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างมีการผลิตอย่างประณีตหรือมีลวดลายสวยงาม อันเป็นงานฝีมือพื้นบ้านที่ได้รับการถ่ายทอดต่อกันมาหลายรุ่น เครื่องใช้หรือภาชนะพื้นบ้านบางอย่างได้กลายมาเป็นของใช้สำหรับคนชั้นสูง

          เครื่องมือเครื่องใช้หรือภาชนะที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น เช่น กระเป๋าและตะกร้าย่านลิเภาของจังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้เฟินเถาของสกุลย่านลิเภา (Lygodium) เสื่อกระจูดหรือสาดกระจูดของภาคใต้ใช้ต้นของกระจูด (Lepironia articulata) "หมาหรือหมาจาก" เป็นภาชนะตักน้ำในบ่อทางภาคใต้ ทำด้วยกาบหมากของต้นหมาก(Arecacatechu) หรือกาบของต้นหลาวชะโอน (Oncosperma tigillaria) ส่วนภาชนะตักน้ำในบ่อทางภาคเหนือเรียก "น้ำถุ้งหรือน้ำทุ่ง"  สานด้วยไม้ไผ่แล้วยาด้วยชันและน้ำมันยาง มีไม้ไขว้กันด้านบนตรงปากสำหรับเกี่ยวขอ ไม้ไผ่บางชนิดที่ลำขนาดใหญ่ปล้องยาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕-๒๕ เซนติเมตร มักจะถูกนำมาใช้เป็นกระบอกบรรจุน้ำขนถ่ายน้ำ หรือใช้ในระบบประปาจากแหล่งน้ำธรรมชาติตามหมู่บ้านชาวเขาทางภาคเหนือ เช่น ไผ่หก (Dendrocalamus hamiltonii) ไผ่บงใหญ่ (Dendrocalamus brandisii) ไผ่เป๊าะ(Dendrocalamusgiganteus) และไผ่ซางดอย (Dendrocalamusmembranaceus) ไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติอเนกประสงค์ ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้และงานจักสานหลายประเภท
        
        ประเภทที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค เช่น ก่องข้าวหรือกระติบข้าว แอบข้าว แอบยา แอบหมาก ตะกร้า กระบุง กระทาย กระเหล็บ กะโล่ ฯลฯ
          ประเภทที่ใช้ในการจับดักสัตว์ เช่น ลอบ ไซ เอ๋อ ข้องลอยหรือข้องเป็ด อีจู้ สุ่ม ตุ้มปลาไหล ฯลฯ
          ประเภทที่ใช้เกี่ยวกับประเพณีความเชื่อและศาสนา เช่น ก๋วยน้อย ก๋วยหลวง ตานสลาก เฉลว เป็นต้น

พืชกับศิลปะไทยโบราณ

          กลุ่มชนพื้นบ้านรู้จักคิดค้นนำเอาลักษณะและโครงสร้างของพืช มาเป็นจุดกำเนิดของลวดลายประดิษฐ์จากพืชหรือดอกไม้ไทยหลายชนิดแต่ครั้งโบราณ ดังปรากฏอยู่ในลวดลายโบราณของผ้าไทหรือเครื่องแกะสลัก ลวดลายประดิษฐ์บางลายนิยมนำมาใช้กัน จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทยถึงปัจจุบัน ลวดลายประดิษฐ์จากพืชหรือดอกไม้ไทย เช่น
          ลายกลีบบัวหลวง
          กลีบบัวลายไทย
          ลายบัวหงายและบัวคว่ำ
          ลายดอกลำดวน
          ลายดอกพิกุล
          ลายดอกมะลิ
          ลายดอกสายหยุด
          ลายดอกรัก
          ลายดอกจันทน์
          ลายกาบไผ่
          ลายใบไผ่ และ
          ลายดอกหญ้า

พืชอเนกประสงค์
          หมายถึง พืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งในด้านการบริโภค อุปโภค พิธีกรรม และความเชื่อถือของกลุ่มชนพื้นบ้าน พืชพื้นบ้านอเนกประสงค์มีมากมาย เช่น

          พลวง (Dipterocarpus tuberculatus) ชันไม้ที่ได้จากการเจาะต้น ใช้ยาแนวไม้ ยาแนวเรือและทำไต้ ไม้  ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างในร่ม ทำแจว พาย ครก สาก กระเดื่อง กังหันน้ำ กระเบื้องไม้ ฯลฯ ราก นำมาต้มกินแก้ตับอักเสบ ใบ ใช้เผาไฟแทรกน้ำปูนใสกินแก้บิด และถ่ายเป็นมูกเลือด ทางภาคเหนือใช้ใบแก่ที่เรียกว่า "ตองตึง" เย็บเป็นตับใช้มุงหลังคาและทำฝา ใช้ห่อยาสูบ และห่อของสดแทนใบกล้วย

         พะยอม (Shorea roxburghii) ชันไม้และไม้ ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับพลวง ไม้ใช้ทำเรือขุดและต่อเรือได้ดี ทนเพรียง เปลือก ใส่กันบูด มีรสฝาดกินกับพลูแทนหมาก ใช้เป็นยาสมานลำไส้แก้ท้องเดิน ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง ดอก ใช้ผสมยาแก้ไข้และยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ ดอกอ่อน ใช้ผัดกับไข่หรือชุบไข่ทอด

         ส้มป่อย (Acacia concinna) ใบอ่อน ใช้เป็นเครื่องปรุงชูรส ใส่แกงหรืออาหารอื่นเพื่อให้รสเปรี้ยวขึ้น ใบอ่อนต้มคั้นเอาน้ำผสมน้ำผึ้ง กินเป็นยาขับปัสสาวะ ผล ใช้บดแล้วต้มนำน้ำมาใช้เป็นยาสระผม ซึ่งชนพื้นเมืองเชื่อว่าจะนำโชคดีมาสู่ตนและยังใช้น้ำจากฝักส้มป่อยรดน้ำในพิธีสงกรานต์ของไทย

          เสม็ด (Melaleuca cajuputi)  เปลือก ทำประทุนเรือกันแดดและฝน หรือใช้มุงหลังคาบ้านชั่วคราว นำเปลือกมาชุบน้ำมันยางมัดทำเป็นไต้ เสม็ด  ติดไฟได้ดี ใบ กลั่นได้น้ำมันเขียวหรือน้ำมัน เสม็ด ใช้ทาแก้เคล็ด เมื่อย ปวดบวม และใช้เป็นยาฆ่าแมลง ใบและเปลือก ใช้ฟอกแผลกลัดหนอง เพื่อดูดหนองให้แห้ง ไม้ ใช้ทำฟืนและถ่าน

 

ข้อมูลจาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21 พืชพรรณที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนพื้นบ้าน โดย นายธวัชชัย สันติสุข