Monthly Archives: September 2010

นิทาน หญิงสาวกับคำพูด

มาคราวนี้ดิฉันมีนิทาน เรื่อง หญิงสาวกับคำพูด   มาเล่าให้ฟัง

หญิงสาวคนหนึ่งมีฐานะร่ำรวยที่สุดในหมู่บ้าน นางจึงชอบพูดจาดูถูกคนอื่นอยู่เสมอ รวมทั้งไม่เคยมีน้ำใจให้กับใคร แล้วยังคิดว่าข้าวของทุกสิ่งที่ตัวเองมีนั้น ล้วนดีกว่าของคนอื่นๆ
ไม่มีใครจะมีอะไรที่ดีไปกว่านาง คนในหมู่บ้านจึงไม่ชอบนาง หรืออยากจะคบหาพูดคุยด้วย…“ดีเหมือนกัน ฉันก็ไม่อยากจะพูดคุยกับคนพวกนี้เท่าไหร่ นางบอกกับตัวเองวันหนึ่งในฤดูหนาว บ้านของนางถูกไฟไหม้ ข้าวของเงินทองเสียหายเกือบหมด กลายเป็นคนยากจน ไม่มีแม้แต่หม้อจะหุงข้าว นางได้เดินไปยังบ้านหญิงชราที่อยู่ไม่ไกลนักบ้านฉันถูกไฟไหม้ ฉันพอมีข้าวสารเหลืออยู่บ้าง อยากขอยืมหม้อหุงข้าวสักหน่อย จะได้ไหม?” หญิงชราเจ้าของบ้านจึงตอบไปว่าจำได้ไหม นางเคยบอกว่า กระโถนที่บ้านนางยังดีกว่าหม้อหุงข้าวบ้านฉัน เพราะฉะนั้นอย่าเอาไปเลยนะ แต่ฉันจะแบ่งข้าวให้กินบ้างก็แล้ว กัน” หญิงสาวยื่นมือไปรับห่อข้าวจากหญิงชราด้วยความรู้สึกละอายใจ พร้อมคำพูดเบาๆ ว่าขอบใจจ้ะ”   ตกดึกลมหนาวพัดแรง นางนอนตัวสั่นเพราะความหนาว ไม่มีผ้าห่มสักผืนที่จะคลุมกาย รุ่งเช้านางจึงเดินฝ่าลมหนาวไปหาชายชราคนหนึ่งที่อยู่ถัดจากบ้านหญิงชราไปบ้านฉันถูกไฟไหม้ เสื้อผ้าผ้าห่มไม่มีเหลือเลย ลุงพอมีจะมีผ้าห่มให้ฉันสักผืนไหม?”
ชายชราได้ฟังเช่นนั้นจึงเอ่ยขึ้นว่า.......ข้ามีแต่ผ้าห่มเก่าๆที่นางเคยบอกว่าเหมือนผ้าขี้ริ้วบ้านนาง แต่ถ้าไม่รังเกียจ ข้าก็จะแบ่งให้ใช้”       เมื่อหญิงสาวบอกว่าไม่รังเกียจ ชายชราจึงนำผ้าห่มผืนเก่าที่ซักไว้สะอาดมามอบให้ผืนหนึ่ง “ขอบใจนะจ๊ะหญิงสาวรับผ้าห่มจากชายชราด้วยความรู้สึกละอายใจเช่นกัน
คืนนั้น ผ้าห่มเก่าๆก็ช่วยให้นางพอคลายหนาวได้
นางนอนครุ่นคิดถึงคำพูดและการกระทำที่ผ่านมาของตัวเอง แล้วก็ร้องไห้ด้วยความเสียใจ “ของที่ดีไม่อาจช่วยอะไรเราได้ คนดีต่างหากที่ได้ช่วยเรา และสิ่งที่ทุกคนมีดีกว่าเราก็คือ น้ำใจ
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นางก็ตั้งหน้าตั้งตาทำมาค้าขายกอบกู้ฐานะ จนกลับมาร่ำรวยอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้นางได้กลับตัวเป็นคนใหม่ที่มีน้ำใจเอื้ออารี และไม่พูดจาดูถูกใครอีก เลย นางจึงเป็นที่รักของคนในหมู่บ้านตลอดมา ……. คำพูดที่พูดออกไปนั้นย่อมก่อให้เกิดผลดีและไม่ดีต่อตนเองและต่อบุคคลอื่น
สามารถที่จะให้คุณและให้โทษได้ วาจาที่สุภาพ อ่อนน้อม ไม่ส่อเสียด หรือดูถูกดูหมิ่นย่อมเป็นมงคล ยังประโยชน์ตนให้สำเร็จ

การจัดการความรู้ (Knowledge management - KM)

สัปดาห์นี้ดิฉันขอนำเนื้อหาสาระของการจัดการความรู้ มาเล่าสู่กันฟังนะค่ะ เหตุเนื่องจากในวันที่ 28 กันยายนที่ผ่าน ดิฉันได้รับการคัดเลือกในการเป็นผู้รับรางวัลที่ 1 ในการประกวด KM Blog ของศูนย์การจัดการความรู้ มทร.พระนคร โดยมีท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้มอบรางวัล นำความภูมิใจและดีใจให้แก่ดิฉันเป็นอย่างยิ่ง ท่านผู้ค่ะในสัปดาห์นี้ดิฉันจึงขอนำความรู้ด้านKM มาถ่ายทอดให้ฟังค่ะ  การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่ โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์ รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น

   ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy – KBE) งานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ความรู้มาสร้างผลผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้เป็นคำกว้างๆ ที่มีความหมายครอบคลุมเทคนิค กลไกต่างๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนให้การทำงานของแรงงานความรู้ (Knowledge Worker) มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลไกดังกล่าวได้แก่ การรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน การสร้างบรรยากาศให้คนคิดค้น เรียนรู้ สร้างความรู้ใหม่ๆ ขึ้น การจัดระเบียบความรู้ในเอกสาร และทำสมุดหน้าเหลืองรวบรวมรายชื่อผู้มีความรู้ในด้านต่างๆ และที่สำคัญที่สุด คือการสร้างช่องทาง และเงื่อนไขให้คนเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เพื่อนำไปใช้พัฒนางานของตนให้สัมฤทธิ์ผล

ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge)

ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)  คือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา เวปไซด์ Blog ฯลฯ ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และกัน

ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก เช่น วิจารณญาณ ความลับทางการค้า วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ การเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการชิมรสไวน์ หรือกระทั่งทักษะในการสังเกตเปลวควันจากปล่องโรงงานว่ามีปัญหาในกระบวนการผลิตหรือไม่

ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมายและความสามารถขององค์กร  ความรู้ยิ่งมีลักษณะไม่ชัดแจ้งมากเท่าไร การถ่ายโอนความรู้ยิ่งกระทำได้ยากเท่านั้น ดังนั้นบางคนจึงเรียกความรู้ประเภทนี้ว่าเป็นความรู้แบบเหนียว (Sticky Knowledge) หรือความรู้แบบฝังอยู่ภายใน (Embedded Knowledge) ส่วนความรู้แบบชัดแจ้งมีการถ่ายโอนและแบ่งปันง่าย จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ความรู้แบบรั่วไหลได้ง่าย ความสัมพันธ์ของความรู้ทั้งสองประเภทเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน (Mutually Constituted) เนื่องจากความรู้แบบฝังลึก เป็นส่วนประกอบของความรู้ทั้งหมด และสามารถแปลงให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้งโดยการสื่อสารด้วยคำพูด

กว่า 10 ปีมาแล้วที่ Ikujiro Nonaka ปรมาจารย์และผู้บุกเบิกแนวคิดเรื่องการจัดการความรู้กล่าวถึงความสำคัญของความรู้ว่าเป็นความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนที่สุด โดยเฉพาะโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Based Economy) ที่อาศัยการสร้าง การกระจาย และการใช้ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เกิดการเติบโต สร้างความมั่งคั่งและสร้างงานในอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ ดร.บุญดี บุญญากิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ กล่าวว่าการที่องค์กรจะอยู่รอดในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ได้นั้น จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจจากการแข่งขันในเชิงขนาด (Scale-based competition) เป็นการแข่งขันที่ใช้ความเร็ว (Speed-based competition) อีกทั้งยังต้องสร้างความได้เปรียบ ด้านการผลิตโดยอาศัยสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible assets) เช่น ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ เทคโนโลยี มากขึ้นกว่าการใช้สินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible assets) เช่น อาคาร สถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ ทั้งยังต้องใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative-based) มากกว่าการใช้ทุน (Capital-based) และให้ความสำคัญกับลูกค้ามากกว่าการมุ่งเน้นที่การผลิต

ความรู้เป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีขีดจำกัด ยิ่งใช้มากเท่าไรก็ยิ่งมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งนิ่งองค์กรมีความรู้มากเท่าไร ก็ยิ่งสามารถเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น เมื่อเรียนรู้ได้มากขึ้นก็สร้างความรู้ใหม่ได้มากขึ้น เมื่อนำความรู้เก่ามาบูรณาการกับความรู้ใหม่ก็จะก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ขึ้นอีก และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น จึงกลายเป็นวงจรที่เพิ่มพูนได้ในตัวเองอย่างไม่สิ้นสุด ที่เรียกว่าวงจรการเรียนรู้นั่นเอง การที่องค์กรจะสร้างและรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันได้นั้น ขึ้นกับความสามารถขององค์กรในการทำให้วงจรการเรียนรู้ที่กล่าวข้างต้นหมุนได้รวดเร็วและต่อเนื่อง เกิดขึ้นเมื่อองค์กรมีกระบวนการที่เป็นระบบในการค้นหา สร้าง รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ ถ่ายทอด แบ่งปัน และใช้ความรู้นั้น กระบวนการที่ว่านี้คือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)” อย่างไรก็ตามโลกยุคปัจจุบันเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านต่างๆ จำเป็นต้องมีกระบวนการที่เป็นระบบ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถทำให้บุคลากรได้ใช้ความรู้ที่ต้องการ ได้ทันเวลาที่ต้องการองค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้คือ คน เทคโนโลยี และกระบวนการความรู้ (Knowledge process) โดย คนถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นแหล่งความรู้และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น ส่วน กระบวนการความรู้นั้นเป็นการบริหารจัดการเพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงและสร้างนวัตกรรม องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล จากการสำรวจความสนใจของผู้บริหารระดับสูงหลายองค์กรในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1998 พบว่า การจัดการความรู้เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับ 2 รองจากเรื่องโลกาภิวัตน์ และในปีเดียวกัน จากการสำรวจผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจในกลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกา โดย The Cap Germini Ernst & Young เกี่ยวกับประโยชน์และความสำคัญของการจัดการความรู้ พบว่ากว่าร้อยละ 80 เห็นว่าการจัดการความรู้ ช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขณะที่การพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ขององค์กรและพนักงาน เป็นประโยชน์ที่มีผู้เห็นด้วยรองลงมา

ก่อนจากกันในวันนี้  เช่นเคยนะค่ะ ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

ความพยายามครั้งที่ 100  ดีกว่าคิดท้อถอย  ก่อนที่จะทํา

 

 

 

 

นิทาน เศรษฐีปวดหัว

ท่านผู้อ่านค่ะ คราวนี้ดิฉันมีนิทาน เรื่อง  เศรษฐีปวดหัว   มาเล่าให้ฟังดังนี้ค่ะ

               เศรษฐีนั้นปวดหัวบ่อยๆ  เป็นทุกข์มาก  ประกาศใครรักษาได้  จะยกสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง  ใครๆ  ก็มารักษา  ให้ยากิน  แต่ก็ได้แต่รักษาอาการ  เศรษฐีวันๆ  ก็มีแต่โมโหโกรธคนโน่นคนนี้อยู่ทุกวัน  วันหนึ่งฤาษีได้มาบอกวิธีรักษาให้  เศรษฐีจะต้องมองสีเขียวอย่างเดียว  อาการปวดหัวก็จะหาย  เศรษฐีจึงมองไปรอบตัว  เห็นสีเขียวน้อยไป  ก็เลยสั่งให้ทาสีทั้งหมู่บ้าน  แจกเงินไปซื้อเสื้อผ้าสีเขียวมาใส่ให้หมดทั้งหมู่บ้านจึงมีแต่สีเขียวเต็มไปหมด  หากเราเคยไปโรงพยาบาลโรคจิต  เขาจะทาสีเขียว ไม่ทาสีแดง  สีเขียวอ่อนจะทำให้ใจสงบ  เศรษฐีเริ่มใจสงบ  เพราะชาวบ้านยิ้มแย้ม  และตัวเองเริ่มเป็นผู้ให้ทาน    ฤาษีกลับมาที่หมู่บ้าน  เห็นชาวบ้านทาสีเขียวแถมยังจะวิ่งไล่จับฤาษี  มาเอาสีเขียวมาทาเครื่องนุ่งห่มฤาษีวิ่งไปหาเศรษฐี  ต่อว่าเศรษฐีว่า  ทำไมจึงต้องทาสีเขียวทั้งหมู่บ้าน  ทำไมไม่สวมแว่นสีเขียวแทน       นิทานเรื่องนี้  บอกให้ทราบว่า  บางครั้งเราไปชี้ที่คนอื่นๆ   ว่าทำให้เรามีความสุข  และทำให้เรามีทุกข์เช่นกัน  หากเราคิดไปแก้ที่คนอื่น  เราก็แก้ไม่ไหว  ต้องแก้ที่ทุกๆ  คนเราต้องมาแก้ที่ตัวเราเอง  เราชอบโทษคนอื่นว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เราเป็นทุกข์  แล้วเราก็แก้ทุกข์ไม่ได้ลองพิจารณาดู  เวลาเราชี้นิ้วไปที่คนอื่น  มี  3  นิ้ว  ที่ชี้มาที่ตัวเรา  มีเพียงนิ้วชี้เพียงนิ้วเดียวเท่านั้นที่ชี้ไปที่คนอื่น          การที่เราต้องการให้ลูกน้องสงบ  เราต้องสงบยิ้มแย้ม  เขาก็กล้ามาหา  หากเราดุ  ก็มีแต่คนหนีเด็กๆ  เล็กๆ  ก็ยังวิ่งมาหา  หากเราเด็ดขาด  ดุ  คนรอบตัวก็จะหนีหมด

ข้อคิดในการทำงาน 12 ข้อของท่านว.วชิรเมธี

วันนี้ดิฉันนำข้อคิดในการทำงาน 12 ข้อของท่านว.วชิรเมธี มาเล่าให้ฟัง ซึ่งมีข้อต่างๆดังนี้ค่ะ

 1. มนุษย์สัมพันธ์:   ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เพื่อนๆที่ทำงานไม่ชอบ ไม่อยากคุยด้วย หรือ เข้ากับเพื่อนในที่ทำงานไม่ได้เลย คงต้องถึงเวลาพิจารณา และ ปรับปรุง ทักษะด้านสัมพันธ์กันเร่งด่วนแล้วละคะ อย่ามัวแต่หลอกตัวเองว่า เราดีแล้ว เป็นไปไม่ได้หรอกเพราะถ้าเราดีจริงแล้วเราจะไม่มีเพื่อนเอาเลยหรือคะ มนุษย์สัมพันธ์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก คุณไม่มีทางประสบความสำเร็จได้ ถ้ามนุษย์สัมพันธ์คุณแย่มากๆ ต่อให้คุณเก่งแค่ไหนก็ตาม มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และ แน่นอนคุณเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องติดต่อกับคนอื่นและถ้าคนในองค์กรคุณยังไม่สามารถทำได้ดี ก็คงลำบากถ้าจะให้หัวหน้าคุณเห็นว่า คุณจะสามารถทำได้ดีกับคนภายนอกองค์กร เพราะฉะนั้น เรามาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆ ในองค์กรกันก่อนดีกว่านะคะ

2. ทีม: คุณทำงานเป็นทีมได้หรือเปล่า เคยสังเกตตัวเองไหมคะว่า คุณทำงานเป็นทีมได้ดีแค่ไหน หรือว่า ต้องทำงานคนเดียวถึงจะดี ในอนาคต การทำงานจะเน้นบุคคลที่ทำงานเป็นทีมได้ดีมากกว่าคนที่ชอบทำงานคนเดียว คุณทราบหรือไม่ว่า ในขณะนี้ทุกมหาวิทยาลัยในอเมริกา มีคอร์สฝึกสอนการทำงานเป็นทีมเพื่อรองรับความต้องการตลาดแรงงานในอนาคต ทำไมต้องเน้นเป็นทีมนะหรือคะ? ก็ต่อไปโลกเราก็จะแคบลงเพราะการพัฒนาในด้านต่างๆมีมากขึ้น การทำงานก็ต้องเป็นทีมมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นผู้มีทักษะในการทำงานเป็นทีม และ เป็นผู้ร่วมทีมที่ดีจะเป็นข้อจำเป็นในการทำงานทุกที่

          3. Committed: หรือ ข้อตกลงในการทำงานระหว่างคุณกันคนอื่นๆไงคะ นึกไว้เสมอเลยนะคะว่า อะไรที่คุณรับปากกับใครก็แล้วแต่ คุณต้องรับผิดชอบ และ ทำให้ได้ตามที่รับปาก ถ้าไม่ได้ หรือว่าล่าช้ากว่าที่เรารับปาก คุณต้องแจ้งล่วงหน้าให้แก่บุคคลที่คุณรับปากอย่างน้อยสองหรือสามวัน อันนี้เป็นมารยาททางการทำงานที่ดี เพราะฉะนั้นก่อนที่คุณจะรับปากใครในเรื่องของการทำงาน คิดให้รอบคอบก่อนนะคะ

          4. ฉันเป็นฉันเอง: ประเภทสาวมั่น หนุ่มมั่น ที่เราอาจจะเห็นจากทีวี หรือ ภาพยนตร์ ถ้าจะนำมาใช้คุณต้องดูเวลา และ สถานที่ให้ดีก่อนนะคะ ไม่งั้นแทนที่จะช่วยเสริมให้คุณดูดี มีภาพพจน์ กลับจะทำลายอนาคต ทางการทำงานของคุณไปเลย หลักการที่ดี ก็คือ ดูบุคคลที่เราติดต่อด้วย และ จะมั่นใจอะไร ก็ควรกระทำอย่างพอดี และเราจะเป็นที่ชื่นชมว่าเป็นคนมีมารยาท และประสบความสำเร็จในการติดต่อทางธุรกิจ

          ในความเป็นจริงการติดต่อธุรกิจ คุณไม่สมควรใช้เหตุผลของสาวมั่นหรือหนุ่มมั่นมาใช้มากกว่าการเป็นคนเรียบร้อยมีมารยาท เพราะฉะนั้นข้อนี้ต้องระวังให้ดีนะคะ ใช้ให้ถูกที่ และ ถูกเวลา

          5. ขออยู่เงียบๆคนเดียว: ข้อนี้สำคัญมาก อย่าพยายามทำตัวไม่แคร์ใคร ไม่รู้จักใคร เพราะสุดท้ายคุณจะเวียนไปหัวข้อแรก และ แน่นอน คุณจะเป็นคนแรกที่ทุกคนลืม อย่าเป็นคนที่เครียดง่าย สนุกยาก ใครๆเข้าหายาก คงจะดีกว่า ถ้าคุณจะทำตัวเป็นคนที่ยิ้มง่าย และ เป็นมิตรกับทุกคน เวลาเศร้า เก็บไว้กับคนสนิท และรู้ใจดีกว่านะคะ

          6. ธุระส่วนตัว: ธุระทุกประเภทที่เป็นส่วนตัวของคุณ คุณอย่าใช้เวลาทำงานมาทำเป็นอันขาดเชียวนะคะ จำไว้เลยนะคะ เบอร์โทรศัพท์เอาไว้ให้เฉพาะลูกค้าที่จะโทรติดต่อเรื่องงาน อย่าให้เบอร์ที่ทำงานกับเพื่อนหรือแฟน แล้วก็คุยกันนอกเรื่องกันเป็นวันๆ รับรองได้ว่า อนาคตทางการงานของคุณคงจะไม่รุ่งแน่นอน เพื่อให้ประสบความสำเร็จทางการทำงานบางท่านถึงกับตั้งกฎไว้กับตัวเองเลยก็มีว่า ในชั่วโมงการทำงาน เขาจะไม่ทำอะไรที่ไม่ใช่งาน เช่น ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่คุยโทรศัพท์ส่วนตัว ไม่ไปธนาคาร สำหรับธุระส่วนตัวก็จะใช้เวลาที่ไม่ใช่เวลางานเท่านั้น

          7. ความรัก: ไม่ได้เด็ดขาดสำหรับความคิดที่จะมีความรักในที่ทำงานเดียวกัน จริงๆคุณก็ทำได้ แต่รับรองได้ว่า มันจะทำลายอนาคตการทำงานของคุณ เพราะทุกคนจะมองเหมือนจับผิดว่าคุณใช้เวลาในการทำงาน มาสร้างตำนานรักมากกว่า อย่าเสี่ยงจะดีกว่านะคะ

          8. เป้าหมาย: เป้าหมาย และ เป้าหมาย เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับเจ้านายของคุณ ถ้าคุณทำงานแบบมีเป้าหมายว่า งานแต่ละอย่างที่อยู่ในความรับผิดชอบของคุณมีแผนการเสร็จเมื่อไหร่ คุณมีเป้าหมายในการทำงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จตามที่หัวหน้า หรือ บริษัทตั้งเป้า ถึงคุณจะทำไม่ได้จริง [แต่คุณต้องพยายามเต็มที่แล้วนะ] รับรองได้ว่า หัวหน้าคุณคงมองคุณแบบไม่ธรรมดา และจะเป็นโอกาสที่ดีของคุณในการทำตัวให้น่าเชื่อถือ แต่ระวังอย่าใช้เป้าหมายมาพูดและทำไม่เคยได้เลย เพราะจะกลายเป็นการคุยอวดมากกว่า

          9. บุคลิก: สุภาษิตที่ว่า ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง ยังคงใช้ได้ดีเสมอ บุคลิก และ การแต่งกาย เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่จะช่วยกำหนดความสำเร็จทางการทำงานของคุณ อย่าพยายามแต่งกายมากเกินไป หรือ น้อยเกินไป และที่สำคัญ อย่าแต่งกาย แบบที่ไม่ใช่คุณ คุณอาจจะเห็นดารา นางแบบ ใส่เสื้อตัวหนึ่งสวย แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะสวยเหมือนนางแบบถ้าคุณเอามาใส่  การแต่งกายที่ดี สำหรับการทำงาน ก็คือ สุภาพ และ โชว์บุคลิกเฉพาะของคุณออกมา

          ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่า แต่งกายแบบไหนเหมาะกับคุณ ขอแนะนำให้ถามคนที่คุณสนิท และจริงใจกับคุณ คุณก็จะได้แนวการแต่งกายที่เหมาะกับคุณ หรือถ้ามีตังค์ก็อยากแนะนำให้หาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ แต่ก็ต้องระวังนะคะ หลายสถาบันสอนบุคลิกภาพ ชอบสอนให้แต่งตัวแบบเหมือนๆกันหมด จนบังความมีเสน่ห์ของคุณไปเลยก็ได้ ดีไม่ดีกลายเป็นหุ่นยนต์รุ่นต่างๆที่เราเห็นก็ทราบทันทีว่าไปเข้าสถาบันสอนบุคลิกภาพที่ไหนมา ทางที่ดีต้องปรึกษาหลายคนๆก่อนตัดสินใจนะคะ

          10. หัวหน้า: หัวหน้าก็คือหัวหน้า อันนี้คุณต้องระวังอย่างมาก อย่าทำตัวสนิทกับหัวหน้า จนคุณเผลอ ทำตัวไม่เคารพ หรือ เผลอเล่นจนเกินงาม สำหรับหัวหน้า สิ่งที่ดีและ เป็นประโยชน์กับคุณมากที่สุด ก็คือ การให้เกียรติ และ แน่นอน ทุกครั้งที่คุณอยู่กับหัวหน้า หน้าที่หลักของคุณคือ การทำให้หัวหน้าของคุณ ดูดี อยู่เสมอในสายตาผู้อื่น จะด้วยคำพูด การกระทำ คุณก็ไม่มีสิทธ์ทำให้หัวหน้าของคุณกลายเป็นตัวตลก เสียหน้า หรือ ดูไม่ดีในสายตาคนอื่น โดยเด็ดขาด

          11. นินทา: อย่าได้เผลอตัวไปอยู่ในกลุ่มของการนินทาใดๆในที่ทำงานโดยเด็ดขาด เพราะสุดท้ายคุณจะกลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด หรือดีไม่ดี กลายเป็นผู้เริ่มการนินทา โดยคุณไม่ได้ทำ ถ้าคุณต้องเจอภาวะการณ์คุยแบบไม่ได้ประโยชน์ หรือ การนินทาขึ้นมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทางออกที่ดีของคุณก็คือ อย่าพูดเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย โดยเด็ดขาด คุณทำได้แค่ นั่งฟัง โดยไม่ออกความคิด ให้บอกว่าไม่แน่ใจ หรือ ไม่รู้ หรือขอตัวออกจากวงสนทนา อ้างว่าไปห้องน้ำหรือมีธุระต้องทำ ที่นี้คุณก็ไม่เสียเพื่อน และ ก็ไม่เสียงานอีกต่างหาก

          12. สร้างสรรค์: หัวใจของความสำเร็จทางการทำงาน คือ ความคิดสร้างสรรค์ อย่าพยายามเป็นคน ใครว่าอะไร ฉันก็เห็นด้วยไปเสียทุกอย่าง คุณไม่จำเป็นต้องเถียง หรือ โต้แย้ง ถ้าคุณยังไม่มีข้อมูล หรือ ยังไม่กล้าพูด แต่ คุณต้องพยายามฝึกสมองของคุณให้คิดในแบบของคุณอยู่เสมอ ทุกการทำงานของคุณ คุณต้องพยายามคิดว่า คุณจะทำอะไรเพิ่มเติมให้งานที่ทำอยู่ปัจจุบัน ดีขึ้น สะดวกขึ้นกว่าเดิมได้ไหม หลักของการเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ง่ายๆ ก็คือ กล้าคิด คิดให้บ่อย คิดให้มาก และคุณก็จะเป็นคนคิดสร้างสรรค์

          ทั้งหมด 12 ข้อ เป็นสิ่งที่เราจะต้องระลึกอยู่เสมอในการทำงาน เพื่อส่งเสริมการทำงานของเราให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ทีนี้เราก็สามารถมั่นใจได้ว่า นอกจากเราจะเก่งงานที่รับผิดชอบ เรายังเก่งในการเป็นเพื่อน และ ผู้ทำงานที่ดีขององค์กรด้วย ก่อนจากกันในวันนี้ ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

  หากเดินตามรอยเท้าคนอื่น ก็ไม่มีวันมีรอยเท้าเป็นของตัวเอง

 

 

นิสัยและพฤติกรรมของผู้บริหาร บางอย่างส่งผลกับการทำงานโดยส่วนรวม

ท่านผู้อ่านทราบไหมค่ะว่า นิสัยและพฤติกรรมของผู้บริหาร บางอย่างส่งผลกับการทำงานโดยส่วนรวม หรือ มีผลกระทบกับพนักงานโดยตรง แต่ผู้บริหารส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยมองตนเองว่า ตัวเองมีความผิดพลาดในจุดไหนบ้าง หรือ อาจจะมองไม่เห็น ดังนั้น หากผู้บริหารฯ ได้รับรู้หรือ เข้าใจพฤติกรรมของตัวเอง ว่ามีผลอย่างไรกับการบริหารงานแล้ว ก็จะสามารถปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นได้ และช่วยให้ส่วนรวม องค์กร และ พนักงาน สามารถประสานงานกันได้ดียิ่งขึ้น...

ผู้บริหารบางคน ขาดความมั่นใจในตนเอง มักปล่อยให้ลูกน้องทำไปตามความเคยชิน หรือ สอบถามอะไรก็ไม่สามารถให้คำตอบอะไรได้เลย ผู้บริหารในกลุ่มนี้มักขึ้นมาจากการเป็นลูกน้องที่ดี เชื่อฟังหัวหน้างาน และ ทำงานตามคำสั่ง แต่เมื่อขึ้นมาเป็นผู้บริหารแล้ว พฤติกรรมดังกล่าว ก็ยังคงติดมา ทำให้ ลูกน้องที่มีผู้บริหารเช่นนี้ เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจไปด้วย วิธีแก้ของผู้บริหารที่ขาดความมั่นใจ ต้องแก้ไขโดยการหัดตัดสินใจ และ สั่งงานในสิ่งที่ตนเองมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือ ตนเองมีความรู้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะทำให้ผู้บริหารเกิดการแสวงหาความรู้เพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้มีความมั่นใจในการตัดสินใจและสั่งงานได้ถูกต้องมากขึ้น ทำให้ภาพรวมทั้ง องค์กร และ ตนเองดีขึ้นด้วยนะคะ

ผู้บริหารที่ทำงานทางด้านการบริหารมานาน จะมีความมั่นใจในตัวเองสูง จนมักไม่ค่อยฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ทำให้พลาดคำเสนอดีๆไป ผู้บริหารกลุ่มนี้ มักเป็นคนชอบใช้คำสั่ง โดยไม่ได้มองสภาพการณ์ในการทำงานจริงๆของลูกน้องสักเท่าไหร่ ลูกน้องที่ชอบทำตามคำสั่งจะชื่นชมเจ้านายกลุ่มนี้ แต่ลูกน้องที่มีความคิดสร้างสรรเป็นของตนเอง จะไม่ค่อยชอบ เพราะความคิดของเขาจะไม่ถูกเอามาปฏิบัติเลย ความมั่นใจในตนเองเป็นสิ่งที่ดี แต่การที่มั่นใจในตนเองมากไป ก็จะส่งผลเสียด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้บริหารกลุ่มนี้ จึงควรที่จะรับฟัง และ วิเคราะห์ความคิดเห็นของลูกน้องก่อนการตัดสินใจอะไรไป ต้องเริ่มคิดว่าทุกคนมีความคิดเห็นที่ดี ดังนั้น ต้องขอความคิดเห็นของลูกน้องบ่อยๆ และ วิเคราะห์หาเหตุผล เพื่อบอกให้ลูกน้องทราบว่า คุณคิดเช่นใด ความคิดของเขานั้นมีจุดเด่น จุดด้อยอย่างไร ผู้บริหารก็จะได้ใจของพนักงาน และ ได้แลกเปลี่ยนทัศนคติซึ่งกันและกัน ทำให้องค์กรโดยรวมมีความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น และ ทุกครั้งที่ลูกน้องเสนอความคิดเห็น ต้องใส่ใจในข้อคิดเห็นเหล่านั้นอย่างจริงใจทุกครั้งด้วยนะคะ

ผู้บริหารบางท่านจะจู้จี้ขี้บ่น บ่นได้ทุกอย่าง ต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้ เจ้าระเบียบก็เท่านั้น ลูกน้องบางคนก็ไม่ค่อยชอบ เลยทำงานร่วมกันได้ยาก การตามงานเป็นสิ่งที่ควรทำของผู้บริหารก็จริง แต่การที่ตามงานแล้ว งานไม่เป็นที่น่าพอใจ ก็บ่นๆๆๆๆ ถ้าไม่คิดมากก็อยู่ได้ แต่ถ้าคนคิดมากบางทีก็พาลลาออกเพราะเจ้านายจู้จี้ขี้บ่นก็มี
ผู้บริหารกลุ่มนี้ต้องไปฝึกจิตให้นิ่งเพิ่มมากขึ้นสักหน่อยนะคะ รู้จักปล่อยวาง และ เข้าใจเขาเข้าใจเรา

ผู้บริหารบางคน ชอบคุยโวว่าเขาประสบความสำเร็จอย่างนั้น อย่างนี้มา เป็นสมาชิกชมรมโน้น ชมรมนี้ ไปเล่นกลอฟกับคนนั้น คนนี้มา เพื่อนเป็นนักร้อง ดารา นักแสดง หรือแม้นแต่ การคุยว่าที่ทำงานเก่า ดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ผู้บริหารกลุ่มนี้ มักชอบคุย ชอบแอบอ้าง ซึ่งบางเรื่องเขาแค่เข้าไปเพียงเล็กน้อย หรือ มีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็เอามาคุยเป็นเรื่องเป็นราวได้ คนที่พูดยกยอตัวเองมากๆ ส่วนใหญ่ทำงานไม่ค่อยเก่ง เพราะสมองเอาไปใช้ในการคิดว่าตัวเองดีกว่าคนอื่นอย่างไร คนกลุ่มนี้มักเป็นคนที่มีปมด้อยในอดีต ต้องการความยอมรับจากสังคมหรือจากลูกน้อง หากปรับปรุงการพูดให้น้อยลง และ สร้างผลงานให้มากขึ้น ก็จะดีไม่น้อย ลูกน้องที่มีผู้บริหารอย่างนี้ ถ้าจับจุดได้ว่าเขาต้องการคนฟังสิ่งที่เขาพูด ก็จะก้าวหน้าได้เร็วเช่นกัน ผู้บริหารบางคนเป็นคนที่เสนองานเก่ง แต่อาจจะคิดไม่เก่ง เมื่อลูกน้องคิดขึ้นมาก็จะเอามาเป็นผลงานของตัวเอง ไม่เสนอหรือบอกให้ใครรู้ว่าจริงๆแล้ว ผลงานชิ้นนี้เป็นของลูกน้องคนนั้น คนนี้ เมื่อลูกน้องรู้เข้า ก็จะไม่เลื่อมใสอีก การเสนองานของผู้บริหาร ต้องเสนองานให้เป็น ต้องให้เครดิตกับลูกน้องที่เสนอผลงาน แต่ก็ต้องกำกับความรับผิดชอบของตนลงไป แค่นี้ ก็จะได้ผลงานทั้งสองฝ่าย ลูกน้องจะไม่ชอบเจ้านายที่ขโมยผลงาน แต่จะชอบเจ้านายที่สนับสนุนผลงานของเขามากกว่า แต่ถ้าผู้บริหารที่ไม่มีหัวคิดเอาเลย แล้วต้องการผลงานจริงๆ บางคนก็ใช้วิธีนี้ค่ะ... เจอเจ้านายที่จ้องแต่จะขโมยผลงาน ก็จะได้ลูกน้องที่ไม่เสนอผลงานเลย... แล้วองค์กรจะไปรอดไม๊เนี่ย...

ในวันนี้ ดิฉันขอฝากคำคม ไว้ว่า

                                              ความรีบร้อนมักนำความผิดพลาดมาให้เสมอ

 

นิทานเรื่อง ม้าและเจ้าของ

ทหารม้านายหนึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการสู้รบ
A HORSE SOLDIER took the utmost pains with his charger.
ตลอดสงคราม เขามองม้าเหมือนผู้ช่วยในทุกสภาวการณ์ที่ฉุกเฉินและให้อาหารอย่างระมัดระวังด้วยหญ้าแห้งและข้าวโพด As long as the war lasted, he looked on him as his fellow-helper in all emergencies and fed him carefully with hay and corn.
แต่เมื่อสงครามสิ้นสุด เขาให้ม้ากินเพียงแกลบและให้บรรทุกของหนักๆ เขาปฏิบัติต่อม้าเสมือนทาสที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำและไม่ดูแล
But when the war was over, he only allowed him chaff to eat and made him carry heavy loads of wood, subjecting him to much slavish drudgery and ill-treatment.

และเมื่อสงครามเกิดขึ้นอีก เสียงทรัมเปทดังขึ้นให้เขากลับมา ทหารจึงได้จัดเตรียมสัมภาระและขึ้นขี่บนหลังม้า แต่ม้าก็ล้มลง และกล่าวว่า
War was again proclaimed, however, and when the trumpet summoned him to his standard, the soldier put on his charger its military trappings, and mounted, being clad in his heavy coat of mail. The horse fell down straightway under the weight, no longer equal to the burden, and said to his master,

ท่านจะต้องเดินเท้าไปทำสงครามนะ เนื่องจากก่อนนี้ท่านได้ทำให้ฉันเปลี่ยนจากม้าเป็นลาไปแล้ว และท่านจะมาคาดหวังให้ฉันเปลี่ยนจากลาเป็นม้าในทันทีทันใดได้อย่างไร
"You must now go to the war on foot, for you have transformed me from a horse into a donkey; and how can you expect that I can again turn in a moment from a donkey to a horse?"

ผู้บริหารส่วนใหญ่มักคิดว่า ตัวเองเป็นศูนย์กลางของความคิด

ท่านผู้อ่านค่ะ คราวนี้ดิฉันมีบทความดีๆ ของคุณบุญชัย โชควัฒนา กรรมการอำนวยการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ได้เขียนไว้ใน คอลัมพ์ CEO Blogs ในหนังสือกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 31 สิงหาคม 2553 ว่า 

ผู้บริหารส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางความคิด ความสำเร็จของงานทั้งหมด ยิ่งมีประสบการณ์มาก  ยิ่งทำงานสำเร็จมามากเท่าไร  ยิ่งทำให้คิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จมากที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าผู้บริหารจะฉลาดและเก่งอย่างไร แต่หากขาดผู้บริหารมือรองลงไปหรือขาดทีมงานที่มีความสามารถ งานก็จะไม่ประสบความสำเร็จ  Teamwork จึงเป็นหัวใจสำคัญมากๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดก็ตาม ถ้าไปศึกษาดูบุคคลที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการงาน จะพบว่าแทบทุกคนจะมีลูกทีมที่เก่งและเข้มแข็ง ในทางตรงกันข้ามธุรกิจที่มีผู้บริหารที่เก่งอยู่คนเดียว หรือที่เราเรียกว่า One Man Show ธุรกิจนั้นอาจจะเจริญก้าวหน้าได้ระยะหนึ่งตราบเท่าที่ผู้บริหารท่านนั้นยังมีความสนใจอยู่   แต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริหารท่านนั้นเลิกความสนใจไปจากตรงนี้  เนื่องจากคิดว่าตนเองประสบความสำเร็จมากแล้ว ก็จะปล่อยปละละเลย ไม่สนใจ ดังนั้นปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ  ผู้บริหารระดับรองลงไปก็จะไม่สามารถต่อยอดธุรกิจให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ ซึ่งนี่คือเรื่องปกติของวงจรธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็นประจำ  ดังนั้นผู้นำต้องสำนึกอยู่เสมอว่าความสำเร็จของตนขึ้นอยู่กับลูกน้องทั้งนั้น ผู้นำที่ดีและฉลาดจะเอาใจใส่ดูแลลูกน้องให้เขามีความสุข พัฒนาทักษะ ให้ความรู้กับลูกน้อง และเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้ทำงานตามความคิดของเขาเองด้วย ผู้นำต้องสร้างแรงจูงใจและกำลังใจให้ทีมงานทุกคนพร้อมที่จะเดินทางไปในทิศทางเดียวกันเดียวกัน  และเมื่อเกิดปัญหาก็ต้องใช้หลักความร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมกันทำ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน นั่นคือปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ ความยั่งยืนของธุรกิจก็จะเกิดขึ้น  ถ้ามี Teamwork ที่ทำงานอย่างเข้มแข็ง จริงใจ สามัคคี และเสียสละ ธุรกิจก็จะยั่งยืนต่อไปได้ เพราะการขับเคลื่อนองค์กรต้องมาจากความร่วมมือผลักดันของทุกฝ่าย ของทุกคนจึงจะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  การทำงานเป็นทีมก็เปรียบเสมือนการเล่นกีฬา  ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล หรือตะกร้อ ที่จะต้องทำงานประสานกันเป็นทีม  ถ้าทีมไหนสามารถประสานการเล่นเป็นทีมได้ดีที่สุดเท่าใดโอกาสชนะก็มีมากเท่านั้น แต่ถ้าไม่มีการวางแผนหรือไม่มีการประสานงานกัน ชัยชนะก็จะไม่เกิด ในการทำงานก็เช่นเดียวกันไม่เคยปรากฏเลยว่า มีบริษัทใดสามารถประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจโดยปราศจากทีมงานที่ดี  ดังนั้นการทำงานเป็นทีมจึงหมายถึงการประสานงานที่ดี  และสามารถผสมกลมกลืนกันอย่างมีประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงานร่วมกัน  ตัวอย่างของเรื่อง นกเป็ดน้ำมาเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม ซึ่งทำให้เข้าใจ และเห็นภาพความสำคัญของการทำงานเป็นทีมได้อย่างชัดเจนมาก  โดยเนื้อหาในบทความไว้ว่า  ปกติทุกๆ ฤดูในยุโรป เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง นกเป็ดน้ำจะบินลงไปทางทิศใต้ ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่านกเป็ดน้ำบินเป็นรูปตัววีหัวกลับ การบินแบบนี้จะทำให้นกเป็ดน้ำตัวหลังไม่ต้องใช้แรงบินมากมายเหมือนการบินเดี่ยวๆ เพราะมีแรงดึงของตัวแรก และในแถวที่สอง ซึ่งการบินแบบนี้จะช่วยให้นกเป็ดน้ำบินได้ความเร็วเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับนกเป็ดน้ำที่บินตัวเดียว

และเมื่อบินไปซักพัก ตัวที่เป็นผู้นำจะเกิดความเหนื่อย ดังนั้นมันจึงบินไปต่อท้ายกลุ่ม และนกเป็ดน้ำในลำดับถัดมา จะบินขึ้นมาเพื่อนำกลุ่มนกเป็ดน้ำไปสู่จุดหมาย ขณะบิน ตัวที่เป็นผู้ตามจะส่งเสียงร้องเชียร์นกเป็ดน้ำผู้นำ เพื่อเป็นการให้กำลังใจ ทำให้ตัวผู้นำมีความเชื่อมั่น และบินนำกลุ่มของมันไปจนถึงจุดหมายได้

ลักษณะการบินเป็นกลุ่มของนกเป็ดน้ำก็คือ การทำงานเป็นทีม ซึ่งทุกคนในทีมจะต้องมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ทำในทิศทางเดียวกัน มีความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้กำลังใจกัน ทีมจึงจะไปถึงจุดหมายปลายทางได้ ดังนั้นองค์กรที่มีความเข้าใจในการทำงานเป็นทีมอย่างลึกซึ้งและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างจริงจัง ก็จะสามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล

 

การจะทำให้งานบรรลุผลสำเร็จ ต้องอาศัย "คน"

ท่านผู้อ่านค่ะ การจะทำให้งานต่าง ๆ บรรลุผลตามที่กำหนดไว้ ต้องอาศัย "คน" เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนระบบงานต่างๆ ผู้บริหารจึงต้องรู้จักวีธีบริหารคนเพื่อให้ องค์กรและ บุคลากรเติบโตไปพร้อมๆ กันอย่างมั่นคง  การ บริหารคนจึงเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของผู้บริหาร        ผู้บริหารบางคนเป็นนายประเภท หลงตนเองจึงบริหารลูกน้องให้เป็นบ่าวรับใช้คือ เขาจะไม่ต้องการให้ลูกน้องคิด หรือทำงานเก่งจนเกินไป เพราะถ้าเก่งจนเกินไปจะปกครองยาก ลูกน้องมีหน้าที่ทำงานตามสั่งเท่านั้น
        ถ้าลูกน้องคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยกับความคิดหรือวิธีการของตน ลูกน้องคนนั้นก็จะเป็น "หมาหัวเน่า" ที่นายจะไม่สนใจ เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ก็จะไม่กล้าสุงสิงกับลูกน้องคนนั้เพราะกลัวจะถูกมองไม่ดีไปด้วย        หากลูกน้องทนไม่ไหว ลาออก นายก็จะพูดกับคนอื่นๆ ว่าลูกน้องคนนั้นแย่มาก ไม่อดทนในการทำงาน ชอบเถียงและเกี่ยงงาน ทำงานที่ไหนก็ไม่เจริญ เวลาตามงานจากลูกน้องจะใจร้อน เร่ง "จะจิก" และ"จับผิด"มากกว่าจะเข้าไปรับรู้ปัญหา และช่วยแก้ไข   หากลูกน้อง (ที่ไม่เห็นด้วย) ทำงานไม่ได้ตามกำหนด ก็จะยิ่งถูกซ้ำเติม        ลูกน้องของนายประเภทนี้สมองจะฝ่อ เพราะไม่อยากคิดริเริ่มอะไร ให้นายสั่งดีกว่า เพราะหากผิดพลาดนายก็รับไป        ผู้บริหารประเภทนี้จึงมีแต่ลูกน้องที่ทำงานในเชิง "ประจบสอพลอ" "ยกยอ ปอปั้น" หรือทำงานตามสั่ง ประเภท "นายว่า ขี้ข้าพลอย" นายเสนอหรือคิดเรื่องใด โครงการใด ลูกน้องจะเห็นดีเห็นงามด้วยตลอด
ผู้บริหารก็จะหลงใหล และยิ่งหลงในอำนาจมากขึ้นไปอีกเพราะคิดว่าทำอะไรก็ถูกไปหมด        องค์กรไหนที่มีผู้บริหารประเภทนี้ นับวันก็จะยิ่งล้าหลัง เพราะไม่ส่งเสริมคนดี มีความสามารถ สุดท้ายจึงเหลือแต่พวกคิดไม่เป็นอยู่เต็มบริษัท

        ต่างกับองค์กรที่บริหารลูกน้องให้เป็น "เพื่อนร่วมงาน" ที่ดี มีประสิทธิภาพ ทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน มุ่งสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน        ผู้บริหารที่ดีจะมีวิธีการทำให้ลูกน้องปรับตัว ปรับความรู้สึกเป็นเพื่อนร่วมงาน ด้วยการประชุม อธิบาย ชี้แจง เป้าหมายของงานที่จะทำร่วมกัน จากนั้น ให้ลูกน้องทุกคนช่วยกันแสดงความคิดเห็นและหาวิธีการทำงาน เพื่อให้งานบรรลุผล        ยินดีรับฟังข้อเสนอต่าง ๆ น้อมรับคำตำหนิที่สร้างสรรค์ อธิบายถึงเหตุผลและรายละเอียดต่างๆ ว่า
ทำไมไม่เห็นด้วยกับวิธีการหรือแนวทางที่ลูกน้องนำเสนอ        สนใจสภาพความเป็นไป สภาพความเป็น
อยู่ อารมณ์ ความรู้สึกของลูกน้องแต่ละคน และจะพยายามเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือภายในขอบเขตที่พอจะช่วยได้ ขณะเดียวกัน เขาจะติดตามงานต่าง ๆ จากลูกน้อง หากคนใดทำงานติดขัดหรือทำไม่ได้ เขาจะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา ให้คำแนะนำ        กระตุ้นให้ลูกน้องกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าเปลี่ยนแปลงวิธีการคิด วิธีการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการทำงานที่กำหนดไว้ โดยจะยินดีรับฟังความคิดเห็นหรือวิธีการทำงานที่แตกต่างจากเขา        มีวิธีการพูดและติดตามงานในเชิงบวกมากกว่า "การจิก" หรือ "กัดไม่ปล่อย" หรือเพื่อการล้างแค้น เขาจะไม่ติดตามงานในเชิงดูถูกหรือ "จับผิด"        ผู้บริหารประเภทนี้ จะเป็นที่รัก เคารพ นับถือของลูกน้อง เพราะเขาจะทำให้ลูกน้องเกิดความรู้สึกว่า
"นาย" ของเขา แม้จะเป็นนายตามตำแหน่ง แต่เป็น "เพื่อนร่วมงาน" ในสำนักงานที่น่าเคารพยกย่องมากกว่าความเป็นนาย

        บ้านเมืองของเราเลิกปกครองคนแบบนายกับบ่าว เจ้ากับข้ามาตั้งนานนมแล้ว เมื่อโลกเปลี่ยน ความ
คิดและวิธีการทำงานของคนทำงานก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย "การบริหารคน" ภายใต้การบังคับบัญชาจึงเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ที่บริหารลูกน้องให้เป็น "เพื่อนร่วมงาน" จึงเป็นนักบริหารคุณภาพตัวจริงที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
ในวันนี้ ดิฉันขอฝากคำคมของ มล.จิตติ นพวงศ์ ไว้ว่า

หากใจคิดว่าทำไม่ได้  แค่เอื้อมมือไปเด็ดใบไม้สักใบก็ยังยาก

หากแต่ใจคิดว่าทำได้  แม้งานขุดเขา  ถมทะเลที่แสนยาก

ก็จะทำให้สำเร็จให้จงได้ "

 

นิทาน ลาโง่กับไม้เรียว

ดิฉันมีเรื่อง Carrot & Stick หรือชื่อภาษาไทยว่า ลาโง่กับไม้เรียว  ซึ่งเป็นทฤษฏีแรงจูงใจที่เรียบง่ายแต่อมตะ ศาสตร์และศิลป์ของการบริหารจัดการแบบ      มาเล่าให้ฟัง         ชาวนาคนหนึ่งต้องพาลาไปทำงาน ถามว่าจะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้ลาตัวนั้นเดินไปข้างหน้า

มีคำตอบในเรื่องนี้อยู่2แนวทาง
1 ใช้ไม้เรียวตี ( Stick)
เมื่อลาถูกตีย่อมเดินไปข้างหน้า แต่ถ้าหยุดตีเมื่อไรลาตัวนั้นก็หยุดต้องตีต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงที่หมาย ( Goal)

2 ใช้ไม้ยาวๆผูกแครอท ( Carrot ) ล่อไว้ที่หน้าของลา เมื่อลาอยากได้แครอทก็จะเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆเช่นกัน

เรื่องนี้มีนัยอย่างไรในการบริหารจัดการ เราคงเดาได้ว่าไม้เรียวคือสิ่งที่ลาไม่ชอบ เปรียบเสมือนการลงโทษ คำตำหนิ คำขู่ต่างๆ เมื่อลาถูกลงโทษก็จะทำงานไปเรื่อยๆ เมื่อไรที่ไม่มีการลงโทษก็จะหยุด

ทางจิตวิทยาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เป็นการเสริมแรงทางลบ ปัญหาคือลาจะทำงานก็ต่อเมื่อมีแรงกระตุ้นที่พอดีแต่ถ้ากระตุ้นมากไปอาจโดนลาเตะเอาได้!!   ถ้าเช่นนั้นการใช้แครอทดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่มีข้อ

ควร คำนึงไว้บางประการเกี่ยวกับการใช้แครอทดังนี้

1.แครอทต้องมีขนาดพอดีเพื่อล่อให้ลาเดิน  แต่ถ้าใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสม มีขนาดเล็กจน ลาไม่สนใจ  ล่อเท่าไรลาก็คงจะไม่เดินสักที

2.เลือกแครอทให้เหมาะสมกับความต้องการที่มีความแตกต่างกันไป

3.วางแครอทในระยะที่เหมาะสม แครอทที่อยู่ไกลใช้ไม้ยาวเกินไปจนลา(ที่สายตาสั้นอยู่แล้ว)ก็มองไม่เห็น แล้วพนักงานจะมีแรงกระตุ้นได้อย่างไร บางครั้งแครอทที่แกว่งไปมาบนไม้ถูกตั้งเงื่อนไขรางวัลไว้ยากเกินไป เช่นต้องสะสมคะแนนหลายๆ KPI แล้วเอามาคูณกัน จนคนทำงานจำไม่ได้ว่า KPI ตัวไหนทำได้เท่าไหร่ เลยไม่สนใจก้มหน้าก้มตาทำไปเรื่อยๆดีกว่า อย่างนี้ก็เหมือนแครอทที่แกว่งไปมา  จนลามองจนตาลายนั่นเอง             

 

โอกาสจะไม่เดินมาหาคนที่รอคอยโอกาส

ผลของงานจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับตัวเราว่ามีความมุ่งมั่นและมั่นใจที่จะทำให้สำเร็จเพียงใด เพราะหากเรามุ่งมั่นและมั่นใจจะทำให้สำเร็จ ความคิดใหม่ๆและกลยุทธ์ใหม่ๆจะพรั่งพรู เกิดกระบวนการที่จะทำให้เกิดความสำเร็จได้ หากเราไม่มุ่งมั่น คอยคิดถึงแต่ เงื่อนไขว่างานจะสำเร็จได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งอื่นๆด้วย

 กลยุทธ์ใหม่ๆและกระบวนการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้น เพราะถูกปิดกั้นด้วยเงื่อนไขเหล่านั้น ฉะนั้นหากต้องการความสำเร็จ ให้นึกเสมอว่าตัวเราเองเป็นผู้กำหนดความสำเร็จนั้นได้ ในกรณีที่เราล้มเหลว ถ้าเราโยนความล้มเหลวนั้นว่าเป็นเพราะคนอื่นไม่ใช่เพราะตัวเรา เราจะไม่ได้คิดพัฒนาปรับปรุงตนเองเพื่อความสำเร็จในอนาคต และผู้ที่ถูกเรากล่าวโทษก็จะไม่พอใจเราด้วย ในการทำงานและการดำเนินชีวิต คนเราทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้ เรามักพูดกันเสมอว่าความผิดพลาดคือบทเรียนให้เรียนรู้ เพื่อจะได้ไม่เกิดความผิดพลาดในเรื่องนั้นๆอีก ดังนั้นนอกจากเราจะใช้ความผิดพลาดที่เกิดจากตัวเราเป็นบทเรียนแล้วควรศึกษาข้อผิดพลาดของผู้อื่นด้วย และพิจารณาว่าความผิดพลาด นั้นคืออะไร เกิดจากปัจจัยอะไรและจดจำไว้ เพื่อเราจะได้ไม่ผิดพลาดในเรื่องนั้นๆ เช่นกันค่ะ 

วันนี้ ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

โอกาสจะไม่เดินมาหาคนที่รอคอยโอกาส

แต่โอกาสอยู่ที่เราแสวงหามัน