Monthly Archives: April 2011

นิทาน เทพารักษ์กับคนตัดไม้

ชาวป่าผู้หนึ่ง ขณะเข้าไปตัดต้นไม้ซึ่งขึ้นอยู่ริมแม่น้ำเกิดทำขวานหลุดมือตกจมหายลงไปในน้ำ เนื่องจากเขาว่ายน้ำไม่เป็นและนึกเสียดายขวานคู่ชีวิตเลยนั่งลงร้องไห้ เทพารักษ์มีความเมตตาสงสารได้ปรากฎกายขึ้นกล่าวปลอบโยน และลงไปงมขวานมาคืนให้ แต่คิดอยากจะลองใจชายผู้นี้ ครั้งแรกจึงนำขวางทองขึ้นมาจากแม่น้ำแล้วถามว่า  ขวานด้านนี้ใช่ของเจ้าหรือไม่
ไม่ใช่หรอกขอรับ ขวานของข้าพเจ้าเป็นขวานเหล็กธรรมดาเทพารักษ์นึกพอใจแต่ยังคิดอยากจะทดสอบอีกครั้ง แสร้งดำลงไปค้นหาในแม่น้ำแล้วโผล่ขึ้นมาพร้อมกับขวานเงินในมือ ขวานด้านนี้ใช่ของเจ้าหรือไม่ ไม่ใช่หรอกท่าน ขวานของข้าพเจ้าเป็นขวานเหล็กธรรมดา เมื่อเทพารักษ์นำขวานเหล็กมาคืนให้กับ ชาวตัดฝืน ท่านได้ยกขวานเงินและขวานทองให้ด้วยเพื่อเป็นรางวัลในความซื่อสัตย์ครั้น เพื่อนของชายตัดฟืนทราบเรื่อง จึงทำทีออกไปตัดฟืนแล้วนั่งร้องไห้คร่ำครวญ หลังจากแกล้งทำขวานหล่นในแม่น้ำ  เมื่อเทพารักษ์ปรากฏตัวขึ้นปลอบโยนและลองใจโดยงมขวานทองมาส่งให้ ชายผู้นั้นเกิดความโลภรีบบอกว่าเป็นขวานของตนเทพารักษ์เห็นว่าชายผู้นี้ กล่าวเท็จจึงแสดงฤทธิ์หายตัวไปทันที ชายผู้ไร้ความซื่อสัตย์นอกจากไม่ได้ขวานเงินและขวานทองเป็นรางวัล  แม้แต่ขวานเหล็กของตนก็จมอยู่ในแม่น้ำนั้นเอง นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  ผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ย่อมได้รับผลดีตอบแทนผู้ทุจิตย่อมได้รับผลร้ายตอบสนอง

ประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนคือมรดกอันล้ำค่า

คุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่งของมนุษย์คือ การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่งได้ ทำให้มนุษย์เรามีความก้าวหน้ามาถึงทุกวันนี้ เราจะเห็นว่าปัจจุบันพัฒนากว่าอดีต และอนาคตต้องพัฒนาก้าวหน้าไปมากกว่าปัจจุบันอย่างแน่นอน ใครก็ตามที่ไม่ยอมเรียนรู้ประสบการณ์ในอดีต ย่อมมีโอกาสผิดพลาดซ้ำกับคนรุ่นก่อน ใครก็ตามที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ ย่อมมีโอกาสก้าวหน้าน้อยกว่าคนอื่น ในสังคมของคนทำงานมีคนอยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ คือ คนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ แต่คนในสองกลุ่มนี้ก็สามารถแบ่งออกได้สองกลุ่มเช่นกันคือ กลุ่มคนที่ยึดติดกับอดีตไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง กับกลุ่มคนที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆชอบการเปลี่ยนแปลง  ดังนั้น การเป็นคนทำงานยุคใหม่หรือยุคเก่า
จึงไม่ได้อยู่ที่อายุตัวหรืออายุงาน แต่อยู่ที่การปรับตัวในการทำงานมากกว่า เราจะเห็นว่าคนที่มีอายุตัวหรืออายุงานมากบางคน เป็นคนที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่กลัวเทคโนโลยี พร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ในขณะที่คนรุ่นใหม่บางคนชอบทำงานแบบคนรุ่นก่อนๆ   ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ทำงานแบบไหนก็อยากทำเหมือนเดิมไปตลอด จึงสรุปไม่ได้ว่าคนทำงานยุคใหม่คือคนที่มีอายุน้อยเท่านั้นเพื่อให้คนทำงานที่มีความคิดทันสมัย (ทั้งคนที่อายุมากและอายุน้อย) มีเส้นทางการทำงานที่สดใส จึงขอให้ข้อคิดและแนวทางในการทำงานสู่ความสำเร็จดังนี้
ประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนคือมรดกอันล้ำค่า
คนเราเกิดมามีชีวิตเพียงรอบเดียว ไม่เหมือนเกมส์คอมพิวเตอร์ที่มีชีวิตที่หนึ่ง สอง สาม ตายแล้วเล่นใหม่ได้
ดังนั้น ในช่วงชีวิตโดยเฉพาะชีวิตแห่งการทำงาน คนทำงานรุ่นใหม่จึงควรป้องกันความผิดพลาดให้กับตัวเองโดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนๆ ซึ่งมีทั้งประสบการณ์ที่เป็นความผิดพลาดที่สามารถนำมาใช้ในการวางแผน ป้องกันไม่ให้เราผิดพลาดซ้ำเรื่องเดียวกันกับคนรุ่นก่อน และนำเอาประสบการณ์ที่ดีของคนรุ่นก่อน มาเป็นสะพานในการก้าวไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน ดังนั้น อย่าดูถูกหรือมองข้ามประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนว่าโบราณคร่ำครึไม่ทันสมัย? บริหารงานแบบใหม่ แต่ใส่ใจในการบริหารคนแบบเก่า ใครอยากจะประสบความสำเร็จในการทำงาน จงเรียนรู้เทคโนโลยีและเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่ให้มาก แต่ควรนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเหลือน้อยลงเช่น ใช้อินเตอร์เน็ตในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน แต่ควรจะมีเวลาพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานแบบซึ่งหน้าบ้าง ไม่ใช่อะไรๆ ก็ให้เทคโนโลยีพูดแทน นอกจากนี้ เราจะเห็นว่าคนทำงานรุ่นก่อนๆ มีความสัมพันธ์กันดีมาก คนที่เคยทำงานในองค์กรเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะจากกันไปกี่ปีก็ตาม เวลามาเจอกันความสัมพันธ์ก็ยังแน่นเฟ้นเหมือนเดิม จึงอยากให้คนทำงานรุ่นใหม่ อย่าลืมวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันของคนรุ่นก่อนๆ  เพราะยิ่งเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากเท่าไหร่ คนที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่คนที่จะประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องเข้าใจคนมากขึ้นด้วย
มีวินัยในตัวเอง นำพาตัวเองให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อใจ ความก้าวหน้า ความทันสมัยในด้านต่างๆ มักจะเป็นดาบสองคมเสมอ ยิ่งเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้คนเกิดกิเลศมากขึ้นเท่านั้น เช่น เทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้า ยิ่งทำให้คนอยากได้โทรศัพท์มือถือ มีธุรกิจบัตรเครดิต มีธุรกิจซื้อสินค้าแบบเงินผ่อน ฯลฯ ยิ่งทำให้คนเกิดความอยากที่จะสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น คนทำงานรุ่นใหม่จึงต้องเจอกับสิ่งล่อตาล่อใจ ที่จะทำให้เกิดกิเลสมากกว่าคนทำงานรุ่นก่อนๆ พูดง่ายๆ คือคนรุ่นใหม่มีความยากลำบากในการดูแลตัวเองมากกว่าคนรุ่นเก่า เพราะสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อใจในด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น คนทำงานรุ่นใหม่ จึงต้องมีความเข้มงวดกับการปกครองและดูแลตัวเองให้มากกว่า  คนทำงานรุ่นก่อนๆ  จัดระบบการเก็บสะสมสะเบียงเพื่อชีวิตในอนาคตคนทำงานรุ่นก่อนๆ บางคนเกษียณอายุไปแล้ว ไม่มีเงินติดไม้ติดมือกลับไปอยู่บ้านก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
เพราะที่บ้านมีมรดกที่ดินเรือกสวนไร่นาจากพ่อแม่ หรือไม่ก็สามารถดำรงชีพแบบพอเพียงแบบชาวบ้านได้ แต่คนรุ่นใหม่เรียนจบมาพร้อมกับการขายนาขายไร่ของพ่อแม่ ถ้าทำงานไปแบบไม่เก็บสะสมอะไรไว้เลย แล้วจะใช้ชีวิตในบั้นปลายได้อย่างไร สิ่งที่คนรุ่นใหม่ ควรจะสะสมเป็นสะเบียงให้กับชีวิตตัวเองในระยะยาวคือ ประสบการณ์ชีวิตทั้งในงานและนอกงาน สะสมความดีที่ทำให้กับตัวเองและผู้อื่น สะสมเงินทองเพื่อไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น สะสมความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูงไว้บ้าง
และสุดท้ายอาจจะต้องสะสมธรรมะเก็บไว้ในใจบ้าง เพราะชีวิตคนเรายิ่งอยู่นานมากขึ้นเท่าไหร่ สิ่งรุมเร้าที่จะเข้ามาในชีวิตเรานั้นมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาทางกายและปัญหาทางใจ ดังนั้น การสะสมธรรมะไว้ก็จะนำไปใช้ได้ในยามจำเป็น
ไม่ใช่เพิ่งไปสวดมนต์ก็ตอนป่วย ไม่ใช่ไปทำดีช่วยเหลือคนอื่นตอนที่ตัวเองตกทุกข์ได้ยากแล้ว

                หลวงวิจิตรวาทการกล่าวไว้ว่า มีเรือดีดี  ไม่ขี่ข้าม ไปเอาเรือรั่วน้ำมาข้ามขี่ อยากได้แต่งานดีดี แต่เอาคนผีผีมาใช้งาน คำกล่าวนี้ให้แง่คิดในการเลือกคนเข้ามาร่วมงานด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ
1. พวกพายเรือทวนน้ำ 
        คนประเภทนี้มีความคิดก้าวหน้า แต่มีนิสัยดื้อรั้น หัวแข็ง และก้าวร้าว การทำงานร่วมกับคนประเภทนี้ต้องใช้ความอดทน อดกลั้น และใช้เวลาจูงใจมากกว่าปกติ แต่ก็จะทำให้ได้ผลงานที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์

2. พวกพายเรือตามน้ำ
        คนทำงานประเภทนี้เป็นคนหัวอ่อน ว่านอนสอนง่าย และยอมทำตามกฎระเบียบทุกอย่างด้วยดี จึงทำงานร่วมกันได้ด้วยความสบายใจและได้ผลงานตามที่ต้องการ
3. พวกลอยตามยถากรรม
       คนทำงานประเภทนี้เป็นอันตรายต่อหน่วยงาน เพราะเป็นแรงงานที่ไม่สร้างประโยชน์ ทำงานไปวันๆ โดยไม่มีจุดหมาย ไม่ทะเยอทะยาน ไม่สร้างสรรค์ และขาดความกระตือรือร้น
4. พวกมือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ
       คนทำงานประเภทนี้เป็นอันตรายต่อหน่วยงานเช่นกัน เพราะชอบยุแยงตะแคงรั่ว สร้างความร้าวฉานให้เกิดขึ้น และชอบวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าสร้างสรรค์ผลงาน

องค์กรมักจะมุ่งเน้นการพัฒนาคนที่เปลือกนอก

ในอดีตที่ผ่านมาองค์กรมักจะมุ่งเน้นการพัฒนาคนที่เปลือกนอกคือมุ่งเน้นที่การพัฒนา "องค์ความรู้ (Knowledge)" “ทักษะ(Skill)” หรือ พฤติกรรม (Behavior)” มากกว่าการพัฒนาที่แก่นแท้ของคนซึ่งหมายถึง ทัศนคติ(Attitude)” “แรงจูงใจ(Motivation)” หรือ อุปนิสัย(Trait)” จึงทำให้การพัฒนาบุคลากรไม่ได้ผลเท่าที่ควร  การพัฒนาคนในหลายองค์กรมักจะมุ่งเน้นผลการพัฒนาระยะสั้นมากกว่าระยะยาว ดังนั้น รูปแบบการพัฒนาและฝึกอบรมจึงออกมาในลักษณะของการพัฒนาความรู้ ทักษะ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอกเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถเห็นผลได้ทันที เช่น การฝึกอบรมเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ต อาจจะใช้เวลาเพียงวันเดียว จากคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตไม่เป็นก็สามารถใช้เป็นได้ แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือ เราไม่ค่อยพัฒนาคนให้ยอมรับว่าอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์กับชีวิตอย่างไร บางคนถึงแม้จะใช้อินเตอร์เน็ตเป็น แต่รู้สึกว่ามันไม่มีประโยชน์มากนัก เลยไม่ได้ใช้ ดังนั้น ทักษะที่เรียนรู้ไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร   เราจะเห็นการพัฒนาคนจากเปลือกนอกได้ชัดเจนมากจากมินิมาร์ท ปั๊มน้ำมันหรือห้างสรรพสินค้า ที่พนักงานของเขาทักทายหรือขอบคุณเราด้วยคำว่าสวัสดีหรือ ขอบคุณแต่เราสามารถสัมผัสได้ว่าคำพูดหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้น ไม่ใช่มาจากส่วนลึกของจิตใจ แต่เป็นเพียงพฤติกรรมที่ถูกฝึกมาและถูกบังคับให้ทำตามเงื่อนไขมากกว่า เช่น ถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งให้พูดคำว่า สวัสดีถ้าพนักงานคนนั้นถูกพัฒนามาจากภายในแล้ว ไม่ว่าเขาจะทำงานหรืออยู่ในสังคมภายนอก การทักทายหรือการขอบคุณนั้นจะต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลาและคำพูดนั้นจะต้องออกมาจากภายใน      แนวโน้มการพัฒนาคนในอนาคต  เรามีความเชื่อมั่นว่าจะต้องเปลี่ยนจากการพัฒนาความ รู้ ทักษะ และพฤติกรรม ไปสู่การพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อให้คนหาความรู้เอง พัฒนาทักษะด้วยตัวเอง รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามทัศนคติที่เปลี่ยนไป องค์กรทุกองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องเจาะเข้าไปพัฒนาที่จิตใจของคนมาก ขึ้น องค์กรต้องหวังผลการพัฒนาทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะถ้าเราประสบความสำเร็จในการพัฒนาภายในจิตใจของคนแล้ว การพัฒนาสิ่งที่อยู่ภายนอกไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป  ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

คนมองไม่เห็นการณ์ไกล ภัยก็จะมาถึงตัว

คนไม่รู้จักตัดไฟ ภัยก็จะน่ากลัว

นิทาน ราชสีห์กับที่ปรึกษา

ราชสีห์ตัวหนึ่งอยากรู้ว่าลมหายใจของตนมีกลิ่นอย่างไร วันหนึ่งจึงเรียกที่ปรึกษาทั้งสามของตนอันได้แก่ แกะ หมาป่า และหมาจิ้งจอกให้มาช่วยพิสูจน์ สัตว์ทั้งสามจำต้องตอบคำถามด้วยความเกรงกลัวในอำนาจของเจ้าป่า    “ลมหายใจของท่านมีกลิ่นเหม็นรุนแรงมาก แกะตอบตามความเป็นจริง   “เจ้าบังอาจพูดโกหก แสดงวาจาสามหาวใส่ข้า สมควรต้องถูกลงโทษ ราชสีห์ใช้อุ้งเท้าตะปบใส่แกะจนมันถึงแก่ความตาย แล้วหันมาถามหมาป่า

   “แล้วเจ้าล่ะว่ายังไง หมาป่าเห็นชะตากรรมของแกะจึงรีบตอบเสียงละล่ำละลัก ท่านเจ้าป่า ลมหายใจของท่านมีกลิ่นหอมยิ่งนัก”   “เจ้าบังอาจพูดจาประจบสอพลอตลบตะแลง สมควรต้องถูกลงโทษเมื่อสิงโตสังหารหมาป่าแล้วจึงหันมาถามหมาจิ้งจอกบ้าง    “ไหนเจ้าลองบอกซิ ว่าลมหายใจของข้ามีกลิ่นอย่างไร”   “ขอโทษทีท่านเจ้าป่า วันนี้บังเอิญข้าเป็นหวัด จมูกใช้ดมกลิ่นอะไรไม่ได้เลยคำตอบอย่างชาญฉลาด ทำให้หมาจิ้งจอกรอดตัวไปได้อย่างหวุดหวิด  เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

   ผู้มีไหวพริบสติปัญญาย่อมมีหนทางเอาตัวรอดได้ แม้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายล่อแหลมต่อชีวิต

 

ผู้นำมักจะเป็นแบบอย่าง (Role Model)

ผู้นำมักจะเป็นแบบอย่าง (Role Model)ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ความจริงจังกับงานของผู้นำย่อมทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่อาจปล่อยตัวตามสบายได้ซึ่งมักก่อให้เกิดความเครียดให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ถ้าหากผู้นำคนไหนไม่มีความจริงจัง โลเลเรื่อยเปื่อย องค์กรนั้นย่อมปั่นป่วน คนดีจะเบื่อหน่าย คนเลวจะสบายตัวไม่ต้องกลัวเจ้านายว่า อย่างไรก็ตามความจริงจังที่แสดงออกอย่างพอเหมาะจะกระตุ้นลูกน้องได้ หากมากไปลูกน้องเครียด บางคนถึงกับถอดใจก็มี บางครั้งผู้นำต้องมี อารมณ์ขัน(Sense of Humor) บ้าง เพื่อผ่อนคลายบรรยากาศที่เคร่งเครียดเกินไปในที่ประชุม แต่พบว่าบ่อยครั้งที่ลูกน้องกลับลำความรู้สึกไม่ทันขณะที่กำลังเครียดในที่ประชุม การพูดตลกของผู้นำเลยตลกอยู่คนเดียว ลูกน้องนั่งหน้าบึ้งอยู่รับมุขไม่ทัน บางทีไปนึกเอาได้ว่าเจ้านายพูดตลกหลังเลิกประชุม หรือที่บ้านเลยก็มี
การมีความคิดสร้างสรรค์(Initiative)            การคิดสิ่งใหม่ๆ ไม่ยึดติดรูปแบบเดิมๆ กล้าเสนอความคิดที่ไม่เหมือนคนอื่น ถือเป็นคุณลักษณะที่ดีของผู้นำ ที่ต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร ซึ่งสังคมวัฒนธรรมไทยโดยทั่วไปเลี้ยงลูกให้อยู่ในกรอบมาตั้งแต่เด็ก ให้การปกป้องตลอดเวลา ข้อดีคือเด็กมีความสุข อบอุ่นภายใต้โลกที่พ่อแม่สร้างให้ซึ่งบางครั้งไม่เป็นไปตามสภาพจริง ทำให้เติบใหญ่มาเป็นคนไม่กล้าคิดในสิ่งที่ต่างจากที่เคยเห็นเคยเป็น เรามักพบว่าองค์กรส่วนใหญ่มีแต่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่น่ารัก ไม่ค่อยพูดจาออกความเห็นโต้แย้งใครไม่ค่อยเป็น ยกเว้นมีความถนัดเกาะกลุ่มนินทากันนอกห้อง ชอบการรับคำสั่งที่ชัดเจน เพราะไม่ต้องรับผิดชอบกับการต้องคิดเอง ความคิดสร้างสรรค์นี้ ต้องฝึกกันมาตั้งแต่การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ผู้ใหญ่ฝึกก็ได้แต่ซึมซับยาก           การที่คนเราจะทำอะไรอย่างหนึ่งด้วยความมุ่งมั่น เพียรพยายาม และทุ่มเท การกระทำนั้นต้องเกิดจากความศรัทธาเชื่อมั่นต่อสิ่งที่กระทำ ผู้นำก็เช่นกัน ความศัทธาและเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำในการทำการใดๆ ที่ตนมุ่งหวังมีความสำคัญอย่างยิ่ง ความศรัทธานี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนภายในที่ไม่มีหมดและยังบันดาล ให้มีเกิดความมุมานะ ความเชื่อมั่น ความพึงพอใจแห่งตนและการทำงานอย่างมีความสุข ผู้นำที่ดี ต้องให้ความสำคัญในการสร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นให้เกิดกับลูกน้องให้ได้ด้วย
           ความรัก เป็นตัวสะท้อนที่ละเอียดอ่อนของความเป็นมนุษย์ มันเป็นอารมณ์ที่ลึกซึ้งที่บุคคลแสดงต่อกันเป็นจุดก่อเกิดความผูกพัน สัมพันธภาพระหว่างมนุษย์ ความรักต่อตนเอง และผู้อื่นอย่างมีดุลยภาพถือเป็นความรักที่ถูกต้อง โดยรู้จักการให้และการรับ บางคนถูกเลี้ยงมาในสภาพแวดล้อมที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ในวัยเด็กด้วยเหตุไดก็ตาม ทำให้เกิดภาวะกระหายรัก(Love Hunger) เมื่อเติบใหญ่ขึ้นมามักจะรักใครไม่เป็นรวมไปถึงรักตัวเองก็ไม่เป็นด้วย ความกระหายรักมากมักทำให้ตีความหมายของ ความรักผิดไปจากความเป็นจริง ทำให้มองเน้นไปในด้านรูปธรรม มากกว่านามธรรม เพราะสามารถเข้าใจในสิ่งที่เห็นได้โดยง่าย ไม่จำเป็นต้องไปหาความหมายให้เสียเวลา เปรียบได้เหมือนคนที่หิวโหย เมื่อเห็นอะไรที่มองคล้ายกับอาหารก็จะรีบตะกรุมตะกรามจับเข้าปากทันทีโดยไม่มีการใคร่ครวญใดๆ ดังนั้นคนเหล่านี้จะมีความสุขพอใจในการได้รับ วัตถุ สิ่งของ กำนัล คำชม ป้อยอ โดยไม่มีการไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งและด่วนสรุป เหมาเข้าข้างตัวเองทันที่ว่าเขารักและศรัทธาตน จนกลายเป็น ความหลงมากกว่า บุคคลเช่นนี้มักไม่สามารถเป็นผู้นำที่ประสพความสำเร็จได้ เพราะหากได้เป็นผู้นำ คนประเภทนี้มักจะยอมสูญเสียทุกอย่างเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งการชื่นชม สิ่งของกำนัลหน้าตาชื่อเสียง(จอมปลอม)ที่มีผู้หยิบยื่นให้ ในที่สุดจะถูกหลอกจากบุคคลรอบข้างได้โดยไม่รู้ตัวผู้นำที่ดีต้องรู้ที่จะรักตนเองและรักผู้อื่นอย่างมีดุลยภาพและใช้ความรัก บวกกับความจริงใจในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารลูกน้องอย่างเหมาะสมกับแต่ละสถาณการณ์           การเป็นผู้บริหาร ต้องมีความรู้อยู่สองอย่าง คือความรู้ในเนื้อหางาน(Techniques) และความรู้ในวิธีบริหารจัดการ(Management) ความเป็นผู้รู้เทคนิคในการบริหารถือเป็นศาสตร์ ที่สำคัญของผู้นำที่ต้องมีเพิ่มเติมจากความรู้ในวิชาชีพ บางครั้งองค์กรอาจสูญเสียผู้ทำงานที่ดีแต่ได้ผู้บริหารที่ไม่ได้เรื่องเพราะการมอบหมายงานที่ผู้นำมองผิดมุมไปเอาคนทำงานดีแต่ขาดทักษะบริหารมามาเป็นผู้บริหาร       ผู้นำต้องมีการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ ให้กับลูกน้องเพื่อการทำงานที่ถูกต้อง และมีประสิทธิผล ความเป็นครูของผู้นำเกิดจากการที่ผู้นำต้องอาศัยศักยภาพของลูกน้อง ในการทำงานให้ได้ผล ดังนั้น การสร้างคนให้มีความรู้จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความสำเร็จ ให้กับองค์กรในระยะยาว ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจึงต้องมีบทบาทเป็นทั้งครูและผู้ชี้แนะ (Teacher & Coach)ได้           ประสบการณ์ คือความรู้ที่ได้จากการกระทำของจริงที่ผ่านมา คนที่มีประสบการณ์มักเป็นผู้มองโลกได้อย่างลึกซึ้งและกว้างไกล เป็นปัจจัยก่อให้เกิดความสำเร็จในชีวิตของผู้คนมากมาย แม้ว่าคนเหล่านั้นไม่ได้จบการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาใดๆมาก็ตามมันเป็นการเรียนรู้จากของจริงผ่านกระบวนการลองผิดลองถูก แล้วสั่งสมเป็นความรู้ในบุคคลประสบการณ์บางครั้งอาจเรียนลัดได้จากการอ่าน ค้นคว้า สังเกต ของผู้อื่นแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับตนเอง           กายและใจทั้งสองส่วนก่อเกิดเป็นตัวตนของบุคคลที่สมบูรณ์แบบ ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ไม่อาจสูญเสียส่วนไดส่วนหนึ่งไปได้ การรักษากายให้เข้มแข็ง และใจให้กล้าแกร่งของผู้นำเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำพาองค์กร ลูกน้องให้เดินตาม ผู้นำกายขี้โรค ใจขี้ขลาดย่อมไม่อาจนำพาผู้ใดได้    ผู้นำที่ดี ต้องเป็นคนแรกขององค์กรที่แสดงความเสียสละ เพื่อสร้างจิตสำนึกและเป็นแบบอย่างให้กับลูกน้อง ไม่มีลูกน้องในองค์กรไหนจะยอมเสียสละเพื่อเจ้านายที่เห็นแก่ตัว ความเสียสละยังหมายถึงเมื่อใดที่เกิดความผิดพลาดขึ้นมา จะแสดงความรับผิดในสิ่งที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของผู้นำอย่างกล้าหาญ โดยไม่มุ่งเพียงกล่าวโทษแต่ลูกน้อง   ขณะเดียวกัน หากเมื่อไดองค์กรประสพผลสำเร็จ การสรรเสริญยกย่องคุณงามดี ความชอบให้แก่ลูกน้องโดยไม่แย่งเอามาเป็นของตนเองแต่ผู้เดียว

ผู้นำมักจะต้องตัดสินใจทำอะไรด้วยตัวเอง

ผู้นำต้องรู้ว่าตนต้องการอะไร เป็นจริงได้หรือไม่อยู่ในวิสัยความสามารถของตนหรือเปล่าและจะใช้วิธีการ อย่างไรเพื่อให้ได้มาไม่ใช่ความต้องการที่เพ้อฝัน   วิสัยของผู้นำต้องมีความตื่นตัว หมายถึงรับความรู้สึกได้กับความเปลี่ยนแปลงรอบตัวเราก่อนที่จะเกิดปัญหา มีความตระหนัก(Realize) แต่ไม่ถึงกับตระหนก(Panic) มีความตื่นตัว(Alert)แต่ไม่ถึงกับตื่นเต้น(Excite) จนเกินเหตุ มีสติตั่งมั่น รู้จักใคร่ครวญในเหตุ ผล และคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า ผู้นำต้อง มีความกระตือรือร้น           หมายถึงการมีจิตใจมุ่งมั่น จดจ่อ ที่จะทุ่มเทให้ได้มาซึ่งผลสำเร็จในงาน แต่ไม่ใช้ถึงขั้นรนราน จนขาดสติ และไม่ใช่ร้อนรนจนทนรอไม่ได้ ความกระตือรือร้น ต้องเป็นไปอย่างมีสติ อดทนอดกลั้น ไม่บุ่มบ่าม รนรานจนเสียหาย คนที่เป็นผู้นำต้องมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายโดยเร็ว จึงจำเป็นต้องทุ่มเท ขวนขวาย จัดหา ติดตาม งานอยู่ตลอดเวลา และไม่รอให้งาน หรือ อุปสรรควิ่งเข้ามาหา  ผู้นำที่มีความสามารถ แต่ไม่มีความซื่อสัตย์อาจจะประสบความสำเร็จได้ไม่นาน (Short term success) แต่ผู้นำที่มีความสามารถและซื่อสัตย์ เขาจะประสพความสำเร็จระยะยาว(Long term success) ความซื่อสัตย์หมายถึงการไม่คิดคด เอาเปรียบ เบียดเบียน ผิดคำ ผิดประพฤติต่อพันธะสัญญาที่มีต่อผู้อื่น ในเชิงบริหารหมายถึง ซื่อสัตย์ต่อ ลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น หัวหน้า ลูกน้องรวมไปถึงต่อครอบครัวและตนเองซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของความสำเร็จในงาน ในความซื่อสัตย์ ต้องมีความจริงใจเป็นองค์ประกอบด้วย  ความรับผิดชอบเป็นพื้นฐานของผู้นำที่ต้องมีหมายถึงการสำนึกในหน้าที่หรือกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายและพร้อม จะทุ่มเทให้เกิดความสำเร็จ นอกจากนั้น ผู้นำควรมีสำนึกแห่งความรับผิดรับชอบต่อผลการกระทำของตนอย่างจริงใจไม่ บิดพลิ้ว(Accountability)

                คำพูดที่ว่ายิ่งสูงยิ่งโดดเดี่ยวมีความหมายว่า ผู้นำมักจะต้องตัดสินใจทำอะไรด้วยตัวเองและมักมีโลกส่วนตัวที่แปลกแยกยากที่ผู้อื่นจะเข้าหาได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกันผู้นำก็ต้องสัมผัสผู้คนใต้บังคับและรอบข้างมากมาย ซึ่งคนเหล่านี้ล้วนแล้วต่างมีจุดประสงค์ของตนในการเข้าหาผู้นำจนบางครั้งไม่อาจแยกแยะความจริงใจหรือมีบางสิ่งแฝงเร้นซ่อนอยู่ในผู้คนเหล่านั้นหรือไม่ ดังนั้นสำหรับคนดีที่ไว้ใจแล้ว ผู้นำต้องคบหาอย่างมิตร และให้เกียรติและมีความเป็นเพื่อนมากกว่าความเป็นเจ้านายและลูกน้อง เพื่อที่เขาเหล่านั้นจะช่วยเป็นกำลังใจ คอยช่วยเหลือสอดส่อง ปกป้อง สนับสนุนให้กับผู้นำ

ก่อนจากกันในวันนี้ ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

จงเผชิญกับความจริงอย่างที่เป็นอยู่ มิใช่อย่างที่คุณอยากเป็น

นิทาน กบฟุ้งซ่าน

กบตัวหนึ่งนั่งอยู่ข้างกำแพงวัดทุกเช้ามันเฝ้าดูพระออกบิณฑบาตตั้งแต่เช้ามืด พอพระกลับมาถึงวัดเพื่อฉันอาหารเช้า...กบตัวเดิมนึกในใจ อยากเกิดเป็น "พระ" มีคนถวายอาหารให้กินทุกวันเมื่อพระฉันเสร็จก็นำอาหาร ที่เหลือมากมายนั้นไปให้เด็กวัดกินต่อ
แล้วเด็กวัดก็กินกันอย่างเอร็ดอร่อยตอนนี้ กบเปลี่ยนใจ อยากเกิดเป็น "เด็กวัด" แล้ว สบายกว่าพระ หลายคนตื่นสายได้ และไม่ต้องออกตามพระไปบิณฑบาตก็ได้ เมื่อเด็กวัดกินกันเสร็จก็โกยอาหารที่เหลือทั้งหมดให ้หมาวัดไปกินแล้ว จากนั้นก็ช่วยกันล้างจาน  ถึงตอนนี้ เจ้ากบก็เปลี่ยนใจ... อยากเกิดเป็น "หมาวัด" แล้ว  เพราะไม่ต้องล้างจานเหมือนเด็กวัด พอหมาวัดกินอาหารเสร็จก็แยกย้ายไปทำหน้าที่เฝ้าบริเว ณวัดคอยเห่าคนแปลกหน้า ฝูงแมลงวันก็บินมาตอม แทะเล็มอาหารต่อจากหมาวัด
กบเปลี่ยนใจอีกแล้ว อยากเกิดเป็น "แมลงวัน" สบายที่สุด ไม่ต้องทำอะไรเลย หนำซ้ำ ยังมีกองอาหารให้กินไม่มีหมดด้วย
ขณะที่เจ้ากบฟุ้งซ่านกำลังคิดเพลินๆ อยู่นั้นพอดีหันมาเห็น แมลงวัน บินมาใกล้ๆ จึงใช้ลิ้นตวัดเอาแมลงวันเข้าปากตัวเองโดยสัญชาตญาณ ถึงตอนนี้ ....กบฟุ้งซ่านจึงบรรลุธรรมฉับพลัน!! คิดได้ว่า เอ้อ! "เป็นตัวของเราเองนี้แหละ" ดีที่สุดเลย

ผู้นำเมื่ออาสาตนเข้ามานำผู้อื่น ย่อมต้องอยากเห็นความสำเร็จ

"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" หรือ Imagination is more important than knowledge ที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักคิด นักวิทยาศษสตร์ นักปรัชญา และศาสนา กล่าวไว้เป็นเวลาหลายปีวันนี้ยิ่งทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อวิถีโลกเศรษฐกิจสมัยใหม่ต้องอาศัยจินตนาการสุดล้ำเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จทั้งธุรกิจ งาน และ ชีวิตส่วนตัว  ในการดำเนินงานธุรกิจทุกอย่าง ลูกค้าคือหัวใจ พนักงานคือแขนขา ผู้บริหารคือมันสมอง ระบบคืออวัยวะภายใน ประกอบเสริมสร้างกันให้คงอยู่ได้เป็น ชีวิต ธุรกิจไม่อาจที่จะขาดสิ่งไดสิ่งหนึ่งได้ ความสามารถของผู้บริหาร คือ ปัจจัยสำคัญยิ่งยวดในการกำหนดกระบวนการให้ชีวิตธุรกิจดำเนินไปได้ดีเลวมากน้อย แค่ไหน อย่างไรในการก้าวมาเป็นนักบริหาร สิ่งที่ต้องรับผิดชอบคือ ทำอย่างไร จึงจะสามารถเป็น ผู้นำความสำเร็จมาสู่งานที่ได้รับมอบหมาย และส่งผลโดยรวมให้เกิดความสำเร็จขององค์กรร่วมกับผู้อื่น 

           การต้องเป็น ผู้นำจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ คงไม่มีผู้บริหารคนไดที่ก้าวขึ้นมาเพราะถูกบังคับ มันเป็นความปรารถนาสูงสุดของทุกผู้คนที่เล่าเรียนจบมาที่อยากจะเป็น นั่นหมายถึงเกียรติยศ ความภูมิใจความมั่นคงแห่งตน และครอบครัว แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะมีโอกาสเช่นนี้ บางคนแม้มีโอกาส ก็ไม่อาจรักษาตำแหน่งเอาไว้ได้ อะไรคือปัจจัย เป็นคำถามที่มีคำตอบในแต่ละคนไม่เหมือนกัน      การบริหาร(Management)          คือกระบวนการคิด วางแผน จัดการ และควบคุม การใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และบรรลุ ถึงเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งต้องอาศัยทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ในการจัดการ ผู้บริหารจึงมีความแตกต่างกัน ในความสามารถ ขึ้นกับกระบวนทัศน์ ความรู้ ความสามารถและความมุ่งมั่นของเขา
     การบริหาร เป็น ศาสตร์ส่วนภาวะผู้นำ เป็น ศิลป์ผู้บริหารที่จะประสพความสำเร็จได้ต้องประกอบด้วย ความรู้ในการบริหาร และมีภาวะผู้นำ ผู้ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารจำเป็นต้องศึกษาวิชาการบริหารให้ถ่องแท้ และเข้าใจ หาไม่เช่นนั้นแล้วไม่อาจจัดการกับกระบวนการให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ ส่วนความเป็นผู้นำ แม้ว่าจะมีผู้เขียนตำรามากมายให้เราสามารถศึกษารวมทั้งเรียนรู้ได้จากตัวอย่างความเป็นผู้นำ ของบุคคลสำคัญที่ประสพความสำเร็จในอดีต แต่อย่างไรก็ตามการที่บุคคลหนึ่งจะซึมซับและมีภาวะผู้นำได้มักขึ้นมักขึ้นกับการได้รับการปลูกฝังและอบรมมาตั้งแต่ชีวิตในวัยเด็ก และเกิดการสั่งสมเรียนรู้ในการเป็นผู้นำ การเรียนรู้ใดๆสำหรับเขาต่อมาเป็นเพียงการตอกย้ำ และพลิกแพลง เพิ่มเติมความสามารถให้กับเขาเท่านั้นเอง ดังนั้น ผู้บริหารในองค์กรจะมีให้เห็นมากมาย แต่ภาวะผู้นำจะหาพบได้น้อยมากใน แต่ละองค์กร ส่วนมากเป็นผู้นำโดยการแต่งตั้ง อาศัยความเป็นเครือญาติ เพื่อนฝูง คนสนิท บุญคุณต้องทดแทน หากคนเหล่านั้นไม่ปรับตัว อาจทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพในการบริการจัดการ ซึ่งถือเป็นต้นทุน (Operational Cost) ขององค์กรที่สูญเสียไปไม่ใช่น้อยทั้งเกิดจากความผิดพลาด(Cost Of Defect)และ สูญเสียโอกาสที่จะได้(Opportunity Cost)   ผู้นำเมื่ออาสาตนเข้ามานำผู้อื่น ย่อมต้องอยากเห็นความสำเร็จทุกๆเรื่องภายใต้การบริหารของตน สิ่งที่หวังไว้ต้องเริ่มต้นจากการมีวิสัยทัศน์แห่งตน (Personal Vision)ก่อน และได้วางเป้าหมายในเรื่องงานและชีวิตส่วนตัวไว้อย่างไรบ้างและควรไปให้ถึง           มนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนมี ความอยากเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้มนุษย์แสวงหาไม่หยุดนิ่ง หาก ความอยากนั้นเป็นไปในทางที่ดี เรียกว่ามีความใฝ่ดี(Creative Tension) ซึ่งทางพุทธ เรียกว่า ฉันทะใน อิทธิบาท 4 ซึ่ง เป็นธรรมมะของผู้ใฝ่ความสำเร็จ ได้แก่ ฉันทะ(คือพึงพอใจ ความอยากได้ อยากเห็น อยากเป็น อยากมีในทางที่ดี มีแล้วเกิดความสุข ปิติโสมนัส) วิริยะ (คือความเพียรพยายามให้ได้มา ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค) จิตตะ (คือการมุ่งมั่นจดจ่อในการกระทำก่อให้เกิดสมาธิปัญญา) วิมังสา (คือความใคร่ครวญรอบคอบ ไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งที่กระทำ)    แต่ถ้าหาก ความอยากนั้นเป็นไปในทางที่ไม่ดี คือความใฝ่ต่ำเพื่อตอบสนองอารมณ์(Structural Conflict) ซึ่งทางพุทธเรียกว่า ตัณหาซึ่งมีตัวกิเลสเป็นแกนนำ และมีตัวอุปทานคอยส่งเสริมยึดติดไม่ให้หลุดพ้น ทั้ง ความใฝ่ดีและ ความใฝ่ต่ำล้วนมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนต่อสู้กันอยู่ แล้วแต่ว่าส่วนไหนจะเอาชนะได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสภาพชีวิตที่เป็นอยู่จริง(Current Reality)ของคนๆนั้น 
หากผู้นำที่มาบริหารงานมีความต้องการ แต่ไม่มีเป้าหมาย ก็ไม่ต่างจากการเดินทางไปเพราะอยากเดิน แต่ไร้ทิศทาง ไม่รู้ว่าจะมุ่งสู่ที่ใด
และหากเป้าหมายเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์ ทางดี ย่อมจะมีโอกาสประสพความสำเร็จที่ยืนยาวได้  ทั้งนี้ความสำเร็จยังต้องอาศัยความเพียร มุ่งมั่น มีสติรู้เท่าทัน และมีปัญญาในการคิดใคร่ครวญแก้ปัญหารวมถึงการลงมือที่จริงจัง   มีคำกล่าวไว้ว่า องค์กรไหนมีผู้นำที่ฉลาดรอบรู้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่มุ่งมั่นขยันจะมีกำลังใจต่อสู้ ส่วนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขี้เกียจไม่ได้เรื่องจะอยู่อย่างหวาดระแวง หากองค์กรไหนมีผู้นำที่โง่เขลาเบาปัญญา ผู้ใต้บังคับบัญชาที่มุ่งมั่นขยัน จะอึดอัดและท้อแท้ ส่วนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขี้เกียจไม่ได้เรื่องจะเริงร่าสบายใจ