โครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ มทร.+2 ครั้งที่ 8

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมกับเครือข่ายการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันการพลศึกษาและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (มทร.+2) จัดโครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันการพลศึกษาและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 8 “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน” (Integration of Knowledge Management for Community and ASEAN Community) ระหว่างวันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ 2558 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายเอกรัฐ หลีเส็น เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ เรื่อง “ความพร้อมของจังหวัดในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” กิจกรรมในโครงการประกอบด้วยการบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน” โดยอดีตนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  การประกวดแนวปฏิบัติที่ดีของอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน เรื่อง “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน” และของนักศึกษา เรื่อง “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน”  กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีของชุมชนจากผลการดำเนินงานของหน่วยงานในการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน  กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีของนักศึกษาชาวต่างชาติ เรื่อง “Cross Culture”  กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ จำนวน 7 กลุ่ม เรื่อง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ งานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่/นำไปใช้ประโยชน์ การบริการวิชาการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน การบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ประกันคุณภาพอย่างไรให้ประสบความสำเร็จและการนำ PDCA มาใช้ในกิจกรรมนักศึกษา ตลอดจนมีนิทรรศการการจัดแสดงผลงาน “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน” ของอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน  การจัดแสดงผลงาน “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน” ของนักศึกษาและการจัดแสดงผลงาน/สินค้าชุมชนและนักศึกษา 1

การประกวดแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน  ผศ.จุฑามาศ พีรพัชระ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท จากผลงาน “อาหารไทยออนไลน์” :  คลิกเดียว…เกี่ยวประสบการณ์ทั่วโลก 2

การประกวดแนวปฏิบัติที่ดีของนักศึกษา เรื่อง นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน ผู้แทนนักศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประกอบด้วย น.ส.ทวีทรัพย์ ปั้นอินทร์     นักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์  น.ส.นพรัตน์ คำแพ่ง  นักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรม  และนายกวินท์ อิสสระวาณิชย์  นักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท จากผลงาน “สร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับชุมชนสู่การเรียนรู้ร่วมกับสังคมเพื่อความยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนหมู่บ้านถ้ำเสือ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี” 3

Mr.Ugyen Dorji และ Mr.Tashi Dorji นักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศจาก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จากประเทศภูฏาน ได้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีของนักศึกษาชาวต่างชาติ เรื่อง Cross Culture 4

ในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีของชุมชนจากผลการดำเนินงานของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครในการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนหมู่บ้านถ้ำเสือ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ผู้แทนชุมชนประกอบด้วย นายสุเทพ พิมพ์ศิริ  นายประยุทธ์ อยู่สุข  และนางวรรณา อินทร์มี  ได้นำเสนอผลงานจากความร่วมมือการบูรณาการความรู้ร่วมกันกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับชุมชน โดยการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนเพื่อความยั่งยืน 5

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ จำนวน 7 CoP ได้แก่

CoP 1 การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิต : การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย น.ส.เพชราภรณ์ เพ็ชรแก้ว  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ6

CoP 2 งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ : งานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่/นำไปใช้ประโยชน์ เรื่อง รูปแบบวิธีการและประสิทธิภาพของการประชาสัมพันธ์ เรื่อง พิธีการตรวจคนเข้าเมือง โดย น.ส.ชุติมา สุดจรรยา  กองวิเทศสัมพันธ์7

CoP 3 การบริการวิชาการ : การบริการวิชาการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดย อาจารย์สัมภาษณ์ สุวรรณคีรี  คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น8

CoP 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมในกลุ่ม ประเทศอาเซียน โดย ผศ.เจทญา กิจเกิดแสง ผู้อำนวยการกองศิลปวัฒนธรรม เป็นคุณอำนวย  นายถาวร อ่อนละออ  เป็นคุณกิจ  และ น.ส.ทัศนีย์ น้อยแดง เป็นคุณลิขิต จากกองศิลปวัฒนธรรม9

CoP 5 การบริหารจัดการ : การบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ โดย น.ส.สมจิตต์ มหัธนันท์ ผู้อำนวยการกองบริหารงานบุคคล10

CoP 6 การประกันคุณภาพการศึกษา : ประกันคุณภาพอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ เรื่อง ระบบติดตามการพัฒนาคุณภาพภายใน (IQA-CDS) โดยนายวรวุฒิ บุญกล่ำ  สำนักประกันคุณภาพ11

CoP 7 การพัฒนานักศึกษา : การนำ PDCA มาใช้ในกิจกรรมนักศึกษา โดย อาจารย์ขนิษฐา ดีสุบิน   คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม12

การดำเนินโครงการได้รับความสนใจจากอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ชุมชน และผู้สนใจ เข้าร่วมถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีและปัจจัยความสำเร็จ เป็นการพัฒนาความรู้ของบุคลากรและนักศึกษาระหว่างเครือข่ายและจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ รวมทั้งชุมชนเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือ ความร่วมแรงร่วมใจเกิดบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน13

facebook.com/RMUTPKM




กิจกรรมการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การผลิตบัณฑิตและการวิจัย

Head-KM-New

เครือข่ายการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้จัดกิจกรรมการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การผลิตบัณฑิตและการวิจัย ขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 28 เมษายน 2557 ณ ห้องประชุมเธียเตอร์ ชั้น 6 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฟื่องฟ้า เมฆเกรียงไกร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการเป็นประธาน

กิจกรรมประกอบด้วย การถ่ายทอดแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การเพิ่มผลผลิตงานวิจัยและการตีพิมพ์เผยแพร่ โดย ผู้ช่วยอธิการบดี ดร.สุรเชษฐ์ เดชฟุ้ง จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ. ดร.กิตติศักดิ์ อริยะเครือ จากคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น และ ดร.กัลทิมา เชาว์ชาญชัยกุล จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การถ่ายทอดแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง องค์ความรู้ในพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และการจัดการเรียนการสอนเพื่อบูรณาการความรู้สู่ประชาคมอาเซียน เรื่อง Technology Based Education เชี่ยวชาญเทคโนโลยี โดย ดร.ชัชวาล ศรีภักดี จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เรื่อง Hands-on บัณฑิตนักปฏิบัติ โดย ผศ.จารุณี กมลขันติธร จากคณะบริหารธุรกิจ และเรื่อง Professional Oriented สร้างความเชี่ยวชาญให้นักศึกษา โดย ดร.ชลกาญจน์ วงศ์ก่อทรัพย์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์

Foot-KM-New




การประกวดแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice)

Head-KM-New

เรื่อง “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน”

ศูนย์การจัดการความรู้มีรางวัลมอบให้จำนวน 2 รางวัล ดังนี้

1. รางวัลชนะเลิศ หน่วยงานสายวิชาการ

2. รางวัลชนะเลิศ หน่วยงานสายสนับสนุน

โดยมีเกณฑ์การพิจารณาในเนื้อหา  บทสรุปผู้บริหาร ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวปฏิบัติที่ดี (วิธีการ/กระบวนการ/แนวทางการดำเนินตามหลัก PDCA)/ผลสัมฤทธิ์/ความสำเร็จ/ผลกระทบที่เป็นประโยชน์/สร้างคุณค่า ฯลฯ) ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข แนวทางพัฒนาในการจัดการความรู้

นอกจากนี้ยังมีรางวัลพิเศษสำหรับงานการจัดการความรู้ของ คณะ/หน่วยงานสนับสนุน
ที่มีการดำเนินงานดีเด่น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 โดยมีผลงานการจัดการความรู้ อย่างสม่ำเสมอตามแผนการจัดการความรู้ของ คณะ/หน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ การจัดกิจกรรม KM ผ่านช่องทางต่างๆ การถ่ายทอดความรู้จาก Good Practices การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) มีทะเบียนความรู้/คลังความรู้ รวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีและองค์ความรู้เพื่อถ่ายทอด โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)

ระยะเวลาการดำเนินการ

  • การประกวดแนวปฏิบัติที่ดี ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 13 ธันวาคม 2556
  • รางวัลพิเศษ ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 30 สิงหาคม 2557

ประกาศผลการประกวด

  • การประกวดแนวปฏิบัติที่ดี วันที่ 20 ธันวาคม 2556
  • รางวัลพิเศษ วันที่ 15 กันยายน 2557

กำหนดการมอบรางวัล ภายในวันที่ 30 กันยายน 2557
Foot-KM-New




พิธีมอบรางวัลการประกวดแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ประชาคมอาเซียน และกิจกรรมส่งเสริมการจัดการความรู้

ศูนย์การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ประชาคมอาเซียน และกิจกรรมส่งเสริมการจัดการความรู้ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2556 ณ ห้องประชุมรพีพัฒน์ ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยมีรองศาสตราจารย์สุภัทรา โกไศยกานนท์ รองอธิการบดีด้านวิชาการและวิเทศสัมพันธ์เป็นประธาน

  • รางวัลการประกวดแนวปฏิบัติที่ดี “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ประชาคมอาเซียน” ได้แก่
  1. ผลงาน : บูรณาการความรู้กับสังคม สร้างบรรจุภัณฑ์ชุมชนสู่อาเซียน
    ผู้นำเสนอ อาจารย์ธานี สุคนธะชาติ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
  2. ผลงาน : โครงการเครือข่ายพลเมืองอาเซียนเพื่อการศึกษาและวิจัย
    ผู้นำเสนอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์ และคณะ จากคณะศิลปศาสตร์
  3. ผลงาน : โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเปิดโลกเสรีสู่ประชาคมอาเซียน
    ผู้นำเสนอ ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ ดร.มาเรียม นะมิ และคณะ จากคณะบริหารธุรกิจ
  4. ผลงาน : โครงการ English Camp ผู้นำเสนอ นางสาวนันทวัน วัฒนมงคลสุข จากกองวิเทศสัมพันธ์
  5. ผลงาน : วิทยุชุมชนรายการ Go Inter ไปกับกองวิเทศสัมพันธ์
    ผู้นำเสนอ นางสาวชุติมา สุดจรรยา จากกองวิเทศสัมพันธ์
  6. ผลงาน : โครงการพัฒนาและส่งเสริมความเป็นเลิศนักศึกษา “เพชรราชมงคลพระนคร”
    ผู้นำเสนอ นางประดิษฐา นาครักษา และนางสาวมงคลรัตน์ ก้อนเครือ จากกองพัฒนานักศึกษา
  7. ผลงาน : การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน (บรูไน)
    ผู้นำเสนอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจทญา กิจเกิดแสง จากกองศิลปวัฒนธรรม
  • รางวัลพิเศษ สำหรับหน่วยงานที่มีการพัฒนาเว็บไซต์ KM และมีการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ KM อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ได้แก่
  1. สถาบันวิจัยและพัฒนา
  2. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • รางวัลชมเชย การพัฒนาเว็บไซต์ KM ได้แก่
  1. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  2. คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

สำหรับของรางวัลที่มอบให้ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ศูนย์การจัดการความรู้ได้รับการสนับสนุนจากร้านสหกรณ์วิทยาลัยพณิชยการพระนคร จำกัด และสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จึงขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมาไว้ ณ ที่นี้




การขอเปิดการใช้งาน KM Blog

บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่มีความสนใจเข้าใช้งาน KM Blog สามารถกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนได้ที่ แบบฟอร์มขอเปิดการใช้งาน KM Blog

KMblog-banner